รายการดีมีสาระ


เจ้าหน้าที่ส่งเสริม การเกษตรจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำงานในลักษณะเรียนรู้ร่วมกับเกษตรกร

    “รายการดีมีสาระ วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน  2549  ได้นั่งดูรายการ กบนอกกะลา ทางช่อง 9 ซึ่งปกติถ้าไม่มีธุระอะไรก็จะนั่งดูทุกครั้ง เพราะลูก ๆ ชอบมาก   มีประโยชน์ทำให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ เกิดมุมมองใหม่บางเรื่องที่เราไม่รู้อะไรในเชิงลึกมาก่อน               

             เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน  2549 เป็นตอน นาซ่าแดนอีสาน ตอนที่ 1พูดถึงประเพณีการแห่บั้งไฟของภาคอีสาน  ได้เห็นกุศโลบายของบรรพบุรุษของเราที่ได้แฝงไว้ในประเพณีที่เราปฏิบัติ เช่น ประเพณีที่จัดขึ้นต้องการให้ลูกหลานญาติพี่น้องที่แยกกันไปอยู่ในพื้นที่ต่างๆ กันได้กลับมาพบกัน การทำบั้งไฟที่เปรียบเทียบระหว่างการทำบั้งไฟแบบเก่า กับแบบใหม่(เชิงธุรกิจ)  เห็นชัดถึงความนุ่มลึกในประเพณี  วิธีการ ภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม   ลูก ๆ ผมเขายังรู้สึกว่าการทำบั้งไฟแบบใหม่มันไม่มีอะไรที่จะทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจ (แข็ง ๆ ทื่อ ๆ ) ทำให้ผมนึกถึงงานที่เรากำลังทำอยู่ในการส่งเสริมการผลิตพืชที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน               

               เราพยายามดึงภูมิปัญญาท้องถิ่นกลับมาสู่กระบวนการในการพัฒนา           จากเดิมเราส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จนละเลยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม   มีการใช้ปุ๋ยเคมี  สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่สะดวกในการจับจ่ายใช้สอย  ได้ผลเร็ว แต่ผลที่ตามมาในเชิงลบมีมากมายจนเกษตรกรและชุมชนเองบางทีก็ลืมในส่วนนี้ไปแล้ว     เราต้องกลับมาฟื้นฟูถอดรหัสให้ได้  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำงานในลักษณะเรียนรู้ร่วมกับเกษตรกรจะได้ถอดรหัสสิ่งเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ได้

            อย่าลืมนะครับอยากดู นาซ่าแดนอีสาน ตอนที่ 2 ติดตามได้ทาง ช่อง 9  วันศุกร์   ที่ 7 กค. 49 เวลา 21.00 น.

คำสำคัญ (Tags): #จัดการความรู้
หมายเลขบันทึก: 37150เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ผมก็ได้มีโอกาสดูเช่นกันครับ เห็นด้วยกับข้อสรุปถึงความลุ่มลึกขององค์ความรู้ที่แฝงอยู่ ซึงเป็นเครื่องยืนยันเป็นอย่างดีว่า "ชาวบ้านก็มีองค์ความรู้"
  • ภาพรวมของทั้งหมดน่าจะเป็นยุทธศาสตร์ทางจิตวิญญาน ที่ทำให้คนมีจุดศูนย์รวมของจิตใจร่วมกัน ทำงานร่วมกัน
  • สำหรับงานส่งเสริมฯ ที่มีการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของเกษตรกรแต่ละพื้นที่มา ลปรร.นั้น คงน่าจะต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่ายบ้างพอสมควรครับ
"กบนอกกะลา"  เป็นคำสั้น ๆ แต่มีสาระ
  • KM  ทำให้เราหลุดพ้นจากในกะลา มาอยู่นอกกะลา 
  • ในส่วนราชการ ยังมีผู้ที่ทำงานโดยยึดติดกับโครงสร้างขององค์กร จะทำเฉพาะในหน่วยงานตามโครงสร้างของตนเองเท่านั้น (อยู่แต่ในกะลา)   ไม่ยอมให้ความร่วมมือกับงานภายนอกเพื่อส่วนรวม (นอกกะลา) 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท