สัญญาณการแข่งขันทางตลาด(ตอนจบ)


สัญญาณการแข่งขันทางตลาด

รูปแบบสำคัญๆ ของสัญญาณ(ต่อ)

2.  สัญญาณที่อกมาในรูปคำประกาศของผลหรือสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วในอดีต

           คำประกาศนี้จะได้รับความสนใจจากคู่แข่งอันจะมีผลต่อพฤติกรรมในการกำหนดและดำเนินกลยุทธ์ของคู่แข่ง สิ่งที่ต้องระวังคือข้อมูลอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้ เช่น ส่วนแบ่งตลาที่สูงเกินควมเป็นจริง ตัวเลขยอดขายสูงที่สูงมาก ทำให้ดูเหมือนว่าบริษัทนี้มีส่วนแบ่งตลาดที่สูงในสายตายของของผู้ที่ได้รับทรายคำประกาศ

3.  สัญญาณจากคำวิจารณ์หรือคำทำนายสภาวะอุตสาหกรรมโดยคู่แข่งสู่สาธารณชน

          แนวโน้มการปรับราคา เช่น ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน หรือค่ากระแสไฟฟ้า สัญญาณนี้ชี้ให้เห็นถึงฐานคติของบริษัทที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากปัญหาด้านราคาแล้ว อาจจะนำไปประยุกต์กับการเพิ่มกำลังผลิต หรือด้านสื่อโฆษณา

4.  สัญญาณที่แฝงมาในคำอธิบายหรือคำวิจารณ์ความเคลื่อนไหวของบริษัทตนเอง

           โดยมีจุดมุ่งหมายของการออกข่าวนี้ 3 ประการ คือ (1) เป็นการแสดงให้บริษัทอื่นได้รับรู้และเข้าใจในเหตุผลของการเคลื่อนไหวของตน (2) เป็นการสร้างความไม่แน่ใจแก่คู่แข่งขันที่จะดำเนินกลยุทธ์เข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ที่ตนเองดำเนินการอยู่ เช่น ออกข่าวว่าต้องดำเนินกลยุทธ์ด้วยความยากลำบาก มีอุปสรรคมาก และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ คำอธิบายนี้ทำให้บริษัทคู่แข่งเกิดความลังเลและไม่ตัดสินใจเข้าร่วมทันที (3) เป็นการแสดงออกถึงความตั้งใจและตกลงใจในการดำเนินงานครั้งนี้อย่างมุ่งมั่น โดยแถลงข่าวให้เห็นถึงจำนวนเงินลงทุน การตกลงใจในระยะยาว เพื่อแสดงให้คู่แข่งขันเห็นว่าเป็นอู่ข้าวอู่นน้ำที่สำคัญของตนต่อไป

5. สัญญาณที่สะท้อนให้เห็นถึงระดับความรุนแรงในยุทธวิธีที่บริษัทจะเลือกใช้

          ถ้าหากบริษัทเลือกยุทธวิธีที่ก่อให้เกิดผลเสียแก่คู่แข่งขันอย่างรุนแรง ก็จะเห็นถึงความก้าร้าวในด้านยุทธวิธี แต่ถ้าเลือกวิธีที่ไม่กระทบกระเทือนต่อคู่แข่งขันเท่าใดนัก สัญญาณที่แฝงอยู่ก็จะเป็นการแสดงความประนีประนอมและเข้าใจกัน

6. สัญญาณที่แฝงอยู่ในแนวการดำเนินการของยุทธวิธี เช่น ในการแนะนำผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่สู่ตลาด บริษัทคู่แข่งอาจทำการเจาะในกลุ่มผู้ซื้อรายย่อยก่อน แล้วขยายสู่รายใหญ่ หรือเข้ากลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ในทันที กลุ่มเป้หมายที่ต่างกันของกลยุทธ์จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ดำเนินกลยุทธ์ว่ามีความก้าวร้าวต่อคู่แข่งขันอื่นๆ มากน้อยเพียงใด

7. สัญญาณเนื่องจากการเปลี่ยนเป้าหมายขององค์การจากการที่เคยเป็นมา เช่น บริษัทคู่แข่งขายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อเจาะตลาดผู้บริโภคขนาดเล็กที่มีกำลังซื้อสูง ต้องการเปลี่ยนเป้าหมายของผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าโดยเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพลดลงและเข้ากลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่แต่กำลังซื้อต่ำ สัญญาณเคลื่อนไหวลักษณะนี้ควรได้รับการจับตาคู่แข่งขันและวิเคราะห์แนวการดำเนินกลยุทธ์ในอนาคตด้วย

8. สัญญาณที่มาจากการตอบโต้แบบแลกหมัด

       เป็นการที่คู่แข่งขัน 2 ราย เสนอสินค้าในพื้นที่ขายมากกว่า 2 แห่ง หากบริษัทหนึ่งได้ดำเนินการเคลื่อนไหวในพื้นที่หนึ่ง ส่งผลให้คู่แข่งทำการตอบโต้ในลักษณะเดียวกันในอีกพื้นที่หนึ่ง ยุทธวิธีแลกหมัดแบบนี้มีประโยชน์ตรงที่ไม่ต้องเผชิญหน้ากัน แต่ทำการตีโต้ทางอ้อมในอีกพื้นที่การขายหนึ่ง

9. สัญญาณจากการส่งผลิตภัณฑ์ประกบยี่ห้อของคู่แข่งขัน

           การแข่งขันของบริษัทในวงการเดียวกันจะวางผลิตภัณฑ์ลงประกบคู่แข่งขันกัน มีลักษณะคล้ายกับการตอบโต้แบบแลกหมัด

การศึกษาพฤติกรรมในอดีตเพื่อช่วยในการจับสัญญาณการแข่งขัน

          ช่วยให้บริษัทสามารถอ่านสัญญาณที่ถูกส่งออกมาได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น การศึกษาของคู่แข่งขันอาจนำไปสู่การค้นพบสัญญาณแบบใหม่ที่บริษัทแห่งนั้นไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่งจะช่วยในการเตรียมพร้อมต่อการรุกในอนาคตได้อย่างดี

การที่เราให้ความสนใจกับการจับสัญญาณการแข่งขัน

จะเป็นการเปล่าประโยชน์หรือไม่

         การดำเนินกลยุทธ์ถ้าหากเราละเลยหรือทอดทิ้งไม่ติดตามการเคลื่อนไหวของคู่แข่งขันเลย เราก็อยู่ในฐานะที่เสี่ยงกับการขาดข้อมูลอันมีค่าทางตลาดไป และอาจตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ ถ้าหากคู่แข่งขันของเรานั้นมีการติดตามสัญญาณการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา และนำไปช่วยในการตัดสินใจทางกลยุทธ์ของเขาทุกขั้นตอน

.....................................................................................................................

 

หมายเลขบันทึก: 368774เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2010 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ให้มันได้อย่างนี้สิ.. เค้า..แน่นอน..จริง

สวัสดีคร้า..ตอนจบแล้วใช่มั้ยคะ...ขยันจังค่ะ..สู้ๆๆ

สวัสดีค่ะในที่สุดก็สำเร็จแล้วหรือค่ะ สู้ๆค่ะพี่สมศักดิ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท