อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

วิทยาศาสตร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพุทธศาสตร์


วิทยาศาสตร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพุทธศาสตร์

วิทยาศาสตร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพุทธศาสตร์

                                                    โดย พีธากร  พิพัฒวรางกุล


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับกระบวนการทางพุทธศาสตร์นั้นมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาที่เหมือนกัน
ทั้งๆที่เวลาในการค้นพบต่างกันตั้งเป็นพันๆปีแต่วิธีในการแก้ปัญหาหรือวิจัยของมนุษย์นั้นก็ยังเหมือนเดิม ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์กำลังตามหลังพุทธศาสตร์ คือยิ่งค้นพบก็ยิ่งเข้าใกล้พุทธศาสตร์เท่านั้น
วิทยาศาสตร์มีไว้เพื่ออะไร? คำตอบคือวิทยาศาสตร์มีไว้เพื่อค้นหาความจริง
หาความจริงให้มีความรู้ว่านั่นคือความจริง แต่ความจริงที่ได้มานั้นต้องมีหลักฐานและพิสูจน์ได้ ถ้าเป็นมนุษย์วิทยาศาสตร์นั้นการแสวงหาความจริงย่อมไม่มีที่จบหรือจุดจบเพราะเมื่อรู้ความจริงแล้วในขั้นนี้ มันช่างน่าสนใจจริงๆ นั่นมันเป็นสิ่งที่ไม่มีมาก่อนมันแปลกใหม่มองว่ามันเป็นเรื่องมหัศจรรย์จึงพยายามที่จะรู้ความจริงต่อไป ทั้งๆที่สิ่งที่เห็นว่ามันเป็นเรื่องมหัศจรรย์มันคือความจริง เมื่อยังมีอุปทานอยู่ จึงต้องตอบสนองมัน และจะต้องเกิดมาวนเวียนหาคำตอบนี้ต่อไปๆ ทุกชาติ ตราบจนสิ้นความไม่อยากรู้แล้วนั่นละ ถึงจะหยุดถอยหลังออกมาพบพุทธศาสนา เปรียบเสมือนว่า พราหมณ์ ที่ติดอยู่ในความสุขในฌานที่มีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจบันดาลฟ้าฝนได้โดยยังหลงอิทธิฤทธิ์อยู่ มีอุปทานอยู่ ก็ยังไม่สิ้นสุดต้องมีการเกิดในชาติใหม่ นักวิทยาศาสตร์ก็เปรียบเสมือน ผู้ที่ยังต้องการหาความจริงอยู่อยากรู้ไม่สิ้นสุดและยิ่งมั่นใจในการกระทำของตนเอง เพราะพิสูจน์ได้และมีทฤษฎีรองรับ
จึงเป็นเรื่องไม่แปลกที่นักวิทยาศาสตร์จะค้นคว้า และยึดติดกับสิ่งที่ค้นคว้าได้ไปจนวันตาย เปรียบเสมือนความอยากรู้ (ยังอยากรู้อยู่) นั่นคืออวิชชาคือความไม่รู้ เมื่ออวิชชาไม่สิ้น ก็ยังต้องเกิดอีก
พุทธศาสตร์มีไว้เพื่ออะไร? คำตอบคือพุทธศาสตร์นั้นมีเพื่อรู้ว่านั่นคือความจริง
จริงๆแล้วนักวิทยาศาสตร์กับนักพุทธศาสตร์นั้นไม่ต่างกันเลยในเรื่องของการมีอิทธิบาท 4 คือถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีนั้น ย่อมเป็นนักพุทธศาสตร์ที่ดี แต่ต่างกันในเรื่องของการค้นคว้าวิจัย
นักพุทธศาสตร์ มุ่งเน้นศึกษาหาความจริงภายในตนเอง
หลักสูตรพุทธศาสตร์ในขั้นต้นก็คือ มุ่งค้นหาธรรมชาติของตน กลไลในการดำรงชีวิตของตน การตอบสนองต่อกิเลส มีอะไรเป็นสิ่งเร้าหรือกิเลสที่ทำให้ตนตอบสนองบ้างมีสิ่งใดที่ทำให้เราเป็นสุขทั้งทางใจและทางกาย มีสิ่งใดที่ทำให้เราเป็นทุกข์ทั้งทางใจและทางกาย และเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นต้องมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา
ขั้นต่อไปคือหาความจริงหรือระบุปัญหาถามตัวเองว่าเราต้องการที่จะเป็นอย่างนี้อยู่ไหม เรามีความสุขดีหรือรับกับธรรมชาติของมนุษย์ได้ไหม ถ้าเราคิดว่าอยู่อย่างนี้ก็มีความสุขดีตายๆเกิดๆเป็นเหยื่อของกิเลสต่อ เป็นเหยื่อของ ตัณหา ราคะ โทสะ โลภะ โมหะ ให้มันสิงสู่ให้มันแสดงตนมีอำนาจเหนือเรา มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กๆในธรรมชาติคุณพร้อมหรือยังที่จะเป็น เหยื่อของภัยธรรมชาติ กลไกธรรมชาตินั้นมีไว้เพื่อความเป็นสมดุลมีการเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา ภัยธรรมชาติพร้อมจะกำจัดมนุษย์เพื่อความสมดุล เป็นเหยื่อของผู้ย่อยสลายหรือเชื่อโรคต่างๆที่พร้อมจะทำให้ธรรมชาตินั้นสมดุลในระบบนิเวศ ที่มี ผู้ผลิตคือต้นไม้ ผู้ล่าคือผู้ที่กินสัตว์หรือผู้ที่กินพืชหรือกินทั้งพืชและสัตว์ ผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ ทุกอย่างมันเป็นไปตามธรรมชาติ มันมีเพื่อตอบรับความเป็นธรรมชาติของมัน มันมีเพื่อความสมดุล ถ้าคุณชอบหรือพร้อมที่จะอยู่กับมันดังนี้ ในทุกชาติ ทุกภพ คุณไม่ต้องจองตั๋ว คุณก็ได้อยู่อย่างนี้แน่ๆ
ถ้าคุณไม่อยากเป็นอย่างนี้ คุณก็ต้องค้นคว้าต่อไปว่าทำอย่างไรเราถึงจะไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก จากนั้นก็คิดทางสายตรงในการแก้ปัญหานี้เลย ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านได้พบมาก่อนแล้วเราไปต้องไปนั่งหาวิธีเองทางสายนั้นก็คือ มรรคมีองค์ 8 คือวิธีการแก้ปัญหาทั้งหมด มันดูเหมือนง่ายดูเหมือนมีสูตรสำเร็จ แต่ถ้าเราไม่นำมาปฎิบัติด้วยตนเองก็จะไม่รู้ด้วยตนเองและแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ ถ้ามรรคมีองค์แปด ไม่ครบองค์ คือ ศีลยังไม่เต็ม สมาธิยังไม่เต็ม ปัญญายังไม่เต็ม ก็ยังไม่สามารถหลุดพ้นได้ทันที
แต่ถ้าเรายังปฎิบัติในทางมรรคอยู่ ถึงแม้จะมี ศีล สมาธิ ปัญญา ยังน้อยอยู่แต่ก็ได้ชื่อว่ามี เราก็จะรู้ได้ว่า การมีนั้นดีกว่าไม่มีอย่างไร เปรียบได้ว่าเป็นความรู้สึกทิพย์ที่บอกกับเราว่าเรามาถูกทางแล้ว เหมือนกับว่าเราพยายามมากขึ้นในการที่จะสะสม ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เต็มให้ได้ ความรู้ที่ได้จากการเดินในเส้นทางมรรคนั้นนั่นคือวิชชาที่จะขจัดอวิชชาความไม่รู้ให้สิ้นไปได้ เมื่อสิ้นอวิชชาเราก็สิ้นเหตุเกิด เมื่อสิ้นเหตุเกิดเราก็ไม่ต้องเกิดอีก เป็นอันว่าจบหลักสูตรพุทธศาสตร์ ไม่ต้องไปตามรู้แล้ว เพราะสรรพสิ่งมีความจริงที่เป็นอนมตัคคะ
ถ้ามองธรรมในความหมายที่กว้าง ธรรมนั้นกว้างไม่มีที่สิ้นสุด ธรรมคือความจริง
ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้แล้ว หรือยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือรอการพิสูจน์โดยวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งที่มีอยู่ เกิดอยู่ เป็นอยู่ ในอดีต หรืออนาคต นั่นก็ยังเป็นความจริง ความจริงนั้นเป็นอนันต
ทั้งวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสตร์นั้นเป็นความจริงที่เป็นส่วนหนึ่งธรรม ธรรมชาติ
ธรรม คือ สิ่งที่มีอยู่ ดำรงอยู่ เป็นความจริงอยู่เสมอ
กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ธรรม คือ สัจจะ คือความจริงที่มีอยู่ ดำรงอยู่ คือ สัจจธรรม

พระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้ว่า ความจริง สัจจธรรมนั้น เป็น อนมตัคคะ
หมายความว่า "เป็นสิ่งที่มีปลายสุดอันไม่จำเป็นต้องไปตามรู้"
ความจริง นั้นมียอดอันสามารถตามรู้ได้ไม่สิ้น

 
หมายเลขบันทึก: 368206เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 02:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท