ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย


แผนลด ปลดหนี้ชุมชน
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร 
เรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน      เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอ           สามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อผู้วิจัย                นายศุภัชณัฏฐ์  หลักเมือง
ปีที่วิจัย                  พ.ศ. 2544 - 2549 (รวมระยะเวลา 5 ปี)  
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                1.  เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน       บ้านหนองกลางดง  ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
                2.  เพื่อศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมในการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ขอบเขตของการวิจัย
                เป็นการศึกษาวิจัยกรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย    กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยได้กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานบ้านหนองกลางดง กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง  การวางแผนและการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง การศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง การติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1. การนำแผนชุมชนไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้าน        หนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์             มีประสิทธิผลสามารถแก้ปัญหาหนี้สินโดยรวมของชุมชนได้
                2.  ผู้เข้าร่วมกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้     ของตนเอง มีความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์และการพัฒนาขีดความสามารถในการแก้ปัญหา   ของชุมชนของตน โดยการพัฒนาผ่านกระบวนการจัดทำแผนชุมชนและสามารถนำกระบวนการเรียนรู้นั้นไปประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาในเรื่องอื่นต่อไปได้
                3...เกิดเวทีชาวบ้านในชุมชนอย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน           ของตนเอง
                4.  เป็นแนวทางให้เกิดการบูรณาการแผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเป็นตัวอย่างในการดำเนินการจัดทำแผนชุมชนแก่ชุมชนอื่น ๆ
                5.  มีการขยายและเชื่อมโยงแนวความคิดกับเครือข่ายภาคีพัฒนาในระดับต่าง ๆ
                6. มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดและระบบบริหารจัดการภาครัฐ.โดยเน้นกระบวนการ              มีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของสังคมและเน้นบทบาทของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาตามความต้องการ     ของชุมชนตนเอง
 
วิธีการดำเนินการวิจัย
                การวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง  ตำบลศิลาลอย  กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   เป็นกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เน้นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยคุณภาพ (Qualitative) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างผู้วิจัย แกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าชุมชนสามารถค้นหาข้อมูลเพื่ออธิบายปัญหาและกำหนดความต้องการในการแก้ปัญหาและการพัฒนาของชุมชนได้ และใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยกำหนดประเด็นไว้เป็นการล่วงหน้า (Discussion.Guide.Line) ตามกรอบการวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูล และการเสนอผลการวิจัย ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยนำเสนอโดยใช้ค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยนำเสนอโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content..Analysis)..และการบรรยาย      เชิงพรรณนา (Descriptive)
สรุปผลการวิจัย
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง  ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
                จากการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน บ้านหนองกลางดง  ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีข้อสรุปดังนี้
                1.  ผู้วิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการวิจัยร่วมกัน           ในขั้นตอนนี้ ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ประกอบไปด้วย ผู้วิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย แกนนำชุมชน        ผู้เกี่ยวข้องในชุมชนและบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันดำเนินการคัดเลือกแกนนำชุมชนที่จะเข้าร่วมการวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน      เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง โดยใช้กระบวนการจัดเวทีชาวบ้านร่วมกันกำหนดกระบวนการและขั้นตอนการจัดทำแผนชุมชน.ได้แก่ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์การสังเคราะห์ข้อมูล การจัดทำแผนชุมชนและการกำหนดกิจกรรมสำหรับแก้ปัญหาหนี้สินขิงของชุมชน.
2. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานบ้านหนองกลางดง โดยเฉพาะเรื่องการลงพื้นที่จัดเก็บรวมรวมข้อมูลชุมชนบ้านหนองกลางดง.ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ ผู้วิจัย แกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน โดยชุมชนเป็นผู้เก็บรวบรวมแล้วนำมาวิเคราะห์.สังเคราะห์เพื่อนำไปเป็นข้อมูลการพัฒนาชุมชนของตน สำหรับ ข้อมูลปฐมภูมิจากการจัดเก็บข้อมูลในหมู่บ้าน ขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและผู้อำนวยความสะดวกในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิธีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อคำถามได้มาจากการระดมความคิดเห็นของแกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน โดยมีข้อสรุปร่วมกันว่าจะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง คนในชุมชนต้องการรู้ข้อมูลอะไรบ้างและชุมชนต้องการรู้ข้อมูลอะไร.ซึ่งได้แบ่งเป็น.3.ด้าน.ได้แก่.ด้านรายได้.ด้านรายจ่ายและด้านหนี้สินของแต่ละครัวเรือน ซึ่งแกนนำชุมชนเป็นผู้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามทุกครัวเรือน โดยมีครูการศึกษานอกโรงเรียนและบัณฑิตกองทุนหมู่บ้านเป็นผู้ช่วยบันทึกข้อมูล
3.  ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง    การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านหนองกลางดงนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการ.สรุปได้ดังนี้
                     3.1 การค้นหาแกนนำและอาสาสมัคร ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ ผู้วิจัย     แกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน โดยร่วมกันค้นหาแกนนำในหมูบ้านมาเป็นตัวแทนไม่น้อยกว่า 10 คน ในการผลักดันการดำเนินงานของชุมชน โดยใช้กระบวนการเวทีชาวบ้านเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการกำหนดคุณสมบัติของอาสาสมัครและค้นหาผู้ที่จะมาเป็นอาสาสมัคร        โดยข้อสรุปจากเวทีกำหนดคุณสมบัติของอาสาสมัคร ไว้คือ 1) มีความเสียสละ จิตใจอาสา อดทนและทุ่มเท 2) เข้าใจในกระบวนการแผนชุมชน 3) เข้าใจสภาพปัญหาของหมู่บ้าน และ 4) รู้เป้าหมายการพัฒนาของหมู่บ้าน
    3.2.การสร้างจิตสำนึกร่วมให้ชุมชน ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ ผู้วิจัย แกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมกันเตรียมความพร้อมของชุมชนโดยการจัดเวทีการสร้าง     ความตระหนักให้คนชุมชนเกิดจิตสำนึกและเข้าใจคุณค่าของการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองและ      การทำงานแบบมีส่วนร่วม.ตลอดจน การปรับวิธีคิด.กระบวนการและวิธีการทำงานที่เน้นการพึ่งพาตนเองและกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
                  3.2.1.การประชุมปฏิบัติการระดมความคิดของแกนนำชุมชนและอาสาสมัคร ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ ผู้วิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ผู้ประสาน        งานจากสำนักงานกองทุนเพื่อชุมชน (SIF) ร่วมกันจัดเวทีเพื่อรวบรวมความรู้และประสบการณ์ ตลอดจน หาแนวทางในการสร้างจิตสำนึกเพื่อการพัฒนาชุมชน โดยคนในชุมชนเองและมอบหมายให้แกนนำชุมชน สมาชิกสภาผู้นำชุมชนและอาสาสมัครเป็นผู้นำไปถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวแก่ประชาชนที่มาร่วมประชุมประจำเดือนทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน
                          3.2.2 แกนนำชุมชนและบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง.ได้แก่ เจ้าหน้าที่                 ผู้ประสานงานจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF) เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอและ     ครูการศึกษานอกโรงเรียน เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในเรื่องการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเอง ตลอดจน ความสำเร็จของชุมชนต้นแบบต่าง ๆ
                     3.3 การเรียนรู้พัฒนาการของชุมชน.ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ.ได้แก่ ผู้วิจัย           ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ จัดเวทีให้แกนนำชุมชนและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนมาเล่าประสบการณ์เพื่อทบทวนอดีตของชุมชนและเปิดเวทีชุมชนที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อเรียนรู้พัฒนาการของชุมชนสะท้อนปัญหาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันว่ามีจุดดีอะไรบ้างและผลที่กระทบกับชุมชนมีอะไรบ้างโดยใช้เทคนิค    แผนที่ความคิด (Mind Mapping) โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและครูการศึกษานอกโรงเรียน เป็นผู้ช่วยดำเนินการในเวที
                     3.4  การค้นหาศักยภาพของชุมชน.ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ ผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ.จัดเวทีให้ประชาชนในชุมชนได้ร่วมกันค้นหาและเรียนรู้ศักยภาพ        ของชุมชน.ด้วยการสำรวจข้อมูลในเรื่องข้อดีหรือโอกาสของชุมชนเพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของดี   ที่มีอยู่ให้เกิดความรักหวงแหนและความภาคภูมิใจ เน้นข้อมูลเรื่องรายได้ การประกอบอาชีพและคุณภาพชีวิต โดยร่วมกันค้นหาข้อมูลทุนทางสังคมในด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนของตนเอง        เพื่อนำมาวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน โดยการใช้การสอบถามข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ ซึ่งผู้วิจัย ผู้ช่วยผู้วิจัย ผู้ประสานจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และครูการศึกษานอกโรงเรียนเป็นผู้ร่วมกันดำเนินการ
                    3.5 ศึกษาพื้นที่ต้นแบบ ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ สภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) ผู้วิจัย เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและ             ครูการศึกษานอกโรงเรียน ได้ปรึกษาหารือร่วมกันถึงพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินการแผนชุมชน   และได้เลือกพื้นที่ในการศึกษาดูงานโดยเลือกบ้านคีรีวงค์ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช และชุมชนบ้านไม้เรียง ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช       เป็นชุมชนสำหรับการศึกษาดูงาน โดยได้มีการมอบหมายให้มีการจดบันทึกข้อมูล และนำมาสรุปบทเรียนหลังจากกลับจากศึกษาดูงาน เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
     3.6 การกำหนดแผนชุมชน หลังจากการศึกษาพื้นที่ต้นแบบและสรุปบทเรียนหลังกลับจากศึกษาดูงานนอกสถานที่แล้ว เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับใช้ตามความเหมาะสม         ของชุมชนในการกำหนดแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง แกนนำชุมชนได้เชิญแกนนำคุ้ม ซึ่งมีทั้งหมด 4 คุ้ม มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันว่า ชุมชนต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ     เรื่องอะไรบ้าง โดยผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ ผู้วิจัย แกนนำชุมชน สภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและครูการศึกษานอกโรงเรียน ช่วยให้ข้อเสนอแนะแนวความคิดและวิธีการร่างแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแกนนำชุมชน และสภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) มาร่วมกันออกแบบเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จำนวน 28 ข้อ เพื่อนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลของชุมชน.นำข้อมูลที่ได้ไปทำการประชาพิจารณ์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำแผนชุมชนต่อไป
                      3.7 การประชาพิจารณ์แผนชุมชน ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ แกนนำชุมชน สภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) ผู้วิจัย เจ้าหน้าที่ผู้ประสานจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF)..และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน โดยได้เชิญประชาชนที่เป็นตัวแทนครอบครัวในหมู่บ้านหนองกลางดง จำนวนครอบครัว ๆ ละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 165 คน (จำนวนครัวเรือนตามทะเบียนบ้านทั้งหมด 225 ครัวเรือน แต่มีครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริงในหมู่บ้าน จำนวน 165 ครัวเรือน).มาร่วมกันพิจารณาหาจุดอ่อน.จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคของชุมชน เพื่อให้ตัวแทนครอบครัวในหมู่บ้านได้รับรู้ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันแล้ว  แล้วจึงได้นำข้อมูลเข้าที่ประชุมสภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59)     เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาตามกระบวนการ “แผนชุมชนบ้านหนองกลางดง” ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยได้กำหนดประเด็นในการวางแผนเพื่อลดหนี้สินใน 4 เรื่อง คือ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้สูงขึ้น การประหยัดรายจ่ายในชุมชนและการหาทุนดอกเบี้ยต่ำมาเสริมเรื่องอาชีพ
                      3.8 การดำเนินงานตามแผนชุมชนบ้านหนองกลางดง ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ สภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) สมาชิกกลุ่มที่เกี่ยวข้องตามแผนชุมชนที่ผ่านกระบวนการประชาพิจารณ์แผนแล้ว โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) เป็นผู้ประสานการปฏิบัติการตามแผนชุมชนเพื่อความสะดวกและคล่องตัวและสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชนในหมู่บ้านได้ทันที เพราะโดยหลักการแผนชุมชนเน้นที่การพึ่งตนเองและการดำเนินการตามศักยภาพของตนเองก่อนที่จะขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนและหน่วยงานภายนอก
..                    3.9 การติดตามผลและการประเมินผล ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ได้แก่ ผู้วิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย แกนนำชุมชน ผู้เกี่ยวข้องในชุมชนและบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนชุมชนของบ้านหนองกลางดง โดยมีแนวทางการติดตามผลและประเมินผล คือ 1) การติดตามผลและการประเมินผลโดยชุมชน ซึ่งประกอบไปด้วย ในส่วนของชุมชนได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน.หัวหน้าคุ้ม 4 คุ้ม และสภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) รวมทั้ง ผู้วิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และครูการศึกษานอกโรงเรียน ร่วมกันติดตามผลและประเมินผล และ 2)  ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าคุ้ม 4 คุ้ม และสภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) ผู้วิจัย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และครูการศึกษานอกโรงเรียน.นำข้อมูลการติดตามผลและการประเมินผลที่ได้มาจัดเวทีชาวบ้านในกลุ่มสภาผู้นำชุมชน (สภาผู้นำ 59) ในช่วงเช้าและนำไปสู่เวทีชาวบ้านกับกลุ่มประชาชนในหมู่บ้านในช่วงบ่ายทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน
4..ศึกษาการวางแผนและการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ผู้วิจัยได้ศึกษาขั้นตอนการวางแผนและการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน                      บ้านหนองกลางดง.ได้แก่.การศึกษาว่าชุมชนบ้านหนองกลางดงมีการวางแผนอย่างไรบ้างและ         มีกิจกรรมอะไรบ้างที่นำไปสู่การแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง จากการศึกษา พบว่า มีการวางแผนและการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนโดยแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง คือ 1) การจัดทำแผนและกิจกรรมการลดต้นทุนการผลิต มีกิจกรรม คือ 1) การลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ 2) การขอรับคำแนะนำและส่งเสริม สนับสนุนการฝึกอบรม การคำนวณปริมาณการใช้ปุ๋ยของหมู่บ้านและการฝึกอบรมการจัดทำปุ๋ยชีวภาพ และ 3) ปั๊มน้ำมันชุมชน.           2) การจัดทำแผนและกิจกรรมเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้สูงขึ้น มีกิจกรรม คือ 1) จัดตั้งกลุ่มอาชีพสตรีแปรรูปผลไม้.(สับประรดกวนและกล้วยกวน).2) การขยายเครือข่ายผู้ซื้อสับปะรดและเพิ่มเป้าหมายลูกค้าซื้อสับปะรดกวน 3) รับซื้อสับปะรดลูกเล็กหรือใหญ่เกินขนาดที่โรงงานไม่รับซื้อ 4) การสร้างฟาร์มเลี้ยงไก่รวมของกลุ่มออมทรัพย์ และ 5) กองทุนประปาหมู่บ้าน 3. การจัดทำแผนและกิจกรรมการประหยัดรายจ่ายในชุมชน มีกิจกรรม คือ 1) จัดตั้งร้านค้าชุมชน 2) รับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาสูงและแปรรูปเป็นข้าวสารขายในราคาถูกแก่ชุมชน และ 3) ทำสัจจะร่วมกันในชุมชนว่า    จะไม่ซื้อสินค้าจากภายนอกหมู่บ้าน 4. การจัดทำแผนและกิจกรรมการหาทุน (ดอกเบี้ยต่ำ) มาเสริม มีกิจกรรม คือ 1) การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำและทุนสวัสดิการแก่ประชาชนผู้ยากลำบาก และ 2) กองทุนกลางสำหรับชุมชน โดยนำผลกำไรจากกลุ่มต่าง ๆ.ร้อยละ.20.มารวมเป็นกองทุนกลางของชุมชน
5. ศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ผู้วิจัยได้ศึกษาได้ศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ได้แก่ การศึกษาว่าเมื่อชุมชนบ้านหนองกลางดงได้มีการนำแผนชุมชนและกิจกรรมตามที่กำหนดไปแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนแล้ว จากการศึกษา.พบว่า.ข้อมูลแผนชุมชน.(ปี พ.ศ. 2544.เปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ. 2548)              บ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ข้อมูลด้านหนี้สินของชุมชนมีแนวโน้มลดลง โดยลดลงถึง 4,256,400 บาท ส่วนรายจ่ายเพิ่มขึ้น 9,475,549 บาท         ซึ่งส่วนมากเป็นรายจ่ายที่จำเป็นสำหรับการดงรงชีวิต ได้แก่ เครื่องบริโภค อุปโภคและน้ำมันดีเซลและเบนซิน.อย่างไรก็ดี ก็จะได้รับเงินจากการปันผลกำไรคืนจากการใช้จ่ายในร้านค้าชุมชนและ   ปั้มน้ำมันชุมชน สำหรับ รายได้เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 11,305,714 บาท
6.  การติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง การศึกษาในขั้นตอนการติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง             เป็นการศึกษาว่าแผนชุมชนและกิจกรรมที่กำหนดเพื่อนำไปแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้าน     หนองกลางดงในระยะเวลาต่าง ๆ กันนั้นเป็นอย่างไรบ้างและได้ผลอย่างใดโดยกำหนดระยะเวลาการติดตามผลและประเมินผลระยะต่าง ๆ กัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ได้แก่ ปี พ.ศ. 2544 ปี พ.ศ. 2546 และปี พ.ศ. 2548
7.  การเผยแพร่/ขยายผล การขยายผลการนำกระบวนการและแนวทางของแผนชุมชนไปปรับใช้ในการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนอื่นโดยชุมชนบ้านหนองกลางดงจัดเป็นศูนย์การเรียนรู้    ที่ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ เข้ามาศึกษาดูงานและนำกระบวนการ ตลอดจน แนวทางของแผนชุมชนไปปรับใช้กับการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนของตนเอง โดยปัจจุบันได้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาวิทยาการชุมชนบ้านหนองกลางดง โดยเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของคณะศึกษาดูงานทั้งในและต่างจังหวัด.ซึ่งเน้นการให้หลักการ ความรู้ ประสบการณ์และกระบวนการเรื่อง    แผนชุมชนเป็นหลักแก่คณะศึกษาดูงานทั่วประเทศที่มาศึกษาดูงานแล้วกว่า 1,000 คณะ 
2.  ประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมในการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                    2.1  การวางแผนและการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง           เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชน ในปี พ.ศ..2544.พบว่า บ้านหนองกลางดง   มีจำนวนครัวเรือน 225 ครัวเรือน อาศัยอยู่จริง 165 ครัวเรือน มีรายได้ประมาณ 16.6 ล้านบาทต่อปี    มีรายจ่ายประมาณ 15.1 ล้านบาทต่อปี และมีหนี้สินประมาณ 13.8 ล้านบาทต่อปี.จากข้อมูล         แผนชุมชนเกิดเวทีระดมความคิดเห็น และมีมติที่จะร่วมกันแก้ปัญหาหนี้สินโดยการลดหนี้สินจำนวน 13.8 ล้านบาท ให้ได้ ซึ่งมีแผนงานและกิจกรรม 4 แนวทาง ดังนี้
                             2.1.1  การจัดทำแผนและกิจกรรมการลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ การลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง มาใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตเองโดยชุมชน
                             2.1.2  การจัดทำแผนและกิจกรรมเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้สูงขึ้น.ได้แก่ การจัดตั้งกลุ่มกวนสับปะรด โดยระดมหุ้นจากสมาชิก ขยายเครือข่ายผู้รับซื้อสับปะรดและเพิ่มเป้าหมายลูกค้า            ซื้อสับปะรดกวน การรับซื้อสับปะรดจากชุมชนโดยเฉพาะสับปะรดที่โรงงานไม่รับซื้อโดยกลุ่มกวนสับปะรดให้ราคาสูงกว่าโรงงานและประกันราคาให้
                           2.1.3  การจัดทำแผนและกิจกรรมการประหยัดรายจ่ายในชุมชน ได้แก่ การจัดตั้งร้านค้าชุมชน การรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาสูง และขายข้าวสารในราคาถูกแก่ชุมชน และการให้คนในชุมชนทำสัจจะร่วมกันที่จะไม่ซื้อสินค้าจากภายนอกหมู่บ้านจะซื้อจากร้านค้าชุมชนเท่านั้น
                             2.1.4  การจัดทำแผนและกิจกรรมการหาทุน (ดอกเบี้ยต่ำ) มาเสริม.ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ และเป็นทุนสวัสดิการแก่ประชาชน           ผู้ยากลำบากและการแบ่งปันผลกำไรจากกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ.ร้อยละ.20.มาจัดสรรเป็นกองทุนกลางสำหรับชุมชน
                2.2  การศึกษาประสิทธิผลการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและจัดกิจกรรมแก้ปัญหา            หนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544,..2546 และปี พ.ศ. 2548 พบข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้
                     2.2.1  ด้านรายได้เพิ่มขึ้นตลอดระยะ 2 ปี คือจาก 16,607,120 บาท เป็น 21,053,333 บาท (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2544.จำนวน 4,446,213.บาท) และเป็น..27,912,834..บาท (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2546 จำนวน 6,859,501 บาท) ตามลำดับ
                     2.2.2 ด้านรายจ่ายเพิ่มขึ้นตลอดระยะ 2 ปี เช่นกัน คือจาก 15,163,596 บาท เป็น 16,961,898 บาท (เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2544..จำนวน 1,797,594.บาท) และเป็น 24,639,145.บาท..(เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2546 จำนวน 7,677,955 บาท)
                     2.2.3  ด้านหนี้สินลดลง ตลอดระยะช่วง 2 ปี คือ 13,855,000 บาท เป็น 9,901,690 บาท (ลดจากปี พ.ศ. 2544..จำนวน 3,953,310..บาท) และเป็น 9,598,600.บาท (ลดลงจากปี พ.ศ. 2546..จำนวน 303,090 บาท)
                เมื่อนำข้อมูลแผนชุมชน ปี พ.ศ. 2544 เปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ. 2548 จะเห็นได้ว่าข้อมูล    ด้านหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีแนวโน้มลดลง โดยลดลงถึง 4,256,400 บาท ส่วนรายจ่ายเพิ่มขึ้น 9,475,549 บาท แต่ส่วนมากเป็นรายจ่ายที่จำเป็นสำหรับการดงรงชีวิต ได้แก่ เครื่องบริโภค อุปโภคและน้ำมันดีเซลและเบนซิน อย่างไรก็ดี ก็จะได้รับเงินจากการปันผลกำไรคืนจากการใช้จ่ายในร้านค้าชุมชนและ   ปั้มน้ำมันชุมชน สำหรับ รายได้เพิ่มขึ้น โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 11,305,714 บาท
                2.3  การติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลาง หลังจากการนำแผนชุมชนไปใช้วางแผนงานและกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชน (เริ่มต้นปี พ.ศ. 2544)    ไปครบ 2 ปี และ 4 ปีแล้ว (ปี พ.ศ. 2546 และปี พ.ศ. 2548) ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้มีปัญหาหนี้สินที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน และสมาชิกสภาผู้นำชุมชน (สมาชิกสภา 59) ซึ่งเป็นแกนนำชุมชนผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ตามแบบการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลา 2 ช่วง คือ ปี.พ.ศ. 2546.และปี พ.ศ. 2548.พร้อมการเก็บรวบรวมข้อมูลแผนชุมชน เพื่อตรวจทานความเชื่อมั่นของข้อมูล ทั้ง 2 ช่วง โดยมีความคิดเห็นที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
                ผู้มีปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง มีความคิดเห็นว่า รายจ่ายที่สำคัญและเป็นรายจ่ายจำนวนมาก คือ ค่าปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และน้ำมัน รวมทั้ง ความสูญเสียรายได้จากผลผลิตสับปะรดที่ไม่ได้ขนาดหรือเกินขนาดที่โรงงานรับซื้อ  การทำปุ๋ยชีวภาพและฮอร์โมนเพื่อใช้กับพืชจึงเป็นการลดต้นทุนได้มาก รวมทั้ง การมีรายได้จากการขายสับปะรดที่โรงงานไม่รับซื้อให้กับกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วย ตลอดจน ปั้มน้ำมันก็เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อีก     ทางหนึ่งเพราะซื้อจากปั้มน้ำมันชุมชนและมีการปันผลกำไรด้วย
                สำหรับ สมาชิกสภาผู้นำชุมชน (สมาชิกสภา 59) และแกนนำชุมชน มีความคิดเห็นว่า    แผนชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชุมชน รวมทั้งเป็นแผนที่มีความชัดเจนว่า เป็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริงหน่วยงานต่าง ๆ สามารถสนับสนุนกิจกรรมตามแผนชุมชนได้   อย่างมั่นใจว่า.จะเกิดประโยชน์ต่อประชาส่วนรวมอย่างแท้จริง และมองถึงปัญหาในอนาคตจากการที่ชาวบ้านนำเอกสารสิทธิ์ที่ดินไปจำนองไว้กับธนาคาร ซึ่งหากไม่มีแนวทางหรือกิจกรรมที่มาแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนก็จะทำให้ที่ดินถูกยึด และจะเป็นปัญหาตกทอดไปยังลูกหลาน นอกจากนั้น ยังมีความเห็นสอดคล้องกับผู้มีปัญหาหนี้สินว่า โรงกวนสับปะรด ปั๊มน้ำมันชุมชน     ปุ๋ยชีวภาพและสารสกัดและร้านค้าชุมชนล้วนเป็นกิจกรรมที่สามารถลดปัญหาหนี้สินของชุมชนได้ และมั่นใจว่าอีก 5 ปี ข้างหน้า หมู่บ้านจะปลอดจากการเป็นหนี้และมั่นใจว่าแผนชุมชนสามารถทำให้ชุมชนแก้ปัญหาหนี้สินได้จริง

ข้อค้นพบที่สำคัญในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 

ากการวิจัยเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน              เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของชุมชนบ้านหนองกลางดง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งนี้ มีข้อค้นพบที่สำคัญอันเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติ  ดังนี้

                1.  แกนนำชุมชนและผู้มีปัญหาหนี้สินในชุมชนได้รับการกระตุ้นจากการจัดเวทีชาวบ้าน  โดยการอภิปรายแสดงความคิดเห็น เหตุผลข้อดี ข้อด้อยของการจัดทำแผนชุมชน ทำให้เกิดความตระหนักและรับรู้ถึงกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูลในแผนชุมชนไปแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างถูกจุด และตรงตามสาเหตุของปัญหานั้น ๆ ซึ่งเป็นกระบวนของการแก้ปัญหาที่ไม่ต้องรอ   ความช่วยเหลือ หรือรอสั่งการจากหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานใด และหลักการของแผนชุมชนเป็นแผนที่เน้นการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก  การขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ เป็นเรื่องรอง 

                2.  กระบวนการแผนชุมชนเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนได้เข้ามาร่วมกันปฏิบัติงานเป็นทีม เน้นการบูรณาการความรู้ในด้านการพัฒนาชุมชนที่หลากหลาย และยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

                3.  กระบวนการแผนชุมชนถือเป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนทุกส่วนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ  ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมติดตามประเม

หมายเลขบันทึก: 369965เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเยี่ยมมาชมครับท่านอาจารย์ครับ

อาจารย์ทำงานวิจัยได้หลายชิ้นนะครับ

... ขอบคุณครับอาจารย์โสภณ เปียสนิท งานวิจัยชิ้นนี้ผมเสนอขอเพื่อมีและ    เลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ครับ ... และเป็นงานวิจัยที่ได้รับอนุมัติให้ผมได้วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตั้งแต่ ปี 2551 แล้วครับ ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท