จากกิจกรรมโรงเรียนชาวนาที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้ทำนาในระบบเกษตรกรรมปลอดสารพิษ เป็นการช่วยลดต้นทุนและอันตรายจากสารเคมีเกษตร ทาง สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ได้มีโครงการสนับสนุนเกษตรกรรมที่ลดการใช้สารเคมี ประกาศให้ทุนวิจัย ซึ่งการวิจัยทางวิชาการนี้ช่วยส่งเสริมเกษตรกรตามแนวทางที่ สคส. กำลังส่งเสริมอยู่ จึงขอนำประกาศนี้มาให้ทราบทั่วกัน
ประกาศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ประกาศรับเอกสารเชิงหลักการ
“ชุดโครงการวิจัยพื้นฐานแบบมุ่งเป้าเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์”
(1 มิถุนายน 2548 – 31 กรกฎาคม 2548)
1. ที่มาและความสำคัญของชุดโครงการวิจัย
ประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2546 มีการนำเข้าปุ๋ย 3.84 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 25,746 ล้านบาท นำเข้าสารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช 50,331 ตัน คิดเป็นมูลค่า 11,380 ล้านบาท การใช้สารเคมีทางการเกษตรในปริมาณมากนี้ ส่วนใหญ่เกินความต้องการของพืช ส่งผลกระทบถึงสภาพแวดล้อมทางการเกษตร ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และสิ่งมีชีวิต ทั้งยังทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค เป็นเหตุให้ขาดการยอมรับและปฏิเสธการซื้อสินค้าเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างสูงกว่าอัตราที่กำหนด รัฐบาลจึงกำหนดให้ปี 2547 เป็น “ปีแห่งความปลอดภัยด้านอาหาร” มีการรณรงค์ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารต่อต้านศัตรูพืชชีวภาพอย่างแพร่หลาย จนรัฐบาลประกาศให้การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปลายปี 2547 เป็นต้นมา
2. เป้าหมายของชุดโครงการวิจัย
- ลดการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนของการผลิตพืช โดยใช้สารอินทรีย์และ/หรือจุลินทรีย์ทดแทน อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด
- ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายในและนอกประเทศ
- เกษตรกรผู้ผลิตได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับการใช้ระบบการผลิตที่ปฏิบัติอยู่ ณ ปัจจุบัน
- เน้นสนับสนุนการใช้ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยพื้นฐานเพื่อช่วยพัฒนาเกษตรอินทรีย์ตามกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้น
3. แนวทางและขอบเขตของชุดโครงการวิจัยพื้นฐาน
การวิจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย 4 ชุดโครงการ (research programs) หลัก ดังนี้
ชุดโครงการที่ 1: ดิน ปุ๋ย และสภาพแวดล้อม มุ่งสนับสนุนการวิจัยเพื่อปรับปรุงสภาพดินโดยการลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี และทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งควรประกอบด้วยโครงการตามหัวข้อเรื่อง ดังนี้
- ผลกระทบของสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรต่อประชากรจุลินทรีย์และความสมบูรณ์ของดินที่ใช้
ในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเป้าหมาย *
- การวิเคราะห์สมดุลธาตุอาหาร และสมดุลจุลินทรีย์ในดินที่เหมาะกับการเพาะปลูกพืช
เศรษฐกิจเป้าหมาย *
- การหาจุลินทรีย์หรือตัวเร่งในการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยน้ำจากมวลชีวภาพ (biomass) และ
วัสดุเหลือใช้ที่มีความปลอดภัย *
- การจัดการเศษซากพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหมุนเวียนธาตุอาหารกลับคืนสู่ดินและการ
ปรับปรุงสภาพดิน- การหาปุ๋ยพืชสดเพื่อการบำรุงดิน โดยเฉพาะที่สามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
- การศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานและปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
- สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของพืช
ชุดโครงการที่ 2: การกำจัดศัตรูพืช มุ่งสนับสนุนการวิจัยเพื่อลดการใช้สารเคมีหรือเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้สารเคมีควบคุมโรค แมลง และวัชพืช และการหาวิธีกำจัดหรือลดการทำลายจากศัตรูพืชโดยชีววิธี
ซึ่งควรประกอบด้วยโครงการตามหัวข้อเรื่อง ดังนี้- การค้นหาจุลินทรีย์หรือสารสกัดจากจุลินทรีย์ตามธรรมชาติที่สามารถควบคุมโรค แมลง
และวัชพืช *
- การหาพืชและสารสกัดจากพืชเพื่อกำจัดหรือลดการทำลายจากศัตรูพืช *
- การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาจุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืชแบบชีววิธี
- การควบคุมแมลงที่เป็นศัตรูพืชด้วยการใช้ความสมดุลเชิงนิเวศวิทยาและการใช้ pheromones
- การศึกษากลไกและผลกระทบของสารกำจัดหรือควบคุมศัตรูพืชชนิดต่างๆ
- การค้นหาจุลินทรีย์ที่สามารถทำลายสารกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในดิน
ชุดโครงการที่ 3: การเจริญเติบโตของพืช มุ่งสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาสารกระตุ้น (growth promoters) จุลินทรีย์ที่สร้างสารกระตุ้น จุลินทรีย์ที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช และการพัฒนาพันธุ์พืชซึ่งควรประกอบด้วยโครงการตามหัวข้อเรื่อง ดังนี้
- การศึกษาจุลินทรีย์ที่อาศัยแบบ symbiosis หรือแบบ associative หรือแบบ free living กับ
พืช ซึ่งสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช *
- การหาจุลินทรีย์ที่ช่วยให้พืชใช้ธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์เป้าหมาย *
- การศึกษา พัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ plant-growth-promoting rhizosphere bacteria
endophytes และ mycorrhizal fungi เพื่อใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช *- การหาสารกระตุ้น growth promoters และการศึกษากลไกการกระตุ้นกระบวนการ
เจริญเติบโตของพืช *
- การศึกษาจุลินทรีย์ที่สามารถกระตุ้นความต้านทานต่อโรคของพืช
- การพัฒนาและศึกษากลไกของพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงและทนต่อโรคและศัตรูพืช- การพัฒนาและศึกษากลไกของพันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อ เช่น สภาพดินเค็ม สภาพดินเปรี้ยว สภาพแล้ง ฯลฯ
ชุดโครงการที่ 4: กระบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ และเทคนิคหลังการเก็บเกี่ยว มุ่งสนับสนุนการวิจัยเพื่อศึกษาความปลอดภัยของสารและกระบวนการที่ใช้ในเกษตรอินทรีย์กับการยอมรับของเกษตรกร และการพัฒนากรรมวิธีที่เหมาะสมในการเก็บรักษาผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภค ซึ่งควรประกอบด้วยโครงการตามหัวข้อเรื่อง ดังนี้
- การทดสอบความปลอดภัยของสารหรือจุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตแบบเกษตร
อินทรีย์ *
- การศึกษามาตรฐานความปลอดภัยของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพ
ของผู้บริโภค *
- การทดสอบต้นแบบเชิงบูรณาการ (integrated modules) ของการใช้เกษตรอินทรีย์ที่
เหมาะสมกับพืชเฉพาะอย่างกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่แตกต่างกันไปในบริเวณต่างๆ
ของประเทศ *
- การเก็บรักษาผลิตผลเกษตรอินทรีย์ในสภาพที่ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค*
- การศึกษาความคุ้มทุนและผลตอบแทนของระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งในระดับเกษตรกรรายย่อย
ระดับผู้ประกอบการและระดับชาติ*
- การศึกษากลไกควบคุมคุณภาพผลผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพ (natural goodness) ในทาง
โภชนาการ การตลาด และการแปรรูป
- การปลูกสำนึกสาธารณะ การถ่ายทอดและการยอมรับชุดเทคโนโลยีเกษตรอินทรีย์ที่
เหมาะสมโดยเกษตรกร
- การศึกษาเงื่อนไขและมาตรฐานของผลิตผลเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออกหมายเหตุ : คณะกรรมการคัดสรรจะให้ความสำคัญกับโครงการที่อยู่ในหัวข้อซึ่งมีเครื่องหมาย * ก่อน
4. การเสนอโครงการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ขอเชิญชวนนักวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มี ความประสงค์ขอรับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัย ยื่นเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper) สรุปเนื้อหาของโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณา ทั้งนี้ สกว. ให้ความสำคัญกับโครงการวิจัยที่มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมจากหลายสาขา และโครงการที่มีความสอดคล้องกับโครงการอื่นๆในชุดโครงการเดียวกัน
เอกสารเชิงหลักการที่เสนอควรมีหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ชื่อโครงการ
2. ชื่อหัวหน้าโครงการและสถานที่ติดต่อ
3. ชื่อผู้ร่วมโครงการและสถานที่ติดต่อ
4. โจทย์วิจัย/ ความสำคัญของการวิจัย/ หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์ของโครงการ
6. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 7. ระยะเวลาดำเนินงาน
8. งบประมาณ
9. ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติหรือสิทธิบัตรที่คาดว่าจะได้รับ
10. แนวทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์
11. หน่วยงานร่วมโครงการ/หน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนโครงการ (ถ้ามี)
(เอกสารเชิงหลักการนี้ไม่ควรยาวเกิน 5 หน้ากระดาษ พร้อมแนบประวัติการศึกษาและประสบการณ์วิจัยของหัวหน้าโครงการ รวมทั้งผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา)
5. เกณฑ์ในการพิจารณาให้ทุนสนับสนุน
เมื่อเอกสารเชิงหลักการผ่านการพิจารณาเบื้องต้นโดยคณะกรรมการคัดสรรทุนแล้ว สกว. จะแจ้งให้ผู้ขอทุนเขียนข้อเสนอโครงการฉบับเต็ม (Full proposal) เพื่อประเมินและทำการคัดเลือกอีกครั้งหนึ่ง โดยสกว.จะพิจารณาสนับสนุนในวงเงินที่สอดคล้องระหว่างปริมาณงานวิจัยกับระดับทุนวิจัยของฝ่ายวิชาการที่ดำเนินการอยู่ คือ
- ทุนองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย) (วงเงินไม่เกิน 2,000,000 บาท ระยะเวลาของทุนไม่เกิน 3 ปี)
- ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย) (วงเงินปีละไม่เกิน 400,000 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี)
- ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ (วงเงินปีละไม่เกิน 240,000 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี)
สกว. โดยฝ่ายวิชาการ เปิดรับข้อเสนอโครงการในรูปของเอกสารเชิงหลักการ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2548 และทาง สกว. จะแจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นให้ทราบภายใน 1 เดือนภายหลังกำหนดการปิดรับเอกสารเชิงหลักการของโครงการวิจัย
ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2548
(ศ.ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง)
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ติดต่อสอบถามและยื่นเอกสารเชิงหลักการ
ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 14 เลขที่ 979 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0-2298-0455-75 ต่อ 120 หรือ 141 โทรสาร 0-2298-0455 ต่อ 211
e-mail : [email protected]