เลี้ยงลูกอย่างไร ก็ได้ลูกอย่างนั้น ...


พลิกหนังสือ "ได้อย่างที่คิด" โดย "บุญเกียรติ โชควัฒนา" มหาเศรษฐีคนหนึ่งจากเครือสหพัฒน์ฯ ได้เขียนเอาไว้จากข้อสังเกตของการทำงานหนักมานับสิบปีในการมองพฤติกรรมของคนทำงานว่า เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นหลัก ซึ่งท่านจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่วิจารณญาณของท่านเอง

 

๑. คนไม่อยากเรียนเพราะอยากเป็นศิลปิน ... มีโอกาสจะมาจากครอบครัวที่ยากจน มีปัญหาครอบครัว หรือมาจากครอบครัวที่แตกแยก หรือครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น

๒. คนที่กลัวผู้ใหญ่ ... มักจะเกิดจากการที่มีพ่อหรือแม่เป็นคนดุ

๓. คนที่ขาดความมั่นใจในหลาย ๆ ด้าน ... มักจะเกิดจากการที่พ่อแม่ชอบตำหนิ หรือชอบเอาลูกไปเปรียบกับคนที่เก่งกว่า โดยไม่ได้ให้การอบรมและให้หลักคิดอย่างเพียงพอกับลูก

๔. คนที่ต้องการจะชนะ หรือต้องการมีอำนาจเหนือผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ... เกิดจากการที่พ่อแม่ให้ความชื่นชมในความสามารถของลูกตั้งแต่เล็กมามากจนเกินความเป็นจริง

๕. คนที่ไม่ชอบใช้ความคิด หรือใช้ความคิดไม่เป็น ... เกิดจากตอนเด็กพ่อแม่ชอบชี้นำให้ทำโน่นทำนี่

๖. คนที่ชอบต่อต้านผู้ใหญ่ หรือต่อต้านหัวหน้า ... เกิดจากการที่มีพ่อแม่เป็นคนจู้จี้จุกจิก ชอบบังคับให้ทำตามที่พ่อแม่ต้องการ

๗. คนที่ไม่กล้าตัดสินใจ ... เกิดจากการที่มีพ่อแม่เป็นเพอร์เฟ็คชันนิสต์ (perfectionist) ที่มักบอกกับลูกว่า ทำอะไรก็ต้องทำให้ได้ดีที่สุด หรือถ้าจะทำอะไรต้องรอบคอบ รู้จริงเสียก่อน

๘. คนที่ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจ ... เกิดจากการที่พ่อแม่ชอบเล่าความต่ำต้อยของตนเองให้ลูกฟังเป็นประจำ หรือพ่อแม่มีฐานะความเป็นอยู่ที่ยากจน

๙. คนที่ทำงานอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ... เกิดจากการมีพ่อแม่ที่เป็นคนทำอะไรไม่เคยสำเร็จ และเป็นคนคิดลบ รวมทั้งชอบเล่าหรือปรารถความล้มเหลวและเรื่องลบ ๆ ให้ลูกฟังอยู่เป็นประจำ

๑๐. คนที่ต้องการความรัก ความอบอุ่น และที่พึ่ง ... เกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ค่อยลงรอยกัน หรือพ่อแม่แยกทางกัน

๑๑. คนที่อิจฉาคนอื่นที่ได้ดีกว่าตนเอง หรือระแวงคนอื่น ... เกิดจากการที่พ่อแม่ชอบเล่าประสบการณ์ร้าย ๆ ในการทำงาน หรือในการดำเนินชีวิตให้ลูกฟัง

๑๒. คนที่ไม่ชอบงานเกี่ยวกับการขายของ ... เกิดจากการที่พ่อแม่เล่าประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับพ่อค้า หรือการที่พ่อแม่เล่าเรื่องการถูกหลอกโดยพ่อค้า เช่น ค้ากำไรเกินควร เป็นต้น

๑๓. คนที่ไม่สนใจเรื่องการทำกำไรให้กับองค์กร ... เพราะมีพ่อแม่ที่ชอบพูดกับลูกว่า โดนผู้อื่นเอากำไรเกินควร หรือการเอากำไรจากผู้อื่นเป็นการเอาเปรียบ หรือเล่าให้ลูกฟังว่า องค์กรที่ตนทำงานอยู่เอาเปรียบตน

๑๔. คนที่ไม่กล้าสู้กับผู้อื่น ... เพราะมีพ่อแม่ที่ชอบบอกกับลูกว่า การต่อสู้กันเป็นเรื่องที่ไม่ดี มีผลเสีย และมีอันตรายต่อตนเองมากกว่าผลดี

๑๕. คนที่จับประเด็นและหลักคิดไม่ค่อยได้ ... เกิดจากการที่พ่อแม่ไม่สอนหลักคิดให้ลูก เล่าแต่ประสบการณ์ ไม่ค่อยตั้งคำถามให้ลูกได้ฝึกคิด ฝึกตอบ

 

จากข้อต่าง ๆ ข้างต้น เราคงพอสรุปได้ว่า พฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกมักเกิดจากตอนเด็ก และเกิดจากพฤติกรรมและการปฏิบัติที่พ่อแม่มีต่อลูก ฉะนั้น พ่อแม่ที่อ่านบทนี้ช่วยรีบพิจารณาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนที่มีต่อลูก อย่าใช้อารมณ์ ให้ใช้ความเข้าใจ หรือเหตผลแบบผู้ใหญ่ไปกระทำต่อลูก ซึ่งอาจส่งผลด้านลบต่อพฤติกรรมของลูกไปตลอดชีวิต

 

 

ผมว่า คนทำงานอย่างพวกเราคงเจอคนประเภทต่าง ๆ มาเกือบหมด

ข้อเขียนนี้ นอกเหนือจากใช้สำหรับพ่อแม่ที่กำลังเลี้ยงดูลูกแล้ว ยังพึงประโยชน์ต่อคนทำงานอย่างพวกเราที่ใช้มองบุคคลดังกล่าว เพื่อความเข้าใจที่ดีที่ต่อเพื่อนร่วมงานของเราเอง

เพื่อนขาด เราเติม

เราขาด เพื่อนเติม

สังคมจะได้มีคนดี ๆ เดินเต็มสังคม

 

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)

 

 

ขอบคุณหนังสือดี ๆ

บุญเกียรติ โชควัฒนา.  ได้อย่างที่คิด.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ, ๒๕๕๒.

 

หมายเลขบันทึก: 371730เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ขอบพระคุณมากครับ ที่ได้มอบความรู้ที่ดีให้กับกระผม (ผู้อ่าน) ชอบครับ ......

รับไว้เป็นข้อคิดเตือนใจในการเลี้ยงลูกค่ะ

นับเป็นการอุปมาอุปมัยที่น่าคิด แต่น่าจะต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ชีวิตมนุษย์จึงมีวิวัฒนาการไปตามนั้นๆ

ว่าแล้ววันนี้ต้องได้อ่านบันทึกใหม่ ชอบประโยคทิ้งท้ายค่ะ

เพื่อนขาด เราเติม

เราขาด เพื่อนเติม

สังคมจะได้มีคนดี ๆ เดินเต็มสังคม

เหมือนเพลงนี้ ที่เคยแบ่งปัน กำลังใจดีๆ ให้กันเสมอ ? ;)

เห็นเป็นเช่นนั้นครับ คุณครูหยุย นาย วัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ครูหยุย) ;)

ปัจจัยอื่น ๆ ที่จะทำให้เป็น หรือ ไม่เป็นเช่นนั้น

ขอบคุณครับ ;)

ขอบคุณครับ คุณ poo แฟนพันธุ์แทะ

ชอบเพลง "เติมใจให้กัน" ครับ ;)

พฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกมักเกิดจากตอนเด็ก และเกิดจากพฤติกรรมและการปฏิบัติที่พ่อแม่มีต่อลูก ฉะนั้น พ่อแม่ที่อ่านบทนี้ช่วยรีบพิจารณาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนที่มีต่อลูก

ดังนั้น ที่เคยทราบมาว่า ช่วงวัยแห่งการเรียนรู้และซึมซับเพื่อพัฒนาการ ตั้งแต่แรกเกิดถึงสามขวบสำคัญยิ่ง น่าจะมีส่วนจริง ? คะ  ;)  ฝันดี ฝนตกไหมเอ่ย ทางโน้น ;)

เป็นเรื่องจริงครับ คุณ poo ... วัยที่สำคัญคือวัยเด็กเล็ก ๆ นี่แหละ

เขากำลังซึมซับจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ ;)

ฝนตกหนักเมื่อเย็นครับ ... เป็นเพลงเล่าสู่กันฟังเลยนะครับ 555

สวัสดีค่ะอาจารย์มาเยี่ยมทุกบล็อกแต่ไม่ค่อยจะเม้นท์ให้ค่ะ..บันทึกนี้ขอนำไปใช้ในการเลี้ยงดูลูกๆนะคะ ขอบคุณค่ะ

มิเป็นไรครับ คุณครู rinda ... ยินดีครับ ;)

http://gotoknow.org/blog/pa15/371959

เราที่รักพ่อหลวง ควรแสดงออก

ให้คนที่เค้าไม่รักได้รู้ว่าความรักของเรายิ่งใหญ่ไม่มีใครมาทำลายได้ค่ะ

จะเอาไปใช้เลี้ยงหลานตัวน้อย อายุ3เดือน

สวัสดีค่ะ

  • เห็นหัวเรื่องบันทึกนี้
  • คุณแม่ลูกสองต้องรีบเข้ามาอ่านค่ะ
  • พิจารณาตัวเองในบทบาทของความเป็นแม่แล้ว
  • คิดว่ามีหลายข้อเหมือนกันที่ต้องปรับปรุงตัวเองค่ะ
  • ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ความคิดเห็นที่ให้ข้อคิด
  • ความดีคุ้มครองให้ท่านมีแต่ความสุขนะคะ

ยินดีและขอบคุณเช่นกันครับ คุณครู อิงจันทร์ ;)

ขออนุญาตเรียนถาม...นะคะ

แล้วอาจารย์Wasawat Deemarn ล่ะคะเลี้ยงลูกอย่างไร

๕ ๕ ๕ นั่นสินะคะ อ. เสือดุ เงียบ เนี๊ยบ เจ้าระเบียบ เลี้ยงลูกอย่างไรหนอ อิ อิ อิ :)

บันทึกบ่งบอกวัย วันวาน กาลผันผ่าน เนิ่นนานมิผันแปร ... แต่ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น ? คะ :)

 

ผมไม่มีลูกให้เลี้ยงครับ คุณครู เตี้ยอึด ;)...

คุณ Poo ... ผมขอลูกเป็น "คนดี" ทำประโยชน์ให้สังคมก็พอแล้วครับ

ทำทุกอย่างอย่างมีเหตุและผล ไม่ใช่อารมณ์ ทำทุกอย่างตรงไปตรงมา

รู้จักให้เกียรติผู้อื่นเหมือนให้เกียรติตัวเอง

ขอบคุณครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท