Creative library : ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์ จากการสัมมนาวิชาการ Pulinet ครั้งที่ 1


เมื่อเป็นห้องสมุดมีชีวิต เป็นห้องสมุดแห่งการวิจัยแล้ว จะเป็นห้องสมุดแห่งการสร้างสรค์ด้วยจะได้หรือเปล่า

เมื่อวันที่  24-25 มิถุนายน 2553 ผู้บริหารให้ติดตามไปร่วมงานสัมมนาวิชาการ Pulinet ครั้งที่ 1ในหัวข้อ Creative Library  โดยมี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเจ้าภาพ ณ โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี   ซึ่ง concept ของงานคือ การนำเสนอผลงานวิชาการด้วยวาจา หรือโปสเตอร์  ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด

ในส่วนวิชาการ เราเองก็มีส่วนร่วมอยู่จี๊ดหนึ่ง ในผลงานที่มีชื่อว่า “การค้นหาบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงของอาจารย์และนักวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ...ซึ่งผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มข. นางสุดใจ ธนไพศาล เป็นผู้นำเสนอ ผลงานนี้ยังมีผู้ร่วมงานที่สำคัญอีกคน คือ นางวิลาวัณย์ โต๊ะเอี่ยม  และมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากฝ่ายต่างๆ อีกหลายคน ที่ก่อร่สงสร้างตัว จนมีชิ้นงานนี้ออกมา นอกจากนั้นยังมีงานอีก 2 ชิ้น ที่นางนายิกา เดิดขุนทดและคณะ ได้นำเสนอด้วยวาจาในเรื่อง การลดขั้นตอนบริการรับ-ส่งทรัพยากรสารสเนทศภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาอีสาน

  

  • บรรยากาศวิชาการและงานเลี้ยงต้อนรับ

      หลังจากพิธีเปิด  อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.อุทัย ดุลยเกษม ได้บรรยายพิเศษเรื่อง creative library ซึ่งเป็น Concept หลักของการสัมมนาวิชาการคราวนี้

      ท่านอธิการได้เสนอแนวทางการใช้ McDonaldization Model ในการพัฒนาห้องสมุดที่เป็นห้องอ่านหรือแหล่งรวมสารสนเทศให้เป็น ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 มิติ ดังนี้ ประสิทธิภาพ (Efficiency) การคำนวณได้ (Calculability) การคาดการณ์ได้ (Predictability) และ การควบคุมโดยผ่านทางเทคโนโลยีที่ไม่ใช่มนุษย์(Control through Nonhuman Technology)

             

สิริพรขอสรุปและอภิปรายร่วม ว่า      

McDonaldization  เป็น กระบวนการที่หลักการของร้านอาหารฟ้าดฟู้ดได้เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น และมากขึ้น ต่อสังคมอเมริกัน รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของโลก"

McDonaldization เป็นกระบวนการของ rationalization หรือ การสร้างความเป็นเหตุเป็นผล ฐานของแนวคิดเรื่องความเป็นเหตุเป็นผล (rationality) นี้ Ritzer ใช้มุมมองจากทฤษฎีความเป็นเหตุเป็นผล (Theory of Rationality) ของนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน Max Weber ที่เป็นรากของวิธีคิดเรื่องระบบการทำงานในองค์กรขนาดใหญ่สมัยใหม่แบบ bureaucracy  (จากบทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)   จาก.... http://www.midnightuniv.org/midfrontpage/newpage6.html

มิติที่สำคัญ 4 ด้านของ McDonaldization คือ

ประสิทธิภาพ หมายถึง "วิธีการที่ดีที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินการจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง"หรือ "การเลือกวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด"  ซึ่งท่านอุทัย ฝากไว้ว่า หากจะพูดถึงประสิทธิภาพ จะต้องวัดได้...ดังนั้นห้องสมุดจะต้องมีข้อมูลที่สามารถวัดถึงประสิทธิภาพและนำข้อมูลไปต่อยอดได้

การคำนวณได้ นั่นหมายความว่า ห้องสมุดจะต้องใช้ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ไปใช้ในการดำเนินงานตามหลักเหตุและผล Master plan, โครงการ, กิจกรรม,  ที่ดี ก็เกิดจากคำนวณได้จากข้อมูลนำเข้า (Input) ที่ดี ซึ่งรวมถึงการมองแนวโน้มที่ใกล้เคียงซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

การคาดการณ์ได้  มิตินี้เป็นมิติที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ เพื่อให้แน่ใจว่าบริการของห้องสมุดจะเหมือนกันทุกสาขาและทุกครั้ง  เช่น กรณีของร้าน McDonald's การคาดการณ์ได้หมายถึง การทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะไปซื้อ Big Mac ที่สาขาใด ๆ มุมใด ๆ ของโลกก็ตาม ลูกค้าจะต้องได้ Big Mac ที่เหมือนกัน ทำให้ลูกค้ารู้สึกอุ่นใจที่ได้ใช้บริการในสถานที่ที่ตนคุ้นเคย (Ritzer, 2000: 13) นอกจากนั้น ในด้านของพนักงานของร้าน McDonald's จะต้องปฏิบัติงานตามกฏ ระเบียบและวิธีการทำงานขององค์กร เพื่อให้ได้ผลการทำงานไม่ผิดเพี้ยนไปจากที่องค์กรคาดหวังไว้ ดังนั้นการศึกษามาตรฐานการทำงานและพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการจึงเป็นเรื่องสำคัญ

 หรือ กรณีร้าน Seven Eleven พนักงานจะถามว่า "รับขนมจีบ ซาลาเปา ทานเพิ่มมั้ยคะ?" เป็นบทพูดหรือ script ที่องค์กรกำหนดไว้ เพื่อช่วยเพิ่ม การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและลูกค้าจะเป็นไปในทิศทางที่คาดการณ์ได้ ถึงแม้ว่าลูกค้าอาจไม่ตอบสนองตามแบบที่ต้องการก็ตาม

การควบคุมโดยผ่านทางเทคโนโลยีที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งเน้นการดูแล ควบคุม กำกับจากผู้บริหาร  งานนี้นอกจาก Output แล้ว สงสัยผู้บริหารต้องเน้นหลักการของ Happy WorkPlace และการควบคุมมีวินัยในตนเองของบุคลากร งานนี้คงเป็นงานใหญ่ของ HR

จากกรณีความสำเร็จของร้าน McDonald's จะมีมิติของการควบคุมอยู่ในทุกขั้นตอน การต่อแถวซื้อแฮมเบอร์เกอร์ รายการอาหารที่มีอยู่ไม่กี่อย่าง ทางเลือกน้อย และเก้าอี้ที่นั่งไม่สบาย ล้วนเป็นการควบคุมจากผู้บริหารร้านเพื่อให้ลูกค้ากินและกลับไปเร็วที่สุด พนักงานของร้านจะถูกควบคุมอย่างมาก และโดยตรงกว่าที่ลูกค้าถูกควบคุม พนักงานถูกฝึกให้ทำงานเพียงไม่กี่อย่าง ซ้ำ ๆ กัน แบบเดียวกัน และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการบริการ ในส่วนที่เครื่องจักรไม่สามารถทำงานแทนได้  เพราบางครั้ง...ขนาดตอกบัตรลงเวลา...ยังฝากคนอื่นตอกแทนเลย...อิอิ.... 

  • บรรยากาศวิชาการและงานเลี้ยงต้อนรับ

 

     นอกจากแนวคิด McDonaldization ท่านอุทัย ดุลยเกษม ยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความเป็นห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์ ไว้ดังนี้

 

  • ห้องสมุดต้อง happy ที่จะเป็นห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์ (Creative library) เพราะมีส่วนผลักดันให้เกิดมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์  ที่จะมีส่วนผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอุดมปัญญา  ซึ่งจำเป็นต่อภาวะสังคมไทยในปัจจุบันที่ดูว่า ขณะนี้สังคมไทยยังด้อยปัญญา (ดูจากภาวะสังคมหลายๆ เรื่อง)
  • ผู้บริหารห้องสมุดจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้วย จึงจะเห็นภาพห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ผู้บริหารห้องสมุดทุกระดับ ต้องเข้าใจความเคลื่อนไหวของอุดมศึกษา จึงจะสามารถตั้งเกมรุก จัดเกมรับ ได้
  • ในการจัดห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์  ต้องระวังความมีประสิทธิภาพมากเกินไปจะทำลายความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะการทำงานตอบตัวชี้วัด...อิอิ

 

 

  • บรรยากาศความสนุกสนาน และเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในแวดวงห้องสมุด

  • ซื้อของฝากกันก่อน

 มีเรื่องน่าสนใจที่น่าอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์

Creative Library

Creative Library 1

NHK Creative Library  จาก  CC Asia Conference 2010

  

หมายเลขบันทึก: 373340เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ตามมาอ่าน
  • อีกท่านคล้ายคุณวันเพ็ญ มน.เลยครับ
  • มาไกลนะเนี่ย
  • Creative Library”  โดยมี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเจ้าภาพ ณ โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี   
  • อ.ขจิต สบายดีนะคะ
  • และก้อ คุณวันเพ็ญ ตัวจริงเสียงจริง แห่ง มน.เลยหละค่ะ

มีความสุขมากๆในวันหยุด

สวัสดีค่ะอาจารย์ JJ

ไม่อยากบอกอาจารย์เลยว่า กำลังฝึกถอดบทเรียนจากงานที่อาจารย์มาเป็นวิทยากรเรื่อง KM อยู่หน่ะค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณเบดูอิน สบายดีนะคะ

สิริพรก็พยายามทำให้ทุกวันมีความสุข.... แต่สำหรับเสาร์นี้ต้องมาทำงานค่ะ...แต่ก็พยายามทำงานด้วยความสุขเช่นกัน

ขอให้คุณเบดูอินมีความสุขในหยุดเช่นกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท