เรียนรู้ และดูงาน วันที่สอง


วันที่สอง เรียนรู้จากคุณภัคนพิน กิตติรักษนนท์ วิทยากรจากสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เรื่อง การบริหารจัดการองค์กรเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ท่านได้กล่าวถึงความจำเป็นของหน่วยงานราชการในการทำ KM ซึ่งเริ่มมาจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

"ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้"

ผนวกกับเรื่องของเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)ในหมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

และเล่าถึงเรื่องต่างๆ ที่นำมาจากการเรียนรู้จาก สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเป้าหมาย KM ที่มุ่งเรื่อง การทำงาน คน และ องค์กร ทำให้คนและองค์กรเก่งขึ้น

และเล่าเรื่องราวของการทำ KM ของกรมสุขภาพจิต ที่มีแนวคิดหลักของ CEO และ CKO ดังนี้

ทำ KM ไม่ใช่เพื่อดำเนินงานตามแนวทางการจัดการความรู้ที่ กพร. กำหนดเท่านั้น

ใช้ KM ไม่ใช่ทำ KM

ทำ KM มุ่งเน้นเพื่อสร้างวัฒนธรรมการจัดการความรู้ภายในองค์กร

นำ KM ไปใช้อย่างทั่วถึงและทั่วทั้งองค์กร

ทำ KM ให้เนียนไปกับเนื้องาน

การดำเนินงาน KM ยึดหลักการมีส่วนร่วม

คนทำ KM ต้องมีความสุข

ผู้บริหารสูงสุดของกรมสุขภาพจิต

-กำหนดนโยบายและเน้นย้ำความสำคัญเรื่องการจัดการความรู้

-บ่งชี้ความรู้ที่สำคัญของกรม

-ส่งเสริมและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้

-สนับสนุนทรัพยากรทางการบริหารเพื่อการจัดการความรู้

-จูงใจโดยการชมเชยและให้รางวัล

โดยคุณเอื้อของกรมสุขภาพจิต

- เชื่อมั่นและศรัทธาใน KM

-ศึกษาและตัดสินใจเลือกรูปแบบการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของกรมสุขภาพจิต

- จุดประกายและขายความคิดเรื่อง KM ให้แพร่หลายทั่วทั้งองค์การ

-สนับสนุนและให้กำลังใจผู้ปฏิบัติและทีมงาน

6 กลวิธีสู่ความสำเร็จ

กลวิธีที่ 1 : จัดโครงสร้าง

กลวิธีที่ 2 : แสวงหาแนวคิด KM ที่เหมาะสมต่อการดำเนินงานสุขภาพจิต

กลวิธีที่ 3 : กำหนดนโยบายดำเนินงานจัดการความรู้กรมสุขภาพจิตปี 2548-2553

กลวิธีที่ 4 : สื่อสารจุดประกายขายแนวคิด

-สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธา

-สื่อสารแบบสองทาง

-เสริมแรงทางบวก

กลวิธีที่ 5 : พัฒนาด้านวิชาการ

-จัดเวทีเรียนรู้เรื่อง KM แก่คณะทำงาน KM ทุกหน่วยงาน

-จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการความรู้แก่บุคลากรที่ทำงานด้านการจัดการความรู้

-จัดเวทีสาธิตการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้ประเด็นเฉพาะแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต

-จัดเวทีเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในตลาดนัดความรู้สู่สุขภาพจิตดี

-จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานเฉพาะเรื่อง

กลวิธีที่ 6 : สร้างแรงจูงใจ เพิ่มคุณค่า เสริมความสุขใจ

โดยการพูดเชิงบวก จัดตลาดนัดความรู้สู่สุขภาพจิตดีปีละครั้ง เป็นแหล่งศึกษาดูงาน และเปิดโอกาสให้ร่วมเป็นคณะทำงาน นำเสนอผลงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเวทีต่างๆ

บทเรียนที่หน่วยงานได้จากการจัดการความรู้

ด้านเทคนิคการจัดการความรู้

-การจัดการความรู้ให้บรรลุผล ต้องเลือกใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายและเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การสัมภาษณ์แบบสอบถาม ประชุมถอดบทเรียน AAR การจัดนิทรรศการ เป็นต้น สิ่งสำคัญต้องมีทั้ง EK และ TK

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้องมีเทคนิคในการกำหนดประเด็น ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้องเล็กและมีความชัดเจน ผู้แลกเปลี่ยนเห็นเป้าหมายได้

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เชิญบุคคลภายนอกหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่นผู้รับบริการมาร่วมแลกเปลี่ยนด้วย จะทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลายและมุมมองที่กว้างขวางครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งการรวบรวมข้อมูลอาจดำเนินการโดย KM MAN ได้

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้และนำไปสู่การรวบรวมตัวกันของชุมชนนักปฏิบัติได้

ด้านการพัฒนาทีมงาน

-ควรมีการสลับหมุนเวียนบุคลากรผู้รับผิดชอบเรื่องการจัดการความรู้ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเข้าใจและชำนาญการด้านการจัดการความรู้

-การทำงานเป็นทีม ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ แลกเปลี่ยนความรู้ วิธีคิดและมีการสรุปบทเรียนร่วมกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

-ทักษะที่สำคัญของทีมงาน ในการค้นหาและรวบรวมความรู้ที่อยู่ในบุคคลได้แก่ ทักษะในการสัมภาษณ์และสรุปประเด็น

-สร้าง KM MAN รุ่นใหม่

สิ่งดีดีและความภาคภูมิใจจากการดำเนินงาน KM

ด้านระบบงาน

- เป็นแหล่งศึกษาดูงาน

- สามารถนำความรู้ไปใช้กับการทำงานของหน่วยงานได้

- มีความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการสร้าง ประสานกับเครือข่ายมากขึ้น

- การแทรกกระบวนการจัดการความรู้เข้าไปในงาน ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ

- ได้เรียนรู้การจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ

ด้านบุคลากร

- มีการทำงานเป็นทีม กระตือรือล้นที่จะพัฒนางานของตนเองให้ดีขึ้น

- เข้าใจกระบวนการทำงานซึ่งกันและกัน สร้างความเข้าใจ สร้างความสามัคคี การยอมรับกันและกันของทีมงาน

- การเขียนและบอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จจากประสบการณ์การทำงานช่วยเสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้เล่า เนื่องจากเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่า

- ได้เรียนรู้และฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ เรียนรู้วิธีการทำงาน วิธีการถอดความรู้จากผู้ปฏิบัติ การทำงานร่วมกับผู้อื่น

- ปลูกฝังนิสัยการรักที่จะพัฒนาตนเอง ศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ตลอดเวลา ตลอดจนการรู้จักแบ่งปันสิ่งที่มีค่าให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ

KM Team ของ สปทส. ก็ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของ กรมสุขภาพจิต ซึ่งจะได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสปทส.ต่อไป

ผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการจัดการความรู้ของกรมสุขภาพจิตตามไปดูได้ที่ http://mhtech.dmh.moph.go.th/km1

หมายเลขบันทึก: 372948เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2010 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยังมีภาคต่อใช่มั้ยนี่ รอเชียร์อยู่นะคะ

  • จ้า เพิ่งขึ้นวันที่ 2 เอง ยังมีไปที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

  • แวะมาเรียนรู้ด้วยคนครับ

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ คุณสามสัก

ขอบคุณข้อมูลดีๆที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ การใ KMครับ

  • ยินดีค่ะ คุณคบเพลิง กับงู ก็ได้กำลังใจจากผู้แวะมาเยี่ยมเยือนนี่แหละค่ะ ที่ทำให้มีแรงเล่าต่อไปได้อีก ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท