การพัฒนาหลักสูตรและวิธีเป็นครูโรงเรียน อสม : ๕.มิติทักษะความเป็นครูของอสม.


บทเรียนและประสบการณ์จากการทำงานจริงในพื้นที่ต่างๆของประเทศของอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหสาขา ระบุลักษณะครูอสม. รวมทั้งความรู้ความสามารถทางด้านต่างๆในการพัฒนาวิธีการเป็นครูอสม. เพื่อกลับออกไปค้นหาและสร้างศักยภาพวิธีการเป็นครู ส่งเสริมให้ชุมชนและกลุ่มอสม.สามารถยกระดับการทำงานเชิงพื้นที่ของตนเองด้วยนวัตกรรมโรงเรียนอสม.ครอบคลุมองค์ประกอบเชิงคุณลักษณะหลายด้าน 

 ความรู้ความสามารถของครูอสม.  ความรู้ความสามารถของครูอสม.จากประสบการณ์ของอสม.และเจ้าหน้าที่ซึ่งพิสูจน์และยืนยันจากการปฏิบัติได้ว่าจะช่วยให้ทำงานกับชาวบ้านด้วยจิตวิญญาณอาสาสมัครได้จริง ประกอบด้วยดังนี้

  • มีความรู้จริงในสิ่งที่ทำ
  • มีความสามารถในการวิเคราะห์ชุมชน
  • มีความสามารถในการเชื่อมต่อคน
  • มีแนวการทำงานจากจุดเล็กๆ
  • ใจกว้างและสร้างโอกาสในการพัฒนาจากเงื่อนไขต่างๆได้อยู่เสมอ
  • ต้องมีความสามารถรับได้ทั้งคำชมและคำด่า
  • ไม่รีบเร่ง มีความเป็นธรรมชาติ
  • สามารถฟังให้ได้ยินมากกว่าเสียง และเห็นจากการสัมผัสมากกว่าตาเห็น
  • มีความสามารถในการปรับตนเองและการทำงานให้เข้ากับบริบทชุมชนหลายแบบ
  • มีความคิดและสร้างความเชื่อมโยงเป็น
  • สามารถวาดภาพได้*
  • มีความรู้และวิธีการในการวิเคราะห์กลุ่มเชิงยุทธศาสตร์ เช่น ทำงานกับกลุ่มเด็ก นอกจากได้กลุ่มเป้าหมายกิจกรรมแล้ว เด็กๆเป็นที่รักของพ่อแม่ เครือญาติ ผู้ใหญ่ และชุมชน ก็จะเป็นการทำงานที่ทำให้คนมาให้ความร่วมมือกัน จึงเป็นกลุ่มเชิงยุทธศาสตร์
  • มีทักษะในการปฏิบัติจริง
  • มีเทคนิคในการสื่อสารให้ง่าย
  • เปลี่ยนประสบการณ์สู่การปฏิบัติ

ในแต่ละองค์ประกอบดังที่ระบุออกมาได้นี้** มีความพิถีพิถัน มีเหตุผลและหลักคิดอยู่เบื้องหลังการนำเสนออกมา เวทีได้ทดลองสาธิต ยกตัวอย่าง อภิปรายให้เห็นตัวบ่งชี้ที่เป็นกิจกรรมและการปฏิบัติให้สังเกตและเข้าถึงได้บนฐานประสบการณ์ของแต่ละคนและแต่ละพื้นที่ และในภาพรวมนั้นก็ถือเอาความสำเร็จของภาคปฏิบัติที่ส่งผลต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และสุขภาวะชุมชนซึ่งสะท้อนอยู่ในกิจกรรมการทำมาหากิน การทำเกษตรอินทรีย์ การทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างหลากหลายในพื้นที่ชุมชน เป็นหมุดหมายที่บ่งชี้ความสำเร็จที่ก่อเกิดจากความมีปฏิสัมพันธ์กันของตัวชี้วัดในองค์ประกอบย่อยๆเหล่านี้

ทั้งเวทีเห็นแนวคิด วิธีคิด ความสามารถเข้าถึงได้ด้วยตนเอง ด้วยลักษณะเพื่อหยั่งและเทียบเคียงจากประสบการณ์ตรง ใช้ตนเองเป็นเครื่องมือประเมินและวิจัยให้มีพลังที่สุดในวิถีแห่งตน ต่อไป.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  หมายเหตุ    : * องค์ประกอบนี้เวทีอาจจะชอบสื่อและวิธีที่ผมทำให้ความคิดของเวทีปรากฏออกมาเป็นรูปวาด จึงอาจได้รับอิทธิพลจากผม ในทางปฏิบัตินั้น การวาดรูปอาจไม่เหมาะสมสำหรับคนทั่วไป ดังนั้น จึงควรนำเอาสาระสำคัญของการวาดรูปไปเป็นประเด็นพัฒนาอสม.อันได้แก่ศักยภาพการสื่อสาร นำเสนอ และถ่ายทอด ด้วยการใช้ภาษาภาพ หรือสื่อและสิ่งที่ช่วยให้ชาวบ้านและอสม.สามารถข้ามข้อจำกัดการพูดบรรยาย เข้าถึงความเข้าใจและการมีความทุกข์ร่วมกัน กระทั่งแปรไปสู่ปฏิบัติการเชิงสังคม สร้างการเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงสู่สุขภาวะชุมชนร่วมกันให้ได้มากที่สุด ดังนั้น ประเด็นการวาดภาพที่เวทีหยิบยกขึ้นมาจึงไม่ใช่เพียงเทคนิคและทักษะการวาดภาพ แต่เป็นวิธีคิดและหลักการในการสื่อความเข้าใจที่ทำให้เห็นภาพร่วมกัน ช่วยลดข้อจำกัดและช่องว่างจากความแตกต่างหลากหลายของผู้คนในโลกความเป็นจริง

                     ** บทเรียนและข้อเสนอที่เป็นผลลัพธ์จากเวทีหัวข้อดังกล่าวนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้ว ในทรรศนะผู้เขียน เห็นว่าควรจะเรียกว่าองค์ประกอบด้าน คุณลักษณะ หรือ คุณสมบัติ ของครูอสม.ที่ต้องการค้นหา แต่เพื่อรักษาประเด็นหลักที่ได้ใช้เป็นหัวข้อระดมความคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเวที อีกทั้งเป็นเครื่องช่วยให้ผู้ที่ได้อยู่ในเวทีสามารถจดจำและทบทวนข้อมูลจากประสบการณ์ตนเองได้ จึงยังคงเรียกว่ามิติทักษะความเป็นครู ตามที่ได้ใช้เป็นประเด็นพูดคุยกันบนเวที

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 คลิ๊กลงไปบนชื่อเรื่อง  เพื่ออ่านเนื้อหาทั้งหมด ๑๒ ตอน    ท่านกำลังอ่าน ตอนที่ ๕  

ตอนที่ ๑    ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.               ตอนที่ ๒   จิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๓    ความเป็นครูโรงเรียน อสม.                        ตอนที่ ๔   ร่วมกันสร้างกรอบตัวแบบค้นหาครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๕    มิติทักษะความเป็นครูของอสม                   ตอนที่ ๖   วิธีค้นหาครูขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ของชุมชน
ตอนที่ ๗    ฐานชีวิตของครูโรงเรียนอสม.                     ตอนที่ ๘   เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๙    การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ครูโรงเรียนอสม.   ตอนที่ ๑๐ เครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี สิ่งสนับสนุนครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๑๑  การนำเสนอแผนการสอนและสาธิตกระบวนการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอสม. 
ตอนที่ ๑๒  เพิ่มลูกเล่นและใส่ศิลปะเพื่อเรียนรู้การนำเสนอให้สร้างสรรค์.

หมายเลขบันทึก: 369355เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2010 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดี ครับ อาจารย์วิรัตน์

อาจารย์ ครับ แนวการทำงานจากจุดเล็ก ๆ เนี่ย!

หากมองเผิน ๆ โดยขาดความละเอียด และขั้นตอนการกระทำ ก็คงไต่เต้าไปสู่โอกาสในการพัฒนาได้ยาก

ประเด็นคุณลักษณะ ที่อาจารย์นำเสนอจึงทำให้ทราบว่า

หากคุณ  คิดจะสร้างนวัตกรรม คุณต้องไม่ละเลย  ..ผมเข้าใจเช่นนี้

..มาเยี่ยมอาจารย์ด้วยความระลึกถึง ครับ

  สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดีครับ 

  • สบายดีนะครับ คิดถึงและรำลึกถึงอยู่พอดีนะครับ
  • มีน้องๆอสม.และเจ้าหน้าที่มือดีหลายคนมาจากแดนใต้นะครับ
  • อย่างที่คุณแสงแห่งความดีสะท้อนทรรศนะนี่ ในทางการสื่อสารเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้จัดว่าเป็นการมุ่งเข้าถึงความหมายของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเลยนะครับ
  • ลึกซึ้งและให้การเรียนรู้เพื่อได้วิธีคิดดีครับ

นำภาพที่ชอบภาพหนึ่งมาฝากอาจารย์ ครับ

 

ผมมาสัมมนาที่หัวหิน

เช้าตรู่ที่นี่ ..เหมือนวิมานยามเช้าทีเดียวครับอาจารย์

พระคุณเจ้า องค์ที่เห็น  ท่านโปรดสัตว์ ริมทะเลยามเช้า

ผมเฝ้ามอง ด้วยสายตาจากระยะไกล

ดูท่าน นิ่ง เนิบ และมีสติในย่างก้าว ผมอาจไม่ทราบได้ว่า ท่านรับบิณฑบาตได้พอฉันท์ หรือไม่แต่ผมทราบจากวัตรของท่านแม้เพียงผิวเผิน

น่าเลื่อมใสยิ่งนัก

...

เช้าวันนี้ ที่นี่ อิ่มเอมในอารมณ์ของตัวเอง มาก ๆ ครับ อาจารย์

..

ร่ำลา..อาจารย์ก่อนเข้านอน ครับ

 

สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดีครับ

  • ขอบคุณสำหรับภาพยามเช้าตรู้ที่ทะเลหัวหินของคุณแสงแห่งความดีนะครับ
  • ได้บรรยากาศของความเป็นยามเช้ามากเลยละครับ
  • ขอให้ได้สิ่งต่างๆมากมายจากการสัมมนาครับ
  • มีความสุขครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท