แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

กายวิภาค ของ หฐโยคะ ; บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว (2/7)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ


กายวิภาค ของ หฐโยคะ

 

แปลจาก Anatomy of Hatha yoga
แปลโดย ณัฏฐ์วรดี ศิริกุลภัทรศรี และ ศันสนีย์ นิรามิษ

 บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว .

  • ระบบประสาทและกล้ามเนื้อโครงกระดูก

เราสามารถอธิบายได้ว่าระบบกล้ามเนื้อจะประมวลผลต่างๆที่เราแสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ, การสูดอากาศเข้าไปในปอด, การแสดงออกมาเป็นคำพูด และการแสดงออกมาด้วยท่าทางเพื่อสื่อสารต่างๆ ในการฝึกโยคะ ระบบกล้ามเนื้อช่วยให้เราสามารสร้างสมดุลภายนอก, บิดตัว, โค้งหลัง, กลับหัวลง, อยู่นิ่งหรือขยับตัว และยังช่วยให้ทำความสะอาดและฝึกหายใจได้สำเร็จ แต่กระนั้นให้เราลองคิดถึงตอนท้ายของเรื่อง ดังเช่นเราเห็นเด็กๆที่ร้องเพลงและเต้นไม่หยุดในหนังเรื่อง The Wizard of Oz โดยที่ไม่รู้ว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองจนกระทั่งถึงตอนจบของเรื่อง กล้ามเนื้อก็เปรียบเสมือนได้กับเด็กๆเหล่านั้น ที่ไม่สามารถทำงานได้โดยแยกออกจากกัน เช่นเดียวกันกับโดราธีที่พบว่าพ่อมดได้เก็บโซ่ไว้ในทุกที่ในอาณาจักรของเขา ดังนั้นเราจะเห็นว่าระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมบนระบบกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างแท้จริง ระบบทั้งสองที่รวมกันเป็นระบบประสาทและกล้ามเนื้อจะแสดงให้เห็นถึงลักษณะการกระทำและท่าทางทั้งหมดของเรา

เพื่อแสดงภาพให้เห็นว่าระบบประสาทจัดการกับท่าทางอย่างไร ลองคิดถึงตอนที่คุณกำลังยืนอยู่และตัดสินใจที่จะนั่งลง ก่อนอื่นระบบประสาทของคุณจะสั่งให้กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ (กล้ามเนื้อที่ช่วยให้พับแขนขาและโค้งตัวไปด้านหน้าได้) ดึงลำตัวช่วงบนไปด้านหน้า ทำให้เริ่มพับตัวลงมาด้วยสะโพก, ถึงหัวเข่า และข้อเท้าได้ ณ ชั่วขณะหลังจากที่คุณเริ่มเคลื่อนไหวตัวนั้น แรงโน้มถ่วงจะอยู่ ณ จุดกึ่งกลางและเริ่มโน้มตัวคุณมาข้างหน้าในท่านั่ง ในขณะเดียวกันระบบประสาทที่ทำงานร่วมกับแรงโน้มถ่วงนั้นได้สั่งให้กล้ามเนื้อเอ็กซ์เทนเซอร์ (กล้ามเนื้อที่ต้านการพับแขนและขา) ต้านแรงโน้มถ่วงทำให้คุณไม่กองลงไปกับพื้น สุดท้ายเมื่อคุณนั่งลงเรียบร้อยแล้ว ระบบประสาทจะยอมให้กล้ามเนื้อเอ็กซ์เทนเซอร์คลายลงและทำให้ร่างกายของคุณผ่อนคลายได้

ระบบกล้ามเนื้อโครงกระดูกทำงานมากกว่าการเคลื่อนไหว มันยังทำหน้าที่เป็นภาชนะเคลื่อนที่สำหรับอวัยวะภายในร่างกายอีกด้วย ดังเช่นหุ่นยนต์ที่พักและปกป้องส่วนประกอบต่างๆที่ซ่อนอยู่ภายใน (เครื่องให้กำลัง, แผงรวมวงจร, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, หน่วยซ่อมแซมตัวเอง และแหล่งพลังงานสำรองที่ช่วยให้ทำงานได้ในเวลาที่พอเหมาะ) ดังนั้นแหล่งที่พักและป้องกันอย่างระบบกล้ามเนื้อโครงกระดูกจึงละเอียดอ่อนต่ออวัยวะภายในร่างกาย ท่าต่างๆของหฐโยคะสอนให้พวกเราควบคุมทั้งกล้ามเนื้อที่ทำงานตลอดปลายแขนและขา และกล้ามเนื้อที่อยู่ในรูปแบบของภาชนะสำหรับภายใน

 

 

  

 
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 368132เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณแตงไทย เผยแพร่เรื่องนี้ให้มากๆ สุขภาพผู้คนจะดีขี้นทั้งกายและใจ

 

ขอบพระคุณมากค่ะ ครูหยุย

ดีใจจังค่ะ ที่ครูให้ความกรุณาแวะเข้ามาทักทายแตง
แตงพยายามนำมาลงให้เป็นปัจจุบันมากที่สุดเท่าที่เวลาจะเื้อื้ออำนวยให้ค่ะครู

กราบขอบพระคุณอีกครั้งนะคะ

รักษาสุขภาพกายใจและครอบครัว ให้เข้มแข็งและแข็งแรงเสมอนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท