สรุปงานวิจัย


การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามทฤษฎี

ชื่อเรื่อง       : การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

                  ตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

                 THE DEVELOPMENT OF A MODEL OF TEACHING ENGLISH          

                  READING COMPREHENSION BASED ON SCHEMA THEORY

                  FOR THE UPPRE SECONDARY  SCHOOL STUDENTS

ผู้เขียน         : ศิริพร ฉันทานนท์

ประเภทสารนิพนธ์   : วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

                       สาขาหลักสูตรการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปีการศึกษา 2539

จุดมุ่งหมาย

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  และเพื่อตรวจสอบผลการใช้รูปแบบการสอนที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 

วิธีดำเนินการ

การดำเนินการวิจัย มี  3 ขั้นตอน

                ขั้นตอนแรก เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากเอกสาร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นความรู้ด้านภาษา พื้นความรู้ด้านเนื้อหา และพื้นความรู้ด้านโครงสร้างบทอ่านกับความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

                ขั้นตอนที่สอง เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน

                ขั้นตอนที่สาม เป็นการทดลองใช้รูปแบบการสอน

ผลการวิจัย

ได้รูปแบบการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ

  1. หลักการ
  2. จุดประสงค์
  3. เนื้อหา
  4. กระบวนการเรียนการสอน
  5. การวัดผลและการประเมินผล

               เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการสร้างพื้นความรู้ด้านภาษา ด้านเนื้อหา และด้านโครงสร้างบทอ่านแก่ผู้เรียนในขั้นก่อนการอ่าน และเน้นการเชื่อมโยงพื้นความรู้เข้ากับการอ่านในขั้นการอ่าน เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในการอ่านมากขึ้น การดำเนินการทดลอง ทดลองกับนักเรียน 2 กลุ่ม เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน คือกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในการอ่านสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากเอกสาร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นความรู้ด้านภาษา พื้นความรู้ด้านเนื้อหา และพื้นความรู้ด้านโครงสร้างบทอ่านกับความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การเรียนสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยทั่วไปจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ ทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน ถือว่าเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะทักษะพื้นฐานดังกล่าวเป็นเครื่องมือและแนวทางการเรียนรู้ที่สำคัญในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทักษะการอ่านเพราะการอ่านมีความสำคัญต่อผู้เรียนมากเป็นช่องทางให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ ได้ง่ายทั้งยังมีเวลาในการไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทบทวน คัดเลือก และเปรียบเทียบ สิ่งต่างๆ จึงทำให้มีการกำหนดไว้ในหลักสูตรให้มีการสอนทักษะการอ่านโดยเฉพาะในวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะในการอ่านเพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในสิ่งที่อ่าน มีนิสัยรักการอ่าน รู้จักแสวงหาความรู้ในสิ่งที่อ่านและสามารถเขียนเพื่อถ่ายทอดความรู้ที่อ่านเป็นการบอกถึงความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่อ่าน วิลเลียมส์ WilliamS 1984 กล่าวไว้ว่า “ความเข้าใจในการอ่านเป็นเป้าหมายหลักของการอ่านทั้งปวง ถ้าการอ่านใดๆ ไม่สามารถจับใจความในการอ่านได้ไม่นับเป็นการอ่าน”

          จากการศึกษาผลการวิจัย สรุปว่า พื้นความรู้มีความสำคัญในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิจัย ทฤษฎีโครงสร้างความรู้เกี่ยวกับการอ่านเพื่อพัฒนารูปแบบการอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเหตุที่เลือกทดลองใช้การศึกษาวิจัยกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะมีพื้นความรู้ ความเข้าใจ มีประสบการณ์การเรียนรู้มาระดับหนึ่งแล้ว และเป็นกลุ่มที่เตรียมตัวเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือประกอบออาชีพ จึงเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ อย่างมีประสิทธิภาพโดยศึกษาทฤษฎีโครงสร้างความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการอ่านตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ การสอนอ่านตามแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

1.  เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

2. เพื่อตรวจสอบผลของการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น

สมมติฐานการวิจัย

1. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบการสอนที่มีคุณภาพ โดยได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิให้อยู่ในระดับดีขึ้นไป

2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น โดยคะแนนที่ได้จากการทดสอบหลังสอน ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และคะแนนทดสอบหลังการสอนจะเพิ่มขึ้นจากคะแนนการทดสอบก่อนการสอนอย่างน้อยร้อยละ 15  ของคะแนนเต็ม และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ขอบเขตการวิจัย

1. รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ที่พัฒนาขึ้นใช้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร

2. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย

                2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่

                                2.1.1 พื้นความรู้ ซึ่งแปรค่าได้ 3 ค่า คือ พื้นความรู้ด้านภาษา พื้นความรู้ด้านเนื้อหา พื้นความรู้ด้านโครงสร้างบทอ่าน

                                2.1.2 แบบการสอน ซึ่งแปรค่าได้ 2 ค่า คือ กระบวนการตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างความรู้ และการสอนตามปกติ

                2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ

3. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร

4. การนำรูปแบบการสอนที่พัฒนาไปทดลองใช้ในการวิจัย มีเวลา 1 เดือน โดยทำการสอน 12 ครั้ง และใช้บทอ่าน จำนวน 12 บท

                ขั้นตอนที่สอง เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน มี 3 ขั้นตอน คือ

                                ขั้นที่ 1  การพิจารณาข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาในตอนที่ 1 และนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอน

                                ขั้นที่ 2  การสร้างเอกสารประกอบรูปแบบการสอน

                                ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน และการปรับปรุงแก้ไข

                ขั้นตอนที่สาม เป็นการทดลองใช้รูปแบบการสอน เป็นการนำแผนการสอนที่สร้างไปทดลองใช้ในสภาพการจัดการเรียนการสอนจริง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพรูปแบบการสอน กับนักเรียนกลุ่มทดลอง 42 คน นักเรียนกลุ่มควบคุม  40  คน ในขั้นตอนการทดลองใช้รูปแบบการสอน มี 4 ขั้นตอน            ย่อย คือ

                                ขั้นที่ 1 การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

                               ขั้นที่ 2 การจักกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

                               ขั้นที่ 3 การดำเนินการทดลอง

                               ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล 

สรุปผลการวิจัย

                1. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 3 ส่วน

                                1. รูปแบบการสอน เป็นเอกสารที่บอกถึงความเป็นมาและเหตุผลการสร้างรูปแบบการสอน และให้ภาพรวมของรูปแบบการสอน ซึ่งมีสาระสำคัญตามหัวข้อดังนี้

                                      1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบการสอน

                                      1.2 ทษฎีและแนวคิดพื้นฐานของรูปแบบการสอน

                                      1.3 ผลการศึกษาวิจัยที่ใช้เป็นฐานของรูปแบบการสอน

                                      1.4 องค์ประกอบรูปแบบการสอน

                                               1.4.1 หลักการ

                                               1.4.2 จุดประสงค์

                                               1.4.3 เนื้อหา

                                               1.4.4 กิจกรรมการเรียนการสอน

                                                    1.4.4.1 จุดประสงค์การเรียนรู้

                                                    1.4.4.2 เนื้อหา

                                                    1.4.4.3 สื่อการสอน

                                                    1.4.4.4 เวลาที่ใช้

                                                    1.4.4.5 การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน

                                         1.5.การวัดและประเมินผล

                                2. คำแนะนำการใช้รูปแบบการอสอน ความมีการและจัดเตรียมการสอน เพื่อประสิทธิภาพในการใช้รูปแบบการสอน

                                3. แผนการสอน เป็นเอกสารที่ให้ผู้สอนทราบถึงละเอียดการเรียนการสอนในแต่ละคาบ องค์ประกอบแผนการสอนมีดังนี้

                                     3.1 จุดประสงค์การเรียนรู้

                                    3.2 เนื้อหา

                                    3.3 สื่อการสอน

                                    3.4 เวลาที่ใช้

                                    3.5 การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ขั้น

                                           3.5.1 ขั้นก่อนการอ่าน Pre-reading

                                           3.5.2 ขั้นการอ่าน While-reading

                                           3.5.3 ขั้นหลังการอ่าน Post-reading

                2. ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า  รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก ในด้านบรรยากาศความเป็นมา ความสำคัญ และความเหมาะสมของเหตุผลในการพัฒนารูปแบบ และมีคุณภาพระดับดี ในด้านความครอบคลุมและสอดคล้องกันขององค์ประกอบของรูปแบบ ส่วนคำแนะนำการใช้รูปแบบการสอน ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง

                3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน

                                3.1 นักเรียนกลุ่มทดลองมีความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3 เกณฑ์ คือ

                                     3.1.1 มีคะแนนเฉลี่ยเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษจากการทดสอบสอบระหว่างสอนและหลังสอน สูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม

                                     3.1.2 มีคะแนนเฉลี่ยเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษจากการทดสอบสอบหลังสอน เพิ่มจากคะแนนเฉลี่ยก่อนสอน สูงกว่าร้อยละ 15 ของคะแนนเต็ม

                                     3.1.3 มีคะแนนเฉลี่ยเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษจากการทดสอบสอบหลังสอน เพิ่มขึ้นจากคะแนนเฉลี่ยก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญ

                                3.2 นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษสูงกว่า นักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

อภิปรายผล

                1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองใช้รูปแบบการสอน พบว่านักเรียนกลุ่มทดลอง มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3 เกณฑ์ แสดงว่ารูปแบบการสอนนี้ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านเพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นโดยมีทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน และการอ่านเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และมีองค์ประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน ซึ่งนักการศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนได้ต้อองเป็นการสอนที่มีระบบที่ดี โดยมีทฤษฎีและแนวคิดเป็นฐานรองรับ

                2. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนอ่านด้วยวิธีปกติ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในการอ่านสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

                3. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างความรู้เป็นฐาน ที่เน้นการสอนพื้นความรู้ด้านภาษา ด้านเนื้อหา และด้านโครงสร้างบทอ่านในขั้นก่อนการอ่าน และเน้นเชื่อโยงพื้นความรู้เข้ากับเนื้อหาในบทอ่านในขั้นการอ่านเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในการอ่านได้ดี

                4. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบครอบคลุมครบถ้วนการสอนที่ดี ถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบสอดคล้อง ส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

                5. จากการนำรูปแบบการสอนไปทดลองใช้จำนวน 12 ครั้ง ในระยะแรกนักเรียนส่วนใหญ่ไม่กล้าพูดหรือแสดงความคิดเห็นมากนัก เมื่อนักเรียนคุ้นเคยกับการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนเกิดความสนุกกับการเรียนและครูสามารถดำเนินการสอนไปได้เร็วขึ้น

               

.........................................................................

 

 

หมายเลขบันทึก: 372925เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2010 03:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายและได้นำภาพดอกไม้สวย ๆ มาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

  • สวัสดีครับ
  • ขอขอบพระคุณในความรู้ที่ท่านได้ทดลองไว้เพื่อผู้อื่นได้เห็นผลสัมฤทธิ์

 

แวะมาทักทาย...ตอนดึก ๆ

น่าสนใจมากเลยครับ

ขอบคุณครับ

น่าสนใจดีนะ แล้วกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 42 คน ผู้วิจัยได้มาโดยวิธีการใดคะ แล้วคนสรุปมีความคิดเห็นต่องานวิจัยเรื่องนี้อย่างไรบ้างนะ

งานวิจัยนี้ได้นวัตกรรมใหม่ ชื่ออะไร น่านำไปขยายผลไหม

อรุณี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท