3 ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา


พัฒนาการศึกษา

เสนอ3ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา

บอร์ดสภาการศึกษา พิจารณา 3 ยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา หาทางปฏิรูปให้การใช้งบประมาณด้านการศึกษาของไทยปีละกว่า 3` แสนล้าน สนองตอบต่อการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น

 (22มิ.ย.)นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา ว่า การประชุมวันนี้ คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา ซึ่งมี ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรม (มธ.) เป็นประธานได้เสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา ให้บอร์ดสภาการศึกษาพิจารณา ซึ่งเป็นไปตามที่ได้รับมอบหมายจากบอร์ดสภาการศึกษาให้ไปศึกษาและทำข้อเสนอแนะเรื่องนี้มา

 “ปัจจุบันงบประมาณด้านการศึกษาของประเทศไทยสูงถึง 3.8 แสนล้านบาทต่อปีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเซียพบว่าค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของภาครัฐต่อจีดีพี อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกันมากนักโดยมีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 3.9-4.2 แต่การจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาไม่สามารถสนองตอบต่อการพัฒนาคุณภาพได้และเมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศพบว่า ไทยลงทุนทางการศึกษาในสัดส่วนสูงกว่าแต่ศักยภาพการแข่งขันของไทยกับด้อยกว่าเช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นต้น เพราะนั้น อนุกรรมการฯ จึงเสนอยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา โดยมีข้อเสนอให้ดำเนินการ 3 ยุทธศาตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ทางด้านการเงินการคลัง ยุทธศาสตร์ทางด้านการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา และยุทธศาสตร์การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและการมีส่วนร่วม” รมว.ศธ. กล่าว

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาของอนุกรรมการฯนั้น เสนอให้ใช้ปฏิรูประบบการเงินการคลังเพื่อการศึกษา เช่น ปรับกระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นแบบมุ่งเน้นผลงาน จัดสรรงบประมาณตามต้นทุนต่อหน่วยการผลิย เปลี่ยนวิธีการจัดสรรงบประมาณเป็นการจัดสรรผ่านด้านอุปสงค์ หรือตัวผู้เรียนในสัดส่วนที่สูงขึ้น และเสนอให้มีการปฏิรูประบบการบริหารจัดการและการจัดทรัพยากรเพื่อการศึกษา

โดยนำระบบ GIS มาใช้เพื่อการวางแผนกำหนดจำนวนและที่ตั้งของสถานศึกษาไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน ให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กให้เหลือร้อยละ 50 `ภายในปี 2561 และให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่สถานศึกษาตามแผนเพื่อลดความแตกต่างคุณภาพและมาตรฐานให้มีความแตกต่างกันน้อยลง และมียุทธศาสตร์ระดมทรัยาการเพื่อการศึกษาและการส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนมามีส่วนร่วมจัดการศึกษา เป็นต้น

 นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม บอร์ด สกศ. มีมติให้คณะอนุกรรมการฯ นำยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินฯที่เสนอมาไปทบทวนอีกครั้งโดยต้องการให้ยุทธศาสต์ปฏิรูประบบการเงินฯ สนองตอบต่อผู้เรียน ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง และมีข้อเสนอเชิงกลไกที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง อีกทั้งต้องการให้การปฏิรูปการเงินนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 นอกจากนั้น คณะกรรมการบางส่วนมีข้อคิดเห็นเสนอเพิ่มเติมที่หลากหลาย เช่น เสนอให้ใช้ระบบคูปองทางการศึกษา ให้มีระบบระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษามากขึ้น เพราะปัจจุบันประเทศไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาจากรัฐบาลในจำนวนที่สูงแล้ว แต่ขาดการระดมทรัพยากรจากประชาชน

แหล่งที่มาข่าว: http://www.komchadluek.net/

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 369314เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2010 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านแล้วค่ะ ได้ความรู้ถูกใจจัง จัง

สวัสดีคร้าแวะเข้ามาอ่านแล้วนะคะได้ความรู้มากมายเลย

มีสาระดีๆให้อ่านอีกแล้ว ดีจัง..

สวัสดีค่ะได้ความรู้มากมายเลย

ขยันมากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท