ถอดบทเรียนโครงการ SHA ปีที่ ๒ (จากใต้สู่อีสาน)


สิ่งที่ไม่ได้คาดหมายที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการที่ผมไปเรียนรู้ร่วมกับโรงพยาบาล สิ่งที่ไม่ได้คาดหมายนั่นก็คือ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นความสำเร็จแบบเดี่ยวๆ แยกชิ้น แต่ความสำเร็จเป็นภาพที่เกิดขึ้นอย่างมีพัฒนาการ และมีความเป็นองค์รวม

 

“หากมีโอกาสอีกครั้ง ผมจะทำให้ดีกว่าครั้งนี้”

  จริงๆสิ่งที่ผมตั้งพันธะสัญญาไว้ในใจคำพูดที่พูดกับตัวเองหลังจากที่เดินทางไปถอดบทเรียนตามโครงการ SHA []สองโรงพยาบาลได้แก่โรงพยาบาลเจ้าพระยมราชและโรงพยาบาลพิจิตร

ถึงแม้ว่า จะถูกจำกัดด้วยระยะเวลาที่ค่อนข้างน้อยก่อนจะถึง National forum ที่กรุงเทพฯ ความฉุกละหุกทำให้เหนื่อยเอาการอยู่เหมือนกันกับสิ่งที่ไม่ได้คาดหมายที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการที่ผมไปเรียนรู้ร่วมกับโรงพยาบาล  สิ่งที่ไม่ได้คาดหมายนั่นก็คือ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นความสำเร็จแบบเดี่ยวๆ แยกชิ้น แต่ความสำเร็จเป็นภาพที่เกิดขึ้นอย่างมีพัฒนาการ และมีความเป็นองค์รวม  ดังนั้นการที่จะนำเสนอภาพของความสำเร็จที่เกิดขึ้น อาจต้องทำความเข้าใจในหลายๆมิติ  มิฉะนั้นผลลัพธ์ที่นำเสนออย่างดงามหากมองไปถึงเบื้องหลังความคิดเราจะไม่เห็นที่มาที่ไป ตรงนี้สำคัญมากสำหรับการจัดการความรู้

ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งที่ผมได้รับโอกาสครั้งสำคัญ ในการทำงานลักษณะเดียวกันเป็นครั้งที่สอง และปีนี้มีการเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ  ออกแบบเวลาที่เหมาะสมทั้งทีมงานและโรงพยาบาลเป้าหมาย การเข้าไปร่วมเรียนรู้ในระยะเวลาที่เพียงพอ ผมเชื่อว่าจะคลี่คลายกระบวนการ “กว่าจะสำเร็จ” ออกมาได้อย่างประณีตและงดงาม และสิ่งที่ผมตั้งหวังไว้สูงสุดนอกจากการสร้างแรงบันดาลใจให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว การใช้ประโยชน์จากกรณีศึกษา(โรงพยาบาลที่ถูกคัดเลือกเพื่อเข้าไปถอดบทเรียนตามโครงการ SHA) ในส่วนของวิธีคิด จนถึงวิถีปฏิบัติ ตรงนี้เองผมคิดว่าสำคัญมากเช่นเดียวกัน การถอดบทเรียนครั้งนี้จะมีคุณค่าเมื่อบรรลุในสิ่งที่ผมตั้งไว้แบบนี้

 

ผมใช้เวลาพอสมควรในการศึกษาการดำเนินงานตามโครงการ SHA เพื่อให้เข้าใจ แนวคิดและมุมมอง (Concepts and Views)  เพื่อที่จะมุ่งไปยังผลลัพธ์คือการปฏิบัติ (Action) ว่าเขาทำอย่างนั้นภายใต้ฐานคิดอะไร เขาสำเร็จอย่างไร และมีแนวโน้มของความยั่งยืนอย่างไร” ความหลากหลายของความสำเร็จทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบท(Context)ในแต่ละโรงพยาบาล

สำหรับปีนี้ผมจะเดินทางไปร่วมเรียนรู้กับ ๔ โรงพยาบาล ได้แก่

 

  • โรงพยาบาลรามัน(จ.ยะลา)
  • โรงพยาบาลกะพ้อ (จ.ปัตตานี)
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย(จ.เลย)
  • โรงพยาบาลอุบลรัตน์(จ.ขอนแก่น)

 

ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลก็มีเรื่องราวดีๆ ที่มีบริบทเฉพาะให้ได้ศึกษา เรียนรู้ และถอดบทเรียนนำมาสื่อสารสาธารณะต่อไป

ผมมองว่าการถอดบทเรียนในครั้งนี้เป็น การประเมินปลายน้ำ (Downstream Evaluation)  แนวคิดหลักของการดำเนินงานโครงการการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ที่มีจุดมุ่งหมายให้

โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลให้การดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ด้วยความอ่อนโยน มีเมตตา เข้าใจความต้องการของผู้ป่วยอย่างแท้จริง ทำงานร่วมกับชุมชนและสังคมไม่แตกแยก เป็นสถานที่เรียนรู้ เป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งมีสิ่งแวดล้อมดีๆ ที่เยียวยาผู้คนได้ การขยายต่อแนวคิดจากการดูแลรักษาให้พ้นจากโรคร้ายที่รุมเร้า ไปสู่การดูแลในลักษณะองค์รวม มีความประณีต ละเอียดอ่อน และงดงามอยู่บนพื้นฐานความรักและความเข้าใจกัน มีความสุขทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

 ทั้งหมดคือส่วนประกอบของ “ความยั่งยืน” ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

กระบวนการถอดบทเรียนครั้งนี้

 

  • รูปแบบคล้ายงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ
  • การให้ความสำคัญของสาระที่เป็นงานเด่น หรือ Best Practice ของโรงพยาบาลในงาน HA /SHA  (โรงพยาบาลละ 1 ผลงานหรือตามผลงานเด่นที่สามารถสื่อสารสาธารณะเพื่อให้เห็นมิติของความสำเร็จได้) ส่วนมิติของการพัฒนาคุณภาพในแง่มุมต่างๆก็เป็นส่วนหนึ่งของการถอดบทเรียนในครั้งนี้
  • มุ่งค้นหาความดีงาม หรือคุณค่าของโครงการ (Merit)
  • มี stakeholder เข้ามาเกี่ยวข้องในการถอดบทเรียนในครั้งนี้ด้วย
  • มิติในการถอดบทเรียนจะให้ความสำคัญด้านประสิทธิภาพ(effectiveness), ประสิทธิผล (efficiency),ผลกระทบ(impact),ความยั่งยืน(sustainability),ความสอดคล้อง(relevance)

 

กระบวนการถอดบทเรียนในครั้งนี้จะใช้วิธีการเข้าไปร่วมเรียนรู้กับทางโรงพยาบาล ผ่านการบอกเล่าของกลุ่มหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในทุกมิติ ในการเข้าถึงข้อมูลจะใช้วิธีการพูดคุย สัมภาษณ์เชิงลึก ตลอดจนลงพื้นที่จริงที่เป็นพื้นที่รูปธรรม  พร้อมกับสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รายละเอียดของเนื้อหาการถอดบทเรียน จะถูกบันทึกเป็นเอกสารเชิงวิชาการและผลิตเป็นหนังสือถ่ายทอดเรื่องเล่าที่เห็นพัฒนาการของความสำเร็จของการพัฒนาโรงพยาบาลจนได้รับการพัฒนาคุณภาพมุ่งไปสู่ความยั่งยืนในบริบทของโรงพยาบาลนั้นๆดังนั้นเนื้อหาการถอดบทเรียนจึงมีบทเรียนที่บอกกล่าวถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ รวมไปถึงปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนา เพื่อเป็นบทเรียนให้กับโรงพยาบาล,หน่วยงาน และผู้สนใจได้เรียนรู้

เรามีเวลา ๖ เดือนนับจากวันนี้เป็นต้นไปที่จะทำงานย้อยรอยความสำเร็จของโรงพยาบาลทั้ง ๔ โรงพยาบาล ทางผมเองก็ต้องวางแผนทั้งเวลาและการเตรียมการนำเสนอในช่วงการประชุมระดับชาติในปีถัดไป อย่างเต็มที่

ครั้งนี้ผมคิดงานย่อยหลายๆเรื่องไว้ในใจในระหว่างที่ได้มีโอกาสเดินทางไปเรียนรู้ถึงพื้นที่จากนี้ต่อไป และงานที่ตั้งใจย่อยๆภายใต้โครงการใหญ่ ผม จะเอามาเฉลยปลายปีครับ ว่าผมตั้งใจจะทำอะไร? และจะมีผลผลิตอะไรเพิ่มเติมนอกจาก งานวิชาการที่เป็นเอกสารการถอดบทเรียน

 

 


 

[๑] โครงการการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 373599เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ผมแวะมาเยี่ยมบันทึก "ถอด" บทเรียนของคุณเอกครับ ;)...

สาระแลกเปลี่ยนมิมี มีแต่ใจในการเยี่ยมเยือนกัลยาณมิตรครับ

สวัสดีครับ น้องเอก

ตามมาดูการถอดบทเรียนครับ

รพ.ปากพะยูนจะขอรับการประเมินขั้นสามเห็นคนในรพ.คึกคักกันน่าดูครับ

ขอบคุณทั้งสองท่านครับ

อ.Wasawat Deemarn เเละบัง วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- บันทึกนี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นสำหรับการเดินทางในครั้งนี้ครับ 

สวัสดีค่ะ

หยุดจำศีลแล้วหรือน้อง  เสื้อสวยยังไปไม่ถึงเลยค่ะ  พรุ่งนี้จะไปติดตามดูที่ไปรษณีย์ค่ะ  ขอขอบคุณมากค่ะ

พี่ครูคิม...

พัสดุไปรษณีย์ไปถึงช้านะครับผม

จริงๆผมมีภารกิจค่อนข้างหนาแน่นในช่วงหลังครับ เลยไม่ค่อยได้มาเขียน blog สักเท่าไหร่ เเต่หลายท่านก็บอกว่าผม "จำศีล" ครับ 

ส่วนหนึ่งก็อยู่ใน Facebook ครับ เป็นการทดความคิดสั้นๆที่โน่น เเต่มาเยี่ยมบ้านนี้ตลอดครับ มาอ่านบันทึกที่เก็บในแพลนเนตครับ

สวัสดีค่ะ

ตอนนี้พี่คิมวางแผนไปจัดค่ายสัปดาห์หน้าค่ะ ๒๔-๒๗  แล้วจะพยายามถอดบทเรียนออกมาให้เป็นรูปแบบ  ตามที่น้องเอกแนะนำค่ะ

น้องเอก

บ่อยครั้งที่พี่ท้องฟ้าอ่านหนังสือ SHA  ที่น้องเอกให้เมื่อไปทีเมืองทอง  ต่องขอขอบคุณมากที่มีโอกาสได้เจอกันค่ะ

 

พี่ครูคิมครับ

วันที่ ๒๕ ที่จะถึงนี้ ผมไปเเลกเปลี่ยนกับ คุณครูที่รร.ลำปลายมาศพัฒนา ครับ เเละ ๒๙ - ๓๐ ต้องไปที่ รพ.อุบลรัตน์ ขอนแก่น ผมเลยไม่เเน่ใจว่าจะได้ไปร่วมค่ายกับพี่ครูคิมหรือไม่นะครับผม เวลาหัว-ท้าย ถูกปิดหมดเลย

พี่ท้องฟ้า

ผมขอที่อยู่พี่ด้วยครับ จะได้ส่งหนังสือ "ถอดบทเรียนนอกกรอบ" ไปให้ครับ

สวัสดีค่ะ

อยากไปลำปลายมาศพัฒนาจังค่ะ

พี่ครูคิมครับ

ไปไหมครับพี่คิม ชวนพี่เกียรติศักดิ์ ไปด้วย

ผมเองก็ยังพยายามวางแผนการเเลกเปลี่ยนอยู่ครับ

ว่าจะออกมาในรูปแบบไหนดี

หากมีพี่เกียรติ พี่คิมไปด้วย ผมคิดว่า ประเด็นที่จะไปเเลกเปลี่ยนกับครูนั้น

น่าจะได้ประโยชน์มากทีเดียว

สวัสดีค่ะ

เอกน่าจะเลือ่นเวลาไม่ให้ตรงกัน หรือว่าพี่คิมควรเลื่อนดีละคะ ต้องถามหนานเกียรติ

สวัสดีครับ พี่ครูคิม

เวลาผมถูกล็อคเอาไว้สามเดือนจากนี้ ครับ ไม่สามารถเลื่อนวันได้ครับ

ได้วันที่ดังกล่าวก็ถือว่า เลือกกันเเล้วหลายรอบครับผม

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • น่าสนใจมากค่ะ  เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สามารถนำไปปรับใช้...วิเคราะห์บริบทตนเองก่อน
  • หรือรู้ไว้ก่อน  ฝังในใจ....สร้างเงื่อนไขเหมาะสม...ปิ๊ง ๆ ...ใช้ได้
  • รอติดตามอย่างจดจ่อ...ขอบคุณนะคะที่แบ่งปัน

ขอบคุณสำหรับหนังสือดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท