หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เรื่องเล่าจากดอยมูเซอ : (ม้ง) แม้วแดง


        “มึงไม่เชื่อ พรุ่งนี้มึงไปกับกู เดี๋ยวกูจะพามึงไปดูให้เห็นกับตา...”

        “จะทอ” หนุ่มลาหู่วัยเดียวกันกับสหายคนหนึ่ง เอ่ยทำนองท้าทายเมื่อสหายไม่เชื่อในสิ่งที่เขาเล่าให้ฟังว่าตนเองรู้จักกับ “แม้วแดง” หลายคน

        เป็นเพราะความที่เป็นคนช่างพูด ช่างเจรจา จะทอ จึงเล่าเรื่อง “แม้วแดง” ให้สหายของเขาฟัง

        สหายของจะทอ ผู้เป็นลูกจ้างหน่วยงานราชการหนึ่งเช่นเดียวกัน รับรู้เรื่องราวของ “แม้วแดง” มาบ้าง แต่ก็รู้จักเพียงงู ๆ ปลา ๆ แม้ว่าครั้งหนึ่งเขาจะเคยโดน “แม้วแดง” ถล่มด้วยอาวุธสงครามเมื่อคราวที่ขับรถแทรคเตอร์เข้าไปหมู่บ้านแม้วใหม่ที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร จนเกือบเอาชีวิตไม่รอดกลับมาพร้อมกับเพื่อนร่วมเดินทางอีก ๒ คน ที่ได้ความแน่นหนาของรถแทรกเตอร์ช่วยให้พลางตัวหลบห่ากระสุนนั้นไว้

        เช้าวันรุ่งขึ้นสองหนุ่มก็ออกเดินทางเข้าป่าไป

        ทั้งคู่แต่งกายด้วยชุดลาหู่ คนหนึ่งเป็นชุดที่สวมใส่ในชีวิตปกติ แต่อีกคนหนึ่งแต่งด้วยชุดแบบเดียวกันแต่เป็นการแต่งกายแบบจำแลง ทำเสมือนว่าเขาก็เป็นลาหู่เช่นกัน

        ทั้งคู่สะพายปืนแก๊ปติดตัวไปคนละกระบอก

        “มึงต้องเป็นใบ้นะ เจอใครห้ามพูดเด็ดขาด...”

        นอกจากจะพรางตัวเป็นลาหู่แล้ว สหายของจะทอยังถูกบังคับให้เป็นใบ้ด้วย เพราะขืนพูดต่อหน้าแม้วแดงอาจทำให้แผนแตก นั่นหมายถึงชีวิตที่อาจต้องจบสิ้นด้วยกระสุนปืนด้วยทั้งคู่ต่างก็เป็นคนของราชการ

        “เอ้า...มึงเคี้ยวหมากด้วย...”

        สหายจะทอว่าง่าย คว้าหมากมาเคี้ยวจนปากแดงแจ๋ แล้วก็เดินตามจะทอเข้าป่าไป

        ทั้งคู่หยุดพักกินข้าวที่ห่อไปที่กระท่อมกลางไร่ของชาวลาหู่เจ้าหนึ่ง กินข้าวเสร็จแล้วสหายจะทอก็เอ่ยปาก

        “มาแข่งยิงปืนกันไหม ใครจะแม่นกว่ากัน...”

        เปรี้ยง เปรี้ยง...

        เสียงปืนดังก้องป่าสองนัก ลูกมะละกอบนต้นริมขอบไร่กระจุยด้วยกระสุนลูกปรายจากปลายกระบอกปืนแก๊ปทั้งสองกระบอก

        ป๊อก ป๊อก... ป๊อก ป็อก... ป๊อก ป๊อก...

        ทันทีที่เสียงปืนสงบลง เสียงกระทบกันของไม้ก็ดังขึ้นจากเขาฝั่งโน้น สิ้นเสียงจากฝั่งตรงกันข้ามก็ดังขึ้นรับ มีเสียงตอบรับดังมาจากอีกฝั่งทางด้านข้าง แน่นอนว่าเสียงกระทบไม้นั้นเป็นการส่งสัญญาณบางอย่าง

        ชายฉกรรจ์สองคน สะพายอาวุธสงครามเดินออกมาจากชายป่าด้านนั้น และอีกด้านหนึ่งอีกสองคนก็เดินตามออกมา อีกหลายคนยืนซุ่มอยู่ที่ชายป่า

        ชายฉกรรจ์ทั้งสี่เดินเข้ามาหาจะทออย่างมักคุ้น

        “ไอ้นี่เป็นใคร ไม่เคยเห็น...” ชายคนหนึ่งเอ่ยถามจะทอ

        “อ๋อ ญาติเราเอง มาจากเชียงใหม่ มันพูดไม่ได้หรอกมันเป็นใบ้...”

        จะทอตอบคำถามออกไป ขณะที่สบสายตากับสหายที่มาด้วยกันด้วยทำนองว่าช่วยเล่นละครตบตาให้แนบเนียนหน่อย

        สหายจะทอ เคี้ยวหมากไป ใจก็เต้นโครมคราม ฟังเสียงการสนทนาระหว่างจะทอและชายฉกรรจ์ทั้งสี่

        ชายทั้งสี่คนเป็นชาวม้ง ที่ถูกเรียกว่า “แม้วแดง” เขาเหล่านี้บางคนเคยอยู่ที่บ้านม้งใหม่ ก่อนที่จะหลบหนีเข้าป้าไปเป็นแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งฐานทัพฝึกอาวุธและเล่าเรียนทฤษฎีปฏิวัติกับแกนนำ พื้นที่แถบนี้

        “พวกเราอย่าไปเชื่อเจ้าหน้าที่ราชการ เขาจะหลอกพวกเราแล้วเอาเราลงไปอยู่ที่ค่าย ตชด. พวกเราเป็นชาวเขา เราต้องอยู่บนดอย ไม่ไปอยู่ที่ไหนทั้งนั้น...”

        ชายคนหนึ่งคุยกับจะทอ และในช่วงหนึ่งของการสนทนาก็บอกกับจะทอว่าอีกสามวันพวกเขาจะบุกไปตีที่บ้านม้งใหม่ สหายผู้มากับจะทอนั่งเก็บข้อมูลอย่างอกสั่นขวัญแขวน เพราะได้หมากในปากที่ช่วยให้กลบเกลื่อนพิรุธไปได้

        การสนทนาผ่านไปราวชั่วโมง สหายแม้วแดงก็ขอตัวกลับฐาน สองสหายก็เดินทางกลับไป


สหายของจะทอในสมัยนั้น (ประมาณปี ๒๕๑๑)

 

.....

        เช้าวันรุ่งชึ้น...

        “นาย พรุ่งนี้แม้วแดงจะบุกตีบ้านม้งใหม่ครับ...”

        สหายจะทอ ผู้สวมวิญญานเป็นสายลับ นำข้อมูลที่รับรู้มาจากการสนทนาระหว่างจะทอกับแม้วแดงเมื่อวาน รายงานให้ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในหน่วยงานให้ทราบ

        “มึง หนีไปเที่ยวที่ไหนมา เอาอะไรมาพูดวะ ไป๊ ไป๊ ไปทำงาน...”

        ผู้บังคับบัญาได้ฟังนอกจากจะไม่เชื่อแล้ว ยังเห็นเป็นเรื่องเหลวไหล มิได้ใส่ใจ กระทั่งเวลาผ่านไปสามวันจึงพบว่าตนเองผิดพลาดไปแล้ว เนื่องจากมิฟังคำเตือนจากการคำรายงานของลูกน้องซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของหน่วยงาน

        บ้านแม้วใหม่ หมู่บ้านชาวม้งซึ่งอยู่ในการดูแลของหน่วยงานที่สหายจะทอทำงานอยู่ ถูกตีแตกจากกลุ่มแม้วแดง การประทะกันทำให้อาสาสมัครรักษาดินแดนเสียชีวิตหนึ่งนาย และเจ้าหน้าที่ราชการทั้งหมดที่อยู่ในหมู่บ้านหมู่บ้าน ทั้งเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ครู ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดนต้องถอยร่นออกมาจากหมู่บ้าน สำหรับชาวบ้านแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งหนีเข้าป่าไปเข้าร่วมกับพรรค อีกส่วนหนึ่งถอยร่นไปตั้งแหลักแหล่งในพื้นที่ใหม่

        ข่าวการโจมตีหมู่บ้านม้งใหม่แพร่สะพัดไปพร้อมกับข่าวการรู้ตัวล่วงหน้า กระทั่งเข้าถึงหูผู้ว่าฯ จ.ตาก จนต้องเดินทางมาสอบสวนสหายของจะทอด้วยตนเอง พร้อมกับตำหนิผู้บริหารหน่วยงานที่สหายจะทอทำงานอยู่ที่ละเลยต่อคำตักเตือนของลูกน้องตัวเอง

.....

        พื้นที่ดอยมูเซอ อ.เมือง จ.ตาก เมื่อหลายสิบปีก่อนเป็นพื้นที่สีชมพู ลึกเข้าไปตามแนวเทือกเขาถนนธงชัยใต้ เป็นที่ตั้งกองกำลังของ พคท. อยู่หลายแห่ง ว่ากันว่าธีรยุทธ บุญมี ก็เคยมาประจำการอยู่แถบนี้

        บ้านม้งใหม่ ก่อนจะถูกตีแตก ชาวบ้านส่วนหนึ่งจะหลบหนีเข้าป่าไปเป็นแนวร่วม ซึ่งจำนวนมากที่หลบหนีเข้าป่าเนื่องจากทนการกดขี่ข่มเหงของบรรดาข้าราชการไม่ไหว โดยเฉพาะตำรวจที่ไปหมู่บ้านก็มักจะเบ่งกินไก่กินหมูของชาวบ้านอยู่ร่ำไป เหตุการที่ดูจะร้ายแรงและฝังใจชาวบ้านมากคือ การลักลอบเข้าไปบังคับให้หญิงชาวบ้านที่สามีไม่อยู่ให้ร่วมหลับนอนของตำรวจนายหนึ่ง

        ชาวบ้านที่หลบหนีเข้าป่าไป บางคนที่แววดีก็จะถูกส่งไปเรียนที่เมืองจีน

        ในพื้นที่แถบนี้มีชนเผ่าอยู่หลายเผ่า มีเพียงชาวม้งเท่านั้นที่เข้าร่วมกับ พคท. ส่วนเผ่าอื่น เช่น ลีซู และ ลาหู่ ไม่ปรากฏว่าเข้าไปร่วมกับ พคท. เว้นแต่ว่าจะมีการติดต่อกันในทางลับเพื่อค้าขายและส่งเสบียงให้

        การสู้รบนานยืดเยื้อกว่าสิบปี กระทั่งรัฐบาลออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๓ สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ก็ทำให้เหตุการยุติลง ชาวบ้านที่เข้าป่าก็ออกมามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย พากันมาตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกับพี่น้องที่มาก่อนล่วงหน้า

        ในพื้นดอยมูเซอ มีร่องรอยการสู้รบหลายแห่ง เช่น ฐานของทหารที่ตั้งปืนใหญ่ยิงถล่มไปยังฐานที่มั่นของแม้วแดง ฐานที่ตั้งของตำรวจตระเวนชายแดน ฯลฯ 

        เหตุการณ์สงบลงแล้ว ชาวม้งเลิกเป็น “แม้วแดง” ไปจนหมดสิ้น แต่ก็มีชาวม้งบางคนที่ยังคงสวม “เสื้อแดง” ด้วยเห็นว่าปัญหาความเหลือมล้ำยังมีอยู่จริงและไม่ได้รับการแก้ไข

.....


ที่ตั้งของหน่วยงานหนึ่งในพื้นที่ดอยมูเซอสมัยนั้น

หมายเลขบันทึก: 368563เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สัญญลักษณ์ "เสื้อแดง" ไม่ได้มีความหมายเรื่องความ "เหลื่อมล้ำ"
อย่าเอามาปะปนกับลัทธิคอมมูนิสต์(จีนแดง) ตามความหมายเดิม เป็นการจับแพะชนแกะ
ไปศึกษาให้ดีเรื่องราวการก่อม็อบเสื้อแดงซึ่งเขาทำเพื่อทักษิณคนเดียว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำอะไร

ถ้าพูดถึง "ความเหลื่อมล้ำ" ทักษิณนั่นแหละคือต้นแบบ "ความเหลื่อมล้ำ"

 

อ่านอยู่นาน อย่างละเอียด... หนานเล่าได้อย่างมีอรรถรส  อ่านไปก็ลุ้นไป เหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย... ให้เพื่อนแกล้งเป็บใบ้ เข้าใจคิดนะ

   “เอ้า...มึงเคี้ยวหมากด้วย...”  การหมากมาเคี้ยวจนปากแดงแจ๋ แสดงว่าเป็นพวกลาหู่หรือคะ  อยากเห็นเสื้อผ้าแบบลาหู่ จังเลย  มีรูปหรือเปล่า??

ชาวม้งเลิกเป็น “แม้วแดง” ไปจนหมดสิ้น แต่ก็มีชาวม้งบางคนที่ยังคงสวม “เสื้อแดง” ด้วยเห็นว่าปัญหาความเหลือมล้ำยังมีอยู่จริงและไม่ได้รับการแก้ไข

*** ความเหลื่อมล้ำ ยังมีให้เห็นในทุกสังคมเลย... เมื่อไหร่จะแกไขได้เสียทีไม่รู้***

ขอบคุณเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังค่ะ... เป็นความรู้ใหม่ ที่น่าสนใจมากค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

** อยากชาวคุณหนานเกียรติ ไปฟังเด็กรุ่นใหม่ร้องเพลงลูกทุ่งที่บันทึกค่ะ... ปกติไม่ค่อยได้ฟังเพลงลุกทุ่งบ่ยนัก แต่เด็กคนนี้ร้องได้ประทันใจ เลยทำให้ต้องกล่าวถึง...

** ฝันดีนะคะ  ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

 

สวัสดีครับ หนาน

ต้นเหตุแห่งความขัด คล้ายๆเหตุกรณ์ถังแดงที่พัทลุง ครับ

ยาวจัง กออ่านจากต้นจนจบเลยค่ะพี่หนาน

^___^

ไม่เจอนานเลยค่ะ

สบายดีไหม..

งานสร้างฝาย เป็นไงบ้างล่ะ

        เอาชวนชมไปปลูกดอยมูเซอไหม

สวัสดีค่ะท่านหนาน เรื่องราวน่าสนใจจังค่ะ ไว้เก็บไปอ่านรายละเอียดค่ะ

สาวน้อยเฌวา เป็นไงบ้างเอ่ยคะ แว่วๆว่าทางแม่สอดฝนตกเช่นกัน เฌวาร้องจะไปเล่นน้ำฝนอีกไหม

แล้วเฌวาไปโรงเรียนเป็นไงบ้างเอ่ย อยากทราบข่าวคราวสาวน้อย ขอบคุณค่ะ

จะทอ เขารอบคอบดีมากนะคะ การยิงมะละกอเป็นการเรียกแม้วแดงออกมาใช่ไหม ให้เพื่อนเคี้ยวหมาก ช่วยกลบเกลื่อนพิรุธ ฯ แล้วปัจจุบันตอนนี้ จะทอ ยังอยู่ไหมค่ะ เชียงใหม่วันี้ไม่มีแดดฝนตกแต่เช้าเลยค่ะ อากาศเย็นดีค่ะ

    ภาพนกเหยี่ยวรุ้งจากเน็ตมาฝากค่ะ

สมัยนั้นความเหลื่อมล้ำทางสังคมมีให้เห็น ข้าราชการวางตัวเป็นนายประชาชน

หลัง 14 ตุลาคม 16 จึงเริ่มเปลี่ยนความคิดใหม่ ข้าราชการคือผู้รับใช้ประชาชน

"ฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนจะเป้นใหญ่ในแผ่นดิน" ไม่ทราบว่าทุกวันนี้เป็นใหญ่จริงดังว่าหรือเปล่า

ข้าราชการสมัยก่อนเป็นแบบนั้นจริงๆ ( สมัยนี้ก็ยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่...ชาวประชีเดี๋ยวนี้เขารู้ทันและเขาทันสมัยแล้วววววว )

จึงทำให้เกิดการกรอกหู (รึเป่าหู )  โจมตีรบ.  จนต้องต่อสู้ชิงพื้นที่กันหลายจังหวัดในสมัยนั้น  ไปทางไหนก็มีแต่พื้นที่สีแดง  สีชมพู ( เอ...รึว่าเดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่??? )

ขอบคุณบันทึกเรื่องราวเก่าๆที่เอามาเล่าใหม่ก็ยังน่าศึกษาเหมือนเดิม...

มาชวนหนานเกียรติไปอ่านและตอบคำถามว่าอยากกอดใคร???

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมคุณหนานเกียรติ และหลานเฌวาค่ะ และได้นำภาพสาว ๆ สวย ๆ มาฝากกันค่ะ

           

เป็นการตีแผ่เรื่องราวที่สะท้อนเหตุการณ์หลายๆอย่างที่ถูกมองข้ามไปนะคะ...

ได้รับรู้เรื่องราวดีๆครับ

สวัสดีค่ะหนานมาเยี่ยมอ่านสาระน่ารู้ที่เขียนได้น่าอ่านค่ะ..ความเหลื่อมล้ำยังคงมีอยู่ทั่วนะคะ..อิอิยังอยากเขียนกลอนเก่งอีกแร่ะ..แอ๊ดแลนติกจัง..หุหุ..

สวัสดีเจ้า

  • แวะมาแอ่วเจ้า..บ่ได้มาหาเมินแล้ว
  • หน้าฝน .. ท่าทางป่าจะอุดมสมบูรณ์น่ะเจ้า..
  • ของกิ๋นท่าจะสะป๊ะ..ตึงเห็ด ตึงหน่อ อิอิ

ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเผ่านี้เลย รู้จักแต่ปกากะญอ มีหลายที่ที่เป็นแบบนี้ ทางใต้เขาเรียกว่า ไม่รบกับนายไม่หายจน ฮ่าๆๆ

สวัสดีครับ คุณ ประดิษฐ์ อัตถาการ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและแสดงความคิดเห็น
ขอไม่มีความเห็นตอบต่อความคิดเห็นที่เสนอมานะครับ...

 

สวัสดีครับ คุณครูใจดี 

เรื่องเล่านี้ “พ่อ” ผมเล่าให้ฟังครับ
สหายของ “จะทอ” คือพ่อผมเอง
สมัยเป็นเด็ก ๆ ผมเองก็ได้สัมผัสกับบรรยากาศการสูรบนั้นบ้างครับ

สวัสดีครับ พี่กระแต - มาตายี 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ...

คารวะท่านผู้เฒ่า วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- 

ขอบคุณท่านผู้เฒ่าที่แวะมาเยี่ยมครับ
เหตุการณ์ที่พัทลุงที่กล่าวถึงเป็นอย่างไรครับ พอขะแบ่งปันได้ไหมครับ...

 

สวัสดีครับ น้องกอ - ไผ่ไม่มีกอ 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและอ่านจนจบครับ
แหะ แหะ ว่าจะเขียนสั้น ๆ เผลอแป๊บเดียวยาวเหยียดเลย...

สวัสดีครับ คุณพี่ ครู ป.1 

ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับงช่วงนี้ผมยุ่ง ๆ ครับ เตรียมงานหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องฝายครับ เหนื่อยการเอาการทีเดียว
พี่ไม่สนใจจะไปสร้างฝายด้วยกันเหรอครับ...

 

สวัสดีครับ คุณ poo 

ผมมีเรื่องราวเกี่ยวกับดอยมูเซอหลายเรื่องแล้วครับ จะทะยอยมาเล่าให้ฟัง
ตอนนี้เฌวาไปโรงเรียนครับ เลิกงอแงแล้ว
เฌวาไม่ได้ไปดอยมูเซอนานเกือบเดือนแล้วครับ ปู่กับย่าบ่นคิดถึงแล้ว คิดว่าคงพาไปเร็ว ๆ นี้
ขอบคุณที่ติดตามถามไถ่นะครับ

 

สวัสดีครับ พี่ดา - กานดา น้ำมันมะพร้าว 

จะทอเสียไปหลายปีแล้วครับ
พ่อเล่าให้ฟังว่าผมเคยเจอกับจะทอเหมือนกัน แต่ก็นึกหน้าไม่ออกแล้ว
สหายจะทอคือพ่อผมเองครับ
ขอบคุณพี่ดาที่แวะมาเยี่ยมนะครับ

 

สวัสดีครับ อาจารย์พรชัย 

ข้าราชการยังเป็นเช่นนั้นทุกยุคทุสมัยครับ
เดี๋ยวนี้ในพื้นที่ชนบทก็ยังมีพบเห็นอยู่เรื่อย ๆ ครับ
ที่บอกว่า “ข้าราชการ” คือ ผู้รับใช้ประชาชน ไม่เคยมีจริงเลยครับ

 

สวัสดีครับ krugui Chutima 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ
ผมมีบทเรียนแย่ ๆ เกี่ยวกับราชการจำนวนมากครับ
ข้าราชการยังไม่เคยเป็น “ผู้รับใช้ประชาชน” จริง ๆ เลยครับ

 

สวัสดีครับ พี่ บุษรา 

ขอบคุณภาพสาว ๆ นะครับ
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

 

สวัสดีครับ พี่ใหญ่ - นาง นงนาท สนธิสุวรรณ 

เรื่องราวนี้ผมฝังพ่อเล่าให้ฟังในวงข้าวเย็นวันหนึ่งครับ
สหายจะทอคือ “พ่อ” ผมเองครับ
ขอบคุณพี่ใหญ่ที่แวะมาเยี่ยมเยียนทักทายนะครับ

 

สวัสดีครับ พี่เบดูอิน 

ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
ไปแม่สอดเมื่อใด แวะเยี่ยมผมบ้างนะครับ

 

สวัสดีเจ้า คุณครู rinda 

แหะ แหะ อยากจะเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนกะเขามั่งหนะครับ...

 

สวัสดีเจ้า คุณครู พิชชา 

ลำปางหนาเป็นจะไดพ่องเจ้า...
ขอบคุณตี้มาแวะแอ่วหาเจ้า...

 

สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง 

อยากชวนอาจารย์มาเที่ยวมารู้จักกับชาวม้งและลาหู่ที่ดอยมูเซอครับ
เพื่อจะเจอเนื้อคู่มั่ง ฮิ ฮิ...

 

ตามที่หนานท่านเล่ามาผมว่าเป็นคาวมจริง95%เพราะว่าผมเป็นคนในพื้นที่ตอนเด็กๆพ่อแม่เล่าให้ฟังบอยๆและมีหลักฐานหรือร่องรอยการสู้รบจริง(จากม้งในฟื้นที่)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท