ความแตกต่างระหว่างความรู้ที่เป็น Explicit กับ Tacit


Tacit Knowledge นั้นมีคุณลักษณะที่อาจจะตรงข้ามกัน คือ เป็นความรู้ที่อยู่ในประสบการณ์ เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นเคล็ดวิชา เป็นสิ่งที่ได้มา "สดๆ" จากการปฏิบัติ (Practice)

        เดี๋ยวนี้เวลาพูดเรื่อง KM ทีไร ผมมักจะหยิบยกประเด็นเรื่องความรู้ที่เป็น  Explicit และ Tacit ขึ้นมาถกให้กระจ่างก่อนเสมอ เพราะเห็นว่าถ้าเราเข้าใจในธรรมชาติที่แตกต่างระหว่าง Explicit Knowledge กับ Tacit Knowledge ไม่ชัด เวลาพูดเรื่อง "การจัดการ" ก็จะทำให้เราพลอยไม่ชัดไปด้วย

        ผมยกตัวอย่างเสมอว่า  Explicit Knowledge ก็คือความรู้ที่ออกมาในลักษณะที่เป็นหลักการ เป็นหลักวิชา เป็นสิ่งที่เราเรียกว่า "ปริยัติ" อาจอยู่ในรูปของทฤษฎี หรือ Model ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ วิจัย ก็ได้ เรียกว่าเป็นความรู้ที่ผ่านการทดลอง ผ่านการพิสูจน์ (Proven Knowledge) ถูกทำให้ "Generalize" ในขณะที่ Tacit Knowledge นั้นมีคุณลักษณะที่อาจจะตรงข้ามกัน คือ เป็นความรู้ที่อยู่ในประสบการณ์ เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เป็นเคล็ดวิชา เป็นสิ่งที่ได้มา "สดๆ" จากการปฏิบัติ (Practice) เป็นผลของการใช้วิจารณญาณ ใช้ปฏิภาณไหวพริบ (Intelligent) ผมมักจะหยิบยกตัวอย่างต่างๆ นานาเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า ความรู้สองประเภทนี้มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร หากเราเข้าใจเราก็จะใช้วิธีการ "การจัดการ" ที่แตกต่างกันออกไป

        ในการพูดคุยกับนักบริหารระดับเจ้าของกิจการ และผู้บริหารระดับสูงในหลักสูตร "The Boss" รุ่นที่ 57 ได้มีท่านผู้บริหารท่านหนึ่งยกตัวอย่างขึ้นมาว่า "....สมมติว่าเราต้องการจะเลือกซื้อกล้องดิจิตอล ตอนที่เราเข้าไปใน "เน็ต" ดูการวิเคราะห์เปรียบเทียบกล้องรุ่นต่างๆ ถ้าเราใช้ตรงนั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้น เราก็อาจจะมองว่านั่นคือ Information

        แต่ครั้นพอเราศึกษา "สเป็ค" ลงไปในรายละเอียด ประกอบกับความรู้ที่ได้อ่านมาจากบทวิจารณ์ การ Review การใช้งานของกล้องแต่ละรุ่น ทำให้เราชัดเจนขึ้นว่าน่าจะ "เล่น" รุ่นไหนตรงนี้น่าจะจัดว่าเป็น Explicit Knowledge ครั้นเมื่อสนใจศึกษาเข้าไปลึกๆ เข้าไปอ่านใน Website หนึ่ง ซึ่งมีผู้ที่ใช้กล้องรุ่นต่างๆ ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ พูดถึงลูกเล่นของกล้องแต่ละรุ่นให้ฟัง ตรงนั้นก็น่าจะเป็น Tacit Knowledge"

        ผมฟังแล้วถึงกับอึ้ง นึกไม่ถึงว่าท่านจะยกตัวอย่างได้เฉียบขาดขนาดนี้ ขออนุญาตนำตัวอย่างดีๆ เช่นนี้มาถ่ายทอดไว้ตรงนี้นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #explicit#tacit#knowledgemanagement#km
หมายเลขบันทึก: 36844เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ขอบคุณครับ
  • ข้อมูลเบื้องต้น (Data) ที่รวบรวมนำมาจัดระเบียบเรียบเรียงเป็น สารสนเทศ (Information) จากหลาย ๆ คนหลายที่ มาสังเคราะห์สรุปเป็น  ความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) เมื่อนำไปใช้จริงหรือปฏิบัติ แล้วเกิดความรู้เพิ่มเติม เป็น ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)
  • อาจารย์ครับ ยังขาดอีกขั้นหนึ่งที่ผมเคยได้อ่านหรือได้ยินมาคือ ขั้นเกิด ปัญญา (Wisdom) ขอความกระจ่างจากอาจารย์ช่วยอธิบายหรือยกตัวอย่างต่อให้ด้วยครับ
  • ขอบคุณ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ประพนธ์...               

  • อ่านแล้วซาบซึ้ง (เข้าใจ+ประทับใจ) กับกระบวนการเรียนรู้ครั้งนี้มากครับ

ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้เมื่อสี่ปีมาแล้ว ลองอ่านดูที่ http://www.edtechno.com/modules.php?name=News&new_topic=2 นะครับ

  • ขอบคุณครับอาจารย์ ที่กรุณาชี้เป้าให้ไปอ่านแล้วครับ
ขอบคุณค่ะอ่านแล้วได้เรียนรู้ เพื่อมุ่งไปสู่ความสุขในชีวิตต่ะ
เป็นกระบวนการแห่งความรู้ที่จริงแท้ ขอบพระคุณมากครับ
ขอบคุณครับอาจารย์  ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกแล้วครับ

ขอ share ด้วยคนนะคะ เป็นแนวคิดทางด้านการจัดการสารสนเทศค่ะ   เค้าบอกว่า สารสนเทศ (information) เกิดจากการประมวลผลข้อมูล (data) ซึ่งการประมวลผลมีหลายวิธี  และเนื่องจากสารสนเทศมีเป็นจำนวนมาก (information explosion) จึงต้องมีการขัดเกลาและเลือกใช้จึงเกิดเป็นความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ส่วนความฉลาด (wisdom) เกิดจากการบูรณาการความรู้มาใช้ และเชาวน์ปัญญา (intelligence) เกิดจากการปรับแต่งและจดจำเป็นความคิดที่เฉียบไว ซึ่งทั้งหมดสามารถเชื่อมโยงเป็นระบบสารสนเทศได้ เช่น เป็นระบบสารสนเทศทางการบริหารจัดการ (MIS) เป็นระบบการจัดการความรู้ (KMS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) เป็นต้น ซึ่งระบบสารสนเทศในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็น MIS ส่วนการจัดการเชาวน์ปัญญาก็เป็นพวก AI-Artificial Intelligence ค่ะ 

ขอเรียนถามอาจารย์ เรื่องTacit จากประสบการณ์ของตัวเอง  คือ ดิฉันจะไม่มีความรู้เรื่อง Program Access เลย แต่ต้องมารับผิดชอบงานข้อมูล ซึ่งใช้โปรแกรม Access เป็นตัวจัดเก็บข้อมูล โดยมีคุณหมอท่านหนึ่งเป็นคนสร้างแบบให้ใช้เก็บข้อมูลง่ายๆ  ซึ่งตอนแรกๆ คุณหมอท่านนี้ก็จะสอนเฉพาะเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน  ก็รู้อยู่แค่ที่สอน  จากประสบการณ์ที่ใช้ในการทำงานประจำ โดยการลองผิดลองถูกเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทำให้ดิฉันสามารถที่สอนและถ่ายทอดให้คนอื่นๆ ได้ในระดับหนึ่ง  ทุกวันนี้ก็ยังใช้โปรแกรมนี้ในการพัฒนางานอยู่  ต้อขอบคุณคุณหมอการุณ เป็นอย่างมากที่ช่วยสอนการใช้โปรแกรมนี้ ทำให้ดิฉันนำไปหากินได้สบายเลย ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็น Tacit ได้นะคะอาจารย์ เพราะดิฉันเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยแทบจะไม่ได้อ่านตำราเลย เพราะอ่านแล้วไม่ค่อยรู้เรื่อง

เวลาพูดถึงความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ความรู้ที่เป็นขั้นเป็นตอน ไม่ว่าจะอ่านจากตำราหรือมีคนสอน "สำหรับผม" นี่คือ Explicit K. แต่ถ้าเป็นพวก "Short Cut" หรือ "ทางลัด" ต่างๆ "ผม" จัดว่าเป็น Tacit K. ....ที่สำคัญที่สุดไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะเรียกมันว่าอะไร ....หากแต่อยู่ที่ว่าเราจะ "พัฒนา (Create)" และ "จัดการ ( Manage)" มันอย่างไรต่างหากล่ะครับ

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ...ขอบคุณอาจารย์มากครับ

ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะ ที่ให้ความกระจ่างเรื่อง Explicit  กับ Tacit ทำให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท