การนำเสนอกระบวนการผลิตชุดการสอนเรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนชั้นป.5(1)


ขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรม (กว่าจะมาเป็นสื่อนวัตกรรมการศึกษา) 

          กระบวนการจัดทำ / การผลิต ชุดการสอน การสืบพันธุ์ของพืชดอก

1. ส่วนประกอบภายนอกของชุดการสอน

2. ส่วนประกอบภายในของชุดการสอน

ส่วนประกอบภายในของชุดการสอนมีทั้งหมด 3 ศูนย์ ภายในกล่องจะมีคู่มือครู และมีชุดการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนบรรจุอยู่ในกล่อง  ซึ่งแต่ละศูนย์จะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป ได้แก่

                                ศูนย์ที่ 1 (ส่วนประกอบของพืชดอก)

                                ศูนย์ที่ 2 (การสืบพันธุ์ของดอกโดยวิธีต่างๆ)

                                ศูนย์ที่ 3 (การสืบพันธุ์ภายในดอก)

 

ส่วนประกอบในศูนย์ที่ 1 (ส่วนประกอบของพืชดอก)

ลักษณะภายนอกของศูนย์ที่ 1

  

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนประกอบภายในของศูนย์ที่ 1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนประกอบในศูนย์ที่ 2 (การสืบพันธุ์ของดอกโดยวิธีต่างๆ)

ลักษณะภายนอกของศูนย์ที่ 2

 

 

 

ส่วนประกอบภายในของศูนย์ที่ 2

 

ส่วนประกอบในศูนย์ที่ 3 (การสืบพันธุ์ภายในดอก)

ลักษณะภายนอกของศูนย์ที่ 3

 

 

ส่วนประกอบภายในของศูนย์ที่ 3

  

 

กระบวนการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

                1.   ขั้นเตรียมการทดลอง

                      หลังจากที่อาจารย์ได้พิจารณาโครงการที่ได้นำเสนอ ผู้จัดทำโครงการจึงทำการดำเนินการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาตามที่ได้วางแผนตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ ดังนี้

                        1.1  ผู้จัดทำโครงการทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนในการจัดทำโครงการ รวมถึงศึกษาขอบเขตและเนื้อหาที่เกี่ยวกับสื่อนวัตกรรมการศึกษาในโครงการ จากนั้นทำเขียนโครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา และการนำเสนอโครงการต่ออาจารย์ จากนั้นรอการพิจารณาโครงการฯ จากอาจารย์ผู้สอน

                        1.2  การเตรียมอุปกรณ์ในการจัดทำสื่อนวัตกรรมการศึกษา โดยการนำวัสดุ อุปกรณ์ที่เตรียมไว้มาผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา ตามโครงการที่วางไว้ ผู้จัดทำได้ผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาเป็นแบบชุดการสอน ประกอบด้วย 3 ศูนย์ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ดังนี้

 

ชุดการสอน : ศูนย์ที่ 1

(ส่วนประกอบของพืชดอก)

               

                ศูนย์ที่ 1 เป็นกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนหรือเด็กได้ศึกษาหาความรู้จากใบความรู้และจากรูปภาพจำลองส่วนประกอบของดอกไม้และจากนั้นจึงให้เด็กทำแบบทดสอบจากบัตรคำสั่งและทำกิจกรรมเล่นต่อจิ๊กซอว์และอธิบายความหมายของแต่ละภาพทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

                วัสดุอุปกรณ์ 

                ประกอบไปด้วย กระดาษphoto กระดาษกาว กรรไกร คัตเตอร์ แผ่นฟองน้ำ กระดาษสา  กระดาษแข็ง  ดินสอ  ยางลบ

                วิธีทำ  

                ในการผลิตศูนย์ที่ 1 ผู้จัดทำจะค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตและนำความรู้และรูปภาพมาปริ๊นส์ในกระดาษphoto และจะได้เป็นใบความรู้ บัตรคำสั่ง และรูปภาพจำลอง ส่วนการทำจิ๊กซอว์นั้น ผู้จัดทำได้ร่างรูปส่วนประกอบต่างๆของดอกไม้ลงบนกระดาษแข็งและตัดเป็นชิ้นส่วนต่างๆ จากนั้จึงนำกระดาษที่ร่างไว้มาวางทาบกับแผ่นฟองน้ำแล้วตัดเป็นรูปร่างต่างๆตามที่ร่างไว้บนกระดาษแข็ง จากนั้นนำแต่ละส่วนมาประกอบให้เข้ากันเป็นรูปดอกไม้ให้เด็กๆสามารถถอดมาประกอบกันได้ 

 

ตัวอย่างวิธีเล่น/การทำกิจกรรม

               

                วิธีเล่น/การทำกิจกรรม

                ศูนย์ที่ 1 ให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้และรูปภาพจำลองจากนั้นจึงให้ผู้เรียนปฏิบัติตามบัตรคำสั่ง แล้วดูคำเฉลยตามใบความรู้อีกครั้งหนึ่ง สุดท้ายให้ผู้เรียนนำจี๊กซอว์มาต่อให้เป็นรูปดอกไม้ให้ถูกต้องแล้วบอกชื่อส่วนประกอบแต่ละส่วนพร้อมทั้งบอกหน้าที่และความสำคัญของแต่ละส่วนประกอบของดอกไม้ 

 

 

 

 

ชุดการสอน : ศูนย์ที่ 2

(การสืบพันธุ์ของดอกโดยวิธีต่างๆ)

 

                ศูนย์ที่ 2 เป็นกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนหรือเด็กได้ศึกษาหาความรู้จากใบความรู้และจากรูปภาพจำลองเกี่ยวกับการถ่ายละอองเรณูโดยวิธีต่างๆ และจากนั้นจึงให้เด็กทำแบบทดสอบจากบัตรคำสั่งและทำกิจกรรมเล่นต่อจิ๊กซอว์และอธิบายความหมายของแต่ละภาพทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

                วัสดุอุปกรณ์ 

                ประกอบไปด้วย กระดาษphoto กระดาษกาว กรรไกร คัตเตอร์ แผ่นฟองน้ำ กระดาษสา  กระดาษแข็ง  ดินสอ  ยางลบ

                วิธีทำ  ในการผลิตศูนย์ที่ 2 ผู้จัดทำจะค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตและนำความรู้และรูปภาพมาปริ๊นส์ในกระดาษphoto และจะได้เป็นใบความรู้ บัตรคำสั่ง และรูปภาพจำลอง ส่วนการทำจิ๊กซอว์นั้น ผู้จัดทำได้วาดรูปสิ่งที่ช่วยในการถ่ายละอองเรณู เช่น รูปลมพัด รูปฝนตก  รูปแมลง  รูปมนุษย์ที่ช่วยในการผสมพันธุ์ของพืชดอก ลงบนกระดาษแข็งและระบายสีให้สวยงาม จากนั้นจึงนำไปสแกนรูปภาพแล้วตัดเป็นชิ้นส่วนต่างๆ จากนั้นจึงนำกระดาษที่ร่างไว้มาวางทาบกับแผ่นฟองน้ำแล้วตัดเป็นรูปร่างตามที่ร่างไว้บนกระดาษแข็ง จากนั้นจึงตัดแผ่นฟองน้ำเป็นจิ๊กซอว์แล้วตกแต่งพื้นหลังให้สวยงาม

 

               

ตัวอย่างวิธีเล่น/การทำกิจกรรม

 

                วิธีเล่น/การทำกิจกรรม

                ศูนย์ที่ 2 ให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้และรูปภาพจำลองจากนั้นจึงให้ผู้เรียนปฏิบัติตามบัตรคำสั่ง แล้วดูคำเฉลยตามใบความรู้อีกครั้งหนึ่ง สุดท้ายให้ผู้เรียนนำจิ๊กซอว์มาวางให้ถูกต้องแล้วอธิบายภาพในแต่ละภาพว่าเป็นวิธีการถ่ายละอองเรณูโดยวิธีใด จากนั้นให้ดูคำเฉลยที่ใบความรู้อีกครั้งหนึ่ง

 

ชุดการสอน : ศูนย์ที่ 3

(การสืบพันธุ์ภายในดอก)

 

                ศูนย์ที่ 3 เป็นกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนหรือเด็กได้ศึกษาหาความรู้จากใบความรู้และจากรูปภาพจำลองเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ภายในดอกโดยมีการถ่ายละอองเรณูและการปฏิสนธิเกิดขึ้นภายในดอกโดยการผสมพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์ไข่

                วัสดุอุปกรณ์

                ประกอบไปด้วย กระดาษphoto กระดาษกาว กรรไกร คัตเตอร์ แผ่นฟองน้ำ กระดาษสา  กระดาษแข็ง  ดินสอ  ยางลบ

                วิธีทำ

                ในการผลิตศูนย์ที่ 3 ผู้จัดทำจะค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตและนำความรู้และรูปภาพมาปริ๊นส์ในกระดาษphoto และจะได้เป็นใบความรู้ บัตรคำสั่ง และรูปภาพจำลอง ส่วนการทำจิ๊กซอว์นั้น ผู้จัดทำได้วาดรูปการปฏิสนธิภายในดอก ลงบนกระดาษแข็งและระบายสีให้สวยงาม จากนั้นจึงนำไปสแกนรูปภาพแล้วตัดเป็นชิ้นส่วนต่างๆ จากนั้นจึงนำกระดาษที่ร่างไว้มาวางทาบกับแผ่นฟองน้ำแล้วตัดเป็นรูปร่างตามที่ร่างไว้บนกระดาษแข็ง จากนั้นจึงตัดแผ่นฟองน้ำเป็นจิ๊กซอว์แล้วตกแต่งพื้นหลังให้สวยงาม

ตัวอย่างวิธีเล่น/การทำกิจกรรม

 

                วิธีเล่น/การทำกิจกรรม

                ศูนย์ที่ 3 ให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้และรูปภาพจำลองจากนั้นจึงให้ผู้เรียนปฏิบัติตามบัตรคำสั่ง แล้วดูคำเฉลยตามใบความรู้อีกครั้งหนึ่ง สุดท้ายให้ผู้เรียนนำจิ๊กซอว์มาเรียงลำดับการถ่ายละอองเรณูให้ถูกต้องแล้วอธิบายภาพในแต่ละภาพว่าเกิดการปฏิสนธิได้อย่างไร

 

                ขั้นดำเนินการทดลอง

                        หลังจากการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาตามโครงการสำเร็จตามขั้นตอนข้างต้น และได้ทำการดำเนินการทดลอง ดังนี้

                        1.  ผู้จัดทำโครงการนำชุดการสอนทั้ง 3 ศูนย์ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบประสิทธิภาพ (IOC) ของชุดการสอน จากนั้นนำคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงชุดการสอนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

                        2.  ผู้จัดทำโครงการได้นำสื่อนวัตกรรมการศึกษาไปทำการทดสอบ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 คน มีการทดสอบก่อนและหลังการเรียนและในระหว่างทำการทดสอบมีการบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลและทำการประเมินผลกิจกรรมในแต่ละศูนย์ แล้วนำผลที่ได้จากนักเรียน 3 คน มาหาค่า E1/E2

                        3.  หลังจากที่ดำเนินการตามขั้นตอน 2.1 และ 2.2 ผู้จัดทำโครงการจึงได้นำชุดการสอน ทั้ง 3 ศูนย์ ไปทำการเรียนการสอนกับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

                ขั้นสิ้นสุดการทดลอง

                      เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นการทดลอง ผู้จัดทำโครงการได้ทำการวิเคราะห์และสรุปผลของสื่อนวัตกรรมการศึกษา จากนั้นทำการส่งสื่อนวัตกรรมการศึกษาที่สมบูรณ์ ส่งรายงานกระบวนการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา และทำการนำเสนอโครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาที่ผลิตผ่านบันทึกบนบล็อก www.gotoknow.org

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

                ในระหว่างการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เวลาในการจัดทำสื่อมีเวลาจำกัด ทำให้สื่อและเนื้อหาไม่ค่อยสมบูรณ์นัก วัสดุที่ใช้ทำสื่อไม่ค่อยแข็งแรงทำให้เกิดการเสียหายบ่อยเมื่อถึงเวลาใช้จริง วิธีการแก้ปัญหา ควรหาเวลาหรือจัดเวลาในการทำสื่อให้พอสมควร จัดหาวัสดุและเพิ่มความทนทานให้กับสื่อมากขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 370637เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 02:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท