แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ปัจจัยเกื้อ หนุนโยคีให้บรรลุไกวัลย์ ( ๒/๒)


 

เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

ปัจจัยเกื้อ หนุนโยคีให้บรรลุไกวัลย์
- ๒ -

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
โยคะสารัตถะ ฉ.; ส.ค.'๕๒

ในตอนแรกเงื่อนไขจำเป็นพื้นฐานเหล่านี้อาจดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของความ บังเอิญหรือโชค จึงอาจรู้สึกว่าการได้มาซึ่งศรัทธา วีรยะ หรือสมาธิ-ปรัชญา เป็นนิสัยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติสำหรับบางคน ในขณะที่คนอื่นๆ อาจไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่ผู้ฝึกโยคะควรจะยอมรับในใจอย่างชัดเจนแน่นอนว่า เงื่อนไขจำเป็นเหล่านี้สามารถที่จะฝึกฝนพัฒนาขึ้นมาได้ด้วยความตั้งใจ

ก่อนที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะเข้าสู่วิถีการปฏิบัติบนเส้นทางแห่งโยคะ เขาควรจะขจัดความสงสัยและลังเลใจเกี่ยวกับเส้นทางนี้ออกไปทั้งหมด หากเขาได้รับการโน้มน้าวให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการฝึกโยคะแล้วจาก นั้นศรัทธาบนหนทางนี้ก็จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ยิ่งบุคคลได้รับการโน้มน้าวให้เห็นถึงความสูงค่าของสิ่งนั้นมากเท่าใด ความตั้งมั่นในศรัทธาของเขาก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วยมากเพียงนั้น ถ้าเข้าใจได้อย่างถูกต้องโยคะก็ให้สิ่งมีค่าที่สุดนั่นคือ ความสุขและความสงบอย่างสูงสุดและไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม พยายามดิ้นรนแสวงหาไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ด้วยความเข้าใจเช่นนี้ศรัทธาที่ตั้งมั่นไม่คลอนแคลนบนหนทางแห่งโยคะก็จะเกิด ขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติในจิตใจของผู้ฝึก

วีรยะและสมฤติก็เช่นกันเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนได้ด้วยความตั้งใจ ยิ่งมีความตั้งใจแรงกล้ามากเพียงใด วีรยะหรือความเพียรก็จะยิ่งมีพลังมากขึ้นเพียงนั้น รวมทั้งสมฤติ (การระลึกได้ถึงเป้าหมายสูงสุด) ที่ไม่หวั่นไหว จังหวะก้าวเดินบนเส้นทางแห่งโยคะจะดำเนินไปสู่จุดสูงสุดได้ถ้าศรัทธาไม่ หวั่นไหวด้วย

เราอาจจะรู้สึกว่าระดับของความเข้าใจทางปัญญาที่จำเป็นต่อการหยั่งรู้ กระบวนการทางโยคะขั้นสูงนั้นอาจมีมาแต่กำเนิด และดังนั้นจึงเป็นความสามารถที่ได้มาโดยโชคชะตาวาสนาอำนวยให้ แต่ถึงกระนั้นก็ตามระดับของความเข้าใจทางปัญญานี้ก็สามารถสร้างขึ้นได้โดย อาศัยความเพียรที่จริงใจและตั้งใจ การแสวงหาความเข้าใจทางปัญญาอันทรงพลังเพื่อบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ การอ่านตำรับตำราที่เกี่ยวข้อง การฟังครู และการอภิปรายแลกเปลี่ยนและรับคำแนะนำจากเหล่าครูทั้งหลาย เป็นต้น

คำว่า อิตเรษาม หมายถึงผู้ฝึกปฏิบัติที่นอกเหนือจากผู้ที่ได้สภาวะของวิเทหะและประกฤติลยะ ซึ่งผู้ที่ได้สภาวะทั้งสองนี้จัดอยู่ในประเภทของโยคีผู้ก้าวหน้าขั้นสูง ตามการแปลความแบบแรกในโยคะสูตรประโยคที่ ๑๙ ที่ผ่านมาบอกว่า พวกเขาต้องกลับมาเกิดใหม่และฝึกฝนต่อเนื่องจากเดิมในขั้นที่พวกเขาติดอยู่ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้ายิ่งขึ้นบนหนทางโยคะ (ตามที่ได้อธิบายไว้ในอธยายะที่ ๖ ของคัมภีร์คีตา) ดังนั้นบนเส้นทางเดินนี้มีเพียงหนทางเดียวที่ผู้ฝึกธรรมดาทั่วไปหรือแม้แต่ โยคีผู้ก้าวหน้าจะเข้าสู่ความสำเร็จในโยคะได้ก็ด้วยเงื่อนไขจำเป็นต้องมี ก่อนทั้ง ๔ ประการข้างต้น ดังที่ได้กล่าวไว้ในโยคะสูตรบทที่ ๑ ประโยคที่ ๒๐ นั่นเอง

อรรถกถาจารย์บางท่านได้สันนิษฐานว่า โยคะสูตรประโยคที่ ๑๙ และ ๒๐ ได้อธิบายถึงโยคีสองประเภทคือ ๑) ภวปรัตยยะ หรือ มีมาตั้งแต่กำเนิด ๒) อุปายปรัตยยะ หรือ เกิดขึ้นผ่านการใช้มรรควิถี (วิธีปฏิบัติ) หรือผ่านการหมั่นฝึกฝนด้วยความเพียร แต่เนื่องจากความก้าวหน้าในโยคะตั้งแต่กำเนิดนั้นเป็นเรื่องของโชคหรือความ บังเอิญมากกว่า และจำนวนของผู้ที่โชคดีเช่นนั้นก็มีเพียงเล็กน้อย จึงเป็นการไม่ถูกต้องนักที่จะแยกประเภทของโยคีเป็นสองกลุ่มแบบนี้ นอกจากนั้นตามความเข้าใจและคำอธิบายที่ให้ไว้ข้างต้นที่กล่าวว่า แม้แต่โยคีผู้มีประสบการณ์ติดตัวมาแต่กำเนิดก็ยังต้องใช้ความเพียรในการ ฝึกฝนเพื่อก้าวต่อไปจากจุดที่เขาติดขัดอยู่ ดังนั้นการพากเพียรฝึกฝนจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนเพียงอย่างเดียวและเป็นวิธีสุด ท้ายไม่มีวิธีอื่นอีกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

ในโยคะสูตรประโยคถัดไป (๒๑) กล่าวว่า ตีวระ สัมเวคานามาสันนะห์ แปลว่า การฝึกโยคะของผู้ที่มีความเพียรอย่างแรงกล้าเช่นนี้ย่อมนำไปสู่ความสำเร็จ ได้โดยง่าย

ประโยคที่ ๒๐ ถึง ๒๒ เป็นหลักความจริงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับเรื่องทั่วไปเพื่อเข้าถึง ความสำเร็จหรือความสมบูรณ์ในการทำกิจกรรมด้านต่างๆ มีหลักฐานชัดเจนว่าความสำเร็จในโยคะสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ความแหลมคมและมีพลังที่มากกว่าก็คือ ความกระตือรือร้นหรือความมุ่งมั่นปรารถนาเพื่อสิ่งนั้น

โยคะสูตรประโยคถัดไป (๒๒) กล่าวว่า มฤทุ มัธยาธิมาตรตวาตตโต ปิ วิเศษะห์ แปลว่า การพัฒนาที่เกิดขึ้นนั้นจะแตกต่างกันไปตามระดับความเข้มข้นของความเพียรอัน แรงกล้า ตั้งแต่ระดับอ่อน ระดับกลาง และระดับสูงสุด

แม้ว่าผู้ฝึกจะมีความกระตือรือร้นและความปรารถนาอย่างแรงกล้า ถ้าไม่ได้ประกอบด้วยความเพียรอันเหมาะสมแล้วความสำเร็จก็ไม่สามารถที่จะเกิด ขึ้นได้ ดังนั้นความก้าวหน้าจึงขึ้นอยู่กับระดับของความเพียรที่ให้กับสิ่งนั้น นี่เป็นความจริงในกรณีของการฝึกโยคะที่กล่าวไว้ในประโยคนี้ด้วย

อรรถกถาจารย์ผู้คร่ำหวอดในสมัยก่อนบางท่านได้ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ ความก้าวหน้าทั้ง ๓ ระดับ คือ มฤทุ (ขั้นอ่อน) มัธยะ (ขั้นกลาง) และอธิมาตระ (ขั้นสูงสุด) โดยได้นำเสนอความก้าวหน้าเป็น ๖ หรือ ๙ ระดับ อย่างไรก็ตามการแบ่งเช่นนี้ก็เป็นความละเอียดที่ไม่จำเป็น เพราะการแบ่งอย่างง่ายๆ ที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นก็น่าจะเพียงพอโดยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มคือ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย และสูงกว่าค่าเฉลี่ย

 

เอกสารอ้างอิง :

๑) Karambelkar, P. V., (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.

๒) Philosophico Literary Research Department, (1991). Yoga Kosa. Lonavla : Kaivalyadhama.

๓) http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum75.html (August 3, 2009)

 

                                                                                                      
(อ่านเพิ่มเติม)

ตำราโยคะดั้งเดิม ;
ปัจจัยเกื้อหนุนโยคีให้บรรลุไกวัลย์
- ๑ -


 


มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ;
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 

หมายเลขบันทึก: 369964เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โอโหคุณแตงหายไปนานมากๆๆ พอกลับมาก็ได้เรื่องดีๆอ่านเลยครับ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต

แหะ แหะ ... แตงมัวไปหลงระเริงอยู่กับ FB ค่ะ

และขอ Add อาจารย์ทาง FB แล้วด้วยนะคะ อาจารย์ตอบรับแตงแล้วค่ะ

แตงใช้ชื่อว่า TangThai ค่ะ

ช่วงนี้กลับมาอยู่บ้านที่สมุยแล้วค่ะ

มีเวลาจัดการตัวเองได้มากขึ้นค่ะ

ช่วงนี้ก็จะทะยอยนำ จม.ข่าว โยคะสารัตถะ ลงย้อนหลังค่ะ

เพราะมีหลายคนถามถึงงานเริ่มแรกของสถาบันฯ

เห็นน้องๆ ที่สถาบันฯ ส่งข่าวมาอย่างนั้นนะคะ

อาจารย์รักษาสุขภาพมากๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท