"ปี๊บฆ่าตัดตอน" และ "โคโค่ฮอล" ผลงานจากมันสมองและภูมิปัญญาของคนไทย


มีผลงาน 2 ชิ้นเล็กๆ ที่เป็นข่าวคราวซึ่งรับรู้ในวงจำกัด แต่มีความน่าสนใจครับ
"ปี๊บฆ่าตัดตอน" ผลงานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีที่มาจากปัญหาโรคไข้เลือดออกซึ่งเกิดจากยุงลาย และพบผู้ป่วยมากมาย จนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จึงเกิดแนวคิดการกำจัดยุงลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไข้เลือดออก

"ปี๊บฆ่าตัดตอน" เป็นการนำปี๊บขนมปังที่ใช้แล้ว ทีมีกระจกเป็นส่วนประกอบ 1 ด้าน นำมาดักจับยุง โดยการใช้ผ้าสีทึบวางก้นปี๊บทุกใบเพื่อให้เกิดความมืด ล่อให้ยุงมาเกาะ แล้วปิดทำลาย ซึ่งได้มีการทดลองในชุมชนจอหอ นครราชสีมา สามารถดักจับยุงได้เฉลี่ย 20 ตัว/ปี๊บ/วัน ซึ่งจากการประเมิน พบว่าไม่มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกแม้แต่รายเดียว ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2548

นี่เป็นผลงานของ คุณพรพรรณ ผดุงเจริญ พยาบาลวิชาชีพ 7 ศูนย์สุขภาพชุมชน ต.จอหอ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในการนำเสนอผลงานวิจัยสาธารณสุขในการประชุมวิชาการสาธารณสุขเขต 13 ครั้งที่ 3 ประจำปี 2549 ที่ จ.ชัยภูมิ

อีกผลงานหนึ่ง คือ โคโค่ฮอล พลังงานทดแทนจากพืช 100% โดยการใช้น้ำมันมะพร้าว ผสมกับ เมธิลแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วน 70 : 30 ซึ่งในการทดลองเบื้องต้น ใช้กับเครื่องยนต์เบนซินได้ แต่ก่อนใช้ ต้องปรับแต่งคาร์บูเรเตอร์ของเครื่องยนต์ให้อากาศเข้าน้อยที่สุด ซึ่งอัตราส่วนที่ทำการทดลองนี้ สามารถใช้กับเครื่องยนต์ได้เบื้องต้นเท่านั้น

เป็นผลงานชิ้นเล็กๆในยุคที่ราคาน้ำมันแพงขึ้นเรื่อยๆ น้ำมันทดแทนจากพืชนี้ จะทำให้ประชาชนมีพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น และเกษตรกรผู้ปลูกพืชก็ได้ประโยชน์ด้วย ซึ่งสามารถปลูกพืชที่จะนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนได้หลายชนิด อาทิ มะพร้าว ปาล์ม อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง ฯลฯ

โคโค่ฮออล เป็นผลงานวิจัยของ ผศ.อนุตร จำลองกุล คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (09-081-5867) ซึ่งโคโค่ฮอลน่าจะเป็นแนวทางใหม่ นำไปวิจัยต่อยอดจนสามารถใช้ได้จริงในอนาคต...

หมายเลขบันทึก: 37158เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เรื่องพลังงานทดแทนจากพืช เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนอย่างยิ่งครับ
  • เราเคยปล่อยจรวด Phytodeisel Rocket No. 1 เมื่อปี พ.ศ. 2544 ที่โคราชครับ
Thai Phytoleum Project โครงการลักษณะนี้ อาจารย์ Panda ไม่หยิบมาให้นิสิตได้ทำที่ มมส.บ้างหรือครับ นายบอนจะได้ไปเรียนรู้ + สังเกตการณ์ด้วย
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท