Cyber discussion on Law & Economic model to develop Thai Society


ทุกอย่างเริ่มด้วยการคิดและให้เหตุผล

บันทึกฉบับนี้ทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีในการเสวนาโดยอาศัยสื่อทางอิเล็กทรอนิค Facebook และBlog Gotoknow เนื่องจากในบ่ายวันอาทิตย์ที่ ๒๐มิถุนายน ๒๕๕๓ ที่งานParty ณ Sunny Side House ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างนักกฎหมายและ นักเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับ บทบาทของกฎหมาย และโมเดลการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเปรู ซึ่งถูกรวบรวมไว้หนังสือชื่อ เปรูบนเส้นทางเศรษฐกิจนอกระบบ การปฏิวัติที่มองไม่เห็นในโลกที่สาม[กดเพื่ออ่าน เนื้อหาที่มีผู้สรุปย่อไว้] นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายถึงแนวทางการนำเอาระบบmicro credit  ตามแบบของ โมฮัมเมด ยูนูสมาใช้ในประเทศไทย

ประเด็นปัญหาเบื้องต้นในการแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงวิชาการมีดังนี้

๑.อะไรคือปัญหาในการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนของประเทศไทย

๒. โมเดลของกรามีนแบงค์จะนำมาใช้เพื่อพัฒนาคนยากจนในไทยได้หรือไม่

๓. ประเทศไทยมีปัญหาคนยากจนจริงๆ หรือ?

๔. อะไรคือ ความเข้มแข็งของภาคประชาชนไทย

๕. แนวทางการแก้ปัญหาทางการศึกษาของสังคมไทย

อนึ่ง เนื่องจากหัวข้อที่คิด ผมยังไม่ได้ มีการเรียบเรียง เพราะใช้ความจำประเด็นต่างๆล้วนๆ ระหว่างการพูดคุยในวงสนทนา  หากท่านผู้ใดที่ประสงค์จะร่วมวงอภิปรายทางโลกอิเล็กทรอนิคมีข้อเสนอใด ขอได้โปรดแวะมาComment ได้ทันที่ อย่างไรก็ตาม ผมจะเริ่มจากการนำเสนอแนวความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ไทย ของท่านที่ใช้นามว่าคุณมัธก่อน และหากท่านเจ้าของความเห็นมีข้อเสนอ หรือมีข้อโต้งแย้งใดกรุณาเขียนมาได้ในบล็อกนี้ ครับ

 

********************************************************* 

 คุณมัธ นักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งที่ได้ร่วมวงอภิปรายได้ให้ความเห็นไว้ในประเด็นที่ ๓ อย่างน่าสนใจดังนี้

"สำหรับประเทศไทย เราไม่มีปัญหาความยกจนอย่างแท้จริง คือ การไม่มีจะกิน อย่างในต่างประเทศเช่นบังคลาเทศ และในแอฟริกา ดังนั้นการนำ ระบบ ไมโครเครดิตรมาใช่จึงไม่น่าจะได้ผล เพราะ เงินที่ให้กู้ไปจะกลายเป็นหนี้สูญ เห็นได้จากส่วนใหญ่การใช้เงินของชาวบ้านของไทยในกรณีกองทุนหมู่บ้านนั้น ไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อก่อให้เกิดรายได้ แต่ถูกนำไปใช้ซื้อของฟุ่มเฟือยจำพวกโทรศัพท์มือถือ รถจักรยานยนต์ และ ทีวี มากกว่าปัญหาของประเทศไทยจึงไม่ใช่ปัญหาเรื่องของความยากจนแบบไม่มีจะกิน แต่น่าจะเป็นปัญหาเรื่องการไม่รู้จักใช้เงินมากกว่า" (ความเห็นดังกล่าวผู้จัดทำบล็อกพิมพ์จากความจำ ถ้าผิดพลาดประการใดขอ ผู้แสดงความเห็น หรือ ผู้ร่วมอภิปราย ช่วยมาแก้ด้วยครับ ผมจะทำการแก้ไขให้อีกครั้งครับ)
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้ยังได้มองย้อนมาทางมุมมองของนักกฎหมายอีกว่า "กฎหมายไทยนั้นเป็นทฤษฎีและผลพวงของการนำกฎหมายตะวันตกมาปรับใช้ในประเทศไทยโดยไม่ดูความสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย" เช่นกฎหมายเรื่องสหกรณ์นั้น ไม่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย เพราะแนวทางของสหกรณ์ต้องเกิดจากความเข้าใจร่วมกันของสมาชิก มาสู่การตัดสินใจร่วมกันขององค์กร หรือเรียกว่า Bottom Upนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ตัวอย่างที่คุณจตุภูมิอ้างถึงเกี่ยวกับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของชาวบ้าน[อ่านกดlink]ที่ล้มครืนไม่เป็นท่า หลังจากภาครัฐโยนเอาแนวความคิดสหกรณ์เข้าไปใส่ โดยที่ชาวบ้านไม่เข้าใจอย่างแท้จริง"

หมายเลขบันทึก: 368209เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 03:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 08:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ ห่างหายไปนานมากๆ อาจารย์สบายดีนะคะ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนค่ะ  

เคยอ่านเรื่องราวธนาคารแห่งกรามีน ยังประทับใจเลยค่ะ ระบบจะคล้ายๆ กับ สัจจะออมทรัพย์ บ้านเราแต่เป็นเชิงมหภาคมากกว่า หรือเปล่าคะ เห็นด้วยกับมุมมองนี้ค่ะ

... ปัญหาของประเทศไทยจึงไม่ใช่ปัญหาเรื่องของความยากจนแบบไม่มีจะกิน แต่น่าจะเป็นปัญหาเรื่องการไม่รู้จักใช้เงินมากกว่า"

จากการทำงานลงสำรวจชุมชนพบว่า แม้กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ในบ้านเราที่ประสบความสำเร็จ เข้มแข็งจริงๆ ยังมีเพียงเล็กน้อย เนื่องด้วยเหตุผล ข้างต้นนี่เองค่ะ 

 มีความสุขกับการทำงานวันนี้ ขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับที่มาช่วยแลกเปลี่ยนความเห็นที่เป็นประโยชน์ครับ ในส่วนตัวผมเองมีประเด็นแลกเปลี่ยนดังนี้ครับ

 ๑ ในฐานะของนักฎหมาย ผมเห็นด้วยกับที่คุณมัธบอกว่า กฎหมายไทยเราไปลอกเรียนมาจากทฤษฎ๊ และกฎหมายต่างประเทศ และถูกนำมาใช้โดยไม่ดูบริบทของประเทศของเราครับ

 ๒.ส่วนเรื่องความเข้มแข็งของภาคประชาชนนนั้น ผมมองความเข้มแข็งในประเด็นเรื่องคุณภาพในการดำเนินชีวิต การมีอำนาจควบคุมและตรวจสอบการทำงานของภาคการเมือง ตลอดจนคุณภาพของการตัดสินใจของภาคประชาชนครับ อย่างไรก็ตามในประเด็นที่สอามนี้ผม เองยังตั้งคำถามตัวเองอยู่ว่า ผมจะตั้งข้อสังเกตแบบนี้ได้ไหม เพราะถ้า ผมมองว่าปัจจัยที่เข้ามาตัดสินเรื่องความเข้มแข็งของภาคประชาชน คือ คุณภาพของการตัดสินใจ แล้วก็คงจะมีคนมาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ "เกณฑ์ที่ผมจะเอามาใช้วัด" เรื่องคุณภาพของ การตัดสินใจครับ

๓. ผมจึงเสนอดังนี้ครับ ในเรื่องเกณฑ์ ที่ผมคิดว่าน่าจะเอามาใช้วัดคุณภาพของการตัดสินใจของภาคประชาชน ที่ผมคิดออกในตอนนี้น่าจะเป็น เกรฑ์ เรื่องการตัดสินใจที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศไทยโดยรวมเป็นหลักครับ ไม่อิงกับผลประโยชน์ใครกลุ่มใด้กลุ่มหนึ่งมากเกิน

 

เบื้องต้นยังคิดออกเท่านี้นะครับ ได้ไอเดียเพิ่มเติมจะแวะมาแลกเปลี่ยนเพิ่มครับ ถ้าท่านผู้อ่านท่านไหนมีไอเดียดีๆ มาแชร์กันได้นะครับ แม้ว่าจะไม่เคยรู้จักผมมาก่อนก็ตาม จะได้มีอะไรดีๆ (หรือเปล่า?) เกิดขึ้นบ้างครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ

มาแว้วฮะพี่

ก่อนอื่นผมเริ่มจากประเด็นที่ว่าประเทศไทยมีคนยากจนจริงหรือไม่ อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆว่านิยามของความยากจนคืออย่างไรนะครับ แต่ถ้าเอาตัวเลข จีดีพีมา วัดผมก็ตอบไม่ได้เช่นกันเพราะผมตกเลข อิอิ ปัญหาคือไม่ใช่ว่าคนที่มีโทรศัพท์มือถือใช้หรือรถเครื่องขี่แล้วจะเป็นคนยากจนไม่ได้ครับ ปัหาคือเรื่องของการเข้าถึงปัจจัยการผลิตมากกว่า ผมยกตัวอย่างอย่างนี้เพราะไม่ได้หมายความว่าคนที่มีมือถือใช้จะไม่ใช่คนยากจนเสมอไป ย้อมมาดูเรื่องวัฒนธรรมในการสื่อสารก่อน ตัดเรื่องนี้ออกจากความยากจนก่อนนะครับ วัฒนธรรมในการใช้มือถือ ต้องยอมรับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มาจากกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งรัฐไทยคงไม่อาจต้านทานกระแสนี้ได้ ปัญหาที่ต้องตอบคือทำไมคนถึงต้องการโทรศัพท์มือถือ ปัจจัยแรกความสะดวกครับในทุกภาคส่วนต้องมีการติดต่อกันไม่ว่าจะชาวนาหรือชาววนล้วนแต่ต้องการความสะดวกในการขายผลผลิต เพราะฉนั้นวิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุดมากกว่าการขับรถก็คือการโทรศัพท์ ดังนั้นเราปฏิเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนบางส่วนแก่เกษตรกร แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่จนนะครับ ผมย้ินมาจดเริ่มต้นเรื่องปัจจัยการผลิต ต้องถามนักเศรษฐศาสตร์โดยตรงว่า ณ ปัจจุบัน เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองนั้นมีประมานกี่เปอร์เซนต์ และคถามที่ต้องถามต่อคือ เพราะอะไรถึงไม่มีที่ดินทำกินของตนเอง ย้อนกลับมาสู่โจทย์เดิมครับกระแสโลกาภิวัฒน์(ผมไม่ได้หมายความว่าโลกาภิวัฒน์ไม่ดีนะครับ) แน่นเขาเหล่านั้นขายปัจจัยการผลิตของตนและลดฐานะตนเองากนายทุนน้อยไปสู่นักรับจ้าง หรืออาจอัพฐานะไปสู่นายทุนชั้นกลาง เพราะอะไรถึงเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ครับ เพราะเป็นสันดารของมนุษย์น่ะครับ ที่ มีดีมานด์แบบอินฟินิตี้ ดังนั้นความยากจนในทัศนคติของผมจึงตามมา ยาก คือ ยากในการใช้ชีวิต จน คือหมดหนทาง ดังนั้นในประเทศไทยมีคนจนแน่นอนครับ

ประเด็นต่อมาเรื่องกฎหมาย เรื่องสหกรณ์ ผมยกตัวอย่างของ ชาร์ล ฟูริเยต์ เรื่องฟาลังสแตร์ ตอนนั้นและตอนนี้ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่าครับ ไม่ใช่ว่าเรารับมาโดยไม่ดูบริบท แต่สิ่งที่เรารับมานั้นมันเป็นสิ่งที่เป็นสากล เพียงต่เราไม่อ่านคู่มือให้ละเอียดก่อนนำมาใช้เช่นกินพาราเพื่อแก้โรคกระเพาะอาหาร ดังนั้นปัญหาไม่ใช่ไม่ดูบริบทแต่เป็นที่ไม่อานคุ่มือมากกว่า

ประเด็นต่อมาเรื่องแนวทางในการพัฒนา ต้องอแกตัวก่อนว่าผมก็ไม่ได้บ้าคลั่งฝรั่งเศสหรือเยอรมันมาก แต่สิ่งที่แตกต่างกับเราคือ ประเด็นเรื่องรัฐสวัสดิการ ถามว่าทำไมเราถึงไปไม่ถึง คำตอบง่ายมากเลยครับเพราะเราไม่เคยเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยคือระบบการปกครองที่ให้โอกาสคนที่จนที่สุดได้มีสิทะิเท่าเทียมกับคนที่รวยที่สุดในเรื่องการบริการสาธารณะ เพราะอะไรครับเพราะในประเทศไทย เรายังมีชนชั้นอภิสิทธิ์อยู่มากซึ่งผมจะไม่กล่าวพาดพิง ดูง่ายๆครับทำไมไม่มีการเก็บภาษีมรดก แะภาษีที่ดิน เพราะมนมีคนคอยขวางน่ะครับ ซึ่งผมจะไม่กล่าวต่อว่าใครคือแลนด์ลอร์ดในไทย ประเด็นที่ทำให้เรามาได้แค่ประชานิยมของทักษิณแต่ไปไม่ถึงรัฐสวัสดิการเพราะ เราไม่มีเงิน เราต้องปฏิรุประบบภาษีใหม่ในอัตราก้าวหน้าและรัฐต้องมีหน้าที่ในการเลี้ยงดูประชาชนของเขาเพราะเขาจ่ายภาษีในราคาแพง กรุณาอย่างเอาข้ออ้างของพวกขวาจัดมาอ้างในเรื่องคน กทม จ่ายภาษีมากแต่เงินไปลง ตจว มากครับ เพราะระบบ ฟาสิลิตี้ในกรุงเทพนั้นใช้งบมากกว่าเงินงบประมานในการพัฒนา ตจว เสียอีก ดันั้น ประเ็นนี้ผมมองว่าต้อมีการปฏิรุประบบภาษี

ประเด็นต่อมาเรื่องภาคประชาชน อันนี้ตอบยากที่สุดครับ ในประเทศเราไม่เคยมีแนวคิดเรื่องโซลิดาริเต้เลย ผมขอละไว้ก่อนนะครับ

ขอบคุณ ท่านอาจารย์ยอดที่แวะมาให้มุมองดีๆ นะครับ

เดี๋ยวหลังสอบผมจะแวะมา ตั้งประเด็นต่อในเรื่องการแก้ไขปัญหานะครับ โดยเฉพาะเรื่องความต้องการของคนที่ไม่มีขีดจำกัด

จากที่อาจารย์ยอดเขียนมาผมมีมุมองที่แตกต่างในบางส่วน และ อยากทราบเพิ่มเติมในอีกบางส่วนครับ

๑ ถ้าคนเราได้เงินมาจากกองทุนหมู่บ้านและเอาไปใช้อย่างที่คุณมัธบอก คือเอาไปใช้ ในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง แล้วถ้าเป็นอย่างนี้ เราควรจะบอกว่าใครผิด ชาวบ้านผิด หรือรัฐ ผิด หรือ ไม่มีคนผิด และรวมถึงทางภาคเหนือจะพบเสมอว่าที่ดินสปก.หลายแปลงไม่ได้อยู่ในมือเกษตรกรอย่างแท้จริง กลับไปอยู่ในมือ กลุ่มพ่อค้า และผู้มีอำนาจ บางส่วนเป็นเพราะเกษตรกรตั้งใจขายปัจจัยการผลิตของตนเองออกไปเพื่อไปเป็นลูกจ้าง จนเกิดวงเวียนอย่างที่อาจารย์ยอดบอก คือยากจนหมดหนทาง...

หรือ ปัญหาของเราในปัจจุบัน คือ ไม่ควรไปคิดว่า ใครผิดถูก แต่จะแก้ไขวงจรดังกล่าวนนี้ได้อย่างไร การศึกษา? การศึกษาเพื่อให้คนรู้จักใช้เงิน และการบริหารจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่า

จากที่ผมเห็นสังคมทั้งในประเทศไทยและตะวันตก ผมพบว่าปัญหาอย่างหนึ่งที่พบคือ

ในประเทศไทยเราถูกฝึกสอนให้ต้องพึ่งพาสิ่งอื่นๆ รอบตัว แต่ไม่เคยพึ่งตัวเอง ทำให้เมื่อเกิดปัญหา เรามีแต่ร้องแรกแหกกระเชอให้คนอื่นมาช่วย ไม่มีการพึ่งตัวเองก่อน

ส่วนในตะวันตก ทุกคนจะถูกสอนให้พึ่งตนเองก่อนเสมอ ทำให้เมื่อมีปัญหา จึงมีการพยายามแก้ไขปัญหาไปแล้วบางส่วน ดูได้จากแนวทางการเลี้ยงดูเด็กครับ เด็กไทย ถูกสอนให้ขอตังพ่อแม่ตลอด แต่เด็กฝรั่งถูกสอนให้ทำงานพิเศษตั้งแต่เด็ก เหตุนี้เด็กฝรั่งจึงมีการพึ่งพาตัวเองสูงกว่าเด็กไทย แต่ยอมรับว่า สังคมฝรั่งเนื่องจากมีการพึ่งพาตนเองแต่เด็กทำให้ความเป็นปัจเจกบุคคลมีค่อนข้างสูงครับ อาจจะดูเห็นแก่ตัวเล็กๆ แต่ถ้าถามว่าเห็นแก่ตัวจริงไหม ผมว่า ไม่จริง เพราะ เท่าที่ผมสัมผัส ในสังคมนี้ตะวันตกมีการปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสาธารณะมากๆ พอสมควร เห็นได้จากการมีวิชาบังคับในโรงเรียน ให้นักเรียนออกไปบำเพ็ญประโยชน์ตามมูลนิธิต่างๆ และให้เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิรายงานการบำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียน

๒. แนวคิดเรื่อง โซลิดาริเต้ คืออะไรครับ น่าสนใจดี รบกวนอาจารย์ยอดช่วยมาขยายความให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆฟังด้วยครับ ผมเอกงก็ไม่มีความรู้ในด้านนี้

๓. จริงๆ แล้วน่าคิดนะครับว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ท่านอื่นๆ หรืออาจารย์ยอดจะช่วยมาต่อ ประเด็นนี้ได้นะครับ

ตอบพี่วิว ครับ

ประเด็นที่1 ไม่มีใครผิดครับเพราะในมุมของชาวบ้านก็อยากได้เงินมากๆโดยไม่ต้องลงแรงมาก(ผมก็เป็นครับ) เรื่อง สปก นี่ตอบยากครับผมไม่อยากโทษนักการเมืองแต่ผมจะมองว่าเป้นความผิดของวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยมากกว่าครับ

ในประเทศไทยเราถูกฝึกสอนให้ต้องพึ่งพาสิ่งอื่นๆ รอบตัว แต่ไม่เคยพึ่งตัวเอง ทำให้เมื่อเกิดปัญหา เรามีแต่ร้องแรกแหกกระเชอให้คนอื่นมาช่วย ไม่มีการพึ่งตัวเองก่อน

อันนี้ผมเห็นด้วยครับ ผมเรียกสังคมแบบนี้ว่าดัดจริตเพราะไม่เคยที่จะยอมหกล้มด้วยตนเอง

2 แนวคิดที่ว่าคือความเป็นหนึ่งเดียวครับ ตราบใดที่ยังมีการว่าคนอื่นว่า ไอ้...าว หรืออะไรเทือกนี้ไปไม่ถึงแน่นอนครับ

3 ปัญหาเกิดจากอะไรผมตอบไม่ได้ฮะ อันนี้มันมีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ด้ยน่ะครับ

ปล รอบนี้ตอบสั้นพอดีแอบมึนไวน์หน่อยๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท