มากอดเมาะกันไหมคะ ....ที่นอนโบราณที่แสนจะอบอุ่นสำหรับเด็กทารก และทุกๆคน


วันนี้ฉันได้รับพัสดุกล่องโตส่งมาจากกรุงเทพฯ

ในขณะที่กำลังสอนระเบียบแถวให้กองลูกเสือเนตรนารี

ได้มีนักเรียนชั้นไหนไม่ทันได้ถาม

วิ่งเอากล่องพัสดุมาให้

แล้วก็วิ่งแนบไปเลย

ยังไม่ทันได้กล่าวขอบคุณที่ช่วยกันถือพัสดุมาส่งให้

พร้อมกับได้ยินแว่วๆว่า"ไปแล้วคร๊าบบ......"

ลูกเสือคนหนี่งพูดเบาๆว่า"ระเบิดหรือปล่าวว"

แป่ว!

ทันทีหันมาเห็นกล่องฉันนึกถึงมิตรออนไลน์ท่านหนึ่ง

ทราบทีหลังว่าท่านทำงานอำนวยการรถไฟฟ้ามหานะเธอ

ซึ่งต่างเป็นแฟนคลับของ

ท่านดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์  P 

ในบันทึกการทำนุ่นและเครื่องนอนของชาวบ้านหนองบัว :

หัตถกรรมและมรรควิถีพอเพียง

จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กัน

คุณเสนอ รัตนวลี

ได้กรุณาส่งเมาะจริงๆมาให้เป็นของที่ระลึก

และเดือนหน้าจะมีกิจกรรมค่าย

ก็จะนำเรื่องเมาะนี้เป็นประเด็นเรียนรู้ของเด็กๆด้วยค่ะ

คุณเสนอเป็นอีกท่านหนึ่งที่อยู่ต่างประเทศมานานนับ ถึง20 ปี

ได้เห็นวิถีชีวิตแบบธรรมชาติของชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะที่ยุโรป

คุณเสนอเล่าว่า ฝรั่งเค้านิยมอะไรที่เป็นธรรมชาติ

เค้าจะอนุรักษ์ทุกสิ่งที่มาจากธรรมชาติ และใช้มันอย่างคุ้มค่า

เมื่อกลับเมืองำทยได้พยายามนำแนวคิดเรื่องนี้มาเผยแพร่

บอกเล่าเพื่อให้คนไทยหันมารักษ์ของไทย วัฒนธรรมไทย

โดยเฉพาะเรื่องเมาะ ที่นอนของทารก

ที่ใครๆก็อยากสัมผัสถึงความนุ่มละมุนของเมาะ

ตัวแทนแห่งความรัก ความอบอุ่น และความหวังดี

จึงหันมาทำแจกเป็นงานอดิเรก

 

ขอขอบพระคุณ  คุณเสนอ รัตนวลี ไว้ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

นายหมู่ลูกเสือขออนุญาตทำหน้าที่ช่วยผู้บังคับบัญชาลูกเสือเปิดกล่อง

เขาพยายามที่จะไม่ตัดเชือกรัดกล่อง บอกว่าเอาไว้ใช้งานต่อได้ค่ะ

                                 กล่องถูกเปิดออกท่ามกลางสายตานับร้อยคู่

เสียงร้องว่าหมอนๆ...ฟังดูแล้วอดยิ้มไม่ได้

..เด็กน้อยไม่รู้จักเมาะค่ะ

เมาะที่ทำจากผ้าฝ้ายบรรจุด้วยนุ่นธรรมชาติ

คนสมัยก่อนเรียกว่ายัดนุ่นค่ะ

โชคดีวันนี้จะได้โอกาสกระตุ้นให้เด็กๆได้เรียนรู้ของดีของไทยที่หายไป

ในภาวะอากาศร้อนระอุเช่นทุกวันนี้ เด็กๆนอนเมาะได้เป็นดี

นอกจากจะอบอุ่นทั้งกาย และใจแล้ว

ร่างกายเขายังไม่ต้องสัมผัสเคมีจากฟองน้ำ หรือเส้นใยสังเคราะห์

เพราะภายในเมาะนั้นบรรจุด้วยนุ่นจากธรรมชาติ

ใบใหญ่ ขนาด กว้าง 31 นิ้ว ยาว 44 นิ้ว

แต่สามารถบรรจุลงกล่องที่เล็กกว่าเมาะมากๆได้

                  หมู่นี้ไวมาก ร้องขอ"ม่ามี๊ขอกอดหน่อยนะครับ นุ่มจังเลย

สาวน้อยสองคนนี้ไม่ยอมแพ้ ขอหนูลองกอดหน่อยนะ

                                     ขอกอดคนเดียวนะคะ

                                      โอ๊ะๆ สงสารเมาะจังเลย

                                น้องเกมอดไม่ไหวขอกอดเมาะอีกที

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก

http://th.wikipedia.org/wiki

http://www.pantown.com/board.php?id=22691&area=4&name=board8&topic=1575&action=view

http://www.pantown.com/board.php?id=22691&area=4&name=board8&topic=1575&action=view

ขอบคุณลายสวยจาก

http://www.oknation.net/blog/prettybluesea/2009/11/08/entry-1/comment

 

                                         

หมายเลขบันทึก: 369067เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2010 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (52)

เรียนพี่krutoiting

   ขอกอดด้วยคนได้มั๊ยคะ

สวัสดีครับพี่ต้อย

ได้อ่านบันทึกนี้แล้วย้อนอดีต ......สมัยก่อนทุกบ้านจะปลูกนุ่นริมดม ชายแดนอย่างน้ออย หนึ่งต้น

พอเข้าหยาม(ฤดู) นุ่นสุก ถ้าบ้านไหนไม่สนใจสอยเก็บนุ่นไว้ มันจะปลิวลอยขาวไปตามแรงลม (คงเป็นที่มาของคำว่าเบาเหมือนนุ่น)

ผมมักถูกน้าสาวใช้ให้เก็บนุ่นทุกปี เอาปลอกเปลือกใส่เฌอ ใช้ไม้กากะบาด หมุนเอาเม็ดเอาใส้นุ่นออก แยกนุ่นไว้ แล้วน้าก็จะเย็บปลอกหมอน เย็บเบาะ มาถึงตอน "ยัดนุ่น"ลงเบาะน้าจะทำเอง การยัดนุ่นเป็นศิลป เป็นภูมิปัญญษ ต้องรู้ว่าเป็นหมอนของใคร จะยัดนุ่นให้นุ่ม หรือให้แข็งอย่าใร ล้วนล้วนเป็นศิลป์ ที่ใช้ใจทำ ความรักความอบอุ่นมักเกิดขึ้นจากงานฝีมือ

"ที่นอนสมัยใหม่ ที่โฆษณาว่า ไร้รอยต่อ ทอเต็มผืน หลับเต็มตื่น" ก็ไม่สามารถทดแทนความอุ่นจากใจของที่นอนนุ่นได้จริงมั้ยพี่ต้อย

P

น้องคุณยาย

ร่วมกอดเมาะกันดีจังเลยค่ะ

เคยใช้ไหมคะ

มันจะนุ่มทกว่าหมอนมากค่ะ

สมัยก่อนใช้เป็นผ้าห่อเด็กไปในตัว

ขอบคุณ

P

น้องบาววอญา

พูดได้ชัดเจน นึกถึงตอนเด็กๆพี่เคยช่วยแม่ยัดนุ่นเมาะ และหมอน

จริงอยู่ว่าเราจะรู้ว่าหมอนที่ทำนั้นสำหรับใคร

พ่อชอบหมอนแข็งๆ แต่แม่ชอบนุ่นน้อยๆนิ่มๆ

เวลานอนก็พับครึ่งหมอนก่อนหนุ่นบอกว่าสบายคอดี

มันเป็นศิลปะจริงๆเพราะไม่งั้นแล้วนุ่นจะกองรวมกันเป็นก้อนๆนอนไม่สบาย

หลังจากยัดนุ่นได้ตามต้องการแล้ว

ยังมีศิลปะการปัดใยนุ่นที่ตกค้างที่หมอน

ต้องเอาออกไม่งั้นนุ่นจะเข้าจมูกได้

โดยเอาผ้าชุปน้ำหมาดๆแล้วปัดเบาๆ

นุ่นที่เกาะตกค้างอยู่บนหมอน

ก็จะม้วนตามผ้าที่ปัดมันออกมา

ไม่ฝุ้งอีกแล้ว 

เมื่อกี๋แวะไปปลูกต้นไม้ถวายพ่อหลวงที่นี่มาค่ะ

http://www2.egat.co.th/treeforking/

เมื่อวานไปเก็บกล้าโกงกาง 199 ต้น

ตั้งใจว่าพรุ่งนี้จะปลูกกับจิตอาสาน้อย

ถวายพ่อหลวงเหมือนกัน

ปีที่ผ่านมาปลูกได้ทะลุเป้าค่ะไม่นับรวมที่ภาคเอกชน

เมล์มาแจ้งขอความร่วมมือในการเตรียมต้นกล้านะคะ

แต่การรอดของโกงกางยังน้อยทำให้ต้องเร่งปลูกมากขึ้น

ขอบคุณค่ะ

 

เรียนครูต้อย และสมาชิก

ขอบคุณครูต้อยจากใจจริงที่สละเวลานำเรื่องเมาะมาลงเป็นความรุ้ให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก เพราะผมเชื่อคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยกว่า 30-40 ปีอาจจะไม่เคยเห็น หรือรู้จักว่าน่าตาเมาะโบราณยัดด้วยนุ่นเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นความน่ารัก อบอุ่น และแสดงความห่วงใย หากมีใครสักคนจะทำเมาะให้เรานอน (ก็แม่เรานั้นแหละ) เพราะทุกขั้นตอนของการทำ คนทำจะต้องใส่ใจ ดูว่าใส่นุ่นแค่นี้พอไหม? คนนอนจะสบายตัวหรือไม่ มันแสดงถึงความรัก ทำนุ ถนอม จากคนๆหนึ่ง ถึงอีกคนหนึ่ง ถ้ามีโอกาศผ่านไปใกล้ๆ แถวโรงเรียนของคูรต้อย ต้องแวะไปทักทายแน่นอนครับ

ขอบคุณมากครับ

ขอกอดด้วยคนค่ะ  เมาะอันนี้ใหญ่ดีจัง ท่าทางจะนุ่มและอุ่นมากๆ

เมื่อวานโรงเรียนไหว้ครู มีคนถ่ายตอนกอดกับลูกศิษย์ แทนเมะ... 

คนถ่ายรีบกดชัทเตอร์ คงกลัวไม่ทันได้ภาพ  เลยเบลอ...

เอามาฝากที่บันทึกนี้ ร่วมกอดด้วยคน

สุขกายสบายใจนะคะ

 

 

 

อยากกอดทั้งเมาะและกอดเจ้าของบันทึกด้วยนะคะ   ที่ร่วมเสนอสิ่งดีๆและของสมัยเก่าที่คนสมัยนี้ไม่ค่อยรู้จักกัน ( ดูเด็กก็รู้ว่าตื่นเต้นมาก )

อาจเป็นเพราะความสะดวกในการทำความสะอาดมังคะพี่

พี่เอากลับไปถึงบ้านแล้วสงสัยต้องซักอย่างแรงแน่  ก็ดูแต่ละคนซิแย่งกันกอดใหญ่เลยกลิ่นติดตัวหลายสิบคน....อิ  อิ

30เรียนคุณ

saner rattanavaleeเจ้าของเมาะตัวจริง

ที่ไม่เคยเห็นตัวจริง ได้กรุณาแวะมาเยี่ยมบันทึกนี้

ความรักของแม่ถ่ายทอดผ่านเมาะที่แม่เย็บด้วยมือ

เด็กทารกสมัยนี้พอลืมตาดูโลกก็พบกับเส้นใยสังเคราะห์เสียแล้ว

ครูต้อยคิดว่าจะนำเมาะนี้ไปขยายผลกับผู้ปกครองและ

ให้กับงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลสมุทรสาคร

รวมทั้งงานกิจกรรมของแกนนำจิตอาสาผู้ป่วยเบาหวานด้วยค่ะ

การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา และโอกาส

ขอบคุณค่ะ

P

ขอบคุณค่ะน้องครูใจดี

เป็นภาพที่ประทับใจนะคะ

พี่จะคุ้นเคยกับเมาะมากกว่าเบาะ

ที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด

เมาะทำให้เด็กน้อยปลอดภัยค่ะ

เบาะสมัยใหม่หากแม่ไม่ระวัง

ปล่อยลูกน้อยโดยไม่เอาหมอนข้างมากั้น

หากเด็กพลิกตัวหรือดิ้นเก่งๆ

อาจตกเบาะร้องจ๊ากได้

เพราะพื้นผิวที่เรียบเกินไป

ต่างจากเมาะ เราสามารถปรับให้เป็นแอ่งเพียงตบเบาๆไล่นุ่นไปมา

และให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็กทารกเหมือนถูกโอบกอดไว้ค่ะ

เป็นขนาดที่นิยมใช้ค่ะ

สามารถนอนได้จนกว่านุ่นจะหมดอายุ

คือพอโตขึ้นเมาะก็กลายสภาพเป็นหมอนใบโตได้เช่นกันค่ะ

 

P

ขอบคุณค่ะ

ยังอยู่ที่โรงเรียนค่ะ

เพราะเด็กน้อยยังต้องเรียนรู้อีกหลายห้อง

จะใช้เป็นสื่อเรี่ยนรู้สู่วิถีไทย

รวมทั้งหัดทำเมาะที่ระลึกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะพี่krutoiting
  • เป็นบันทึก ที่เต็มไปด้วย บรรยากาศของความอบอุ่น..
  • ได้อ่าน  ได้ดู..แล้วได้ ยิ้มค่ะ..
  • ได้ ระลึกถึงวันวาน..เมาะเป็น สิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของ ไทยแท้ๆอีกอย่างหนึ่ง
  • ขอบคุณค่ะคุณพี่..ที่ได้ชวนให้รำลึกถึง ความเป็นไทยโบราณ..ที่อบอุ่น..
  •   ชอบภาพนี้มากๆๆๆ 

ตามภาพสุดหล่อกอดเมาะมาค่ะพี่ต้อย เพิ่งเคยได้ยินเชื่อ เมาะอย่างนี้นี่เอง น้องชายคนเล็กยุคใหม่ต้องใช้เบาะ จำได้ว่าต้องมีหมอนข้างกั้นด้วย มิงั้น ... อิ อิ ขอบคุณพี่ต้อยมาชวนไปรำลึกความอบอุ่น ค่ะ

เห็นแล้วนึกถึงตอน แม่ย่า แม่เฒ่าจะยัดนุ่น เย็บที่นอน หมอน กันเอง บางบ้านก็เยอะเกิ๊นค่ะ สุกปลิวลอยละล่อง เป็นที่หนุกหนานของเด็กๆ ... ถึงสมัยยุคอี๋แม่ ยัดนุ่นแล้วจะไอ จาม แต่สนุกสนานกับการเลือกว่า ใครชอบลวดลาย สี ขนาด พอง อวบ แบน ก็ว่ากันไปค่ะ ;)

P

ขอบคุณค่ะนัฐพร จันทร์ส่งสิงห์
พี่คุ้นเคยกับเมาะมายาวนาน

อบอุ่นทุกครั้งเมื่อสัมผัส

ภาพของแม่ที่ค่อยๆบรรจงหยิบนุ่นทีละ 1 หยุบมือ

แล้วค่อยๆเคลื่อนมือลงปากถุงอย่างระมัดระวัง

จนได้นุ่นเกือบเต็มถุงผ้า

หลังจากนั้นเย็บปิดปากถุงด้วยด้ายที่ร้อยเข็ม 2 ทบ

สายตาของแม่ที่จดๆจ้องๆแทงเข็มลงไปที่ปากถุง

ร้อยเย็บแนบเนียนด้วยฝีมือที่เปี่ยมรัก

จากนั้นใช่ผ้าสะอาดผืนเล็กๆจุมน้ำพอหมาดๆ

บรรจงเช็ดฝุ่นนุ่น ด้ายนุ่นที่ตกค้างบนถุง

ตบเบาๆไล่นุ่นให้กระจายทั่วถุง

เราเรียกมันว่าเมาะค่ะ

นำเมาะไปตากแดดสัก 1 แดดเพื่อไล่ความชื้น

เป็นอันเรียบร้อยพร้อมใช้ค่ะ

 

P

แสดงว่าอยู่กึ่งกลางระหว่างความเปลี่ยนแปลงไหม

หากเมาะเปื้อน เราจะรีบจับผ้าส่วนที่เปื้อนขึ้นมา

แล้วนำไปซักเหมือนวักผ้าเฉพาะบริเวณที่เปื้อน

แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท

นิยมไทยเป็นวิถีไทยที่อนุรักษ์ธรรมชาติ

เมาะที่เลิกใช้แล้วยังสามารถเลาะเอานุ่นมาตากแดด

แล้วปั่นด้วยมือทิ้งฝุ่นนุ่นส่วนที่เหลือนำไปยัดเบาะรองนั่งได้ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะน้องpoo

เมาะคือหมอน ที่นอนเด็กนี่เอง

กอก็งงว่ากอดเมาะอะไรกันพี่ครูต้อย อิอิ

เดี๋ยวนี้ยังมีนุ่นอีกเหรอค่ะ เก่งจัง

P

น้องกอจ้า

นุ่นตามต่างจังหวัดยังมีอยู่นะคะ

http://img707.imageshack.us/img707/442/15752008050200055621b2d.jpg

ตามชนบท เขาจะปลูกไว้อย่างน้อยบ้านละ 1 ต้นค่ะ

เอาไว้ใช้งาน พี่เห็นว่าเป็นภูมิปัญญาไทยเรานะน้อง

ที่คนไทยเรารู้จักนำธรรมชาติมาใช้ในชีวิตประจำวัน

หากคนไทยหันมาสู่วิถีไทยด้วยความรัก

และหวงแหนความเป็นไทยของเรา

นุ่นก็เป็นสิ่งที่คนไทยจะยังไม่ลืม

ต้นนุ่นนั้นมีประโยชน์หลายอย่างนะคะ

เช่นไส้นุ่น ใช้ผสมกับฟางข้าวอัดแน่นใช้เพาะเห็ดฟาง

แต่อาจมีของแถมออกมาในขณะเพาะเห็นนะคะ

คือจะได้ต้นนุ่นออกมาด้วย เนื่องจากเก็บเมล็ดนุ่นไม่หมด

เนื้อไม้นุ่น ทำกระสวยทอผ้า

http://www.be2hand.com/images/upload_shop/200710/200710-25-075314-1.jpg

และ เยื่อกระดาษ ส้นรองเท้า

ส่วนราก ต้มกับน้ำดื่ม...ใช้ขับปัสสาวะ

ส่วนเปลือกของต้นนุ่นมีแทนนิน ใช้กินแก้ท้องเสีย

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอกอดเมาะด้วยคนค่ะ

คุณครูค่ะ เมาะกับหมอนต่างกันอย่างไร ไม่ทราบจริงๆค่ะ ดูแล้วก็คล้ายๆกัน หรือว่า..เมาะใหญ่กว่าหมอน...

โชคดีมีความสุขนะคะ

เมาะ เบาะ สงสัยอันเดียวกัน บ้านข่อยเอิญเบาะ ที่นอนวางกับพื้นกระดานให้เด็กทารกนอน ถ้าเด็กโตขึ้นพอคว่ำได้เขาจะไม่ให้นอน กลัวเด็กนอนคว่ำหายใจบ่ได้เด่อ ข่อยชอบกอดเล่นยามเบิ่งโทรทัศน์

ก็เป็นเรื่องราวที่เด็กจะเลื่อนหายไป ต้อยหยิบทุกเรื่องเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนได้อย่างสนุก

มิสุมาเล่ากาเขาะ อิเปะมาอีคอเขาะ

โฮวะตา โจโล่โล จะทอนดึ

เฮ่โล เฮ่โล ยาเม้า

ยาเม้า อีคอเขาะ

อีคอเขาะ อีคอเขาะ

เพลงกะเหรี่ยง ให้ลูกเสือร้องสนุกสนุก ตบมือให้จังหวะพร้อมกัน ยืนกระทืบเท้า ตัวก้มเล็กน้อย ยืนล้อมเป็นวง ขยับตัวไปข้างๆตามจังหวะเสียงร้อง ม่วนหลายเดอเสี่ยว

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาขอกอดเมาะด้วยคนค่ะ
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

                       

สวัสดีครับ เร็วๆนี้จะมีการฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ งานนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายครับ แล้วจะมาเรียนให้ทราบครับ

  • ที่บ้านสวน มหา ก็ปลูกนุ่น คุณแม่ปลูกให้ตอนมาเยี่ยม ต้นใหญ่มากและเสียดายไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย

เอกลักษณ์ อัตตาลักษณ์ ของคนอีสาน ปลุกนุ่นไว้ทำหมอนทำเบาะกันอยู่แล้วคะ เป็นภูมิปัญญาและวิถีชีวิตแบบไทยๆๆๆ สุยังเห็นการทำเบาะสมัยก่อน ที่นำงิ้ว นุ่นมาแกะ นำไปตากแล้วนำไปปั่น ด้วยมือ โดยมีไม้เป็นแฉกๆๆ ปั่น เอาเมล็ดออก  และทุกวันนี้ทันสมัยไปอีหน่อย มีรถนำเครื่องปั่นด้วยเครื่องยนต์มารับปั่นนุ่นตามบ้าน โดยเขานำเม็ดกลับคืนไป ไม่ได้ถาม ว่าเขาเอาไปทิ้งหรือไปทำประโยชน์อย่างอื่นอีก

-มองเห็นการทำเบาะที่ ละเอียดอ่อน ทำด้วยใจ เพื่อให้ลูกที่รักที่จะเกิดใหม่ได้รับความสุขและความอบอุ่น ตามชนบทยังได้เห็นการทำเบาะอยู่คะ

-แต่สมัยใหม่ ก็ให้ความสะดวกสบาย  มีเบาะนุ่ม ยัดนุ่น หรือฟองน้ำมาขาย ตามร้านค้าทั่วไป ซื้อสำเร็จมาเลย จึงไม่ได้ใจตรงที่ไม่ได้ยัดเอง อาจจะเป็นเพราะว่า ต้องรีบเร่ง ซื้อเอา จะสะดวกกว่าคะ

-นานไปคนอาจจะลืมเมาะ ที่ทำด้วยฝีมือย่า ยาย ไปเลย ทั้งที่ มันมีภูมิปัญญาไทย ในการทำด้วยใจและระมัดระวัง เผื่อให้ลูกได้ใช้อย่างมีความสุข

-และต้นนุ่น ก็ยังมีตามบ้าน ชนบททั่วไป ถึงเวลาก็มาเก็บใส่กระสอบไว้ใช้เมื่อคราจำเป็น  ทุกวันนี้  บางทีสุยังเห็นลิง รับจ้าง ปลิดหมากนุ่น งิ้วเลยคะ

                   

เรียนครูต้อยและท่านสมาชิกทุกท่าน

ได้อ่านกระทู้ของแต่ละท่านแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำอรรถาธิบายของคูรต้อยแล้ว ผมเชื่อว่า"เมาะ" ยัดนุ่นต้องกลับมาเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจ สายสัมพันธุ์ระหว่างแม่กับลูกที่เชื่อมโยงถึงกันผ่านเมาะยัดนุ่นที่แม่บรรจงทำเพื่อลูกรัก แต่ผลประโยชน์พลอยได้ที่ตามมามันมีค่ามหาศาลยิ่งกว่า คือการอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ถาวรกับมนุษยชาติให้นานเท่าที่จะนานได้ โลกเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา เพราะมนุษย์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับธรรมชาติอย่างมีสติ ไม่แม้แต่จะคิดว่า ทำไมมันถึงได้เกิดอุบัติการณ์ทงธรรมชาติ "the so- called natural disaster"เช่น ดินถล่ม โคลนทลาย หลุมยักษ์ที่อยู่ๆ ก็โผล่ขึ้นมาเองกลางหมู่บ้านบ้าง กลางถนนหนทางบ้าง เหล่านี้เป็นต้นถึงได้เกิดมากขึ้น มากขึ้น เราจะมาคิดได้อีกทีก็ตอนที่มันมาเกิดกับตัวเราเอง หรือกับคนใกล้ตัวเรา ผมอยากจะกราบครูต้อยงามๆ ตรงที่ครูต้อยพูดว่า เมื่อใช้เมาะจนหมดอายุขัยของมันแล้ว ยังสามารถเอานุ่นที่เหลืออยู่มาทำประโยชน์อย่างอื่นได้อีก ซึ้งตรงกับข้อมูลที่มีการทำวิจัยเอาใว้ว่า เบาะที่ทำมาจากฟองน้ำ หรือใยสังเคราะห์ หลังจากใช้งานได้ 5-6เดือนก็จะถูกทิ้งขว้างไม่ใช้งานเพราะเด็กโตเกินกว่าที่จะนอนบนเบาะฟองน้ำเล็กๆ แบนๆ น่าเกลียดนั้นแล้ว และก็จะถูกทิ้งให้ย่อยสลายไปเองบ้าง หรือเก็บใว้เป็นขยะมลพิษให้ลูกหลานจัดการต่อไปในอนาคตบ้าง ขอบคุณทุกความเห็น ในส่วนตัวผมเองก็จะขอสนับสนุนท่านใดที่อยากได้และใช้เมาะนุ่นเท่าที่กำลังทรัพย์จะเอื้ออำนวย

ขอบคุณครับ

เสนอ

P

ขอบคุณค่ะ น้องmena

ขออนุญาตตอบจากประสบการณ์การใช้งานแบบทางบ้านพี่นะคะ

หมอนกับเมาะมีความแตกต่างกันในเรื่องดังนี้ค่ะ

1.รูปทรงที่แตกต่างกัน หมอนมีขนาดพอเหมาะเพื่อการหนุ่นศีรษะมีขนาดกว้างมากกว่ายาว มีทั้งแบบหมอนคู่ และหมอนเดี่ยว ความกว้างของหมอนนั้น เพื่อรองรับการพลิกตัวพลิกหน้าเวลานอน และไม่สามารถไล่นุ่นให้สูงต่ำได้เช่นเมาะเพราะการยัดนุ่นใส่หมอนนั้นต้องยัดให้พอเป็นรูปหมอน หรือแน่นไปเลย ส่วนเมาะนั้นตัดเย็บตามลักษณะความสูงของเด็กค่ะส่วนที่ยาวจะรองรับสรีระของร่างกาย สามารถไล่นุ่นให้มีความสูงต่ำเป็นเนินลาดลงมา ดังนั้นเมื่อเอนกายลงนอนด้านศีรษะจะสูงกว่าปลายเท้า

2.เมาะสามารถกลับหัวกลับท้ายนอนได้ เพื่อปรับสมดุลของร่างกาย โดยเอาด้านสูงไว้ปลายเท้า และหันศีรษะมาทางด้านลาดต่ำค่ะ ในขณะที่หมอนนั้นทำไม่ได้

3.เมาะทำหน้าที่เป็นผ้าห่อหุ้มทารกได้ ในขณะที่หมอนไม่สามารถทำได้ ยกเว้นหมอนใบนั้นมีขนาดใหญ่ และยัดนุ่นบางๆ

4.หมอนยัดนุ่นซักน้ำไม่ได้ เพราะนุ่นจะรวมตัวเกาะกันจนแข็ง แต่เมาะสามารถซักได้ โดยไล่นุ่นไปอีกด้านหนึ่งที่ไม่เลอะก่อนทำการซักบริเวณที่เปรอะเปื้อนได้ค่ะ

ขอบคุณน้องที่ถามประเด็นนี้นะคะ

 

 

 

30เชียร์เพื่อนรัก

เมาะ เบาะ สงสัยอันเดียวกัน บ้านข่อยเอิญเบาะ ที่นอนวางกับพื้นกระดานให้เด็กทารกนอน ถ้าเด็กโตขึ้นพอคว่ำได้เขาจะไม่ให้นอน กลัวเด็กนอนคว่ำหายใจบ่ได้เด่อ ข่อยชอบกอดเล่นยามเบิ่งโทรทัศน์

แต่ที่บ้านเขาเบาะกับเมาะแยกกันตามลักษณะ

และอยากบอกว่าเพลงลูกเสือ..วันพฤหัสบดีจะนำไปสอนลูกเสือ

ว่าแต่ว่าเขาไมรู้ว่าเพลงกะเหรี่ยงนี้มีความหมายว่าอย่างไร

มิสุมาเล่ากาเขาะ อิเปะมาอีคอเขาะ

โฮวะตา โจโล่โล จะทอนดึ

เฮ่โล เฮ่โล ยาเม้า

ยาเม้า อีคอเขาะ

อีคอเขาะ อีคอเขาะ

 ตบมือให้จังหวะพร้อมกัน ยืนกระทืบเท้า

ตัวก้มเล็กน้อย ยืนล้อมเป็นวง ขยับตัวไปข้างๆตาม

เอ.....ท่าทางจะสนุกแน่ๆเลย

ช่วยอธิบายหน่อยนะ

ขอบคุณมากเพื่อนรัก

P 

ขอบคุณค่ะน้องบุษรา
เรื่องของนุ่นนี้มีมากมายหลากหลายนะคะ
แต่ละท้องถิ่นก็นำไปใช้ประโยชน์ต่างๆกัน
พี่เองอยากรู้จังเลยว่าคนที่นำนุ่นมาใช้
อาการที่เรียกว่ายัดนุ่นนั้น มองดูแล้วก็ยังต่างจากการใส่หรือบรรจุนุ่น
ภาษาไทยนี่น่ารักนะคะ ใช้คำอธิบายให้เห็นภาพได้ด้วย
ยัดนุ่นเพราะบริเวณที่จะนำนุ่นใส่ลงไปนั้นเขาเว้นช่องไว้แคบ
แค่พอที่มือจะล้วงเข้าไปได้
พอกำนุ่นเข้าไปด้วยมันจึงดูเหมือนแน่น ต้องยัดเข้าไป
อีกอย่างที่นิยมเว้นช่องว่างไว่แคบๆ
ก็เพื่อเวลาปิดปากเมาะนุ่นจะได้ไม่ฟุ้งเข้าจมูกคนเย็บค่ะ
นอกจากนี้ยังเป็นการง่ายและเร็วกว่าการเย็บด้วยมือ
เพราะสมัยก่อนนั้นเครื่องจักรเย็บยังไม่ทันสมัย
ขอบคุณค่ะ

P

ขอบคุณค่ะ น้องสามารถ

ตอนนี้ก็ภาวนารอไปก่อนว่าขอให้ว่างๆๆ

ขออย่าได้มีงานราชการด่วนเข้ามาในช่วงนั้นเลย....

พี่จะไปให้คุ้มเลยค่ะ

จะเอามะนาวกลับมาปลูกในสวนผักหลังครัวที่โรงเรียน

เพราะเด็กทะเลมีพืชผักให้เรียนรู้น้อยมาก

แล้วจะซื้อถุงเห็ดเอากลับมาเพาะ

รวมทั้งหาพันธุ์ไม้แปลกๆกลับมาปลูกที่โรงเรียน

ขเอบคุณค่ะ

P

ขอบคุณน้องมหามากค่ะ

ต้นนุ่นที่สมบรูณ์นี้ทำให้

บันทึกนี้มีความหมายมากชึ้นทันที

เป็นต้นนุ่นที่มีฝักอวบสมบรูณ์นะคะ

P

ขอบคุณค่ะน้องสุ

จริงซิยังมีงิ้วนุ่นที่มีดอกสวยจับใจอีก

มันมีฝักที่ให้ปุยนุ่นเหมือนนุ่นจริงๆ

คนเขายังนิยมนำงิ้วนุ่นไปปั่นเป็นด้าย

พี่เจอบันทึกเรื่องงิ้วนุ่นในเน็ตเลยนำมาฝากให้Linkค่ะ

ขอบคุณเจ้าของบันทึกงิ้วนุ่น ผ่านบันทึกนี้ด้วยค่ะ

 

เรียนคุณเสนอ

 "disaster"นั้นน่ากลัวมาก เราไม่มีทางแก้ไขอะไรมากไปกว่าเท่าที่เราเห็น

และรับรู้เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อมีโอกาสตอบแทนธรรมชาติจึงทำทันที

ทุกวันนี้ครูต้อยจะบอกเด็กๆทุกครั้งว่าทำความดีกันนะลูก

โอกาสของเรามาถึงแล้ว เพราะเราไม่รู้ว่าวันไหนเราจะไม่ได้หายใจ

ก่อนเรียนทุกชั่วโมงเราจึงทำสมาธิพร้อมกัน  5 นาที

หลังจากจบชั่วโมงจะให้เด็กอธิษฐานความดี

และตั้งมั่นต่อไปในใจว่าเราจะทำอะไรที่ดีต่อไป

ยึดมั่นในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสองพระองค์

ที่ทรงพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียงให้เราได้มีชีวิตที่เพียงพอ และมีความสุข

วันนี้ได้บอกเด็กๆแล้วว่าถ้ามีโอกาสคุณเสนอจะมาเยี่ยมพวกเรา

และจะนำรถไฟฟ้าBTS มาให้พวกเรานั่ง...ล้อเล่นค่ะ

เด็กๆเฮกันใหญ่ เลยพากันเม้าส์เรื่องรถไฟลอยฟ้ามาหานะเธอ

ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะพี่ครูต้อยมาขอกอดเมาะและสนุกกับเด็กๆที่ชอบเมาะ..ทางบ้านนู๋ คำว่า "เมาะ"..เป็นอาการของการซบไหล่ พิงซบกัน..แบบให้ไออุ่นกันและกัน..ว้าเหว่ก็ขอเมาะเธอหน่อยนะ..อิอิ..อบอุ่นใจ..(เป็นไรเหรอ..ใครทำให้มานี่โอ๋ๆๆๆมา เมาะๆๆ กะฉันนี่นะ..)

  • มาขอกอดเมาะหน่อย   เมาะน่ากอดจริงๆ  เปลี่ยนจากเมาะเป็นม่ะ ได้ไหม  อิๆๆ
  • บ้านครูดาวเรืองเขาเรียกเบาะค่ะ  เบาะที่รองนอนของทารก   ทำด้วยนุ่น
  • อ่อนนุ่ม  เด็กไม่ร้อนหลัง  แต่เวลาฉี่ใส่.นานกว่าจะแห้ง  ซักไม่ดีก็เก็บกลิ่นได้เยอะ
  • ไม่เอ๊า  ไม่เอา จะกอดม่ะ  ไม่อยากกอดเมาะ  55555555555

 

P

ขอบคุณค่ะน้องrinda
ถ้าอยู่ใกลๆกันพี่จะไปขอเมาะซักหน่อย

เพิ่งทราบค่ะว่าที่บ้านขอน้องRinda

เขากอดกันอบอุ่นๆแล้วซบเบาๆ เว้ากันว่าเมาะ อิอิ น่ารักค่ะ

และให้ตัวอย่างการใช้คำมาด้วย

ขอบคุณที่ช่วยเติมเต็มบันทึกเมาะนี้ค่ะ

 "เมาะ"..เป็นอาการของการซบไหล่ พิงซบกัน..แบบให้ไออุ่นกันและกัน..ว้าเหว่ก็ขอเมาะเธอหน่อยนะ..อิอิ..อบอุ่นใจ..(เป็นไรเหรอ..ใครทำให้มานี่โอ๋ๆๆๆมา เมาะๆๆ กะฉันนี่นะ..)

P

ขอบคุณค่ะ

ทางบ้านน้องดาวเรืองเรียกเมาะว่าเบาะ

เหมือนทางจ.สุรินทร์นะคะ

ทางบ้านของพี่แยกลักษณะเมาะกับเบาะ

เบาะเอาไว้รองนั่ง

แต่เมาะเอาไว้นอน

เวลาน้องทำเลอะก็ไม่ยากค่ะ รีบไล่นุ่นไปอีกทางหนึ่ง

แล้วซักบริเวณที่เลอะ เหมือนซักผ้าทั่วไป

แต่ควรมัดบริเวณที่เก็บนุ่นไว้นะคะ

อย่าให้นุ่นตกมาบริเวณที่จะซัก

เสร็จแล้วเอาไปตากแดด

แล้วอย่าลือหนีบเมาะด้วยไม้หนีบนะคะ

แล้วอย่าลืมกอดม่ะหละน้องสาว

อบอุ่นจังเลย สบายดีนะครับ

P

เมาะเป็นอะไรที่ธรรมดา แต่ไม่ธรรมดานะคะ

วันนี้หลังทำพิธีถวายราชสดุดีแล้ว

พี่ก็นั่งคุยกับผอ.ท่านเห็นเมาะ

ก็ยิ้มสุขใจ เล่าภาพในอดีตขอการใช้เมาะจากประสบการณ์ตรง

เล่นเอาขำได้เช่นกัน ..เคยใช้เมาะไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดี ครับ คุณครู ต้อย

อ่านแล้ว พบว่า....เป็นความอุ่นใจที่ได้สัมผัสนะครับ

ธรรมชาติให้อะไรมากมายกับเรานัก

...

เป็นบันทึกที่อ่านแล้วอุ่นใจ มาก ครับ

..

มีความสุขกับมื้อเที่ยง นะครับครู

มาชม ... เมาะใบนั้น ที่เธอฝัน ยามหนุน ... ฝันดีค่ะพี่ต้อย คิดถึง ๆๆๆ พี่ และเด็กน้อยๆๆ

P

ขอโทษค่ะน้องแสงแห่งความดี
เพิ่งมีเวลาเข้าบล็อกตัวเอง                                                                          วันศุกร์ครึ่งวันเตรียมตัว และเดินทางไปพัทยาค่ะ                                            เรียนรู้เรื่องยากับเภสัชกรมดค่ะ                                                                   น้องมดไปบรรยาย                                                                                 ส่วนพี่ไปรับทราบ                                                                                   เรียนรู้แบบเบาๆไม่เครียดค่ะ                                                                          ที่โรงแรมอยู่ติดทะเลหาดพัทยา                                                                 เป็นการนอนในที่ที่สูงครั้งแรกในรอบปีนี้ค่ะ

เมาะเป็นสมบัติของคนไทยค่ะ 

ขอบคุณค่ะ                                                                  

 

P

ขอบคุณค่ะ

สัปดาห์แห่งความสับสน

ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลามันผ่านไปแว๊บเดียวหาย

เด็กน้อยหนุกหนานบันเทิงใจค่ะ

วันศุกร์ฝนตกแต่เช้าอย่างหนัก รอจนฝนซา

จึงไปโรงเรียน ห้องเรียนร้างรา

จับเจ้าตัวน้อยมารวมกันยังไม่ถึง20 เลย

ชวนกันเล่นเกมhangman

สายมากๆ...ฝนเริ่มหยุดแต่ฟ้า..แสนเศร้า หม่นหมอง

น้องpoo สบายดีนะคะ

อิอิ.ตกบ่ายลั่นลันล้า ลาโรงเรียน

แล้วกระโดดไปพัทยาแบบดีใจ ที่ไหนได้ฟ้าเศร้าเหมือนกัน

บันทึกหน้าจะนำภาพมาให้ชมค่ะ

 

เรียนคูรต้อย

ยังติดตามอ่าน comment @ feedbackของท่านสมาชิกที่เข้ามาอ่านกระทู้ของครูต้อยครับ...เมื่อคราวที่แล้วส่งเมาะไปให้ค่าส่งถูกมากจนแปลกใจ เพราะเคยส่งไปให้สถานรับเลี้ยงเด็กที่ราชบุรี 4-5ใบเมื่อปลายปีที่แล้ว โดนค่าส่งไปหลายตังค์อยู่เพราะไปส่งแบบ ems อ่าน comment ของแต่ละท่านแล้วมีความสุขใจ ที่แรกเราก็คิดว่า ในเมืองไทยนี้ น่าจะเหลือเราคนเดียวเท่าเนี้ย ที่ยังยึดติด กับของใช้โบราณเชยๆ แบบเมาะนุ่น ที่ไหนได้ยังพอมีพรรคพวกร่วมอุคมการณ์ หลงเหลืออยู่บ้าง ขอบคุณครูต้อยมากๆอีกครั้ง ที่ช่วยให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาที่ไปของเมาะ โบราณที่แสนจะไม่โบราณนี้ครับ เสนอ

30

สวัสดีค่ะคุณเสนอ

วันนี้เด็กอนุบาลคนหนึ่งร้องจะเอาเมาะ

บอกว่าหนูชอบ หนูอยากนอน

คุณครูประจำชั้นบอกว่าจะต้องรีบทำให้เด็กน้อยเสียแล้ว

ขอบคุณค่ะ

เรียนครูต้อย

ผมมีเมาะที่ทำใว้เหลืออยู่อีก 2-3ใบ แต่ถูกผู้ใหญ่ (ลูกน้องที่ที่ทำงาน) เอาไปกอดรัด ฟัดเหวี่ยงมานิดหน่อย จะบอกว่าไม่ใหม่ 100% แต่ไม่เก่าจนน่าเกลียดแน่นอน ผมจะส่งไปให้ เอาใว้ให้เด็กเล็กชั้นอนุบาล นอนเล่นถ้าครูต้อย O.K. ช่วยบอกมาทาง email ของผมด้วยนะครับ วันจันทร์จะได้จัดส่งไปให้ครับ

ขอบคุณ

เสนอ

อุนจิงนะครับครู

Ico48 เทาบุรี

อีกไม่นานจะบันทึกวิธีซักเมาะ จากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ซึ่งการวักเมาะวิธีนี้ จะช่วยไม่ให้นุ่นเปียกและเกาะตัวเป็นก้อนแข็งค่ะ

ติดตามชมนะคะ

เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยจะได้ยินคำว่าว่า "เมาะ" เท่าไร

อาจจางหายไปได้นะครับ

ผมอ่านแล้วรู้สึกอบอุ่น  นิ่มดีครับ

Ico48

ของดีของไทยที่กำลังจะหายไป

เมาะคือตัวแทนอ้อมแขนแม่

หุ้มห่อแล้วแทนแขนแม่ทั้งสอง

อบอุ่นกายไม่เหงาไมงอแง

แม้ลูกแว้ก็เงียบได้เมื่อหนุนนอน

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณอดุลศักดิ์ เชื้ทอง


เมาะลายๆที่เด็กนักเรียนแย่งกันกอดอยู่ที่ไหนอยากได้ไว้กอดบ้างจัง

อดุลศักดิ์. เชื้้ิอทอง



คุณอดุุลศักดิ์์. สุขเวสโก

ฝากครูต้อยด้วยว่าเมาะที่เด็กนักเรียนแย้งกันกอดมีใหญ่กว่านี้อีกหน่อยไหมครับเพราะผมอยากได้เอาไว้กอดบ้างแต่ผมไม่รู้จะติดต่อครูต้อยอย่างงัยได้

อดุลศักดิ์ สุขเวสโก

เมาะนุ่นลายดอกไม้น้อยน้อยที่เด็กน้กเรียนแย้งกันกอดมีใหญ่ใหญ่กว่านี้ไหมผมอยากได้บ้างจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท