Tipping Point สิ่งที่ CKO ต้องระวังเพื่อ Fixing Broken Windows


ผมรู้สึกว่าการจัดการความรู้เป็นเรื่องทางสังคมศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องศิลปะเป็นหลัก ที่อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิงสังคมและอื่นๆ เข้ามาประกอบ

เรื่องหนึ่งที่ผมเชื่อว่าสำคัญมากในการบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้คือการเฝ้าระวัง Tipping Point ที่จะเปลี่ยนทิศทางและวัตถุประสงค์ของ LO เป็นอย่างอื่น

รู้จัก Tipping Point

Tipping Point (หนังสือ) เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่ทุกท่านอาจจะเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวันแต่ไม่ได้สังเกต เป็นเหตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของผู้คนในสังคมจากการเห็นว่าสิ่งหนึ่ง "แปลก" หรือ "แตกต่าง" เป็นสิ่ง "ธรรมดา" หรือ "ปกติ" ซึ่ง "จุด" ของการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นนั้น เราเรียกว่า Tipping Point ครับ และเมื่อ Tipping Point เกิดขึ้นแล้ว ผู้คนในสังคมก็จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจนบนพื้นฐานของความคิดเห็นที่เปลี่ยนไปครับ

ผมขอยกตัวอย่างดีกว่า เรื่อง Tipping Point นี่ตัวอย่างมีเยอะมากครับ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมเรานี่เอง

เริ่มจากตัวอย่าง classic ดังใน Wikipedia ที่ผมได้ลิงค์ไว้ว่า Morton Grodzins ได้สังเกตว่าในหมู่บ้านในอเมริกาที่มีคนขาวอยู่โดยส่วนใหญ่ หากมีคนดำย้ายบ้านเข้ามาอยู่ คนขาวก็จะยังอยู่ไม่ย้ายไปไหน แต่ทันทีที่ "one too many" หรือคนดำย้ายเพิ่มขึ้นมาอีกเพียงหนึ่งครอบครัวที่ทำให้คนขาวรู้สึกว่า "มากไป" คนขาวก็จะย้ายออกไปอย่างรวดเร็วเกือบทั้งหมดทันที และหมู่บ้านนั้นก็จะมีคนดำย้ายเข้ามาจนกลายเป็นหมู่บ้านคนดำในที่สุด จุดที่ครอบครัวที่สร้างความรู้สึกว่า "one too many" ย้ายเข้ามานั้น เราเรียกว่า Tipping Point ครับ

ที่จริงแล้ว เหตุการณ์นี้ใช้อธิบายการเกิดขึ้นของ Little Italy หรือ China Town ทั่วๆ ไปในอเมริกาได้เป็นอย่างดี ในพื้นที่ที่คนจีนย้ายเข้ามาเปิดธุรกิจ แรกๆ อาจจะเป็นกิจการเดียว ต่อมาเพื่อนฝูงก็มาเปิดร้านข้างๆ เปิดร้านมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึง "จุดหนึ่ง" ร้านที่ดำเนินกิจการโดยคนเชื้อชาติอื่นก็จะย้ายออกไปและเปิดโอกาสให้คนจีนย้ายเข้ามาเปิดกิจการจนเต็มพื้นที่เกิดเป็น China Town ในที่สุด

การที่เราไปไหนต่อไหนแล้วเห็นการขายของเป็นพื้นที่ไป ถ้าไม่ได้เกิดการจัดการแบ่งโซนโดยเจ้าของพื้นที่แล้ว ก็เป็นเหตุการณ์ของ Tipping Point อีกเช่นกัน คงไม่มีแม่ค้าคนไหนอยากขายผักท่ามกลางแม่ค้าขายปลา หรือเจ้าของกิจการคนไหนเปิดร้านขายเสื้อผ้าท่ามกลางร้านขายอาหาร ใช่ไหมครับ

เหตุการณ์ Tipping Point ที่ผมเห็นได้ในหาดใหญ่และเกี่ยวข้องกับ ม.สงขลานครินทร์ (มอ.) คือเกี่ยวกับร้านอาหาร ร้านอาหารในหาดใหญ่บางร้านจะมีจุดขายมุ่งไปที่นักศึกษา มอ. ถ้าประสบความสำเร็จนักศึกษาก็จะมากินมาเที่ยวกันเป็นประจำ การเป็นที่นิยมของนักศึกษาก็จะเป็นจุดขายดึงดูดให้นักกินนักเที่ยวอื่นๆ มาเที่ยวด้วย พอนักเที่ยวอื่นมากันเยอะถึง "จุดหนึ่ง" นักศึกษาก็จะย้ายกันไปร้านอื่น ร้านนั้นก็จะเปิดกิจการได้ช่วงหนึ่งและไม่นานก็จะปิดตัวลง เพราะนักเที่ยวก็จะ "migrate" ตามๆ กันไปต่อไปอีก

ตัวอย่างต่อไปเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะครับ พื้นที่สาธารณะถ้าไม่มีการจัดการแล้ว โอกาส (tendency) ที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่เกิดประโยชน์เต็มที่นั้นเยอะมาก อาทิเช่น สวนสาธารณะ ถ้าถูกใช้เป็นพื้นที่ที่ผู้คนในชุมชนมาพักผ่อนพูดคุยกัน หรือใช้ออกกำลังกายช่วงเย็น หากมีคนนำของมาทิ้ง แรกๆ การนำของมาทิ้งในพื้นที่นั้นอาจจะเป็นเหตุการณ์แปลก (unique) แต่ถ้าเริ่มมีคนนำข้าวของมาทิ้งมากขึ้น พอถึง "จุดหนึ่ง" การนำของมาทิ้งในพื้นที่นั้นจะเป็นเรื่องธรรมดา (common) ในที่สุด และผู้คนก็จะเลิกใช้พื้นที่นั้นในวัตถุประสงค์แรก junkyard หลายๆ แห่งก็มีจุดเริ่มต้นเช่นนี้ครับ

พิจารณา Tipping Point อย่างนักคณิตศาสตร์

เรื่องราวทางสังคมวิทยาปัจจุบันเป็นของสนุกสำหรับการคิดคำนวนและอธิบายด้วยคณิตศาสตร์ไปแล้ว ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะนักคณิตศาสตร์เดี๋ยวนี้เริ่มว่างงาน เราเลยมีเวลาทำ Social Network Analysis กันให้เป็นคณิตศาสตร์ สำหรับท่านที่สนใจในเชิงคณิตศาสตร์ อาจจะเริ่มต้นจาก Wikipedia เรื่อง Catastrophe Theory ก็ได้ครับ

จัดการ Tipping Point

เรื่องการจัดการพื้นที่สาธารณะกับ Tipping Point นี่เป็นเรื่องใหญ่สำคัญสำหรับนักจัดการและพัฒนาพื้นที่ชุมชนอย่างมากครับ

ก่อนหน้านี้ Tipping Point กับชุมชนนั้นหมายถึงชุมชนจริงๆ แต่หลังจาก Internet กลายเป็นสิ่งธรรมดาไปแล้ว Online Community ก็ต้องคำนึงถึง Tipping Point เช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาถึง Learning Organization ที่อยู่บนพื้นฐานของ communities แล้ว การเฝ้าสังเกตและจัดการ Tipping Point คืองานสำคัญของ CKO ทีเดียว

Fixing Broken Windows

เมื่อเกิด Tipping Point ที่จะเบี่ยนเบนวัตถุประสงค์ของ LO ของเราไปในทิศทางที่เราไม่ได้ประสงค์ สิ่งที่เราต้องทำคือ "Fixing Broken Windows" ครับ

แนวความคิดของ Fixing Broken Windows มีอยู่ว่า ถ้าตึกแห่งหนึ่งมีกระจกแตกอยู่สักสองสามบาน ถ้าไม่ได้ซ่อมกระจกเหล่านั้นเสียตั้งแต่ต้น โอกาสที่จะมีกระจกอื่นแตกและไม่ได้ซ่อมเพิ่มขึ้นก็จะมีเพิ่มมากขึ้น จนในที่สุดตึกก็จะแตกร้าวทรุดโทรมมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าเราไม่อยากให้ตึกต้องตกอยู่ในสภาพนั้น เราก็ต้องหาทางซ่อมแซมกระจกที่แตกร้าวเสียตั้งแต่ต้น

ชื่อเรื่องมันเกี่ยวกับ broken windows เพราะอเมริกามีตึกร้างเยอะครับ คนที่เข้าใจทฤษฎีอย่างนี้ได้ลึกซึ้งนี่ต้องเป็นคนที่อยู่เมืองที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนหรือมีพื้นที่เสื่อมโทรมอาทิเช่น New York, New Orleans, Detroit, Washington, D.C., หรือ Baltimore (ฮา... ผมเอง) เพราะหลับตาแล้วเห็นภาพตึกแบบนี้ทันที ทฤษฎีแบบนี้ถ้าคิดแถวบ้านเราชื่อทฤษฎีคงเป็นอย่างอื่น

จากทฤษฎีสู่การปฎิบัติ

เมื่อมี "Broken Windows" เกิดขึ้นแล้ว ก่อนที่จะกลายเป็น Tipping Point ที่ยากเกินแก้ไข ผู้บริหารก็ต้องใช้ศิลปะในการ "Fixing Broken Windows" ครับ

แต่อย่างที่ผมกล่าว เรื่อง "การซ่อมกระจก" นี้ ต้องอาศัย "ศิลปะ" ในการบริหาร และเมื่อพูดถึง "ศิลปะในการบริหาร" ขึ้นมา เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องส่วนตัวกันแล้ว เพราะการบริหารนั้น วิธีการที่ได้ผลในบางรูปแบบอาจจะไม่ได้ผลในบางรูปแบบก็ได้

วิธี "ซ่อมกระจก" โดยทั่วไปก็จะเกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง rewards ในแบบต่างๆ หรือการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เชิงบังคับ หรือการปรับปรุง "พื้นที่" เพื่อป้องกัน Tipping Point ที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นนั้น เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องศิลปะทั้งสิ้นครับ

นักบริหารหลายท่านอาจจะมีประสบการณ์ในการ "ซ่อมกระจก" กันมาแล้วก็อย่าลืมมาแบ่งปันกันนะครับ

ของแถมสำหรับนักศึกษา

เรื่อง Tipping Point นี้ถ้าพิจารณากันดีๆ แล้วท่านที่ยังศึกษาอยู่อาจจะสามารถสร้างไปเป็นหัวข้อประยุกต์เพื่อทำ Thesis หรือ Dissertation ได้เลยนะครับ เพราะยังมีอีกหลาย environments และ settings ที่ไปประยุกต์เพื่อพิจารณาได้ ใครที่มาถามผมว่าจะทำ thesis เรื่องอะไรดีวันนี้ผมบอกไปหนึ่งเรื่องแล้วนะครับ

หมายเลขบันทึก: 37352เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2006 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

งานซ่อมหน้าต่างเป็นงานเชิงกลยุทธ์และเป็นงานที่เสี่ยงแต่จำเป็นต้องทำค่ะ
  • อ่านแล้วดีใจมากครับ และ ทำให้อุ่นใจในการ ที่เรามี CKO KnowledgeVolution ที่เยี่ยมทั้ง สองท่าน  ที่จะคอย ซ่อมหน้าต่าง ก่อนที่จะเกิด ตึกล้าง
  • สาธุ สาธุ
  • อ่านแล้วได้ความคิดดีๆมากเลยครับ
  • จะเปลี่ยนไปเรียนสาขาอื่นทันไหมครับเนี่ย
  • เช่นเรียน KM อะไรทำนองนี้

ผมคิดว่าเรื่อง Tipping Point นี่นำมาประยุกต์กับการเรียนการสอนก็ได้นะครับ อาทิเช่น ใช้วิเคราะห์การเปลี่ยน attitude ของนักเรียนจากเรื่องหนึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่ง อาทิเช่น การพูดภาษาอังกฤษกันในห้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษ การที่นักเรียนไทยพูดภาษาอังกฤษกันนั้นเป็นเรื่อง unique แต่ด้วยการ adjust parameters ตัวไหนบ้าง (ทั้ง internal และ external ถ้าวัดได้) เรื่องการพูดภาษาอังกฤษกันจึงกลายเป็นเรื่อง common ในห้องเรียนนั้นได้

ถ้าเรา plot ออกมาเป็น graph แล้วสามารถตัดได้เป็น 3 functions หลักๆ ในกลุ่ม parameters เดียวกัน ได้แก่ (1) เมื่อเป็นเรื่อง unique (2) เมื่อเป็น Tipping Point และ (3) เมื่อเป็นเรื่อง common เราก็จะได้ model สำหรับเรื่องการเปลี่ยนแปลง attutide การพูดภาษาอังกฤษในห้องเรียนสำหรับ settings เฉพาะที่เราเก็บข้อมูลนั้น ซึ่งเราสามารถเอา model นั้นไปทดลองต่อเพื่อหา generalized model ต่อไปครับ

จริงๆ แล้ว 3 functions ของกราฟเดียวกันมันก็ต้องลดรูปได้เหลือแค่ function เดียวของกราฟนั้น (ตอนผมเขียน comment ก่อนหน้านี้ ผมคิดอะไรอยู่นั่น) และนั่นคือ model ของปรากฎการณ์ที่เราเก็บข้อมูลมานั่นเองครับ

อ่านแระ ปวดหัว เซง เขียนให้ง่ายๆ หน่อย

คุณ nut หน้าต่างคุณแตกแน่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท