สำหรับหน่วยเคมีคลินิก อาจได้ประเด็นครบถ้วนสักหน่อย เนื่องจากผมอยู่ร่วมทีม ตั้งแต่ต้นจนจบ
- การทำ QC ไม่ควรเก็บในรูปของข้อมูลดิบ ควรมีการ plot เป็น กราฟ ซึ่งจะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนกว่า
- QC chart ต้องมีการ update ข้อมูล อย่างสม่ำเสมอ ทำแล้วอาจนำเสนอโดยการติดไว้บน chart หรือ board หรือจะเก็บไว้ในแฟ้มก็ได้
- QC ต้องมีการวิเคราะห์ การมีการดำเนินการแก้ไข หากผลการควบคุมคุณภาพนั้น ออกนอกช่วงที่กำหนด โดยมีการบันทึกการดำเนินการแก้ไขไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่จำเป็นต้องบันทึกในฟอร์ม การบันทึกการแก้ไขใน chart ก็เพียงพอ
- ให้ติดป้ายหน้าห้อง "ห้ามบุคคลภายนอกเข้า"
- ควรมีการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ว่ายังทำงานได้ถูกต้อง ตาม WI หรือไม่ หากเริ่มมีข้อสงสัย ให้มีการจัด retraining หรือในกรณีเจ้าหน้าที่ใหม่ ก็ต้องมีการจัด training เพื่อให้มีความสามารถในการทำการทดสอบ หรือใช้เครื่องมือต่างๆได้อย่างถูกวิธี โดยการ retraining หรือ training ต้องมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
- ต้องจัดให้มีใบบันทึกอุบัติการณ์
- การ assign งาน ให้มีการประกาศติดไว้ และจัดเก็บในแฟ้มเมื่อเลิกใช้งาน
- hood เมื่อเลิกใช้งาน ต้องปิดประตูตู้ไว้
- ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของ hood ว่าอยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการใช้งาน (เนื่องจากเวลาเดินผ่าน ยังมีกลิ่นอยู่)
- stock น้ำยา และอื่นๆ ต้องมีการบันทึกปริมาณ ให้เป็นปัจจุบัน และต้องมีการกำหนด ระดับปริมาณต่ำสุดที่จะดำเนินการสั่งซื่อเพิ่ม
- เชื้อรา บนฝ้าเพดาน ควรมีการแก้ไข
- การจัดเก็บน้ำยา บางตัวต้องไม่ให้ถูกแสง
- น้ำยาที่เตรียมขึ้นใช้เอง ควรมีการกำหนดวันหมดอายุไว้ด้วย
- น้ำยาทดสอบตัวไหนที่ไม่ใช้แล้ว ควรนำออกจากบริเวณที่ทำการทดสอบ
- กรด ด่าง ไม่ควรเก็บไว้บน bench ควรมีสถานที่จัดเก็บเฉพาะ
-ตู้เย็นที่มีการเก็บ standard หรือ calibrator ต้องมีการ calibrate และมีการตรวจติดตามบันทึกอุณหภูมิ เวลาบันทึก ควรมีการบันทึกไว้ทั้ง 9 ตำแหน่ง
- ไม่ควรใส่ของในตู้เย็น แน่นเกินไป
- การ verify การทดสอบอาจใช้ ค่าสูง 20 ค่า ค่าต่ำ 20 ค่า ทำการทดสอบ แล้วตรวจสอบทางสถิติว่า น้ำยานั้นใช้ได้
- ติดป้าย "ต้องใส่ถุงมือ" บริเวณที่ทำการทดสอบ