ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

การจัดการสินเชื่อ 1/2553


      ให้นักศึกษาที่เรียนวิชาการจัดการสินเชื่อกับผมทุกคน  เมื่อส่งงานที่มอบหมายให้ทำ  ให้ส่งผ่าน BLOG  นี้ด้วย  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากยิ่งขึ้นด้วย

       งานแรกก็คือท่านคิดว่าธุรกิจใดบ้างที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010 ที่จัดขึ้นในประเทศอาฟริกา เป็นเพราะเหตุใด และยั่งยืนเพียงใด และแนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องธนาคารควรมีวิธีการจัดการอย่างไรบ้างครับ กรุณาส่งภายใน  24.00 น. ของวันอังคารที่ 22  มิถุนายน  2553

                                            ผ.ศ.กฤษฎา  สังขมณี

 

สวัสดีตอนเช้าวันพฤหัสบดี  24 / 06 / 2553

      ขอให้ทุกคนเตรียมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ประเมินราคาหลักประกันที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของธนาคาร  ทำรายงานส่งใน  2  สัปดาห์  (ปกติธนาคารจะทำงานเพียงไม่เกิน  1  สัปดาห์  และลูกค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ธนาคาร  3,000.- บาท)  ดูตัวอย่างได้ที่ท้ายหนังสือ  ซึ่งมีอยู่  2  ตัวอย่าง  งานนี้ไม่ต้องส่ง BLOG  แต่ให้ส่งในแบบรูปเล่มรายงานพร้อม  CD  ที่เป็น Microsoftword 2003  หรือ  2007  ก็ได้ครับ

           อย่าลืมถ่ายรูปให้ครบทุกห้องทุกมุมตั้งแต่ถนนใหญ่  ถนนซอย  รอบตัวบ้าน    แผนที่ทางเข้าหลักประกันต้องชัดเจน มีราคาประเมินของทางราชการ  และมีราคาตลาด 2 - 3  ราย  ไว้เพื่อการเทียบเคียง  งานชิ้นนี้คือความภาคภูมิใจของคุณทุกคน

                                                   ผ.ศ. กฤษฎา  สังขมณี

 

สวัสดีนักศึกษาที่รัก

         งานถัดไปคือให้พวกเราไปศึกษาตราสารทางการเงินที่ใช้สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกสินค้าในการติดต่อกับคู่ค้าและธนาคาร  เช่น  L/C , T/R , P/C , L/G , AVAL ในลักษณะของรูปของเอกสารเหล่านั้น  ซึ่งไม่น่าจะยากเกินความสามารถของพวกคุณ  และขอให้ทุกคนรู้และเข้าใจว่าใครใช้  ใช้เมื่อไร  ธนาคารเข้าไปเกี่ยวข้องตรงไหน  แล้วได้อะไรเป็นค่าตอบแทน  กำหนดส่งเหมือนเดิมนะครับ

                                                        ผ.ศ. กฤษฎา  สังขมณี

 

สวัสดีนักศึกษาที่รัก

         งานของพวกเราหลายคนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น  แต่หลายคนยังคงต้องปรับปรุงอยู่อีกบ้างเหมือนกัน และส่งให้ตรงเวลาด้วย   อย่าลืม  รายชื่อบริษัทประกันชีวิต  บริษัทประกันภัย  โลโก้  ชื่อกรรมการผู้จัดการใหญ่  สถานที่ตั้งโดยสังเขป เป็นงานสำหรับสัปดาห์นี้ครับ

                                                           ผ.ศ. กฤษฎา  สังขมณี

 

สวัสดีนักศึกษาที่รัก

                งานสำหรับวันนี้คือวิเคราะห์กิจการที่น่าให้เงินกู้  ให้วิเคราะห์ทั้ง MACRO  & MICRO  and SWOT Analysis  ด้วยครับ

                 ตั้งใจอ่านหนังสือสอบกลางภาคทุก ๆ วิชาด้วยนะครับ

                                          ผ.ศ.กฤษฎา  สังขมณี

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 367140เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2010 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (271)

ชื่อ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

(Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand)

ชื่อย่อ (SME BANK)

กรรมการผู้จัดการ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์

สถานที่ตั้ง 310 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

จำนวนสาขา 23 สาขา

Website: http://www.smebank.co.th

ชื่อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

(Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives)

ชื่อย่อ ธกส

กรรมการผู้จัดการ นายกรณ์ จาติกวณิช

สถานที่ตั้ง 469 ถ. นครสวรรค์ เขตดุสิต กทม. 10300

จำนวนสาขา 886 สาขา

Website:http://www.baac.or.th

ชื่อ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand)

ชื่อย่อ EXIM Bank (ธสน)

กรรมการผู้จัดการ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี นายจีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์

สถานที่ตั้ง อาคารเอ็กซิม 1193 ถนนพหลโยธิน พญาไท กรุงเทพฯ

จำนวนสาขา 21 สาขา

Website: http://www.exim.go.th

ชื่อ ธนาคารออมสิน (Government Saving Bank)

ชื่อย่อ GSB

กรรมการผู้จัดการ นายเลอศักดิ์ จุลเทศ

สถานที่ตั้ง 470 ถนนพหลโยธิน สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

จำนวนสาขา 600

Website: http://www.gsb.or.th

ชื่อ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (Government Housing Bank)

ชื่อย่อ ธอส

กรรมการผู้จัดการ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม

สถานที่ตั้ง เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

จำนวนสาขา 147 สาขา

Website: http://www.gsb.or.th

ชื่อ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (Islamic Bank of Thailand)

ชื่อย่อ ibank

กรรมการผู้จัดการ ศาสตราจารย์ พลโท ดร.สมชาย วิรุฬหพล

สถานที่ตั้ง เลขที่ 66 ชั้น M, 21, 22 อาคารคิวเฮาส์ ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ

เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

จำนวนสาขา 37 สาขา

Website: http://www.ibank.co.th

ชื่อธนาคารกรุงไทย (Krung Thai Bank)

ชื่อย่อ KTB (บมจ.)

กรรมการผู้จัดการ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์

สถานที่ตั้ง เลขที่ 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110

จำนวนสาขา 897

Website: http://www.ktb.co.th

ชื่อ ธนาคารทหารไทย (TMB Bank)

ชื่อย่อ TMB

กรรมการผู้จัดการ นางเสาวนีย์ กมลบุตร นายฟิลลิป จี.เจ.อี.โอ. ดามัส

สถานที่ตั้ง 3000 ถ.พหลโยธิน จอมพล จตุจักร กรุงเทพฯ 10900

จำนวนสาขา 452

Website: http://www.tmbbank.com

ชื่อ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Bank of Ayudhaya)

ชื่อย่อ BAY

กรรมการผู้จัดการ นายวีระพันธุ์ ทีปสุวรรณ

สถานที่ตั้ง 1222 ถนนพระราม3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพฯ 10120

จำนวนสาขา 580 สาขา

Website: http://www.krungsri.com

ชื่อธนาคารไทยพาณิชย์ (Siam Commercial Bank)

ชื่อย่อ SCB

กรรมการผู้จัดการ นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์

สถานที่ตั้ง 9 ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

จำนวนสาขา 999 สาขา

Website: http://www.scb.co.th

ชื่อธนาคารกสิกรไทย (KasikornBank)

ชื่อย่อ KBANK

กรรมการผู้จัดการ

สถานที่ตั้ง 1 ซอยราษฎร์บูรณะ 27/1 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140

จำนวนสาขา 809 สาขา

Website: http://www.kasikornbank.com

ชื่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (Bangkok Bank)

ชื่อย่อ BBL

กรรมการผู้จัดการ นายชาติศิริ โสภณพนิช

สถานที่ตั้ง 333 ถนนสีลม กรุงเทพฯ 10500

จำนวนสาขา 918 สาขา

Website: http://www.bangkokbank.com

ชื่อธนาคารเกียรตินาคิน (Kiatnakin Bank)

ชื่อย่อ K

กรรมการผู้จัดการ ตระกูลวัธนเวคิน

สถานที่ตั้ง เลขที่ 500 อาคารอัมรินทร์ ทาวเวอร์ ชั้น 11 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

จำนวนสาขา 50 สาขา

Website: www.kiatnakin.co.th

ชื่อ ธนาคารธนชาต (Thanachart Bank)

ชื่อย่อ TNC

กรรมการผู้จัดการ นายศุภ เดช พูลพิพัฒน์

สถานที่ตั้ง เลขที่ 900 อาคารต้นสนทาวเวอร์ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม.

จำนวนสาขา 250 สาขา

Website www.cashwe.com

ชื่อ ธนาคารนครหลวงไทย (Siam City Bank)

ชื่อย่อ SCIB

กรรมการผู้จัดการ นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

สถานที่ตั้ง 1101, ถนนเพชรบุรีตัดใหม่,มักกะสัน,เขตราชเทวี กทม. 10400

จำนวนสาขา 422 สาขา

Website www.scib.co.th

ชื่อ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) (United Overseas Bank, Thailand)

ชื่อย่อ UOB

กรรมการผู้จัดการ นายหว่อง คิม ชุง

สถานที่ตั้ง 191 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

จำนวนสาขา 146สาขา

Website: http://www.uob.co.th

ชื่อ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (Standard Chartered Bank Thai)

ชื่อ ย่อ SCNB

กรรมการ ผู้จัดการ คุณมาร์ค เดวาดาสัน

สถานที่ตั้ง เลขที่ 90 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500

จำนวนสาขา 32 สาขา

Website www.standars chartered.co.th

ชื่อ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (Thai Investment and Securities Company Bank)

ชื่อย่อ -

กรรมการผู้จัดการ

สถานที่ตั้ง อาคารทิสโก้ทาวเวอร์ 48/2 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

จำนวนสาขา 46 สาขา

Website :http://www.tisco.co.th

ชื่อ ธนาคารซิติแบงก์ (Citibank)

ชื่อย่อ -

กรรมการผู้จัดการ นาย ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

สถานที่ตั้ง เลขที่399 ถนนสุขุมวิท อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา

กรุงเทพฯ 10110

จำนวนสาขา 3 สาขา

Website: www.citibank.co.th

ชื่อ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMB Thai Bank)

ชื่อย่อ CIMB

กรรมการผู้จัดการ ดร.สุภัค ศิวะรักษ์

สถาน ที่ตั้ง อาคาร เสริมมิตร ชั้นที่ 16 คลองตัน เหนือ เขต วัตนา

จำนวนสาขา 147 สาขา

Website: www.cimbthai.com

ชื่อธนาคารสินเอเชีย (Asia Credit Limited Bank)

ชื่อย่อ TCL

กรรมการผู้จัดการ นายฮุยเหมิน หยี่

สถานที่ตั้ง ชั้น 11-13 เอ็มโพเรี่ยมทาวเวอร์ เลขที่ 622 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย

กรุงเทพฯ 10110

จำนวนสาขา 19 สาขา

Website: http://www.aclbank.com

ชื่อ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย (Land and Houses Retail Bank)

ชื่อย่อ LH Bank

กรรมการผู้จัดการ นางศศิธร พงศธร

สถานที่ตั้ง อาคารคิวเฮ้าส์ หัวมุมถนนสาทร

จำนวนสาขา 23 สาขา

Website: http://www.lhbank.co.th

ชื่อ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย (Thai Credit Retail Bank)

ชื่อย่อ -

กรรมการผู้จัดการ นายมงคล ลีลาธรรม

สถานที่ตั้ง 123 ชั้น 1 อาคารไทยประกันชีวิต ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง

กทม. 10400

จำนวนสาขา 9 สาขา

Website: http://www.tcrbank.com

อาจารย์หนูส่งผิดวิชาค่ะ

ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำนักงานตั้งอยู่ที่ : ถนนสามเสน บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 พระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

Website : http://www.bot.or.th/

ชื่อเต็ม : ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : BBL = (Bangkok Bank Public Company Limited)

สำนักงานใหญ่ : ชั้น 30 เลขที่ 333 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ชาติศิริ โสภณพนิช

จำนวนสาขา : 950สาขา

Website : http://www.bangkokbank.com/

ชื่อเต็ม : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ชื่อย่อ : SCB (Siam Commercial Bank Public Company Limited )

สำนักงานใหญ่ : SCB Park Plaza 9 ถ.รัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์

จำนวนสาขา : 873 สาขา

Website : http://www.scb.co.th/

ชื่อเต็ม : ธนาคารออมสิน

ชื่อย่อ : GSB (Government Savings Bank )

สำนักงานใหญ่ : ถ.พหลโยธิน บริเวณสี่แยกสะพานควาย

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายเลอศักดิ์ จุลเทศ

จำนวนสาขา : 597 สาขา

Website : http://www.gsb.or.th/lottery/

ชื่อเต็ม : ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : KBANK (Kasikorn Bank Public Company Limited )

สำนักงานใหญ่ : ซอยกสิกรไทย ถนนราษฎร์บูรณะ เชิงสะพานพระราม 9 ฝั่งธนบุรี

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายบัณฑูร ล่ำซำ

จำนวนสาขา : 595 สาขา

Website : http://www.kasikornbank.com/

ชื่อเต็ม : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : BAY (Bank of Ayudhya Public Company Limited)

สำนักงานใหญ่ : 1222 ถนนพระราม3 บางโพงพาง ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120

กรรมการผู้จัดการใหญ่ :นายประไพสิทธิ์ ตัณฑ์เกยูร

จำนวนสาขา : 577 สาขา เครือข่ายสาขาต่างประเทศ จำนวน 4 สาขา

Website : http://www.krungsri.com/

ชื่อเต็ม : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ชื่อย่อ : ธกส หรือ BAC = (Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives)

สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 469 ถนน นครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายกรณ์ จาติกวณิช

จำนวนสาขา : 886 สาขา

Website : http://www.baac.or.th

ชื่อเต็ม : ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ชื่อย่อ : SME BANK(Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand)

สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 310 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์

จำนวนสาขา : 95 สาขา

Website : http://www.smebank.co.th

ชื่อเต็ม : ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ชื่อย่อ : SME BANK(Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand)

สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 310 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์

จำนวนสาขา : 95 สาขา

Website : http://www.smebank.co.th

ชื่อเต็ม : ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ชื่อย่อ : ธอส. GHB = Government Housing Bank

สำนักงานใหญ่ : 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร10310

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายขรรค์ ประจวบเหมาะ

จำนวนสาขา : 74 สาขาหลัก. - สาขาย่อย จำนวน 5

Website : http://www.ghbank.co.th/

ชื่อเต็ม : ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ชื่อย่อ : iBank (Islamic Bank of Thailand)

สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 66 ชั้น M, 21, 22 อาคารคิวเฮ้าส์ ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหา10110

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายนันทพล พงษ์ไพบูลย์

จำนวนสาขา : 28 สาขา

Website : http://www.isbt.co.th

ชื่อเต็ม : ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : TMB( Thai Military Bank )

สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 3000 ถ.พหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ตรงข้าม สวนจตุจักร

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ดร. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์

จำนวนสาขา : 353 สาขา

Website : http://www.tmbbank.com

ชื่อเต็ม : ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : KK (Kiatnakin Bank)

สำนักงานใหญ่ : อาคาร เค ทาวเวอร์ (อาคารเอ) ชั้น 19 209 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล

จำนวนสาขา : 49 สาขา

Website : http://www.kiatnakin.co.th

ชื่อเต็ม : ธนาคารทิสโก้

ชื่อย่อ : TISCO = Thai Investment and Securities Public Co

สำนักงานใหญ่ : อาคารทิสโก้ทาวเวอร์ 48/2 ถนนสาทรเหนือ

แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสุทัศน์ เรืองมานะมงคล

จำนวนสาขา : 15 สาขา

Website : http://www.tisco.co.th/

ชื่อเต็ม : ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย

ชื่อย่อ : CIMBT (CIMB Thai Bank)

สำนักงานใหญ่ : อาคารหลังสวน (สำนักงานใหญ่)

เลขที่ 44 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายปรีชา อุ่นจิตติ

จำนวนสาขา : 77 สาขา

Website : http://www.cimbthai.com/

ชื่อเต็ม : ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : TNC = Thanachart Bank

สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 900 อาคารต้นสนทาวเวอร์ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. 10330

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายบันเทิง ตันติวิท

จำนวนสาขา : 255 สาขา

Website : http://www.thanachartbank.com/

ชื่อเต็ม : ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : SCIB = Siam City Bank

สำนักงานใหญ่ : 1101 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

จำนวนสาขา : 405 สาขา

Website : http://www.scib.co.th/

ชื่อเต็ม : ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : UOB = United Overseas Bank

สำนักงานใหญ่ : 191 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายหว่อง คิม ชุง

จำนวนสาขา : 154สาขา

Website : http://www.uob.co.th

ชื่อเต็ม : ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย

ชื่อย่อ : SCNB = Standard Chartered Nakornthon Bank

สำนักงานใหญ่ : เลขที่ 90 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ 10500

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : มร.มาร์ค เดวาเดสัน

จำนวนสาขา : 33 สาขา

Website : http://www.standardchartered.co.th/

ชื่อเต็ม : ธนาคารสินเอเชีย

ชื่อย่อ : ACL = Asia Credit Public Company Limited

สำนักงานใหญ่ : ณ ชั้น 11-13 อาคารเอ็มโพเรี่ยม ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายธงชัย อานันโทไทย

จำนวนสาขา : 1 สาขา

Website : http://www.aclbank.com/

ชื่อเต็ม : บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

ชื่อย่อ : LHBANK = Land and House Bank

สำนักงานใหญ่ : 44 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นาย อนันต์ อัศวโภคิน

จำนวนสาขา : 23 สาขา

Website : http://www.lhbank.in.th/

ชื่อเต็ม : ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย

ชื่อย่อ : (TCRB) THAI CREDIT RETAIL BANK PUBLIC COMPANY LIMITED

สำนักงานใหญ่ : 123 อาคารไทยประกันชีวิต ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายมงคล ลีลาธรรม

จำนวนสาขา : ไม่ระบุ

Website : http://www.tcrbank.com/

อาจารย์ค่ะหนูส่งงานผิดวิชาค่ะ

ผมคิดว่าน่าปล่อยสินเชื่อให้กับ บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด

เพราะว่า บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดโครงการ "โค้ก เซเลเบรชั่น ปาร์ค ลานบอลโลก สดทั่วไทย" นำคาราวานรถ "โค้ก เวิลด์ คัพ" ติดจอยักษ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกแมตช์ต่างๆ ให้แฟนบอล 15 จังหวัดทั่วไทย ได้ร่วมชมและเชียร์ทีมที่ตัวเองชอบ

บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่มีความยั่งยืนสูงและมีผู้บริโภคมากมายทั่วประเทศ จึงถือว่าเป็นหลักประกันในความมั่นใจเราของในการให้สินเชื่อต่อธุรกิจนี้

แนวทางในการที่จะทำให้มีลูกค้ามากขึ้นนั้น ผมคิดว่าในงานควรมีการจัดเป็น Zone กิจกรรมสนุกต่างๆ Zone ให้ความรู้เกี่ยวกันฟุตบอลโลกปี 2010 จุดกำเนิดของฟุตบอลความยิ่งใหญ่ของทีมฟุตบอลในอดีต สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องความเป็นมาของฟุตบอลโลก มีพีธีกรในการสร้างความบันเทิง มีคอนเสิร์ตเล็กๆ เพื่อสร้างสีสันให้กับงานนี้น่าสนใจมากขึ้น และเพื่อสนับสนุนบริษัท โคคา-โคลา เอง ควรมีฝาโค้ก 5 ฝา เพื่อแลกเข้างานนี้ฟรี หากไม่มีฝาโค้ก 5 ฝาก็สามารถชื้อบัตรเข้างานในราคา 50 บาท แต่สามารถเอาไปแลกโค้กในงานได้ 1 กระป๋องด้วยครับ

 

นายปลา  คินไธสง

52127312030

การเงินการธนาคาร 01

ขายรองเท้าnike รองเท้าadidas รองเท้าpuma

  • หมวดหมู่ประกาศ :

กีฬา > อุปกรณ์กีฬา/ เครื่องออกกำลังกาย

  • หมายเลขประกาศ : 4736766
  • ตำแหน่งโฆษณาพิเศษ : A2 , A3 
  • ความต้องการ : ขาย/ให้เช่า
  • สภาพสินค้า : สินค้า ใหม่                                                                
  • รุ่น / ยี่ห้อ / โมเดล :nike adidas puma
  • ราคา : 750 - 2,800 บาท
  • จำนวนผู้เข้าชม : 105,518  คน
  • เบอร์โทรติดต่อ : 087-0116047
  • ที่อยู่ของสินค้า : กรุงเทพมหานคร

 

  • หากท่านไม่มั่นใจในตัวรองเท้าฟุตบอลว่าเป็นของแท้หรือไม่ ขอให้ท่านโปรดวางใจ เพราะว่าเราสั่งซื้อมาจากตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้องของทางอาดิดาสและไนกี้ จึงรับประกันได้ว่าเป็นของแท้ ของใหม่ ไม่มีตำหนิ แต่ราคาถูกกว่าราคาป้าย !!
  • เปิดโอกาสให้คนต่างจังหวัดได้ใช้รองเท้าฟุตบอลรุ่นใหม่ๆ เท่าเทียมคน กทม. ไม่ต้องเสียเวลานั่งรถมาซื้อที่กรุงเทพ !!

 

  • เราส่งไปให้ถึงประตูบ้านทั่วประเทศฟรีๆ แบบด่วนทันใจด้วย EMS !! ได้รับของภายใน 3 วัน นับจากวันโอนเงิน
  • เราทำการค้าด้วยความซื่อสัตย์ และทางเว็บก็ได้ลงทุนไปเป็นแสนบาทในการจัดทำเว็บ และต้องเสียแรงในการโปรโมตเว็บไซต์ไปอีกเยอะ
  • เพราะ ฉะนั้นเราคงไม่สามารถจะไปโกงใครได้ เพราะถ้าเราโกงแล้วได้เงินแค่หลักพัน มันไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ทางเราจะเสียไปครับ โกงก็โกงได้แค่ครั้งเดียว คู่เดียว เราก็เสียเครดิตไม่สามารถขายใครได้แล้วครับ
  • สามารถดูตัวอย่างลูกค้าที่มาใช้บริการของเราได้ที่นี่ น่าจะช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และได้จดทะเบียนพาณิชย์อย่างถูกต้องหมายเลข 3140800464544

เราอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสำเร็จให้กับเยาวชนไทยในการเล่นฟุตบอล เพราะว่า

 

" คุณอาจเป็นเมสซี่คนต่อไป "

" ฝีเท้าไม่เหมือน หน้าไม่เหมือน แต่รองเท้า..เหมือน "

 

 

นายธีรเดช  แจ่มกระจ่าง

52127312032

การเงินการธนาคาร

 

บริษัทที่ควรจะทำการปล่อยสินเชื่อคือ

1.บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

2.สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7 สี

3.สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.

ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มีดังนี้

RS เปิดเผยว่า บริษัทเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 สมัย จากฟีฟ่า คือใน ปี 2010 ที่แอฟริกาใต้ และ ปี 2014 ที่บราซิล สำหรับการแข่งขันในปี 2553 บริษัทได้ร่วมกับพันธมิตร กับช่อง 3 และ ช่อง 7 ในการถ่ายทอดสดการแข่งขัน 64 แมทช์ และร่วมทำการตลาดขายโฆษณาและแบ่งรายได้ร่วมกัน แต่กำลังเจรจากับสถานีทีวีอีก 1 ช่อง เพื่อร่วมถ่ายทอดสดด้วย เพื่อให้ครบทั้ง 64 แมทช์

 

คาดว่าการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2553 จะได้รับความสนใจจากผู้ชมคนไทยอย่างมาก เพราะเป็นรายการใหญ่ที่สุดของโลก คาดว่าตั้งแต่ครึ่งหลังปีนี้ เศรษฐกิจน่าจะอยู่ในภาวะฟื้นตัว ทำให้ปีหน้าสินค้าต่างๆ จะกลับมาทำตลาดอีกครั้ง และส่งผลดีต่อการทำตลาดขายโฆษณา การแข่งขันฟุตบอลโลกด้วย โดยคาดว่าจะทำรายได้ประมาณ 500 ล้านบาท

 

นายสมพงษ์ อัชฌานุเคราะห์ ผู้จัดการฝ่าย สังกัดสำนักประธานกรรมการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เปิดเผยว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 53 จะถ่ายทอดสด ในช่วงเวลา 18.00 น. ,21.00 น. และ 01.00 น. โดยกว่าครึ่งรายการหรือราว 34 matches จะอยู่ในช่วง Prime-time  โดยการทำตลาดขายโฆษณาได้กำหนดไว้ 2 แพ็คเกจ คือ Platinum 50 ล้านบาท และ Gold 30 ล้านบาท โดยจะได้เวลาโฆษณาตลอด 64 matches และกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น และในรายการพิเศษ อีก 4 รายการ ที่จะเริ่มทำกิจกรรมตั้งเดือนมี.ค. 2553 ก่อนการแข่งขันเริ่มต้น ขณะนี้มี 2 sponsorsคือ Thai Bev และ Yamaha

จากข้อมูที่ได้นำมาศึกษาข้างต้น

ทำให้ได้ทราบว่าทาง บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้มีการวางแผนการตลาด มาอย่างดี อีกทั้งยังมี การวางแผนที่จะดำเนินการอีกในอนาคต รวมไปถึงมีการร่วมมีกันของ จากทางช่อง7 และช่อง3 ทำให้มีการคาดเดารายได้ที่จะ ได้รับ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมากที่การวางแผนงานนี้จะประสบความสำเร็จได้

แนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่องคือ

ผมมีความคิดเห็นที่ว่าควรจะมีการปล่อยสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยต่ำ อีกทั้งยังอาจหาความร่วมมือจากธนาคารอื่นๆเพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้น แม้ความเสี่ยงมันจะน้องก็ตาม การปล่อยสินเชื่อควรปล่อยในราคาที่สอง ดอกเบี้ยต่ำ และระยะเวลาที่นานพอสมควร เพราะจาก การที่ทั้ง3บริษัทรวมมือกันทำให้มีความมั่นคงที่จะเป็นหนี้ศุนย์น้อยมากๆ

นิธิศ ผ่องอำไพ การเงินการธนาคาร02 รหัสนักศึกษา 52127312067

ธุรกิจขายโทรทัศน์

นายโทชิฮิโร มาจิมะ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายทีวี เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ภายใต้แบรนด์พานาโซนิค เปิดเผยว่า ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือน มิ.ย. นี้ บริษัทได้ใช้งบเป็นเงิน 50 ล้านบาท ส่งผลให้งบการทำตลาดของบริษัทในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปกติที่จะใช้อยู่ราว 10% ของยอดขาย เพื่อส่งเสริมยอดขายทีวีจอแบนไม่ว่าจะเป็นแอลซีดีทีวี หรือพลาสม่าทีวี เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงดังกล่าวให้เติบโตมากกว่า 10 – 15% หรือเติบโตมากกว่าตลาดรวมที่คาดว่าจะเติบโตในช่วงดังกล่าวราว 10 – 15%

นอกจากนี้ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวทีวี 3ดี หรือทีวี 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นแอลซีดี หรือ พลาสม่า เมื่อผู้บริโภคและคอนเท็นต์ทางด้าน 3มิติ มีความพร้อมในตลาดไทยมากขึ้น โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำตลาดพลาสม่าทีวีในประเทศไทยให้ได้ ซึ่งบริษัทคาดว่าตลาดรวมทีวีจอแบนในประเทศไทยปีนี้จะอยู่ที่ 1 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นตลาดพลาสม่าทีวี 14 – 15% ที่มีสัดส่วนของพลาสม่าทีวี 3มิติอยู่ราว 4,000 – 5,000 เครื่องเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 85% เป็นแอลซีดีทีวี และในตลาดดังกล่าวมีแอลอีดีทีวีอยู่ราว 10%

ทางด้านเป้าหมายการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้ บริษัทตั้งเป้าเติบโตทางด้านยอดขายมากกว่า 10% หรือคิดเป็นมูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท จากปีที่ผ่านมาที่บริษัทมียอดขาย 9,000 ล้านบาท เติบโตลดลงจากปี 2551 5% เนื่องจากการหยุดการผลิตทีวีจอแก้ว โดยยอดขายทั้งหมดในปีนี้แบ่งเป็นยอดขายจากทีวีจอแบน และแบตเตอรี่ พานาโซนิค ราว 50% ส่วนอีก 50% เป็นยอดขายของเครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

"ปีนี้ทางบริษัทตั้งเป้ายอดขายแอลซีดีทีวี และพลาสม่าทีวี เป็นจำนวน 1.5 – 1.6 แสนเครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มียอดขายราว 8 – 9 หมื่นเครื่อง ซึ่งจะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของพานาโซนิคในตลาดทีวีจอแบนเพิ่มขึ้นเป็น 10% โดยการเพิ่มขึ้นของยอดขายนั้นเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการทีวีจอแบนขนาด 32 – 42 นิ้วเพิ่มมากขึ้น" นายโทชิฮิโร กล่าวเพิ่มเติม

ทั้งนี้ หลังจากโรงงานผลิตทีวีจอแก้วของบริษัทหยุดการผลิตไป ทางบริษัทได้ปรับปรุงโรงงานดังกล่าวมาผลิตพลาสม่าทีวีทดแทน รวมถึงการอุปกรณ์ประกอบทีวีแบบแบนเพื่อส่งออกไปยังตลาดยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย อีกด้วย โดยกำลังการผลิตพลาสม่าทีวีในปัจจุบันอยู่ที่ท 4 – 5 หมื่นเครื่องต่อปี

นายโทชิฮิโร เผยต่อว่า สำหรับพื้นที่การขายในย่านราชประสงค์ของบริษัท เช่น สยาม พารากอน. เซ็นทรัลเวิล์ด และบิ๊กซี ประสบกับปัญหาทางการเมืองทำให้ยอดขายในย่านดังกล่าวไม่มีเลยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา แต่บริษัทมั่นใจว่าในช่วงฟุตบอลโลกการขายทีวีจอแบนจะกลับมาเติบโต โดยบริษัทได้เตรียมแผนการตลาดในการส่งเสริมการขายไว้พร้อมแล้ว ไม่ว่าจะใช้ เคน-ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ มาเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับสินค้าประเภททีวีจอแบน การทำกิจกรรมส่งเสริมตลาด ณ จุดขาย การพัฒนาความสามารถทางการขายให้กับพนักงานขาย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวทีวี 3 มิติ ของบริษัทจะล่าช้ากว่าคู่แข่งในตลาดเดียวกันไม่ว่าจะเป็นซัมซุง หรือแอลจี ที่เปิดตัวไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่บริษัทเล็งเห็นว่าอุปกรณ์และคอนเท็นต์ที่เป็น 3มิติ ในประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม แต่ในช่วงครึ่งปีหลังจะมีมากขึ้น ตามที่ผู้ผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูดจะสร้างภาพยนตร์ 3มิติ ออกมาฉายและจำหน่ายในรูปแบบ 3มิติ ถึง 20 เรื่อง จะช่วยกระตุ้นยอดขายทีวี 3 มิติ ในตลาดได้มากขึ้น

เนื่องจากกระแสฟุตบอลโลกมาแรง จึงทำให้ธุรกิจการขายโทรทัศน์ของทุกยี่ห้อกำลังเป็นที่นิยมของคนที่ชอบดูฟุตบอล จึงทำให้ยอดขายของธุรกิจการขายโทรทัศน์เพิ่มขึ้น ธุรกิจนี้สมควรลงทุนในช่วงฟุตบอลโลก

ความยั่งยืนของธุรกิจ และแนวทางทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากธุรกิจการขายโทรทัศน์จะได้รับความนิยมในเทศกาลฟุตบอลโลกเป็นอย่างมาก ธุรกิจการขายโทรทัศน์นั้นไม่ได้ขายแต่ในช่วงเทศกาลบอลโลกเท่านั้น ยังสามารถขายในช่วงอื่นก็ได้แต่ยอดขายอาจน้อยกว่าช่วงบอลโลก ถ้าเจ้าของธุรกิจอยากจะมีลูกค้าอย่างต่อเนื่องก็ต้องใช้ กลยุทธ และวิธีการขายต่างกันออกไปเพื่อจะได้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจเสื้อกีฬาของที่ระลึก

ของที่ระลึกที่ค่อนข้างได้รับความสนใจจากผู้สนใจการกีฬาเป็นอย่างสูง ส่วนใหญ่จะเป็นกีฬาประเภทฟุตบอลต่างประเทศ ทำให้สินค้าของที่ระลึกของทีมต่างๆ ที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง

สินค้าของที่ระลึกที่มีการวางจำหน่ายส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังซื้อค่อนข้างสูงที่นิยมสินค้าต้นแบบจากแหล่งผลิตดั้งเดิมในต่างประเทศ ขณะที่สินค้าของที่ระลึกที่ผลิตภายในประเทศไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร กลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าระดับกลาง โดยเฉพาะเด็กๆที่มีกำลังซื้อไม่มาก

ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ตกต่ำช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึกกีฬาในไทยไม่แจ่มใสเท่าที่ควร หากผู้ประกอบการปรับกลยุทธให้ดี สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้ ย่อมเป็นโอกาสที่ดีของการสร้างรายได้

เนื่องจากช่วงนี้เป็นเทศกาลบอลโลก ของที่ระลึกก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่สมควรลงทุน ของที่ระลึกส่วนใหญ่จะเป็น เสื้อ , พวงกุญแจ , แก้วน้ำ ทำให้คนที่ชอบสะสมหาซื้อกันได้ตามร้านขายของที่ระลึกทั่วไป

ความยั่งยืนของธุรกิจ และแนวทางทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากธุรกิจของที่ระลึกนี้ไม่ใช่จะทำขายแต่ในช่วงบอลโลกเท่านั้น ในช่วงอื่นก็ยังสามารถผลิตสินค้า หรือขายสินค้าตามความนิยมได้ หรืออาจจะเป็นการสั่งสินค้าของลูกค้าเอง แต่ธุรกิจก็สามารถปรับเปลี่ยนตามความนิยมของลูกค้าได้ทุกโอกาส และวิธีที่จะทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ก็ต้องมีการจัดรายการส่งเสริมการขาย(Promotion) เพื่อให้ลูกค้าสนใจและเข้ามาซื้ออย่างต่อเนื่อง และไม่ควรเก็บสินค้าไว้ในสโตร์นานๆหรือเยอะๆเพราะอาจจะเป็นการลดความนิยมของลูกค้าได้และการบริการของพนักงานกับลูกค้าต้องดี ต้องรู้จักการเอาใจลูกค้าเพื่อจะเป็นความประทับใจของลูกค้า และลูกค้าจะกลับมาซื้อสินค้าเราอีก

ชื่อนางสาวไกรศรี พลโฮม

รหัส52127312060 การเงินการธนาคาร 02

บริษัทเป๊ปซี่

เป๊ปซี่ ผสาน 2 แพลตฟอร์มการตลาด สปอร์ตมาร์เกตติ้ง ควบคู่ มิวสิกมาร์เกตติ้ง เปิดแคมเปญที่สมบูรณ์แบบที่สุด รุกตลาดน้ำดำยิงยาวจนถึงกลางปี ฝ่ากระแสฟีเวอร์ฟุตบอลโลกที่ค่ายนำดำคู่ปรับเป็นสปอนเซอร์อย่างเป็นทางการ หลังจากเป๊ปซี่ เริ่มอุ่นเครื่องบุกตลาดน้ำดำปี'53 ด้วยการปรับโฉมใหม่โลโก้ใหม่เป็นรูป 'เป๊ปซี่ยิ้ม' เพื่อสร้างความสดใหม่ให้กับแบรนด์และโกลบอลคอนเซ็ปต์ 'Refresh Your World หรือเปลี่ยนโลกให้สดชื่น' พร้อมกันทั่วโลกไปเร็วๆ นี้ ล่าสุดเปิดฉากรุกด้วยการทุ่มงบ 100 ล้านบาท เปิดตัวแคมเปญการตลาดที่อยู่ภายใต้ 2 แพลตฟอร์มสปอร์ตและมิวสิก ซึ่งเป็นการนำกิจกรรมมาใช้ร่วมกันครั้งแรก ภายใต้แคมเปญโกลบอลฟุตบอล 2010 ซึ่งเปิดตัวที่ประเทศไทยในอันดับ 1 ใน 10 ก่อนประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเกมรุกด้วยกลยุทธ์สปอร์ตมาร์เกตติ้ง เพื่อต้อนรับฤดูการขายนี้ เป๊ปซี่ ดึงจุดเด่นของการทำตลาดที่ทำมาอย่างต่อเนื่องๆ ทุกปีโดยผ่าน 4 กิจกรรมหลัก เริ่มจากดึงซูเปอร์สตาร์กีฬาฟุตบอลมาเป็นพรีเซนเตอร์ภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ซึ่งในปีนี้ได้นำ 8 สุดยอดนักเตะชื่อดังของโลกได้แก่ ตอร์เรส, กากา, เมสซี, แลมพาร์ด, อองรี, บัลลัค, ดร็อกบา และอาร์ชาวิน มาร่วมเป็นพรีเซนเตอร์แคมเปญโฆษณาชุดใหม่ที่ถ่ายทำในแอฟริกา
ขณะที่กลยุทธ์มิวสิกมาร์เกตติ้ง นำกระแสความสนใจของการแข่งขันฟุตบอลโลกของคนทั่วโลกที่มุ่งไปที่แอฟริกาเปิด ตัวซิงเกิลเพลงและมิวสิกวิดีโอ Oh Africa เพลงประจำแคมเปญเป๊ปซี่ฟุตบอล 2010 ที่ขับร้องโดย 'เอคอน' ศิลปินฮิปฮอประดับโลกที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในวงการดนตรีทั้งเบื้องหน้าและ เบื้องหลัง เจ้าของซิงเกิลติดชาร์ต Platinum Selling มากมาย และ 'เครี่ ฮิลสัน' นักร้องสาวหน้าใหม่ที่เข้าชิงรางวัล Grammy Award พร้อมด้วยคนรุ่นใหม่ตัวแทนจาก 16 ประเทศทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ 'ซานิ-นิภาภรณ์ ฐิติธนการ' นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมทำดี เต็มที่เพื่อสังคม ด้วยการดาวน์โหลดเพลง Oh Africa จาก 2 ช่องทาง ได้แก่ ทาง www.pepsithai.com และทางมือถือโดยโทร. *4908 กด 44 เพื่อนำรายได้สมทบทุนมูลนิธิ Konfidence Foundation ของ 'เอคอน' เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในแอฟริกา นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่มีการผสานแอฟริกันเทรนด์กับกีฬาฟุตบอลอย่างลงตัวอยู่ในทุก มิติของแคมเปญ โดยได้นำเสื้อยืดที่ระลึกของเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 กราฟิกสไตล์แอฟริกัน พร้อมชื่อ 8 ดาวเตะโลก ซึ่งออกแบบโดยอีตัน 300 มาวางจำหน่ายในราคาเริ่มต้น 1,000 บาทด้วย เพื่อนำรายได้ทั้งหมดนำส่งเข้ามูลนิธิชัยพัฒนา รวมถึงเปิดตัวบรรจุภัณฑ์คอลเลกชั่น 8 ดาวนักเตะของเป๊ปซี่และช่องทางดิจิตอลเข้าถึงคนรุ่นใหม่ และโปรโมชั่น 'ตะลุยแอฟริกากับตอร์เรส' ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คนไทยร่วมสร้างสนามฟุตบอลกับตอร์เรสให้เด็กที่ยากไร้ใน แอฟริกาด้วย การผสานกลยุทธ์ตลาดโดยจัดกิจกรรมสปอร์ต ร่วมกับ มิวสิกแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างสีสันกระตุ้นยอดขายและความถี่ในการดื่มน้ำอัดลมช่วงหน้าร้อนนั้น นับว่าเป็นครั้งแรกของเป๊ปซี่ ที่นำ 2 แนวทางการตลาดมาผนวกกัน เพราะจากเดิมจะแยกการทำกิจกรรมการตลาดอย่างชัดเจน เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กิจกรรมมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เกมรุกนี้เป็นจังหวะเดียวกับช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่จัดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งมีคู่แข่งโค้กเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนฟุตบอลโลกอย่างเป็นทางการ (Official Sponsor) ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2022
ทว่าท่ามกลางกระแสฟีเวอร์ของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เช่นเดียวกับทุกครั้ง เมื่อเป๊ปซี่ไม่ได้ร่วมเข้าเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันฟุตบอลโลกอย่างเป็นทาง การ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ในแง่ของอิมเมจ แต่เป๊ปซี่ก็ฝ่ากระแสฟุตบอลโลกฟีเวอร์มาด้วยแคมเปญที่มีความหลากหลาย ที่วางเป้าหมายทั้งในแง่ของ Awareness และกระตุ้นยอดขาย โดยใช้แนวทางการตลาดผ่านซูเปอร์สตาร์กีฬาฟุตบอลมาเป็นพรีเซนเตอร์ภาพยนตร์ โฆษณา ต่อยอดจากกลยุทธ์สปอร์ตมาร์เกตติ้งที่ เป๊ปซี่ ตอกย้ำแบรนด์ในกีฬาฟุตบอลทุกๆ ปี รวมถึงการทำโปรโมชั่นแคมเปญที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นยอดขายในช่วงหน้าร้อน ในปีทองของกีฬาฟุตบอลด้วย
เป้าหมายของการทำแคมเปญสปอร์ตแพลตฟอร์ม ควบคู่มิวสิกแพลตฟอร์มนั้น เอริค กิจจาพันธ์ ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า แคมเปญที่มีความหลากหลายครอบคลุมกิจกรรมการตลาดทั้ง 2 แนวทางนี้จะช่วยในการขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้นและครอบคลุมทุกกลุ่ม เป้าหมาย
อีกทั้งสามารถแข่งขันกับคู่แข่งทุกรายในตลาดเครื่องดื่มที่ทุ่มงบจำนวนมาก เพื่อเข้ามาช่วงชิงยอดขายในช่วงแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 โดยหลังจากเปิดตัวแคมเปญนี้ คาดว่าจะสามารถกระตุ้นยอดขายในช่วง 6 เดือนนับจากนี้ให้โตได้ไม่ต่ำกว่า 5% ขณะที่ภาพรวมตลาดน้ำอัดลมโดยรวมจะเติบโตได้ 5% จากมูลค่ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มน้ำดำ 75% และน้ำสี 25% ซึ่งในส่วนของปีที่ผ่านมา ตลาดรวมน้ำอัดลมมีอัตราการเติบโตที่ 4% โดยมีเป๊ปซี่เป็นผู้นำตลาด นอกจากโอกาสที่เกาะมากับกระแสการแข่งขันฟุตบอลโลกจะส่งผลทำให้ตลาดน้ำอัดลม มีความคึกคักแล้ว ยังมีอีกตัวแปรสำคัญคือ สภาพดินฟ้าอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นแรงผลักดันทำให้ตลาดน้ำอัดลมอยู่ใน ช่วงขาขึ้นด้วย โดยจากปัจจัยนี้เองที่ทำให้ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมของ เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) มีการวางแผนทางด้านนโยบายการผลิตเพิ่มขึ้น ปริญญา เพิ่มพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการขาย กล่าวว่า ในส่วนของตลาดน้ำอัดลมปีนี้บริษัทมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 5% ทั้งนี้เพื่อรองรับสภาพการแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาเพื่อช่วงชิงลูกค้าในตลาดน้ำอัดลมช่วง หน้าร้อน ที่ประเมินกันว่าอากาศในไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา และมีระยะเวลาที่ร้อนยาวนานขึ้น ส่งผลให้ปีนี้ฤดูขายของเครื่องดื่มน้ำอัดลมขยายระยะเวลาโดยเริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม จากเดิมจะอยู่ช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งส่งผลให้การแข่งขันในตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมมีการแข่งขันที่ดุเดือดและ การใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายมากขึ้น
'ส่วนแผนการทำตลาดของบริษัทในปีนี้ที่พยายามรักษาตลาดเอาไว้จะเพิ่มความถี่ ในการจัดกิจกรรมใหม่ทุกเดือน เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวของแบรนด์เป๊ปซี่อย่างต่อเนื่อง พร้อมรุกช่องทางการสื่อสารตลาดใหม่โดยหันมาใช้สื่อดิจิตอลมากขึ้น อาทิ ขยายโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ ผ่านเว็บไซต์เป๊ปซี่ดอทคอม และเปิดตัวเกมออนไลน์ ซีโร่ทูฮีโร่เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคมนี้
เกมรบ 2 ยักษ์น้ำดำในเวิลด์คัพ 2010
เกมช่วงชิงตลาดของ 2 แบรนด์ยักษ์น้ำดำในเวิลด์คัพปีนี้ ดูจะร้อนแรงกว่าทุกๆ ปี เพราะแข่งขันตั้งแต่กลยุทธ์สปอร์ตมาร์เกตติ้ง จนถึงมิวสิกมาร์เกตติ้ง ซึ่งเป็นเพลงที่แสดงถึงกลิ่นอายฟุตบอลโลกในทวีปแอฟริกาที่ เป๊ปซี่ และโค้ก ต่างไม่ยอมแพ้กัน
การแข่งขันกลยุทธ์สปอร์ตมาร์เกตติ้ง ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอลของ 2 ยักษ์น้ำอัดลม ระหว่างเป๊ปซี่ และโค้ก ในช่วงที่ผ่านมา ทั้ง 2 ค่ายเปิดเกมรบกันนานารูปแบบ ทั้งในรูปแบบการเป็นสปอนเซอร์ ที่คาดหวังในแง่อิมเมจ การสื่อสารผ่านภาพยนตร์เพื่อตอกย้ำในแบรนด์ รวมถึงการเปิดตัวแคมเปญโปรโมชั่นที่สามารถกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นจาก กิจกรรมการตลาดที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอล อีกทั้งมิติของการสร้างประสบการณ์ให้แฟนบอลชมฟุตบอลถึงขอบสนาม
แม้ว่า โค้ก จะมีแต้มต่อกว่า เป๊ปซี่ ในแง่ของอิมเมจ ที่ตอกย้ำกลยุทธ์สปอร์ตมาร์เกตติ้งผ่านโค้กคัพ และผูกขาดการเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันฟุตบอลโลกอย่างเป็นทางการมานาน โดยเน้นการตลาดสร้างประสบการณ์เป็นจุดเด่นก็ตาม ทว่าการตลาดที่ตอกย้ำ Awareness ผ่านโกลบอลแคมเปญของเป๊ปซี่ โดยวิธีการสื่อสารผ่านพรีเซนเตอร์ซูเปอร์สตาร์นักฟุตบอลระดับโลกในภาพยนตร์ โฆษณาที่ยิงยาวต่อเนื่องมาหลายปีนั้น สามารถสร้างการจดจำได้ดี นั่นเพราะการตลาดที่เจาะเข้าถึงคอฟุตบอล จะทำให้แบรนด์ของตนเองสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้าง ในทุกระดับอายุ และเพศ ว่ากันว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีผู้สนใจชมมากที่สุดในโลก ไม่เพียงเท่านั้นกีฬาฟุตบอลยังเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจมากที่สุด
หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา ในเวิลด์คัพครั้งนั้น เป๊ปซี่เดินหมากโดยการชู 11 นักเตะระดับโลกในสังกัดทีมเป๊ปซี่ อาทิ โรนัลดินโญ และเดวิด เบคแฮม มาเป็นพรีเซนเตอร์ผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุด Pepsifest พร้อมการออกบรรจุภัณฑ์คอลเลกชั่นพิเศษ 7 แบบให้เลือกสะสม รวมถึงแคมเปญกระตุ้นยอดขายด้วยโปรโมชั่น ส่ง SMS และส่งฝาไปชิงโชค

 

 

นายยุทธพงษ์ ขาวสำอางค์

การเงินการธนาคาร

52127312021

ว่ากันว่ามีประชากรในประเทศต่างๆ มากกว่า 120 ประเทศทั่วโลกที่เฝ้าจับตาชมและเชียร์การแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 หรือ  2010 FIFA  World Cup South Africa  ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 11  มิถุนายน - 11 กรกฎาคม นี้  รวมถึงประเทศไทย ที่แน่นอนว่าคนไทยให้ความสนใจเกาะติดสถานการณ์ฟุตบอลโลก ไม่แพ้ชาติใดในโลก  กระแสความสนใจการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่จะมีขึ้นในปีนี้จึงยังคงดีกรีความร้อนแรงไม่แพ้เมื่อ 4 ปีก่อน แม้ครั้งนี้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองที่ปั่นป่วนหนัก และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ 
 การจับกระแส "ฟุตบอลโลก 2010"  มาสร้างเป็นอีเวนต์ จึงเป็นกลยุทธ์ที่หลายค่ายให้ความสนใจ โดยเฉพาะในธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ที่ทั้ง 2 ค่ายยักษ์ อย่างไทยเบฟเวอเรจ หรือเบียร์ช้าง และบุญรอดบริวเวอรี่ หรือเบียร์สิงห์ ต่างทุ่มงบเมื่อสร้างแบรนด์ผ่านการเป็นสปอนเซอร์  ซึ่งแม้งานนี้จะมีกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คุมเข้ม  ทำให้ไม่สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ แต่ก็ยังมีช่องว่าง โดยการโฆษณาผ่านทางโซดาหรือน้ำดื่มแทน

++ ไทยเบฟ อัดโฆษณา-ชิงโชคเพียบ

 การมุ่งเป้าเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดคืนจากเบียร์สิงห์  จำเป็นที่เบียร์ช้าง จะต้องอัดกิจกรรมแบบรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นดนตรี  สังคม หรือสปอร์ต มาร์เก็ตติ้ง  โดยเฉพาะ "ฟุตบอลโลก" ที่เบียร์ช้างถือเป็นผู้ปลุกกระแส และสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้วยการเป็นสปอนเซอร์การถ่ายทอดสดฟุตบอล แบบไม่มีโฆษณาคั่น ที่มาบั่นบอนความมัน และอรรถรสในการเชียร์  การเป็นสปอนเซอร์ฟุตบอลโลก 2010 ในปีนี้ของเบียร์ช้าง จึงเหมือนเป็นการกลับมาเพื่อรักษาแชมป์
 นายชาลี  จิตจรุงพร  รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  โซดา และน้ำดื่ม "ตราช้าง"  เปิดเผยว่า   การจัดแคมเปญฟุตบอลโลก 2010 ถือเป็นไฮไลต์ ในการทำกิจกรรมการตลาดผ่านแคมเปญสปอร์ต มาร์เก็ตติ้ง โดยบริษัทจะใช้งบมากกว่า 100 ล้านบาทในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นก่อนและระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่จะมีขึ้นในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมนี้  ภายใต้แบรนด์น้ำดื่มและโซดาตราช้างเป็นหลัก
 สำหรับกิจกรรมของไทยเบฟ ในการจัดแคมเปญฟุตบอลโลก 2010 ประกอบไปด้วย การเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขัน อย่างเป็นทางการในประเทศไทย  โดยไทยเบฟ เป็นสปอนเซอร์ในระดับโกลด์ แพ็กเกจ  มีราคาแพ็กเกจละ 30 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดจากเดิมที่ไทยเบฟ จะเป็นสปอนเซอร์ในระดับแพลทินัม แพ็กเกจ  ซึ่งมีราคาแพ็กเกจละ 50 ล้านบาท  อย่างไรก็ดี การปรับลดงบประมาณในการเป็นสปอนเซอร์ถ่ายทอดสดลง เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย โดยเฉพาะบริเวณสี่แยกราชประสงค์  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ ไทยเบฟ ได้สิทธิ์ในการจัดกิจกรรมบริเวณด้านหน้าลานอเนกประสงค์ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์  ซึ่งหากการชุมนุมยังยืดเยื้อต่อไปจนถึงเดือนมิถุนายน กิจกรรมต่างๆ ก็ไม่สามารถดำเนินได้
 นอกจากนี้ ไทยเบฟ ยังจัดแคมเปญ Chang 2010 พาลุยบอลโลก โดยส่งฝาน้ำดื่มช้างและโซดาช้าง ร่วมชิงโชคแพ็กเกจทัวร์ชมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบ Quarter - Final พร้อมที่พักและตั๋วเครื่องบินไป-กลับประเทศแอฟริกาใต้  6 วัน 3 คืน  , ร่วมกับอสมท  จัดกิจกรรม "เชียร์สุดขั้ว คว้าตั๋วทัวร์บอลโลก"   , ร่วมเป็นสปอนเซอร์กับหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จัดทายผลฟุตบอลโลก 2010 ในแคมเปญ "ลุ้นแชมป์บอลโลก ลุ้นโชคกับเดลินิวส์"  เพื่อชิงรางวัล บ้านพร้อมที่ดิน , รถยนต์ ,ทองคำแท่ง , สร้อยคอทองคำ ฯลฯ รวมมูลค่ากว่า 41 ล้านบาท และภาพยนตร์โฆษณาที่เกี่ยวเนื่องกับแคมเปญฟุตบอลโลกด้วย

++ สิงห์ ยึด 5 พื้นที่จัดออนกราวด์

 อย่างไรก็ดี  อีเวนต์ ฟุตบอลโลก 2010 ถือเป็นสีสันที่จะมาสร้างความคึกคักให้กับหลายธุรกิจในเมืองไทย และเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่คาดว่าจะได้รับความสนใจจากคนไทยเป็นพิเศษ  ที่จะช่วยให้คนไทยผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์การเมือง ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ก็ได้รับผลกระทบจากทั้งสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ  การเมือง และกฎหมายที่ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมไม่เติบโตไปตามเป้าหมายที่วางไว้  การจัดกิจกรรมด้านการตลาดเพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อและกำลังบริโภคของผู้บริโภค ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์นั้น
 นายปิติ  ภิรมย์ภักดี  ผู้จัดการกลุ่มการตลาด  บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เบียร์ , น้ำดื่ม ,โซดา ภายใต้ชื่อสิงห์ กล่าวว่า  บริษัทตอบรับการเป็นสปอนเซอร์ออนกราวด์ หรือการเป็นผู้สนับสนุนการจัดอีเวนต์ ร่วมกับบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ผู้ได้รับสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ตลอด 1 เดือนเต็ม ที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยอีเวนต์ทั้ง 5 จุด ประกอบไปด้วย ลานศูนย์การค้า ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต , เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ , เดอะ มอลล์ โคราช , เซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่ และไฮเทค ไนท์บาซาร์ อุดรธานี  
"การจัดแคมเปญฟุตบอลโลก 2010 ในครั้งนี้บริษัทเตรียมงบประมาณกว่า 35 ล้านบาท แบ่งออกเป็นงบการสนับสนุนอีเวนต์ ร่วมกับอาร์เอส 20 ล้านบาท และงบสำหรับจัดกิจกรรม 15 ล้านบาท โดยการจัดกิจกรรมทั้ง 5 จุดตามที่อาร์เอส กำหนดแล้ว บริษัทยังสามารถทำกิจกรรมร่วมกับร้านค้าทั่วไปที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสิงห์ได้อีกด้วย"

++ อีเวนต์ กลยุทธ์สร้างสีสัน-ยอดขาย

 สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ถือเป็นไฮไลต์ ที่จะมาช่วยสร้างสีสันและกระตุ้นยอดขายในไตรมาส 2 ของปีนี้  และยังเป็นการพิสูจน์ว่า "อีเวนต์" ที่ถูกหยิบมาใช้นั้นจะช่วยเรียกลูกค้าและยอดขายให้กับผู้ประกอบการได้จริงแท้แค่ไหน  หลังจากที่กฎหมายควบคุมน้ำเมา มีผลบังคับห้ามการโฆษณา ทุกรูปแบบ รวมถึงการจัดรายการส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ  ทำให้เครื่องมือทางการตลาดต่างๆ ของผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกจำกัดในการออกมาสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ สร้างนักดื่มหน้าใหม่ และสร้างยอดขายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
 "เดิมการทำกิจกรรมเกี่ยวกับฟุตบอล  เป็นแค่กิจกรรมหนึ่งๆ แต่ตอนนี้ฟุตบอลเป็นอาวุธ ที่จะช่วยสร้างความตื่นตัว  ทันสมัย ภาพลักษณ์ให้แบรนด์ได้เกาะกระแสมากขึ้น  โดยเฉพาะฟุตบอลโลก ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ เชื่อว่าจะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สร้างให้อุตสาหกรรมเบียร์ตื่นตัว โดยคาดว่าฟุตบอลโลกจะทำให้ปริมาณการบริโภคเบียร์เพิ่มขึ้น 5%  และมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้น 10%"นายชาลีกล่าว

เนื่องมาจากธุรกิจนี้มีความนิยมสูงตลอดทั้งปีทำให้มักมีผลตอบรับที่ดีการดำเนินงานย่อมมีประสิทธิภาพ การเป็นหนี้ศูนย์แทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้

แนวทางทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจนี้มีความยั่งยื่นตลอดตราบใดที่ยังมีคนดื่มสุราอยู่ก็ยากนักที่จะไม่สามารถดำเนินต่อได้ การทำให้มีลูกค้าที่ยังยืนต่อเนื่องนั้นควรมี การบริการที่ดี ดอกเบี้ยต่ำ ให้เงินจำนวนมาก เป็นต้น

วรีรัตน์ แซ่โง้ว

การเงินการธนาคาร

52127312021

ขอโทษค่ะรหัสนักศึกษาผิด

รหัสคือ52127312051

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

1.สื่อโทรทัศน์

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 พบว่า คาดว่าจะมีเงินสะพัด 59,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับช่วงเทศกาลฟุตบอลยูโรปี 2008 โดยค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งประมาณ 5,000-10,000 ล้านบาท เป็นการใช้จ่ายจากภาคธุรกิจในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น งานอีเวนท์ การทำโปรโมชั่นของสินค้า รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาที่หลายบริษัทเพิ่มงบพิเศษขึ้นนอกเหนือจากงบที่วางไว้เดิม

ดังนั้น คาดว่าเทศกาลครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นกลับขึ้นมาได้ 0.2-0.3% ขณะที่ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ติดตามฟุตบอลโลกจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด เป็นผลให้งบโฆษณาเทเข้ามาเพิ่มขึ้นกว่า 10% รวมทั้งธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารก็จะคึกคักไปด้วย

2.บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด

ด้านธุรกิจเครื่องดื่มที่ปีนี้โชคดี ทั้งอานิสงส์จากอากาศร้อนตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งมีแคมเปญเกาะกระแสฟุตบอลโลก เริ่มด้วยบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด อีกหนึ่งบริษัทที่ร่วมสนับสนุนฟีฟามายาวนาน และได้รับสิทธิต่อสัญญาเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของฟีฟา เวิลด์คัพ ไปจนถึงปี 2565 (ค.ศ. 2022) ได้เพิ่มงบการตลาดอีก 50 ล้านบาท เป็น 170 ล้านบาท จากที่ก่อนหน้าวางงบตลอดแคมเปญฟุตบอลโลกไว้ 120 ล้านบาท เพื่อเพิ่มจำนวนกิจกรรมให้สามารถเข้าถึงคนดูได้มากที่สุด โดยเฉพาะไฮไลท์ “โค้ก เซเลเบรชั่น ปาร์ค-ลานบอลโลก สดทั่วไทย” กับขบวนรถคาราวานถ่ายทอดสดการแข่งขันฟีฟ่า เวิลดิ์ คัพ 2010 ถึงถิ่น 15 หัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ และโปรโมชั่น “เชียร์บอลโลก รวยทองทุกแมตช์กับโค้ก” รวมทั้งเตรียมพาคอบอลผู้โชคดี 36 คนไปชมการแข่งขันแบบติดขอบสนามถึงแอฟริกาใต้

นางสาวเบญญาภา ศรีนวล

ร้านขายเสื้อกีฬา คึกคัก! กระแสรับบอลโลก

ร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อกีฬาในศรีราชา เริ่มมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เพื่อนำมาจำหน่าย พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ บริษัทต่างๆ มีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับเทศกาลบอลโลก

ศรีราชา – วานนี้ (8 มิ.ย.53) ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่รายงานบรรยากาศช่วงก่อนแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อผ้ากีฬา ในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พบว่า เริ่มมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก2010 เพื่อนำไปสวมใส่

นายอนุศักดิ์ แก้วบรรจง เจ้าของร้านราชาสปอร์ต เปิดเผยว่าการจำหน่ายเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 มีการสั่งซื้อมากขึ้นเพื่อรองรับกระแสฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ส่วนราคาทางร้านไม่ขึ้นแต่อย่างใดเพราะเศรษฐกิจในช่วงนี้ไม่ดี เสื้อแต่ละตัวอยู่ที่ตัวละ 150 -160 บาท ทางร้านก็มีส่วนลดเหมือนกันสำหรับลูกค้าที่สั่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งในช่วงนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้านอาหาร ผับ ที่ซื้อไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับกระแสฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010

ตอบ ธุรกิจร้านขายเสื้อกีฬาเป็นธุรกิจที่ขายดีในช่วงบอลโลก ร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อกีฬา จะมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เพื่อนำมาจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วไปที่ชื่นชอบในทีมที่ตนเองเชียร์ และพบว่าผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ บริษัทต่างๆ มีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปให้ลูกจ้างสวมใส่ให้เข้ากับเทศกาลบอลโลก และถ้าหากเลยเทศกาลบอลโลกไปแล้วธุรกิจขายเสื้อผ้ากีฬาก็ยังคงดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ เนื่องจากในปัจจุบันคนหันดูแลสุขภาพตนเองกันมากขึ้นดังนั้นผู้คนจึงหันหน้ามาออกกำลังกายกันเยอะ ดังนั้นก็จะต้องมีการซื้อเสื้อผ้ากีฬาเพื่อให้สะดวกในการออกกำลังกาย และในปัจจุบันแต่ละจังหวัดได้มีการจัดการแข่งขันกีฬากันเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว นอกจากนี้ในเกือบทุกหน่วยงานยังมีการสวมใส่แบบฟอมร์กีฬาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง พนักงานและลูกจ้างต่างๆจึงต้องมีชุดสวมใส่ตามที่หน่ยวงานกำหนดและจะต้องซื้อเสื้อผ้าที่ร้านขายเสื้อผ้ากีฬา ธุรกิจร้านขายเสื้อผ้ากีฬาจึงขายได้ตลอดทั่งปีและยังเป็นธุรกิจหนึ่งที่ธนาคารควรปล่อยสินเชื่อให้

แนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องธนาคารควรจะคิดดอกเบี้ยในการกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่น้อย และควรมีระยะเวลาในการผ่อนชำระเงินที่ยาว และผ่อนชำระครั้งละน้อย

ธุรกิจขายทีวี...รับบอลโลก

บอลโลกดันยอดขายทีวีกระฉูดผู้ผลิตรับคาดการณ์ผิด-แอลซีดีบางรุ่นขาดตลาด

นายภิญโญ สงวนเศรษฐกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายขายผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์ บริษัท โซนี่ไทย จำกัด เปิดเผยว่า กระแสบอลโลกฟีเวอร์ยังมีต่อเนื่อง ส่งผลให้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในหมวดทีวีมียอดขายเติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยขณะนี้แอลซีดีบางรุ่นบางขนาดไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือมีสต็อกที่เหลืออยู่ในออฟฟิศไม่ถึง 50 ยูนิต ยอมรับในปีนี้ผู้ประกอบการมีการคาดการณ์ผิด ไม่นึกว่าจะได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคมากขนาดนี้ โดยปัจจัยหลักน่าจะมาจากราคาสินค้าถูกลง ผู้บริโภคส่วนหนึ่งอาจถือโอกาสนี้เปลี่ยนมาซื้อแอลซีดีแทนของเดิม

นายอลงกรณ์ ชูจิตร รองกรรมการผู้จัดการบริษัท แอลจี อิเล็คทรอนิกส์ จำกัด เปิดเผยว่า สินค้ากลุ่มจอภาพในขณะนี้มีอัตราเติบโตเกิน 50% แต่สินค้าในกลุ่มอื่นก็ได้รับผลพวงจากกระแสฟุตบอลโลกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหมวดคูลลิ่ง โพรดักส์ อาทิ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม และเครื่องทำน้ำเย็น เพราะคนกลับบ้านเร็วขึ้นจากเวลาถ่ายทอดการแข่งขันในช่วงเย็น ประกอบกับปีนี้อากาศร้อนมาก ทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าประเภทคูลลิ่งมากขึ้น ซึ่งในส่วนของเครื่องปรับอากาศปีนี้การเติบโตเกิน 50%

ด้านนายจักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล ผู้อำนวยการใหญ่สายบริหารสินค้า พาวเวอร์มอลล์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไอที กล่าวว่า หลังจากเปิดบอลโลกมาได้กว่า 1 สัปดาห์ ยอดขายแอลซีดีของพาวเวอร์มอลล์โตมากกว่า 50% ถือว่าเกินเป้าหมายที่วางไว้ที่แต่เดิมคาดว่าจะโตไม่เกิน 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับแอลซีดีที่ขายดีที่สุดคือ จอขนาด 46 และ 50 นิ้ว เช่นเดียวกับพลาสมาทีวี ที่ขนาด 50 นิ้วมียอดจำหน่ายสูงเกินคาด ขณะที่แอลซีดี 32 นิ้ว มีการเติบโตเป็น 2 เท่า เนื่องจากราคาจำหน่ายที่ถูกลง โดยขนาด 32 นิ้ว ราคาที่จำหน่ายในพาวเวอร์มอลล์เหลือหมื่นต้นๆ ทั้งนี้นอกจากกระแสบอลโลกแล้ว การที่ลูกค้าพาวเวอร์มอลล์ตัดสินใจเร็วในการซื้อทีวีนั้น มาจากแคมเปญส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะบัตรเครดิตที่ส่วนใหญ่จัดแคมเปญ ดอกเบี้ย 0% ผ่อนนาน 6 และ 10 เดือน

"จอขนาดใหญ่ขายดีมาก เพราะราคาที่ลดลงกว่าในอดีตมาก ด้วยขนาดจอใหญ่ที่ขายดีขึ้น ตอนนี้ทำให้สัดส่วนการขายจอใหญ่ 40 นิ้วขึ้นไปของพาวเวอร์มอลล์ปรับขึ้นไปเป็น 60% ขณะที่ 32 นิ้วเหลือ 40%" ผู้บริหาร กล่าวและว่า สำหรับแคมเปญที่จัดในปีนี้คือ "พาวเวอร์มอลล์ 3D เวิลด์คัพ 2010 ร่วมเชียร์สนั่น มันส์ทะลุมิติ" โดยมีการจำลองอีเวนท์ฮอลล์ที่สาขาเดอะมอลล์ รามคำแหง, ท่าพระ, งามวงศ์วาน, บางแค และบางกะปิ เสมือนให้ลูกค้าได้เข้าไปชมการแข่งขันในสนามจริง เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมในการเชียร์บอล

ตอบ ช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกธุรกิจทีวีก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจที่จะให้สินเชื่อเนื่องจากร้านอาหารส่วนใหญ่จะเปิดกิจการไปพร้อมกับการดูบอลเพื่อที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ลูกค้าที่มาใช่บริการ และยังเป็นการเพิ่มกำไรในการค้าขายอีกด้วย ซึ่งทีวีในปัจจุบันราคาก็ไม่ค่อยแพงสักเท่าไหร่ มีคุณภาพที่สูง ภาพคมชัด เสียงดี ส่วนใหญ่ทีวีปัจจุบันจะเป็นแบบจอแอลซีดี จำทำให้สะดวกในการวางตั้ง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ได้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีกด้วย และในบางครอบครัวก็ได้โอกาสที่จะเปลี่ยนทีวีใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งสามารถที่จะทำให้ครอบครัวมารวมตัวเชียร์บอลกันอย่างสนุกสนานเปลี่ยนมุมมองใหม่ของบ้านต้อนรับบอลโลก

นางสาวเบญญาภา ศรีนวล รหัสนักศึกษา 52127312057

นางสาวโสระยา สายทอง

ธุรกิจร้านกาแฟสดคอคนดูบอล

แนะนำเทคนิคและกลยุทธ์การสร้างธุรกิจร้านกาแฟหรือการสร้างร้านกาแฟสดแบบเหมาะสมและแบบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ว่าท่านจะทำร้านกาแฟสดเป็นงานหลักหรือทำร้านกาแฟเป็นงานเสริมรายได้ ก็สามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการเริ่มต้นทำร้านกาแฟสด

คุณสมบัติสำหรับผู้ที่จะทำร้านกาแฟสด

1. ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนธุรกิจร้านกาแฟ ควรมีความพร้อมในเรื่องของความตั้งใจจริงความมุ่งมั่นและเงินลงทุนพอสมควร

2. ผู้ประกอบการต้องมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากหัวใจสำคัญของการทำร้านกาแฟอยู่ที่การเลือกทำเลที่ตั้ง หากขาดทำเลที่ตั้งที่ดีแล้ว โอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านนี้นับว่ายากพอสมควร นอกจากมีกลยุทธ์ที่เหนือชั้นจริงๆ

3. ผู้ประกอบการควรมีความรู้ในศาสตร์ของกาแฟอยู่บ้าง เพราะการผลิตเครื่องดื่มกาแฟถือเป็นงานศิลปะและศาสตร์อย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน ความเข้าใจในส่วนนี้จะช่วยในเรื่องการขาย การบริการ และการพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น ผู้ประกอบการต้องหมั่นพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา

4. มีใจรักในกาแฟและการบริการเป็นทุนเดิม สนใจในการลงทุนในธุรกิจกาแฟ

การทำร้านกาแฟสดเริ่มต้นจากการมีเงินลงทุนสักก้อน ( มากน้อยตามความเหมาะสมของฐานะแต่ละคน ) ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจร้านกาแฟสดจากหนังสือหรือเว็บไซต์ในเบื้องต้น หลังจากนั้นมาถึงขั้นตอนเลือกว่าจะซื้อแฟรนไชส์กาแฟที่ให้บริการหรือจะหาซื้ออุปกรณ์กาแฟแต่ละที่ แล้วลงทุนไปเรียนรู้ในเรื่องของการทำธุรกิจร้านกาแฟสด ก็ต้องเลือกว่าแบบใดดีกว่า

หลักในการเลือกแฟรนไชส์กาแฟสด

ต้องเปรียบเทียบให้ดี เพราะมีผู้ให้บริการหลายเจ้า คัดเลือกเจ้าที่ให้ประโยชน์มากที่สุดและมีความยืดหยุ่นสูง ถ้าเป็นประเภทฟรีค่าแฟรนไชส์ได้ยิ่งเป็นการดี เพราะไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม และหักเปอร์เซ็นจากยอดขาย ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุนมีกำไรเพิ่มขึ้น และประการสำคัญคือถึงจุดคุ้มทุนได้เร็ว เมื่อคัดเลือกได้ตามความต้องการแล้ว หลังจากนั้นเริ่มหาทำเลที่เหมาะสม ( หรือจะทำไปพร้อมกันกับการคัดเลือกแฟรนไชส์ก็สามารถทำได้ )

หลักการคัดเลือกทำเล

สำหรับการทำร้านกาแฟสด ทำเลถือว่ามีความสำคัญมากพอสมควร ถ้าได้ทำเลดีเท่ากับมีชัยไปเกินครึ่ง ดังนั้นการคัดเลือกทำเลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำเลคือหัวใจของธุรกิจร้านกาแฟเลยก็ว่าได้ การเลือกทำเลที่ตั้งร้านกาแฟ ควรพิจารณาจากสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้

1. ควรเลือกทำเลร้านกาแฟสดที่เป็นแหล่งชุมชนขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ เช่น แหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล หรือแหล่งที่มีผู้คนจำนวนมาก

2. การเดินทางไปมาสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม ผู้คนเดินผ่านไปมาในแต่ละวันจำนวนมาก กลุ่มลูกค้ามีกำลังซื้อพอสมควร

3. ควรเลือกจุดหรือบริเวณที่ตั้งของร้านกาแฟให้เหมาะสม ปรับหน้าร้านกาแฟไปทางทิศที่มีผู้คนเดินผ่าน มองเห็นได้ง่าย สะดุดตา พื้นที่ตั้งร้านกาแฟสดสะอาดดูดี อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีสิ่งใดมาบดบังหน้าร้านกาแฟ

4. ทำเลร้านกาแฟสดไม่ควรติดถนนมากจนเกินไป เนื่องจากฝุ่นที่ฟุ้งกระจายและอันตรายจากยานพาหนะที่วิ่งผ่านไปมา

5. พื้นที่เหมาะสมไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป

6. ราคาค่าเช่าร้านกาแฟสดเหมาะสม ไม่แพงจนเกินไป

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการคัดเลือกทำเลที่ตั้งของร้านกาแฟสด คือไม่ควรเลือกทำเลที่มีความแออัดด้วยมลพิษทั้งเสียงและฝุ่นมากจนเกินไป หรือทำเลที่คับแคบหรือทำเลที่สกปรกน้ำเน่าเหม็น อยู่ใกล้กับแหล่งขยะ เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ของร้านกาแฟของเราเสียได้ง่ายๆและไม่มีคนเข้าไปใช้บริการ

สั่งซื้อชุดเปิดร้านกาแฟ

ในการเลือกซื้อชุดเปิดร้านกาแฟสดนั้น ควรเลือกให้เหมาะสมกับงบประมาณที่กำหนดไว้ และขนาดของทำเลที่เลือกไว้

เข้ารับการอบรมหรือเรียนการทำธุรกิจร้านกาแฟสดจากผู้รู้หรือจากเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อจะได้นำมาดำเนินการทำร้านกาแฟต่อไป

เมื่อทุกอย่างพร้อมเรียบร้อยแล้ว ก็จะถึงเวลาเปิดทำการให้เป็นรูปธรรมสักที การเปิดร้านกาแฟสดสามารถทำได้ในทุกๆวัน วันดีที่ถือว่าเป็นวันที่ดีที่สุดก็คือวันที่คุณมีความพร้อมในทุกๆด้านนั่นเอง ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันที่คุณมีความพร้อมนั่นเอง

ภารกิจที่ถือว่าสำคัญต่อไปคือ ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟสดให้เต็มรูปแบบ นั่นก็คือการบริหารและจัดการร้านกาแฟให้ดีที่สุด

การกำหนดราคาในแต่ละเมนูให้เหมาะสม

ราคาก็ถือเป็นสิ่งที่ลูกค้าพิจารณาอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน การกำหนดราคาให้ดูกลุ่มลูกค้าและทำเลเป็นหลัก รวมถึงต้นทุนดำเนินการ

การสร้างเอกลักษณ์ของร้านกาแฟสด หรือการสร้างแบรนด์ ก็เป็นเรื่องสำคัญทีไม่ควรมองข้าม

แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือรสชาดของกาแฟสดและเมนูประกอบอื่นๆ ต้องพัฒนาให้อร่อย ถูกใจและประทับใจลูกค้าทุกๆคน

ที่สุดของความสำเร็จสำหรับร้านกาแฟสด

การสร้างความสำเร็จในธุรกิจ คุณต้องมีจุดดีและจุดเด่นๆที่ไม่เหมือนใคร แต่โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะสร้างจุดเด่นในลักษณะใดก็ตาม หัวใจหลักๆของความสำเร็จในการทำธุรกิจร้านกาแฟสด สรุปสั้นๆมีอยู่ 2 อันดับความสำคัญด้วยกันดังนี้ .-

1. ความสำคัญอันดับแรกที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักๆคือ รสชาดของกาแฟ รสชาดต้องอร่อยจริงๆดื่มทุกครั้งต้องอร่อยทุกครั้งรสชาดไม่มีผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐาน ลูกค้าทุกคนดื่มกาแฟของคุณแล้วติดใจในความอร่อย ถ้าเมนูอื่นๆก็อร่อยไม่น้อยไปกว่ากาแฟ ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าร้านของคุณเป็นอย่างดี ถ้ากาแฟและเมนูอื่นๆก็ไม่อร่อยเลย ทำเลก็ไม่ดี เจ้าของก็ไม่ได้ให้ความสนใจในธุรกิจ จุดนี้คือจุดตายของร้านกาแฟทั่วไปที่ทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ถึงแม้จะลงทุนจำนวนมากมาย แต่ถ้าทำรสชาดของกาแฟให้อร่อยไม่ได้ก็จบลงตรงนั้น ความอร่อยมีหลายระดับ ขอให้ความอร่อยของรสชาดกาแฟสดร้านของท่านให้อยู่ในระดับอร่อยมากที่สุด นี่คือเคล็ดไม่ลับของธุรกิจที่ทุกคนสามารถทำได้ทุกโอกาส

2. ทำเลดี ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับรองลงมา คุณลองนึกภาพดู ถ้ากาแฟรสอร่อยมากๆ บวกกับทำเลดีเยี่ยม ถือว่าชัยชนะมาเยี่ยมคุณเรียบร้อยแล้ว ในส่วนเรื่องอื่นๆเป็นเพียงปัจจัยรอง แต่ปัจจัยที่สำคัญหลักๆจะอยู่ที่ ข้อ 1 + 2

ภารกิจหลักและหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของร้านกาแฟคือ การเติมความอร่อยมากๆของรสชาดกาแฟและเมนูประกอบอื่นๆให้กับลูกค้าของคุณทุกๆคน ที่เข้ามาใช้บริการดื่มกาแฟที่ร้าน จงทำให้ร้านของคุณมีเสน่ห์ในทุกๆด้าน เพื่อมัดใจลูกค้าทุกๆคน แล้วเงินจะหลั่งไหลเข้ากระเป๋าของคุณอย่างต่อเนื่อง

3. การบริการและความสะอาดที่เป็นเยี่ยม ซึ่งเป็นภาพลักษณ์โดยตรงของร้านกาแฟสด เพราะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าคือกาแฟสดกับการบริการ ซึ่งต้องดีเยี่ยมทั้งคู่

อ่านความรู้คู่การพัฒนาธุรกิจร้านกาแฟ : ปรัชญา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ใช้ได้เป็นอย่างดีกับร้านกาแฟสด

ตอบ... ธุรกิจการเปิดร้านกาแฟในช่วงฟุตบอลโลกอาจจะได้รายได้ดี เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ต้องดูฟุตบอลดึก ลูกค้าบางท่านอาจจะทำงานมาทั้งวันเกิดอาการเหนื่อยล้า ทำให้เกิดการง่วงนอน จึงคิดเคล็ดลับสูตรกาแฟใหม่ๆที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของลูกค้าทำให้ลูกค้าเกิดการอยากจะดื่มกาแฟในการดูฟุตบอล เพราะจะทำให้ไม่เกิดการง่วงนอน มีความสุขและสนุกในการเชียร์ฟุตบอล และหลังจากที่เสร็จสิ้นช่วงฟุตบอลโลก ธุรกิจนี้ยังเป็นที่คุ้นเคยของลูกค้าคอกาแฟ และสำหรับลูกค้าที่เดินทางผ่านสัญจรไปมา ก็สามารถแวะดื่มกาแฟที่ร้านได้ตลอดการเดินทาง

บอกลาผู้ชายหน้ามัน...เพื่อชายไทยผิวหน้าใสไร้ความมัน ใหม่! “นีเวีย ฟอร์เมน ออยล์ คอนโทรล เฟเชี่ยล โฟม”สูตรสำหรับคนนอนดึกในช่วงดูฟุตบอลโลก

บอกลาผู้ชายหน้ามัน...เพื่อชายไทยผิวหน้าใสไร้ความมัน ใหม่! “นีเวีย ฟอร์เมน ออยล์ คอนโทรล เฟเชี่ยล โฟม” สูตรควบคุมความมัน 3 ใน 1 เดียว

...เพราะเข้าใจถึงปัญหาผิวหน้าของผู้ชายไทย ที่ต้องเผชิญกับปัญหาความมันส่วนเกินบนใบหน้าอันยากแก่การดูแล นีเวีย ฟอร์เมน พัฒนาและนำเสนอนวัตกรรมล่าสุด “นีเวีย ฟอร์เมน ออยล์ คอนโทรล เฟเชี่ยล โฟม” โฟมล้างหน้าและบำรุงผิวในขั้นตอนเดียว เพื่อปรนนิบัติผิวมันอย่างตรงจุด สำหรับผู้ชายไทยมีสุขภาพผิวที่ดีขึ้น พร้อมเปิดตัว “นีเวีย ฟอร์เมน คอลเซ็นเตอร์ โทร 0-2962 2885” ศูนย์ข้อมูลและที่ปรึกษาเพื่อการดูแลผิวหน้าและผิวกายสำหรับผู้ชายโดยฉพาะ สำหรับเป็นแหล่งสอบถามข้อมูลการดูแลผิวพรรณของผู้ชายได้ด้วยตนเองโดยตรง

ใหม่! “นีเวีย ฟอร์เมน ออยล์ คอนโทรล เฟเชียล โฟม” โฟมล้างหน้าสูตรควบคุมความมัน 3 ประสิทธิภาพ ใน 1 เดียว สำหรับผู้ชายชนิดแรก ที่ช่วยควบคุมความมันบนใบหน้าได้ยาวนานตลอดวัน ลดสาเหตุของการเกิดสิว และปรับให้รูขุมขนแลดูเล็กลง พร้อมโดดเด่นและแตกต่างจากโฟมล้างหน้าทั่วไปด้วยส่วนผสมของ สารสกัดจากสาหร่ายทะเล ที่สามารถขจัดสิ่งสกปรกและความมันส่วนเกินบนผิวหน้าผู้ชายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวิตามิน อี ที่ให้คุณค่าในการบำรุงและเติมความชุ่มชื้นให้ผิว จึงไม่ทำให้ผิวแห้งตึงหลังการล้างหน้า ผ่านการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าแล้วว่าเหมาะกับทุกสภาพผิว เพื่อผลลัพธ์ผิวหน้าสะอาดใส เรียบเนียน ไร้ความมัน ไร้สิว สำหรับผู้ชาย มีให้เลือกทั้งขนาดพกพา 50 มล. ราคา 59 บาท และขนาด 100 มล. ราคา 99 บาท ได้ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าปลีกเพื่อสุขภาพและความงามทั่วประเทศ

พร้อมกันนี้ นีเวีย ฟอร์เมน ได้ย้ำจุดยืนความเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องผิวพรรณผู้ชาย ด้วยการเปิดตัว “นีเวีย ฟอร์เมน คอลเซ็นเตอร์” ศูนย์ข้อมูลและที่ปรึกษาเพื่อการดูแลผิวหน้าและผิวกายสำหรับผู้ชายโดยฉพาะ โดยทีมงานที่ผ่านการฝึกอบรมและรอบรู้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นีเวีย ฟอร์เมน และพร้อมให้คำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกวิธีเหมาะสมกับสภาพผิวที่แตกต่างกันไป รวมถึงวิธีการปกป้องดูแลผิวจากมลภาวะและสภาพอากาศในปัจจุบัน หรือต้องการแสดงความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์นีเวีย สามารถโทรติดต่อได้ที่ นีเวีย ฟอร์เมน คอล เซ็นเตอร์ โทร 0-2962 2885 ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 09.00 — 18.00 น.

ตอบ…เป็นธุรกิจที่จะให้สินเชื่อของโฟมล้างหน้านีเวีย ช่วงนี้การดูบอลคึกคักอย่างมากสำหรับผู้ชายที่รักการดูบอลต้องใส่ใจอย่างเป็นพิเศษ เพราะในช่วงนี้ผู้ชายต้องนอนดึกอาจจะทำให้เกิดริ้วรอยหมองคล้ำ เกิดสิว หากปล่อยทิ้งไว้นานก็อาจจะทำให้ใบหน้าไม่สดใส เป็นกังวลใจต่อคุณผู้ชายทั้งหลายที่เชียร์บอลดึก ผลิตภัณฑ์นี้จึงคิดค้นโฟมล้างหน้ามาให้ผู้ชายทั้งหลายนอนดึกเพราะดูการแข่งขันฟุตบอลได้ลองสัมผัส เพื่อสุขภาพที่ดีของผิวหน้าที่ขาว ใส ไร้ริ้วรอย ทำให้คุณผู้ชายมั่นใจในใบหน้าที่สดใสพร้อมกับการดูบอลที่สนุก เพราะช่วงดูบอลมีการลดราคาเพื่อเอาใจคอบอลโดยการซื้อ 1แถม1 หลังจากการแข่งขันบอลโลกจบ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ก็ยังสามารถดำเนินกิจการไปส่งต่อยังร้านสะดวกซื้อต่างๆและลูกค้าที่ติดใจโฟมล้างหน้าก็สามารถหาซื้อได้ร้านสะดวกซื้อใกล้ๆบ้านคุณ

นางสาวโสรยา สายทอง รหัสนักศึกษา 52127312001

ธุรกิจที่น่าปล่อยสินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก ปี 2010

-ธุรกิจ ลาน เบียร์สด( บ.บุญรอด )

เนื่องจาก ทางร้านได้มีการเปิดให้ ชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล จึงมีลูกค้ามาใช้บริการร้านอาหารเป็นจำนวนมาก ทางร้านอาจมีเนื้อที่ไม่มากพอกับจำนวนลูกค้า จึงต้องการที่จะขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับลูกค้าที่ต้องการมาทานอาหารพร้อมทั้งดูฟุตบอลด้วย

แนวทางที่ทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

จัดให้มีกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลกปี 2010 ให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆที่ ทางร้านได้จัดขึ้น เช่น การตอบคำถามที่เกี่ยวกับฟุตบอล และให้ของที่ระลึก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานในการทานอาหารและชมฟุตบอลไปด้วย

-ธุรกิจ ชุดกีฬา

เนื่องจาก ธุรกิจที่ผลิตและขายชุดกีฬานี้ ไม่ใช่จะผลิตและขายได้ในช่วงของฟุตบอลโลกเท่านั้น แต่สามารถผลิตออกมา และขายสินค้าได้ตลอดตามความต้องการของลูกค้า เพราะถ้าไม่ใช่ช่วงฟุตบอลโลกก็ยังมีการแข่งขันฟุตบอล พรีเมียร์ เป็นต้น ซึ่งก็มีคนที่ชื่นชอบในกีฬาประเภทนี้ให้ความสนใจอยู่ ถือว่าธุรกิจนี้สามารถผลิตและขายสินค้าได้ตลอดปีเลยทีเดียว

แนวทางที่ทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

มีการลดราคาหรือให้ โปรโมชั่น แก่ลูกค้าที่มาซื้อสินค้า และที่สำคัญต้องไม่ขึ้นราคาในช่วงเทศกาลอย่างนี้ด้วย และต้องผลิตสินค้าออกมาให้มีคุณภาพที่ดี และมีความซื่อสัตย์กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการให้บริการของร้าน

นางสาว สุภาวรรณ จิตภักดี

การเงินการธนาคร 02

รหัสนักศึกษา 52127312063

นางสาวชลินทร แพรกปาน

ร้านอาหารคอดูฟุตบอลโลก

หากท่านเป้นคนๆหนึ่งที่ประสบปัญหาหาสถานที่ดีๆดูบอลกับเพื่อนฝูงไม่ได้ซักที หรือเบื่อร้านเดิมๆซ้ำซากจำเจ เราขอแนะนำร้านนี้ครับ หุหุ... ร้าน Road House ถ.พระราม4 ตรงแยกตัดถนนอังรีดูนัง ร้านจะอยู่ติดๆกับ จิม ทอมสัน อาหารร้านนี้เป็นแบบอเมริกันแท้ๆ มีแซมด้วยยุโรปเล็กน้อย ใครไม่เคยทาน บัฟฟาโล่ วิงส์ รสชาติดั้งเดิม แกล้มด้วยเซอเรอรี่+บลูชีสดิปปิ้ง สามารถหาทานได้ที่นี่ครับ หรือจะทานฟูลแรกบาบีคิวก็สามารถหาทานได้จากที่นี่อีกเช่นกัน (ส่วนเมนูอื่นๆดูจากเวบไซท์ของ Road Houseได้เลยครับ)

คือที่ชั้น 3 ของร้านนี้ จะเป็นสปอร์ทบาร์ครับ มีเครื่องเล่นต่างๆมากมาย ตั้งแต่ ดาร์ท(ปาเป้า) โต๊ะบิลเลียด โต๊ะโกล์ แล้วก็โต๊ะเกมส์อะไรไม่รู้ที่ต้องโรยเกลือแล้วทอยตลับเหล็กให้ได้แต้มสูงที่สุด ที่สำคัญในฟุตบอลแมทซ์ที่ทางร้านถ่ายทอด ถ้ามีการยิงประตูเกิดขึ้น ทางร้านจะลดค่าเบียร์ให้ลูกค้า 20บ/1ลูก แล้วจะมีแจก บัฟฟาโล่วิงส์ให้ทานฟรีๆอีกด้วย ซึ่งเมื่อวันก่อนผมเข้าไปดูถ่ายทอดสด ลิเวอร์พูล-ดาร์บี้ สกอร์ 6-0 ทางร้านเค้าลดราคาเบียร์กระหน่ำจริงๆ เหลือแก้วละ 40 บาท แถมมีวิงส์ให้กินอีกไม่อั้น...

ส่วนเรื่องราคา ถ้าชอบนั่งไอริชบาร์ หรือ นั่งพวกนี้เป็นประจำมาก่อนก็เรียกว่าไม่แพงครับ แต่ถ้าเทียบกับหมูกระทะก็เรียกว่าพอสมควรทีเดียว แต่ถ้าอยากเปลี่ยนบรรยากาศก็ขอแนะนำ หัวละประมาณ 600-1000 (ถ้าต้องจ่ายถึงพันล่ะก็แสดงว่าคุณต้องอิ่มมากๆ หรือไม่ก็เมาปลิ้นไปแล้วครับ หุหุ)

ตอบ… ธุรกิจร้านอาหารช่วงนี้เป็นนี้นิยมส่วนใหญ่ในการดำเนินกิจการ เพราะร้านอาหารบางแห่งลงทุนที่จะเรียกลูกค้าด้วยการซื้อโทรทัศน์ขนาดจอใหญ่เพื่อที่จะให้ลูกค้าที่มาใช้บริการได้สัมผัสถึงอาหารที่อร่อย และการแข่งขันฟุตบอลที่สนุกสนานพร้อมกับได้สีสันในการดูฟุตบอลมันๆกับเพื่อนที่รู้ใจในการเชียร์บอล ส่วนหลังการจากที่จบการแข่งขันฟุตบอลกิจการประเภทร้านอาหารก็ยังคงได้รับความนิยมในการบริโภคอาหาร

คอบอลเมินดาวเทียม แห่ซื้อหนวดกุ้ง!! ดูบอลโลก

ธุรกิจไฟฟ้าคึกคัก คอบอลแห่ซื้อเสาอากาศทีวี หลังไม่สามารถชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ผ่านจานดาวเทียมได้ ขณะที่ร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า สั่งออเดอร์สินค้าเพิ่ม รองรับความต้องการของลูกค้า

ศรีราชา – วานนี้ (16 มิ.ย. 53) หลังจากที่ช่องสัญญาณการรับส่งสัญญาณจานดาวเทียม ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใส่รหัส ในการรับส่งสัญญาณ ส่งผลกระทบต่อการรับชม การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นอย่างมาก ทำให้คอบอล ที่รับชมการแข่งขันฟุตบอลโลกผ่านจานดาวเทียม ต้องประสบปัญหาดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก โดยร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าในเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีประชาชนแห่กันมาซื้อเสาอากาศทีวีและเสาอากาศหนวดกุ้งอย่างไม่ขาดสาย เพื่อนำไปปรับสัญญาณ ให้สามารถรับชมฟุตบอลโลกได้ ขณะเดียวกันร้านค้า ร้านอาหาร ที่เคยติดตั้งจอขนาดใหญ่ถ่ายทอดสดฟุตบอล เพื่อเรียกลูกค้าให้มาอุดหนุน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

เจ้าของร้านศิริชัยโทรทัศน์ เปิดขายอุปกรณ์ไฟฟ้า กล่าวยืนยันว่า มีประชาชนพ่อค้าแม่ค้า ร้านอาหาร ร้านน้ำชา ที่มีจอขนาดใหญ่ ไว้บริการลูกค้าในช่วงบอลโลก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้จานดาวเทียม ต่างพากันมาซื้อเสาอากาศทีวีกันเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ปรับสัญญาณทีวีในการชมฟุตบอลโลกแทน หลังจากช่องสัญญาณดาวเทียวถูกตัด ซึ่งที่ร้านของตนตอนนี้ขายสินค้าดีมาก โดยลูกค้าจะเลือกซื้อเสาอากาศทีวี และเสาหนวดกุ้ง ที่มีราคาตั้งแต่ 100 – 200 บาท โดยยอมรับว่า ช่วงนี้จะขายเสาอากาศทีวีได้วันละ 20 – 30 อัน ทำให้ทางร้านต้องมีการสั่งเสาอากาศทีวีเพิ่ม เพื่อที่จะให้มีไว้จำหน่ายอย่างเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า¬

ตอบ… ธุรกิจไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากในตอนนี้ เนื่องจากจานดาวเทียมได้ตัดสัญญาณการชมฟุตบอลโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างคึกคัก ทำให้คนชอบดูบอลแห่กันไปซื้อหนวดกุ้ง ทำให้ขายดีอีกอย่างราคาก็ย่อมเยาว์ เพราะคอบอลส่วนใหญ่อยากจะดูภาพการแข่งขันฟุตบอลอย่างชัด เหมือนได้ไปสัมผัสในสนามฟุตบอลจริง ดูชัด หลังจากที่จบการแข่งขันฟุตบอลโลก ก็สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

นางสาวชลินทร แพรกปาน รหัสนักศึกษา 52127312002

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด

บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด แม้จะไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการแต่ก็มีความโดดเด่นด้านสปอร์ตมาร์เกตติ้ง โดยเฉพาะการมี “เป๊ปซี่ทีม” ที่ประกอบด้วยนักเตะชั้นนำระดับโลก รวมทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา “โอ แอฟริกา” ที่ติดหูคนฟังไปทั่วโลก พร้อมการเปิดแคมเปญ “เชียร์สุดอารมณ์บอล” ต้อนรับกระแสฟุตบอลฟีเวอร์กับการเปิดตัว 3 หนุ่มฮอต พรีเซ็นเตอร์ใหม่แบรนด์เป๊ปซี่ ได้แก่ ชิน-ชินวุฒิ, เต๋อ-ฉันทวิทย์ และเก้า จิรายุ และแคมเปญ “นัดนี้ทุ่มแหลกแจกรถทุกวัน” ร่วมลุ้นนิสสัน มาร์ช ลายแอฟริกัน ทุกวันๆละคันรวม 22 คัน มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

ขณะที่ “บิ๊ก โคล่า” ก็ร่วมเกาะกระแส หวังยกระดับภาพลักษณ์สู่ความเป็นแบรนด์ในระดับสากลผ่านงบกว่า 80 ล้านบาท ในการเป็นผู้สนับสนุนทีมชาติอังกฤษอย่างเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ทำให้บริษัทสามารถนำสัญลักษณ์ของทีมฟุตบอลอังกฤษมาใช้ในการทำกิจกรรมด้านการตลาดได้เป็นระยะเวลา 1 ปี ผ่านแคมเปญ “Big Cola Be England” ภายใต้แนวคิด “เชียร์ทีมชาติอังกฤษ สู้ศึกแอฟริกาใต้”

โดยกิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Packaging บิ๊ก โคล่า ลิมิเต็ด เอดิชั่น คอลเลคชั่น 8 แบบ 8 สไตล์ เพื่อให้แฟนพันธุ์แท้ทีมชาติอังกฤษได้สะสม และการจัดกิจกรรมโรดโชว์ตามสถานบันเทิงกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเชิญชวนให้คนไทยกว่า 80% ที่ชื่นชอบทีมชาติอังกฤษได้ตามชมและเชียร์ให้ทีมชาติอังกฤษเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก 2010

บริษัท โคคา โคล่า ประเทศไทย จำกัดมหาชน

เพราะว่าโค้ก (Coke) คือเครื่องหมายการค้าของ บริษัทโคคาโคล่า สำนักงานใหญ่อยู่ที่ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ในสหรัฐอเมริกา โค้กเป็นน้ำอัดลมชนิดน้ำโคล่า ที่ได้รับความนิยมในมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก มีความมั่นคงพอทางด้านของธุรกิจที่เห็นได้ชัดไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินที่มาจากกระแสตอบรับของผู้บริโภค การพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งของรสชาติที่ตอบสนองแก่ผู้บริโภคได้แก่

-โค้ก

-ไดเอทโค้ก

-เชอรี่โค้ก

-วานิลลาโค้ก (ออกเฉพาะกิจตอนนี้เลิกผลิตแล้ว)

-โค้ก ไลม์ - โค้กแต่งกลิ่นมะนาว

-โค้ก C2 - โค้กที่ลดปริมาณน้ำตาลครึ่งหนึ่ง

-โค้ก ซีโร่ - โค้กที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

-โค้ก แบล็ก - โค้กผสมกาแฟ

ดังนั้นธุรกิจนี้จึงควรดับสินเชื่อ

แนวทาง คือ ควรที่จะมีกิจกรรมต่างๆให้ร่วมสนุกไม่ว่าจะทางใดก็ตามมีสินค้าจากโค้กมาเป็นของตอบแทนเมื่อเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมอาจร่วมกันผ่านทางโทรศัพท์ โทรทัศน์ การส่งไปรษณีย์ร่วมชิงโชค การออกบลูสร่วกับหน่วยงานอื่น การจัดเข้าร่มกับเทศกาลต่างๆเช่นตอนนี้เปิดโครงการ "โค้ก เซเลเบรชั่น ปาร์ค ลานบอลโลก สดทั่วไทย" นำคาราวานรถ "โค้ก เวิลด์ คัพ" ติดจอยักษ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกแมตช์ต่างๆ ให้แฟนบอล 15 จังหวัดทั่วไทย ได้ร่วมชมและเชียร์เป็นต้น กิจกรรมต่างๆไม่ควรจางหายควรมีตลอด

น.ส.ฐาวดี เนตรกระจ่าง ปี 2

รหัส 52127312003

สาขา การเงินการธนาคาร 01

บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด

เพราะ บริษัทไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด เป็นผู้สนับสุนนหลักการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 ในประเทศไทย

ยามาฮ่าผู้สนับสนุนหลักถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 ได้ต่อยอดการจัดกิจกรรมใหญ่ชมและเชียร์บอลโลกสดทุกแมตช์ เอาใจลูกค้ายามาฮ่า และคอบอลทั่วประเทศ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ต่อยอดกลยุทธ์การทำตลาดแบบ ไลฟ์สไตล์ มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งประสบความสำเร็จมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นการตลาดในรูปแบบ มิวสิค มาร์เก็ตติ้ง หรือจะเป็นสปอร์ต มาร์เก็ตติ้ง ที่ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับจากลูกค้าทุกกลุ่มอย่างกว้างขวาง ซึ่งในปีนี้ ยามาฮ่าได้เป็นผู้สนับสนุนหลักการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 ในประเทศไทย ประกาศเดินหน้าจัดกิจกรรมฟุตบอลร่วมกับผู้จำหน่ายให้กับลูกค้ายามาฮ่า และคอบอลทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2553

บริษัทฯ ขอเชิญ ผู้ที่มีใจรักกีฬาฟุตบอลทุกท่านมาร่วมสนุกกับกิจกรรมที่เราจัดขึ้นทั่วทุกภาค ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ยามาฮ่าใกล้บ้านท่าน ตามห้างสรรพสินค้า และลานกิจกรรมอเนกประสงค์ของจังหวัด พร้อมชมคอนเสิร์ตจากศิลปินที่มีชื่อเสียง เพิ่มสีสันการเชียร์ให้เต็มอารมณ์ และลุ้นของรางวัลติดมือกลับบ้าน บริษัทฯ เชื่อว่าจะเป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้า และเหล่าคอบอลขนานแท้เป็นอย่างมาก

นอกเหนือจากกิจกรรมที่ได้กล่าวไปแล้ว ยามาฮ่ายังได้ทำกิจกรรมเพื่อคอบอลโดยเฉพาะ พาผู้โชคดีบินลัดฟ้าไปชมบอลโลกที่ประเทศแอฟริกาใต้ แบบติดขอบสนามผ่านทางรายการ Wake Club, Bang Channel และ True Visions

นอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มอารมณ์เชียร์บอลให้มันส์กันแบบสุดขีด ยามาฮ่าจึงจับมือกับยักษ์ใหญ่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐทำ “โครงการทายผลแชมป์ฟุตบอลโลก 2010” ชิงรางวัลเงินสดกว่า 30 ล้านบาท และมอบรถจักรยานยนต์ยามาฮ่าเพิ่มเติมอีก 30 คัน ในรุ่นมีโอ 125 ฟีโน่ และสปารค์ นาโน รวมมูลค่ากว่า 1.2 ล้านบาท และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ระยะเวลาของโครงการนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน ถึงวันที่ 11 กรกฎาคมนี้ และยังได้จัดทำแคมเปญ “สิทธิพิเศษแลกซื้อแพคเกจชมฟุตบอลโลกในราคา 5 บาท” ให้กับผู้อ่านหนังสือพิมพ์ และนิตยสารดาราเดลี่อีกด้วย

ในส่วนของรายการวิทยุ ยามาฮ่าได้เพิ่มสีสันสร้างบรรยากาศการเชียร์ฟุตบอลโลกโดยร่วมกับรายการวิทยุ Sport Radio 96 MHz รายงานสดความเคลื่อนไหวแบบรวดเร็วทันใจให้กับคอบอล และรายการวิทยุอื่นๆ อีกหลายคลื่นสถานี เช่น Hot FM 91.5, Seed Radio 97.5 และ COOL FM 93

บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมสำหรับลูกค้าในกรุงเทพฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้ “YAMAHA FOOTBALL PARK” โดยความร่วมมือกับ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) และ พันธมิตรต่างๆ ได้เนรมิตลานกิจกรรมหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ สนามศุภชลาศัย ให้กลายเป็นแหล่งชุมนุมของคอบอลมาร่วมเชียร์ฟุตบอลด้วยกัน โดยเน้นบรรยากาศสีสันการเชียร์ของแฟนบอลเสมือนชมอยู่ข้างสนาม ซึ่งจะมีการถ่ายทอดให้ชมแบบสดทุกแมตช์การแข่งขัน พร้อมกิจกรรมอีกมากมาย อาทิ แฟชั่นโชว์ ฟุตบอลทีมดาราพบกับทีมยามาฮ่าคลับ กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นช่วงระยะเวลาของการแข่งขันในวันที่ 11 มิถุนายน ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2553

การตกแต่งโชว์รูมยามาฮ่าสแควร์ และยามาฮ่าช็อป ยามาฮ่าได้ร่วมมือกับผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ทั่วประเทศ โดยได้จัดตกแต่งหน้าร้าน และภายในโชว์รูมเพิ่มสีสันให้เข้ากับบรรยากาศบอลโลก ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาในร้านมีความรู้สึกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมฟุตบอลโลกที่ทางร้านผู้จำหน่ายจัดขึ้นมา เพื่อเป็นการต่อยอดการจัดกิจกรรมฟุตบอลโลกที่กำลังจะมาถึง “ยามาฮ่าเชียร์มันส์ สนั่นเมือง กับฟุตบอลระดับโลก” ยามาฮ่าได้จัดกิจกรรมทั้งหมดประมาณ 300 กิจกรรม เพื่อเป็นการรวมพลคนรักลูกหนัง และให้ลูกค้าทั่วประเทศมาเชียร์บอลด้วยกันในบรรยากาศสุดเร้าใจ นอกจากนี้ยังร่วมทายผลการแข่งขันลุ้นรับรางวัลอีกเพียบ และที่สำคัญลูกค้ายามาฮ่ายังมีสิทธิ์ลุ้นรับรถยามาฮ่า มีโอ 125 จำนวน 20 คัน มูลค่ารวมกว่า 900,000 บาท และของรางวัลอื่นฯ อีกมากมายที่ยามาฮ่าสแควร์ ทั่วประเทศ และยามาฮ่าช็อปที่ร่วมรายการ

ที่กล่าวมาทั้งหมดก็แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงยั่งยืนเป็นอย่างดีของ ”บริษัทไทยยามาฮ่าจำกัด” เพราะได้รับการตอบรับอย่างดีไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับฟุตบอลโลกด้วยแล้ว ยิ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมากสำหรับคอบอลทั่วประเทศไทยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก

แนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ก็คือ ควรจะหาธนาคารหลายแห่งๆ เพื่อมาร่วมกันปล่อยสินเชื่อ จะได้มีความเสี่ยงที่น้อยลง และธนาคารควรจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำและใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควร เพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้าด้วย

 

น.ส. สองขวัญ สังข์เอม

การเงินการธนาคาร 01

รหัส 52127312018

ธุรกิจร้านอาหารดีลิเวอรี่

เพราะเป็นธุรกิจที่เป็นอาหารจานด่วนหรือ ฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) โดยเน้นการให้บริการที่รวดเร็ว บรรดายักษ์ใหญ่ทุกค่ายต่างเตรียมตัวรับมือกับปริมาณความต้องการของผู้บริโภคที่จะมีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา 1 เดือนอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่น การขยายเวลาการให้บริการ การแข่งขันด้วยราคา ปริมาณที่ให้อย่างคุ้มค่า

" พิซซ่า " เป็นอาหารประเภทแรกที่ทุกคนต้องนึกถึง ซึ่งมีการเตรียมทีมงานดีลิเวอรี่กันอย่างเต็มที่ และที่น่าจับมากที่สุดก็เห็นจะเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่าง "เดอะพิซซ่า คอมปะนี" จากค่ายไมเนอร์ ฟู้ด กับ "พิซซ่า ฮัท" จากยัมฯ ที่รบกันมาทุกสนาม แม้ปัจจุบัน ด้วยความได้เปรียบของจำนวนสาขาของเดอะพิซซ่าฯ ที่มากกว่าเป็นเท่าตัว ก็ทำให้เกม ๆ นี้ตกไปเป็นของเดอะพิซซ่าฯ แบบไม่ต้องออกแรงเหนื่อยมากนัก

ปัจจุบัน เดอะพิซซ่า คอมปะนี ผู้นำตลาดพิซซ่าของไทย ด้วยส่วนแบ่งกว่า 60% จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 5,800 ล้านบาท งานนี้ รับมือด้วยการขยายเวลาให้บริการดีลิเวอรี่ ผ่านบริการ 1112 เพิ่มอีก 1 ชั่วโมงครึ่ง จากเดิม 24.00 น. ขยายเป็นถึงเวลา 01.30 น. ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน - 11 กรกฎาคม

"แอนดี้ โฮลแมน" รองประธานกรรมการและผู้จัดการทั่วไป เดอะพิซซ่า คอมปะนี ประเทศไทย บริษัท เดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทมียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นราว 15% เทียบกับช่วงปกติ ดูเหมือนเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมากนัก แต่ด้วยฐานของเดอะพิซซ่า คอมปะนี ที่ค่อนข้างใหญ่ ถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายพอสมควร

ธุรกิจอาหารจานด่วนอย่าง "เคเอฟซี" ก็ได้จัดชุดโปรโมชั่น เพื่อต้อนรับเทศกาลฟุตบอลโลกกับเคเอฟซี ดีลิเวอรี่ 1150 เมื่อสั่งซื้อชุด "วิงซ์ชู้ต" รับฟรีทันที ไก่วิงซ์แซบอีก 3 ชิ้น เฉพาะช่วงเวลา 22.00 น. และ 24.00 น.

ค่ายที่น่าจับตามองมากที่สุดแบรนด์หนึ่ง ต้องยกให้กับแมคโดนัลด์ ที่ระยะหลังมาแรงเหลือเกิน งานนี้ "เฮสเตอร์ ชิว" ซีอีโอ บริษัท แมคไทย จำกัด ก็ตั้งเป้าไว้ไม่ใช่น้อย โดยคาดหวังเติบโตจากช่วงปกติ ไม่ต่ำกว่า 35% ด้วยความได้เปรียบของแมคโดนัลด์ ในชั่วโมงนี้ กับการมีร้านที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง กว่า 50 สาขา ทำให้การจัดส่งสินค้าถึงผู้บริโภค สามารถครอบคลุมช่วงเวลาได้มากกว่าค่ายอื่น ๆ

แนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง คือ ดิฉันคิดว่าทางธนาคารน่าจะมีการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจที่เป็นอาหารจานด่วนหรือ ฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) ที่เป็นร้านอาหารดีลิเวอรี่ตามทั่วไปที่เปิด 24 ชั่วโมง จากการสำรวจแล้วว่า ธุรกิจที่เป็นอาหารจานด่วนหรือ ฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) ที่เป็นร้านอาหารดีลิเวอรี่ตามทั่วไปนั้นในช่วงฟุตบอลโลก 2010 ที่จัดขึ้นในประเทศอาฟริกานี้ มีผลตอบรับจากการสั่งอาหารจานด่วน หรือ ฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) ที่เป็นร้านอาหารดีลิเวอรี่ตามทั่วไป เพิ่มมากขากขึ้นในช่วงฟุตบอลโลก 2010 ธนาคารน่าจะปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจนี้ จะคิดให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยที่ธนาคารอื่นๆช่วยกันลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ เพื่อที่จะให้ลูกค้านั้นได้สนใจกับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารให้มากขึ้น

น.ส.วีรนุช หมัดตะเล

รหัสนักศึกษา 52127312013

เอกการเงินการธนาคาร 01

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010 ที่จัดขึ้นในประเทศอาฟริกา

** ธุรกิจเครื่องดื่ม เป๊ปซี่

นายนภ วงศ์พานิช ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เสริมสุข ผู้ผลิตและทำตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมเป๊ปซี่ เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดแคมเปญใหญ่ "เชียร์! สุดอารมณ์บอล" รับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่มีขึ้นในเดือน มิ.ย.นี้ ด้วยการทำกลยุทธ์การตลาด 5 แคมเปญ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี ที่เป๊ปซี่ทำแคมเปญท้องถิ่นเฉพาะประเทศไทย เพราะเป็นตลาดใหญ่มูลค่ารวม 35,000 ล้านบาท และบริษัทต้องการรักษาความเป็นผู้นำในตลาดน้ำอัดลมต่อไป โดยใช้งบทำตลาด 60% ของงบการตลาดที่ใช้ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่วางไว้กว่า 100 ล้านบาท

สำหรับแคมเปญการตลาดใหม่ได้แก่ 1.การเปิดตัวนวัตกรรมเป๊ปซี่สีทอง รุ่นลิมิ เต็ดอิดิชั่น ในแพ็กเกจสดใสสไตล์แอฟริกัน 2.การทำภาพยนตร์โฆษณาในชุด "เชียร์" ที่ฉายเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น 3.การเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ โดยดึง 3 ดารานักร้อง วัยรุ่นมาเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ได้แก่ ชิน-ชินวุฒิ, เต๋อ-ฉันทวิทย์ และ เก้า-จิรายุ 4. จัดกิจกรรม เป๊ปซี่...เชียร์สุดอารมณ์บอล ที่ลาน พาร์ค พารากอน วันที่ 5 มิ.ย.นี้ ซึ่งจะมีกิจกรรมพิเศษในงานมากมาย เพื่อสร้างความคึกคัก และความสนุกสนานให้แก่คนใน กทม. กลับมาอีกครั้ง และจัดโปรโมชั่น นัดนี้ทุ่มแหลก แจกรถทุกวัน เพื่อลุ้นรางวัลใหญ่ นิสสันมาร์ช จำนวน 22 คัน รวมมูลค่า 10 ล้านบาท เริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 ก.ค.นี้

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายว่าในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้จะสร้างยอดขายรวม เป๊ปซี่เติบโตมากกว่า 10% เพราะเป็นแคมเปญที่ได้สำรวจความต้องการของลูกค้ามาแล้วว่าต้องการอะไรบ้าง และคาดว่าจะช่วยขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายวัยรุ่น และคนทำงานมากขึ้น ส่วนยอดขายของบริษัทในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ เติบโต 8-9% เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ร้อนมาก ทำให้คนหันมาดื่มน้ำอัดลม รวมถึงได้ออกสินค้าที่มีขนาดพิเศษ และจัดแคมเปญรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ส่วนตลาดรวมน้ำอัดลมในไตรมาสแรกที่ผ่านมาเติบโต 5-6%

เนื่องจากตอนนี้กระแสฟุตบอลโลกฟีเวอร์มาแรง ทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มอย่างเป็ปซี่แคมเปญใหญ่ "เชียร์! สุดอารมณ์บอล" รับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 จึงทำให้เครื่องดื่มเป็ปซี่เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันเพื่อคลายความร้อนตลอดการชมการแข่งขันฟุตบอล จึงสามารถทำให้เครื่องดื่มเป็ปซี่มีปริมาณยอดขายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มของบริษัท เสริมสุข ควรขยายการลงทุนในช่วงฟุตบอลโลก

ความยั่งยืนของธุรกิจ และแนวทางทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากธุรกิจเครื่องดื่มเป็ปซี่ เป็นเครื่องดึ่มที่มีความนิยมกันมากในช่วงฟุตบอลโลกฟีเวอร์ 2010 โดยเฉพาะมีการจัดแคปเปญใหญ่ เพื่อสร้างความคึกคัก และความสนุกสนาน เครื่องดื่มเป๊ปซี่เป็นธุรกิจที่สามารถผลิตเพื่อทำยอดขายได้ตลอดทุกช่วง ไม่ใช่แต่ในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลกเพียงอย่างเดียว จึงทำให้มีลูกค้าทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

** ธุรกิจของที่ระลึกในฟุตบอลโลก 2010

นายเชิงชาย ภูววีรานนท์ ผู้จัดการใหญ่สายบริหารสินค้าเอ 1 บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารห้างเดอะมอลล์ แผนกสินค้าเอ 1 กล่าวว่า แนวโน้มราคาสินค้า อุปกรณ์กีฬาและเสื้อผ้าที่เกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 มีความคึกคักอย่างมาก เห็นได้จากทุกแบรนด์ชั้นนำต่างเปิดตัวคอล เลกชั่นใหม่เข้ามากระตุ้นตลาด แต่วางขายในระดับราคาปานกลางเป็นหลัก ไม่เน้นนำเข้าสินค้าที่มีราคาแพงและหรูหรา เนื่องจากทุก บริษัทประเมินว่าสถานการณ์ในประเทศมีปัจจัยลบทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัว โดยมั่นใจว่า การที่ทุกบริษัทโหมทำการตลาดและเปิดตัวสินค้าใหม่เข้ามารุกตลาดอย่างหนัก จะกระตุ้นให้ตลาดรวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาในห้างที่มีมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท เติบโตก้าวกระโดด 150%

พร้อมกันนี้บริษัทได้จับมือกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และบริษัท คูล แพลนเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ได้รับลิขสิทธิ์การผลิตตุ๊กตาสัญลักษณ์การแข่งขันฟุตบอลโลก จัดงาน "สปอร์ตมอลล์ เรดดี้-เชท-โกลด์" โดยเป็นงานที่รวมอุปกณ์กีฬา คอลเลกชั่นฟุตบอลโลก รุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น ภายใต้ลิขสิทธิ์ของฟีฟ่า ทั้งตุ๊กตาซาคูมิ กระปุก ออมสิน ตุ๊กตามาสคอตสัญลักษณ์ฟุตบอลโลก ที่มีจำหน่ายเฉพาะสปอร์ตมอลล์ราคา 585 บาท และราคา 999 บาท, เสื้อผ้าคอลเลกชั่นฟุตบอลโลก และสินค้าแบรนด์กีฬาชั้นนำ มาลดราคาพิเศษ 60% ที่สปอร์ต มอลล์ ในเดอะมอลล์, ดิ เอ็มโพเรียม และสยามพารากอน โดยเริ่มจัดตั้งแต่วันที่ 3 มิ.ย.-18 ก.ค. นี้ ซึ่งประเมินว่า เฉพาะยอดขายที่ดิ เอ็มโพเรียม จะสูงกว่า 40 ล้านบาท.

เนื่องจากช่วงนี้เป็นเทศกาลบอลโลก ของที่ระลึกก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการลงทุน โดยมีตุ๊กตาซาคูมิ กระปุกออมสิน และตุ๊กตามาสคอตสัญลักษณ์ฟุตบอลโลก รวมถึงเสื้อผ้าคอลเลกชั่นฟุตบอลโลก และสินค้าแบรนด์กีฬาชั้นนำ ออกมาจำหน่ายทำให้ผู้ที่ชื่นชอบสะสม หาซื้อสินค้ากันไว้ได้ตามเดอะมอลล์ที่จัดงาน "สปอร์ตมอลล์ เรดดี้-เชท-โกลด์"

ความยั่งยืนของธุรกิจ และแนวทางทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากธุรกิจของที่ระลึกไม่ใช่ผลิตขายเฉพาะช่วงเทศกาลบอลโลกเท่านั้น แต่ยังสามารถผลิตสินค้าขายตามความต้องการของลูกค้าได้ ธุรกิจยังสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าได้ทุกโอกาส และจะทำให้มีลูกค้ามาสั่งผลิตสินค้าอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการจัดรายการส่งเสริมการขาย (Promotion) เพื่อให้ลูกค้าสนใจและเข้ามาซื้ออย่างต่อเนื่อง และต้องรู้จักการเอาใจลูกค้าเพื่อจะเป็นความประทับใจของลูกค้า และลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าของเราอีก

นางสาวธนาพร นามา

เอก การเงินการธนาคาร 01

รหัสนักศึกษา 52127312011

ธุรกิจในช่วงบอลโลก ปี2010

"ธุรกิจเงินด่วน"

ธุรกิจเงินกู้ ทั้งนอกระบบและบริษัทเงินด่วน "เฟื่อง" รับบอลโลกตั้งแต่เหนือจดใต้ เผยมีทั้งกู้แบบใช้บัตรเครดิต-ใช้คนค้ำประกัน-จำนำของ ฯลฯ นายทุนบางรายจับมือ "ร้านทอง" ร่วมลงทุน

ช่วงบอลโลกไม่ใช่แต่พ่อค้าอย่างเดียว แม่ค้าเองก็ใช่ย่อย เพราะบางคนก็แอบสามีแทงบอลกับเขาด้วย บางรายแทงคู่ละหลายพัน พอแทงไม่ถูกก็วิ่งแจ้นมาหาเรา ทั้งที่ของเก่ายังไม่ได้เคลียร์

อานิสงส์ของเทศกาลฟุตบอลโลก นอกจากจะทำให้เครื่องรับโทรทัศน์และสถานบันเทิงต่างๆ ซึ่งติดตั้งจอโทรทัศน์ขนาดยักษ์ เพื่อถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก พากันยิ้มหน้าบานไปตามๆ กัน เพราะลูกค้าแน่นร้าน ธุรกิจอีกประเภทที่เฟื่องฟูไม่แพ้กัน ก็คือ "ธุรกิจเงินด่วน" ซึ่งมีลูกค้าที่เสียพนันบอลแห่เข้าไปใช้บริการคับคั่ง

ทีมข่าว "คม ชัด ลึก" จึงจับกระแสความเคลื่อนไหวของธุรกิจเงินด่วนในทุกภูมิภาคของประเทศ...

เริ่มจากหัวเมืองเหนืออย่าง จ.เชียงใหม่ ก็มีความเคลื่อนไหวที่คึกคักเป็นอย่างมาก โดยนางสังวาลย์ (นามสมมติ) นายทุนเงินกู้รายหนึ่ง ยอมรับว่า เงินกู้ส่วนใหญ่ในช่วงนี้จะใช้หมุนเวียนในวงการพนันบอล

"การปล่อยกู้ในช่วงมีความเสี่ยงสูง เพราะถ้าลูกค้าเสียพนันจนหมดตัวอาจกลายเป็นหนี้สูญ จึงได้ปรับมาตรการในการปล่อยกู้ให้เข้มงวดมากขึ้น โดยกำหนดให้มีคนค้ำประกันสำหรับลูกค้าที่เป็นขาจรเพื่อเพิ่มหลักประกัน และต้องยอมเสียเงินจ้างตำรวจ หรือทหาร มาช่วยตามทวงหนี้กับลูกหนี้จอมเบี้ยวเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น" เจ้าแม่เงินกู้รายนี้นับว่ารอบคอบไม่น้อย

เธอให้ข้อมูลอีกว่า วงเงินกู้ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 500- 30,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยร้อยละ 20 จะถูกหักจากเงินต้นทันทีที่ได้รับเงิน โดยมีกำหนดชำระหนี้ภายใน 3 เดือน หากพ้นกำหนดจะเริ่มทวงหนี้ทันที

จนถึงขณะนี้คาดว่า จะมีการกู้เงินนอกระบบเฉพาะในเขต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แล้วไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และมีนายทุนเงินกู้ไม่ต่ำกว่า 20 ราย!!!

นอกจากเงินกู้นอกระบบแล้ว ธุรกิจการรับจำนำ โดยเฉพาะการ "จำนำรถ" ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนรถที่ยังผ่อนชำระไม่หมดจะถูกนำไปจอดที่เต็นท์รถมือสอง

ผู้ที่จำนำรถจะต้องถูกหักดอกเบี้ยออกจากเงินต้นทันที เช่นเดียวกับการกู้เงินทั่วไป ทั้งยังต้องเสียค่าจอดเพิ่มอีกคันละ 500 บาท สำหรับรถจักรยานยนต์ และ 1,000 บาทสำหรับรถยนต์!!!

ขึ้นไปเหนือสุดแดนสยาม จ.เชียงราย ก็คึกคักไม่แพ้กัน โดยเฉพาะตะเข็บชายแดนไทย-พม่า สำหรับนายทุนเงินกู้รายใหญ่ที่น่าจับตามี 2 ราย อยู่ในตัวเมือง 1 ราย และใน อ.แม่สาย อีก 1 ราย

อัตราการคิดดอกเบี้ย จะอยู่ที่ร้อยละ 20 ตามมาตรฐาน โดยจะเดินเก็บดอกเบี้ยเป็นรายวัน ส่วนวงเงินกู้ไม่อั้น (ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของคนค้ำประกัน) โดยนายทุนเงินกู้จะตรวจสอบว่า คนค้ำประกันมีบ้านอยู่เป็นหลักแหล่งหรือไม่ ทำอาชีพอะไร แต่ถ้าไม่มีคนค้ำประกันก็สามารถนำทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ หรือโทรศัพท์มือถือ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้

สำหรับกลุ่มเป้าหมายจะแตกต่างกันเล็กน้อย โดยที่ อ.แม่สาย นั้น ผู้กู้ส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่ที่ทำอาชีพค้าขาย ส่วนที่ อ.เมือง ส่วนใหญ่จะเป็นคนขับรถสามล้อ และรองลงมา คือ กลุ่มวัยรุ่น

ล่องลงมาทางภาคเหนือตอนล่างอย่าง จ.พิษณุโลก ก็มีการเข้มงวดในการปล่อยกู้ให้กับลูกค้ามากขึ้น เพราะหวั่นจะเป็นหนี้สูญหากติดพนันจนหมดตัว และจะเน้นปล่อยกู้ให้พ่อค้าแม่ค้าที่รู้จักกันมากกว่า

จากการสำรวจ พบว่า กลุ่มนักพนันส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่ในวัยเพิ่งเริ่มทำงาน กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มนักเรียน ซึ่งยังต้องแบมือขอเงินพ่อแม่ แต่กลับเอาเงินไปแทงตามโต๊ะบอลใหญ่ๆ ไม่ต่ำกว่า 5 แห่ง ในเขตตัวเมือง

เลี้ยวเข้าอีสานไปที่ จ.ชัยภูมิ นิยมใช้ "โทรศัพท์มือถือ" เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยเจ้าของร้านรับจำนำโทรศัพท์มือถือในเขตเทศบาลเมืองรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า บอลโลกปีนี้มีคนนำมือถือมาจำนำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่ม "วัยรุ่น" ซึ่งพบมากที่สุด โดยแต่ละวันจะรับจำนำไว้มากกว่าวันละ 30 เครื่อง และจะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 บาทต่อวัน แต่มีระยะเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 15 วัน เพราะกลัวลูกค้าไม่ไถ่คืน

"ช่วงนี้อัตราการปล่อยของหลุดมีจำนวนมากนับ 100 เครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำของมาจำนำไว้ โดยมีวงเงินตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท" เจ้าของร้านรับจำนำมือถือ กล่าวถึงสภาพธุรกิจช่วงบอลโลก

ฟากธุรกิจเงินกู้ในเขตตัวเมืองชัยภูมิก็ไม่น้อยหน้ากัน โดยนายทุนเงินกู้รายหนึ่ง ระบุว่า บอลโลกปีนี้มีคนมาขอกู้เงินมาก จึงต้องเข้มงวดเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นพิเศษ อย่างน้อยๆ ก็ต้องมีมือถือยี่ห้อดังๆ หรือทะเบียนรถจักรยานยนต์สักเล่ม โดยจะให้วงเงินตั้งแต่ 5,00-30,000 บาท และคิดดอกเบี้ยร้อยละ 20

ไปที่ตักศิลาเมืองอีสาน อย่าง จ.มหาสารคาม ก็มีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา เพราะมีการกู้เงินจาก "บริษัทสินเชื่อ" ตามสถาบันการเงินต่างๆ มากเป็นพิเศษ

นายต้อง (นามสมมติ) ผู้ประกอบการบริษัทปล่อยเงินกู้รายหนึ่ง ระบุว่า ช่วงบอลโลกมีคนมาขอกู้เงินเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนวัยทำงาน และมีเงินเดือนประมาณ 10,000-20,000 บาทขึ้นไป

หลักเกณฑ์การกู้เงิน เพียงแค่ลูกค้ามีบัตรสินเชื่อเงินด่วน เช่น อิออน อีซี่บาย เฟิร์สช้อย ฯลฯ หรือแม้กระทั่งบัตรซื้อสินค้าบิ๊กซี แม็คโคร โลตัส ที่ไม่ติดผ่อนสินค้าใด ก็สามารถนำมาใช้เป็นบัตรค้ำประกันเงินกู้ได้ หรือถ้าติดผ่อนสิ่งของอยู่ แต่มีวงเงินเหลือก็จะปล่อยกู้ให้ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์อย่างอื่นอีก

"แต่ละวันจะมีลูกค้าเกือบ 100 ราย ซึ่งเพิ่มกว่าช่วงปกติมาก โดยส่วนมากลูกค้าจะมาขอกู้ในวงเงิน 10,000-20,000 บาท ส่วนที่มากู้เป็นหลักแสนนั้นค่อนข้างน้อย" ตัวแทนบริษัทเงินกู้ ให้ข้อมูล

ขณะที่ นายทุนเงินกู้นอกระบบอีกราย ก็ให้ข้อมูลน่าสนใจว่า ปกติลูกค้าของเขาจะมีแต่พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องหมุนเงินเท่านั้น แต่ในช่วงบอลโลกกลับมีลูกค้ากลุ่มใหม่ คือ "นักเรียน" เพิ่มเข้ามา โดยแต่ละวันจะมีเด็กนักเรียนเข้ามาขอกู้ราวๆ 10 ราย แต่จะให้กู้ไม่เกินรายละ 5,000 บาท และคิดดอกเบี้ยวันละ 20 บาท

"ถ้าส่งต้นเร็วก็จ่ายดอกน้อย แต่ถ้าไม่จ่ายดอกจะเพิ่มเป็น 2 เท่า และถ้าไม่จ่ายอีกก็จะส่งเรื่องถึงสถาบันการศึกษา แต่ที่ผ่านมาก็ชำระทุกราย เพราะวงเงินไม่มาก" นายทุนเงินกู้คนเดิม กล่าว

ทว่า ข้อมูลจาก น.ส.เอ (นามสมมติ) นักศึกษาสถาบันแห่งหนึ่ง กลับชวนให้หวั่นใจยิ่ง เพราะเธอให้ข้อมูลในทางตรงกันข้ามว่า การไปกู้เงินนอกระบบ ถ้าไม่ชำระเงินตามที่ตกลงจะถูกรีดดอกเบี้ยโหดมาก แถมบางรายยังส่งคนมาข่มขู่ทวงหนี้ ส่วนบางรายก็จะไปเก็บกับคนค้ำประกันแทน

"หนูเคยไปกู้เงินรายวัน แถมยังค้ำประกันให้เพื่อนอีก 5,000 บาท แต่ต่อมาเพื่อนคนนั้นเกิดหายหน้าไปไม่กลับมาเรียนอีก จึงต้องรับภาระผ่อนแทนวันละ 100 บาท และจนถึงขณะนี้หนี้สินก้อนนั้นก็ยังไม่หมดเลย" นักศึกษาสาวเหยื่อเงินกู้ เผยถึงพิษภัยของเงินกู้นอกระบบ

สำหรับหัวเมืองใหญ่อีกแห่งอย่าง จ.อุดรธานี พบว่า มีนายทุนปล่อยเงินกู้ให้บรรดานักพนันนำไปเล่นพนันทายผลฟุตบอล โดยอาศัยแหล่งเงินทุนจากบริษัทสินเชื่อ ส่วนแหล่งที่ปล่อยกู้จะอยู่ในพื้นที่บางหมู่บ้าน บริเวณรอบนอกถนนวงแหวน และหมู่บ้านรายทางบนถนนสายอุดรฯ-หนองคาย

โดยบางรายจะกู้เงินไปให้คนในหมู่บ้านกู้อีกต่อ และคิดดอกเบี้ยเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ขึ้นไป!?

แหล่งข่าวรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า แหล่งปล่อยเงินกู้ในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ที่ร้านขายของชำ แต่พอถึงช่วงฟุตบอลโลกก็ไม่มีเงินมากพอ เพราะมีคนมากู้เยอะขึ้น จึงมีคนในหมู่บ้านอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำงานในเมือง ไปกู้เงินมาเป็นทุนปล่อยกู้ให้ชาวบ้านอีกต่อหนึ่ง เฉลี่ยรายละ 2,000-3,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 20

นายเคน นายทุนเงินกู้ในพื้นที่ ยอมรับว่า ช่วงบอลโลกมีคนมากู้มากขึ้น แต่ถ้าเป็นรายใหม่จะไม่ค่อยให้กู้ เพราะกลัวจะเอาไปเล่นพนันบอล แต่พวกนั้นก็จะหาทางออกด้วยการ "จำนำโทรศัพท์มือถือ" แทน

ล่องใต้ไป จ.นครศรีธรรมราช ก็เหมือนกับอีกหลายแห่งที่ไม่ค่อยรับลูกค้าหน้าใหม่ เพราะกลัวเอาไปเล่นพนัน ส่วนนักเล่นก็ไม่นิยม เพราะมีรูปแบบการจ่ายคืนที่เป็นระบบ ไม่เหมือนกับการจำนำ ซึ่งเป็นที่นิยมกว่า นายป๋อง (นามสมมติ) นักธุรกิจค้าอะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์มือสอง ระบุว่า ตอนนี้หันมารับจำนำทรัพย์สินจากนักพนัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ส่วนทรัพย์สินยอดฮิตที่นิยมนำมาจำนำ ได้แก่ รถจักรยานยนต์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2-10

สภาพการณ์ที่ จ.สุราษฎร์ธานี กลับต่างออกไปเล็กน้อย โดยนายทุนเงินกู้หลายรายยังยอมปล่อยเงินกู้ให้นักพนัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเป็นรายวัน ร้อยละ 15-20 บาท สำหรับกลุ่มลูกค้าจะเน้นกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือคนที่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง เพื่อ "ป้องกันหนี้สูญ"

"หากเป็นลูกค้าประจำ จะคิดอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างถูก ประมาณร้อยละ 5-10 บาทต่อวัน แต่ถ้าเป็นลูกค้ากลุ่มเสี่ยง หรือลูกค้าใหม่ที่มีการแนะนำมา จะคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15-20 บาท โดยส่วนใหญ่ลูกค้าเมื่อชนะบอล ก็จะนำมาคืนทันที หรือทุกสิ้นเดือนก็จะรีบนำเงินมาคืน เพราะกลัวเสียชื่อเสียง โดยวงเงินที่ปล่อยกู้ส่วนมากจะอยู่ที่ 50,000-60,000 บาท" แม่ค้าเงินกู้รายหนึ่ง ให้ข้อมูล

ด้านหัวเมืองใต้อีกจังหวัด คือ จ.สงขลา ก็มีรูปแบบที่น่าสนใจเช่นกัน โดย "นายทุนเงินกู้" จะจับมือกับ "เจ้าของร้านทอง" เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักจะนำทองรูปพรรณมาจำนำไว้

นางพร (นามสมมติ) นายทุนเงินกู้นอกระบบในพื้นที่ บอกว่า ช่วงบอลโลกมีลูกค้าหน้าใหม่มาขอกู้จำนวนมาก แต่ก็ต้องปฏิเสธไปเพราะกลัวหนี้สูญ และหันมาร่วมมือกับร้านทองด้วย

"ฉันร่วมมือกับร้านทองรายหนึ่ง โดยสนับสนุนเงินทุนให้ เพราะคิดว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าการปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกัน โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเอาทองมาจำนำ ส่วนบางรายก็จะนำโฉนดที่ดินมาวางไว้ และจะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3-5 บาท" นายทุนคนเดิม เผยถึงกลยุทธ์ในธุรกิจของตน

วกกลับเข้ามากรุงเทพฯ เป็นการปิดท้าย โดย "เจ๊ จ." เจ้าแม่เงินกู้ย่านบางพลัด บอกว่า ปกติจะปล่อยกู้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในตลาด โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 และจะเก็บเป็นรายวัน แต่พอช่วงบอลโลกกลับมีลูกค้า ทั้งเด็กนักเรียน หรือคนวัยทำงาน มาขอกู้เป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยจะขอกู้ครั้งละ 5,000-10,000 บาท

"ส่วนมากจะอ้างว่ามีความจำเป็นจริงๆ ลูกป่วยบ้าง แม่ไม่สบายบ้าง เอาไปใช้หนี้สินเก่าบ้าง ไม่ค่อยมีใครบอกตรงๆ ว่าจะเอาเงินไปใช้หนี้บอล แต่ฉันก็เชื่อว่าน่าจะเอาไปใช้หนี้บอลมากกว่า เพราะคนในตลาดก็เล่นกันเยอะ บางคนถึงขั้นไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันเลย โดยบางร้านถึงขั้นปิดร้านในวันรุ่งขึ้น หากวันนั้นมีบอลเตะกันดึกๆ" เจ้าแม่เงินกู้รายนี้ กล่าวอย่าง "รู้ทัน" ลูกค้า

แม้จะรู้ว่ามีความเสี่ยง แต่ "เจ๊ จ." ก็รู้ดี และหาทางป้องกันความเสี่ยง ด้วยการเลือกปล่อยกู้ให้เฉพาะลูกค้าที่คุ้นเคยกันดี อย่างเด็กวัยรุ่นก็ให้เฉพาะที่รู้จักพ่อแม่ และจะปรามๆ ว่า "เพลาๆ หน่อย...อย่าเล่นเยอะ"

"ช่วงบอลโลกไม่ใช่แต่พ่อค้าอย่างเดียว แม่ค้าเองก็ใช่ย่อย เพราะบางคนก็แอบสามีแทงบอลกับเขาด้วย บางรายแทงคู่ละหลายพัน พอแทงไม่ถูกก็วิ่งแจ้นมาหาเรา ทั้งที่ของเก่ายังไม่ได้เคลียร์ ซึ่งก็ต้องให้เขาไปโปะยอดเก่าจนหมดก่อนค่อยมากู้ใหม่ โดยช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ปล่อยเงินกู้ไปแล้วประมาณ 300,000 บาท ให้กับลูกค้ากว่า 20 ราย" เจ๊ จ. แฉลูกค้าอย่างถึงกึ๋น

นอกจากธุรกิจเงินกู้นอกระบบแล้ว ธุรกิจ "เงินด่วน" ก็ฮอตฮิตไม่แพ้กัน โดยเจ้าหน้าที่บริษัทเงินด่วนรายหนึ่ง เผยว่า "ช่วงนี้มีคนกู้มากเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่จะนำมาไปใช้หนี้บอล อย่างล่าสุด มีลูกค้าขอกู้เงิน 50,000 และ 100,000 บาท เพื่อนำไปใช้หนี้พนันบอล โดยใช้วิธีวางบัตรเครดิตหลายใบ"

ขณะที่ บริษัทเงินด่วนอีกราย ย่านพระราม 9 ก็ให้ข้อมูลตรงกันว่า ช่วงบอลโลกมีลูกค้าเพิ่มกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ซึ่งบริษัทก็รู้ดีว่า ลูกค้านำไปใช้จ่ายอะไร แต่ก็ยินดีจะปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25-1.99

นั่นคือ สภาพความ "เฟื่องฟู" ของธุรกิจเงินกู้นอกระบบและธุรกิจเงินด่วน ซึ่งสวนทางกับเงินในกระเป๋านักเล่น ซึ่งนับวันจะมีแต่ "ฟุบ" กับ "แฟบ" ลงทุกวัน!!!

แหล่งข้อมูล: คมชัดลึก 2 กค. 49

2 กรกฏาคม 2549 10:57 น.

นางสาวสุกัญญา พวงทอง

ID: 52127312014

การเงินการธนาคาร 01

บริษัทที่ควรปล่อยสินเชื่อ คือ

บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

ช่อง 7 และ ช่อง 3 ร่วมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก2010 โดยมีอาร์เอสบีเอสเป็นตัวกลาง ประกาศลั่นโกย 500 ล้าน

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส? จำกัด (มหาชน) หรือ RS เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7? ในฐานะ Strategic Partners หรือผู้วางกลยุทธ์ร่วมกัน? ในการดำเนินการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก (FIFA WORLD CUP SOUTH AFRICA 2010) ที่จะมีขึ้นประมาณกลางปีหน้า? โดยคนไทยทั่วประเทศสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันทั้งหมด 64 แมทซ์? พร้อมพิธีเปิดและปิดอย่างเป็นทางการได้จากช่อง 3 และช่อง 7?? จากสนามแข่งขันทั้งหมด 10 สนาม ใน 9 เมืองทั่วสาธารณรัฐแอฟริกาใต้?? โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. ? 11 ก.ค. 2553

สำหรับการร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือที่สมบูรณ์แบบที่สุด เนื่องด้วยเป็นการผนึกกำลังจากทุกฝ่ายที่มีความพร้อมสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นอาร์เอสที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์กีฬาที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก อย่าง World Cup หรือช่อง 3 และช่อง 7 ซึ่งเป็นสุดยอดของสถานีโทรทัศน์ที่มีผู้ชมสูงสุดในประเทศนั้น โดยมีการวางแผนงานกลยุทธ์ต่างๆ? รวมทั้งแผนการตลาดร่วมกัน

ทั้งนี้ทั้ง 2 ช่องยังเป็นสถานีโทรทัศน์ที่สนใจการถ่ายทอดสดรายการแข่งขันกีฬาแมทซ์ใหญ่ๆ ให้คอลูกหนังทั่วประเทศไทยได้มีโอกาสได้รับชมครบทุกแมทซ์เสมอมา นอกจากนั้นทางบริษัทฯ ยังได้เตรียมผลิต รายการทีวีกีฬา ซึ่งจะออกอาอากาศทางช่อง 3 และ ช่อง 7 ตั้งแต่ เดือนเมษายนจนถึงมิถุนายน? 2553?? ตลอดจนเตรียมจัดอีเวนต์ใหญ่ เพื่อเปิดโอกาสให้คอลูกหนังชาวไทยได้ร่วมสนุกกับเกมส์ และมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำในสังกัดอาร์เอส? ช่อง 3 และช่อง 7?? พร้อมมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกกับทัวร์นาเมนต์ระดับโลกครั้งนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นตลอดเดือนมิถุนายน 2553 ถึง 2 แห่ง คือ บริเวณลานหน้าเซ็นทรัลเวิล์ดและลานพาร์ค พารากอน

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้านี้? ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกรายการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่รวบรวมเอาสุดยอดนักเตะฝีเท้าเยี่ยมจากทุกประเทศ ซึ่งเป็นรายการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในกลุ่มแฟนฟุตบอลชาวไทย และต่างชาติ?? การร่วมมือกันของบริษัท อาร์เอส?? ช่อง 3? และช่อง 7 สี ในครั้งนี้ จะทำให้ผู้ชมทั่วทั้งประเทศได้ชมการแข่งขันกีฬาการฟาดแข้งระดับโลกและสมกับ การรอคอยอย่างแน่นอน? และนอกจากเราจะมี Strategic Partners? คือ ช่อง 3 และช่อง 7? แล้ว เรายังได้สปอนเซอร์ผู้สนับสนุนการถ่ายทอดสดที่สนใจเข้าร่วมอีกมากมาย? ซึ่งถือเป็นความร่วมมือด้านธุรกิจที่ดีต่อกันเสมอมา

?เรามั่นใจว่าการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ในครั้งนี้ จะเป็นทัวร์นาเมนต์ที่คอลูกหนังชาวไทยจะได้ลุ้น ได้สนุก ได้เฮ กับทุกอิริยาบถการชมบอลแบบเต็มสตีม ทั้ง แสง เสียง ภาพที่คมชัดอีกทั้งเวลาในการถ่ายทอดสดยังเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด? คือ 18.00, 21.00 น. และ 01.00 น. โดยประมาณ? บวกกับกิจกรรมความมันส์ที่ทางอาร์เอสและช่อง 3 และช่อง 7 จัดขึ้น เพื่อเอาใจคอบอลชาวไทย? ซึ่งรับรองว่าจะทำให้ผู้ร่วมชม ร่วมสนุก? จะได้ความรู้สึกแบบ Real fun? Real cool Real match??? อย่างแน่นอน ? นายสุรชัย? กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวจาก: กรุงเทพธุรกิจ

นางสาว สาวิตรี จินดารัตน์

ID 52127312034

การเงินการธนาคาร 01

ธุรกิจเดลิเวอรี่

 เดอะพิซซ่าฯ ขยายเวลา"เดลิเวอรี"รับบอลโลกดันยอดขายพุ่ง15% พร้อมยกเครื่องแบรนด์ครั้งใหญ่ร้านอาหารอิตาเลียน ดันยอดขายขายสิ้นปี4.7 พันล้านบาท นายแอนดี้ โฮลแมน รองประธานกรรมการ และผู้จัดการทั่วไป เดอะพิซซ่า คอมปะนี ประเทศไทย และแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ บริษัทเดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป เปิดเผยว่าบริษัทได้ขยายเวลาให้บริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน(เดลเวอรี) หรือบริการ1112 เพิ่มอีก 1 ชั่วโมงครึ่ง หรือสิ้นสุดให้บริการเวลา01.30 น. จากเดิมในเวลา 24.00 น. ในช่วงการมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย.-11 ก.ค.นี้ คาดในช่วงดังกล่าวจะทำให้บริษัทมียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นราว 15% เทียบกับช่วงปกติ ขณะเดียวกันในปีนี้บริษัทเตรียมงบลงทุนไม่ต่ำกว่า 140 ล้านบาท แบ่งเป็นของบริษัทลงทุนเอง 80 ล้านบาท และของธุรกิจแฟรนไชส์ 60 ล้านบาท โดยจะใช้งบลงทุนเฉลี่ย 8-10 ล้านบาทต่อสาขา จากเมื่อต้นปีเปิดให้บริการไปแล้ว 5 สาขาใหม่ แบ่งเป็นของแฟรนไชส์ 2 สาขาและของบริษัทลงทุนเองอีก 3 สาขา และจะเปิดอีก 8 สาขาใหม่ในครึ่งปีหลังนี้ แบ่งเป็นบริษัทลงทุนเอง 4 สาขา และแฟรนไชส์ 4 สาขา คาดสิ้นปีจะมีร้านเดอะพิซซ่าฯ ทั้งสิ้นราว 219 สาขา ทั่วประเทศ จากปัจจุบันมี 206 สาขา ซึ่งปีนี้บริษัทมีสาขาใหม่มากกว่าปีที่ผ่านมา ที่เปิดให้บริการร้านใหม่จำนวน 4 สาขา ในจังหวัดขอนแก่น ชลบุรี ปราจีนบุรี และ ภูเก็ต พร้อมกันนี้เพื่อสร้างความแตกต่างไปจากคู่แข่งในตลาดเดียว บริษัทเตรียมใช้งบเพิ่มอีก 50 ล้านบาทปรับโฉมใหม่ร้านทั้ง 206 สาขา ในรูปแบบร้านอาหารรูปแบบอิตาเลียน สไตล์ ทั้งการตกแต่งภายในร้าน พร้อมเพิ่มกว่า 10 เมนูอาหารอิตาเลียนใหม่ โดยเบื้องต้นในปีนี้จะดำเนินการปรับโฉมได้ 44 สาขา และคาดว่าจะดำเนินการปรับโฉมแล้วเสร็จทุกสาขาได้แล้วเสร็จภายในปี2554 ขณะที่กลยุทธ์การทำตลาดในปีนี้ จะเน้นราคาและความหลากหลายเมนูอาหาร ล่าสุดเปิดตัวโปรโมชัน “ชุดอิ่มสุดคุ้ม299 บาท” ด้วยเมนูพิซซ่า 22 หน้า เสิร์ฟพร้อมสปาเก็ตตี และปีกไก่บาร์บีคิว เริ่มวันนี้-28 ก.ค. คาดแคมเปญดังกล่าวจะกระตุ้นยอดขายเติบโตไม่ต่ำกว่า 5% โดยปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายหลัก ครอบครัว สัดส่วน 70% และกลุ่มวัยรุ่นในบางทำและช่วงเวลา โดยมีกำลังซื้อเฉลี่ย 500-550 บาทต่อใบเสร็จ สำหรับรับประทานที่โต๊ะเฉลี่ย2.7 คนต่อกลุ่ม และ430-450 บาทต่อใบเสร็จ สำหรับบริการเดลิเวอรี ทั้งนี้ จากการเสียโอกาสที่บริษัทไม่สามารถเปิดให้บริการร้านพิซซ่าฯ บางสาขาในช่วงการจรจล อาทิ เซ็นทรัลเวิลด์ ราว7ล้านบาท และในช่วงการประกาศเคอร์ฟิวเฉลี่ย 4 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจากแผนธุรกิจใหม่นับจากนี้บริษัทคาดสิ้นปีจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 4.7 พันล้านบาท หรือ เติบโตเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา และปัจจุบันเป็นผู้นำตลาดธุรกิจพิซซ่ากว่า 60% จากมูลค่าลาดรวมกว่า 5.8 พันล้านบาท

 

 

กิตติกร  จันอินทร์

52127312071

ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า

ศรีรัตน์ รัษฐปานะอธิบดี กรมส่งเสริมการส่งออก เผย ยอดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสแรกโตจากปีก่อน 36.3 % เชื่อได้อานิสงส์จากบอลโลก ด้านเอกชนวอนรัฐกำหนดแผนขนส่งฉุกเฉิน เหตุช่วงม็อบใช้เครื่องบินขนส่งทำต้นทุนเพิ่ม... เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2553 นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือสถานการณ์การส่งออกประจำเดือนกับภาคเอกชนกลุ่มสินค้า อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเร็วๆ นี้ ยังคงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดีในปี 2553 โดยในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นจะยังคงขยายตัวได้ถึงร้อยละ 15 ตามเป้าหมาย เนื่องจากยอดขายในตลาดหลัก เช่น สเปน และ อิตาลี ยังดีอยู่ แต่สำหรับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 12 ซึ่งปรับลดจากที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 15 เนื่องจากประสบปัญหาต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าจะได้รับผลดีจากการแข่งขันฟุตบอลโลกทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส แรก ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ในเดือน ม.ค.-เม.ย. 2553 มีมูลค่า 5,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 36.3 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐ จีน ออสเตรเลีย และฮ่องกง โดยตลาดออสเตรเลียขยายตัวสูงมากถึงร้อยละ 74.4 ซึ่งเป็นผลจากการเปิดเสรีทางการค้า และสำหรับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือน ม.ค. - เม.ย.2553 มีมูลค่า 10,066 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 40.6 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วโดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สหรัฐ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวต่อว่า ภาคเอกชนระบุว่าปัญหาความไม่สงบภายในประเทศในช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้เรือ ขนส่งสินค้าไม่กล้าเข้าเทียบท่าในช่วงเวลาดังกล่าวและสินค้าจำนวนหนึ่งคง ค้างอยู่ที่ท่าเรือซึ่งมีผลให้เรือไม่มีที่ว่างเพียงพอในการขนส่งเที่ยวต่อๆ ไป เอกชนต้องหันไปส่งสินค้าทางเครื่องบินซึ่งมีต้นทุนสูง จึงขอให้ภาครัฐเร่งจัดทำแผนรองรับด้านการขนส่งสินค้าสำหรับในกรณีฉุกเฉิน ต่างๆ เช่น การปิดสนามบินหรือท่าเรือ เพื่อให้ภาคเอกชนและผู้นำเข้าเกิดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถส่งออกสินค้าได้ หากมีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ ในด้านการลงทุน ภาคเอกชนขอให้พิจารณาให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ลงทุนที่มีอยู่ปัจจุบันเป็น หลักก่อน โดยอาจพิจารณาให้สิทธิพิเศษต่างๆ อาทิ การขยายกรอบเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องเสียภาษี เมื่อมีวงเงินลงทุนถึงจำนวนที่กำหนดของบีโอไอ เป็นต้น เพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ลงทุนปัจจุบันจะ ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตได้หากไม่ได้รับแรงจูงใจที่เพียงพอ เนื่องจากในปัจจุบันสามารถใช้สิทธิประโยชน์ AFTA จากประเทศใดก็ได้ในอาเซียน

 

 

เรืองวิทย์  อุปชัย

51127312032

ชนิกานต์ บำรุงราษฎร์

คอบอลเมินดาวเทียม แห่ซื้อหนวดกุ้ง!! ดูบอลโลก

ธุรกิจไฟฟ้าคึกคัก คอบอลศรีราชา แห่ซื้อเสาอากาศทีวี หลังไม่สามารถชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ผ่านจานดาวเทียมได้ ขณะที่ร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า สั่งออเดอร์สินค้าเพิ่ม รองรับความต้องการของลูกค้า...

หลังจากที่ช่องสัญญาณการรับส่งสัญญาณจานดาวเทียม ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใส่รหัส ในการรับส่งสัญญาณ ส่งผลกระทบต่อการรับชม การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นอย่างมาก ทำให้คอบอลชาวสตูล ที่รับชมการแข่งขันฟุตบอลโลกผ่านจานดาวเทียม ต้องประสบปัญหาดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก โดยร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าในเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีประชาชนแห่กันมาซื้อเสาอากาศทีวีและเสาอากาศหนวดกุ้งอย่างไม่ขาดสาย เพื่อนำไปปรับสัญญาณเสาอากาศ ให้สามารถรับชมฟุตบอลโลก ขณะที่ร้านค้า ร้านอาหาร ที่เคยติดตั้งจอขนาดใหญ่ถ่ายทอดสดฟุตบอล เพื่อเรียกลูกค้าให้มาอุดหนุน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

เจ้าของร้านศิริชัยโทรทัศน์ เปิดขายอุปกรณ์ไฟฟ้า กล่าวยืนยันว่า มีประชาชน ร้านอาหาร ร้านน้ำชา ที่มีจอขนาดใหญ่ ไว้บริการลูกค้าในช่วงบอลโลก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้จานดาวเทียม ต่างพามาซื้อเสาอากาศทีวีกันเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการปรับสัญญาณทีวีในการชมฟุตบอลโลกแทน หลังจากช่องสัญญาณดาวเทียวถูกตัด ซึ่งที่ร้านขายสินค้าดีมาก โดยลูกค้าจะเลือกซื้อเสาอากาศ และเสาอากาศหนวดกุ้ง ที่มีราคาตั้งแต่ 100 - 200 บาท โดยราคา 200 บาท จะขายดีกว่า เนื่องจากมีคุณภาพดี โดยยอมรับว่า ช่วงนี้จะขายเสาอากาศทีวีได้วันละ 20 - 30 อัน ทำให้ทางร้านต้องมีการสั่งเสาอากาศทีวีเพิ่ม เพื่อที่จะให้มีไว้จำหน่ายอย่างเพียงพอ กับความต้องการของลูกค้า

ธุรกิจของร้านศิริชัยโทรทัศน์ ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010 เพราะธุรกิจนี้อยู่ในช่วงขายดีแน่นอนเนื่องด้วยเหตุผลดังกล่าวและร้านศิริชัยโทรทัศน์ยังอยู่ที่ จ. ชลบุรี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชาวต่างชาติก็มีมาก การทำธุรกิจในช่วงนี้จะไม่ทำให้ขาดทุนอย่างแน่นอน

แต่ในการทำธุรกิจนี้ไม่ยั่งยืนจะคึกคักในช่วงนี้เท่านั้น เพราะหลังจากจบฟุตบอลโลก 2010 แล้วธุรกิจอาจซบเซาลง แต่ในช่วงนี้มีลูกค้ามากก็ควรหาข้อเสนอแนะส่วนลดหรือโปรโมชั่นทางร้านที่น่าสนใจให้ลูกค้าเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าใช้อย่างต่อเนื่องเพราะมิฉะนั้นประชาชนก็คงจะหันกลับไปใช้จานเคเบิ้ลอย่างเดิม

ธุรกิจต้อนรับฟุตบอลโลก2010

สถานที่ดูฟุตบอลเป็นอีกหนึ่งสถานที่ๆมีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก มีการใช้จ่ายเงินกันมากกว่าทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารเครื่องดื่ม ของที่ระลึก เสื้อทีมฟุตบอลทีมชาติต่างๆ การทาสีที่ตัวและหน้า การเพ้นท์เล็บ และสารพัดสิ่งของสำหรับการเชียร์ฟุตบอลโลก 2010 ธุรกิจทุกอย่างที่ได้กล่าวมานี้ เป็นธุรกิจที่มีมาพร้อมกับการเชียร์ฟุตบอลโลก

ธุรกิจร้านอาหาร

ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ก็เป็นวิธีการเรียกลูกค่าให้มาเข้าใช้บริการในร้านของตนอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการชวนให้ลูกค่ามารับประทานอาหารในร้านของตนเพิ่มมากขึ้น และก็สั่งอาหารแบบไม่มีการเอ่ยปากเลยว่าแพง เพราะทุกคนมารับประทานอาหารในครั้งนี้ ก็เสมือนหนึ่งการมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มาสังสรรค์เฮฮาปาร์ตี้กันในกลุ่มเพื่อน กลุ่มคนทำงานด้วยกัน หรือแม้แต่การมาทานอาหารนอกบ้านของคนในครอบครัวร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกเช่นนี้ ส่วนมากจะได้รับการเข้าใช้บริการมาก และได้กำไรมากขึ้นจากการมารับประทานอาหารในแต่ละวัน เมื่อเปรียบเทียบจากวันธรรมดา ร้านอาหารไดที่มีการให้บริการที่ดี สร้างความประทับใจให้กลับลูกค้า ลูกค้าที่เคยมาใช้บริการแล้ว ก็จะกลับมาเข้ามาใช้บริการอีก เนื่องจากการให้บริการที่ประทับใจของทางร้าน

ธุรกิจเครื่องดื่ม

ร้านอาหารบางร้านก็มีเครื่องดื่มไว้ให้บริการ แต่งบางร้านก็ไม่มีเครื่องดื่มไว้ให้บริการ ดังนั้นจึงเกิดธุรกิจเครื่องดื่มขึ้นมา ธุรกิจเครื่องดื่มนี้ คือการขายเครื่องดื่มทุกชนิดพร้อมสถานที่นั่งดื่ม เครื่องดื่มที่ขายอาทิเช่น เหล้า เบียร์ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เป็นต้น บุคคลที่มาใช้บริการส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 15ถึง50ปี มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ธุรกิจร้านเครื่องดื่มนี้ มีจุดขายที่ดีตรงที่มีการนำเอาทีวีมาถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก2010 ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมีลูกค่ามาใช้บริการช่วงเวลาหลังหกโมงเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่ทุกคนว่างจากการทำงาน ว่างจากการเรียน เครื่องดื่มที่ผู้หญิงนิยมสั่งมาดื่มมากในเวลาดูฟุตบอลโลก2010 ก็คือน้ำผลไม้ น้ำกาแฟ น้ำอัดลม เหล้าเบียร์บ้างเล็กน้อยเป็นบางคน ส่วนผู้ชายก็นิยมสั่งเหล้าและเบียร์มาดื่ม เป็นรายการเครื่องดื่ม ที่มีการสั่งมากเป็นรายการอันดับหนึ่งของทางร้าน การพนันบอลโลกในรูปแบบที่ว่า ผู้แพ้พนันต้องเป็นผู้จ่ายเงินค่าเหล้าและเบียร์ในรอบการแข่งขันนั้นๆ จะพบเห็นการพนันในรูปแบบนี้บ่อยครั้งมากในร้านเครื่องดื่ม ทำให้ทางร้านได้ผลประโยชน์จากการพนันในครั้งนี้ และถ้าทางร้านมีการให้บริการที่ดีต่อลูกค้า ลูกค้าที่เคยมาใช้บริการเกิดความประทับใจ ลูกค้าท่านนั้นก็จะมาใช้บริการอีกในวันต่อๆไป เกิดเป็นลูกค้าประจำนับจากนี้และตลอดไป ไม่ว่าจะมีการถ่ายทอดสดหรือไม่มีการถ่ายทอดสด ก็ยังคงมีลูกค้าท่านเดิมที่เคยมาใช้บริการร้านเครื่องดื่มนี้ มาคอยให้การสนับสนุนทางร้านอีก ทุกครั้งที่พวกเขาต้องการมาสังสรรค์กันธรรมดาในวันสบายๆ

ธุรกิจการขายของที่ระลึก

ก่อนเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 ใกล้จะมาถึง ก็มีการเตรียมทำสิ่งของที่ ระลึกไว้นำมาว่างขายกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตานักฟุตบอล ตัวจิ๋วเข็มกลัดรูปนักฟุตบอลคนโปรด รูปถ่ายทีมชาติต่างๆที่ตนชื่นชอบ พวงกุญแจรูปนักเตะและรูปลูกฟุตบอล รวมกระทั่งเครื่องประดับเล็กๆ ที่เป็นลายธงชาติต่างๆ เมื่อได้ไปเชียร์ฟุตบอลโลกในสถานที่ต่างๆ ที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ให้ลองสังเกตดูว่าเวลาเราไปในสถานที่เชียร์ฟุตบอลโลก ก็จะมีร้านขายของที่ระลึกแทบจะทุกที่ และทุกร้านที่เห็นก็จะมีผู้คนให้ความสนใจในสิ่งของที่ระลึกนั้นๆมาก สิ่งที่ได้สังเกตเห็นนี้ กำลังจะสื่อให้เห็นว่าธุรกิจการขายของที่ระลึกในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 เป็นธุรกิจหนึ่งที่ให้ผลกำไรมากในช่วงเวลานี้

ธุรกิจการเพ้นท์เล็บ

ธุรกิจการเพ้นท์เล็บนี้ส่วนใหญ่จะมีผู้หญิงให้ความสนใจมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากว่าการเพ้นท์เล็บเป็นการเสริมสวยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้หญิงกับความงามก็เป็นคู่กันมาตั้งนานแล้ว การเพ้นเล็บในช่วงฟุตบอลโลกนี้ลายที่ได้รับความนิยมคงไม่ผิดถ้าจะตอบว่าเป็นลายที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลก มีผู้ประกอบการหลายท่านเข้ามาลงทุนทำธุรกิจนี้ ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับจ่ายลูกค้ามาก เป็นการทำธุรกิจอีกหนึ่งที่ประสบผลกำไรมากในช่วงเวลาบอลโลก

ธุรกิจการทาสีที่ตัวและหน้า

การทาสีที่ตัวและที่หน้า ก็เป็นสีสันการเชียร์ฟุตบอลที่ได้อรรถรสอีกมุมมองหนึ่ง มีผู้ประกอบการหลายท่านมาลงทุนเช่าร้านรับทาสีที่หน้าและที่ตัว รูปที่นิยมทาสีกันอย่างแพร่หลาย ก็คือรูปธงชาติ รูปลูกฟุตบอล และรูปอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ให้ความสนใจในการทาสีลงบนใบหน้าและลำตัวเหมือนกัน รวมกระทั่งเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ก็ยังเห็นมีการทาสีที่ใบหน้าและลำตัว เป็นธุรกิจที่ผู้คนให้ความสนใจมาก ดังนั้นธุรกิจการทาสีที่ใบหน้าและลำตัวนี้จึงเป็นธุรกิจที่ได้กำไรดีในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก

ธุรกิจการขายเสื้อผ้านักฟุตบอลทีมชาติต่างๆ

การเชียร์ฟุตบอลถ้าจะให้ได้อรรถรส ก็ต้องมีการสวมใส่เสื้อผ้าทีมชาติที่ตนชื่นชอบ เสมือนหนึ่งว่าตนเองกำลังอยู่ในสนามจริงๆ รอดูการแข่งขันฟุตบอลสดๆ จากความคิดเช่นนี้ก็เลย ทำให้เกิดธุรกิจการขายเสื้อผ้านักฟุตบอลทีมชาติต่างๆขึ้นมา ทุกคนสามารถเลือกซื้อเสื้อผ้าได้ตามความสนใจของแต่ละคนได้อย่างอิสระ เจ้าของธุรกิจการขายเสื้อผ้านักฟุตบอลนี้ จะประสบผลกำไรมากในช่วงเทศกาลบอลโลก เพราะมีผู้คนสนใจการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นจำนวนมาก และมีพฤติกรรมการสวมใส่เสื้อผ้าทีมชาติที่ตนชื่นชอบ เข้ามาร่วมเชียร์ในแต่ละครั้ง ทำกันจนเป็นประเพณี สร้างเป็นค่านิยม ทำให้เกิดเป็นธุรกิจที่มีการค้าหากำไรได้มากเลยทีเดียว ในช่วงเวลามหกรรมฟุตบอลโลก 2010

ธุรกิจการขายสิ่งของต่างๆที่นำไปร่วมเชียร์ฟุตบอลโลก 2010

ธุรกิจการขายสิ่งของต่างๆที่นำไปร่วมเชียร์ฟุตบอลโลก 2010 นี้อาทิเช่น หมวก แท่งเรืองแสง กำไรเรืองแสง กระบอกไฟ กระบอกลม ผ้าพันคอ เป็นต้น อุปกรณ์ต่างๆที่ได้กล่าวมานี้เป็นสิ่งของที่สร้างสีสันให้กับการเชียร์ฟุตบอลโลก 2010 ให้ได้อรรถรส และก็ได้กระแสตอบรับจากผู้คนมากเลยทีเดียว เป็นหนึ่ง ธุรกิจที่ให้ผลกำไรแก่ผู้ประกอบการอีกอย่างหนึ่ง

ยังมีธุรกิจอีกมากมายที่มีมาพร้อมกับการเชียร์ฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งเมื่อนำมาหารายได้ในช่วงฟุตบอลโลกนี้ ก็ต้องเป็นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก จึงจะได้รับผลกำไรเป็นที่หน้าพอใจ และได้ผลกำไรมาก

ธุรกิจธุรกิจต้อนรับฟุตบอลโลก 2010 ดังกล่าว สมควรให้สินเชื่อในการทำธุรกิจเพราะกำลังได้รับความนิยมเป็นนอย่างมากและจะได้รับผลกำไรอย่างแน่นอนและในทางความยั่งยืนก็อาจจะเป็นผลพลอยได้กับธุรกิจนั้นๆ เพราะถ้าธุรกิจนั้นๆบริการดีเป็นที่น่าประทับใจของลูกค้าถึงว่าจะจบฟุตบอลโลก 2010 ไปแล้วธุรกิจก็จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและยังเปิดโอกาสพูดคุยสนิทสนมกับลูกค้าธุรกิจก็จะได้ลูกค้าประจำเพิ่มขึ้นอีกด้วย

กีฬาระดับโลกในทุกๆ 4 ปีจะมีจัดสักครั้งอย่าง "ฟุตบอล" กลับมาอีกครั้ง การรอคอยของหลายค่ายธุรกิจที่ฉวยจังหวะกระโดดเข้ามาช่วงชิงตลาดในฤดูกาลแข่งขันเริ่มมีสีสันกันมากขึ้น แม้ว่าจะมีช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ 1 เดือนก็ตาม แต่มูลค่าเม็ดเงินที่สะพัดช่วงการแข่งขันเชื่อว่าน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 3,000 กว่าล้านบาททีเดียวว่ากันว่าไม่เพียงเฉพาะผู้ที่เป็นคอกีฬาเท่านั้นที่รอคอยเพื่อลุ้นเชียร์ทีมที่ตนเองชื่นชอบ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจค่ายใหญ่ๆ ทั่วโลกต่างเริ่มจับตามองและหาช่องทางต่อยอดทางธุรกิจไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยเองที่เริ่มมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจากผู้บริหารลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่มีกลุ่มผู้สนับสนุนหลัก รวมถึงสินค้าต่างๆ เข้าร่วมเกาะกระแสนี้ต่างวาดฝันเอาไว้ว่างานนี้หวังรับทรัพย์กันเป็นกอบเป็นกำและที่สำคัญตลอดระยะเวลาการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้ไปตรงกับไพรม์ไทม์พอดิบพอดี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกันคือ 18.00 น., 21.00 น. และ 01.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย ถือว่ายังไม่ดึกจนเกินไปนักสำหรับแฟนพันธุ์แท้คอกีฬาฟุตบอล ขณะที่หลายค่ายธุรกิจเชื่อว่าช่วงเวลาไพรม์ไทม์

จะสามารถกระตุ้นให้แบรนด์สินค้าขายได้ ดังนั้นกลยุทธ์ต่างๆ จึงถูกหยิบนำออกมาใช้ในช่วงนี้อย่างต่อเนื่องเริ่มด้วยกิจกรรมสอดรับ ผสมกับอัดแคมเปญ รวมถึงจัดอีเวนต์ออกมากระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง

เริ่มกันที่สินค้าเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์อย่าง เบียร์ช้าง ที่สบช่องถือโอกาสเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการเสียเลย เพราะด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่สามารถโฆษณาได้ ทำให้ช่วงนี้เป็นเวลาที่ดีที่สุดของการสร้างแบรนด์ ขณะที่รถมอเตอร์ไซค์ค่ายยามาฮ่า ที่เน้นเรื่องของสปอร์ตมาร์เกตติ้งมาโดยตลอด งานนี้จึงขอเข้ามาร่วมแจมเป็นสปอนเซอร์ด้วยเช่นกัน แต่มีบางค่ายธุรกิจที่แทบจะไม่เคยเห็นเลยในการสนับสนุนกีฬาฟุตบอลก็กระโดดเข้ามาขอร่วมวงไพบูลย์กับเขาด้วย อย่างเช่นสินค้าประเภทแชมพูสระผมอย่าง เคลียร์ เมน ที่ก่อนหน้านั้นประเดิมด้วยการนำนักฟุตบอลระดับโลก อย่าง โรนัลโด มาเป็นพรีเซนเตอร์นำร่องสร้างแบรนด์สินค้าจับตลาดสำหรับผู้ชายให้เป็นที่รู้จัก ว่ากันว่าสปอนเซอร์รายใหญ่ทุกรายต้องควักกระเป๋าให้การสนับสนุนรายละประมาณกว่า 50 ล้านบาท และมีผู้สนับสนุนร่วมอีก 10 ราย ที่ต้องควักเงินสนับสนุนอีกรายละ 30 ล้านบาท ได้แก่ ไวตามิ้ลค์, นีเวีย, กระทิงแดง, โซนี่, จักรยานแอลเอ, สีเบเยอร์, ธนาคารทหารไทย, เอสซีจี, เซ็นทรัลเวิลด์ และสยามพารากอน

กิจกรรมส่งเสริมตลาด

การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกนับเป็นเป้าหมายโดยตรงของผู้ประกอบการ แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการธุรกิจบางรายหันมาให้ความสำคัญกับกิจกรรมต่อเนื่องที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าไปพร้อมๆ กับสร้างความจดจำสินค้าควบคู่กันไป ไม่เว้นแม้แต่สปอนเซอร์รายใหญ่ๆ ที่สนับสนุนในทีวี ต่างก็หันมาจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดด้วยการผลักดันกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับผลการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ที่ว่ากันว่า ทุ่มงบประมาณการสนับสนุนการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้สูงที่สุดในรอบ 28 ปี เนื่องจากรายการประเภทกีฬาได้รับความสนใจจากผู้ชมและเจ้าของสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้ต้องเตรียมแผนผลิตรายการที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลกเพิ่มอีก เนื่องจากผู้สนับสนุนรายเล็กๆ ต้องการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมแบบนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะมีเม็ดเงินเข้ามาในส่วนนี้อีกราว 100 ล้านบาท

คู่กัด "แอลกอฮอล์"

แม้จะถูกจำกัดในเรื่องของการทำประชาสัมพันธ์ แต่เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่าง เบียร์ช้าง ก็ถือโอกาสนำกีฬาฟุตบอลโลกมาจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อให้สอดรับกับการสร้างความจดจำของแบรนด์ไปด้วย เรื่องนี้ ชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ยอมรับว่า บริษัทเตรียมงบไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาทสำหรับทำกิจกรรมทางการตลาดในช่วงฟุตบอลโลก โดยเบื้องต้นใช้งบเพื่อเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนหลักจำนวน 50 ล้านบาท ซึ่งได้รับสิทธิดังกล่าวติดต่อกันมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ส่วนงบที่เหลือกว่า 150 ล้านบาท จะใช้ดำเนินกิจกรรมการตลาดด้านต่างๆ ในช่วง 3-4 เดือนนับจากนี้ไป อาทิ การโฆษณา การจัดกิจกรรมภาคสนามเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล เป็นต้น

ขณะที่ บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้จำหน่ายเบียร์สิงห์ ลีโอ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันหรือการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกที่จะเริ่มการแข่งขันในเดือนมิถุนายนนี้ก็ตาม แต่สิงห์เองก็เป็นผู้สนับสนุนกีฬาหลายประเภทด้วยกัน โดยเฉพาะกีฬาระดับโลก ที่เป็นที่นิยมหลายรายการ รวมถึงฟุตบอลด้วย แต่ยังคงอุบไต๋เรื่องของการจัดแคมเปญออกมารองรับ

สังเกตได้ว่ากระแสความนิยมเพื่อชมและเชียร์บอลโลกจะส่งผลทำให้หลายธุรกิจมีความตื่นตัวมากขึ้น รวมถึงตลาดเบียร์ที่จะใช้ช่วงเวลาการแข่งขันเปิดให้บริการลานเบียร์กันมากขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวหลักๆ ซึ่งการจัดลานเบียร์สดใช้งบลงทุนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาทต่อลาน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ชมการแข่งขันฟุตบอล และแน่นอนที่สุดทุกๆ ลานเบียร์จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกด้วย

"น้ำดำ" แข่งกันดุ

สิ่งที่น่าจับตามองของ 3 ค่ายน้ำอัดลม "เป๊ปซี่-โค้ก-บิ๊ก โคล่า" ก็คือการดำเนินแคมเปญฟุตบอลโลกภายใต้กลยุทธ์สปอร์ตมาร์เกตติ้ง นับว่าเป็นกลยุทธ์หลักของเครื่องดื่มน้ำอัดลมในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก แต่ปีนี้ทั้งสองค่ายใหญ่ เป๊ปซี่ และโค้กงัดกลยุทธ์มิวสิกมาร์เกตติ้งมาเสริมทัพ เท่ากับว่าเป็นการควงสองกลยุทธ์พร้อมกัน เพื่อแข่งกันสร้างกระแสและโอกาสการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ

"โค้ก" อัดแคมเปญฟุตบอลโลกในฐานะเป็นผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขันระดับฟุตบอลโลก ฟีฟ่า เวิลด์คัพ กว่า 60 ปี ซึ่งเป็นตำนานมาอย่างยาวนาน แต่ทว่าสิ่งที่ดูเหมือนว่าโค้กจะเพลี่ยงพล้ำคือ การเป็นผู้สนับสนุนฟุตบอลโลกเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยากเมื่อเทียบกับเป๊ปซี่ ที่นำดารานักเตะทีมดังระดับโลกมาเป็นพรีเซนเตอร์

ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ที่โค้กต้องทำการบ้านอย่างหนักในห้วงเวลานี้ สำหรับแคมเปญฟุตบอลโลกปีนี้ โค้กคิกออฟเร็วตั้งแต่ต้นปี โดยเปิดฉากแคมเปญ "ฟีฟ่า เวิลด์คัพ โทรฟี่ทัวร์" นำถ้วย "ฟีฟ่า เวิลด์คัพ" เดินทางไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย เป็นออร์เดิร์ฟเรียกน้ำย่อย

หลังจากนั้นไม่นานโค้กส่ง 2 แคมเปญ คือมิวสิกแคมเปญ "โค้ก เวิลด์คัพ มิวสิก เซเลเบรชัน" จับมือ "ค่ายเพลงสมอลล์รูม" มอบหมาย "วงแทททู คัลเลอร์" กระหึ่ม "เพลงเวฟวิ่ง แฟล็ก โคคา-โคลา เซเลเบรชัน มิกซ์" (เพลงฉลองบอลโลกจากโค้ก) ภาคภาษาไทย ฟีเจอริ่งกับ "เค นาน" ศิลปินฮิปฮอปเชื้อสายแอฟริกันชื่อดัง อุ่นเครื่องสร้างความสุขก่อนบอลโลกรอบตัดเชือกพร้อมกับสปอร์ตแคมเปญ กับสองโปรโมชั่นใหญ่ "ตะลุยบอลโลกยกแก๊งกับโค้ก" โค้กมอบโอกาสให้คอโค้กคอบอลร่วมลุ้นโชคไปเชียร์บอลโลกถึงขอบสนาม ณ ประเทศแอฟริกาใต้ และชิงรางวัลทุกสัปดาห์ รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท แคมเปญ "เปิดโค้กซ่า บรื๊ออออ สะใจไปบอลโลก" ผ่านแพลตฟอร์มดนตรี-กีฬาสุดยิ่งใหญ่ครบวงจร

ทว่า บอลโลกปีนี้ เป๊ปซี่ดำเนินการตลาดช้ากว่าโค้ก โดยงัดโกลบอลแคมเปญ "เป๊ปซี่ ฟุตบอล 2010 ซึ่งควง 2 กลยุทธ์สปอร์ตมาร์เกตติ้ง และมิวสิกมาร์เกตติ้ง พร้อมกันเป็นครั้งแรก จากปกติเป๊ปซี่จะใช้แพลตฟอร์มสปอร์ตเป็นหลัก เพื่อขยายฐานกลุ่มคนรุ่นใหม่และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้กว้างมากขึ้นนอกเหนือจากผู้ที่ชื่นชอบการดูฟุตบอล

ธุรกิจประเภทสินค้ารายใหญ่ ที่ผู้คนรู้จักกันดีอยู่แล้วจะเป็นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนธนาคารควรปล่อยสินเชื่อเพราะจะได้ลูกค้ารายใหญ่และมีเครดิตดี และธุรกิจก็เป็นที่รู้จักประชาชนบริโภคกันอยู่แล้วทั้งยังช่วยกระตุ้นอารมณ์การจับจ่ายได้เป็นอย่างดี สวนกระแสความเชื่อมั่นที่ถดถอยทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเมือง

www.pattayadailynews.com All Rights Reserved.

http://www.ryt9.com/s/tpd/919660

นางสาวชนิกานต์ บำรุงราษฎร์

รหัสนักศึกษา 52127312066

การเงินการธนาคาร 02

นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)

ประวัติความเป็นมาของบริษัท

บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี 2516 ภายใต้ชื่อ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด สยามสปอร์ตพับลิชชิ่ง" โดยนายระวิ โหลทอง ซึ่งเดิมทำงานเป็นหัวหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกเพียง 500,000 บาท

บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการบริหารงาน นับจากวันจัดตั้งบริษัท จนถึงวันที่ยื่นขออนุญาตดังต่อไปนี้คือ

2516 จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด สยามสปอร์ตพับลิชชิ่ง เพื่อดำเนินธุรกิจด้านนิตยสารกีฬาและรับจ้างพิมพ์ทั่วไป

2518 เริ่มจัดพิมพ์และจำหน่ายนิตยสารสตาร์ซอคเก้อร์

2523 เริ่มจัดพิมพ์และจำหน่ายนิตยสารฟุตบอลสยาม

2524 เริ่มจัดพิมพ์และจำหน่ายนิตยสารเอนเตอร์เทน

2525 จัดตั้งบริษัท สยามสปอร์ตพริ้นติ้ง จำกัด เพื่อรับโอนกิจการจากหจก. สยามสปอร์ตพับลิชชิ่ง โดยมีสิ่งพิมพ์เพิ่มอีก 7 ฉบับคือ นิตยสารแค้มปิ้งท่องเที่ยว(2526), นิตยสารมวยโลก(2527), หนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวัน(2527), นิตยสารมวยสยาม(2528), นิตยสารมิวสิคเอกซ์เพรส(2528), นิตยสารมวยทีวี(2534) และนิตยสารเวิล์ดซ้อคเกอร์ (เลิกจัดพิมพ์ในปี 2534)

กุมภาพันธ์ 2533 จัดตั้งบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด ขึ้นเพื่อรับโอนเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งใบอนุญาตของหัวหนังสือทั้งหมดจากบริษัท สยามสปอร์ตพริ้นติ้ง จำกัด

มิถุนายน 2533 บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 5 ล้านบาทเป็น 50 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตในส่วนของเครื่องจักร

สิงหาคม 2533 บริษัทได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 5 ½ ไร่ บริเวณถนนบางนา-ตราด ก.ม. 5 เพื่อก่อสร้างสำนักงาน โรงพิมพ์ และโกดังเก็บสินค้าในอนาคต

พฤศจิกายน 2535 บริษัทได้ทำการออกหนังสือพิมพ์สตาร์ซ้อคเกอร์รายวัน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับที่ 2 ของบริษัท โดยมีเนื้อหาและข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลในต่างประเทศโดยเฉพาะ

พฤศจิกายน 2537 บริษัทได้เริ่มทำธุรกิจนำเข้าสินค้าที่ระลึกเกี่ยวกับกีฬาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งจะขยายออกไปเป็นการนำเข้าจากทั่วโลกและขอลิขสิทธิ์เพื่อผลิตในประเทศไทย (ปัจจุบันได้มอบหมายให้บริษัท วรรคสร โปรโมชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเป็นผู้ดำเนินการ)

ธันวาคม 2537 บริษัทได้ทำการออกหนังสือพิมพ์มวยสยามรายวัน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับที่ 3 ของบริษัท โดยมีเนื้อหาและข่าวสารเกี่ยวกับวงการมวยไทยโดยเฉพาะ

มกราคม 2538 บริษัทได้ปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจโดยแยกธุรกิจรับจ้างพิมพ์ โดยให้บริษัท สยามสปอร์ตพริ้นติ้ง จำกัด เป็นผู้ทำธุรกิจรับจ้างพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบริษัท กิเลนการพิมพ์ จำกัด ในขณะที่บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จะทำธุกิจที่เกี่ยวกับกีฬาและสันทนาการเท่านั้น

กุมภาพันธ์ 2538 จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)" และปรับโครงสร้างทางธุรกิจและโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทและบริษัทในเครือ โดยเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท วรรคสร โปรโมชั่น จำกัดและบริษัท สปอร์ตส แอนด์เลเชอร์ โปรโมชั่น จำกัด

กุมภาพันธ์ 2543 เปิดตัว WEBSITE "http://www.siamsport.co.th"

สถานที่ตั้งและสถานที่ติดต่อปัจจุบัน

บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) (Siam Sport Syndicate Public Co.,Ltd.) ตั้งอยู่ที่เลขที่

66/26-29 หมู่ 12 ซ.รามอินทรา 40 (นวลจันทร์) ถ.รามอินทรา แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

โทรศัพท์ 02 508 8000

Website : www.siamsport.co.th

E-mail : [email protected]

เราควรให้สินเชื่อแก่ บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคด จำกัด (มหาชน) เพราะในช่วงบอลโลกจะมีคนติดตามข่าวกีฬาเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะจากหนังสือพิมพ์กีฬาและจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมากรวมถึงมีรายละเอียดเกี่ยวกับกีฬาที่อื่นๆคนสนใจมิใช่เฉพาะเทศกาลบอลโลกและยังเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงอย่างมากเพราะคนในประเทศไทยจะต้องบริโภคข่าวกีฬาเป็นประจำอยู่แล้วไม่มใช่เฉพาะเทศกาลบอลโลก

แนวทางที่ทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

จัดกิจกรรมเชียร์ทีมฟุตบอลที่ท่านชื่นชอบลุ้นรับของรางวัลมากมายบนหนังสือพิมพ์กีฬา

และไม่ควรจัดกิจกรรมแค่บอลโลก2010 เท่านั้น แต่ควรจัดกิจกรรมประเภทกีฬาอื่นๆด้วย เพราะผู้บริโภคมีความชอบกีฬาแต่ละประเภทไม่เหมือนกันและยังเป็นวิธีการในการรักษาลูกค้าด้วย เพื่อที่จะทำให้บริษัทมีความยั่งยืนเป็นที่ชอบของลูกค้าเพราะมีการจัดกิจกรรมให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการลุ้นรับของรางวัลต่างๆ

นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

การเงินการธนาคาร02

52127312062

ธุรกิจร้านอาหาร

เพราะอาหารเป็นที่ต้องการของทุกคนอยู่แล้ว เมื่อมีการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลเกิดขึ้นก็มักจะจัดการถ่ายทอดช่วงเย็นและร้านอาหารเกือบทุกร้านมักจะทีวีเปิดบริการแก่ลูกค้า ซึ่งช่วงเย็นก็เป็นเวลาเลิกงาน จึงทำให้ธุรกิจประเภทค่อนข้างจะมีผลกำไรมากและเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนเลยทีเดียว

การที่จะมีลูกค้าต่อเนื่องนั้นธุรกิจประเภทนี้มีอย่างแน่นอนเพราะถ้าหากหมดช่วงฤดูฟุตบอลโลกแล้วไปร้านอาหารก็ยังคงเปิดกิจการได้อยู่ต่อไป เพราะอาหารคือปัจจัยที่จำเป็นต่อมนุษย์

ธุรกิจการขายเสื้อผ้า

เพราะเนื่องจากธุรกิจประเภทนี้มีจำนวนค่อนข้างมากในตลาด การแข่งขันจึงค่อนข้างสูงการที่จะปล่อยสินเชื่อแก่ห้างร้านหรือบริษัทที่จัดทำเสื้อหรือผ้าพันคอที่มีตราสัญลักษณ์ของประเทศต่างๆ เราจึงจำเป็นต้องมีการคัดสรรและเลือกบริษัทที่มีผลประกอบการดี คือ ควรจะปล่อยให้แก่บริษัทที่มี แบรนด์ติดตลาด อาที เช่น NIKE ADIDAS PUMA เป็นต้น การปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทจำพวกนี้น่าจะยั่งยืนเลยทีเดียว เพราะถ้าหากหมดช่วงฟุตบอลโลกไปเสื้อผ้าก็จะสามารถจำหน่ายได้อยู่ เนื่องจากการที่ทุกคนต้องการออกกำลังกายอีกทั้งมีคนจำนวนหนึ่งก็มักจะหาสะสมเสื้อของทุกการแข่งขันฟุตบอลด้วยและอีกอย่างเสื้อผ้าก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อมนุษย์ด้วย การให้สินเชื่อแก่ธุรกิจประเภทนี้จึงค่อนข้างน่าสนใจ

การที่ธุรกิจประเภทนี้จะมีลูกค้าต่อเนื่องหรือไม่ ตอบได้เลยว่ามีอย่างแน่นอนเพราะการที่จะผลิตเสื้อผ้ากีฬานั้นทุกๆพื้นที่ย่อมมีนักกีฬาและบุคคลที่เล่นกีฬาอย่างแน่นอน ดังนั้นเสื้อกีฬาจึงเป็นที่จำเป็นต่อบุคคลกลุ่มนี้

ธุรกิจเดลิเวอรี่ประเภทอาหาร

เพราะในช่วงฟุตบอลโลกนี้จะมีดูการถ่ายทอดฟุตบอลคนส่วนหนึ่งจะดูการถ่ายทอดที่บ้าน ดอนโด อพาร์ทเม้น หรือที่พักอาศัย บางคนจะไม่อยากไปหาอาหารหรือทำอาหารกินเองธุรกิจประเภทนี้จึงเป็นธุรกิจที่น่าปล่อยสินเชื่อ เพราะสะดวกมากษริษัทที่ควรจะปล่อยสินเชื่อ คือ เดอะพิซซ่าคอมปานี พิซซ่าฮัท เคเอฟซี เพราะเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดมีลูกค้าเป็นจำนวนมาก มีฐานลูกค้าที่แน่นอนอยู่แล้ว การปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจประเภทนี้จึงน่าจะผลประกอบการดี

ธุรกิจประเภทนี้จะมีลูกค้าต่อเนื่องอย่างแน่นอน เพราะเป็นธุรกิรที่มีฐานลูกค้าที่มั่นคงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

นายเสกสรร หอมรินทร์

รหัส 52127312068

การเงินการธนาคาร02

ธุรกิจร้านอาหารคึกคักรับบอลโลก

ช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ธุรกิจร้านอาหารในบ้านเราได้รับผลดี คึกคักตามไปด้วยมียอดลูกค้าเพิ่มกว่าปกติถึงร้อยละ 30

จากการสำรวจบรรยากาศร้านอาหารแถวรัชดาฯ และพระราม 9 ในช่วงค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก พบว่า มีประชาชนออกมารับประทานอาหารนอกบ้านจำนวนมาก ทั้งแบบครอบครัว และมากับกลุ่มเพื่อน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ชมการแข่งขันฟุตบอลจากจอขนาดใหญ่ที่ทางร้านจัดเตรียมไว้

เจ้าของร้านจุ่มแซบพระราม 9 ระบุว่า วันแรกที่มีบอลโลก ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเต็มร้านจากนั้นก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 30% จากช่วงปกติ เพราะลูกค้าต้องการบรรยากาศชมฟุตบอลเป็นกลุ่ม ๆ พร้อมกินดื่มอาหารไปด้วย

ส่วนเจ้าของร้านไอริสหมูกระทะ ได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อจูงใจลูกค้า ด้วยการแจกเข็มกลัดสัญลักษณ์บอลโลกและชิงรางวัล

เช่นเดียวกับร้านรัชดาเทอเรส ที่เชื่อว่าตลอดทั้งเดือนนี้ กลุ่มธุรกิจร้านอาหารคึกคักขึ้นแน่นอน หลังซบเซาเพราะผลกระทบทางการเมืองมานาน. – สำนักข่าวไทย

ร้านขายเสื้อกีฬา คึกคัก! กระแสรับบอลโลก

ร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อกีฬาในศรีราชา เริ่มมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เพื่อนำมาจำหน่าย พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ บริษัทต่างๆ มีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับเทศกาลบอลโลก

บรรยากาศช่วงก่อนแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อผ้ากีฬา ในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พบว่า เริ่มมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก2010 เพื่อนำไปสวมใส่

โดยเฉพาะสถานประกอบการ ร้านอาหาร ผับ บริษัท ที่มีการสั่งซื้อมากที่สุด เพื่อนำไปให้ลูกจ้างใส่ต้อนรับฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ถือว่าเสื้อทีมชาติแต่ละชาติมีสีสันกว่าทุกปี และเสื้อทีมชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010ได้รับสนใจมากที่สุด รองลงมาเป็นเสื้อทีมชาติต่าง ๆ

นายอนุศักดิ์ แก้วบรรจง เจ้าของร้านราชาสปอร์ต เปิดเผยว่าการจำหน่ายเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 มีการสั่งซื้อมากขึ้นเพื่อรองรับกระแสฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ส่วนราคาทางร้านไม่ขึ้นแต่อย่างใดเพราะเศรษฐกิจในช่วงนี้ไม่ดี เสื้อแต่ละตัวอยู่ที่ตัวละ 150 -160 บาท ทางร้านก็มีส่วนลดเหมือนกันสำหรับลูกค้าที่สั่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งในช่วงนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้านอาหาร ผับ ที่ซื้อไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับกระแสฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010

“มาม่า”ขายกระฉูดยอดพุ่งรับ เคอร์ฟิว-บอลโลก

“มาม่า” ขายกระฉูด รับวิกฤติการเมืองช่วงประกาศเคอร์ฟิว ต่อถึงฟุตบอลโลก เผย พ.ค.ยอดสูงสุดในรอบ 20 ปี เร่งเพิ่มกำลังผลิต ออกรสใหม่ “เย็นตาโฟ ต้มยำหม้อไฟ” ขยายตลาด ดันส่วนแบ่งตลาด 55% จากตลาดรวม 1 หมื่นล้าน

สำหรับเดือนที่มีการทำสถิติ สูงสุดนี้ คือ เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาโดยมาม่ามี การเติบโตถึง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ นอกจากสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ยอดขายในเดือนที่ผ่านมาเติบโตก็คือ การมีฟุตบอลโลกในเดือนมิถุนายน ที่เชื่อว่าผู้บริโภคก็มีการซื้อมาม่ากักตุนไว้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกนี้ ยังส่งผลให้ยอดขายมาม่าประเภทถ้วย หรือมาม่าคัพ เติบโตมากกว่าปกติคือ 20% เนื่องจากมาม่าคัพสะดวกต่อการรับประทาน

“เรา มีการทำวิจัยกับผู้บริโภคพบว่า สินค้าประเภทมาม่ามี บทบาทกับสังคมพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ผู้บริโภคจะนึกถึงสินค้า 2 อย่าง คือ น้ำดื่ม และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพราะมาม่าสามารถกินได้ทันที อีกทั้งยังหาซื้อสะดวกและราคาไม่แพง ดังนั้นมาม่าจึงถูกนำไปเป็นดัชนีชี้วัดกำลังซื้อของผู้ บริโภค เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ผู้บริโภคก็จะหาซื้อสินค้ามาตุนไว้ หนึ่งในนั้นก็คือ “มาม่า”ผู้บริหารนายสุรัตน์กล่าวต่อถึงภาพรวม ในช่วง 5 เดือน (มกราคม-พฤษภาคม) ว่า มาม่ามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 8%ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

สำหรับมาม่าเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ บริษัทสหพัฒนพิบูล คิดเป็นสัดส่วนที่ 30% จากยอดขายรวมทั้งหมดที่ปีนี้ตั้งเป้าไว้ 2.4 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 17%

บอลโลกดันยอดขายLCD เพาเวอร์มอลล์คาดพุ่ง55% ระบุขนาด40-50นิ้วแรงสุด

สำหรับจอแอลซีดีทีวีที่ขายดีจะมีขนาด 40 นิ้วขึ้นไป จนถึงขนาด 50 นิ้ว ที่มีสัดส่วนยอดขายรวมประมาณ 60% ของยอดขายจอแอลซีดีทีวีทั้งหมด แตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่จอแอลซีดีทีวีขนาด 32 นิ้ว จะขายดีสุด แสดงให้เห็นว่าลูกค้าต้องการซื้อจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับการดูฟุตบอลโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ยอดขายของบริษัทที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งก็มาจากได้จัดแคมเปญกระตุ้นการขาย และการที่มีพนักงานคอยให้การแนะนำสินค้าแต่ละรายการให้แก่ลูกค้า รวมถึงการมีสินค้าที่หลากหลาย โดยประเมินว่ายอดขายจอแอลซีดีทีวีตลอดฟุตบอลโลกครั้งนี้ของเพาเวอร์ มอลล์จะเติบโตประมาณ 50% ส่วนตลาดรวมจอแอลซีดีทีวีในช่วงฟุตบอลโลก คาดว่าจะเติบโตประมาณ 30% ทั้งนี้สินค้าที่ขายดีรับฟุตบอลโลกในครั้งนี้ ยังรวมไปถึงกลุ่มเครื่องเสียง มีการเติบโต 20% จากช่วงปกติ ที่ยอดขายจะเติบโต 5-10% เท่านั้น

นายอลงกรณ์ ชูจิตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ยอดขายในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกของบริษัทน่าจะเติบโตสูงถึง 30% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ ทำให้ขณะนี้สินค้าบางรุ่นขาดตลาดผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าในตลาด

ได้เปิดตัวแอลอีดีทีวี รุ่น อินฟีเนีย ลีฟ บอร์เดอร์เลส ซึ่งเป็นแอลอีดีทีวี 3 มิติ เข้ามาทำตลาดในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกด้วย ปรากฎว่าสามารถสร้างยอดขายเติบโตได้อย่างน่าพอใจ

เป๊ปซี่-โค้กโหนกระแสบอลโลก

ยักษ์ใหญ่วงการเครื่องดื่มเฮโลรับองศาเดือด เป๊ปซี่-โค้ก สาดความสดชื่นพ่วงแคมเปญฟุตบอลโลกต้านกระแสสุขภาพ คาดดันตลาดโตพรวด 10% ชาเขียวแผ่วขอโตตามสภาพตลาด เดินเกมเปิดตัวรสชาติใหม่ จุดพลุสงครามราคาโมเดิร์นเทรดกระทุ้งตลาดโตหน้าร้อน 10-20 %

น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มที่ขายในเรื่องของความสดชื่น หรือเล่นในเรื่องของอีโมชันแตกต่างจากเครื่องดื่มสองเซกเมนต์ น้ำผลไม้และชาเขียวที่มีจุดขายในเรื่องของมีประโยชน์ หรือฟังก์ชั่นนัล แต่เมื่อเทียบกับขนาดของตลาดแล้ว น้ำอัดลมเป็นตลาดใหญ่ที่สุดโดยมีมูลค่าถึง 30,000 ล้านบาท เพราะเป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในประเทศมาอย่างนมนาน โดยสภาพตลาดน้ำอัดลมปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 3% ขณะที่สภาพตลาดน้ำดำสัดส่วน 70%ของตลาดรวม ปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 5%

นายฐิติวุฒิ์ บุลสุข ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นปกติทุกปีตลาดน้ำอัดลมในช่วงซัมเมอร์จะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะถือว่าเป็นช่วงฤดูขาย แต่ปีนี้มีกระแสฟุตบอลโลกเข้ามาด้วย ยิ่งทำให้หวือหวามากขึ้นเป็นพิเศษ โดยปีนี้เฉพาะซัมเมอร์คาดว่าตลาดน้ำอัดลมจะมีอัตราการเติบโตได้ถึง 10% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ

นายชาลี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เป๊ปซี่ – โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ล่าสุดในช่วงหน้าร้อนนี้เป๊ปซี่ อุ่นเครื่องด้วยการทุ่ม 50 ล้านบาท ตอกย้ำกลยุทธ์สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งในช่วงฟุตบอลโลก โดยได้เปิดตัวแคมเปญนำร่อง ”เป๊ปซี่ ฟุตบอล ภายใต้แนว”คิดเต็มที่กับชีวิต”นำนักเตะระดับโลก 11 คน พร้อมด้วย 4 กิจกรรม นำโดย11 นักเตะสนั่นเมืองสร้างกระแสด้วยสื่อโฆษณาทั่วกรุงเทพ

นายอุดมศักดิ์ โสดารกษ์

ธุรกิจที่ควรจะให้สินเชื่อในช่วงบอลโลกนี้คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากธุรกิจโฆษณา  ที่มียอดพุ่งสูงมากเนื่องจากสินค้าหลายตัวต่างก็ทุ่มซื้อโฆษณากันอย่างเต็มที่เพื่อครองตลาด  ดังนั้นธุรกิจโฆษณาจึงเป็นธุรกิจที่ธนาคารควรอนุมัติสินเชื่อมากที่สุดในช่วงนี้  แต่อาจจะมียอดโฆษณาลดลงเมื่อหมดเทศกาลบอลโลก  ฉะนั้นธนาคารควรมีระยะเวลาในการปล่อยสินเชื่อที่สั้นลงในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง  เพื่อความแน่ใจในการชำระหนี้ของลูกค้า 

 

     

งบโฆษณาบอลโลกฟีเวอร์กระฉูด

          นายปารเมศร์ รัชไชยบุญ นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณาในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา เติบโต 10-11% หรือคิดเป็นเงินที่ใช้ผ่านสื่อโฆษณาต่าง ๆ ประมาณ 23,900 ล้านบาท โดยเฉพาะในช่วงเดือน พ.ค. มีอัตราการเติบโตสูงถึง 16% อัตราการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว ปัจจัยหลักที่เป็นสิ่งกระตุ้น คือ การแข่งขันฟุตบอลโลก สินค้าอุปโภค บริโภค ต่างก็โหมทำรายการส่งเสริมการขายรวมทั้งการประชาสัมพันธ์ ทั้งประเภทเครื่องดื่ม ฟิล์ม ชุดและอุปกรณ์กีฬา รวมทั้งภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัวแล้ว จึงทำให้เกิดการใช้จ่ายในการโฆษณามากขึ้น

          อย่างไรก็ตามคาดว่าทั้งปีอุตสาหกรรมโฆษณาจะมีอัตราการเติบโตได้ 12-15% หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 60,000 ล้านบาท ส่วนการที่จะมีอัตราการเติบโตได้ถึง 15% หรือไม่นั้น ต้องดูจากไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ว่าอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 และ 2 หรือไม่ เพราะในไตรมาสที่ 3 เป็นระยะเวลาที่ภาคธุรกิจต่าง ๆ อยู่ในช่วงที่ชะลอตัว ซึ่งเป็นวัฏจักรของธุรกิจ และจะกลับมากระเตื้องขึ้นในไตรมาสที่ 4 และไตรมาสแรกของปีต่อไป

          ในช่วง 5 เดือนแรกเม็ดเงินที่ใช้จ่ายในธุรกิจโฆษณาจำนวน 23,900 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วแบ่งเป็นผ่านทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ นิตยสาร สื่อโฆษณากลางแจ้ง โฆษณาในโรงภาพยนตร์ ตามลำดับ และธุรกิจที่จ่ายเงินเพื่อโฆษณามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทีเอ ออเร้นจ์ เอไอเอส ดีแทค และโทรศัพท์พร้อมใช้ วัน-ทู-คอล รวมแล้วมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ภาครัฐประมาณ 659 ล้านบาท และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 601 ล้านบาท และจะเห็นได้ว่าภาคธุรกิจที่เข้ามาซื้อสื่อ ล้วนเป็นบริษัทในประเทศมากกว่าบริษัทข้ามชาติ

          นอกจากนี้ในส่วนของสมาคมฯจะได้เสนอต่อภาครัฐ เพื่อพิจารณาเรื่องของจำกัดกฎเกณฑ์ที่ประเทศมาเลเซียได้กำหนด ในเรื่องการถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาต้องดำเนินการในประเทศมาเลเซียเท่านั้นจึงจะสามารถฉายในมาเลเซียได้

          อย่างไรก็ดี ทางสมาคมฯ ได้หารือร่วมกันเรื่องโครงการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการเรียกบริษัทโฆษณาเข้าไปเสนองาน เดิมที่ผ่านมาลูกค้าที่เรียกบริษัทโฆษณาเข้าไปเสนองานต้องจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทโฆษณารายละ 50,000 บาท แต่เมื่อเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ บริษัทโฆษณาบางแห่งก็จะไม่เก็บเงิน หรือลูกค้าจะฉวยโอกาสเรียกบริษัทโฆษณาเข้าไปเสนองานครั้งละหลายบริษัท แต่กลับนำแนวคิดไปผลิตงานเอง ซึ่งปัญหาส่วนนี้ต้องหารือร่วมกันระหว่างสมาชิกฯ เพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบ และสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งบริษัทโฆษณารายใหญ่ 15 บริษัท มีความเห็นสอดคล้องกันให้ลูกค้าเรียกบริษัทโฆษณาผ่านสมาคมฯ

 

อานิสงส์บอลโลกฟีเวอร์

                                                         สินค้าทุ่มงบซื้อโฆษณา
        นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงเดือน มิ.ย.นี้ที่เข้าสู่ช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 คาดว่าจะส่งผลดีให้เม็ดเงินในธุรกิจโฆษณาเติบโตเกิน 10% เนื่องจากเจ้าของสินค้าอุปโภคบริโภคหันมาให้ความสนใจกับกระแสฟุตบอลโลกมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเดิมที่เคยอัดงบโฆษณาในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ก็ยังเดินหน้าใช้งบตามปกติ ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหม่ก็เข้ามาใช้เงินผ่านสื่อโฆษณาเพื่อเกาะกระแสและสร้างสีสันมากขึ้น จึงคาดว่าธุรกิจโฆษณาในช่วงเดือนมิ.ย.ปีนี้ จะเติบโตกว่าปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะสื่อทีวี จากเดิมในช่วงเดือน มิ.ย. จะเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซั่นของธุรกิจโฆษณา
   
"ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงไตรมาส 2 และ 3 นี้ คาดว่าจะเติบโตเกิน 10% เช่นกัน เพราะเจ้าของสินค้ายังเดินหน้าทุ่มงบโฆษณาตามปกติ แม้เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองก็ตาม เพราะปีที่ผ่านมามีเจ้าของสินค้าหลายรายการชะลอการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อ จากความกังวลปัจจัยลบทางการเมือง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจและแบรนด์สินค้า ทำให้ปีนี้เจ้าของสินค้าต้องเดินหน้าทำกิจกรรมการตลาดตามปกติ คาดว่าภาพรวมธุรกิจโฆษณาในสิ้นปีนี้จะเติบโตมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ภาพรวมธุรกิจโฆษณาไม่มีการเติบโต"


   
นางสุภาณี เดชาบุรานานนท์ รองประธานกลุ่ม บริษัท มายแชร์ จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจซื้อโฆษณารายใหญ่ของประเทศ กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจโฆษณาในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เติบโตประมาณ 11.42% หรือมีมูลค่า 38,921 ล้านบาท.

อินเด็กซ์-อสมทชี้บอลโลกปลุกอีเวนท์โฆษณาฟื้น

อินเด็กซ์ฯ - อสมท มั่นใจกระแส "เวิลด์คัพ" ปลุกกิจกรรมและเม็ดเงินโฆษณาช่วงโลว์ซีซันคึกคัก คาดเม็ดเงินสะพัดกว่าพันล้าน ดันอุตฯโฆษณาโตสองหลัก

นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การชุมนุมทางการเมืองช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจการจัดกิจกรรม (อีเวทน์) สูญเสียรายได้ 400-500 ล้านบาท ขณะที่อินเด็กซ์ฯ เสียโอกาสในการจัดงานเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่จะเริ่มในวันที่ 11 มิ.ย.-11 ก.ค.นี้  เป็นปัจจัยกระตุ้นธุรกิจอีเวนท์ ที่เข้าสู่ช่วงโลว์ ซีซัน ไตรมาส 3 ให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง คาดว่าจะมีเม็ดเงินในการจัดงานอีเวนท์บอลโลกตลอด 1 เดือนกว่า 300 ล้านบาท

สำหรับทิศทางธุรกิจอีเวนท์ในครึ่งปีหลัง แบรนด์สินค้าจะใช้กลยุทธ์โปรโมชั่นกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อเร่งสร้างยอดขายที่สูญเสียโอกาสในช่วงกว่า 2 เดือนที่มีการชุมนุม โดยยังมั่นใจว่าภาพรวมเศรษฐกิจสิ้นปีนี้จะกลับมาเติบโตได้ จากปัจจัยกิจกรรมบอลโลก และการใช้จ่ายงบภาครัฐในเดือน ส.ค.-ก.ย.2553 ก่อนจบปีงบประมาณ

ด้านนายเขมทัตต์ พลเดช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักการตลาด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กระแสฟุตบอลโลกปีนี้ มีแบรนด์ยักษ์ใหญ่ 10 แบรนด์ ทั้งที่เป็น ออฟฟิศเชียล สปอนเซอร์ และคู่แข่งแบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์ ทุ่มงบการทำตลาดและโฆษณา คาดว่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาสะพัดผ่านสื่อทีวีประมาณ 1,000 ล้านบาท จากการร่วมถ่ายทอดสดการแข่งขันครั้งนี้ถึง 4 สถานี และผ่านเคเบิลทีวี ทรูวิชั่นส์ เชื่อว่าจะส่งผลให้งบโฆษณาช่วงโลว์ซีซันไตรมาส 3 ปีนี้ ลดลงไม่มากเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ และคาดว่าถึงสิ้นปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณายังเติบโตได้เป็นตัวเลข 2 หลัก หลังจากไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวประมาณ 10%

ในวันที่ 12-13 มิ.ย.นี้ อสมท ได้เตรียมจัดกิจกรรม งานถนนเทคโนโลยี 2553 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี  ด้วยงบลงทุนกว่า 20 ล้านบาท  ถือเป็นกิจกรรมด้านซีเอสอาร์ ใหญ่ที่สุดของ อสมท คาดว่าจะมีคนเข้างานกว่า 1 แสนคน

 

นายอุดมศักดิ์  โสดารักษ์

การเงินการธนาคาร 02

52127312061

 

 

 

นางสาวหัทยา กัววงศ์

ธุรกิจร้านอาหารคึกคักรับบอลโลก

ช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ธุรกิจร้านอาหารในบ้านเราได้รับผลดี คึกคักตามไปด้วยมียอดลูกค้าเพิ่มกว่าปกติถึงร้อยละ 30

จากการสำรวจบรรยากาศร้านอาหารแถวรัชดาฯ และพระราม 9 ในช่วงค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก พบว่า มีประชาชนออกมารับประทานอาหารนอกบ้านจำนวนมาก ทั้งแบบครอบครัว และมากับกลุ่มเพื่อน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ชมการแข่งขันฟุตบอลจากจอขนาดใหญ่ที่ทางร้านจัดเตรียมไว้

เจ้าของร้านจุ่มแซบพระราม 9 ระบุว่า วันแรกที่มีบอลโลก ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเต็มร้านจากนั้นก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 30% จากช่วงปกติ เพราะลูกค้าต้องการบรรยากาศชมฟุตบอลเป็นกลุ่ม ๆ พร้อมกินดื่มอาหารไปด้วย

ส่วนเจ้าของร้านไอริสหมูกระทะ ได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อจูงใจลูกค้า ด้วยการแจกเข็มกลัดสัญลักษณ์บอลโลกและชิงรางวัล

เช่นเดียวกับร้านรัชดาเทอเรส ที่เชื่อว่าตลอดทั้งเดือนนี้ กลุ่มธุรกิจร้านอาหารคึกคักขึ้นแน่นอน หลังซบเซาเพราะผลกระทบทางการเมืองมานาน. – สำนักข่าวไทย

ร้านขายเสื้อกีฬา คึกคัก! กระแสรับบอลโลก

ร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อกีฬาในศรีราชา เริ่มมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เพื่อนำมาจำหน่าย พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ บริษัทต่างๆ มีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับเทศกาลบอลโลก

บรรยากาศช่วงก่อนแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อผ้ากีฬา ในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พบว่า เริ่มมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก2010 เพื่อนำไปสวมใส่

โดยเฉพาะสถานประกอบการ ร้านอาหาร ผับ บริษัท ที่มีการสั่งซื้อมากที่สุด เพื่อนำไปให้ลูกจ้างใส่ต้อนรับฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ถือว่าเสื้อทีมชาติแต่ละชาติมีสีสันกว่าทุกปี และเสื้อทีมชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010ได้รับสนใจมากที่สุด รองลงมาเป็นเสื้อทีมชาติต่าง ๆ

นายอนุศักดิ์ แก้วบรรจง เจ้าของร้านราชาสปอร์ต เปิดเผยว่าการจำหน่ายเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 มีการสั่งซื้อมากขึ้นเพื่อรองรับกระแสฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ส่วนราคาทางร้านไม่ขึ้นแต่อย่างใดเพราะเศรษฐกิจในช่วงนี้ไม่ดี เสื้อแต่ละตัวอยู่ที่ตัวละ 150 -160 บาท ทางร้านก็มีส่วนลดเหมือนกันสำหรับลูกค้าที่สั่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งในช่วงนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้านอาหาร ผับ ที่ซื้อไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับกระแสฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010

“มาม่า”ขายกระฉูดยอดพุ่งรับ เคอร์ฟิว-บอลโลก

“มาม่า” ขายกระฉูด รับวิกฤติการเมืองช่วงประกาศเคอร์ฟิว ต่อถึงฟุตบอลโลก เผย พ.ค.ยอดสูงสุดในรอบ 20 ปี เร่งเพิ่มกำลังผลิต ออกรสใหม่ “เย็นตาโฟ ต้มยำหม้อไฟ” ขยายตลาด ดันส่วนแบ่งตลาด 55% จากตลาดรวม 1 หมื่นล้าน

สำหรับเดือนที่มีการทำสถิติ สูงสุดนี้ คือ เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาโดยมาม่ามี การเติบโตถึง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ นอกจากสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ยอดขายในเดือนที่ผ่านมาเติบโตก็คือ การมีฟุตบอลโลกในเดือนมิถุนายน ที่เชื่อว่าผู้บริโภคก็มีการซื้อมาม่ากักตุนไว้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกนี้ ยังส่งผลให้ยอดขายมาม่าประเภทถ้วย หรือมาม่าคัพ เติบโตมากกว่าปกติคือ 20% เนื่องจากมาม่าคัพสะดวกต่อการรับประทาน

“เรา มีการทำวิจัยกับผู้บริโภคพบว่า สินค้าประเภทมาม่ามี บทบาทกับสังคมพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ผู้บริโภคจะนึกถึงสินค้า 2 อย่าง คือ น้ำดื่ม และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพราะมาม่าสามารถกินได้ทันที อีกทั้งยังหาซื้อสะดวกและราคาไม่แพง ดังนั้นมาม่าจึงถูกนำไปเป็นดัชนีชี้วัดกำลังซื้อของผู้ บริโภค เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ผู้บริโภคก็จะหาซื้อสินค้ามาตุนไว้ หนึ่งในนั้นก็คือ “มาม่า”ผู้บริหารนายสุรัตน์กล่าวต่อถึงภาพรวม ในช่วง 5 เดือน (มกราคม-พฤษภาคม) ว่า มาม่ามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 8%ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

สำหรับมาม่าเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ บริษัทสหพัฒนพิบูล คิดเป็นสัดส่วนที่ 30% จากยอดขายรวมทั้งหมดที่ปีนี้ตั้งเป้าไว้ 2.4 หมื่นล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 17%

บอลโลกดันยอดขายLCD เพาเวอร์มอลล์คาดพุ่ง55% ระบุขนาด40-50นิ้วแรงสุด

สำหรับจอแอลซีดีทีวีที่ขายดีจะมีขนาด 40 นิ้วขึ้นไป จนถึงขนาด 50 นิ้ว ที่มีสัดส่วนยอดขายรวมประมาณ 60% ของยอดขายจอแอลซีดีทีวีทั้งหมด แตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่จอแอลซีดีทีวีขนาด 32 นิ้ว จะขายดีสุด แสดงให้เห็นว่าลูกค้าต้องการซื้อจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับการดูฟุตบอลโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ยอดขายของบริษัทที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งก็มาจากได้จัดแคมเปญกระตุ้นการขาย และการที่มีพนักงานคอยให้การแนะนำสินค้าแต่ละรายการให้แก่ลูกค้า รวมถึงการมีสินค้าที่หลากหลาย โดยประเมินว่ายอดขายจอแอลซีดีทีวีตลอดฟุตบอลโลกครั้งนี้ของเพาเวอร์ มอลล์จะเติบโตประมาณ 50% ส่วนตลาดรวมจอแอลซีดีทีวีในช่วงฟุตบอลโลก คาดว่าจะเติบโตประมาณ 30% ทั้งนี้สินค้าที่ขายดีรับฟุตบอลโลกในครั้งนี้ ยังรวมไปถึงกลุ่มเครื่องเสียง มีการเติบโต 20% จากช่วงปกติ ที่ยอดขายจะเติบโต 5-10% เท่านั้น

นายอลงกรณ์ ชูจิตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ยอดขายในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกของบริษัทน่าจะเติบโตสูงถึง 30% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ ทำให้ขณะนี้สินค้าบางรุ่นขาดตลาดผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าในตลาด

ได้เปิดตัวแอลอีดีทีวี รุ่น อินฟีเนีย ลีฟ บอร์เดอร์เลส ซึ่งเป็นแอลอีดีทีวี 3 มิติ เข้ามาทำตลาดในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกด้วย ปรากฎว่าสามารถสร้างยอดขายเติบโตได้อย่างน่าพอใจ

เป๊ปซี่-โค้กโหนกระแสบอลโลก

ยักษ์ใหญ่วงการเครื่องดื่มเฮโลรับองศาเดือด เป๊ปซี่-โค้ก สาดความสดชื่นพ่วงแคมเปญฟุตบอลโลกต้านกระแสสุขภาพ คาดดันตลาดโตพรวด 10% ชาเขียวแผ่วขอโตตามสภาพตลาด เดินเกมเปิดตัวรสชาติใหม่ จุดพลุสงครามราคาโมเดิร์นเทรดกระทุ้งตลาดโตหน้าร้อน 10-20 %

น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มที่ขายในเรื่องของความสดชื่น หรือเล่นในเรื่องของอีโมชันแตกต่างจากเครื่องดื่มสองเซกเมนต์ น้ำผลไม้และชาเขียวที่มีจุดขายในเรื่องของมีประโยชน์ หรือฟังก์ชั่นนัล แต่เมื่อเทียบกับขนาดของตลาดแล้ว น้ำอัดลมเป็นตลาดใหญ่ที่สุดโดยมีมูลค่าถึง 30,000 ล้านบาท เพราะเป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในประเทศมาอย่างนมนาน โดยสภาพตลาดน้ำอัดลมปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 3% ขณะที่สภาพตลาดน้ำดำสัดส่วน 70%ของตลาดรวม ปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 5%

นายฐิติวุฒิ์ บุลสุข ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นปกติทุกปีตลาดน้ำอัดลมในช่วงซัมเมอร์จะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะถือว่าเป็นช่วงฤดูขาย แต่ปีนี้มีกระแสฟุตบอลโลกเข้ามาด้วย ยิ่งทำให้หวือหวามากขึ้นเป็นพิเศษ โดยปีนี้เฉพาะซัมเมอร์คาดว่าตลาดน้ำอัดลมจะมีอัตราการเติบโตได้ถึง 10% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ

นายชาลี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เป๊ปซี่ – โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ล่าสุดในช่วงหน้าร้อนนี้เป๊ปซี่ อุ่นเครื่องด้วยการทุ่ม 50 ล้านบาท ตอกย้ำกลยุทธ์สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งในช่วงฟุตบอลโลก โดยได้เปิดตัวแคมเปญนำร่อง ”เป๊ปซี่ ฟุตบอล ภายใต้แนว”คิดเต็มที่กับชีวิต”นำนักเตะระดับโลก 11 คน พร้อมด้วย 4 กิจกรรม นำโดย11 นักเตะสนั่นเมืองสร้างกระแสด้วยสื่อโฆษณาทั่วกรุงเทพ

นายอำนาจ ด้วงโพนแร้ง

อาหารไทยตื่นรับบอลโลก คาดสร้างเม็ดเงิน5พันล

"สถาบันอาหาร" ฟันธงฟุตบอลโลก 2010 ช่วยปลุกอุตสาหกรรมอาหารไทยตื่นตัว คาดสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศไทยกว่า 5 พันล้านบาท

นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า “การแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม 2553 ณ ประเทศสาธารณ รัฐแอฟริกาใต้ คาดว่าจะเป็นโอกาสดีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งการค้าที่เกิดขึ้นกับตลาดในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และตลาดภายในประเทศของไทย คาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกของไทยและธุรกิจบริการอาหารไทยในแอฟริกาใต้สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากกว่า 5,000 ล้านบาท ในช่วงงานดังกล่าว

เพราะนอกจากเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของชาวแอฟริกาใต้ ซึ่งคาดว่าในปี 2553 มูลค่าการบริโภคอาหารในแอฟริกาใต้จะสูงถึง 32.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าคาดว่าจะอยู่ที่ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 4.44 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังมีผู้บริโภคของผู้เข้าแข่งขันจาก 32 ชาติ และนักท่องเที่ยวแฟนบอลจากทั่วโลกที่หลั่งไหลเดินทางเข้ามาในประเทศแอฟริกาใต้จำนวนมาก เพื่อติดตามเชียร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ผู้มีฐานะ มีกำลังการใช้จ่ายสูง และเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ”

ประมาณการ ว่า นักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.17 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อคนที่ประมาณ 48,277 - 215,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับ ดาวเด่นสินค้าอาหารของไทยที่คาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงงานดังกล่าว จะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวและธัญพืช โดยเฉพาะ “ข้าวนึ่ง” “ข้าวเจ้า” และ “ข้าวหอมมะลิ” รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง

โดยเฉพาะ “ปลาซาร์ดีนเนลล่า ปลาบริสลิงหรือปลาสแปรดกระป๋อง” “ปลาทูน่ากระป๋อง” และ “กุ้งขาวแช่เย็นจนแข็ง” เพราะเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารที่ทั้งชาวแอฟริกาใต้และผู้บริโภคจากชาติต่างๆ นิยมบริโภค สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารสำเร็จรูปจะเป็นอาหารปรุงแต่งที่ทำจากธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์จากธัญพืช และขนมหวานที่ทำจากน้ำตาลเป็นสำคัญ ส่วน “ธุรกิจร้านอาหารไทย” ผู้บริโภคที่จะเข้ามาร่วมงานฟุตบอลโลก 2010 มีหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม

ทำให้พฤติกรรมการบริโภคมีความหลากหลายตามไปด้วย ซึ่งร้านอาหารนานาชาติรวมถึงร้านอาหารไทยสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ของผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเคปทาวน์ และโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งเป็นแหล่งพักอาศัยและแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากที่สุด

ส่วนของตลาดภายในประเทศ คาดว่าในฟุตบอลโลก 2010 จำนวนคนไทยจะหันมาดูฟุตบอลโลกเพิ่มมากขึ้นกว่าการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 โดยจะมากกว่า 45 ล้านคน และเป็นกลุ่มคนอายุระหว่าง 15-59 ปี โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และกลุ่มคนโสด เนื่องจากฟุตบอลโลกเป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยสามารถผ่อนคลายจากความตึงเครียดต่างๆ ที่รุมเร้านับตั้งแต่ต้นปีได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ

ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร คาดว่า คนไทยที่ดูการแข่งขันฟุตบอลโลกที่บ้านจะบริโภคอาหารจานด่วน ขนมขบเคี้ยว (เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วทอด ข้าวเกรียบ ข้าวโพดคั่ว) น้ำผลไม้ นม น้ำอัดลม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เครื่องดื่มที่ช่วยไม่ให้ง่วงโดยเฉพาะกาแฟ/ชา และเครื่องดื่มบำรุงกำลังมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่ดูการการแข่งขันฟุตบอลโลกนอกบ้านจะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม กาแฟกระป๋องและเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นสำคัญ ส่งผลให้เป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง และธุรกิจบริการร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 และธุรกิจร้านอาหารจานด่วนที่บริการส่งถึงบ้าน รวมถึงธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทยควรพิจารณาปรับกลยุทธ์เชิงรุกรับมือกับกระแสบอลโลก เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เกิดขึ้นโดยอิงกระแสดังกล่าว และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างลงตัวตามพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลานั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตอาหารแช่แข็งควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับช่องทางการจัดจำหน่ายของตนเพื่อกระตุ้นยอดขายโดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ

ธุรกิจร้านอาหารคึกคักรับบอลโลก

ช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ธุรกิจร้านอาหารในบ้านเราได้รับผลดี คึกคักตามไปด้วย มียอดลูกค้าเพิ่มกว่าปกติถึงร้อยละ 30

จากการสำรวจบรรยากาศร้านอาหารแถวรัชดาฯ และพระราม 9 ในช่วงค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก พบว่า มีประชาชนออกมารับประทานอาหารนอกบ้านจำนวนมาก ทั้งแบบครอบครัว และมากับกลุ่มเพื่อน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ชมการแข่งขันฟุตบอลจากจอขนาดใหญ่ที่ทางร้านจัดเตรียมไว้

เจ้าของร้านจุ่มแซบพระราม 9 ระบุว่า วันแรกที่มีบอลโลก ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเต็มร้าน จากนั้นก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 30% จากช่วงปกติ เพราะลูกค้าต้องการบรรยากาศชมฟุตบอลเป็นกลุ่ม ๆ พร้อมกินดื่มอาหารไปด้วย

ส่วนเจ้าของร้านไอริสหมูกระทะ ได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อจูงใจลูกค้า ด้วยการแจกเข็มกลัดสัญลักษณ์บอลโลกและชิงรางวัล

เช่นเดียวกับร้านรัชดาเทอเรส ที่เชื่อว่าตลอดทั้งเดือนนี้ กลุ่มธุรกิจร้านอาหารคึกคักขึ้นแน่นอน หลังซบเซาเพราะผลกระทบทางการเมืองมานาน

นายอำนาจ ด้วงโพนแร้ง

การเงินและการธนาคาร 02

52127312069

นางสาวหัทยา กัววงศ์

ต่อจากที่ส่งไป สรุปเพิ่มเติม

สรุป

สำหรับธุรกิจต่างๆเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ปรากฎว่าสามารถสร้างยอดขายให้กล่าวหน้าเติบโตได้อย่างน่าพอใจจากยอดขายรวมทั้งหมดไม่ว่าจะธุรกิจร้านอาหาร เสื้อกีฬา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป TVจอLCD และเครื่องดื่มประเทน้ำอัดลมน้ำอัดลม ธุรกิจเหล่านี้ธนาคารสามารถให้สินเชื่อได้

ต้อนรับบอลโลกด้วยซุ้มสบายหมู-กุ้งกระทะบุฟเฟ่ต์

ร้านหมูกระทะจะเป็นแหล่งที่คนทุกเพศทุกวัยเข้าใช้บริการได้ทุกช่วง ไม่ว่าจะเป็นงานวันเกิด งานเลี้ยงๆ รวมถึงช่วงบอลโลกนี้ ร้านหมูกระทะจะมีคนเข้ามากต้องขึ้นอยู่กับการบริการ รวมถึงอาหารที่ให้บริการควรที่จะมีให้เลือกที่หลากหลาย ราคาต่อคนไม่ควรที่จะแพงมากนัก

ตัวอย่างอาหารที่มีในร้านหมูกระทะที่ประสบความสำเร็จ

ประเภทของสด

อาหารสดสำหรับปิ้ง – ย่าง หมูเนื้อแดงหมัก เต้าหู้ปลา หมู 3 ชั้น ก้ามปูเทียม ไส้อ่อน-ไส้ตัน ปูอัดทอด ตับหมู หมูนุ่ม ปูอัดสด มันแข็ง กั้งเนื้อปลา เนื้อวัวหมัก หมึกหลอด เนื้อปลา (กะพง) หมัก ปลาหมึกยัดไส้ ปลาหมึกสด อ ลูกชิ้นผัก เบค่อน หอยจ๊อ หมูยอไข่ลูกรอก เกี้ยวปลา ปลาสวรรค์ ลูกชิ้นหมู (นานาชนิด) ลูกชิ้นปลา (นานาชนิด) ลูกชิ้นเนื้อ (นานาชนิด)

อาหารทะเล อย่างเช่นปลาหมึกตัวโตมีทั้งหมึกหลอด หมึกใหญ่และหมึกแก้ว กุ้งขนาดใหญ่ เนื้อปลากะพงขาว หอยแครง หอยนางรม หอยแมลงพู่ เป็นต้น ปลาน้ำจืดสด เช่น ปลาบึกตัวใหญ่ ปลานิล ปลาทับทิม ผักสด อาทิผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง คื่นช่าย กะหล่ำ เห็ดหลากชนิด เส้น หมี่หยก เส้นแก้ว วุ้นเส้น

ประเภทอาหารปรุงสำเร็จ และอาหารนานาชาติ

อาหารประเภทปรุงสำเร็จ - ย่าง/เผา เช่น ปลาหมึกย่าง ปลาซาบะย่างซีอิ้วญี่ปุ่น คอหมูย่าง หมูหัน วัวหัน ปลาทับทิมเผาเกลือ ไก่ย่าง สเต๊ก เช่นสเต๊กหมู สเต๊กเนื้อ สเต๊กปลา ใส้กรอกย่างเป็นต้น อยากย่างแบบไหนเชิญทำได้ตามสบายมีบริการเตาให้พร้อม

อาหารปรุงสำเร็จ – อาหารญี่ปุ่น อาทิ เช่นเกี้ยวซ่า ข้าวห่อสาหร่าย ทั้ง หน้าไข่ปู ไข่กุ้ง ปลาไหลญี่ปุ่น ปลาแซลมอน ปลาซาบะ ปลาทูน่า ยำสาหร่ายเขียว ยำสาหร่ายแดง กุ้งอบวุ้นส้น ไข่หวาน ปูอัด กุ้งสด กุ้งอบเนย ผัดเห็ดเข็มทอง ผัดผักน้ำมันหอย ปลาหมึกผัดผงกะหรี่ ผัดเปรี้ยวหวานปลา พร้อม ข้าวผัดชนิดต่างๆ ข้าวสวย

อาหารประเภทปรุงสำเร็จ จากครัวร้อน ๆ อาทิเช่น เนื้อแดดเดียว ไก่ห่อชีส กุ้งพันตะไคร้ หมูแดดเดียว ไก่ซุ้มสบาย แหนมซี่โครงทอด ไก่ทอดงา แหนมปีกไก่ ไก่เหล้าแดง ทอดมันไข่เค็ม เอ็นไก่ทอด ทอดมันหัวปลี หนังไก่ทอด ทอดสมุนไพร ใส้กรอกห่อเบคอน สาหร่ายห่อเบค่อน เฟร้นฟรายด์ ปลาเส้นทอด ปลาไข่ญี่ปุ่นทอด หอยจ๊อ ทอด ปอเปี๊ยทอด และอีกหลายประเภทให้เลือกกว่า 50 รายการ

อาหารประเภทแซ่บ ๆ เขาก็มีเช่น ยำใส้ตัน ยำรวมมิตรทะเล ยำปลาหมึก ยำหมูยอ ยำแหนม ยำเล็บมือนาง ยำรวมมิตรตับหวาน พล่ากุ้ง ยำไข่ลูกรอก นอกจากนั้นยังมีบริการอาหารนานาชาติอย่างส้มตำไทย ส้มตำลาว ส้มตำปู เป็นต้น

ประเภทขนมหวาน ไอศกรีม ลูกชิด ซาหริ่ม มันเชื่อม ฟักเขียว วุ้นมะพร้าว ทับทิมกรอบ ลูกเดือย เฉาก๊วยไอศกรีม ไอศกรีมยี่ห้อป่าตัน (ไอศกรีมท้องถิ่นคู่เมืองเชียงใหม่)ไอศกรีมแมกโนเลียของหวาน เบเกอรี่ ชนิดต่างๆ โดนัท ขนมไทยชนิดต่างๆ

ประเภทผลไม้(เกรด A) อาทิเช่น สัปปะรดเนื้อหนึ่ง แตงโมแดง / เหลือง เนื้อหนึ่ง แอปเปิ้ล สาลี่ แก้วมังกร ส้มเขียวหวาน ส้มโอ พรุทราหอมสด องุ่น ทุเรียนหมอนทอง ลำไย ลิ้นจี่ ลองกอง พร้อมผลไม้ตามฤดูกาลอีกมากมายหลายชนิด

หมายเหตุ อาหารทุกอย่างทางร้านมีเติมเต็มให้ตลอด และมีแผนกตรวจสอบคุณภาพทุก ๆ 20 นาที มีเจ้าหน้าที่ประจำจุดแบบทุกจุดบริการแบบเป็นกันเองและเอาใจใส่ ลูกค้าทุกท่านแบบทั่วถึง อำนวยความสะดวกด้วยน้อง ๆ ที่น่ารักและรวดเร็วไม่ทำให้เสียอารมณ์ในการทานอย่างแน่นอน

ความยังยืนชองร้าน

12 ปีแห่งร้านหมูกระทะแสนอร่อย ที่ยั่งยืนอยู่คู่เมืองเชียงใหม่ เมืองท่องเที่ยวที่หลากหลาย ซุ้มสบายหมู-กุ้งกะทะบุฟเฟ่ต์ เปิดบริการความอร่อยที่เชียงใหม่เป็นร้านแรก ๆ ตั้งแต่ขายเป็นชุด ๆ หรือที่เรียกกันว่าหมูย่างเกาหลี อาหารที่โด่งดังเป็นอย่างมากในแถบภาคอีสานดินแดนถิ่นราบสูง ด้วยความเป็นลูกล้านนาของคุณพันธุ์กร กิ่งแก้ว ที่คุ้นเคยกับอากาศที่ค่อนข้างเย็นแทบทั้งปี จึงเล็งเห็นว่าอาหารชนิดนี้เป็นเมนูแบบร้อน ๆ น่าจะนำมาพัฒนารูปแบบเพื่อเปิดขายที่เชียงใหม่เมืองที่มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งจะเป็นเมนูที่ได้ทั้งอิ่มอร่อยและความอบอุ่นไปในตัว ซึ่งก็ไม่ผิดหวังเพราะร้านซุ้มสบายหมู-กุ้งกระทะเมื่อเปิดตัวขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2540 ก็ได้รับกระแสนิยมเป็นอย่างมาก บวกกับคุณภาพของอาหารและรสชาติที่ถูกปากตามด้วยน้ำจิ้มรสเด็ดของทางร้าน ทำให้ร้านขายดิบขายดีมาจนถึงทุกวันนี้และในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ของร้านหมูกระทะเมืองไทย ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากร้านทั่ว ๆไป ทั้งทางด้านคุณภาพอาหารและรสชาติทั้งอาหารสด อาหารสำเร็จ ผลไม้นานาชนิด พร้อมกับรวบรวมอาหารนานาชาติ มากกว่า 200 เมนู และเมนูพิเศษ ๆอีกมากมายให้เลือกชิมกันแบบเต็มอิ่ม ในราคาเบา ๆ เริ่มต้น เพียง 99 บาท เปิดบริการที่ชั้น 2 รายการอาหารก็จะมี อาหารสดสำหรับปิ้งย่าง สเต๊ก เเละของหวาน ในส่วนราคา 159 บาทนั้น ก็จะมีอาหารสด สำหรับปิ้งย่าง เมนูพิเศษ อาหารนานาชาติ อาหารปรุงร้อน ผลไม้ และของหวานต่างๆ แต่ถ้าลูกค้าอยากเลือกรับประทานกุ้งด้วยก็ราคาเพียง 179 บาท หรือถ้าหากอยากทานเนื้อโคขุนพิเศษก็สามารถสั่งได้เพราะทางร้านมีบริการขายแบบเป็นจาน ไว้คอยบริการกับลูกค้าที่ชื่นชอบเนื้อโคขุน พร้อมกับขยายตัวจากร้านที่เคยเป็นแค่เพลิงหญ้าคา มาเป็นร้านขนาดใหญ่และปัจจุบันขยายสาขาอีกถึง 4 สาขาทั่วเมืองเชียงใหม่

สาขาที่ 1. ร้านซุ้มสบายในสวน ตั้งอยู่ที่ ถนน.ศิริมังคลาจารย์ ตรงข้ามกับ 7-ELEVEN ใกล้กับซุ้มสบายสาขาใหญ่ โทร 053-894950-2

สาขาที่ 2. ร้านซุ้มสบายสุกี้-กระทะช้างเผือก ตั้งอยู่ที่ถนนมณีนพรัตน์ ก่อนถึงตลาดช้างเผือก โทร. 053-404969

สาขาที่ 3. ร้านซุ้มสบายสาขาหนองหอย ตั้งอยู่ที่ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน เลยตลาดหนองหอยไปนิดหน่อย โทร. 053-803004

สาขาที่ 4. ร้านซุ้มสบายสาขาหนองประทีป ตั้งอยู่ที่ ถนนเจริญเมือง ตรงข้ามโรงเรียนสาระสาส โทร. 053-260362

คำแนะนำ

ปรับเปลี่ยนรูปแบบของร้านหมูกระทะให้มีความหลากหลาย ทั้งอาหารสดอาหารสำเร็จพร้อมทานและให้ครบครันในทุกรูปแบบ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น และทางร้านจะเน้นที่สุดคือเน้นที่คุณภาพของอาหารทุกอย่าง ต้องสั่งตรงจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น และนอกจากนี้ทางเราได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้ค่อยบริการด้านการตรวจสอบคุณภาพอาหารและปริมาณอาหารทุกๆ 20 นาทีเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านเมื่อท่านเดินเข้ามาหาเราแล้ว กลับออกไปกับความประทับใจ พร้อมกับการปรับโฉมใหม่ทำร้านหมูกระทะให้ครบวงจรมากขึ้น ด้วยการทำโคเนื้อชั้นดี สายพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ จากประเทศฝรั่งเศษมาขยายพันธุ์เพาะเลี้ยง และส่งตรงมาสู่ครัวของร้านทุกวัน เพื่อให้ลูกค้าได้ลิ้มลองรสชาติของเนื้อโคแท้ๆ สด ๆ แบบทุกวัน พร้อมกับปรับปรุงวางระบบภายในร้าน ให้มีสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะมากที่สุด เพื่อให้เป็นมิติใหม่แห่งวงการหมูกระทะของเมืองไทย ซุ้มสบายหมู-กุ้งกะทะเป็นร้านขนาดใหญ่ ที่จัดแบ่งโซนอาหารได้อย่างลงตัวและสวยงามเป็นระเบียบโดยภายในจะจัดแบ่งเป็นโซนของชุดนั่งโต๊ะ และนั่งแบบโต๊ะญี่ปุ่นชอบแบบไหนก็เดินเข้าไปนั่งตามสบาย พร้อมบันเทิงทุกท่านด้วยโทรทัศน์จอใหญ่กับช่องยูบีซีทั่วโลก เย็นสบายด้วยพัดลมไอน้ำขนาดใหญ่ทั่วร้าน และสะดวกสบายด้วยสถานที่จอดรถอย่างกว้างขวาง พร้อมยามรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา ภายในมีบริการอาหารให้เลือกอย่างจุใจ กว่า 200 รายการ ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล ปลาน้ำจืดตัวใหญ่ อาหารไทย อาหารปรุงร้อน อาหารนานาชาติ ผลไม้สด ของหวาน ขนมหวาน และอีกมากมายจริง ๆ เราไปดูเมนูกันเลยว่ามีอะไรให้กินบ้าง

ธุรกิจโทรศัพท์เฮงรับบอลโลก

วันนี้แล้วที่สายตาของคนทั้งโลกจะกระชับวงล้อมเข้าสู่สนามแข่งขัน ที่มีฟุตบอลลูกกลมๆและยอดตุงตาข่าย เป็นเดิมพัน เพื่อกรุยเส้นทางไปสู่การเป็นเจ้าของถ้วยรางวัล “จูลส์ริเมต์”อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นสุดยอดในเกมลูกหนัง ณ ศักราช 2010 มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก (เวิลด์คัพ) เป็นรายการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีการจัดแข่งขันเป็นประจำทุก 4 ปีโดยจะเวียนสถานที่จัดการแข่งขันไปเรื่อย โดยในปีนี้ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพย์ในดินอย่างเพชร-ทองคำ และเป็นประเทศในตำนานแห่งการเหยียดสีผิว รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 11 มิถุนายนถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2010 แฟนพันธุ์แท้ที่จะติดตามชมการแข่งขั้นตลอดทั้งแมตช์ตลอดระยะเวลา 1 เดือนเต็มต่อจากนี้ไปนอกเหนือจากผู้มีหัวใจรักกีฬาฟุตบอลจะได้ลุ้นเชียร์ทีมแสนรักยามเมื่อลงสนามแข่งขัน ในเวลาเดียวกัน ยังเป็นเสมือน “เหมืองเพชร” และ“เหมืองทองคำ” นอกอาณาเขตแอฟริกาใต้ ของหลายๆธุรกิจและสินค้า และต่อไปนี้คือตัวอย่างธุรกิจที่มีผลประกอบการอันน่าอิจฉา ในช่วงเทศกาลแข่งขันฟุตบอลโลก มือถือดูทีวีฮิต จากจุดเริ่มต้นของแบรนด์อาตี๋ที่เข้ามาตีตลาดไทยเมื่อหลายปีก่อน ด้วยการรวมสุดยอดฟังก์ชั่นโทรศัพท์แบบออลอินวัน ทั้งดูหนัง ฟังเพลง ดูทีวี และมีสองซิม ในราคาประหยัด ได้จุดประกายให้ตลาดโทรศัพท์มือถือแบบดูทีวีได้ แจ้งเกิดอย่างเป็นทางการในบ้านเรา ฮิตขนาดที่อินเตอร์แบรนด์ยังต้องขยับลงมาเล่นด้วยสำหรับการแข่งขันในปีนี้ที่เริ่มแต่หัววัน น่าจะกระตุ้นให้หลายคนที่กลัวพลาดแมตช์สำคัญระหว่างเดินทางกลับบ้าน ตัดสินซื้อโทรศัพท์แบบดูทีวีได้ออกมาใช้ลุ้นทีมโปรดอีกเป็นจำนวนมาก

ความยั่งยืน

ธุรกิจร้านขายโทรศัพท์นั้นขายได้ตลอดทุกช่วง และโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตปัจจุบันมากใช้ในการติดต่อสื่อสาร และในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมีหลายรุ่นหลายยี่ห้อ มีหลายราคาตั้งแต่ราคาหลักพันจนถึงหลักหมืนบาททีเดียวร้านขายโทรศัพท์จึงมีความยั่งยืมพอสมควร

คำ แนะนำ

ควรหาโทรศัพท์รุ่นและยี่ห้อที่ตลาดต้องการและควรมีให้เลือกหลากหาลารวมทั้งราคาของเครื่องไม่ควรที่จะแพงมาก และต้องมีบริการรับซ่อมรับซื้อเครื่องมีสองเพื่อเอาใจลูกค้าที่มีทุนทรัพย์น้อย

นางสาว ภานุกานต์ ใจใส

52127312031

การเงินการธนาคาร01

นางสาวกรวิภา มีละกูล

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

1.ธุรกิจร้านอาหาร

2..ธุรกิจขายเครื่องดื่ม เหล้า เบียร์ น้ำอัดลม

3. ธุรกิจขายของที่ระลึกเกี่ยวกับฟุตบอลโลก

4. ธุรกิจการเพ้นท์เล็บและทาสีหน้าสีตัว

1.ธุรกิจร้านอาหาร เป็นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก เพราะ

ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ก็เป็นวิธีการเรียกลูกค่าให้มาเข้าใช้บริการในร้านของตนอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการชวนให้ลูกค่ามารับประทานอาหารในร้านของตนเพิ่มมากขึ้น และก็สั่งอาหารแบบไม่มีการเอ่ยปากเลยว่าแพง เพราะทุกคนมารับประทานอาหารในครั้งนี้ ก็เสมือนหนึ่งการมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มาสังสรรค์กันในกลุ่มเพื่อน กลุ่มคนทำงานด้วยกัน หรือแม้แต่การมาทานอาหารนอกบ้านของคนในครอบครัว ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกเช่นนี้ ส่วนมากจะได้รับการเข้าใช้บริการมาก และได้กำไรมากขึ้นจากการมารับประทานอาหารในแต่ละวัน เมื่อเปรียบเทียบจากวันธรรมดา ร้านอาหารใดที่มีการให้บริการที่ดี สร้างความประทับใจให้กลับลูกค้า ลูกค้าที่เคยมาใช้บริการแล้ว ก็จะกลับมาเข้ามาใช้บริการอีก เนื่องจากการให้บริการที่ประทับใจของทางร้าน

2.ธุรกิจขายเครื่องดื่ม เช่น เหล้า เบียร์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้

เป็นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก เพราะ

ร้านอาหารบางร้านก็มีเครื่องดื่มไว้ให้บริการ แต่งบางร้านก็ไม่มีเครื่องดื่มไว้ให้บริการ ดังนั้นจึงเกิดธุรกิจเครื่องดื่มขึ้นมา ธุรกิจเครื่องดื่มนี้ คือการขายเครื่องดื่มทุกชนิดพร้อมสถานที่นั่งดื่ม เครื่องดื่มที่ขายอาทิเช่น เหล้า เบียร์ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เป็นต้น บุคคลที่มาใช้บริการส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 15ถึง50ปี มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ธุรกิจร้านเครื่องดื่มนี้ มีจุดขายที่ดีตรงที่มีการนำเอาทีวีมาถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก2010 ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมีลูกค่ามาใช้บริการช่วงเวลาหลังหกโมงเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่ทุกคนว่างจากการทำงาน ว่างจากการเรียน เครื่องดื่มที่ผู้หญิงนิยมสั่งมาดื่มมากในเวลาดูฟุตบอลโลก2010 ก็คือน้ำผลไม้ น้ำกาแฟ น้ำอัดลม เหล้าเบียร์บ้างเล็กน้อยเป็นบางคน ส่วนผู้ชายก็นิยมสั่งเหล้าและเบียร์มาดื่ม เป็นรายการเครื่องดื่ม ที่มีการสั่งมากเป็นรายการอันดับหนึ่งของทางร้าน การพนันบอลโลกในรูปแบบที่ว่า ผู้แพ้พนันต้องเป็นผู้จ่ายเงินค่าเหล้าและเบียร์ในรอบการแข่งขันนั้นๆ จะพบเห็นการพนันในรูปแบบนี้บ่อยครั้งมากในร้านเครื่องดื่ม ทำให้ทางร้านได้ผลประโยชน์จากการพนันในครั้งนี้ และถ้าทางร้านมีการให้บริการที่ดีต่อลูกค้า ลูกค้าที่เคยมาใช้บริการเกิดความประทับใจ ลูกค้าท่านนั้นก็จะมาใช้บริการอีกในวันต่อๆไป เกิดเป็นลูกค้าประจำนับจากนี้และตลอดไป ไม่ว่าจะมีการถ่ายทอดสดหรือไม่มีการถ่ายทอดสด ก็ยังคงมีลูกค้าท่านเดิมที่เคยมาใช้บริการร้านเครื่องดื่มนี้ มาคอยให้การสนับสนุนทางร้านอีก ทุกครั้งที่พวกเขาต้องการมาสังสรรค์กันธรรมดาในวันสบายๆ

3.ธุรกิจขายของที่ระลึก

เป็นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก เพราะ

ก่อนเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 ใกล้จะมาถึง ก็มีการเตรียมทำสิ่งของที่ระลึก ไว้นำมาว่างขายกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตานักฟุตบอลตัวจิ๋ว เข็มกลัดรูปนักฟุตบอลคนโปรด รูปถ่ายทีมชาติต่างๆที่ตนชื่นชอบ พวงกุญแจรูปนักเตะและรูปลูกฟุตบอล รวมกระทั่งเครื่องประดับเล็กๆที่เป็นลายธงชาติต่างๆ เมื่อได้ไปเชียร์ฟุตบอลโลกในสถานที่ต่างๆ ที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ให้ลองสังเกตดูว่าเวลาเราไปในสถานที่เชียร์ฟุตบอลโลก ก็จะมีร้านขายของที่ระลึกแทบจะทุกที่ และทุกร้านที่เห็นก็จะมีผู้คนให้ความสนใจในสิ่งของที่ระลึกนั้นๆมาก สิ่งที่ได้สังเกตเห็นนี้ กำลังจะสื่อให้เห็นว่าธุรกิจการขายของที่ระลึกในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 เป็นธุรกิจหนึ่งที่ให้ผลกำไรมากในช่วงเวลานี้

4. ธุรกิจการเพ้นท์เล็บและทาสีหน้าสีตัว

เป็นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก เพราะธุรกิจการเพ้นท์เล็บนี้ส่วนใหญ่จะมีผู้หญิงให้ความสนใจมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากว่าการเพ้นท์เล็บเป็นการเสริมสวยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้หญิงกับความงามก็เป็นคู่กันมาตั้งนานแล้ว การเพ้นเล็บในช่วงฟุตบอลโลกนี้ลายที่ได้รับความนิยมคงไม่ผิดถ้าจะตอบว่าเป็นลายที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลก มีผู้ประกอบการหลายท่านเข้ามาลงทุนทำธุรกิจนี้ ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับจ่ายลูกค้ามาก เป็นการทำธุรกิจอีกหนึ่งที่ประสบผลกำไรมากในช่วงเวลาบอลโลก ส่วนการทาสีที่ตัวและที่หน้า ก็เป็นสีสันการเชียร์ฟุตบอลที่ได้อรรถรสอีกมุมมองหนึ่ง มีผู้ประกอบการหลายท่านมาลงทุนเช่าร้านรับทาสีที่หน้าและที่ตัว รูปที่นิยมทาสีกันอย่างแพร่หลาย ก็คือรูปธงชาติ รูปลูกฟุตบอล และรูปอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ให้ความสนใจในการทาสีลงบนใบหน้าและลำตัวเหมือนกัน รวมกระทั่งเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ก็ยังเห็นมีการทาสีที่ใบหน้าและลำตัว เป็นธุรกิจที่ผู้คนให้ความสนใจมาก ดังนั้นธุรกิจการทาสีที่ใบหน้าและลำตัวนี้จึงเป็นธุรกิจที่ได้กำไรดีในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก

คำตอบ บทสรุป

ธุรกิจทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นธุรกิจที่สำคัญและมีความยั่งยืนเพราะธุรกิจที่ทำล่วงแต่เป็นธุรกิจที่สามารถทำต่อเนื่องได้หลังจากหมดช่วงฟุตบอลโลก2010แล้วและธุรกิจที่กิจการนั้นกำลังทำอยู่เป็นการค้าขายที่ต้องกิน ต้องใช้กันอยู่ใน

ชีวิตประจำวัน จะไม่ค่อยมีผลต่อลูกค้าเเละยังทำต่อเนื่องได้อยู่ธนาคารก็ต้องมีแนวทางในการให้สินเชื่อบ้าง เพื่อการขยายกิจการในธุรกิจต่อไป

นางสาวกรวิภา มีละกูล การเงินการธนาคาร 02 ปี 2

รหัสนักศึกษา 52127312044

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

-บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด 

บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านดิจิตอลไลฟ์สไตล์ และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อผู้บริโภค ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่ล่าสุดร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนหลัก FIFA อย่างเป็นทางการ รวมไปถึงพันธมิตรทางธุรกิจของโซนี่ อันประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด, บรัษัท อาดิดาส (ประเทศไทย) จำกัด, สายการบินเอมิเรตส์ และบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายในงานแถลงข่าว Sony 2010 FIFA World Cup™ Caravan เพื่ออุ่นเครื่องกระแสฟุตบอลโลก 2010 FIFA World Cup™ ณ ประเทศแอฟริกาใต้ นำเสนอด้วยหลากหลายกิจกรรมสุดพิเศษ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ความบันเทิงให้ก้าวล้ำไปอีกระดับ พร้อมคืนกำไรให้ลูกค้าด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษ Sony Festival 2010 ลุ้นชิง ตั๋วเข้าชมฟุตบอลโลก และของรางวัลสุดพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย ประชาชนที่สนใจสามารถเข้าชมงานพร้อมเป็นส่วนร่วมหนึ่งของกิจกรรม Sony 2010 FIFA World Cup™ Caravan ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 6 ธันวาคม 2552 ณ ลานแฟชั่นฮอล สยาม พารากอน ก่อนที่จะเดินสายไปทีเดอะมอลล์ บางกะปิ ในกลางเดือนมกราคม และที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วานในเดือนเมษายนปีหน้า

ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของ FIFA มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ 2007 โซนี่ได้ทำการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การจัดการแข่งขัน 2010 FIFA World Cup™ ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ  รวมไปถึงการจัดโปรโมชั่น Sony Festival 2010 เพื่อคืนกำไร พร้อมมอบโอกาสสุดพิเศษให้แก่ลูกค้าโซนี่ได้ร่วมลุ้นรางวัลสุดพิเศษ แพ็คเกจตั๋วชมฟุตบอลโลก 2010 FIFA World Cup™ รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศแบบชิดติดขอบสนาม พร้อมตั๋วเครื่องบินและที่พักสุดหรู รวมถึงของรางวัลอื่น ๆ รวมมูลค่ากว่า   2 ล้านบาท

มร. โยจิ ฮิกาชิดะ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดคอนซูเมอร์ บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด กล่าวว่า “ในขณะที่สายสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างเราและ FIFA ได้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกันอย่างเข้มแข็ง และในโอกาสนี้ โซนี่ได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรผู้สนับสนุนหลักของ FIFA และพันธมิตรทางธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์เดียวกัน มาร่วมเดินทางนับถอยหลังไปกับมหกรรมฟุตบอลโลก 2010 FIFA World Cup™ ประเทศแอฟริกาใต้ เพื่อปลุกกระแสประสบการณ์ความบันเทิง สุดยอดเกมการแข่งขันระดับโลกให้แก่กองทัพคนรักฟุตบอลในประเทศไทยได้อย่างเหนือระดับ พร้อมกันนี้ เรายังหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ จะช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ให้กับโซนี่ ซึ่งเรามีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับกับไลฟ์สไตล์ที่หลายหลาก ตอบสนองความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคในทุกกลุ่ม”

Sony 2010 FIFA World Cup™ Caravan ประกอบไปด้วยกิจกรรมอุ่นเครื่องฟุตบอลโลก 2010 ก่อนใคร ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือจากโซนี่, โคคา-โคล่า, อาดิดาส, และสายการบินเอมิเรตส์ นำเสนอ กิจกรรมสุดพิเศษมากมาย อาทิ การโชว์ลีลาความสามารถพิเศษจากแชมป์เดาะบอลแห่งประเทศไทย โชว์เชียร์ลีดเดอร์แชมป์ประเทศไทย จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ นิทรรศการการแข่งขันฟุตบอลโลก FIFA World Cup™ ประวัติความเป็นมาและความน่าสนใจของเมืองและสนามกีฬาจัดการแข่งขัน รวมถึงการจัดแสดงลูกฟุตบอล รองเท้ากีฬา และชุดผู้เล่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงกิจกรรมความบันเทิงอื่น ๆ  อีกมากมาย อาทิ การวิเคราะห์เจาะลึกเกมการแข่งขันจากฟุตบอลกูรูชื่อดัง แจ็คกี้ อดิสรณ์ พึ่งยา และ ต.โต้ง อิสระพงษ์ ผลมั่ง และคอนเสิร์ตจาก Slur และการแข่งขันเกม PlayStation®3 EA SPORTS™ FIFA 10  เป็นต้น พร้อมกันนี้ โซนี่ ยังถือโอกาสคืนกำไรให้กับลูกค้าด้วยโปรโมชั่น Sony Festival 2010 สุดพิเศษด้วยกองทัพสินค้าจากโซนี่มากมายที่ยกขบวนกันมาลดราคาต้อนรับปีใหม่ และฟุตบอลโลก 2010 ก่อนใคร ด้วยข่อเสนอสุดพิเศษ อาทิ ส่วนลดพิเศษออนท็อป 10% และผ่อนนานสูงสุด 10 เดือน

ความยั่งยืนของธุรกิจ

            ธุรกิจร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นขายได้ตลอดทุกช่วง และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตปัจจุบันมากใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นธุรกิจนี้คงมีความยั่งยืนสูง

           

 

แนวทางทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ธนาคารควรจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำและใช้ระยะเวลาที่นานกว่าปกติ เพราะให้เป็นที่น่าสนใจแก่ลูกค้า

ทาง บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด ต้องจัดโปรโมชั่น เช่น สามารถซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าโดย 5 เดือนแรกไม่เสียดอกเบี้ย และทางบริษัทควรโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เพราะให้รู้จักสินค้าของเรามากขึ้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ และส่วนลด

 

นายประมุข   ฝักเจริญผล

52127312019

การเงินการธนาคาร01

นางสาวกาญจนา กิจสอาด

ช่วงฟุตบอลโลกธุรกิจที่มาแรงและน่าปล่อยสินเชื่อมีมากมายเช่น

ธุรกิจร้านอาหารที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอล เพราะช่วงนี้ลูกค้ามักจะมาเชียร์กันหลายๆคน ร้านอาหารก็จะขายดี ธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่เป็นสัญลักษณ์บอลโลก เช่น สติกเกอร์ เสื้อกีฬาแต่ละทีมชาติ กระติกน้ำ ถ้วยกาแฟ เป็นต้น ธุรกิจที่ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการรับชมถ่ายทอดสด เช่น หนวดกุ้ง หากจะปล่อยสินเชื่อควรปล่อยในระยะสั้นเท่านั้น และธุรกิจที่เห็นได้ชัดว่ามีการเจริญเติบโตมากช่วงนี้ก็คือการทายผลฟุตบอล

โดยการส่งไปรษณีย์ โดยมีบริษัทเข้าร่วมโครงการมากมาย ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริษัทวัชรพล จำกัด

( นสพ. ไทยรัฐ ) เกี่ยวกับการรายงานข่าวและบริษัทไปรษณีย์ไทยที่ร่วมโครงการทายผลฟุตบอลโลก

และควรปล่อยสินเชื่อระยะยาวสำหรับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างธุรกิจช่วงบอลโลก

ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดของประเทศ จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งโดย นายกำพล วัชรพล ปัจจุบันมี บริษัท วัชรพล จำกัด เป็นเจ้าของ, นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล เป็นผู้อำนวยการ และนายสราวุธ วัชรพล เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบัน 1,000,000 ฉบับ ราคาจำหน่าย 10.00 บาท

อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90

ระเบิดมหกรรมทายผลฟุตบอลโลก 2010 เพียงร่วมสนุกทายผลการแข่งขันว่าทีมใดจะก้าวขึ้นมาเป็น “แชมป์โลก” ส่งได้แล้ว วันนี้ - 10 ก.ค. 2553 นี้เท่านั้น

รางวัล รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 10 ล้านบาท 1 รางวัล รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 1 ล้านบาท 10 รางวัล

รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 100,000 บาท 100 รางวัล และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย

ของรางวัลรวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท กติกาการร่วมสนุก

1. ส่งไปรษณียบัตรทายว่า "ทีมชาติใด" จะเป็น "แชมป์ฟุตบอลโลก 2010"

2. ทายผล 1 ทีม ต่อ 1 ไปรษณียบัตร

3. ส่งไปรณียบัตรได้ไม่จำกัดจำนวน

4. ส่งมาที่ สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เลขที่ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กทม. 10900

* หมดเขตส่งไปรษณียบัตรวันที่ 10 ก.ค. 2553 โดยถือเอาวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ*

ไทยรัฐออนไลน์

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2553

นายอาซึชิ ฟูจิโมโตะ ประธานบริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด มอบรถยนต์ฮอนด้า แจ๊ซ จำนวน 2 คัน เพื่อร่วมโครงการไปรษณียบัตรทายผลแชมป์ฟุตบอลโลก 2010 กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยมีนายสราวุธ วัชรพล หน.บก.นสพ.ไทยรัฐ เป็นผู้รับมอบ

นสพ.ไทยรัฐ

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์

21 มิถุนายน 2553, 04:02 น.

ธุรกิจ

วันที่ 11 มิถุนายน 2553 14:21

สงขลามั่นใจโควต้าไปรษณีย์ทายผล 4 แสนฉบับขายเกลี้ยง

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจ

วันที่ 11 มิถุนายน 2553 14:21

ไปรษณีย์หาดใหญ่ เผยได้รับโควต้าไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอลโลก 2010 จำนวน 4 แสนฉบับ มั่นใจจำหน่ายหมดก่อนวันปิดรับทายผลแชมป์

นายวุฒิชัย อุตสาหะ ผู้ช่วยหัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผยว่า ในช่วงมหกรรมฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ทางบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้จัดกิจกรรมร่วมลุ้นโชค 30 ล้านบาท โดยการทายผลฟุตบอลโลกด้วยไปรษณียบัตร ซึ่งครั้งนี้ทางไปรษณีย์หาดใหญ่ ได้รับโควต้าไปรษณียบัตรเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 400,000 ฉบับ ขณะนี้ได้จำหน่ายออกไปแล้วจำนวนมาก แต่ยังไม่ชัดเจนถึงยอดตัวเลขของการจำหน่ายที่ชัดเจน

เนื่องจากบางส่วนได้จำหน่ายให้กับประชาชนผู้สนใจโดยตรงที่มาซื้อจากที่ทำการไปรษณีย์หาดใหญ่ และส่วนหนึ่งได้กระจายให้กับบุรุษไปรษณีย์ที่ประจำอยู่ที่ทำการไปรษณีย์หาดใหญ่ ประมาณกว่า 100 คน ออกตระเวนจำหน่ายไปรษณียบัตรให้กับประชาชนผู้สนใจ โดยกระจายให้เฉลี่ยคนละประมาณ 2,000 ฉบับ ฉะนั้นหากจะสรุปยอดการจำหน่าย ณ ตอนนี้ ยังไม่สามารถสรุปยอดตัวเลขได้ อย่างไรก็ตามหากบุรุษไปรษณีย์ของเราจำหน่ายหมด ก็สามารถมาขอเบิกไปจำหน่ายใหม่ได้

"ผมค่อนข้างมั่นใจว่าไปรษณียบัตรทั้งหมดจะสามารถจำหน่ายหมดเกลี้ยงก่อนที่จะถึงวันปิดรับการทายผลแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งนี้ สาเหตุที่มั่นใจ เนื่องจากในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ไปรษณียบัตรได้มีการพิมพ์ภาพเกี่ยวกับฟุตบอลโลกลงบนไปรษณียบัตรด้วย จึงอาจจะทำให้กลุ่มนักสะสมมาหาซื้อไปเก็บไว้สะสมด้วยอีกทางหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ร่วมสนุกกับการทายผลแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งนี้ไปด้วย"

นายวุฒิชัย กล่าวและว่า ขณะเดียวกันนั้นทางไปรษณีย์หาดใหญ่ ยังได้ร่วมมือกับทางห้างสรรพสินค้าไดอาน่าดีพาร์ทเม้นสโตร์ หาดใหญ่ จัดกิจกรรมรับกระแสฟุตบอลโลกครั้งนี้ด้วย คือ "ช็อปครบ 300 บาท ลุ้น 30 ล้านบาท" โดยทางห้างจะแจกไปรษณียบัตรให้เพื่อร่วมทายผลลุ้นรับโชคกัน ขณะเดียวกันยังได้จับมือกับทางร้านอาหารป่ายาง "อิ่มอร่อย ร่วมลุ้นโชค" ด้วยการแจกไปรษณียบัตรให้ร่วมทายผลฟุตบอลโลกลุ้นรับรางวัลด้วยเช่นกัน

โครงการทายผลแชมป์ฟุตบอลโลก 2006 ที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐจับมือกับ 10 ยักษ์ใหญ่วงการธุรกิจเมืองไทยที่ให้การสนับสนุน ประกอบด้วย บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทเจมส์ แกลอรี่ อินเตอร์เนชั่นแนล แมนูแฟคเจอเร่อ จำกัด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ร่วมกันแจกรางวัลมหาศาลเป็นเงินสดถึง 30 ล้านบาท แก่ ผู้โชคดีในการทายผลว่า ทีมใดจะคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2006 ไปครอง โดยรางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล เป็นเงินสด 10 ล้านบาท รางวัลที่ 2 มี 10 รางวัล เป็นเงินสดรางวัลละ 1 ล้านบาท และรางวัลที่ 3 มี 100 รางวัล เป็นเงินสดรางวัลละ 1 แสนบาท 8

ขณะเดียวกันยังมีผู้สนับสนุนเพิ่มเติมทยอยมอบของรางวัลให้เป็นรางวัลพิเศษอย่างไม่ขาดสาย ได้แก่ รางวัลพิเศษ 1 ชุด โฮมเธียเตอร์เอเจ (AJ) จำนวน 50 ชุด มูลค่า 1,495,000 บาท จากบริษัทคราวน์เทค แอดวานซ์ จำกัด รางวัลพิเศษ 2 รถจักรยานยนต์ซูซูกิ เบสท์ 125 สปอร์ต เอสเอ็กซ์ จำนวน 50 คัน ราคาคันละ 38,500 บาท มูลค่าทั้งสิ้น 1,925,000 บาท จากบริษัทไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด รางวัลพิเศษ 3 เครื่องเล่นดีวีดีติดรถยนต์ และพกพายี่ห้อเนกซ์ เบส รุ่น เอสดีวี 97 บี จอสีทีเอฟที 7 นิ้ว พร้อมทีวีจูนเนอร์ จำนวน 50 ชุด ชุดละ 23,900 บาท มูลค่าทั้งสิ้น 1,195,000 บาท จากบริษัทกู้ดลัค เวิลด์ บิสิเนส จำกัด รางวัลพิเศษ 4 รถยนต์เกีย คาเรนส์ เครื่องดีเซล 2000 ซีซี ซีอาร์ดีไอ 112 แรงม้า ราคา 1,190,000 บาท จากบริษัทยนตรกิจเกียมอเตอร์ จำกัด และรถยนต์เซียท รุ่นโทเลโด (TOLEDO) เครื่องยนต์เบนซิน 1800 ซีซี ราคา 1,379,000 บาท จากบริษัทยนตรกิจออโตโมบิลส์ จำกัด และรางวัลพิเศษ 5 สร้อยคอทองคำหนักเส้นละ 1 บาท จำนวน 120 เส้น มูลค่า 1,425,600 บาท จากบริษัทซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ต่อมาเมื่อวานนี้ (3 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังออกสำรวจบรรยากาศการซื้อหาไปรษณียบัตรตามที่ทำการ ไปรษณีย์ (ปณ.) ต่างๆ อาทิ ไปรษณีย์จตุจักร สามเสนใน หลักสี่ ลาดพร้าว ปรากฏว่าบรรดาคอลูกหนังทยอยมาซื้อไปรษณียบัตรกันอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะที่ไปรษณีย์ จตุจักร เจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมตราปั๊มจ่าหน้าซองถึง สนง.น.ส.พ.ไทยรัฐ ไว้บริการกับประชาชนอีกด้วย ทั้งนี้ นายบรรจง สุวรรณสุข หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการไปรษณีย์ขาออก ปณ.จตุจักร กล่าวว่า ที่ ปณ.จตุจักรนอกจากจะจำหน่ายไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอลโลกกับ น.ส.พ.ไทยรัฐแล้ว ยังได้จัดคูปองสมนาคุณให้กับลูกค้าที่เข้ามาซื้อไปรษณียบัตร จำนวน 100 ใบ จะได้รับคูปองชิงโชค โดยเขียนชื่อที่อยู่ลงในกล่องที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ เพื่อนำมาจับรางวัลหาผู้โชคดีรับรางวัล อาทิ โทรทัศน์ เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว ฯลฯ โดยจะจับรางวัลในวันที่ 14 ก.ค.นี้

ด้าน นายวุฒิพงษ์ โมฬีชาติ รองกรรมการผู้จัดการด้านปฏิบัติการไปรษณีย์ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าการจำหน่ายไปรษณียบัตรบอลโลกว่า ต้องยอมรับแฟนลูกหนังชาวไทยพัฒนาวิธีการส่งไปรษณียบัตรมากขึ้น จากเดิมที่แห่ซื้อจนแน่นที่ทำการไปรษณีย์ ก็ปรับเปลี่ยนไปใช้วิธีซื้อตุนไว้ล่วงหน้า ยอดการจำหน่ายไปรษณียบัตร ณ วันที่ 3 ก.ค. จำหน่ายในกทม.ได้ประมาณ 30 ล้านฉบับ ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด จำหน่ายไปประมาณ 50 ล้านฉบับ รวมเป็น 80 ล้านฉบับ จากที่ตั้งเป้าการจำหน่ายไว้ 170 ล้านฉบับ ถือว่าเป็นยอดที่น่าพอใจ ขณะเดียวกันทางบริษัท ไปรษณีย์ไทย ยังใช้ระบบขายตรงถึงตัวลูกค้าทุกตรอกซอกซอย โดยให้บุรุษไปรษณีย์พกไปรษณียบัตรติดตัวไปจำหน่ายถึงบ้านและรับออเดอร์จากลูกค้ามาอีกเพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับจากแฟนลูกหนังเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะการจำหน่ายไปรษณียบัตรที่มีตราประทับที่อยู่ของ น.ส.พ.ไทยรัฐ

นายวุฒิพงศ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงรอการแข่งขันรอบสี่ทีมสุดท้ายที่มีทีมผ่านเข้ารอบประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส และโปรตุเกส จึงทำให้แฟนบอลกะเก็งกันลำบากว่าทีมใดจะฝ่าด่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้เป็นผลสำเร็จ ประกอบกับคนเขียนทายทีมบราซิลกับอังกฤษมาเยอะ ซึ่งทั้งสองทีมตกรอบไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้แฟนบอลส่วนหนึ่งต้องเร่งซื้อหาไปรษณียบัตรกันใหม่ เมื่อถึงเวลานั้นคาดการณ์ได้เลยว่าที่ทำการ ปณ.ทุกแห่งจะเนืองแน่นไปด้วยแฟนบอลชาวไทยที่เป็นขาประจำในการลุ้นโชค ทายผลแชมป์ฟุตบอลโลก กับ น.ส.พ.ไทยรัฐ ทั้งนี้ ตัวอย่างมีให้เห็นแล้วเมื่อครั้ง น.ส.พ.ไทยรัฐจัดโครงการทายผลฟุตบอลโลก 2002 และฟุตบอลยูโร 2004 ที่เหลือสองวันสุดท้ายก็มีแฟนบอลแห่ซื้อหาไปรษณียบัตรกันมากถึง 50 ล้านฉบับ

นอกจากนี้ นายวุฒิพงศ์ยังกล่าวถึงกติกาในการทายผลว่า อยากจะเตือนผู้ที่จะส่งไปรษณียบัตรว่า ไปรษณียบัตรทุกใบต้องส่งผ่านระบบไปรษณีย์ของบริษัทไปรษณีย์ ไทยเท่านั้น และการเขียนคำทายห้ามใช้กระดาษพิมพ์ชื่อที่อยู่แล้วตัดแปะ รวมทั้งการติดรูปเกจิอาจารย์ชื่อดังต่างๆ และห้ามขีดฆ่าขูดลบใดๆทั้งสิ้น มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นไปรษณียบัตรที่ผิดกติกา ซึ่งขอให้แฟนบอลที่ไปซื้อหาไปรษณียบัตรกันแต่เนิ่นๆ แล้วรีบส่งคำทายผลมาภายในวันที่ 8 ก.ค.นี้ หรือก่อนการเตะนัดชิงชนะเลิศ 1 วัน โดยจะถือตราประทับบนแผ่นไปรษณียบัตรเป็นสำคัญ

ปณ.บอลโลก พิมพ์ 140 ล.ใบ นสพ.ไทยรัฐ

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 11 มิถุนายน 2553, 02:43 น.

ไปรษณีย์ไทยสุดคึก เตรียมรับกระแสบอลโลก ฟีเวอร์ จัดพิมพ์ ปณ.ฉบับ พิเศษ 140 ล้านฉบับ ดี ไซน์ เก๋เอาใจคอลูกหนัง 6 แบบ 6 สไตล์ เก็บไว้เป็นที่ระลึกก็ได้ ทายลุ้นแชมป์ก็ดี หลัง นสพ.ไทยรัฐ จับมือกับ 10 พันธมิตรธุรกิจชั้นนำ จัดโครงการทายผลแชมป์ฟุตบอลโลก 2010 ชิงรางวัลเงินสด 30 ล้านบาท พ่วงรางวัลพิเศษอีกกว่า 10 ล้านบาท บิ๊กบอสไปรษณีย์ไทยมั่นใจไม่ขาดตลาด มีตุนสำรองอีก 20 ล้านฉบับ

ไปรษณีย์ไทยเตรียมรับมือกระแสฟุตบอลโลกฟีเว่อร์ จัดพิมพ์ไปรษณียบัตรไว้รองรับโครงการทายผลแชมป์ฟุตบอลโลก 2010 กับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐไว้พร้อมแล้ว โดยเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ กก.ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) เปิดเผยถึงการเตรียมจำหน่ายไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอลระดับโลกครั้งนี้ว่า บริษัทไปรษณีย์ไทยฯ ได้จัดพิมพ์ไปรษณียบัตรทายผลแชมป์ ฟุตบอลโลกไว้ 120 ล้านฉบับ และสำรองไว้อีก 20 ล้านฉบับ คาดว่าจะเพียงพอต่อความต้องการของแฟนบอลอย่างแน่นอน ซึ่งครั้งนี้มีรางวัลกำนัลตอบแทนแฟนบอลอย่างจุใจเหมือนเช่นเคย เบื้องต้นมีรางวัลเงินสดมูลค่าสูงถึง 30 ล้านบาท และยังมีรางวัลอื่นๆเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก

นางสาวกาญจนา กิจสอาด

การเงินการธนาคาร 02

รหัส 52127312055

นางสาวชาลิสา เกิดทิพย์

เป๊ปซี่ โชว์ตัวเลขยอดขายฉลุยหลังกระหน่ำแคมเปญลูกหนัง 2010 เพิ่มเท่าตัว พร้อมต่อยอดแคมเปญแรงรับบอลโลกระลอกสอง

นางเจษฎากร ธราธิป ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์น้ำอัดลม บริาท เป๊ปซี่-โคล่า(ไทย)เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทได้เปิดแคมเปญต้อนรับกิจกรรมฟุตบอลโลกโดยทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เปิดตัวแคมเปญการตลาดครึ่งแรกในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วยแคมเปญการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนาดใหม่ๆออกสู่ตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ลิมิเต็ทเอดิชั่น ออกสู่ตลาด ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรก 8-9% สูงกว่าไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมาซึ่งมีการเติบโตเพียง 3-4% หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงกว่าเท่าตัว

ครั้งนี้จะเป็นการเดินเครื่องกิจกรรมทางการตลาดในช่วงครึ่งหลัง โดยใช้งบประมาณราว 60% ของงบแคมเปญรวมกว่า 100 ล้านบาทจัดกิจกรรมต่อเนื่องต่อทันที ซึ่งครั้งนี้จะเป็นกิจกรรมการตลาดที่เต็มรูปแบบภายใต้แคมเปญ "เชียร์สุดอารมณ์บอล" ซึ่งประกอบด้วย การเปิดโผ 5 กลยุทธ์การตลาดในรอบสุดท้ายนี้ ด้วยการเปิดตัว 3 ไอคอนหนุ่มรุ่นใหม่ "ชิน เต๋อ เก้า" พร้อมภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ การเปิดตัวเครื่องดื่มนวัตกรรมเป๊ปซี่สีทองเครื่องดื่มประจำการเชียร์บอล และแคมเปญแจกรถนิสสันมาร์ช ตลอด 22 วัน 22 คัน และอีเว้นท์ใหญ่กลางเมือง พาร์ค พารากอน ในงาน "เป๊ปซี่..เชียร์สุดอารมณ์บอล" รวมกิจกรรมสำหรับคนรักกีฬาฟุตบอล ด้วยการแปลงโฉมลานพาร์ค พารากอนให้เป็น ฮิวแมนสเตเดียม สนามฟุตบอลมนุษย์เคลื่อนที่ครั้งแรกของประเทศ ในวันที่ 5 มิถุนายน ศกนี้

นายนภ วงศ์พาณิช ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การเติบโตด้านยอดขายของเป๊ปซี่ในช่วงที่ผ่านมา 8-9% ถือเป็นความสำเร็จมากที่สุดอีกปีหนึ่งของเป๊ปซี่ เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของไตรมาแรกในปีที่ผ่านมาซึ่งมีอัตราการเติบโตเพียง 3-4% ซึ่งเป็นผลจากการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง และการเปิดตัวเครื่องดื่มในขนาดใหม่ๆที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น อัตราการเติบโตนี้มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 2 หลัก เนื่องจากการรุกตลาดอย่างต่อเนื่องของเป๊ปซี่ในรอบนี้ "เรามีทั้งแคมเปญใหม่ ขนาดใหม่ๆออกสู่ตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แคมเปญที่จัดขึ้นในรอบ 2นี้ถือเป็น โลคัล แคมเปญ แรกของเป๊ปซี่ ที่ได้เปิดตัวขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคคนไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญครั้งนี้นับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมาและถือว่าครั้งนี้เป็นการผสมผสานการทำแคมเปญการตลาดร่วมกันระหว่างโกบอลแคมเปญและโลคัลแคมเปญ"

สำหรับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน นี้ที่พาร์ค พารากอน เป๊ปซี่ยังได้จัดกิจกรรมการเปิดท้ายขายของ DIY เนท์หน้าสไตล์แอฟริกา พร้อมการเสริฟเครื่องดื่มประจำประจำเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งในงานนี้ยังได้จัดทำเสื้อนำเข้าจากแอฟริกา สกรีนลายบอลโลก นำรายได้จากการจำหน่ายในราคาตัวละ 1,000 บาทมอบให้กับมูลนิธิชัยพัฒนาโดยไม่หักค่าใช้จ่ายอีกด้วย

นางสาวชาลิสา เกิดทิพย์

การเงินการธนาคาร(02)

52127312046

ทีวีสามมิติจะเตะ อย่างน้อยฉันคิดอย่างนั้นหลังจากที่ดูฟุตบอลโลกใน 3D

เหมือนอยู่ในสนามฟุตบอล Durban ที่ถูกส่งเยอรมนีออสเตรเลียแม้ว่าแอฟริกาใต้เป็นครึ่งหนึ่งจากทั่วโลก ESPN 's Bristol, Conn. สำนักงานใหญ่ที่ฉันดู off - the shelf - 46 - นิ้ว Samsung LED 3D TV

TV : Watch Baig on ABC 's'America ศุกร์เช้า 04:30 ET หรือตรวจสอบรายชื่อท้องถิ่น

REVIEW : ชมเวิลด์คัพใน 3D ที่บ้าน โดยเฉพาะ close - ups และ replays, ออกอากาศ 3D เพิ่มความลึกและมุมมองที่ไม่สามารถที่จะซ้ำกันในทีวีสองมิติที่เราได้ดูปีสูงแม้ความหมายแต่อุปสรรคอยู่ก่อน 3D ไป primetime ในบ้านเริ่มต้นด้วยการที่ทีวี 3D ใหม่ไม่ได้ราคาถูก Samsung 8000 series 3D TV ฉันดูค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ $ 2,400 นอกจากนี้คุณทุกคน -- และผู้ที่ต้องการดูกับคุณ -- ต้องสวมคู่แพ่งของ 3D glasses ทีวี 3 มิติคือทั้งหมดวิโรธ ณ Consumer Electronics Show ในเดือนมกราคม ผู้ผลิตโทรทัศน์ trumpeted 3D บ้านกับฉวัดเฉวียนกว่าฝูงของ vuvuzelas แอฟริกาใต้ ชุดจาก Samsung, LG, Panasonic , Sony , Sharp, Vizio และมิตซูบิชิ hit มีทั้งร้านค้าหรือการทำทางของพวกเขา

แต่ folks ไม่ได้ไปใช้จ่ายสำหรับ 3D บันเทิงทีวีไม่น่าสนใจ และมีเพียงไม่กี่ 3D flicks ดูใน 3D พึ่งเริ่มเล่น Blu - ray

กีฬา Live อาจพิสูจน์ให้รอด แน่นอนฟุตบอลโลกแม้ว่ามีไม่ได้มากแข่งกีฬาดูใน 3 มิติทั้ง แต่ที่เปลี่ยนไป กับฟุตบอลโลกในขณะนี้เปิดช่อง ESPN 3D ที่ แต่จะไม่มีช่องอากาศเมื่อไม่มีการแข่งขันกีฬาที่แท้จริงอยู่ที่การ ESPN ได้ผลิตก่อน Masters Golf, Harlem Globetrotters game, และ 2009 USC กับวิทยาลัยของรัฐโอไฮโอในเกมฟุตบอล 3D เดือนถัดไปที่ YES Network, FSN Northwest และ DirecTV จะผลิต New York - Seattle yankees baseball เรือในเกม 3D ไม่กี่วันต่อมาเกม All - Star เมเจอร์ลีกเบสบอลที่จะออกอากาศใน 3D

แม้ว่าคุณจะมีทีวี 3D ที่คุณจะต้องสมัครเป็นสมาชิกผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่บนกระดาน ดู ESPN 3D คุณต้อง DirecTV, AT & T U - verse หรือ Comcast สายที่เรียกครอบคลุมเกี่ยวกับ 45000000 บ้าน ในบางกรณีคุณอาจจะต้องสลับกล่อง set - top สมาชิก U - ข้อจ่ายเบี้ยรายเดือน $ 10 สำหรับ 3D

เพิ่มเติม 3D ดู :

สวมแว่นตา . 3D TV Samsung ฉันดูได้เชื่อมต่อผ่านสาย HDMI มาตรฐาน เฉดสี ได้แก่ วาด, ห้องรางไฟ

I donned 3D"ชัตเตอร์ active"แว่นตาพวกเขาหรือป้องกันเลนส์ขวาและซ้ายเพื่อให้ได้รับตาแต่ละมุมมองที่ได้ถูกย้ายที่ทำให้ภาพลวงตา 3D ได้ แว่นตากับแบตเตอรี่ปกติราคา $ 150 คู่; รายละเอียดกับแบตเตอรี่ชาร์จค่าใช้จ่าย $ 200 Samsung ขายชุดเริ่มต้นด้วยสองคู่แก้วบวก Monsters กับ Aliens Blu - ray disc 3D สำหรับ $ 350 ราคาเหล่านี้คุณอาจจะไม่ได้รับเชิญมากเพื่อนไปดู และแว่นตาที่ทำงานบนทีวีอาจไม่ทำงานในอีก

ผมเริ่มตระหนักถึงการสวมแว่นตาที่เหมาะสมกว่าแว่นปกติ คุณจะได้รับมากกว่ามันสวยได้อย่างรวดเร็ว ฉันออกให้ที่ halftime และสั้นที่นี่และมีการตรวจสอบ e - mail ฉันไว้เก็บพวกเขาในการแข่งขันทั้งหมดโดยไม่ต้องปวดหัวหรือตาล้า

การหาจุดหวาน . ESPN Chuck tech guru Pagano แนะนำนั่งที่ไประยะทางประมาณ 3-4 ฟุตเท่าของความสูงของภาพซึ่งในกรณีของฉันหมายความประมาณ 51 / 2 ถึง 71 / 2 On Samsung, อย่างไรก็ตามคุณเสียบางลานตา 3 มิติถ้าคุณออกไปด้านข้าง

เวลาอาหาร 3D ESPN เป็นเหมือนภาพ 2 มิติดูเห็น แต่มัก 3D ดูจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ shot (ผู้ชม 3 มิติยังได้ยินชุดของตัวเองผู้ประกาศ . ) ในภาพมุมกว้างสูงผลไม่ได้ทั้งหมดที่แตกต่างจากประสบการณ์ 2D, ประเภทชอบดูจากพื้นที่ มุมมองหลากหลายของ 3D ที่ผ่านมาในมุมมองปลีกย่อย, มุม kicks, และในระหว่างเล่นใหม่จากเบื้องหลังสุทธิแสดงคนรักษาประตูออสเตรเลียจริงเดินไปจนถึงโปรแกรมดู TV หลังจากเตะเยอรมันหวุดหวิดพลาดเครื่องหมาย

บางครั้งผมรู้สึกว่าวัตถุที่ขอบของหน้าจอ -- พัดลมโบกธงเช่น -- ลำบากจากสัดส่วน บางครั้งผมสังเกตเห็น artifacts ลมจากภาพก่อนหน้านี้บนหน้าจอ

การใช้กราฟิก 3D ในระหว่างการแข่งขันจะบอบบาง, ไม่มีผลลูกเล่นเห็นในภาพยนตร์ 3D สิ่งที่ชนิดของการสงวนไว้สำหรับบางคนฉลาด 3D โฆษณาสำหรับ Sony, Gillette, Toy Story 3 และ ESPN

ดูฟุตบอลโลกใน 3D มีความสุขมาก แต่ใช้เวลาเล่นกีฬามากขึ้นและโปรแกรม 3D อื่น ๆ สำหรับผู้ดูและคนอื่น ๆ ที่มีหุ้นใน 3D เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของพวกเขา

สรุป

บริษัทโทรทัศน์ ซัมซุง ยังเป็นบริษัทที่ยั่งยืน สามารถผลิดโทรทัศน์ได้ตลอดและมีการขายได้อย่างต่อเนื่อง แต่เพราะช่วงนี้เป็นช่วงฟุตบอลโลก ทุกคนที่ดูบอลก็อยากจะดูโทรทัศน์ที่เหมือนจริงมากที่สุด ทำให้บริษัทซัมซุงผลิตโทรทัศน์ได้ดีในช่วงนี้

นางสาวกานดา นิ่มนวล

การเงิน การธนาคาร 02

52127312042

บริษัท แกรนด์สปอร์ต กรุ๊ป จำกัด บริการเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา

บริษัท แกรนด์สปอร์ต กรุ๊ป จำกัด มีบริษัทในเครือ 10 บริษัท เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า และจำหน่ายเสื้อผ้า ชุดกีฬา ภายใต้แบรนด์ Grand Sport, ONYX รวมทั้งจำหน่าย อุปกรณ์กีฬาภายใต้แบรนด์ Grand Sport และยังเป็นผู้แทนจำหน่าย อุปกรณ์กีฬา- เครื่องกายบริหาร ของแบรนด์ระดับโลก อีกด้วย

-เสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬาต่าง ๆ อาทิ เสื้อ-กางเกงฟุตบอล เสื้อ-กางเกงวอล เล่ย์บอล ชุดวอล์ม

-กลุ่ม Apparel / ชุดกีฬา

-กลุ่ม Equipment / อุปกรณ์กีฬา

-กลุ่ม Fitness / เครื่องออกกำลังกาย

กิจกรรมสนับสนุน จัดบลูธตอนรับกระแสบอลโลกนำชุดกีฬาต่างๆมาลดราคา จัดกิจกรรมร่วมสนุกกับบลูธ นำของมาเป็นจูงใจ สนับสนุนชุดแข่งขันทีม อุปกรณ์กีฬา เป็นตัวแทนในการจัดแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆหรือเป็นโครงการขึ้น

น.ส.ภมรรัตน์ จันทร์ประดิษฐ์ปี2

สาขา การนเงินการธนาคาร 01

บริษัท แกรนด์สปอร์ต กรุ๊ป จำกัด บริการเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา

บริษัท แกรนด์สปอร์ต กรุ๊ป จำกัด มีบริษัทในเครือ 10 บริษัท เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า และจำหน่ายเสื้อผ้า ชุดกีฬา ภายใต้แบรนด์ Grand Sport, ONYX รวมทั้งจำหน่าย อุปกรณ์กีฬาภายใต้แบรนด์ Grand Sport และยังเป็นผู้แทนจำหน่าย อุปกรณ์กีฬา- เครื่องกายบริหาร ของแบรนด์ระดับโลก อีกด้วย

-เสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬาต่าง ๆ อาทิ เสื้อ-กางเกงฟุตบอล เสื้อ-กางเกงวอล เล่ย์บอล ชุดวอล์ม

-กลุ่ม Apparel / ชุดกีฬา

-กลุ่ม Equipment / อุปกรณ์กีฬา

-กลุ่ม Fitness / เครื่องออกกำลังกาย

กิจกรรมสนับสนุน จัดบลูธตอนรับกระแสบอลโลกนำชุดกีฬาต่างๆมาลดราคา จัดกิจกรรมร่วมสนุกกับบลูธ นำของมาเป็นจูงใจ สนับสนุนชุดแข่งขันทีม อุปกรณ์กีฬา เป็นตัวแทนในการจัดแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆหรือเป็นโครงการขึ้น

น.ส.ภมรรัตน์ จันทร์ประดิษฐ์ปี2

สาขา การนเงินการธนาคาร 01

รหัส 52127312008

บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด

บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านดิจิตอลไลฟ์สไตล์ และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อผู้บริโภค ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่ล่าสุดร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนหลัก FIFAอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงพันธมิตรทางธุรกิจของโซนี่ อันประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคล่า(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อาดิดาส (ประเทศไทย) จำกัด, สายการบินเอมิเรตส์ และบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายในงานSony 2010 FIFA World Cup Caravan เพื่ออุ่นเครื่องกระแสฟุตบอลโลก 2010 FIFA World Cup ณ ประเทศแอฟริกาใต้ นำเสนอด้วยหลากหลากิจกรรมสุดพิเศษ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ความบันเทิงให้ก้าวล้ำไปอีกระดับ พร้อมคืนกำไรให้ลูกค้ายังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรผุ้สนับสนุนหลักของ FIFA และพันธมิตรทางธุรกิจของเราไม่ว่าจะเป็น โคคา-โคล่า, อาดิดาส, เอมิเรตส์, ฮุนได, พาวเวอร์ มอลล์ และสยาม พารากอน โดยเราคาดว่าจะเป็นการขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งเรามีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับกับไลฟ์สไตล์ที่หลายหลาก ตอบสนองความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคในทุกกลุ่ม

กิจกรรมสนับสนุน สุดพิเศษด้วยกองทัพสินค้าจากโซนี่มากมายที่ยกขบวนกันมาลดราคาส่วนลดพิเศษออนท็อป 10% และผ่อนนานสูงสุด 10 เดือน ลูกค้าที่ซื้อสินค้าโซนี่ครบทุก 3,000 บาท ยังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลสุดพิเศษตั๋วชมฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ และรอบรองชนะเลิศ ณ ประเทศ แอฟริกาใต้ มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท พร้อมรางวัลอื่น ๆ อาทิ โทรทัศน์สี แอลซีดี บราเวีย เครื่องเล่นดีวีดีบลูเรย์ และโน๊ตบุ๊ค VAIO เป็นต้น ลูกค้าโซนี่ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ภายในงาน Sony 2010 FIFA World Cup Caravan ยังมีสิทธิ์รับของที่ระลึก และโปรโมชั่นโดนใจอื่น ๆ อีกมากมายจากผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงาน

น.ส.สุพัตรา อินรัดดา ปี2

สาขา การนเงินการธนาคาร 01

รหัส 52127312007

เทศการฟุตบอลโลก

เทศกาลฟุตบอลโลกปี 2553จัดขึ้นช่วงวันที่ 11 มิถุนายนจนถึง 11 กรกฎาคม 2553ซึ่งนับว่าประเทศไทยโชคดีที่จะมีการถ่ายทอดสดให้ประชาชนได้ชมฟรีผ่านเครือข่ายโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง 9 และช่อง 11 เพราะในหลายประเทศแม้แต่จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะต้องดูผ่านเคเบิลทีวีที่จะต้องมีการชำระเงิน ถึงจะรับชมได้ ทำให้ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงค์ไปด้วย ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ติดตามฟุตบอลโลกจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลให้งบโฆษณาเทเข้ามาที่สื่อนี้เพิ่มขึ้นกว่า 10% รวมทั้งธุรกิจเครื่องดื่ม อาหารและเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททีวี ก็จะคึกคักตามไปด้วย ดังจะเห็นได้จากร้านอาหารและห้างร้านต่างๆ ก็จะจัดเทศกาลเชียร์บอล ห้างสรรพสินค้าก็จะมีเทศกาลแข่งกันขายโทรทัศน์ และอีกอุตสาหกรรมที่น่าจะได้รับผลกระทบทางบวก คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ที่มีรายได้จากการโฆษณาที่เพิ่มขึ้น ไปรษณียบัตร อาหารฟาสต์ฟู้ดตามสั่งกลุ่ม พิซซา และไก่ทอด ฯลฯ

และจากการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่าย ของผู้บริโภคในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่าช่วงดังกล่าวจะมีเม็ดเงินสะพัดเฉียด ๆ 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่เกิดจากการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและสังสรรค์ 19,000 ล้านบาท การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์รับสัญญาณ 2,205 ล้านบาท และอื่น ๆ อีก 1,234 ล้านบาท

ดังนั้นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010 ที่จัดขึ้นในประเทศแอฟริกา ก็คือธุรกิจประเภท ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจเนื่องจากการชมฟุตบอลมักจะมีการชมกันเป็นหมู่คณะเพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการชมและเชียร์ทีมที่ตนชื่นชอบ ทั้งนี้การเชียร์ส่วนใหญ่ก็จะมีการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มไปพร้อมๆกับการชมฟุตบอล และผู้ชมส่วนใหญ่มักจะชอบรับชมภาพการแข่งขันที่คมชัดและจอขนาดใหญ่ฉะนั้นร้านอาหารที่ควรปล่อยสินเชื่อจะต้องมีนโยบายปรับปรุงร้านให้มีบรรยากาศที่เข้ากับช่วงเทศกาลต่างๆและที่สำคัญอุปกรณ์ตกแต่งที่ขาดไม่ได้ภายในร้านเพื่อใช้ดึงดูดลูกค้าก็คือโทรทัศน์ที่มีจอภาพขนาดใหญ่ซึ่งอุปกรณ์ตกแต่งชนิดนี้สามารถใช้ได้ตลอดเวลาและทุกเทศกาล เพื่อส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ทางธนาคารต้องจัดโปรโมชั่นการปล่อยสินเชื่อเพื่อตกแต่งร้านตามเทศกาลงานต่างๆ เช่น งานปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง ฟุตบอลโลกและอื่นๆ

นางสาววราภรณ์ พระศรี

รหัส52127312029

การเงินการธนาคาร ปี2

ธุรกิจที่ควรจะปล่อยสินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก

1.นักเตะเปเปอร์มาเช่ของที่ระลึกฟุตบอลโลก

ภาพความคึกคักของการแข่งขันฟุตบอลโลก กำลังจะเริ่มขึ้น คนไทยให้ความสนใจกับการแข่งขันฟุตบอลโลกไม่แพ้ชาติใดในโลก ของที่ระลึกที่นำออกมาขายในช่วงการแข่งขัน ได้รับความสนใจไม่แพ้กระแสความแรงของฟุตบอลโลก และ บริษัท ฟัน เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ผู้ผลิตเปเปอร์มาเช่ ได้ออกคอลเลคชั่น ต้อนรับเทศกาลฟุตบอลโลก เป็นรูปนักเตะจาก 15 ชาติ

นายนิล็อค เพเก้น เจ้าของผู้ก่อตั้งและเจ้าของไอเดีย บริษัท ฟัน เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด กล่าวว่า รูปแบบของที่ระลึกฟุตบอลโลก ที่นำออกจำหน่ายในครั้งนี้ เป็นงานเปเปอร์มาเช่ โดยออกแบบเป็นรูปคนเตะฟุตบอล จุดเด่น ที่แตกต่างจากของที่ระลึกฟุตบอลโลกขายกันทั่วไป นอกจากการเป็นงานเปเปอร์มาเช่ แล้ว เรายังออกแบบ โดยการดูรายละเอียดจากวัฒนธรรมแต่ละชาติ และดึงมาเป็นสัญลักษณ์แทนชาตินั้น อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่น ออกแบบนักฟุตบอลใส่ชุดซูโม่ เป็นต้น

ของที่ระลึกฟุตบอล เป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งของบริษัท ซึ่งคอนเซ็ปต์ของเรา จะออกแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทำให้คนยิ้มได้ ปัจจุบัน โลกดูเศร้า เศร้า จากเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ จะทำอย่างไรให้คนได้ยิ้มแย้ม เมื่อเห็นผลิตภัณฑ์ ประกอบกับในช่วงนี้ มีการแข่งขันฟุตบอลโลก จึงได้คิดตัวนี้ ขึ้นมา งานออกแบบของเราจะเน้นความสนุนสนาน อยากให้คนมองอีกด้านหนึ่งของชีวิตว่ามีด้านที่สว่างอยู่ด้วยเสมอ ชีวิตของคนเราไม่ได้มีแต่ด้านมืดเพียงอย่างเดียว

สำหรับ คอลเลคชั่น ฟุตบอลโลก เริ่มคิดตั้งแต่เดือนมกราคม ที่ผ่านมา โดยเลือกทำมาด้วยกันทั้งสิ้น 15 ชาติ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นทีมเด่นที่จะเข้ารอบสุดท้ายของการแข่งขันฟุตบอลโลก ประกอบไปด้วย ฮอลแลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี บราซิล อังกฤษ เม็กซิโก อาเจนติน่า เยอรมัน สเปน ออสเตรเลีย อเมริกา สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลี การออกแบบแต่ละชาติ จะศึกษาว่า แต่ละประเทศมีวัฒนธรรมใดที่โดดเด่น ที่สามารถนำปรับใช้ได้บ้าง ประเทศที่เราต้องใช้เวลาในการออกแบบนานที่สุด คือประเทศบราซิล ซึ่งมาลงตัวโดยใช้สัญลักษณ์ เป็นตุ๊กตาแซมบ้าผมหยิกใส่ชุดฟุตบอลประจำชาติบราซิล

การที่เราเลือกออกแบบโดยดึงเอาวัฒนธรรมประจำชาติ มาใช้แทนสัญลักษณ์ ของนักฟุตบอลชาตินั้น แทนที่จะทำเป็นรูปหน้าของนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง หรือ สวมใส่ชุดที่เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติ เพราะถ้าทำเช่นนั้น ก็คงจะไม่แตกต่างจากสินค้าที่ขายอยู่ในท้องตลาด แต่เราต้องการจะทำอะไรที่มีความแตกต่าง เพื่อจะได้ไม่ต้องไปแข่งขัน กับคนอื่นๆ

ช่องทางการจัดจำหน่าย ออกงานแสดงสินค้า เพื่อการส่งออก และขายผ่านศูนย์การค้า โดยปัจจุบันวางขายอยู่ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน และเอ็มโพเรียม เนื่องจากสินค้าของเรา ราคาค่อนข้างสูง เพราะใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ งานจะปราณีต ราคาจึงสูงเมื่อเทียบกับงานเปเปอร์มาเช่ที่ขายทั่วไป ลูกค้าคนไทยมองว่า แพงเกินไป แต่มีลูกค้าคนไทยบ้างกลุ่มที่พอจะมีเงิน สามารถซื้อได้ก็ยินดีที่จ่ายในราคาที่แพงกว่า เพราะจากการออกงานแสดงสินค้าส่งออก ในช่วงหลังมีลูกค้าคนไทยให้ความสนใจ และซื้อสินค้าของเรามากขึ้น และ อยากให้ทุกคนมองว่างานของเราเป็นงานศิลปะ งานขายไอเดีย จะได้ไม่รู้สึกว่าแพงเกินไป

สำหรับช่องทางจัดจำหน่ายหลัก เป็นตลาดส่งออก สัดส่วนการส่งออกประมาณ 90% และขายในประเทศประมาณ 5-10% ประเทศที่ส่งออกเกือบทั้งหมดจะเป็นประเทศในแถบยุโรป ถึง 75% ราคาขายในยุโรปแพงกว่าในประเทศไทยประมาณ 3 เท่า ซึ่งราคาของตุ๊กตานักเตะ ขายในประเทศไทย 675 บาท

นายนิล็อค เพเก้น เป็นชาวฮอลแลนด์ ได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เป็นนักออกแบบ เริ่มจากออกแบบเครื่องประดับ กระเป๋าถือ และเฟอร์นิเจอร์ แต่เขาคิดจะทำสิ่งใหม่ และเป็นธุรกิจของเตนเอง เมื่อได้มีโอกาสเดินทางมาประเทศไทย ขณะที่ขับรถอยู่ เขาได้เห็นชาวบ้านกำลังทำตุ๊กตากระดาษอยู่ รู้สึกว่าน่าสนใจมากจึงได้เริ่มทำและออกแบบด้วยตนเอง จนในที่สุดก็เริ่มธุรกิจของตนเอง สินค้าเด่นที่คนไทยคุ้นเคย คือ งูสายรุ้ง

ทั้งนี้ หลายคนจะรู้จักเขาในนามของงานเปเปอร์มาเช่ แต่จริงแล้ว ยังมีงานไฟเบอร์กลาส งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ โดยมีแผนที่จะทำสินค้าออกจำหน่าย ในเร็วๆ นี้ ภายใต้แบรนด์ NILOC

2.กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า

สินค้าที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงทุกครั้งที่มีการ แข่งขันกีฬาระดับโลกอีกประเภทคือ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะหมวด "จอภาพ" ซึ่งขณะนี้เทคโนโลยีได้ก้าวมาสู่จอแอลอีดี ทีวี (LED TV) และ 3ดี แล้ว ขณะที่แอลซีดี (LCD) ก็ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง

นายอลงกรณ์ ชูจิตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าแอลจี เปิดเผยว่า สินค้าที่จะเห็นความคึกคักชัดเจนก็คือ หมวดจอภาพ ทั้งแอลอีดี แอลซีดี และซีอาร์ที ทีวี โดยการแข่งขันของหมวดจอภาพสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ตลาดคือ คอนซูเมอร์ และกลุ่มคอมเมอร์เชียล

สำหรับกลุ่มคอนซูเมอร์ปีนี้ที่จะเป็นไฮไลต์คือ การเปลี่ยนจากจอซีอาร์ทีมาเป็นแอลซีดีทีวี ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริโภคบางกลุ่มอาจชะลอการซื้อเนื่องจาก ต้องการรอแคมเปญบอลโลก โดยขนาดที่ช่วยไดร์ฟตลาดกลุ่มนี้ให้ขยายตัวคือ ขนาด 32 นิ้ว

ส่วนกลุ่มคอมเมอร์เชียล เชื่อว่าผู้ประกอบการทั้งที่เป็นห้างร้าน โรงแรม ร้านอาหาร ผับ บาร์ต่างๆ จะเปลี่ยนทีวีมาเป็นแอลซีดี และการเปลี่ยนจะให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากราคาจำหน่ายแอลซีดีปัจจุบันมีถูกกว่าเมื่อเทียบกับ 4 ปีที่แล้วที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลก หรือเมื่อ 2 ปีก่อนที่มีบอลยูโร

ขณะที่สปอนเซอร์รายใหญ่อย่างโซนี่ ถือความได้เปรียบเรื่องการเป็นสปอนเซอร์หลักของฟุตบอลโลก ได้เตรียมกิจกรรมต่างๆ เพื่อทำตลาด ล่าสุดจับมือพันธมิตรส่งแคมเปญรับบอลโลกระลอกแรก เพื่อหวังขยายฐานลูกค้าไปทุกกลุ่ม

2.1 บริษัทโซนี่

นายโยจิ ฮิกาชิดะ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดคอนซูเมอร์ บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่โซนี่เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ บริษัทจะจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในกิจกรรมสำคัญคือ การร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจของโซนี่ทำแคมเปญร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาโซนี่ได้จัดคาราวานโปรโมทกิจกรรม ภายใต้ชื่อ "โซนี่ 2010 ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ คาราวาน"

นอกจากความร่วมมือกับพันธมิตรแล้ว โซนี่ยังได้จัดแคมเปญต่างหาก “โซนี่ เฟสติวัล 2010” ที่ร้านตัวแทนจำหน่าย โดยลูกค้าที่ซื้อสินค้าโซนี่ ครบ 3,000 บาท ลุ้นตั๋วชมฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศและรอบรองชนะเลิศ และสินค้าอื่นๆ โดยแคมเปญนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อเดือนธ.ค. 2552 ถึง 16 ก.พ. 2553

"เรามั่นใจว่ากระแสฟุตบอลโลกฟีเวอร์จะเกิดขึ้น แน่นอน เพราะคนไทยชอบฟุตบอล โซนี่เป็นสปอนเซอร์หลักของฟุตบอลโลกมาตั้งแต่ปี 2007 จนถึง 2014 เชื่อว่าการทำแคมเปญจะช่วยขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ ได้ เพราะบริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ซึ่งแนวโน้มผู้บริโภคจะใช้ช่วงเวลานี้เปลี่ยนจากจอแก้ว หรือซีอาร์ที ทีวี มาเป็นแอลซีดี ทีวี ขนาดที่จำหน่ายดีจะเป็นจอขนาดที่ใหญ่ขึ้นคือ 40 นิ้วขึ้นไป" ผู้บริหารกล่าว

แหล่งข่าวระบุว่า ราคาของจอแอลซีดี ทีวี ขนาด 32 นิ้วในช่วงของการแข่งขันบอลโลก อาจจะลดลงต่ำกว่าหมื่นบาทจากการทำโปรโมชั่นจากเดิมจอขนาดใหญ่เช่นนี้ต้องมี ราคาเกิน 13,000 บาทขึ้นไป สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าค่ายที่เป็นสปอนเซอร์หลักอย่างโซนี่ ออกมาทำกิจกรรม แต่เชื่อว่าค่ายอื่นๆ ก็เตรียมฉวยโอกาสนี้จัดแคมเปญ เพื่อกระตุ้นยอดขายเช่นกัน

2.2บริษัท เพาเวอร์บาย

นางสอางทิพย์ อมรฉัตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด ศูนย์รวมจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า ปีนี้เพาเวอร์บายจะร่วมมือกับซัพพลายเออร์จัดแคมเปญมากขึ้น ทั้งผู้ประกอบการและสถาบันการเงินต่างๆ โดยการจัดแคมเปญนั้นคาดว่าจะแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากเวลาการถ่ายทอดของปีนี้ตรงกับช่วงไพร์มไทม์ หรือเป็นช่วงเวลาที่ไม่ดึกมาก

อย่างไรก็ตาม เพาเวอร์บายเชื่อว่าปีนี้การแข่งขันจะไม่เน้นเรื่องการตัดราคา หรือเปิดสงครามราคากันมาก เนื่องจากปัจจุบันราคาของแอลซีดีถูกกว่าอดีตอย่างมาก โดยขณะนี้กำลังวางแผนการจัดแคมเปญ ซึ่งช่วงที่มีแข่งขันฟุตบอลโลก หมวดจอภาพของเพาเวอร์บายจะเติบโตประมาณ 30%

"แคมเปญคงมาออกในรูปแบบของการผ่อน ดอกเบี้ย 0% นอกจากหมวดจอภาพแล้ว สินค้าที่น่าจะคึกคักขึ้นมาด้วยก็คือ โฮมเธียเตอร์ และมือถือ เช่น มือถือดูทีวีได้ บอลโลกน่าจะช่วยกระตุ้นสินค้าเหล่านี้ด้วย สำหรับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เมื่อถึงช่วงเวลาการแข่งขันเชื่อว่าผู้บริโภคจะเปรียบเทียบแคมเปญของค่ายไหน จัดแคมเปญแรง จะช่วยดึงดูดการตัดสินใจของผู้บริโภคได้ง่าย เช่น ชิงตั๋วไปดูบอลโลก"

3.ธุรกิจเครื่องดื่ม โคคา - โคลา เป๊ปซี่

นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้ซึ่งอยู่ในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้สินค้าและบริการจะใช้งบโฆษณาและจัดแคมเปญกระตุ้นกำลังซื้อหลายกลุ่ม ทั้งแบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์หลักและแบรนด์คู่แข่งที่ไม่เป็นสปอนเซอร์ต่างจะ แข่งขันกันทำการตลาดหลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้ช่วงการแข่งขันจะมีเงินโฆษณาและกิจกรรมสะพัดกว่า 2,000 ล้านบาท

ทุกครั้งที่มีการแข่งขันกีฬาทัวร์นาเมนท์ระดับ โลก แบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์หลักจะใช้งบโฆษณาสูงอยู่แล้ว แต่แบรนด์คู่แข่งในสินค้าประเภทเดียวกันก็จะใช้งบประมาณไม่แตกต่างกัน เพื่อรักษาฐานลูกค้า ฟุตบอลโลกครั้งนี้โคคา- โคลา เป็นเมน สปอนเซอร์ ข้างฝ่ายเป๊ปซี่ ก็จะมีแคมเปญ โดยใช้นักฟุตบอลระดับโลกมาจัดกิจกรรมการตลาดแข่งขันกันเหมือนทุกครั้งที่ ผ่านมา" นายวิทวัส กล่าว

ทั้งนี้ ทุกช่วงที่มีการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลกไม่ว่าจะเป็นโอลิมปิก หรือฟุตบอลโลก จะเป็นปัจจัยบวกช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมโฆษณาเติบโตกว่าปกติราว 10% โดยเฉพาะการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้อยู่ช่วงไตรมาสที่ 2 และ ที่ 3 ของปี ซึ่งเป็นช่วงโลว์ซีซันของอุตสาหกรรมโฆษณาพอดี จึงเชื่อว่าจะส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาทั้งปีเติบโตราว 5% สูงกว่าปีก่อนที่เติบโตเพียง 0.11% หรือมีมูลค่า 9 หมื่นล้านบาท

ผู้จัดทำ

นางสาว นฤมล โคตรเนตร

การเงินการธนาคาร 52127312036

ธุรกิจที่น่าปล่อยสินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

ในช่วงฟุตบอลโลกจะเห็นได้ว่าหลากหลายธุรกิจเตรียมพร้อมกับช่วงฟุตบอลโลก

ธุรกิจที่ควรจะให้สินเชื่อได้แก่

ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า

ธุรกิจไฟฟ้าคึกคัก

เพราะ หลังจากที่ช่องสัญญาณการรับส่งสัญญาณจานดาวเทียม ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใส่รหัส ในการรับส่งสัญญาณ ส่งผลกระทบต่อการรับชม การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นอย่างมาก ทำให้คอบอลชาวสตูล ที่รับชมการแข่งขันฟุตบอลโลกผ่านจานดาวเทียม ต้องประสบปัญหาดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก โดยร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าในเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีประชาชนแห่กันมาซื้อเสาอากาศทีวีและเสาอากาศหนวดกุ้งอย่างไม่ขาดสาย เพื่อนำไปปรับสัญญาณเสาอากาศ ให้สามารถรับชมฟุตบอลโลก ขณะที่ร้านค้า ร้านอาหาร ที่เคยติดตั้งจอขนาดใหญ่ถ่ายทอดสดฟุตบอล เพื่อเรียกลูกค้าให้มาอุดหนุน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

เจ้าของร้านศิริชัยโทรทัศน์ เปิดขายอุปกรณ์ไฟฟ้า กล่าวยืนยันว่า มีประชาชน ร้านอาหาร ร้านน้ำชา ที่มีจอขนาดใหญ่ ไว้บริการลูกค้าในช่วงบอลโลก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้จานดาวเทียม ต่างพามาซื้อเสาอากาศทีวีกันเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการปรับสัญญาณทีวีในการชมฟุตบอลโลกแทน หลังจากช่องสัญญาณดาวเทียวถูกตัด ซึ่งที่ร้านขายสินค้าดีมาก โดยลูกค้าจะเลือกซื้อเสาอากาศ และเสาอากาศหนวดกุ้ง ที่มีราคาตั้งแต่ 100 - 200 บาท โดยราคา 200 บาท จะขายดีกว่า เนื่องจากมีคุณภาพดี โดยยอมรับว่า ช่วงนี้จะขายเสาอากาศทีวีได้วันละ 20 - 30 อัน ทำให้ทางร้านต้องมีการสั่งเสาอากาศทีวีเพิ่ม เพื่อที่จะให้มีไว้จำหน่ายอย่างเพียงพอ กับความต้องการของลูกค้า

บมจ.อาร์เอส

รายได้จากการจัดกิจกรรมจากการแข่งขันฟุตบอลโลก เช่น การส่ง SMSและยังมีรายได้โดยเฉพาะการดาวน์โหลดที่มีมากขึ้นค่ะ

โดย นายดามพ์ นานา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บมจ.อาร์เอส (RS) เปิดเผยว่า

ในไตรมาส 2/53 คาดว่ารายได้ของบริษัทจะเติบโตมากกว่า 50% จากไตรมาส 1/53 ที่มีรายได้ 540 ล้านบาทเนื่องจากจะมีการรับรู้รายได้จากเทศกาลฟุตบอลโลกในไตรมาสนี้มากถึง 80% ส่วนอีก 20% ที่เหลือจะไปรับรู้ฯ ในไตรมาส 3/53 ทั้งนี้ บริษัทคาดหมายรายได้จากการได้สิทธิเป็นผู้บริหารการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก จำนวน 500 ล้านบาท โดยยังไม่รวมรายได้อื่น ๆ จากการจัดกิจกรรมจากการแข่งขันฟุตบอลโลก เช่น การส่ง SMS

"ตอนนี้เรามีกำไรจากโปรเจ็คฟุตบอลโลกแล้ว 100 ล้านบาท จึงทำให้เชื่อว่าในไตรมาส 2/53 จะสามารถล้างขาดทุนสะสมจากงบรวมที่มีอยู่ 88.3 ล้านบาทได้หมดและยังมีรายได้จากธุรกิจเพลง โดยเฉพาะการดาวน์โหลดที่มีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ในปีนี้ รายได้และกำไรของบริษัทจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น"

ธุรกิจจำหน่ายเสื้อกีฬา

ร้านจำหน่ายเสื้อกีฬา เพราะ เสื้อกีฬาคึกคักแฟนบอลหาซื้อเสื้อทีมฟุตบอลชาติต่างๆที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก

ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะเริ่มในวันนี้(11 มิ.ย.) บรรดาแฟนบอลชาว จ.สงขลา ทุกเพศทุกวัยต่างพากันไปหาซื้อเสื้อทีมฟุตบอลของชาติต่างๆ ที่ชื่นชอบกันอย่างคึกคัก เพื่อใช้สวมใส่เชียร์ในระหว่างที่ลงแข่ง ทำให้ร้านจำหน่ายชุดกีฬาทุกแห่งในจ.สงขลา เช่น ในย่านตลาดกิมหยง อ.หาดใหญ่ มีลูกค้าเข้าไปเลือกซื้ออย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน โดยเจ้าของร้านจำหน่ายชุดกีฬา เผยว่า ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ต้องสั่งออเดอร์เสื้อกีฬามาสต๊อกเอาไว้ 1-2 เท่าจากยอดการจำหน่ายปกติ โดยเฉพาะชุดแข่งขันของทีมใหญ่ เช่น อังกฤษ สเปน บราซิล อาเจนติน่า เยอรมัน อิตาลี หรือแม้แต่ชุดของเจ้าภาพแอฟริกา ก็ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน รวมถึงสินค้าของที่ระลึกที่เป็นสัญลักษณ์ของทีมต่างๆก็ขายดีมีลูกค้ามาหาซื้อเช่นกัน

ธุรกิจร้านอาหาร โดยเฉพาะธุรกิจบริการด่วนส่งถึงบ้าน (เดลิเวอรี)

บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป

ร้านอาหารสไตล์อิตาเลียน เดอะพิซซ่า คอมปะนี ที่ฉวยโอกาสในช่วงฟุตบอลโลกปีนี้ ขยายเวลาธุรกิจเดลิเวอรีถึงเวลา 01.30 น. จากช่วงปกติ 24.00 น. ด้วยเช่นกัน

แอนดี้ โฮลแมน รองประธานกรรมการและผู้จัดการทั่วไป เดอะพิซซ่า คอมปะนี ประเทศไทย และแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป กล่าวว่า การเพิ่มระยะเวลาบริการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั่วโมง เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายแฟนบอลที่ติดตามการแข่งขันทีมชาติฟุตบอลที่ชื่นชอบ

และเพื่อเพิ่มทางเลือกในการให้บริการผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย บริษัทยังได้เปิดตัวโปรโมชัน “ชุดอิ่มคุ้ม 299 บาท” ประกอบด้วย พิซซ่า สปาเกตตี และปีกไก่บาร์บีคิวอยู่ในชุดโปรโมชันดังกล่าว เพื่อเป็นการคืนกำไรให้กับลูกค้า และยังเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ซึ่งโปรโมชันดังกล่าวจะมีไปถึงวันที่ 28 ก.ค.นี้

“หลังเปิดตัวโปรโมชันดังกล่าวเข้าทำตลาด คาดส่งผลให้มียอดขายเพิ่มขึ้นจากปกติไม่ต่ำกว่า 5% ขณะที่ภาพรวมยอดขายในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 15% ซึ่งในส่วนของงบการทำกิจกรรมทางการตลาดที่บริษัทได้เตรียมไว้ในปีนี้ เพื่อทำโปรโมชันสินค้าทุก 2 เดือน จะอยู่ที่ประมาณ 50-70 ล้านบาท” นายโฮลแมน กล่าว

บริษัทยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

ผู้บริหารร้านอาหารบริการด่วน (คิวเอสอาร์) แบรนด์ เคเอฟซี และพิซซ่า ฮัท ที่แม้ว่าจะไม่ได้ขยายเวลาเดลิเวอรีเพิ่มขึ้นสำหรับบริการเคเอฟซี แต่ก็ไม่ยอมตกกระแสบิ๊กอีเวนต์นี้เช่นกัน

แววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้บริหารแบรนด์เคเอฟซี กล่าวว่า ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก เคเอฟซี ได้สานต่อกิจกรรม KFC 7 Shoot เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์แบรนด์เคเอฟซีที่เป็นมากกว่าแบรนด์อาหาร แต่เป็นผู้นำด้านกิจกรรมไลฟ์สไตล์ ซึ่งแตกต่างจากร้านอาการแบรนด์อื่นๆ โดยเน้นเข้าถึงลูกค้าในระดับชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

นอกจากนี้ แบรนด์เคเอฟซียังได้จัดชุดโปรโมชันเพื่อต้อนรับเทศกาลฟุตบอลโลก เพื่อร่วมสนุกสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการส่งถึงบ้าน เคเอฟซี เดลิเวอรี 1150 เมื่อสั่ง “ชุดวิงซ์ชู้ต” ประกอบด้วย ไก่ทอด 5 ชิ้น ไก่วิงซ์แซ่บ 3 ชิ้น ไก่ป๊อป 1 กล่อง มันบด 1 ถ้วย ทูน่า คอร์น สลัด 1 ถ้วย และรับฟรีทันที ไก่วิงซ์แซ่บอีก 3 ชิ้น โดยให้บริการจัดส่งในเวลา 22.00 น. และ 24.00 น.

เห็นได้ชัดร้านอาหารอินเตอร์แบรนด์เกือบทุกค่ายต่างร่วมลงชิงชัยในสมรภูมิฟาสต์ฟู้ดตลอด 1 เดือนเต็มในครั้งนี้ เพื่อหวังเป็นหนึ่งทางเลือกให้กับผู้บริโภค ที่ต่างเดินเกมชูโปรโมชันใหม่ๆ และเพิ่มเวลาในการจัดส่งมากขึ้น จากโอกาสใหญ่ 4 ปีมีเพียง 1 ครั้งเท่านั้น

สรุป

ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า บมจ.อาร์เอส ธุรกิจจำหน่ายเสื้อกีฬา ธุรกิจร้านอาหาร โดยเฉพาะธุรกิจบริการด่วนส่งถึงบ้าน (เดลิเวอรี) เป็นธุรกิจที่ยังยื่นถึงแม้ว่าการแข่งขันฟุตบอลโลกจะจบลง ธุรกิจก็ยังสามารถที่จะดำเนินต่อไปได้อีกเพราะธุรกิจเหล่านี้มีกลยุทย์ในการดึงดูดลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

น.ส.ปวีณา กรพิมาย

การเงินการธนาคาร 02

รหัส 52127312037

ทีมชาติ เยอรมัน ทีมชาติ ฝรั่งเศส ทีมชาติ อังกฤษ

ธุรกิจเครื่องประดับ บอลโลก คริสตัล

เป็นธุรกิจที่น่าสนใจน่าจับตามองในช่วงฟุตบอลโลก 2010 นี้เป็นอย่างมากเพราะเป็นธุกิจที่ทำเครื่องประดับ เช่น ต่างหูลายธงของทีมชาตินักเตะที่คุณชื่นชอบ หรือจะเป็นสร้อยข้อมือ แหวน สร้อยคอ พวงกุญแจต่างๆ ของทุกทีม เราชอบแบบไหน ชอบอะไร ชอบทีมชาติไหนเราสามารถสั่งทำได้ตามที่เราต้องการ ธุรกิจนี้จึงได้รับความนิยมค่อนข้างมาก ผู้คนทุกเพศทุกวัยให้ความสนใจที่จะสั่งทำเครื่องประดับที่ตนต้องการ เลือกทีมชาติที่ตนชื่นชอบเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010 ก็จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องประดับ บอลโลก คริสตัล เพราะเป็นธุรกิจที่มีความคล่องตัวในการจำหน่ายสูง ราคาที่จัดจำหน่ายก็จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของสิ่งของที่ลูกค้าต้องการ และมีความสะดวกในการสั่งซื้อ สั่งทำ เพราะลูกค้าสามารถเข้าไปเลือกดูรูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ทาง http://www.maycrystal-gallery.com มีรูปแบบให้เลือกมากมายหลายอย่างตามที่เราต้องการ และเราสามารถสั่งทำ สั่งซื้อได้ที่เว็ปไซต์นี้เลย นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีผู้คนสนใจสั่งทำเป็นจำนวนมาก ธุรกิจเครื่องประดับเป็นธุรกิจที่สามารถปรับเปลี่ยนลุกได้ตามกระแสนิยมในช่วงเทศกาลต่างๆได้อย่างคล่องตัว ที่นอกเหนือจากเทศกาลฟุตบอลโลกแล้ว ธุรกิจประเภทนี้จึงมีรายได้ตลอดเวลา ธุรกิจเครื่องประดับจึงเป็นธุรกิจที่ควรจะให้สินเชื่ออีกประเภทหนึ่งในช่วงนี้

นางสาวรัดเกล้า ทองคำ

รหัส 52127312025

การเงินการธนาคาร หมู่ 01

ธุรกิจรองเท้าฟุตบอล

เป็นธุรกิจที่น่าสนใจในช่วงฟุตบอลโลกเป็นอย่างมาก เพราะคนต้องการรองเท้าแบบฟุตบอลโลกมากเพราะช่วงฟุตบอลโลกจะมีการคิดรูปแบบรองเท้าเป็นสัญลักษณ์ฟุตบอลโลก ทำให้การขายรองเท้าช่วงฤดูฟุตบอลนั้นขายได้ง่าย ย่อมทำให้กิจการเกิดการกำไรแต่ถ้าธนาคารให้สินเชื่อแก่ ร้านรองเท้านั้น จะทำให้มีต้นทุนในการขายรองเท้ามากขึ้น เช่น การสั่งชื้ออุปกรณ์มาทำรองเท้าและค่าแรงงานในการทำรองเท้าเพื่อให้มีความต้องการของลูกค้าในเทศกาลฟุตบอลโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการสั่งซื้อ

แนวทางให้มีลูกค้าต่อเนื่องควรให้ลูกค้าได้สินเชื่อจากธนาคารเพื่อให้ไปทำธุรกิจในการขายรองเท้า เพื่อให้กิจการของเขาขยายตัวเร็ว และเกิดความน่าเชื่อถือ เราควรดูว่าลูกค้ามีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร และให้สินเชื่อมากเพียงใด ที่จะทำให้ลูกค้าไม่เกิดความวุ่ยวายในชีวิตทางลูกค้า เราควารปล่อยสินเชื่อที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปจะทำให้ลูกค้ามีความประทับใจในการบริการของเรา ดูแลเอาใจใส่แก่ลูกค้าและจะเป็นลูกค้าเราตลอดไปในการในสินเชื่อการทำธรุกิจ

นางสาวรัฐฐา กุลวัฒน์ 52127312027

การเงินการธนาคาร 01

เป๊ปซี่ โชว์ตัวเลขยอดขายฉลุยหลังกระหน่ำแคมเปญลูกหนัง 2010 เพิ่มเท่าตัว พร้อมต่อยอดแคมเปญแรงรับบอลโลกระลอกสอง

นางเจษฎากร ธราธิป ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์น้ำอัดลม บริาท เป๊ปซี่-โคล่า(ไทย)เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่บริษัทได้เปิดแคมเปญต้อนรับกิจกรรมฟุตบอลโลกโดยทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เปิดตัวแคมเปญการตลาดครึ่งแรกในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วยแคมเปญการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนาดใหม่ๆออกสู่ตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ลิมิเต็ทเอดิชั่น ออกสู่ตลาด ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรก 8-9% สูงกว่าไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมาซึ่งมีการเติบโตเพียง 3-4% หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงกว่าเท่าตัว

ครั้งนี้จะเป็นการเดินเครื่องกิจกรรมทางการตลาดในช่วงครึ่งหลัง โดยใช้งบประมาณราว 60% ของงบแคมเปญรวมกว่า 100 ล้านบาทจัดกิจกรรมต่อเนื่องต่อทันที ซึ่งครั้งนี้จะเป็นกิจกรรมการตลาดที่เต็มรูปแบบภายใต้แคมเปญ "เชียร์สุดอารมณ์บอล" ซึ่งประกอบด้วย การเปิดโผ 5 กลยุทธ์การตลาดในรอบสุดท้ายนี้ ด้วยการเปิดตัว 3 ไอคอนหนุ่มรุ่นใหม่ "ชิน เต๋อ เก้า" พร้อมภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ การเปิดตัวเครื่องดื่มนวัตกรรมเป๊ปซี่สีทองเครื่องดื่มประจำการเชียร์บอล และแคมเปญแจกรถนิสสันมาร์ช ตลอด 22 วัน 22 คัน และอีเว้นท์ใหญ่กลางเมือง พาร์ค พารากอน ในงาน "เป๊ปซี่..เชียร์สุดอารมณ์บอล" รวมกิจกรรมสำหรับคนรักกีฬาฟุตบอล ด้วยการแปลงโฉมลานพาร์ค พารากอนให้เป็น ฮิวแมนสเตเดียม สนามฟุตบอลมนุษย์เคลื่อนที่ครั้งแรกของประเทศ ในวันที่ 5 มิถุนายน ศุกรนี้

นายนภ วงศ์พาณิช ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การเติบโตด้านยอดขายของเป๊ปซี่ในช่วงที่ผ่านมา 8-9% ถือเป็นความสำเร็จมากที่สุดอีกปีหนึ่งของเป๊ปซี่ เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของไตรมาแรกในปีที่ผ่านมาซึ่งมีอัตราการเติบโตเพียง 3-4% ซึ่งเป็นผลจากการจัดกิจกรรมต่อเนื่อง และการเปิดตัวเครื่องดื่มในขนาดใหม่ๆที่ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น อัตราการเติบโตนี้มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 2 หลัก เนื่องจากการรุกตลาดอย่างต่อเนื่องของเป๊ปซี่ในรอบนี้ "เรามีทั้งแคมเปญใหม่ ขนาดใหม่ๆออกสู่ตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แคมเปญที่จัดขึ้นในรอบ 2นี้ถือเป็น โลคัล แคมเปญ แรกของเป๊ปซี่ ที่ได้เปิดตัวขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคคนไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญครั้งนี้นับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมาและถือว่าครั้งนี้เป็นการผสมผสานการทำแคมเปญการตลาดร่วมกันระหว่างโกบอลแคมเปญและโลคัลแคมเปญ"

สำหรับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน นี้ที่พาร์ค พารากอน เป๊ปซี่ยังได้จัดกิจกรรมการเปิดท้ายขายของ DIY เนท์หน้าสไตล์แอฟริกา พร้อมการเสริฟเครื่องดื่มประจำประจำเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งในงานนี้ยังได้จัดทำเสื้อนำเข้าจากแอฟริกา สกรีนลายบอลโลก นำรายได้จากการจำหน่ายในราคาตัวละ 1,000 บาทมอบให้กับมูลนิธิชัยพัฒนาโดยไม่หักค่าใช้จ่ายอีกด้วย

เพราะเป็ปซี่เป็นสปอนเซอร์ของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ตลาดน้ำอัดลมปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น น้ำอัดลมเป็นตลาดใหญ่ที่สุดและเป็นเครื่องดื่มที่อยู่ในประเทศมาอย่างนมนานกิจการนี้เหมาะสมในการปล่อยสินเชื่อ

น.ส จิตรยา กันยา

รหัสนักศึกษา 52127312064

การเงินการธนาคาร 02

การปล่อยสินเชื่อฟุตบอลโลก

ธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้า

โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล

เหตุผลในการปล่อยสินเชื่อ

เพราะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูการแข่งขันฟุตบอลโลก ทุกบ้านก็ต้องการชมฟุตบอลเพราะนานๆจะมีครั้ง ถ้าทีวีเสียก็ต้องไปซื้อมาดูกันทุกครอบครัว หากครอบครัวไหนทีวีจะเล็กไปก้จะไปซื้อทีวีที่ใหญ่จะได้มีความสุขในการดู ถ้าปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจในการงานเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะดี เพราะจะเป็นช่วงที่คนต้องการมาก ในผู้ที่มีรายได้ดีพอสมควร เป็นช่วงที่โปรโมทอุปเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆแต่สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดก็คือโทรทัศน์เพราะต้องการดูเพื่อความเพลิดเพลินและความสนุกสนานในช่วงเทศการฟุตบอลโลก เจ้าของกิจการจะมีกลยุทธ์ในการขาย มีการลด แลก แจก ขาย เพื่อให้สินค้าในร้านขายได้ แต่ถ้าของในร้านน้อยจะทำให้ผู้ซื้ออาจเกิดการเปลี่ยนใจไปซื้อร้านอื่นแทน เจ้าของกิจการก็ต้องการขยายกิจการเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือแก่ ผู้ซื้อของในร้านเยอะมีตัวเลือกมากมาย เพื่อความพึ่งพอใจแก่ผู้ซื้อและเห็นผลสำเร็จของผู้ขาย

แนวทางที่จะให้มีลูกต่อเนื่อง ธนาคารควรปล่อยสินเชื่อที่พึ่งพอใจแก่ลูกค้าไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป สามารถให้ลูกค้ามีการดำเนินกิจได้อย่างสะดวกและเป็นลูกค้าประจำของธนาคารเพื่อให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อแก่กิจการนั้นได้อย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัยในการทำธุรกิจ

และมีความน่าเชื่อถือแก่กัน ถ้าลูกค้าประทับใจในการบริการของเรา ลูกค้าบางรายอาจแนะนำญาติพี่น้องมาขอสินเชื่อในการทำธุรกิจต่างๆ จะทำให้ธนาคารมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นและมีการก้าวหน้าในการทำงานต่อไปในอนาคต เพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านบริการแก่ประชาชนให้เกิดความพึ่งพอใจสูงสุด

นางสาว นิชนันท์ ชวนถวิล

52127312017

เอกการเงินการธนาคาร 01

นางสาวสุภาภรณ์ ครุฑธาพันธ์

ช่วงฟุตบอลโลก2010นี้มีธุรกิจมากมายก่อตัวขึ้นและธุรกิจที่น่าจะสามารถกอบโกยรายได้มากที่สุดในช่วงนี้ก็คือธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและร้านอาหาร

ธุรกิจร้านอาหาร

ธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้ก็คือ ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ก็เป็นวิธีการเรียกลูกค่าให้มาเข้าใช้บริการในร้านของตนอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการชวนให้ลูกค่ามารับประทานอาหารในร้านของตนเพิ่มมากขึ้น และก็สั่งอาหารแบบไม่มีการเอ่ยปากเลยว่าแพง เพราะทุกคนมารับประทานอาหารในครั้งนี้ ก็เสมือนหนึ่งการมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มาสังสรรค์เฮฮาปาร์ตี้กันในกลุ่มเพื่อน กลุ่มคนทำงานด้วยกัน หรือแม้แต่การมาทานอาหารนอกบ้านของคนในครอบครัว ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกเช่นนี้ ส่วนมากจะได้รับการเข้าใช้บริการมาก และได้กำไรมากขึ้นจากการมารับประทานอาหารในแต่ละวัน เมื่อเปรียบเทียบจากวันธรรมดา ร้านอาหารไดที่มีการให้บริการที่ดี สร้างความประทับใจให้กลับลูกค้า ลูกค้าที่เคยมาใช้บริการแล้ว ก็จะกลับมาเข้ามาใช้บริการอีก เนื่องจากการให้บริการที่ประทับใจของทางร้าน

ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร

โดยเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2553 นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า การแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ระหว่างวันที่ 11 มิ.ย. – 11 ก.ค. ณ ประเทศแอฟริกาใต้ จะเป็นโอกาสดีสำหรับ อุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งการค้าที่เกิดขึ้นกับตลาดในแอฟริกาใต้ และตลาดภายในประเทศ คาดว่า จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกและธุรกิจบริการอาหารไทยในแอฟริกาใต้สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยกว่า 5,000 ล้านบาท เพราะนอกจากเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของชาวแอฟริกาใต้ ซึ่งคาดว่าปีนี้มูลค่าการบริโภคอาหารในแอฟริกาใต้จะสูงถึง 3,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าคาดว่าจะอยู่ที่ 5,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีผู้บริโภคของผู้เข้าแข่งขันจาก 32 ชาติ และนักท่องเที่ยวแฟนบอลจากทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาในประเทศแอฟริกาใต้จำนวนมาก เพื่อติดตามเชียร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีฐานะมีกำลังการใช้จ่ายสูง และเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ส่วนรองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวต่อว่า นักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลกคิดเป็นมูลค่ากว่า 1,170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับดาวเด่นสินค้าอาหารของไทยที่คาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงงานดังกล่าว จะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวและธัญพืช โดยเฉพาะ ข้าวนึ่งข้าวเจ้าและ ข้าวหอมมะลิรองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง โดยเฉพาะ ปลาซาร์ดีนเนลล่า ปลาบริสลิงหรือปลาสแปรดกระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง และ “กุ้งขาวแช่เย็นจนแข็ง” เพราะเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารที่ทั้งชาวแอฟริกาใต้และผู้บริโภคจากชาติต่างๆ นิยมบริโภค สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารสำเร็จรูปจะเป็นอาหารปรุงแต่งที่ทำจากธัญพืชหรือ ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช และขนมหวานที่ทำจากน้ำตาลเป็นสำคัญ ขณะเดียวกัน ธุรกิจร้านอาหารไทย ผู้บริโภคที่จะเข้ามาร่วมงานฟุตบอลโลก 2010 มีหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม ทำให้ พฤติกรรมการบริโภคมีความหลากหลายตามไปด้วย ซึ่งร้านอาหารนานาชาติรวมถึงร้านอาหารไทยสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ของผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเคปทาวน์และโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งเป็นที่อาศัยและแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากที่สุด

นายอมร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของตลาดในประเทศ คาดว่าฟุตบอลโลก 2010 จำนวนคนไทยจะหันมาดูฟุตบอลโลกเพิ่มมากขึ้นกว่าการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 อยู่ที่ประมาณ 45 ล้านคน และเป็นกลุ่มคนอายุระหว่าง 15-59 ปี โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และกลุ่มคนโสด เนื่องจากฟุตบอลโลกเป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดต่างๆ ที่รุมเร้า นับตั้งแต่ต้นปีได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ โดยในส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารคาดว่าคนไทยที่ดูการแข่งขันฟุตบอลโลกที่บ้านจะบริโภคอาหารจานด่วน ขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วทอด ข้าวเกรียบ ข้าวโพดคั่ว และเครื่องดื่มน้ำผลไม้ นม น้ำอัดลม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เครื่องดื่มที่ช่วยไม่ให้ง่วงโดยเฉพาะกาแฟ-ชา และเครื่องดื่มบำรุงกำลังมากขึ้น

ส่วนกลุ่มที่ดูการแข่งขันฟุตบอลโลกนอกบ้านจะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม กาแฟกระป๋องและเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ส่งผลให้เป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง และธุรกิจบริการร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 และธุรกิจร้านอาหารจานด่วนที่บริการส่งถึงบ้าน รวมถึงธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง

นางสาวสุภาภรณ์ ครุฑธาพันธ์

การเงินการธนาคาร 02

รหัส 52127312052

ธุรกิจการขายของที่ระลึก

ก่อนเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 ใกล้จะมาถึง ก็มีการเตรียมทำสิ่งของที่ระลึก ไว้นำมาว่างขายกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตานักฟุตบอลตัวจิ๋ว เข็มกลัดรูปนักฟุตบอลคนโปรด รูปถ่ายทีมชาติต่างๆที่ตนชื่นชอบ พวงกุญแจรูปนักเตะและรูปลูกฟุตบอล รวมกระทั่งเครื่องประดับเล็กๆที่เป็นลายธงชาติต่างๆ เมื่อได้ไปเชียร์ฟุตบอลโลกในสถานที่ต่างๆ ที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ให้ลองสังเกตดูว่าเวลาเราไปในสถานที่เชียร์ฟุตบอลโลก ก็จะมีร้านขายของที่ระลึกแทบจะทุกที่ และทุกร้านที่เห็นก็จะมีผู้คนให้ความสนใจในสิ่งของที่ระลึกนั้นๆมาก สิ่งที่ได้สังเกตเห็นนี้ กำลังจะสื่อให้เห็นว่าธุรกิจการขายของที่ระลึกในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 เป็นธุรกิจหนึ่งที่ให้ผลกำไรมากในช่วงเวลานี้

ธุรกิจการขายเสื้อผ้านักฟุตบอลทีมชาติต่างๆ

การเชียร์ฟุตบอลถ้าจะให้ได้อรรถรส ก็ต้องมีการสวมใส่เสื้อผ้าทีมชาติที่ตนชื่นชอบ เสมือนหนึ่งว่าตนเองกำลังอยู่ในสนามจริงๆ รอดูการแข่งขันฟุตบอลสดๆ จากความคิดเช่นนี้ก็เลย ทำให้เกิดธุรกิจการขายเสื้อผ้านักฟุตบอลทีมชาติต่างๆขึ้นมา ทุกคนสามารถเลือกซื้อเสื้อผ้าได้ตามความสนใจของแต่ละคนได้อย่างอิสระ เจ้าของธุรกิจการขายเสื้อผ้านักฟุตบอลนี้ จะประสบผลกำไรมากในช่วงเทศกาลบอลโลก เพราะมีผู้คนสนใจการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นจำนวนมาก และมีพฤติกรรมการสวมใส่เสื้อผ้าทีมชาติที่ตนชื่นชอบ เข้ามาร่วมเชียร์ในแต่ละครั้ง ทำกันจนเป็นประเพณี สร้างเป็นค่านิยม ทำให้เกิดเป็นธุรกิจที่มีการค้าหากำไรได้มากเลยทีเดียว ในช่วงเวลามหกรรมฟุตบอลโลก 2010

ธุรกิจการทาสีที่ตัวและหน้า

การทาสีที่ตัวและที่หน้า ก็เป็นสีสันการเชียร์ฟุตบอลที่ได้อรรถรสอีกมุมมองหนึ่ง มีผู้ประกอบการหลายท่านมาลงทุนเช่าร้านรับทาสีที่หน้าและที่ตัว รูปที่นิยมทาสีกันอย่างแพร่หลาย ก็คือรูปธงชาติ รูปลูกฟุตบอล และรูปอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ให้ความสนใจในการทาสีลงบนใบหน้าและลำตัวเหมือนกัน รวมกระทั่งเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ก็ยังเห็นมีการทาสีที่ใบหน้าและลำตัว เป็นธุรกิจที่ผู้คนให้ความสนใจมาก ดังนั้นธุรกิจการทาสีที่ใบหน้าและลำตัวนี้จึงเป็นธุรกิจที่ได้กำไรดีในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก

ธุรกิจการเพ้นท์เล็บ

ธุรกิจการเพ้นท์เล็บนี้ส่วนใหญ่จะมีผู้หญิงให้ความสนใจมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากว่าการเพ้นท์เล็บเป็นการเสริมสวยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้หญิงกับความงามก็เป็นคู่กันมาตั้งนานแล้ว การเพ้นเล็บในช่วงฟุตบอลโลกนี้ลายที่ได้รับความนิยมคงไม่ผิดถ้าจะตอบว่าเป็นลายที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลก มีผู้ประกอบการหลายท่านเข้ามาลงทุนทำธุรกิจนี้ ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับจ่ายลูกค้ามาก เป็นการทำธุรกิจอีกหนึ่งที่ประสบผลกำไรมากในช่วงเวลาบอลโลก

ธุรกิจการขายสิ่งของต่างๆที่นำไปร่วมเชียร์ฟุตบอลโลก 2010

ธุรกิจการขายสิ่งของต่างๆที่นำไปร่วมเชียร์ฟุตบอลโลก 2010 นี้อาทิเช่น หมวก แท่งเรืองแสง กำไรเรืองแสง กระบอกไฟ กระบอกลม ผ้าพันคอ เป็นต้น อุปกรณ์ต่างๆที่ได้กล่าวมานี้เป็นสิ่งของที่สร้างสีสันให้กับการเชียร์ฟุตบอลโลก 2010 ให้ได้อรรถรส และก็ได้กระแสตอบรับจากผู้คนมากเลยทีเดียว เป็นหนึ่ง ธุรกิจที่ให้ผลกำไรแก่ผู้ประกอบการอีกอย่างหนึ่ง

ยังมีธุรกิจอีกมากมายที่มีมาพร้อมกับการเชียร์ฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งเมื่อนำมาหารายได้ในช่วงฟุตบอลโลกนี้ ก็ต้องเป็นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก จึงจะได้รับผลกำไรเป็นที่หน้าพอใจ และได้ผลกำไรมาก

น.ส สุนทร พุ่มขจร

รหัส 52127312040

สาขา บริหารธุรกิจการเงินการธนาคาร 02

นส. วชิยาลักษณ์ มิ่งมงคล รหัส : 52127312028

การเงินการธนาคาร

 

ฟุตบอลโลก 2010 : กระตุ้นไทยส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปสู่แอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น

 มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่มีแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไทยจะมีโอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าไปยังตลาดแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น "ผลไม้กระป๋องและแปรรูป" ก็เป็นสินค้าอาหารอีกประเภทหนึ่งที่คาดว่า จะได้รับอานิสงส์ในการขยายการส่งออกจากช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ทั้งจากความต้องการบริโภคของคนในประเทศเองที่เริ่มนิยมรับประทานผลไม้ของไทยมากขึ้น รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากทั่วโลกที่มาชมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งถึงแม้ว่าปัจจุบัน ไทยจะมีมูลค่าการส่งออก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปไปยังตลาดแอฟริกาใต้ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับกลุ่มอาหารประเภทอื่นๆ แต่ก็ถือเป็น กลุ่มอาหารที่น่าจับตามอง และควรมีการส่งเสริมให้มีการขยายการส่งออกไปยังตลาดนี้มากขึ้น โดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อนซึ่งถือว่าไทยมีศักยภาพในการแข่งขันมาก ดังนั้น จากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 จึงถือเป็นโอกาสดีสำหรับไทย ซึ่งอย่างน้อยก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะแนะนำให้คนทั่วโลกได้รู้จักผลไม้ไทยมากขึ้น

ภาพรวมการนำเข้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปของแอฟริกาใต้ในตลาดโลก

ผลไม้กระป๋องและแปรรูปเป็นสินค้าอาหารที่แอฟริกาใต้เริ่มมีการนำเข้าจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีมูลค่าการนำเข้าที่ไม่สูงนัก และเป็นสินค้าที่สามารถผลิตได้ในประเทศก็ตาม แต่ด้วยเหตุผลที่บางปีสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิต เกิดความแห้งแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับมีการนำเข้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่หลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วยประชากรจากหลายเชื้อชาติทั้งแอฟริกัน ยุโรป และเอเชีย ดังนั้น จึงเริ่มมีการนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผลไม้เมืองร้อนซึ่งกำลังได้รับการตอบรับที่ดีในเรื่องของรสชาติที่เป็นที่ชื่นชอบ นอกจากนี้ แอฟริกาใต้ยังเป็นตัวกลางในการนำเข้าสินค้าเพื่อทำการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอีกด้วย

จะเห็นได้จาก ตัวเลขสถิติการนำเข้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปของแอฟริกาใต้ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 85.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับตลาดนำเข้าที่สำคัญของแอฟริกาใต้ ได้แก่ จีน โดยมีมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยกว่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล และสหรัฐฯ ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่า แอฟริกาใต้มีการนำเข้าผลไม้ กระป๋องและแปรรูปมากเป็นอันดับที่ 17 โดยมีส่วนแบ่งเพียงร้อยละ 2.0 เท่านั้น

หากพิจารณาแยกรายประเภทของผลไม้กระป๋องและแปรรูปที่แอฟริกาใต้นำเข้านั้น พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำ เข้าส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ

* น้ำผลไม้ มีสัดส่วนการนำเข้าถึงร้อยละ 65.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำ ผลไม้เมืองหนาว เช่น น้ำแอปเปิ้ล น้ำองุ่น และน้ำผลไม้อื่น ๆ เป็นต้น โดยประเทศนำเข้าหลัก ได้แก่ จีน อาร์เจนตินา บราซิล และสหรัฐฯ ในขณะที่ถ้าเป็นผลไม้เมืองร้อนนั้น น้ำสับปะรดจะเป็นน้ำผลไม้ที่มีการนำเข้ามากที่สุด โดยประเทศนำเข้าหลัก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และไทย

* ผลไม้กระป๋องมีสัดส่วนการนำเข้าถึงร้อยละ 30.1 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าผลไม้เมืองร้อน ได้แก่ มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง เงาะ ลำไย เป็นต้น โดยประเทศนำเข้าหลักได้แก่ สหรัฐฯ บราซิล และไทย นอกจากนี้ สับปะรดกระป๋องยังมีมูลค่าการนำเข้ารองลงมา โดยประเทศนำเข้าหลักได้แก่ ฟิลิปปินส์ และไทย

* ผลไม้แปรรูปอื่นๆ เช่น ผลไม้อบกรอบ/อบแห้ง และผลไม้เชื่อม มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 4.0 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด โดยประเทศนำเข้าหลักได้แก่ บราซิล สหรัฐฯ และจีน จะเห็นได้ว่า ประเภทของผลไม้ส่วนใหญ่ที่ไทยน่าจะมีศักยภาพในการแข่งขัน และถือเป็นโอกาสที่ไทยจะขยายการส่งออกไปยังตลาดแอฟริกาใต้นั้น จะเป็นผลไม้เมืองร้อน โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋อง และน้ำ สับปะรด ซึ่งไทยมีคู่แข่งที่สำคัญเพียงฟิลิปปินส์เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีผลไม้กระป๋องแปรรูปชนิดอื่นๆ ที่ถือว่าไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น ลำไยกระป๋อง เงาะกระป๋อง เป็นต้น ดังนั้น ไทยควรจะมุ่งเน้นพัฒนาการแปรรูปผลไม้เมืองร้อนเหล่านี้เพื่อที่จะสามารถขยายการส่งออกและครองส่วนแบ่งตลาดในแอฟริกาใต้ได้เพิ่มขึ้น

ปี 2553 : คาด...ไทยส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปไปแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น

ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เป็นอีกสินค้าอาหารที่ไทยมีการส่งออกไปยังตลาดแอฟริกาใต้ ถึงแม้จะมีมูลค่าการส่งออกไม่มากนัก แต่ก็มีแนวโน้มที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จาก ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 ไทยส่งออก ผลไม้กระป๋องและแปรรูปไปยังตลาดแอฟริกาใต้มูลค่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 161.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

หากพิจารณาการส่งออกแยกรายประเภทนั้น พบว่า ไทยส่งออกสับปะรดกระป๋องไปยังตลาดแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 200.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปประเภทอื่นๆไปยังแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้กระป๋องอื่นๆ ที่มีการเติมน้ำตาลหรือสุราลงไป เช่น มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง และเงาะ เป็นต้น โดยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80.5 รวมถึงน้ำผลไม้อื่นๆ นอกจากน้ำสับปะรด เช่น น้ำส้ม มีการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 292.4 เป็นต้น

สำหรับภาพรวมทั้งปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า จะมีมูลค่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปไปยังแอฟริกาใต้ประมาณ 4.2 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 55.0 โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานการส่งออกที่ต่ำในปีที่แล้ว เนื่องมาจาก ภาวะทางเศรษฐกิจ ประกอบกับปีที่ผ่านมา สับปะรดซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักในการแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดของไทยลดลง จึงส่งออกได้น้อย อย่างไรก็ตาม คาดว่า ยังคงมีปัจจัยหนุนอื่นๆ ที่ทำให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่

* พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เดิมผู้บริโภคในประเทศแอฟริกาใต้นิยมรับประทานผลไม้กระป๋อง และแปรรูปที่ทำจากผลไม้เมืองหนาว และผลไม้เมืองร้อนอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันรสชาติผลไม้ของไทยซึ่งเป็นผลไม้เมืองร้อนก็เริ่มเป็นที่นิยม และได้รับการตอบรับที่ดีจากชาวแอฟริกาใต้มากขึ้น นอกเหนือจากสับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรดซึ่งเป็นที่รู้จักแล้ว เช่น ผลไม้กระป๋องที่มีการเติมน้ำตาลหรือสุราลงไป ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง มะละกอ ฝรั่ง และเงาะ รวมไปถึงผลไม้อบกรอบ หรือ fruit snack ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภคในตลาดแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และรักสุขภาพ ซึ่งผลไม้ของไทยที่ได้รับความนิยมจากการนำมาแปรรูปเป็น fruit snack ได้แก่ สับปะรด กล้วย มังคุด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นในแอฟริกาใต้ยังนิยมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่งกลิ่นผลไม้อีกด้วย เช่น เหล้าไซเดอร์ (Cider) หรือเหล้าเพอร์รี่ (Perry) ซึ่งก็คือเหล้าที่ทำจากน้ำแอปเปิ้ล หรือน้ำลูกแพร์ ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าเครื่องดื่มประเภทนี้มากขึ้น และรสชาติของผลไม้ไทยก็เริ่มเป็นที่นิยม และรู้จักมากขึ้นในตลาดแอฟริกาใต้ ดังนั้น การพัฒนาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลิ่นผลไม้ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากผลไม้เมืองร้อนของไทย เช่น มังคุด มะม่วง ลำไย และมะขาม จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไทยน่าจะมีศักยภาพในการขยายการส่งออกไปยังตลาดแอฟริกาใต้

* การเจรจาหารือเกี่ยวกับการเปิดตลาดผลไม้ไทยในแอฟริกาใต้ จากการที่รัฐบาลและเอกชนของไทยได้ร่วมมือกันเพื่อที่จะเจรจาหารือเกี่ยวกับการเปิดตลาดผลไม้ของไทยในแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะในเรื่องของกฎระเบียบต่างๆ นั้น จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ไทยจะสามารถขยายการส่งออกผลไม้ไปยังแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น

* การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 จากการที่แอฟริกาใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ครั้งที่ 19 ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 11 มิถุนายน-11 กรกฎาคม 2553 นี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ สำหรับประเทศไทย คาดว่า จะได้รับอานิสงส์จากการแข่งขันฟุตบอลโลกในครั้งนี้ กล่าวคือ จะเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ไทยสามารถขยายการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปได้มากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว หรืออย่างน้อยก็ถือเป็นโอกาสที่จะแนะนำให้คนทั่วโลกรู้จักผลไม้ไทยมากขึ้น

โดยจะเห็นได้จากในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ไทยสามารถส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 161.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนอกจากจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศแอฟริกาใต้แล้ว ยังมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศทั่วโลกที่เข้ามาชมการแข่งขันในแอฟริกาใต้เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีฐานะ มีกำลังใช้จ่ายสูง โดยจะเห็นได้จากจำนวนผู้จับจองตั๋วฟุตบอลโลก2010 มากที่สุดจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ เหล่านี้ ก็มีการนำเข้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปจากไทยเช่นกัน อีกทั้งยังคุ้นเคยในรสชาติผลไม้ไทยอีกด้วย จึงทำให้คาดว่า ในช่วงของการแข่งขันนี้ จะส่งผลให้แอฟริกาใต้มีการนำเข้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปของไทยเพิ่มขึ้น

ดังนั้น แอฟริกาใต้ถือเป็นตลาดส่งออกที่น่าจับตามองสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผลไม้กระป๋องและแปรรูปถือเป็นสินค้าที่ไทยน่าจะมีศักยภาพสูงในการแข่งขัน ทั้งในเรื่องของวัตถุดิบ เทคโนโลยีในการแปรรูป ประกอบกับการผลิตที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องจับตาคู่แข่งที่สำคัญโดยเฉพาะจีน ซึ่งถือเป็นตลาดนำเข้าผลไม้กระป๋องและแปรรูปรายใหญ่ของแอฟริกาใต้ เนื่องจาก มีวัตถุดิบที่เพียงพอ และสามารถผลิตผลไม้ได้เหมือนกับไทย อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทยมาก แต่เนื่องด้วย ปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้หันมาให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพของสินค้ากันมาก ซึ่งสินค้าของไทยยังคงมีความได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพมากกว่าจีน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงเห็นว่า สินค้าของไทยถึงแม้จะแข่งขันด้านราคาไม่ได้ แต่ยังคงแข่งขันในด้านของคุณภาพได้ ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจึงควรต้องเร่งปรับตัวทั้งด้านการผลิตและการตลาดอย่างต่อเนื่อง และเข้มข้นยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อยกระดับศักยภาพและสร้างความความได้เปรียบในการแข่งขัน อันได้แก่ การพัฒนาด้านคุณภาพสินค้า การมุ่งสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นของลูกค้า การทำการตลาดผลไม้ไทยในตลาดแอฟริกาใต้ รวมถึงการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดแอฟริกาใต้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

บทสรุป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้ไทยส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปไปยังแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้นในปี 2553 นี้ ได้แก่ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป การเจรจาหารือเกี่ยวกับการเปิดตลาดผลไม้ไทยในแอฟริกาใต้ รวมถึงการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ของแอฟริกาใต้ โดยคาดว่า ภาพรวมการส่งออกผลไม้กระป๋อง และแปรรูปของไทยในตลาดแอฟริกาใต้ปี 2553 นี้ น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยระดับการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55.0

อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องจับตาคู่แข่งที่สำคัญอย่างจีน ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปที่สำคัญไปยังตลาดแอฟริกาใต้ แต่เนื่องด้วยจีนยังมีปัญหาในเรื่องของคุณภาพสินค้า จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการขยายการส่งออกของไทย ถึงแม้จะไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ แต่เชื่อว่าสินค้าของไทยน่าจะแข่งขันทางด้านคุณภาพได้ ดังนั้น การที่ไทยจะสามารถขยายการส่งออกได้นั้น ผู้ผลิตและผู้ส่งออก จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าของไทยสามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่สำคัญในตลาดโลกได้

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

คือ ธุรกิจบริการด่วนส่งถึงบ้าน (เดลิเวอรี่) ที่ต่างพร้อมใจขยายเวลาเปิดให้บริการนำส่งอาหารตรงถึงท้องแฟนบอลในช่วงมื้อดึก เช่น ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป เจ้าของร้านอาหารสไตล์อิตาเลียน เดอะพิซซ่า คอมปะนี ที่ฉวยโอกาสในช่วงฟุตบอลโลกปีนี้ ขยายเวลาธุรกิจเดลิเวอรีถึงเวลา 01.30 น. จากช่วงปกติ 24.00 น. ด้วยเช่นกัน เดอะพิซซ่า คอมปะนี ประเทศไทย และแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป กล่าวว่า การเพิ่มระยะเวลาบริการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั่วโมง เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายแฟนบอลที่ติดตามการแข่งขันทีมชาติฟุตบอลที่ชื่นชอบ และเพื่อเพิ่มทางเลือกในการให้บริการผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย บริษัทยังได้เปิดตัวโปรโมชัน “ชุดอิ่มคุ้ม 299 บาท” ประกอบด้วย พิซซ่า สปาเกตตี และปีกไก่บาร์บีคิวอยู่ในชุดโปรโมชันดังกล่าว เพื่อเป็นการคืนกำไรให้กับลูกค้า และยังเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ซึ่งโปรโมชันดังกล่าวจะมีไปถึงวันที่ 28 ก.ค.นี้

“หลังเปิดตัวโปรโมชันดังกล่าวเข้าทำตลาด คาดส่งผลให้มียอดขายเพิ่มขึ้นจากปกติไม่ต่ำกว่า 5% ขณะที่ภาพรวมยอดขายในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 15% ซึ่งในส่วนของงบการทำกิจกรรมทางการตลาดที่บริษัทได้เตรียมไว้ในปีนี้ เพื่อทำโปรโมชันสินค้าทุก 2 เดือน จะอยู่ที่ประมาณ 50-70 ล้านบาท

แนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องธนาคารก็ต้องดูว่าพิซซ่านี้เป็นอาหารที่คนไทยชอบสั่งกินมากน้อยเพียงใดและยิ่งในช่วงฟุตบอลโลกอย่างนี้การที่มีโปรโมชั่นและมีการขยายเวลาในการส่งทำให้ทุกคนยิ่งชอบและสั่งกินเวลาที่เชียร์ฟุตบอลไปด้วย ถึงจะอยู่ในช่วงฟุตบอลโลกหรือไม่พิซซ่าก็ถือเป็นอาหารที่ทุกคนชอบกินมียอดขายที่ดีและยิ่งในช่วงฟุตบอลโลกมีโปรโมชั่นอย่างนี้ยิ่งทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น

นางสาวสุกาญดา แสนศรี

รหัส 52127312005

บริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร) ปี 2

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “7-Eleven” ถือเป็นธุรกิจที่มีการสนับสนุนในการเชียร์ฟุตบอลโลกเป็นอย่างมากโดย อาร์เอส” เตรียมต่อยอดธุรกิจ หันจับมือร้านสะดวกซื้อ “7-Eleven” ส่งโปสการ์ด 5 แบบสดใส จาก 14 ศิลปินสุดเซ็กซี่มาเอาใจคอบอลร่วมทายผลฟุตบอลโลก กับโปรโมชั่น “I Love World Cup” ชิงเงินรางวัลกว่า 30 ล้านบาท พร้อมเปิดตัวมิวสิควีดีโอเพลง “ Go la la” ที่แต่งขึ้นเพื่อการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้โดยเฉพาะ และอาร์เอสเชื่อมันว่าด้วยเกมการฟาดแข้งระดับโลกบวกกับกิจกรรมและโปรโมชั่นที่ทางอาร์เอสและพันธมิตรร่วมกันจัดขึ้น จะสามารถทำให้คนไทยทั่วประเทศได้สนุก ได้ตื่นเต้น ได้เชียร์แบบออกรสออกชาติไปกับทุกแมตซ์การแข่งขัน ตลอดระยะเวลา 1 เดือนเต็ม ระหว่างวันที่ 11 มิ.ย.- 11 ก.ค. ที่กำลังจะมาถึง โดยช่วงเวลาในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกของบ้านเราในปีนี้ ยังตรงกับเวลา 18.00 , 21.00 และ 01.00 น. ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นเวลาทองสำหรับแฟนบอลชาวไทยเลยทีเดียว ในการออกโปรเจ็ค I love World Cup ให้แฟนบอลชาวไทยได้ร่วมลุ้น ร่วมสนุกไปกับแมตช์การแข่งขันระดับโลกที่ทุกคนรอคอย ควบคู่กับการทายผลบอลโลกผ่านโปสการ์ด ว่าทีมไหนจะได้เป็นแชมป์ และครองถ้วยบอลโลก ในการแข่งขัน 2010 ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ เซาธ์ แอฟริกาพร้อมกับลุ้นชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 30 ล้านบาท โดยมีรางวัลใหญ่เป็นทองคาหนัก 100 บาท 1 รางวัล, ทองคาหนัก 10 บาท 100 รางวัล, โทรทัศน์ SAMSUNG LCD ขนาด 32 นิ้ว 100 รางวัล, รถจักรยานยนต์ YAMAHA FINO 100 รางวัล , โทรศัพท์มือถือ AIS Blackberry Bold 9700 100 รางวัล สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายไปรษณียบัตรทายผลบอลโลกและกล่องรับชิ้นส่วนทายผลนั้น เราเชื่อมั่นว่าด้วยสาขาของ 7-Eleven ที่มีอยู่กว่า 5,000 สาขา ทั่วประเทศ จะเอื้อและอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ที่ต้องการร่วมสนุกกับการทายผลบอลโลกได้เป็นอย่างดี หวังว่าคอบอลชาวไทยจะได้ชมบอลโลกอย่างมีความสุข พร้อมกับลุ้นรับรางวัลกับโปรเจ็ค I love World Cup ควบคู่กันไปอีกด้วย

7-Eleven ถือว่าเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนอยู่ตลอดมายิ่งในช่วงฟุตบอลโลกมีการร่วมลุ้นผลฟุตบอลโลกอย่างนี้ด้วยแล้ว 7-Eleven ยังมีการขายของที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลกอีกมากมายเช่น พวงกุญแจที่เป็นสัญลักษณ์ทีมฟุตบอล หมอน ฯลฯ หลายอย่างที่ 7-Eleven นำมาขายในช่วงฟุตบอลโลกเพื่อสร้างรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น

สำหรับแนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องธนาคารก็ต้องดูของที่ขายใน7-Eleven ที่มียอดขายและสาขาของ 7-Eleven ทั่วประเทศที่สร้างรายได้ต่อปีไม่น้อยเลยที่เดียว และในช่วงฟุตบอลโลกน่าจะต้องมียอดขายที่เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อมีแฟนบอลที่ดูบอลดึกก็ต้องมีการออกมาซื้อของไปกินเล่นในเวลาดูบอลหรือดื่มกันกับเพื่อนและที่จะพึ่งได้ตลอด 24 ชั่วโมงก็คือ 7-Eleven ที่เปิดตลอดเวลา และมีการซื้อของที่เกี่ยวกับทีมฟุตบอลโลกที่ตนเองชื่นชอบไปสะสม ก็จะต้องทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นและน่าให้สินเชื่อในช่วงนี้ แต่อย่างไรธนาคารก็เชื่อมั่น 7-Elevenที่จะให้สินเชื่อว่ามีความเสี่ยงน้อยเพราะมีสาขามากและเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มีแต่คนรู้จักทั่วประเทศ

นางสาวสุปราณี วันดี

รหัส 52127312023

บริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร) ปี 2

จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ธุรกิจที่น่าปล่อยสินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

ในช่วงฟุตบอลโลกจะเห็นได้ว่าหลากหลายธุรกิจเตรียมพร้อมกับช่วงฟุตบอลโลก

บริษัท ยูนิลีเวอร์ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมเวิลด์คัพแล้วแม้การเมืองในประเทศยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ โดยจะใช้งบในส่วนของอีเวนท์เพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านบาท รวมกับการเป็นสปอนเซอร์ระดับแพลทินัม 50 ล้านบาท ซึ่งกิจกรรมบีโลว์เดอะไลน์ที่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และครั้งนี้ได้รวม 3 แบรนด์ผู้ชายของบริษัทคือ เคลียร์ เมน แอ๊กซ์ และวาสลีน เมน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปรากฏการณ์ทางการตลาด ประกอบด้วย การเป็นผู้สนับสนุนหลักการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ เซาท์ แอฟริกา 2010 อย่างเป็นทางการ

การต่อสัญญากับ "คริสเตียโน โรนัลโด "ในฐานะพรีเซ็นเตอร์ของเคลียร์ เมน เป็นปีที่ 2 ตามด้วยแคมเปญ เชียร์บอลระดับโลกตะลุยแอฟริกาใต้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากทั้ง 3 แบรนด์ คือ "เคลียร์เมน" "แอ๊กซ์" และ "วาสลีน เมน" ได้มีโอกาสร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆ อีกด้วย สำหรับรางวัลใหญ่คือการมอบแพ็คเกจทัวร์แอฟริกาใต้ 7 วันพร้อมชมการแข่งขันในรอบ 16 ทีมสุดท้าย จำนวน 10 รางวัลๆ ละ 2 ที่นั่ง และรางวัลอื่นๆ

นอกจากนี้ เพื่อสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมในฐานะผู้สนับสนุนหลักการถ่ายทอดสด บริษัทยังได้ทำการปรับปรุงฉลากบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับช่วงการแข่งขันเวิลด์คัพ โดยเปลี่ยนฉลาก ผลิตภัณฑ์แชมพู เคลียร์ เมน เป็นรุ่น ลิมิเต็ท เอดิชั่น ทุกขนาดเพื่อนำมาจำหน่ายในช่วงดังกล่าว รวมถึงดึง แบรนด์แอ๊กซ์ และวาสลีน เมน เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย

กิจกรรมครั้งนี้บริษัทคาดหวังว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ได้ทดลองใช้สินค้า จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ได้จัดขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งช่องทางออนไลน์ "Clear Men Freestyle Challenge" ทางเว็บไซต์ Facebook.com/clearthailand เลือกหัวข้อ Freestyle Challenge เพื่ออัพโหลดคลิปการเดาะฟุตบอล

นางภรณี กล่าวว่า กิจกรรมทั้งหมดคาดว่าจะกระตุ้นการบริโภคและการรับรู้ในตราสินค้าทั้ง 3 แบรนด์ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายผู้ชายที่จะหันมาทดลองใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยที่ผ่านมาตลาดสินค้าผู้ชายมีอัตราการเติบโตกว่า 15% ซึ่งคาดว่าในปีนี้มูลค่าตลาดรวมสินค้าผู้ชายจะเพิ่มจาก 3,500 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านบาท

เหตุผลเพราะบริษัทจะมีการเพิ่มยอดขายในช่วงบอลโลกเพิ่มมากขึ้นเพราะ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เป็นผู้สนับสนุนบอลโลกอย่างเป็นทางการบริษัทจึงได้เจาะกลุ่มผลิตภัณต์เน้นไปที่ผู้ชาย โดยจะเป็นเครื่องบำรุงตัวเองและดูแลผิวพรรณ จึงทำให้บริษัทสามารถทำยอดขายในช่วงบอลโลกเพิ่มมากขึ้นมากขึ้นกว่าทุกคร้งและยังทำให้ผลิตภัณต์เป็นที่คุ้นเคยมากขึ้น

นายพร้อมพงษ์ จันทมาลี

การเงินการธนาคาร01

52127312016

วันนี้แล้วที่สายตาของคนทั้งโลกจะกระชับวงล้อมเข้าสู่สนามแข่งขัน ที่มีฟุตบอลลูกกลมๆและยอดตุงตาข่าย เป็นเดิมพัน เพื่อกรุยเส้นทางไปสู่การเป็นเจ้าของถ้วยรางวัล “จูลส์ริเมต์”อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นสุดยอดในเกมลูกหนัง ณ ศักราช 2010 มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก (เวิลด์คัพ) เป็นรายการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีการจัดแข่งขันเป็นประจำทุก 4 ปีโดยจะเวียนสถานที่จัดการแข่งขันไปเรื่อย

โดยในปีนี้ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพย์ในดินอย่างเพชร-ทองคำ และเป็นประเทศในตำนานแห่งการเหยียดสีผิว รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 11 มิถุนายนถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2010 สำหรับเมืองไทย แม้ “การเมือง” จะเกลี่ยกระแสจากสังคมไปช่วงหนึ่ง

แต่สุดท้ายเมื่อสถานการณ์แตกหักผ่านพ้น ดูเหมือนว่าอารมณ์ของคอบอลและคนทั่วไปจะเริ่มหันกลับมาโฟกัสที่เกมการแข่งขันอีกครั้ง โดยผลสำรวจผู้บริโภคออนไลน์ชาวไทยเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลกของ “นีลเส็น” ระบุว่า มีผู้บริโภคออนไลน์ชาวไทย43% ตั้งใจติดตามการแข่งขันที่กำลัง

จะเริ่มขึ้นในนี้ และกว่า 40% เป็นแฟนพันธุ์แท้ที่จะติดตามชมการแข่งขั้นตลอดทั้งแมตช์ตลอดระยะเวลา 1 เดือนเต็มต่อจากนี้ไปนอกเหนือจากผู้มีหัวใจรักกีฬาฟุตบอลจะได้ลุ้นเชียร์ทีมแสนรักยามเมื่อลงสนามแข่งขัน ในเวลาเดียวกัน ยังเป็นเสมือน “เหมืองเพชร” และ“เหมืองทองคำ” นอกอาณาเขตแอฟริกาใต้

ของหลายๆธุรกิจและสินค้า และต่อไปนี้คือตัวอย่างธุรกิจที่มีผลประกอบการอันน่าอิจฉา ในช่วงเทศกาลแข่งขันฟุตบอลโลก มือถือดูทีวีฮิต จากจุดเริ่มต้นของแบรนด์อาตี๋ที่เข้ามาตีตลาดไทยเมื่อหลายปีก่อน ด้วยการรวมสุดยอดฟังก์ชั่นโทรศัพท์แบบออลอินวัน ทั้งดูหนัง ฟังเพลง ดูทีวี และมีสองซิม ในราคาประหยัด

ได้จุดประกายให้ตลาดโทรศัพท์มือถือแบบดูทีวีได้ แจ้งเกิดอย่างเป็นทางการในบ้านเรา ฮิตขนาดที่อินเตอร์แบรนด์ยังต้องขยับลงมาเล่นด้วยสำหรับการแข่งขันในปีนี้ที่เริ่มแต่หัววัน น่าจะกระตุ้นให้หลายคนที่กลัวพลาดแมตช์สำคัญระหว่างเดินทางกลับบ้าน ตัดสินซื้อโทรศัพท์แบบดูทีวีได้ออกมาใช้ลุ้นทีมโปรดอีกเป็นจำนวนมาก

โทรทัศน์ขายดี โทรทัศน์ คือสุดยอดสินค้าขายดีอีกรายการหนึ่ง โดยหลายแบรนด์ดังไม่ว่าจะเป็นโซนี่ พานาโซนิค ซัมซุงต่างทุ่มงบการตลาดและออกแคมเปญอิงกระแสเวิลด์คัพช่วยกระตุ้นตลาดทีวีจอแบน ไม่ว่าจะเป็นแอลซีดีทีวี หรือพลาสม่าทีวีกันอย่างคึกคัก และเป็นที่น่าติดตามด้วยใจจดจ่ออย่างยิ่งว่า

ด้วยนวัตกรรมถ่ายทอดการแข่งขันใหม่ล่าสุดในแบบ “สามมิติ” ที่มีขึ้นเป็นครั้งแรก ณ แอฟริกาใต้หนนี้ จะกระตุ้นยอดขายทีวีแบบสามมิติของแต่ละแบรนด์ที่งัดไม้เด็ดออกมาแย่งชิงส่วนแบ่งกันได้มากน้อยเพียงไร เพราะราคาซื้อขายมิได้ถูกเลย ร้านอาหารคนแน่น คอบอลพันธุ์แท้บอกว่าหากการเชียร์บอลให้สนุก

มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือคนที่เชียร์ทีมเรา คนเชียร์ทีมเขา และเดิมพันติดปลายนวมพอเป็นกระสาย หลายคนเลยออกไปปาร์ตี้กันนอกบ้าน นัยว่าเพื่อให้ได้อรรถรสมากกว่าการเชียร์เหงาๆ อยู่บ้านคนเดียว เหล่านี้ล้วนทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ หรือแม้แต่ร้านค้าเรียงรายบนทางเท้า ก็ได้โอกาสกอบโกย

โดยเฉพาะ “อาร์เอส”ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น งานนี้ได้แต่นอนรอรับทรัพย์ เพราะมีผู้ประกอบธุรกิจตบเท้าเข้ามาทำสัญญากันจนหัวกระไดไม่แห้ง ชุดทีมสุดเลิฟ รายงานจากร้านขายชุดกีฬา ระบุตรงกันว่า ยอดขายเสื้อทีมชาติที่เข้ารอบ 32 ทีมสุดมียอดการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่คอกีฬาทั่วไปจะซื้อไปใส่เพื่อ

เชียร์ทีมโปรดของตัวเองเท่านั้น หากแต่ผู้ประกอบธุรกิจ สถานบันเทิง และร้านอาหารต่างๆ มีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับเทศกาลบอลโลก นอกจากนี้ ประเทศไทยที่เป็นฐานการผลิตเสื้อผ้ากีฬาให้กับแบรนด์ยักษ์ใหญ่ๆ ต่างๆก็มีออเดอร์ทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เดลิเวอรี่

ขยายเวลา แม้ว่าในปีนี้ การแข่งขันฟุตบอลส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 18.30-21.00 น. ไม่เหมือนกับสมัยก่อนที่ต้องถ่างตารอกันแต่เที่ยงคืนไปจนรุ่งสาง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการนำส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ก็มีการปรับตัวเพื่อรับกับกระแส ยกตัวอย่าง “เดอะพิซซ่า คอมปะนี”ที่เป็นผู้นำ ของเดลิเวอรี่เอาใจ

คอกีฬามายาวนานในปีนี้ก็ได้ขยายเวลาให้บริการจัดส่งอาหารผ่านบริการ 1112 เพิ่มอีกหนึ่งชั่วโมงครึ่ง จากเดิมที่ปิดให้บริการเวลาเที่ยงคืน ไปรษณียบัตรท่วมหัว ถ้าไม่นับการลุ้นโชคหวยล็อตเตอรี่ราคาแพงขูดเลือดของรัฐบาลแล้วละก็ ต้องบอกว่าโชคจากไปรษณียบัตรทายผลฟุตบอลโลก เป็นสุดยอดความหวัง

เศรษฐีในช่วงข้ามวันที่ชนชั้นรากหญ้าไปจนถึงชั้นกลางใฝ่ฝันมากที่สุด จึงไม่แปลกที่จะเห็นคลื่นมหาชนแห่กันไปที่ทำการไปรษณีย์เพื่อซื้อหาไปรษณียบัตรลุ้นโชคกันจนล้นหลาม โดยในปีนี้สองพันธมิตร หนังสือพิมพ์หัวสียักษ์ใหญ่ และไปรษณีย์ไทย ได้เตรียมพิมพ์ไปรษณียบัตรไว้เพื่อจำหน่ายแล้วกว่า 160 ล้านใบ

โรงรับจำนำเฟื่องฟู การแข่งขันเวิลด์คัพ 2010 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นธุรกิจโรงรับจำนำ เนื่องจากความถี่ของการใช้บริการโรงรับจำนำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการที่ “คอพนัน” ส่วนหนึ่งเข้าโรงรับจำนำเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเล่นพนันฟุตบอล และยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของบรรดาคอพนันบอลที่จะใช้

เป็นแหล่งเงินที่จะนำมาใช้หนี้เมื่อต้องเสียพนัน โดยบอลโลกในครั้งนี้ คาดกันว่าจะมีวงเงินสะพัดหมุนเวียนเพื่อเล่นพนันฟุตบอลโลกของคนกรุงเทพฯ ไม่ตํ่ากว่า9,000 ล้านบาท แม้จะมีหลายธุรกิจที่สามารถหลุดพ้นวิกฤติการเมืองด้วยการเกาะกระแสบอลโลกเพิ่มยอดขายได้ แต่กลับเป็นเรื่องน่ากังวลของผู้ปกครองอยู่ไม่น้อย

เมื่อผลสำรวจของหลายหน่วยงานระบุตรงกันว่า“เด็ก และเยาวชนไทยมีแนวโน้มเข้าสู่วงจรพนันบอลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ”น่าเสียดายโอกาสของเยาวชนคนรุ่นใหม่แทนที่จะได้ติดตามการแข่งขันเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สุดท้ายกลับต้องกลายเป็นทาสของวงจร...พนันบอล!!!

นางสาวรติรส มานะไพร

รหัส 52127312048

การเงินการธนาคาร 02

นางสาวนุสรา เสริมเผือก

บอลโลกฟื้นชีพธุรกิจเบียร์ดันยอดพุ่ง

กระแสการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้ ได้ทำให้ยอดขายเบียร์ทั่วโลกพุ่งกระฉูดหลังจากที่ประสบภาวะซบเซาไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้จากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลก

ชินยา อิซูมิ โฆษกบริษัทผู้ผลิตเบียร์คิริน ของญี่ปุ่น เชื่อว่า ยอดขายเบียร์ของบริษัทจะพุ่งขึ้นมากกว่า 4% ตลอดการแข่งขันฟุตบอลโลก และยิ่งทีมญี่ปุ่นสามารถเอาชนะทีมแคเมอรูนได้ยิ่งทำให้ยอดสั่งซื้อจากร้านค้าพุ่งขึ้นตามไปด้วย

รายงานระบุว่า บริษัทผู้ผลิตเบียร์ในญี่ปุ่นหลายแห่งหวังว่ากระแสฟุตบอลโลกจะช่วยฟื้นชีวิตธุรกิจเบียร์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ยอดตกลงไปฮวบฮาบนับตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนหน้าเมื่อปี 2006

ด้านจีนนั้นบริษัทผู้ผลิตเบียร์ยี่ห้อ “ชิงเต่า” ในเองจู้โจว เผยว่ายอดขายพุ่งขึ้นถึง 2 เท่าตัว จาก 2.4 หมื่นขวดต่อวัน เป็น 4.2 หมื่นขวดต่อวันแล้ว

เช่นเดียวกับเกาหลีใต้ ในช่วงแมตช์การแข่งขันระหว่างทีมโสมขาวและอาร์เจนตินานั้นมียอดขายเบียร์ “จีเอส 25” ถึง 345,000 ขวด/กระป๋อง เพิ่มจากสัปดาห์ก่อนหน้าถึง 123%

ทางด้านสถานการณ์ในยุโรปอย่างที่อังกฤษนั้น ผับและร้านอาหารต่างมีลูกค้าเบียร์แน่นขนัด โดยในช่วงแมตช์ระหว่างอังกฤษและสหรัฐเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีการขายเบียร์ถึง 12 ล้านเหยือก คิดเป็นมูลค่า 42 ล้านยูโร

สำหรับเยอรมนี ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการผลิตเบียร์ของโลกนั้นระบุว่า ยอดขายจะเพิ่มหรือลดนั้นอยู่ที่ว่าทีมเยอรมนีจะสามารถเอาชนะได้หรือไม่ ซึ่งการดื่มเบียร์ของชาวเยอรมันนั้นอยู่ที่ 100 ลิตรต่อคนต่อปี ลดจากเดิมที่ 150 ลิตรเมื่อราว 30 ปีก่อน

แอฟริกาใต้ประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกนั้น “ซาบมิลเลอร์” บริษัทผู้ผลิตเบียร์ยี่ห้อมิลเลอร์ไลท์, เปโรนี และกรอช นั้นได้ทำการตุนสินค้าล่วงหน้ากันทีเดียว โดยคาดว่าตลอดการแข่งขัน 5 สัปดาห์นั้นจะขายเบียร์ได้ถึง 10 ล้านลิตรทีเดียว

นายพรวุฒิ สารสิน รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด กล่าวว่า หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย รวมทั้งเข้าสู่งานมหกรรมเวิลด์คัพ ส่งผลให้บรรยากาศโดยรวมในประเทศไทยดีขึ้น เชื่อว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการทำกิจกรรมการตลาดในช่วงบอลโลกซึ่งโค้กเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในปีนี้

ส่วนการดำเนินธุรกิจในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเครื่องดื่มยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จากสภาวะอากาศที่ร้อนจัด แต่ปัจจัยที่น่าเป็นห่วงในการดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีหลัง มาจากแนวโน้มต้นทุนทางธุรกิจที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ปัจจัยราคาน้ำมัน อะลูมิเนียม มีราคาผันผวนมาก

ด้าน น.ส.กรอบแก้ว ปันยารชุน ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แคมเปญรับบอลโลกจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป โดยได้จัดสรรงบเพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านบาท จัดกิจกรรม "โค้ก เซเลเบรชั่น ปาร์ค ลานบอลโลก สดทั่วไทย" เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงกิจกรรมอย่างใกล้ชิดทั้งในบ้านและนอกบ้าน โดยโค้กได้จัดการถ่ายทอดสัญญาณด้วยรถ Hello Mobile โค้ก เวิลด์ คัพ เวียนชมการถ่ายทอดสด 15 หัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ และกิจกรรมอีก 18 จุดในกรุงเทพฯ

"สีสันและบรรยากาศการจัดกิจกรรมของโค้ก ในการแข่งขันฟุตบอลโลกปีนี้จะแตกต่างไปจาก 4 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกิจกรรมที่เข้มข้นขึ้นในทุกระดับ ทุกช่องทาง โดยเฉพาะกลยุทธ์การเข้าถึงผู้บริโภคแบบโดยตรง ซึ่งตั้งเป้าการเข้าถึงผู้บริโภคตลอดฤดูกาลแข่งขันถึงกว่า 30 ล้านคน" น.ส.กรอบแก้ว กล่าวและว่า นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้พันธมิตรร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม สามารถชมการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย ซึ่งขณะนี้มีจำนวนร้านค้าต่างๆ ร่วมกิจกรรมกับโค้กแล้วกว่า 5,000 ร้านค้า โดยจะสามารถโปรโมทและถ่ายทอดสดบอลได้ในร้านทุกนัด ทุกแมทช์ อย่างถูกลิขสิทธิ์ โดยจะมีสติกเกอร์สัญลักษณ์อาร์เอสที่ได้รับแจกจากโค้กในโปรโมท

ทั้งนี้ มองว่ากิจกรรมดังกล่าวจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดทิ้งห่างจากคู่แข่งมากขึ้น โดยเฉพาะอัตราการเติบโตที่จะใกล้เคียงกับในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งเติบโต 10% และส่งผลให้ครึ่งปีหลังเติบโตไม่ต่ำกว่าครึ่งปีแรก จากปัจจุบันตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลม มีมูลค่ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท

สินค้าทุ่มงบซื้อโฆษณา

นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงเดือน มิ.ย.นี้ที่เข้าสู่ช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 คาดว่าจะส่งผลดีให้เม็ดเงินในธุรกิจโฆษณาเติบโตเกิน 10% เนื่องจากเจ้าของสินค้าอุปโภคบริโภคหันมาให้ความสนใจกับกระแสฟุตบอลโลกมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเดิมที่เคยอัดงบโฆษณาในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ก็ยังเดินหน้าใช้งบตามปกติ ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหม่ก็เข้ามาใช้เงินผ่านสื่อโฆษณาเพื่อเกาะกระแสและสร้างสีสันมากขึ้น จึงคาดว่าธุรกิจโฆษณาในช่วงเดือนมิ.ย.ปีนี้ จะเติบโตกว่าปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะสื่อทีวี จากเดิมในช่วงเดือน มิ.ย. จะเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซั่นของธุรกิจโฆษณา

“ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงไตรมาส 2 และ 3 นี้ คาดว่าจะเติบโตเกิน 10% เช่นกัน เพราะเจ้าของสินค้ายังเดินหน้าทุ่มงบโฆษณาตามปกติ แม้เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองก็ตาม เพราะปีที่ผ่านมามีเจ้าของสินค้าหลายรายการชะลอการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อ จากความกังวลปัจจัยลบทางการเมือง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจและแบรนด์สินค้า ทำให้ปีนี้เจ้าของสินค้าต้องเดินหน้าทำกิจกรรมการตลาดตามปกติ คาดว่าภาพรวมธุรกิจโฆษณาในสิ้นปีนี้จะเติบโตมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ภาพรวมธุรกิจโฆษณาไม่มีการเติบโต”

นางสุภาณี เดชาบุรานานนท์ รองประธานกลุ่ม บริษัท มายแชร์ จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจซื้อโฆษณารายใหญ่ของประเทศ กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจโฆษณาในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เติบโตประมาณ 11.42% หรือมีมูลค่า 38,921 ล้านบาท.

นางสาว นุสรา เสริมเผือก

รหัส 52127312038

การเงินการธนาคาร 02

1.ธุรกิจร้านอาหาร เป็นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก เพราะ

ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ก็เป็นวิธีการเรียกลูกค่าให้มาเข้าใช้บริการในร้านของตนอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการชวนให้ลูกค่ามารับประทานอาหารในร้านของตนเพิ่มมากขึ้น และก็สั่งอาหารแบบไม่มีการเอ่ยปากเลยว่าแพง เพราะทุกคนมารับประทานอาหารในครั้งนี้ ก็เสมือนหนึ่งการมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มาสังสรรค์กันในกลุ่มเพื่อน กลุ่มคนทำงานด้วยกัน หรือแม้แต่การมาทานอาหารนอกบ้านของคนในครอบครัว ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกเช่นนี้ ส่วนมากจะได้รับการเข้าใช้บริการมาก และได้กำไรมากขึ้นจากการมารับประทานอาหารในแต่ละวัน เมื่อเปรียบเทียบจากวันธรรมดา ร้านอาหารใดที่มีการให้บริการที่ดี สร้างความประทับใจให้กลับลูกค้า ลูกค้าที่เคยมาใช้บริการแล้ว ก็จะกลับมาเข้ามาใช้บริการอีก เนื่องจากการให้บริการที่ประทับใจของทางร้าน

2.ธุรกิจขายของที่ระลึก

เป็นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก เพราะ

ก่อนเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 ใกล้จะมาถึง ก็มีการเตรียมทำสิ่งของที่ระลึก ไว้นำมาว่างขายกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตานักฟุตบอลตัวจิ๋ว เข็มกลัดรูปนักฟุตบอลคนโปรด รูปถ่ายทีมชาติต่างๆที่ตนชื่นชอบ พวงกุญแจรูปนักเตะและรูปลูกฟุตบอล รวมกระทั่งเครื่องประดับเล็กๆที่เป็นลายธงชาติต่างๆ เมื่อได้ไปเชียร์ฟุตบอลโลกในสถานที่ต่างๆ ที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ให้ลองสังเกตดูว่าเวลาเราไปในสถานที่เชียร์ฟุตบอลโลก ก็จะมีร้านขายของที่ระลึกแทบจะทุกที่ และทุกร้านที่เห็นก็จะมีผู้คนให้ความสนใจในสิ่งของที่ระลึกนั้นๆมาก สิ่งที่ได้สังเกตเห็นนี้ กำลังจะสื่อให้เห็นว่าธุรกิจการขายของที่ระลึกในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 เป็นธุรกิจหนึ่งที่ให้ผลกำไรมากในช่วงเวลานี้

3. บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด

บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านดิจิตอลไลฟ์สไตล์ และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อผู้บริโภค ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่ล่าสุดร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนหลัก FIFAอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงพันธมิตรทางธุรกิจของโซนี่ อันประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคล่า(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อาดิดาส (ประเทศไทย) จำกัด, สายการบินเอมิเรตส์ และบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายในงานSony 2010 FIFA World Cup Caravan เพื่ออุ่นเครื่องกระแสฟุตบอลโลก 2010 FIFA World Cup ณ ประเทศแอฟริกาใต้ นำเสนอด้วยหลากหลากิจกรรมสุดพิเศษ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ความบันเทิงให้ก้าวล้ำไปอีกระดับ พร้อมคืนกำไรให้ลูกค้ายังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรผุ้สนับสนุนหลักของ FIFA และพันธมิตรทางธุรกิจของเราไม่ว่าจะเป็น โคคา-โคล่า, อาดิดาส, เอมิเรตส์, ฮุนได, พาวเวอร์ มอลล์ และสยาม พารากอน โดยเราคาดว่าจะเป็นการขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งเรามีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับกับไลฟ์สไตล์ที่หลายหลาก ตอบสนองความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคในทุกกลุ่ม

กิจกรรมสนับสนุน สุดพิเศษด้วยกองทัพสินค้าจากโซนี่มากมายที่ยกขบวนกันมาลดราคาส่วนลดพิเศษออนท็อป 10% และผ่อนนานสูงสุด 10 เดือน ลูกค้าที่ซื้อสินค้าโซนี่ครบทุก 3,000 บาท ยังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลสุดพิเศษตั๋วชมฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ และรอบรองชนะเลิศ ณ ประเทศ แอฟริกาใต้ มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท พร้อมรางวัลอื่น ๆ อาทิ โทรทัศน์สี แอลซีดี บราเวีย เครื่องเล่นดีวีดีบลูเรย์ และโน๊ตบุ๊ค VAIO เป็นต้น ลูกค้าโซนี่ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ภายในงาน Sony 2010 FIFA World Cup Caravan ยังมีสิทธิ์รับของที่ระลึก และโปรโมชั่นโดนใจอื่น ๆ อีกมากมายจากผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงาน

4. ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “7-Eleven”

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “7-Eleven” ถือเป็นธุรกิจที่มีการสนับสนุนในการเชียร์ฟุตบอลโลกเป็นอย่างมากโดย อาร์เอส” เตรียมต่อยอดธุรกิจ หันจับมือร้านสะดวกซื้อ “7-Eleven” ส่งโปสการ์ด 5 แบบสดใส จาก 14 ศิลปินสุดเซ็กซี่มาเอาใจคอบอลร่วมทายผลฟุตบอลโลก กับโปรโมชั่น “I Love World Cup” ชิงเงินรางวัลกว่า 30 ล้านบาท พร้อมเปิดตัวมิวสิควีดีโอเพลง “ Go la la” ที่แต่งขึ้นเพื่อการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้โดยเฉพาะ และอาร์เอสเชื่อมันว่าด้วยเกมการฟาดแข้งระดับโลกบวกกับกิจกรรมและโปรโมชั่นที่ทางอาร์เอสและพันธมิตรร่วมกันจัดขึ้น จะสามารถทำให้คนไทยทั่วประเทศได้สนุก ได้ตื่นเต้น ได้เชียร์แบบออกรสออกชาติไปกับทุกแมตซ์การแข่งขัน ตลอดระยะเวลา 1 เดือนเต็ม ระหว่างวันที่ 11 มิ.ย.- 11 ก.ค. ที่กำลังจะมาถึง โดยช่วงเวลาในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกของบ้านเราในปีนี้ ยังตรงกับเวลา 18.00 , 21.00 และ 01.00 น. ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นเวลาทองสำหรับแฟนบอลชาวไทยเลยทีเดียว ในการออกโปรเจ็ค I love World Cup ให้แฟนบอลชาวไทยได้ร่วมลุ้น ร่วมสนุกไปกับแมตช์การแข่งขันระดับโลกที่ทุกคนรอคอย ควบคู่กับการทายผลบอลโลกผ่านโปสการ์ด ว่าทีมไหนจะได้เป็นแชมป์ และครองถ้วยบอลโลก ในการแข่งขัน 2010 ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ เซาธ์ แอฟริกาพร้อมกับลุ้นชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 30 ล้านบาท โดยมีรางวัลใหญ่เป็นทองคาหนัก 100 บาท 1 รางวัล, ทองคาหนัก 10 บาท 100 รางวัล, โทรทัศน์ SAMSUNG LCD ขนาด 32 นิ้ว 100 รางวัล, รถจักรยานยนต์ YAMAHA FINO 100 รางวัล , โทรศัพท์มือถือ AIS Blackberry Bold 9700 100 รางวัล สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายไปรษณียบัตรทายผลบอลโลกและกล่องรับชิ้นส่วนทายผลนั้น เราเชื่อมั่นว่าด้วยสาขาของ 7-Eleven ที่มีอยู่กว่า 5,000 สาขา ทั่วประเทศ จะเอื้อและอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ที่ต้องการร่วมสนุกกับการทายผลบอลโลกได้เป็นอย่างดี หวังว่าคอบอลชาวไทยจะได้ชมบอลโลกอย่างมีความสุข พร้อมกับลุ้นรับรางวัลกับโปรเจ็ค I love World Cup ควบคู่กันไปอีกด้วย

5. บริษัท ยูนิลีเวอร์ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด

บริษัท ยูนิลีเวอร์ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมเวิลด์คัพแล้วแม้การเมืองในประเทศยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ โดยจะใช้งบในส่วนของอีเวนท์เพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านบาท รวมกับการเป็นสปอนเซอร์ระดับแพลทินัม 50 ล้านบาท ซึ่งกิจกรรมบีโลว์เดอะไลน์ที่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และครั้งนี้ได้รวม 3 แบรนด์ผู้ชายของบริษัทคือ เคลียร์ เมน แอ๊กซ์ และวาสลีน เมน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปรากฏการณ์ทางการตลาด ประกอบด้วย การเป็นผู้สนับสนุนหลักการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ เซาท์ แอฟริกา 2010 อย่างเป็นทางการ

นายเมทนี ทิพย์สุมาลัย

การเงินการธนาคาร01

52127312020

1.ธุรกิจร้านอาหาร เป็นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก เพราะ

ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ก็เป็นวิธีการเรียกลูกค่าให้มาเข้าใช้บริการในร้านของตนอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการชวนให้ลูกค่ามารับประทานอาหารในร้านของตนเพิ่มมากขึ้น และก็สั่งอาหารแบบไม่มีการเอ่ยปากเลยว่าแพง เพราะทุกคนมารับประทานอาหารในครั้งนี้ ก็เสมือนหนึ่งการมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มาสังสรรค์กันในกลุ่มเพื่อน กลุ่มคนทำงานด้วยกัน หรือแม้แต่การมาทานอาหารนอกบ้านของคนในครอบครัว ร้านอาหารที่มีการนำเอาทีวีมาเปิดการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกเช่นนี้ ส่วนมากจะได้รับการเข้าใช้บริการมาก และได้กำไรมากขึ้นจากการมารับประทานอาหารในแต่ละวัน เมื่อเปรียบเทียบจากวันธรรมดา ร้านอาหารใดที่มีการให้บริการที่ดี สร้างความประทับใจให้กลับลูกค้า ลูกค้าที่เคยมาใช้บริการแล้ว ก็จะกลับมาเข้ามาใช้บริการอีก เนื่องจากการให้บริการที่ประทับใจของทางร้าน

2.ธุรกิจขายของที่ระลึก

เป็นธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก เพราะ

ก่อนเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 ใกล้จะมาถึง ก็มีการเตรียมทำสิ่งของที่ระลึก ไว้นำมาว่างขายกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตานักฟุตบอลตัวจิ๋ว เข็มกลัดรูปนักฟุตบอลคนโปรด รูปถ่ายทีมชาติต่างๆที่ตนชื่นชอบ พวงกุญแจรูปนักเตะและรูปลูกฟุตบอล รวมกระทั่งเครื่องประดับเล็กๆที่เป็นลายธงชาติต่างๆ เมื่อได้ไปเชียร์ฟุตบอลโลกในสถานที่ต่างๆ ที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ให้ลองสังเกตดูว่าเวลาเราไปในสถานที่เชียร์ฟุตบอลโลก ก็จะมีร้านขายของที่ระลึกแทบจะทุกที่ และทุกร้านที่เห็นก็จะมีผู้คนให้ความสนใจในสิ่งของที่ระลึกนั้นๆมาก สิ่งที่ได้สังเกตเห็นนี้ กำลังจะสื่อให้เห็นว่าธุรกิจการขายของที่ระลึกในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2010 เป็นธุรกิจหนึ่งที่ให้ผลกำไรมากในช่วงเวลานี้

3. บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด

บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านดิจิตอลไลฟ์สไตล์ และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อผู้บริโภค ประกาศความร่วมมือครั้งใหม่ล่าสุดร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนหลัก FIFAอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงพันธมิตรทางธุรกิจของโซนี่ อันประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคล่า(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท อาดิดาส (ประเทศไทย) จำกัด, สายการบินเอมิเรตส์ และบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายในงานSony 2010 FIFA World Cup Caravan เพื่ออุ่นเครื่องกระแสฟุตบอลโลก 2010 FIFA World Cup ณ ประเทศแอฟริกาใต้ นำเสนอด้วยหลากหลากิจกรรมสุดพิเศษ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ความบันเทิงให้ก้าวล้ำไปอีกระดับ พร้อมคืนกำไรให้ลูกค้ายังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรผุ้สนับสนุนหลักของ FIFA และพันธมิตรทางธุรกิจของเราไม่ว่าจะเป็น โคคา-โคล่า, อาดิดาส, เอมิเรตส์, ฮุนได, พาวเวอร์ มอลล์ และสยาม พารากอน โดยเราคาดว่าจะเป็นการขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งเรามีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่สามารถรองรับกับไลฟ์สไตล์ที่หลายหลาก ตอบสนองความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคในทุกกลุ่ม

กิจกรรมสนับสนุน สุดพิเศษด้วยกองทัพสินค้าจากโซนี่มากมายที่ยกขบวนกันมาลดราคาส่วนลดพิเศษออนท็อป 10% และผ่อนนานสูงสุด 10 เดือน ลูกค้าที่ซื้อสินค้าโซนี่ครบทุก 3,000 บาท ยังมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลสุดพิเศษตั๋วชมฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ และรอบรองชนะเลิศ ณ ประเทศ แอฟริกาใต้ มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท พร้อมรางวัลอื่น ๆ อาทิ โทรทัศน์สี แอลซีดี บราเวีย เครื่องเล่นดีวีดีบลูเรย์ และโน๊ตบุ๊ค VAIO เป็นต้น ลูกค้าโซนี่ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ภายในงาน Sony 2010 FIFA World Cup Caravan ยังมีสิทธิ์รับของที่ระลึก และโปรโมชั่นโดนใจอื่น ๆ อีกมากมายจากผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงาน

4. ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “7-Eleven”

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “7-Eleven” ถือเป็นธุรกิจที่มีการสนับสนุนในการเชียร์ฟุตบอลโลกเป็นอย่างมากโดย อาร์เอส” เตรียมต่อยอดธุรกิจ หันจับมือร้านสะดวกซื้อ “7-Eleven” ส่งโปสการ์ด 5 แบบสดใส จาก 14 ศิลปินสุดเซ็กซี่มาเอาใจคอบอลร่วมทายผลฟุตบอลโลก กับโปรโมชั่น “I Love World Cup” ชิงเงินรางวัลกว่า 30 ล้านบาท พร้อมเปิดตัวมิวสิควีดีโอเพลง “ Go la la” ที่แต่งขึ้นเพื่อการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้โดยเฉพาะ และอาร์เอสเชื่อมันว่าด้วยเกมการฟาดแข้งระดับโลกบวกกับกิจกรรมและโปรโมชั่นที่ทางอาร์เอสและพันธมิตรร่วมกันจัดขึ้น จะสามารถทำให้คนไทยทั่วประเทศได้สนุก ได้ตื่นเต้น ได้เชียร์แบบออกรสออกชาติไปกับทุกแมตซ์การแข่งขัน ตลอดระยะเวลา 1 เดือนเต็ม ระหว่างวันที่ 11 มิ.ย.- 11 ก.ค. ที่กำลังจะมาถึง โดยช่วงเวลาในการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกของบ้านเราในปีนี้ ยังตรงกับเวลา 18.00 , 21.00 และ 01.00 น. ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นเวลาทองสำหรับแฟนบอลชาวไทยเลยทีเดียว ในการออกโปรเจ็ค I love World Cup ให้แฟนบอลชาวไทยได้ร่วมลุ้น ร่วมสนุกไปกับแมตช์การแข่งขันระดับโลกที่ทุกคนรอคอย ควบคู่กับการทายผลบอลโลกผ่านโปสการ์ด ว่าทีมไหนจะได้เป็นแชมป์ และครองถ้วยบอลโลก ในการแข่งขัน 2010 ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ เซาธ์ แอฟริกาพร้อมกับลุ้นชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 30 ล้านบาท โดยมีรางวัลใหญ่เป็นทองคาหนัก 100 บาท 1 รางวัล, ทองคาหนัก 10 บาท 100 รางวัล, โทรทัศน์ SAMSUNG LCD ขนาด 32 นิ้ว 100 รางวัล, รถจักรยานยนต์ YAMAHA FINO 100 รางวัล , โทรศัพท์มือถือ AIS Blackberry Bold 9700 100 รางวัล สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายไปรษณียบัตรทายผลบอลโลกและกล่องรับชิ้นส่วนทายผลนั้น เราเชื่อมั่นว่าด้วยสาขาของ 7-Eleven ที่มีอยู่กว่า 5,000 สาขา ทั่วประเทศ จะเอื้อและอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ที่ต้องการร่วมสนุกกับการทายผลบอลโลกได้เป็นอย่างดี หวังว่าคอบอลชาวไทยจะได้ชมบอลโลกอย่างมีความสุข พร้อมกับลุ้นรับรางวัลกับโปรเจ็ค I love World Cup ควบคู่กันไปอีกด้วย

5. บริษัท ยูนิลีเวอร์ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด

บริษัท ยูนิลีเวอร์ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมเวิลด์คัพแล้วแม้การเมืองในประเทศยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ โดยจะใช้งบในส่วนของอีเวนท์เพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านบาท รวมกับการเป็นสปอนเซอร์ระดับแพลทินัม 50 ล้านบาท ซึ่งกิจกรรมบีโลว์เดอะไลน์ที่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และครั้งนี้ได้รวม 3 แบรนด์ผู้ชายของบริษัทคือ เคลียร์ เมน แอ๊กซ์ และวาสลีน เมน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปรากฏการณ์ทางการตลาด ประกอบด้วย การเป็นผู้สนับสนุนหลักการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ เซาท์ แอฟริกา 2010 อย่างเป็นทางการ

นายเมทนี ทิพย์สุมาลัย

การเงินการธนาคาร01

52127312020

1. บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย)

บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดโครงการ "โค้ก เซเลเบรชั่น ปาร์ค ลานบอลโลก สดทั่วไทย" นำคาราวานรถ "โค้ก เวิลด์ คัพ" ติดจอยักษ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกแมตช์ต่างๆ ให้แฟนบอล 15 จังหวัดทั่วไทย ได้ร่วมชมและเชียร์ทีมที่ตัวเองชอบ

บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่มีความยั่งยืนสูงและมีผู้บริโภคมากมายทั่วประเทศ จึงถือว่าเป็นหลักประกันในความมั่นใจเราของในการให้สินเชื่อต่อธุรกิจนี้

แนวทางในการที่จะทำให้มีลูกค้ามากขึ้นนั้น ดิฉันคิดว่าในงานควรมีการจัดเป็น Zone กิจกรรมสนุกต่างๆ Zone ให้ความรู้เกี่ยวกันฟุตบอลโลกปี 2010 จุดกำเนิดของฟุตบอลความยิ่งใหญ่ของทีมฟุตบอลในอดีต สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องความเป็นมาของฟุตบอลโลก มีพีธีกรในการสร้างความบันเทิง มีคอนเสิร์ตเล็กๆ เพื่อสร้างสีสันให้กับงานนี้น่าสนใจมากขึ้น และเพื่อสนับสนุนบริษัท โคคา-โคลา เอง ควรมีฝาโค้ก 5 ฝา เพื่อแลกเข้างานนี้ฟรี หากไม่มีฝาโค้ก 5 ฝาก็สามารถชื้อบัตรเข้างานในราคา 50 บาท แต่สามารถเอาไปแลกโค้กในงานได้ 1 กระป๋องด้วย

2.บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย)

นายโทชิฮิโร มาจิมะ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายทีวี เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ภายใต้แบรนด์พานาโซนิค เปิดเผยว่า ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือน มิ.ย. นี้ บริษัทได้ใช้งบเป็นเงิน 50 ล้านบาท ส่งผลให้งบการทำตลาดของบริษัทในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปกติที่จะใช้อยู่ราว 10% ของยอดขาย เพื่อส่งเสริมยอดขายทีวีจอแบนไม่ว่าจะเป็นแอลซีดีทีวี หรือพลาสม่าทีวี เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงดังกล่าวให้เติบโตมากกว่า 10 – 15% หรือเติบโตมากกว่าตลาดรวมที่คาดว่าจะเติบโตในช่วงดังกล่าวราว 10 – 15%

3.บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด

นายปิติ ภิรมย์ภักดี ผู้จัดการกลุ่มการตลาด บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เบียร์ , น้ำดื่ม ,โซดา ภายใต้ชื่อสิงห์ กล่าวว่า บริษัทตอบรับการเป็นสปอนเซอร์ออนกราวด์ หรือการเป็นผู้สนับสนุนการจัดอีเวนต์ ร่วมกับบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ผู้ได้รับสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ตลอด 1 เดือนเต็ม ที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยอีเวนต์ทั้ง 5 จุด ประกอบไปด้วย ลานศูนย์การค้า ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต , เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ , เดอะ มอลล์ โคราช , เซ็นทรัล แอร์พอร์ต เชียงใหม่ และไฮเทค ไนท์บาซาร์ อุดรธานี

"การจัดแคมเปญฟุตบอลโลก 2010 ในครั้งนี้บริษัทเตรียมงบประมาณกว่า 35 ล้านบาท แบ่งออกเป็นงบการสนับสนุนอีเวนต์ ร่วมกับอาร์เอส 20 ล้านบาท และงบสำหรับจัดกิจกรรม 15 ล้านบาท โดยการจัดกิจกรรมทั้ง 5 จุดตามที่อาร์เอส กำหนดแล้ว บริษัทยังสามารถทำกิจกรรมร่วมกับร้านค้าทั่วไปที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสิงห์ได้อีกด้วย"

4. เดอะพิซซ่า คอมปะนี

" พิซซ่า " เป็นอาหารประเภทแรกที่ทุกคนต้องนึกถึง ซึ่งมีการเตรียมทีมงานดีลิเวอรี่กันอย่างเต็มที่ และที่น่าจับมากที่สุดก็เห็นจะเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่าง "เดอะพิซซ่า คอมปะนี" จากค่ายไมเนอร์ ฟู้ด กับ "พิซซ่า ฮัท" จากยัมฯ ที่รบกันมาทุกสนาม แม้ปัจจุบัน ด้วยความได้เปรียบของจำนวนสาขาของเดอะพิซซ่าฯ ที่มากกว่าเป็นเท่าตัว ก็ทำให้เกม ๆ นี้ตกไปเป็นของเดอะพิซซ่าฯ แบบไม่ต้องออกแรงเหนื่อยมากนัก

ปัจจุบัน เดอะพิซซ่า คอมปะนี ผู้นำตลาดพิซซ่าของไทย ด้วยส่วนแบ่งกว่า 60% จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 5,800 ล้านบาท งานนี้ รับมือด้วยการขยายเวลาให้บริการดีลิเวอรี่ ผ่านบริการ 1112 เพิ่มอีก 1 ชั่วโมงครึ่ง จากเดิม 24.00 น. ขยายเป็นถึงเวลา 01.30 น. ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน - 11 กรกฎาคม

"แอนดี้ โฮลแมน" รองประธานกรรมการและผู้จัดการทั่วไป เดอะพิซซ่า คอมปะนี ประเทศไทย บริษัท เดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป คาดว่าจะส่งผลให้บริษัทมียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นราว 15% เทียบกับช่วงปกติ ดูเหมือนเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมากนัก แต่ด้วยฐานของเดอะพิซซ่า คอมปะนี ที่ค่อนข้างใหญ่ ถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายพอสมควร

5. ธุรกิจการขายเสื้อผ้า

เพราะเนื่องจากธุรกิจประเภทนี้มีจำนวนค่อนข้างมากในตลาด การแข่งขันจึงค่อนข้างสูงการที่จะปล่อยสินเชื่อแก่ห้างร้านหรือบริษัทที่จัดทำเสื้อหรือผ้าพันคอที่มีตราสัญลักษณ์ของประเทศต่างๆ เราจึงจำเป็นต้องมีการคัดสรรและเลือกบริษัทที่มีผลประกอบการดี คือ ควรจะปล่อยให้แก่บริษัทที่มี แบรนด์ติดตลาด อาที เช่น NIKE ADIDAS PUMA เป็นต้น การปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทจำพวกนี้น่าจะยั่งยืนเลยทีเดียว เพราะถ้าหากหมดช่วงฟุตบอลโลกไปเสื้อผ้าก็จะสามารถจำหน่ายได้อยู่ เนื่องจากการที่ทุกคนต้องการออกกำลังกายอีกทั้งมีคนจำนวนหนึ่งก็มักจะหาสะสมเสื้อของทุกการแข่งขันฟุตบอลด้วยและอีกอย่างเสื้อผ้าก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อมนุษย์ด้วย การให้สินเชื่อแก่ธุรกิจประเภทนี้จึงค่อนข้างน่าสนใจ

การที่ธุรกิจประเภทนี้จะมีลูกค้าต่อเนื่องหรือไม่ ตอบได้เลยว่ามีอย่างแน่นอนเพราะการที่จะผลิตเสื้อผ้ากีฬานั้นทุกๆพื้นที่ย่อมมีนักกีฬาและบุคคลที่เล่นกีฬาอย่างแน่นอน ดังนั้นเสื้อกีฬาจึงเป็นที่จำเป็นต่อบุคคลกลุ่มนี้

นางสาวนริศรา น้อยประชา

การเงินการธนาคาร 01

รหัส 52127312006

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

คือ ธุรกิจอาหาร fast food ที่ต่างพร้อมให้บริการนำส่งอาหารตรงถึงท้องคอบอลในช่วงรอบดึกเช่น K.F.C. ที่ใช้โอกาสในช่วงฟุตบอลโลกปีนี้ ขยายเวลาธุรกิจออกไป จากช่วงปกติ ที่ได้ให้บริการด้วยเช่นกัน บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป กล่าวว่า การที่เพิ่มระยะเวลาบริการจัดส่งอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั่วโมง เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายแฟนบอลที่ติดตามการแข่งขันทีมชาติฟุตบอลที่ชื่นชอบ และเพื่อให้ทางเลือกในการให้บริการแก่ลูกค้า และเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งสินค้าทางบริษัทได้มีทางเลือกไว้หลายช่องทางเช่น โทรสั่งทาง1150 หรือทาง Online หรือสั่งที่ร้านกลับบ้าน และบริษัทยังได้จัดโปรโมชัน ต่างๆเช่น

ชุดสุดคุ้ม 1 ประกอบด้วย

• ไก่ทอด 6 ชิ้น

• ไก่วิงอบเฮิบส์ 3 ชิ้น

• ฟิชฟิงเกอร์ 3 ชิ้น

• ไก่ป๊อป 1 กล่อง

• ไฟว์ แมจิก สลัด 1 กล่อง

• มันบด (ปกติ) 1 ถ้วย

• เป๊ปซี่ 500 มล

ราคา 399 บาท

สุดคุ้ม2 ประกอบด้วย

• ไก่ทอด 8 ชิ้น

• ไก่วิงซ์แซ่บ 3 ชิ้น

• ไก่วิงอบเฮิบส์ 3 ชิ้น

• ไก่ป๊อป 1 กล่อง

• นักเก็ตส์ 6 ชิ้น

• ไฟว์ แมจิก สลัด 1 กล่อง

• มันบด (ปกติ) 1 ถ้วย

• เป๊ปซี่ 500 มล

ราคา 499 บาท หรือจะเป็นชุดอื่นๆที่มีให้เลือกมากมาย

“หลังจากเปิดตัวโปรโมชันดังกล่าวแล้ว คาดว่าจะส่งผลให้มียอดขายเพิ่มจากปกติไม่ต่ำกว่า 6% ขณะที่ภาพรวมยอดขายในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มไม่ต่ำกว่า 17%

แนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องธนาคารก็ต้องดูว่า k.f.c นั้นเป็นอาหารที่คนชอบสั่งมารับทานมากน้อยเพียงใดและยิ่งในช่วงฟุตบอลโลกอย่างนี้การที่มีจัดโปรโมชั่นและการขยายเวลาในการส่งทำให้ลูกค้าชอบและสั่งกินเวลาที่เชียร์ฟุตบอลไปด้วย ถึงจะอยู่ในช่วงฟุตบอลโลกหรือไม่ก็ยังถือว่า kfc นั้นเป็นอาหารที่ทุกคนชอบกินมียอดขายที่ดีและยิ่งในช่วงฟุตบอลโลกมีการจัดรายการอย่างนี้ยิ่งทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น

นายชัยวัฒน์ ดีฉ่ำ

52127312033 (การเงิน 01)

<b><center></center>ธุรกิจที่ควรปล่อยสินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010</center></b>

<font color=green>ร้านขายชุด อุปกรณ์ การกีฬา</font>

ร้านเสื้อผ้าชุดกีฬา และอุปกรณ์กีฬา ในเขตเทศบาลนครตรัง ช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก แอฟฟริกาใต้ 2010 เป็นไปด้วยความคึกคัก โดยเฉพาะเมื่อแข่งขันมาถึงช่วงนัดสุดท้ายในรอบแรก

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดตรัง ได้เดินทางไปไปสำรวจบรรยากาศการจำหน่ายเสื้อผ้าชุดกีฬา และอุปกรณ์กีฬาต่างๆ ในเขตเทศบาลนครตรัง ช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก แอฟฟริกาใต้ 2010 ซึ่งปรากฎว่า มีลูกค้าให้ความสนใจเข้าไปใช้บริการจำนวนมากพอสมควร ทำให้ยอดการจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นกว่าเมื่อ 4 ปีก่อน หรือในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก เยอรมนี 2006

นายญนัต แก้วหาญ อายุ 65 ปี เจ้าของร้านสปอต แม็ค ร้านจำหน่ายเสื้อผ้าชุดกีฬา และอุปกรณ์กีฬารายใหญ่ ซึ่งเปิดให้บริการมานานว่า 30 ปี แล้ว โดยตั้งอยู่บนถนนพระราม 6 ในเขตเทศบาลนครตรัง กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลกครั้งนี้ มีลูกค้าให้ความสนใจมากซื้อสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะตั้งแต่การแข่งขันมาถึงช่วงนัดสุดท้ายในรอบแรก เพราะแต่ละทีมมีความคึกคักในการลุ้นเข้าสู่รอบสอง

โดยในส่วนของร้าน ก็ได้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ รวมทั้งยังมีการจัดกิจกรรมโปรโมชั่นเกี่ยวกับฟุตบอลโลก 2010 ด้วย เช่น หากลูกค้าซื้อสินค้าครบตามจำนวนที่กำหนด ก็จะได้รับของที่ระลึกฟรี ไม่ว่าจะเป็นสายรัดข้อมือลายธงชาติของประเทศต่างๆ ที่เข้าทำการแข่งขัน กระเป๋าฟุตบอลโลก และลูกฟุตบอลยี่ห้อเดียวและลายเดียวกันกับที่ใช้แข่งขันในฟุตบอลโลก

ทั้งนี้ หากเทียบกับช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก เมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งทางร้านก็ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาเช่นกัน ปรากฎว่า มีผลตอบรับเป็นอย่างดีไม่แตกต่างกัน และยังคาดว่าในครั้งนี้ผลตอบรับน่าจะมีกว่าครั้งก่อน เนื่องจากกระแสความนิยมเกี่ยวกับฟุตบอลโลกมีสูงมากขึ้น ประกอบกับปัญหาด้านภาวะเศรษฐกิจ และปัญหาด้านการเมือง ก็มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น

<b>ความยั่งยืนของธุรกิจ</b>

ธุรกิจขายชุด อุปกรณ์การกีฬานี้เป็นธุรกิจที่ขายได้ตลอดช่วง การแข่งขันกีฬาก็จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งภายในตัวจังหวัด โรงเรียน และทั้งนี้จะมีกลุ่มลูกค้าประจำที่ใช้บริการทางร้านด้วยการสั่งตัดชุดกีฬาซึ่งตนเป็นผู้ออกแบบ ดังนั้นธุรกิจนี้คงมีความยั่งยืนไม่มากก็น้อย

<b>แนวทางที่จะทำให้มีลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง</b>

ธนาคารควรมีการกำหนดส่วนลดเงินสดในการให้สินเชื่อ เพราะเงินสดถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการที่ต้องยอมแลกเพื่อดึงดูดใจลูกค้าและยังให้ลูกค้ามาชำระหนี้ได้เร็วขึ้นอีกด้วย

ธุรกิจที่ควรให้สินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก 2010

คือธุรกิจสื่อโฆษณา

งบโฆษณาบอลโลกฟีเวอร์กระฉูด

นายปารเมศร์ รัชไชยบุญ นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณาในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา เติบโต 10-11% หรือคิดเป็นเงินที่ใช้ผ่านสื่อโฆษณาต่าง ๆ ประมาณ 23,900 ล้านบาท โดยเฉพาะในช่วงเดือน พ.ค. มีอัตราการเติบโตสูงถึง 16% อัตราการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว ปัจจัยหลักที่เป็นสิ่งกระตุ้น คือ การแข่งขันฟุตบอลโลก สินค้าอุปโภค บริโภค ต่างก็โหมทำรายการส่งเสริมการขายรวมทั้งการประชาสัมพันธ์ ทั้งประเภทเครื่องดื่ม ฟิล์ม ชุดและอุปกรณ์กีฬา รวมทั้งภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัวแล้ว จึงทำให้เกิดการใช้จ่ายในการโฆษณามากขึ้น

อย่างไรก็ตามคาดว่าทั้งปีอุตสาหกรรมโฆษณาจะมีอัตราการเติบโตได้ 12-15% หรือมีมูลค่าตลาดประมาณ 60,000 ล้านบาท ส่วนการที่จะมีอัตราการเติบโตได้ถึง 15% หรือไม่นั้น ต้องดูจากไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ว่าอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 และ 2 หรือไม่ เพราะในไตรมาสที่ 3 เป็นระยะเวลาที่ภาคธุรกิจต่าง ๆ อยู่ในช่วงที่ชะลอตัว ซึ่งเป็นวัฏจักรของธุรกิจ และจะกลับมากระเตื้องขึ้นในไตรมาสที่ 4 และไตรมาสแรกของปีต่อไป

ในช่วง 5 เดือนแรกเม็ดเงินที่ใช้จ่ายในธุรกิจโฆษณาจำนวน 23,900 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วแบ่งเป็นผ่านทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ นิตยสาร สื่อโฆษณากลางแจ้ง โฆษณาในโรงภาพยนตร์ ตามลำดับ และธุรกิจที่จ่ายเงินเพื่อโฆษณามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทีเอ ออเร้นจ์ เอไอเอส ดีแทค และโทรศัพท์พร้อมใช้ วัน-ทู-คอล รวมแล้วมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท ภาครัฐประมาณ 659 ล้านบาท และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 601 ล้านบาท และจะเห็นได้ว่าภาคธุรกิจที่เข้ามาซื้อสื่อ ล้วนเป็นบริษัทในประเทศมากกว่าบริษัทข้ามชาติ

สินค้าทุ่มงบซื้อโฆษณา

นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงเดือน มิ.ย.นี้ที่เข้าสู่ช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 คาดว่าจะส่งผลดีให้เเงินในธุรกิจโฆษณาเติบโตเกิน 10% เนื่องจากเจ้าของสินค้าอุปโภคบริโภคหันมาให้ความสนใจกับกระแสฟุตบอลโลกมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเดิมที่เคยอัดงบโฆษณาในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ก็ยังเดินหน้าใช้งบตามปกติ ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหม่ก็เข้ามาใช้เงินผ่านสื่อโฆษณาเพื่อเกาะกระแสและสร้างสีสันมากขึ้น จึงคาดว่าธุรกิจโฆษณาในช่วงเดือนมิ.ย.ปีนี้ จะเติบโตกว่าปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะสื่อทีวี จากเดิมในช่วงเดือน มิ.ย. จะเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซั่นของธุรกิจโฆษณา

"ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณา คาดว่าจะเติบโตเกิน 10% เช่นกัน เพราะเจ้าของสินค้ายังเดินหน้าทุ่มงบโฆษณาตามปกติ แม้เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองก็ตาม เพราะปีที่ผ่านมามีเจ้าของสินค้าหลายรายการชะลอการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อ จากความกังวลปัจจัยลบทางการเมือง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจและแบรนด์สินค้า ทำให้ปีนี้เจ้าของสินค้าต้องเดินหน้าทำกิจกรรมการตลาดตามปกติ คาดว่าภาพรวมธุรกิจโฆษณาในสิ้นปีนี้จะเติบโตมากกว่า 10% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ภาพรวมธุรกิจโฆษณาไม่มีการเติบโต"

อินเด็กซ์-อสมทชี้บอลโลกปลุกอีเวนท์โฆษณาฟื้น

อินเด็กซ์ฯ - อสมท มั่นใจกระแส "เวิลด์คัพ" ปลุกกิจกรรมและเม็ดเงินโฆษณาช่วงโลว์ซีซันคึกคัก คาดเม็ดเงินสะพัดกว่าพันล้าน ดันอุตฯโฆษณาโตสองหลัก

นายเกรียงไกร กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การชุมนุมทางการเมืองช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจการจัดกิจกรรม (อีเวทน์) สูญเสียรายได้ 400-500 ล้านบาท ขณะที่อินเด็กซ์ฯ เสียโอกาสในการจัดงานเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่จะเริ่มในวันที่ 11 มิ.ย.-11 ก.ค.นี้ เป็นปัจจัยกระตุ้นธุรกิจอีเวนท์ ที่เข้าสู่ช่วงโลว์ ซีซัน ไตรมาส 3 ให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง คาดว่าจะมีเม็ดเงินในการจัดงานอีเวนท์บอลโลกตลอด 1 เดือนกว่า 300 ล้านบาท

สำหรับทิศทางธุรกิจอีเวนท์ในครึ่งปีหลัง แบรนด์สินค้าจะใช้กลยุทธ์โปรโมชั่นกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อเร่งสร้างยอดขายที่สูญเสียโอกาสในช่วงกว่า 2 เดือนที่มีการชุมนุม โดยยังมั่นใจว่าภาพรวมเศรษฐกิจสิ้นปีนี้จะกลับมาเติบโตได้ จากปัจจัยกิจกรรมบอลโลก และการใช้จ่ายงบภาครัฐในเดือน ส.ค.-ก.ย.2553 ก่อนจบปีงบประมาณ

ด้านนายเขมทัตต์ พลเดช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักการตลาด บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กระแสฟุตบอลโลกปีนี้ มีแบรนด์ยักษ์ใหญ่ 10 แบรนด์ ทั้งที่เป็น ออฟฟิศเชียล สปอนเซอร์ และคู่แข่งแบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์ ทุ่มงบการทำตลาดและโฆษณา คาดว่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาสะพัดผ่านสื่อทีวีประมาณ 1,000 ล้านบาท จากการร่วมถ่ายทอดสดการแข่งขันครั้งนี้ถึง 4 สถานี และผ่านเคเบิลทีวี ทรูวิชั่นส์ เชื่อว่าจะส่งผลให้งบโฆษณาช่วงโลว์ซีซันไตรมาส 3 ปีนี้ ลดลงไม่มากเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ และคาดว่าถึงสิ้นปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณายังเติบโตได้เป็นตัวเลข 2 หลัก หลังจากไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวประมาณ 10%

ความยั่งยืนของธุรกิจ ธุรกิจสื่อโฆษณานั้นเป็นธุรกิจที่บริษัทผลิตสินค้าในแบรนด์ต่างๆต้องการ เพื่อกระจายสื่อโฆษณาสินค้าผลิตภัณฑ์ตัวใหม่อยู่เสมอและส่งเสริมการขาย จัดโปรโมชั่นของแถมที่ระลึกเกี่ยวกับฟุตบอลฟีเวอร์ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับคอบอล และได้การตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจนี้คงมีความยั่งยืนสูง

แนวทางทำให้มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง คือธนาคารควรจะมาจับมือเพื่อปล่อยสินเชื่อร่วมกันเพื่อลดอัตราความเสี่ยงลง และธนาคารควรคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำใช้เวลาในการผ่อนชำระระยะยาว เพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่ลูกค้า

นางสาวณัฐธิดา พรหมมา

52127312009

การเงินการธนาคาร 01

นางสาวชลลดา แก่นสวาท

--------ธุรกิจที่น่าปล่อยสินเชื่อ ในช่วงฟุตบอลโลก----------

จากข่าวที่ว่า

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลกปีนี้ จะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นกิจกรรมที่จะมีการจับจ่ายใช้สอย และช่วยผ่อนคลาดความเครียดให้กับคนไทย โดยค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งประมาณ 5,000- 1 หมื่นล้านบาท จะเป็นการใช้จ่ายจากภาคธุรกิจ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น งานอีเว้นท์ การทำโปรโมชั่นของสินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษที่เพิ่มขึ้นมาไม่ได้รวมกับการใช้จ่ายปกติ จึงคาดว่าเทศกาลในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับขึ้นมาได้ 0.2-0.3%

ทั้งนี้ ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงค์ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ติดตามฟุตบอลโลกจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลให้งบโฆษณาเทเข้ามาที่สื่อนี้เพิ่มขึ้นกว่า 10% รวมทั้งธุรกิจเครื่องดื่ม อาหาร ก็จะคึกคักตามไปด้วย

ดังนั้น จากข่าวจะเห็นได้ว่า ธุรกิจที่น่าปล่อยสินเชื่อมากที่สดในช่วงนี้จะเป็นธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับ

1.สื่อโฆษณา หรือสื่อโทรทัศน์

2.ธุรกิจเครื่องดื่ม

3.ธุรกิจอาหาร

ข่าวอสังหาริมทรัพย์ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 9 มิถุนายน 2553 07:54:58 น.

นายเขมทัตต์ พลเดช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักการตลาด บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันที่ 11 มิถุนายน-11 กรกฎาคม 2553 มีผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าต่างๆใช้งบประมาณในการซื้อสื่อโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์เพิ่มขึ้นถึง 10-20% จากการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 400-500 ล้านบาท เนื่องจากช่วงเวลาของการของการแข่งขันที่ตรงกับเวลาในไทยนั้น ไม่ดึกมากนัก ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า จะมีผู้รอชมการถ่ายทอดเพิ่มขึ้น

จะเห็นได้ว้า ธุรกิจที่เกี่ยวกับสื่อโฆษณา สื่อโทรทัศน์ เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และสามารถเกาะติดสถานการณ์บอลโลกได้ง่ายเพื่อแค่หยิบรีโมทเปิดโทรทัศน์ เพียงแค่นี้ก็สามารถที่จะเกาะติดสถานการณ์บอลโลกแต่ละคู่ได้ว่าตอนนี้ทีมชาติไหนมีประตูนำอยู่เท่าไรแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลานี้จะเป็นการที่มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจนี้มาก และหากว่ามีการปล่อยสินเชื่อในธุรกิจนี้ ย่อมเกิดประโยชน์กับผู้กู้และผู้ปล่อยสินเชื่อด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

ธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มและอาหาร ตามพฤติกรรมของคนเรานี้ หากมีการทำกิจกรรมเพื่อความเพลิดเพลิน ความบันเทิงแล้วนั้น มักจะทำอย่างเต็มที่ อาทิ การนั่งดูฟุตบอลโลกย่อมมีการหาขนม ของขบเคี้ยว เครื่องดื่มต่างๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชมสิ่งต่างๆมากขึ้น ดังนั้นหากมีการปล่อยสินเชื่อธุรกิจนี้ย่อมเป็นที่น่าสนใจ และเป็นช่วงน้ำขึ้นของวงการธุรกิจเครื่องดิ่มและอาหาร เพราะการดูบอล คนเราต้องดูตามเวลาที่มีการแข่งขันขึ้นไม่ว่าจะเป็นดีหนึ่ง ตีสอง หรือดึกแค่ไหนก็ตาม

เพราะนั้นธุรกิจเหล่านี้ย่อมเป็นที่สนใจแก่ผู้ปล่อยสินเชื่อและย่อมมีเงินสะพัดในช่วงนี้มากมายเช่นกัน

นางสาวชลลดา แก่นสวาท

การเงินการธนาคาร 02

รหัสนักศึกษา 52127312070

นางสาววิลาวัลย์ เขียวนุ้ย

ธุรกิจช่วงบอลโลก

ร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อกีฬาในศรีราชา เริ่มมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เพื่อนำมาจำหน่าย พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ บริษัทต่างๆ มีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับเทศกาลบอลโลก

ศรีราชา – วานนี้ (8 มิ.ย.53) ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่รายงานบรรยากาศช่วงก่อนแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาและเสื้อผ้ากีฬา ในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พบว่า เริ่มมีการสั่งซื้อเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก2010 เพื่อนำไปสวมใส่ โดยเฉพาะสถานประกอบการ ร้านอาหาร ผับ บริษัท ที่มีการสั่งซื้อมากที่สุด เพื่อนำไปให้ลูกจ้างใส่ต้อนรับฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ถือว่าเสื้อทีมชาติแต่ละชาติมีสีสันกว่าทุกปี และเสื้อทีมชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010ได้รับสนใจมากที่สุด รองลงมาเป็นเสื้อทีมชาติต่าง ๆ

นายอนุศักดิ์ แก้วบรรจง เจ้าของร้านราชาสปอร์ต เปิดเผยว่าการจำหน่ายเสื้อชุดทีมชาติการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 มีการสั่งซื้อมากขึ้นเพื่อรองรับกระแสฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ส่วนราคาทางร้านไม่ขึ้นแต่อย่างใดเพราะเศรษฐกิจในช่วงนี้ไม่ดี เสื้อแต่ละตัวอยู่ที่ตัวละ 150 -160 บาท ทางร้านก็มีส่วนลดเหมือนกันสำหรับลูกค้าที่สั่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งในช่วงนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้านอาหาร ผับ ที่ซื้อไปให้ลูกจ้างสวมใส่ต้อนรับกระแสฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010

ดังนั้นธุรกิจเสื้อผ้า เป็นธุรกิจที่น่าปล่อยสินเชื่อ เพราะไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการ ร้านอาหาร ผับ บริษัท จะมีการสั่งซื้อมาก เพื่อนำไปให้ลูกจ้างใส่ต้อนรับฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ถือว่าเสื้อทีมชาติแต่ละชาติมีสีสันกว่าทุกปี และเสื้อทีมชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010ได้รับสนใจมากที่สุด รองลงมาเป็นเสื้อทีมชาติต่าง ๆ

เพราะฉะนั้นธุรกิจเสื้อผ้าน่าปล่อยสินเชื่อในช่วงฟุตบอลโลก

นางสาววิลาวัลย์ เขียวนุ้ย

การเงินการธนาคาร 02

รหัสนักศึกษา 52127312065

นายอนิรุตติ์ ฤกษ์นาวี

ธุรกิจเดลิเวอร์รี่ และ ร้านอาหาร เป็นธุรกิจที่ควรปล่อยสินเชื่อมากที่สุด ในช่วงฟุตบอลโรคครั้งนี้

สถาบันอาหาร" ฟันธงฟุตบอลโลก 2010 ช่วยปลุกอุตสาหกรรมอาหารไทยตื่นตัว คาดสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศไทยกว่า 5 พันล้านบาท

นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า “การแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม 2553 ณ ประเทศสาธารณ รัฐแอฟริกาใต้ คาดว่าจะเป็นโอกาสดีสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของไทยทั้งการค้าที่เกิดขึ้นกับตลาดในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และตลาดภายในประเทศของไทย คาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกของไทยและธุรกิจบริการอาหารไทยในแอฟริกาใต้สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากกว่า 5,000 ล้านบาท ในช่วงงานดังกล่าว

เพราะนอกจากเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคของชาวแอฟริกาใต้ ซึ่งคาดว่าในปี 2553 มูลค่าการบริโภคอาหารในแอฟริกาใต้จะสูงถึง 32.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าคาดว่าจะอยู่ที่ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 4.44 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังมีผู้บริโภคของผู้เข้าแข่งขันจาก 32 ชาติ และนักท่องเที่ยวแฟนบอลจากทั่วโลกที่หลั่งไหลเดินทางเข้ามาในประเทศแอฟริกาใต้จำนวนมาก เพื่อติดตามเชียร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ผู้มีฐานะ มีกำลังการใช้จ่ายสูง และเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ”

ประมาณการ ว่า นักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.17 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อคนที่ประมาณ 48,277 - 215,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับ ดาวเด่นสินค้าอาหารของไทยที่คาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงงานดังกล่าว จะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวและธัญพืช โดยเฉพาะ “ข้าวนึ่ง” “ข้าวเจ้า” และ “ข้าวหอมมะลิ” รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ประมง

โดยเฉพาะ “ปลาซาร์ดีนเนลล่า ปลาบริสลิงหรือปลาสแปรดกระป๋อง” “ปลาทูน่ากระป๋อง” และ “กุ้งขาวแช่เย็นจนแข็ง” เพราะเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารที่ทั้งชาวแอฟริกาใต้และผู้บริโภคจากชาติต่างๆ นิยมบริโภค สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารสำเร็จรูปจะเป็นอาหารปรุงแต่งที่ทำจากธัญพืชหรือผลิตภัณฑ์จากธัญพืช และขนมหวานที่ทำจากน้ำตาลเป็นสำคัญ ส่วน “ธุรกิจร้านอาหารไทย” ผู้บริโภคที่จะเข้ามาร่วมงานฟุตบอลโลก 2010 มีหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม

ทำให้พฤติกรรมการบริโภคมีความหลากหลายตามไปด้วย ซึ่งร้านอาหารนานาชาติรวมถึงร้านอาหารไทยสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ของผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเคปทาวน์ และโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งเป็นแหล่งพักอาศัยและแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากที่สุด

ส่วนของตลาดภายในประเทศ คาดว่าในฟุตบอลโลก 2010 จำนวนคนไทยจะหันมาดูฟุตบอลโลกเพิ่มมากขึ้นกว่าการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 โดยจะมากกว่า 45 ล้านคน และเป็นกลุ่มคนอายุระหว่าง 15-59 ปี โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน และกลุ่มคนโสด เนื่องจากฟุตบอลโลกเป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยสามารถผ่อนคลายจากความตึงเครียดต่างๆ ที่รุมเร้านับตั้งแต่ต้นปีได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ

ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร คาดว่า คนไทยที่ดูการแข่งขันฟุตบอลโลกที่บ้านจะบริโภคอาหารจานด่วน ขนมขบเคี้ยว (เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วทอด ข้าวเกรียบ ข้าวโพดคั่ว) น้ำผลไม้ นม น้ำอัดลม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เครื่องดื่มที่ช่วยไม่ให้ง่วงโดยเฉพาะกาแฟ/ชา และเครื่องดื่มบำรุงกำลังมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่ดูการการแข่งขันฟุตบอลโลกนอกบ้านจะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม กาแฟกระป๋องและเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นสำคัญ ส่งผลให้เป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง และธุรกิจบริการร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 และธุรกิจร้านอาหารจานด่วนที่บริการส่งถึงบ้าน รวมถึงธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทยควรพิจารณาปรับกลยุทธ์เชิงรุกรับมือกับกระแสบอลโลก เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เกิดขึ้นโดยอิงกระแสดังกล่าว และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างลงตัวตามพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลานั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตอาหารแช่แข็งควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับช่องทางการจัดจำหน่ายของตนเพื่อกระตุ้นยอดขายโดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ

ธุรกิจร้านอาหารคึกคักรับบอลโลก

ช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ธุรกิจร้านอาหารในบ้านเราได้รับผลดี คึกคักตามไปด้วย มียอดลูกค้าเพิ่มกว่าปกติถึงร้อยละ 30

จากการสำรวจบรรยากาศร้านอาหารแถวรัชดาฯ และพระราม 9 ในช่วงค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก พบว่า มีประชาชนออกมารับประทานอาหารนอกบ้านจำนวนมาก ทั้งแบบครอบครัว และมากับกลุ่มเพื่อน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ชมการแข่งขันฟุตบอลจากจอขนาดใหญ่ที่ทางร้านจัดเตรียมไว้

เจ้าของร้านจุ่มแซบพระราม 9 ระบุว่า วันแรกที่มีบอลโลก ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเต็มร้าน จากนั้นก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 30% จากช่วงปกติ เพราะลูกค้าต้องการบรรยากาศชมฟุตบอลเป็นกลุ่ม ๆ พร้อมกินดื่มอาหารไปด้วย

ส่วนเจ้าของร้านไอริสหมูกระทะ ได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อจูงใจลูกค้า ด้วยการแจกเข็มกลัดสัญลักษณ์บอลโลกและชิงรางวัล

เช่นเดียวกับร้านรัชดาเทอเรส ที่เชื่อว่าตลอดทั้งเดือนนี้ กลุ่มธุรกิจร้านอาหารคึกคักขึ้นแน่นอน หลังซบเซาเพราะผลกระทบทางการเมืองมานาน

ทางด้านธุรกิจเดลิเวอร์รี่นั้น"ไมเนอร์" ขยายเวลาเดลิเวอรีช่วงบอลโลกถึงตี 1 ครึ่ง หวังดันยอดขายพุ่ง 15% หลังอัดโปรโมชั่นอิ่มคุ้ม 299 บาทกระตุ้น ประกาศสยายปีกสาขาใหม่ 8 แห่ง

นายแอนดี โฮลแมน รองประธานกรรมการและผู้จัดการทั่วไป เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ประเทศไทย และแฟรนไชส์ระหว่างประเทศ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือน มิ.ย.นี้ บริษัทมีแผนเพิ่มเวลาการให้บริการเดลิเวอรีถึงเวลา 01.30 น. ตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย.-11 ก.ค.เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และเปิดตัวโปรโมชั่น "ชุดอิ่มคุ้ม 299 บาท" ประกอบด้วยพิซซ่า สปาเก็ตตี้และปีกไก่บาร์บีคิว เพื่อคืนกำไรและขยายฐานลูกค้า คาดจบโปรโมชั่นยอดขายเพิ่มขึ้นจากปกติไม่ต่ำกว่า 5% ส่วนภาพรวมยอดขายในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกคาดเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 15%

สำหรับการดำเนินธุรกิจอื่นๆ ในปีนี้ยังคงเดินหน้าตามแผนเดิม โดยการขยายสาขาใหม่ยังอยู่ที่ 8 สาขา จากปัจจุบันมีร้านเดอะพิซซ่า คอมปะนี เปิดให้บริการทั้งหมด 206 สาขา แบ่งเป็นบริษัทขยายสาขาเอง 4 สาขา และแฟรนไชส์ 4 สาขา งบลงทุนสาขาละ 8-10 ล้านบาท นอกจากนี้ มีแผนปรับร้านโฉมใหม่ให้เป็นสไตล์อิตาเลียน 44 แห่ง ด้วยการทำพาสต้าในร้านให้โดดเด่นมากขึ้นและใช้อุปกรณ์การรับประทานอาหารในร้านอิตาเลียนแท้ๆ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2554 สามารถปรับปรุงร้านครบ 206 สาขา งบลงทุน 55.5 ล้านบาท

ส่วนผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์และเซ็นเตอร์วันส่งผลกระทบต่อบริษัทพอสมควร สูญเสียรายได้ประมาณ 4 ล้านบาท แต่หากมองในภาพรวมผลประกอบการยังเติบโตเป็นที่น่าพอใจ โดย 5 เดือนที่ผ่านมา ร้านเดอะพิซซ่าฯ มีรายได้เติบโต 4-5% และจบสิ้นปีผลักดันได้ตามเป้าหมาย 10% หรือมีรายได้ 4,500-4,700 ล้านบาท

ดังนั้นจะเห็นว่าทำให้ธุรกิจฟาสต์ฟู้ด โดยเฉพาะเดลิเวอรี่ พลอยได้รับส้มหล่น มีลูกค้าสั่งอาหารฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ฟาสต์ฟู้ดทุกแห่งขยายเวลารับบริการเดลิเวอรี่จนถึง 24.00 น.

นายเฮสเตอร์ ชิว ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่แมคโดนัลด์ เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ได้ทุ่มงบกว่า 60 ล้านบาท เพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ มั่นใจว่าจะเพิ่มยอดขายได้ 35%

ในส่วนของห้างสรรพสินค้าต่างๆก็ได้อาศัยกระแสฟุตบอลโลกฟีเวอร์ผลักดันยอดขายให้เพิ่มขึ้น จึงได้จัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับฟุตบอล

นายชำนาญ เมธปรีชากุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ปได้ทุ่มงบกว่า 42 ล้านบาท โดยใช้กลุ่มสินค้า SPORTS MALL (จำหน่ายสินค้าประเภทกีฬา) และ POWER MALL (จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า) เป็นแม่เหล็กสำคัญการทำตลาด ตั้งเป้าขายรวมทั้ง 2 กลุ่ม ช่วงบอลโลกทะลุกว่า 580 ล้านบาท

อนิรุตติ์ ฤกษ์นาวี

การเงินการธนาคาร 02

อาจารย์คับ มีทฤษฎีอะไรบ้างคับที่ช้วยในการกำจัดความเสี่ยงของการปล่อยสินเชื่อ

นายอุดมศักดิ์ โสดารักษ์

รูปภาพ
 

 

LETER OF CREDIT L/C การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้ Revocable bank letter of credit L/C สามารถถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยแบงค์ผู้ออกเอกสาร (Issue Bank) โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้รับเงิน (beneficiary) Irrevocable bank letter of credit ไม่สามารถยกเลิกได้ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย (ผู้นำ้เข้า, applicant,และผู้ส่งออก, beneficiary) ซึ่งเป็นแบบที่้ใช้มากที่สุด Standby bank letter of credit เป็นแบบที่ยืนยันว่าได้รับเงินแน่นอน ถ้าผู้ส่งออก (beneficiary) ถูกเบี้ยวจากลูกค้า (applicant) ก็สามารถยื่นเรื่องขอเงินที่ไม่้ได้รับจาก bank ได้ ส่วนมากจะใช้ L/C แบบนี้กับลูกค้าขาประจำเพราะไม่ยุ่งยาก Revolving bank letter of credit ถ้ามีการทำการค้าขายกันอยู่เป็นประจำระหว่างผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ก็อาจจะใช้ L/C แบบนี้เพื่อไม่ต้องออก L/C ทุกครั้งที่มีการส่งของ ส่วนมากจะใช้ L/C แบบนี้กับลูกค้าขาประจำเพราะไม่ยุ่งยาก ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

รูปภาพ

รูปภาพ
 

(Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond) - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee) - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other) ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

รูปภาพ

รูปภาพ
 

Trust Receipt T/R “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

รูปภาพ

รูปภาพ

Packing Credit P/C สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

รูปภาพ



รูปภาพ

อาวัล ( AVAL ) การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

นายอุดมศักดิ์  โสดารักษ์

การเงินการธนาคาร 02

52127312061

อุดมศักดิ์ โสดารักษ์

จัดใหม่

รูปภาพ
 

 

LETER OF CREDIT L/C

การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน การขายแบบ

Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

Revocable bank letter of credit L/C สามารถถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยแบงค์ผู้ออกเอกสาร (Issue Bank) โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้รับเงิน (beneficiary)

Irrevocable bank letter of credit ไม่สามารถยกเลิกได้ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย (ผู้นำ้เข้า, applicant,และผู้ส่งออก, beneficiary) ซึ่งเป็นแบบที่้ใช้มากที่สุด

Standby bank letter of credit เป็นแบบที่ยืนยันว่าได้รับเงินแน่นอน ถ้าผู้ส่งออก (beneficiary) ถูกเบี้ยวจากลูกค้า (applicant) ก็สามารถยื่นเรื่องขอเงินที่ไม่้ได้รับจาก bank ได้ ส่วนมากจะใช้ L/C แบบนี้กับลูกค้าขาประจำเพราะไม่ยุ่งยาก

Revolving bank letter of credit ถ้ามีการทำการค้าขายกันอยู่เป็นประจำระหว่างผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ก็อาจจะใช้ L/C แบบนี้เพื่อไม่ต้องออก L/C ทุกครั้งที่มีการส่งของ ส่วนมากจะใช้ L/C แบบนี้กับลูกค้าขาประจำเพราะไม่ยุ่งยาก

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

รูปภาพ

รูปภาพ
 

(Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

- การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

- การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

- การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

- การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

 - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

รูปภาพ

รูปภาพ
 

Trust Receipt T/R

“สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

 ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

รูปภาพ

รูปภาพ

Packing Credit P/C

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

รูปภาพ

รูปภาพ

อาวัล ( AVAL )

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

นายอุดมศักดิ์  โสดารักษ์

การเงินการธนาคาร 02

52127312061

นางสาว เบญญาภา ศรีนวล

การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน
การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

 

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)L/G
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention  Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

 

Packing Credit  P/C

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

   
1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
   
  1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock
คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น
   
  1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order)
คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน
   
  1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit)
คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น
   
2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing)
คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน
   
  บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring)
คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว
   
 

Forfeiting
คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ
หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

 

 

สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt) T/R

“สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่งสินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้าการทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคาร

ทันทีเนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

 อาวัล ( AVAL )

อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร ? เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

นางสาว  เบญญาภา  ศรีนวล

รหัสนักศึกษา 52127312057

 

บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (Trust Receipt :T/R) เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าและจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ลักษณะบริการ เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่า ธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมา ชำระเมื่อครบกำหนด

1. ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

- T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

- T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันครบกำหนดหรือในวันที่ชำระเงิน

2. T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม เช่น

- การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

- การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

- การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

- การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

- การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

• เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น

• เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit) เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ

1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิตในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต

2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต

3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ

1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง

1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต

1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต

2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป

3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว

4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ

Packing Credit P/C สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

^

^

^

ลืมใส่ชื่อ รหัสนักศึกษา

นางสาว สุภาวรรณ จิตภักดี

รหัสนักศึกษา 52127312063

T/R

Trust Receipt T/R

“สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

 ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

P/C

 

Packing Credit P/C

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

AVAL

อาวัล ( AVAL )

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

L/G

(Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

- การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

- การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

- การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

- การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

 - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

L/C

LETER OF CREDIT L/C

การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน การขายแบบ

Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

Revocable bank letter of credit L/C สามารถถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยแบงค์ผู้ออกเอกสาร (Issue Bank) โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้รับเงิน (beneficiary)

Irrevocable bank letter of credit ไม่สามารถยกเลิกได้ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย (ผู้นำ้เข้า, applicant,และผู้ส่งออก, beneficiary) ซึ่งเป็นแบบที่้ใช้มากที่สุด

Standby bank letter of credit เป็นแบบที่ยืนยันว่าได้รับเงินแน่นอน ถ้าผู้ส่งออก (beneficiary) ถูกเบี้ยวจากลูกค้า (applicant) ก็สามารถยื่นเรื่องขอเงินที่ไม่้ได้รับจาก bank ได้ ส่วนมากจะใช้ L/C แบบนี้กับลูกค้าขาประจำเพราะไม่ยุ่งยาก

Revolving bank letter of credit ถ้ามีการทำการค้าขายกันอยู่เป็นประจำระหว่างผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ก็อาจจะใช้ L/C แบบนี้เพื่อไม่ต้องออก L/C ทุกครั้งที่มีการส่งของ ส่วนมากจะใช้ L/C แบบนี้กับลูกค้าขาประจำเพราะไม่ยุ่งยาก

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

นางสาววราภรณ์  พระศรี 

รหัส  52127312029

การเงินการธนาคารปี 2

Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า

หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูก ต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที โดยการทำธุรการประเภทนี้ค่าตอบแทนที่ธนาคารจะได้รับก็คือดอกเบี้ยนั้นเอง

 

 

 

 

Letters of Guarantees / Bank  Guarantees

เป็นการขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อที่จะนำไปใช้ในการค้ำประกันใน การทำสัญญาต่างๆ ระหว่างกันครับ โดยการทำ LG ต้องมีเงื่อนไขว่าจะให้ธนาคารค้ำประกันน่าน เท่าไหร่ และวงเงินที่ค้ำประกันเท่าไหร่ โดยผู้ขอออก LG ต้องมีบัญชีฝากประจำตามจำนวนเงินที่ต้องการค้ำประกันครับ และต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารด้วย (การขอทำLG เหมือนการขอสินเชื่อ ค่าใช้จ่าย(ดอกเบี้ย)ในแต่ละธนาคารแตกต่างกัน)

 

 

 

 

อาวัล (Aval)

         การอาวัลตั๋วแลกเงิน (Aval) หมายถึง การลงนามค้ำประกันการจ่ายเงินตามตั๋วเงิน การลงนามนี้จะทำไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วก็ได้

หลักเกณฑ์ในการอาวัล

         - ผู้อาวัลจะเป็นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่ง หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในตั๋วก็ได้

         - การอาวัลอาจจะทำเพื่อรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้

         - การรับอาวัลต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุไว้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

การอาวัลตั๋วแลกเงิน

        1. การอาวัลเป็นการค้ำลูกหนี้คนใดคนหนึ่งตามตั๋วแลกเงิน

        2. การอาวัลทำได้โดยเขียนข้อความอาวัลและลงชื่อไว้ด้านหน้าของตัวแลกเงิน

        3. การอาวัลทำให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนรับอาวัล

 

ความหมายของการอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งดำให้จ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท เขียวและชมพูเข้ารับอาวัลแดง ต่อมาเมื่อตั๋วถึงกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ขาวไล่เบี้ยเอาจากชมพูแล้ว ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ย เขียวให้รับผิด 5,000 บาท ได้หรือไม่

        ชมพูไล่เบี้ยเขียวไม่ได้ เพราะกรณีนี้ไม่นำหลักเรื่องผู้ค้ำประกันร่วมตามมาตรา 682 มาใช้ต้องบังคับตามเรื่องอาวัลเนื่องจากเขียวไม่ใช่คนที่ผูกพันรับผิดอยู่ ก่อนแดง ชมพูจึงไล่เบี้ยไม่ได้

วิธีอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ผู้ถือ 10,000 บาท แล้ว มอบตั๋วให้ขาว ขาวสลักหลังลอยโอนตั๋วให้เขียวดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดในฐานะใด

        การสลักหลังตั๋วแลกเงินที่ออกแก่ผู้ถือมีผลเป็นการอาวัลผู้ สั่งจ่าย ขาวจึงต้องรับผิดฐานะผู้รับอาวัลแดง (มาตรา 921)

        มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียง ประกัน(อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย

ผลของการอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท ขาวสลักหลังให้เขียว ชมพูอาวัลเขียว เขียวสลักหลังให้เหลือง เหลืองสลักหลังให้ม่วง และดำได้รับรองตั๋วนี้ ต่อมาม่วงนำตั๋วไปยื่นในวันครบกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ม่วงจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยชมพู ชมพูยอมจ่ายทั้งหมด ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ยใคร ได้บ้าง

        ชมพูไล่เบี้ยเขียวได้เพราะตนรับอาวัลเขียว และไล่เบี้ยดำ แดง และขาว ได้เพราะเป็นบุคคลที่ผูกพันรับผิดแทนเขียว (มาตรา 940)

        มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกันแม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

        เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

“อาวัล”

        มาตรา 938 ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกัน รับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า "อาวัล"

        อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญา แห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

        มาตรา 939 อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วแลก เงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ

        ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือสำนวนอื่นใด ทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

        อนึ่ง เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงินท่าน ก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่าย หรือผู้สั่งจ่าย

        ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือ ว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

        มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกัน แม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

        เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

 

 

 

 

                    บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (Trust Receipt :T/R)
เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่าง ประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/R กับธนาคารและรับเอกสารสิทธิ เพื่อออกสินค้า
และจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร
ลักษณะบริการ
เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่า
ธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมา
ชำระเมื่อครบกำหนด
  1.
ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

T/R Sight Non-Fixed Rate คือ ทำ สัญญา T/Rโดย ยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันครบกำหนดหรือในวันที่ชำระเงิน

  2. T/R Time คือ การทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

โดยการทำธุรการประเภทนี้ค่าตอบแทนที่ธนาคารจะได้รับก็คือดอกเบี้ยนั้นเอง

 

 

 

 

สินเชื่อเพื่อการส่งออก (Packing Credit)(P/C)

 
สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหา สินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock
คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่ง ออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาด ขณะนั้น

สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้ เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit)
คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบใน การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing)
คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการ แฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring)
คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อ สินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุน เวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting
คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดย ผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ
หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

โดยการทำธุรการประเภทนี้ค่าตอบแทนที่ธนาคารจะได้รับก็คือดอกเบี้ยนั้นเอง

 

 

 

 

 

 

นายกิตติกร   จันอินทร์

52127312071

การเงินการธนาคาร 02

นางสาวสุภาภรณ์ ครุฑธาพันธ์

LETER OF CREDIT L/C

รูปภาพ

(Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond) - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee) - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other) ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

รูปภาพ

 

Trust Receipt T/R “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

รูปภาพ

 

Packing Credit P/C สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit

รูปภาพ

รูปภาพ

 

อาวัล ( AVAL ) การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

รูปภาพ

รูปภาพ

 

นางสาว สุภาภรณ์  ครุฑธาพันธ์

การเงินการธนาคาร 02

รหัส 52127312052

Letter of Credit (L/C)

การชำระค่าสินค้าด้วย LETTER OF CREDIT
การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการซื้อขายด้วย L/C คือ

เงื่อนไขใน L/C ธนาคารผู้รับ L/C และธนาคารผู้เปิด L/C จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในอันที่จะทำการตรวจสอบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อสินค้า อย่างไรก็ตามเงื่อนไขต่างๆ ใน L/C จะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องทางด้านเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของตัวสินค้าได้

Letters of Guarantees (L/G)

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

 

Trust Receipt (T/R)

 “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

 

 

Packing Credit (P/C)

Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือดด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้ 1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน 2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้ 3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

- ใบสั่งซื้อสินค้า(Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดของสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง โดยลูกค้ราในต่างประเทศ โดยระบุสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบเงื่อนไข เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง

- Letter of Credit โดยระบุรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆในการสั่งซื้อและวิธีชำระค่าสินค้า

- ตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน

 

 

อาวัล

(Aval)

การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า

ใช้ได้เป็น อาวัลหรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

 

นางสาวธนาพร  นามา

เอก การเงินการธนาคาร 01

รหัสนักศึกษา 52127312011

 

 

Letter of Credit หรือ L/C

การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน
การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

 

Packing Credit P/C

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit

 

สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt) T/R

 

“สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่งสินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้าการทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคาร

ทันทีเนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

 

การอาวัล (Aval)

 เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

 

Letters of Guarantees /Bank  Guarantees

เป็นการขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อที่จะนำไปใช้ในการค้ำประกันใน การทำสัญญาต่างๆ ระหว่างกันครับ โดยการทำ LG ต้องมีเงื่อนไขว่าจะให้ธนาคารค้ำประกันน่าน เท่าไหร่ และวงเงินที่ค้ำประกันเท่าไหร่ โดยผู้ขอออก LG ต้องมีบัญชีฝากประจำตามจำนวนเงินที่ต้องการค้ำประกันครับ และต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารด้วย (การขอทำLG เหมือนการขอสินเชื่อ ค่าใช้จ่าย(ดอกเบี้ย)ในแต่ละธนาคารแตกต่างกัน)

 

นางสาวณัฐฐา กุลวัฒน์ 52127312027 การเงินการธนาคาร 01 ลืมพิมพ์ชื่อค่ะ

1.Trust Receipt (T/R)

 “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

 

 

2.การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

ความสำคัญของเรื่อง

ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล ”

 

 

 

 

3.Letter of Credit (L/C)

การชำระค่าสินค้าด้วย LETTER OF CREDIT
การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการซื้อขายด้วย L/C คือ

เงื่อนไขใน L/C ธนาคารผู้รับ L/C และธนาคารผู้เปิด L/C จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในอันที่จะทำการตรวจสอบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อสินค้า อย่างไรก็ตามเงื่อนไขต่างๆ ใน L/C จะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องทางด้านเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของตัวสินค้าได้

 

4.(Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond) - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee) - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other) ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

 

5.Packing Credit P/C

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

                                                                    นางสาว นิชนันท์ ชวนถวิล

                                                                    52127312017

                                                                    เอก การเงินการธนาคาร 01

ตราสารทางการเงิน Letter of Credit (L/C)

ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

 

ตราสารทางการเงิน Trust Receipt (T/R)

 

ลักษณะของบริการเป็นสินเชื่อระยะสั้น ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

 

 

ตราสารทางการเงิน Packing Credit P/C

เป็นสินเชื่อระยะสั้นแก่ผู้ส่งออกโดยใช้วงเงินกู้ยืม PACKING CREDIT (P/C) เพื่อนำเงินไปจัดหาวัตถุดิบในการผลิตหรือเตรียมสินค้าเพื่อส่งออกสามารถกู้ได้เป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษเมื่อยื่นเอกสารขอกู้ P/C สามารถเข้าบัญชี ภายในวันเดียวกันต้องได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อ P/C จากธนาคารก่อนระยะเวลาการทำ P/C ไม่เกิน 180 วันอัตราดอกเบี้ย ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อหรือตามเงื่อนไขข้อตกลงกับธนาคารเอกสารประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาจะใช้เงินเพื่อการส่งออกหลักฐานประกอบได้แก่ L/C ต้นฉบับหรือ คำสั่งซื้อสินค้าหรือสัญญา ซื้อขาย   (SALES CONTRACT OR PURCHASE ORDER) เป็นต้น

 

 

 

ตราสารทางการเงิน Accepted Bills AVAL

เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล ”

 

 

 

ตราสารทางการเงิน Letters of Guarantees L/G

 

เป็นการขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อที่จะนำไปใช้ในการค้ำประกันใน

การทำสัญญาต่างๆ ระหว่างกันครับ โดยการทำ LG ต้องมีเงื่อนไขว่าจะให้ธนาคารค้ำประกันน่าน เท่าไหร่ และวงเงินที่ค้ำประกันเท่าไหร่

โดยผู้ขอออก LG ต้องมีบัญชีฝากประจำตามจำนวนเงินที่ต้องการค้ำประกันครับ

และต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารด้วย (การขอทำLG เหมือนการขอสินเชื่อ ค่าใช้จ่าย(ดอกเบี้ย)ในแต่ละธนาคารแตกต่างกัน)

 

นายปลา  คินไธสง

52127312030

การเงินการธนาคาร (01)

 

LETTER OF CREDIT


  การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า
      บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย     

  ตัวอย่างการใช้ L/C ค้ำประกันค่าสินค้าหรือบริการ 

 ประกันการออก Letter of Guarantee เช่น  บริษัท ก. ต้องการให้บริษัท A จากต่างประเทศที่เข้ามารับเหมางานของตนออกหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร ข .ในประเทศไทยไว้ให้แก่ตน เพื่อเป็นหลักประกันในงานที่รับเหมานั้น

แต่เนื่องจากธนาคาร ข. ไม่รู้จัก บริษัท A ดังนั้นบริษัท A จึงขอให้ธนาคารในต่างประเทศของตนออก Stand By L/C ให้แก่ธนาคาร ข. เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการออกหนังสือค้ำประกันให้แก่ บริษัท ก.

ความน่าเชื่อถือของ L/C

ผู้ขายสินค้าจะแน่ใจได้อย่างไรว่า L/C ที่เปิดมาจากผู้ซื้อมีความน่าเชื่อถือ หรือจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเมื่อส่งสินค้าออกไปแล้วจะได้รับเงินค่าสินค้า ดังนั้น ธนาคารจึงมีส่วนสำคัญในการที่จะเพิ่มคำรับรองว่าจะจ่ายค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายสินค้า ซึ่งจะทำให้ L/C ฉบับนั้นมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น

#############################################

 

 

Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือดด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน

 สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้
1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน
2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้
3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
- ใบสั่งซื้อสินค้า(Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดของสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง
- สัญญาซื้อขาย(Purchase Contract) ที่ออกโดยลูกค้ราในต่างประเทศ โดยระบุสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบเงื่อนไข เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง
- Letter of Credit โดยระบุรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆในการสั่งซื้อและวิธีชำระค่าสินค้า
- ตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน
นอกจากนี้ ผู้ส่งออกต้องขออนุมัติวงเงิน Packing Credit กับทางธนาคารให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้บริการสินเชื่อ Packing Credit นั้น โดยปกติแล้วธนาคารจะพิจารณาอนุมัติวงเงินโดยใช้หลักการพิจารณาสินเชื่อเช่นเดียวกับสินเชื่อระยะสั้นประเภทอื่นๆ

ประเภทของสินเชื่อกรณีการใช้บริการ Packing Credit ก่อนการส่งออกสินค้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1.) กรณีผู้ส่งออกได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าต่างประเทศแล้ว แต่สินค้าที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และผู้ส่งออกมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอสำหรับการเตรียมสินค้าทั้งหมดส่งไปให้ลูกค้า ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อสินค้าที่ขาดให้ครบได้ โดยจำนำสิทธิ์ของสินค้าที่มีอยู่ไว้กับทางธนาคารและออกตั๋วสัญญาการใช้เงิน(Promisory Note) ไว้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ซึ่งธนาคารจะดูแลสินค้าที่นำมาจำนำด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลที่สามดูแลแทนก็ได้ ทั้งนี้ ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าตามราคาตลาด นอกจากนี้ผู้ส่งออกต้องทำประกันอัคคีภัยมอบสิทธิ์ให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์ภายในวงเงินไม่น้อยกว่าที่ธนาคารปล่อยกู้ เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบจำนำสินค้า(Packing Credit Against Stock)?2.) DiIuzส่งสินค้าได้รับใบสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศแล้วแต่ยังไม่ได้รับL/C (Letter of Credit) สั่งซื้อจากลูกค้านั้น หากผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินธนาคารได้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้เป็นประกันการกู้เงิน และนำใบสั่งซื้อสินค้า หรือสัญญาซื้อขายมาประกอบการกู้ ทั้งนี้ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าสินค้าตามใบสั่งซื้อสินค้า หรือการซื้อขายนั้น และจะระบุระยะเวลาครบกำหนดชำระคืนเงินภายในไม่เกิน 10 วันหลังจากวันส่งมอบสินค้า เราเรียกสินเชื่อ 3.) กรณีผู้ส่งออกได้รับ L/C ประเภทเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable) จากลูกค้าในต่างประเทศแต่สินค้าที่มีอยู่อาจไม่พอเพียงหรือไม่มีสินค้าเลย ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารได้ โดยออกตั๋วสัญญาใงช้เงินและนำL/C ต้นฉบับที่ได้รับจากลูกค้ามวอบให้แก่ธนาคารเป็นผลักประกันการกู้เงิน ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าตาม L/C ที่ได้รับนั้น เราเรียก Packing Credit แบบนี้ว่า Packing Credit แบบที่มี L/C กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit)
กรณีการใช้บริการ Packing Credit หลังการส่งออกสินค้า เกิดขึ้นเมื่อผู้ส่งออกให้สินเชื่อแก่ลูกค้าในต่างประเทศ โดยผู้ส่งออกจะได้รับชำระเงินก็ต่อเมื่อลูกค้าชำระเงินตามเงื่อนไขชำระเงินซึ่งได้กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินดังกล่าว ผู้ส่งออกต้องนำตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปขายลดให้แก่ธนาคาร โดยธนาคารจะรับซื้อลดไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน ทั้งนี้ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 10 วัน หลังครบกำหนดของตั๋วนั้น เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit ประเภทให้กู้ตามตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน (Packing Credit Under Usance Bill)
ประโยชน์ของ Packing Credit
1. เป็นสินเชื่อระยะสั้น หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้ส่งออก ในการผลิตหรือจัดเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ
2. เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น3. ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะรับชำระเงินค่าสินค้าก่อนครบกำหนด สามารถนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อจากลูกค้าในต่างประเทศไปขอก็เงินก่อนได้
4. ผู้ส่งออกขอกู้เงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาท และสกุลเงินตราต่างประเทศ
5. กระบวนการสินเชื่อที่รวดเร็ว ผู้ส่งออกสามารถขออนุมัติเงินภายใน 24 ชั่วโมง

 ###########################################

Letters of Guarantees / Bank Guarantee เป็นการขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการค้ำประกันในการทำสัญญาต่างๆ ระหว่างกันครับ โดยการทำ LG ต้องมีเงื่อนไขว่าจะให้ธนาคารค้ำประกันน่านเท่าไหร่ และวงเงินที่ค้ำประกันเท่าไหร่ โดยผู้ขอออก LG ต้องมีบัญชีฝากประจำตามจำนวนเงินที่ต้องการค้ำประกันครับ และต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารด้วย

Letter of credit เรียกย่อๆ ว่า L/C ส่วนใหญ่ใช้สำหรับคู่ค้าที่อยู่คนละประเทศ เช่นธุรกิจนำเข้าและส่งออก โดยผู้ซื้อสินค้าจะให้ธนาคารออก L/C ให้ผู้ขายสินค้า เพื่อใช้เป็นหลักประกันว่าผู้ขายจะได้รับชำระเงินค่าสินค้าเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้
ส่วนหนังสือค้ำประกัน Letter of Garuntee (L/G) ใช้ในหลายกรณี เช่น ผู้ซื้อสินค้าต้องการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ผู้ขายจะให้ผู้ซื้อร้องขอให้ธนาคารออก L/G เพื่อเป็นหลักประกัน หรือ การขายสินค้าให้กับหน่วยงานราชการ ทางราชการอาจมีเงื่อนไขให้ออกหนังสือค้ำประกันเพื่อใช้เป็นหลักประกันด้วย
อย่างไรก็ตาม การจะขอให้ธนาคารออก L/C หรือ L/G นั้น เราจะต้องไปทำเรื่องขอสินเชื่อก่อน ซึ่งอาจต้องนำหลักประกันไปวางค้ำไว้กับธนาคาร

############################################

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

##############################################

 

สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt) T/R

 “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่งสินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้าการทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคาร

ทันทีเนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

###########################################

นาย อนิรุตติ์  ฤกษ์นาวี  52127312056  การเงินการะนาคาร 02  มรภ.สส.

 

ตราสารทางการเงิน

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต                      

     การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

 

 

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
        Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     อย่างไรก็ตาม การจะขอให้ธนาคารออก L/C หรือ L/G นั้น เราจะต้องไปทำเรื่องขอสินเชื่อก่อน ซึ่งอาจต้องนำหลักประกันไปวางค้ำไว้กับธนาคาร ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

 

สัญญาทรัสต์รีซีท Trust Receipt T/R คือ  หนังสือที่ผู้ขอเปิด  L/C  หรือผู้นำสินค้าเข้า  ทำขึ้นให้ไว้ต่อธนาคาร  เพื่อขอรับเอกสารแสดงสิทธิ์ในสินค้าออกจากธนาคารโดยยังไม่ต้องชำระเงิน 

              การที่ธนาคารได้มอบเอกสารสิทธิ์ให้แก่ผู้นำเข้าไปนั้น  ถือเป็นการโอนสิทธิ์การครอบครองสินค้าให้ผู้นำเข้าไปครอบครองและหาประโยชน์โดยการจำหน่ายหรือปรุงแต่งเพื่อจำหน่าย  และเมื่อจำหน่ายสินค้านั้นได้เมื่อใด  ผู้นำเข้ามีหน้าที่ต้องนำเงินมาชำระให้ธนาคาร

              เมื่อผู้นำเข้าติดต่อของวงเงินเปิด  L/C  ควรได้มีการขอวงเงิน T/R  สำหรับ  L/C และ  T/R  สำหรับ B/C ควบกันไปด้วย  การอนุมัติวงเงิน  T/R  อาจอนุมัติให้เป็นการถาวรหรือชั่วคราว  หรือเฉพาะรายก็ได้  ทั้งนี้  ธนาคารจะใช้หลักการพิจารณา  CREDIT  TERM  ของผู้นำเข้าที่เสนอให้ลูกค้าของตนมาประกอบ  เช่น  ถ้าผู้นำใช้เวลาปรุงแต่งสินค้าก่อนขายต่อให้ลูกค้า  1  เดือน  และผู้นำเข้านั้นเสมอให้เครดิตกับลูกค้าของตน  2  เดือน นับแต่วันส่งขอ  ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาทั้งหมดต้องใช้เวลา  3  เดือน  ธนาคารมักจะให้ระยะเวลาการชำระเงิน  ตาม T/R  4  เดือน  เป็นอย่างมาก  เพราะหากการให้ระยะเวลาการชำระตาม T/R  ยาวนานเกินไปแล้ว  จะเป็นการเปิดช่องให้ผู้นำเข้านำเงินไปหมุนหาผลประโยชน์ทางอื่นเสียก่อน ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการให้สินเชื่อมาก

  การยื่น  T/R  เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กรณีที่ธนาคารได้รับ  SHIPPING  DOCUMENTS  แล้วเงื่อนไขการชำระเงินเป็นชนิดที่ผู้นำเข้าต้องจ่ายเงินทันที่ที่ธนาคารเห็นว่าเอกสารถูกต้อง   แต่ผู้นำเข้ายังไม่ต้องการจะจ่ายเงินทันที่ขณะนั้น จึงร้องขอให้ธนาคารจ่ายเงินแทนให้ก่อนโดยขอใช้สินเชื่อประเภท T/R  จากธนาคาร  ผู้นำเข้าต้องยื่น   T/R และเซ็นรับรองตั๋วแลกเงินฉบับซึ่งธนาคารของผู้นำเข้าเองนั้นได้ออกขึ้น

Packing Credit P/C เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ส่งออก เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบสำหรับการส่งออก  P/C เป็นสินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออก-นำเข้า (Exim-bank) ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออก ผ่านธนาคารพานิชย์ต่างๆ โดยให้ธนาคารเหล่านี้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ  มีหลายประเภท โดยมีเอกสารต่างๆเป็นหลักประกันสินเชื่อ เช่น L/C ตั่วรับเงิน ใบสั่งซื้อ หรือสินค้าบางส่วน

Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน

 

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

 

นางสาววีรนุช  หมัดตะเล

รหัสนักศึกษา 52127312013

เอกการเงินการธนาคาร 01

LETTER OF CREDIT ( L/C)
การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย

 

 

Trust Receipt (T/R)

เป็นสินเชื่อสินค้าเข้าที่ธนาคารเสนอให้ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย Letter of Credit, Bill for Collection, Outward Remittance ท่านสามารถจะขอทำ T/R และรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าได้

ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

 

Packing Credit (P/C)

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

 

Letters of Guarantees (L/G)

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

- การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
- การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
- การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) 
- การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้(Retention Money Bond)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

- การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

Aval

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

ความสำคัญของเรื่อง  

ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล ”  

ความหมายอย่างละเอียด

การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

 

นส. วชิยาลักษณ์ มิ่งมงคล

การเงินการธนาคาร 52127312028

 

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

Packing Credit P/C เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ส่งออก เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบสำหรับการส่งออก  P/C เป็นสินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออก-นำเข้า (Exim-bank) ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออก ผ่านธนาคารพานิชย์ต่างๆ โดยให้ธนาคารเหล่านี้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ  มีหลายประเภท โดยมีเอกสารต่างๆเป็นหลักประกันสินเชื่อ เช่น L/C ตั่วรับเงิน ใบสั่งซื้อ หรือสินค้าบางส่วน

letter of credit (L/C) การขายด้วยการจ่ายเงินสดหรือจ่ายล่วงหน้า คือ การที่ผู้ซื้อโอนเงิน, Draft เช็คธนาคาร หรือการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตไปให้ผู้ขายพร้อมกับการสั่งซื้อสินค้า วิธีนี้ผู้ซื้อเป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากต้องจ่ายเงินก่อนที่จะเห็นสินค้า วิธีการขายแบบนี้ ส่วนใหญ่จะใช้กับการสั่งซื้อของที่มีราคาไม่สูงนัก เช่น หนังสือ เสือผ้า อุปกรณ์กีฬา หรือตัวอย่างสินค้า เป็นต้น

 

Trust Receipt (T/R)

 “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
        Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

สกาญดา เเสนศรี

52127312005

บริหารธุรกิจ (การเงินการธนาคาร)

Letter of Credit (L/C)

การชำระค่าสินค้าด้วย LETTER OF CREDIT
การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการซื้อขายด้วย L/C คือ

เงื่อนไขใน L/C ธนาคารผู้รับ L/C และธนาคารผู้เปิด L/C จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในอันที่จะทำการตรวจสอบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อสินค้า อย่างไรก็ตามเงื่อนไขต่างๆ ใน L/C จะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องทางด้านเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของตัวสินค้าได้

 

 

 

Trust Receipt (T/R) 

  “สัญญาทรัสต์รีซีทเกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

 

 

 

Packing Credit (P/C) 

 Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือดด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้ 1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน 2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้ 3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

 - ใบสั่งซื้อสินค้า(Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดของสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง โดยลูกค้ราในต่างประเทศ โดยระบุสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบเงื่อนไข เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง

 - Letter of Credit โดยระบุรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆในการสั่งซื้อและวิธีชำระค่าสินค้า

 - ตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน

 

 

Letters of Guarantees (L/G) 

 หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

อาวัล

(Aval)

การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า

“ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

 

นางสาว  ภานุกานต์  ใจใส

52127312031

การเงินการธนาคาร 01

 

 

LETER OF CREDIT L/C การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้ Revocable bank letter of credit L/C สามารถถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยแบงค์ผู้ออกเอกสาร (Issue Bank) โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้รับเงิน (beneficiary) Irrevocable bank letter of credit ไม่สามารถยกเลิกได้ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย (ผู้นำ้เข้า, applicant,และผู้ส่งออก, beneficiary) ซึ่งเป็นแบบที่้ใช้มากที่สุด Standby bank letter of credit เป็นแบบที่ยืนยันว่าได้รับเงินแน่นอน ถ้าผู้ส่งออก (beneficiary) ถูกเบี้ยวจากลูกค้า (applicant) ก็สามารถยื่นเรื่องขอเงินที่ไม่้ได้รับจาก bank ได้ ส่วนมากจะใช้ L/C แบบนี้กับลูกค้าขาประจำเพราะไม่ยุ่งยาก Revolving bank letter of credit ถ้ามีการทำการค้าขายกันอยู่เป็นประจำระหว่างผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ก็อาจจะใช้ L/C แบบนี้เพื่อไม่ต้องออก L/C ทุกครั้งที่มีการส่งของ ส่วนมากจะใช้ L/C แบบนี้กับลูกค้าขาประจำเพราะไม่ยุ่งยาก ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

(Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond) - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee) - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other) ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

 

Trust Receipt T/R “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

Packing Credit P/C สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

อาวัล ( AVAL ) การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

นางสาว จิตรยา กันยา

รหัสนักศึกษา 52127312064

เอก การเงินการธนาคาร 02

นางสาวสุปราณี วันดี

Letter of Credit (L/C)

Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

ในปัจจุบันการค้าต่างประเทศนิยมใช้การขายโดยมีเอกสารประกอบ 2 วิธีดังกล่าว คือ การส่งตั๋วเรียกเก็บเงิน (Bill for Collection) และการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Commercial Letter of Credit) เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวิธีคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศในบางประเทศอาจบังคับให้ต้องใช้วิธีการชำระเงินด้วยการเปิด L/C เพียงอย่างเดียว ส่วนการซื้อสินค้าด้วยวิธีการจ่ายเงินสดหรือจ่ายเงินล่วงหน้านั้นมักใช้กับการสั่งซื้อสินค้าจำนวนเล็กน้อยเพื่อให้เองไม่ใช่เป็นการสั่งซื้อเพื่อการค้า

การส่งสินค้าออกโดยผู้ซื้อเปิด L/C เพื่อการสั่งสินค้านั้นธนาคารพาณิชย์จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการชำระเงินแก่ผู้ขาย หากไม่เปิด L/C ธนาคารทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการติดต่อประสานงานและเรียกเก็บเงินเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าและผู้ขายได้รับเงินนั้นแล้วก็หมดหน้าที่ของธนาคาร

จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

(Letters of Guarantees / Bank Guarantee)L/G

รูปภาพ

 

   หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)L/G
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
        Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

Trust Receipt T/R

 

Trust Receipt T/R “สัญญาทรัสต์รีซีท เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

Packing Credit P/C

 Packing Credit P/Cสินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

(ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย)

 (Aval)

การอาวัล (Aval)
      คือการบริการในการเข้าผูกพันตนเป็นเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินนั้นเองโดยเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินหรือผู้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกค้า เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )
นางสาวสุปราณี   วันดี

52127312023

บริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร ปี 2)

 


นางสาวสุปราณี วันดี

ส่งใหม่นะค่ะอันแรกภาพไม่สวย

Letter of Credit (L/C)

Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

ในปัจจุบันการค้าต่างประเทศนิยมใช้การขายโดยมีเอกสารประกอบ 2 วิธีดังกล่าว คือ การส่งตั๋วเรียกเก็บเงิน (Bill for Collection) และการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Commercial Letter of Credit) เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวิธีคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศในบางประเทศอาจบังคับให้ต้องใช้วิธีการชำระเงินด้วยการเปิด L/C เพียงอย่างเดียว ส่วนการซื้อสินค้าด้วยวิธีการจ่ายเงินสดหรือจ่ายเงินล่วงหน้านั้นมักใช้กับการสั่งซื้อสินค้าจำนวนเล็กน้อยเพื่อให้เองไม่ใช่เป็นการสั่งซื้อเพื่อการค้า

การส่งสินค้าออกโดยผู้ซื้อเปิด L/C เพื่อการสั่งสินค้านั้นธนาคารพาณิชย์จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการชำระเงินแก่ผู้ขาย หากไม่เปิด L/C ธนาคารทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการติดต่อประสานงานและเรียกเก็บเงินเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าและผู้ขายได้รับเงินนั้นแล้วก็หมดหน้าที่ของธนาคาร

จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

(Letters of Guarantees / Bank Guarantee)L/G

รูปภาพ

   หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)L/G
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
        Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

Trust Receipt T/R

 

 

Trust Receipt T/R “สัญญาทรัสต์รีซีท เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

  Packing Credit P/C

Packing Credit P/Cสินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท                                                              

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

(ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย)

(Aval)

การอาวัล (Aval)
      คือการบริการในการเข้าผูกพันตนเป็นเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินนั้นเองโดยเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินหรือผู้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกค้า เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )


นางสาวสุปราณี วันดี

52127312023

บริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร ปี 2)

...ตราสารทางการเงินที่ใช้สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกสินค้าในการติดต่อกับคู่ค้าและธนาคาร...

Letter of Credit : L/C

          การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

          สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

          ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

          ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

          หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

Trust Receipt : T/R (..สินเชื่อเพื่อการนำเข้า..)

          เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดย
ลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้า
และจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร

          ลักษณะบริการ
          • เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น
          • เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมาชำระเมื่อครบกำหนด

          ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น
          1) T/R Sight แบ่งเป็น
                  1.1 T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลก
เปลี่ยน ณ วันทำสัญญา T/Rและชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท
                  1.2 T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็นหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันครบกำหนดหรือในวันที่ชำระเงิน
          2) T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตาม
เงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

PACKING CREDIT : P/C (..สินเชื่อสำหรับผู้ส่งออก..)

          ลักษณะการบริการ เป็นสินเชื่อระยะสั้นแก่ผู้ส่งออกโดยใช้วงเงินกู้ยืม PACKING CREDIT (P/C) เพื่อนำเงินไปจัดหาวัตถุดิบในการผลิตหรือเตรียมสินค้าเพื่อส่งออก

          สิทธิประโยชน์

- สามารถกู้ได้เป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ
- เมื่อยื่นเอกสารขอกู้ P/C สามารถเข้าบัญชี ภายในวันเดียวกัน

          เงื่อนไขการให้บริการ

- ต้องได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อ P/C จากธนาคารก่อน
- ระยะเวลาการทำ P/C ไม่เกิน 180 วัน

Letters of Guarantees : L/G (..หนังสือค้ำประกัน..)

 

รูปภาพ
         

          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

AVAL (อาวัล)

 

          " อาวัล " มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ AVAL หมายถึง ทำให้มีค่าขึ้นได้มีการนำมาใช้ในกฏหมายเกี่ยวกับตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้ เงินในประเทศไทย หมายถึง การค้ำประกัน ความรับผิดชอบของลูกหนี้การใช้เงินตามตั๋ว การรับอาวับนั้นจะรับอาวัลเพียงบางส่วนก็ได้ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้รับอาวัลสามารถจำกัดความรับผิดชอบของตนได้

          อาวัลมีความสำคัญในทางปฏิบัติ และใช้กับตั๋วเงินทุกประเภท

          เหตุผลที่ต้องมีการอาวัลตั๋ว เกิดจากผู้ที่จะรับโอนตั๋วไม่เชื่อถือในเครดิตของลูกหนี้ตามตั๋ว เช่น อาจเป็นผู้มีฐานะการเงินไม่ดี เป็นต้น

          ใครเป็นผู้รับอาวัลได้ ผู้รับอาวัลตั๋วอาจเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
     4.1 บุคคลภายนอก ผู้จ่ายเงินตามตั๋วยังเป็นบุคคลภายนอก จึงเป็นผู้รับอาวัลได้
     4.2 คู่สัญญาแห่งตั๋วแลกเงิน กรณีผู้รับอาวัลที่เป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วอยู่แล้ว จะไม่มีผลดีเท่ากับบุคคลภายนอกเข้ารับอาวัล ทั้งนี้เพราะความมุ่งหมายของการรับอาวัล ก็คือ การประกันความรับผิดชอบในการใช้เงินของลูกหนี้ตามตั๋ว หากเอาลูกหนี้ตามตั๋วมารับการอาวัลอีกจะทำให้มี 2 ฐานะ ความมั่นคงของตั๋วก็ไม่เพิ่มกว่าเดิมเท่าที่ควร

          ในทางปฏิบัตผู้รับอาวัลมักเป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น ผู้รับอาวัลอาจมีบุคคลเดียว หรือมีหลายบุคคลก็ได้ และลูกหนี้ตามตั๋วคนเดียวอาจมีผู้รับอาวัลหลายคนก็ได้

          วิธีการรับอาวัล
     เขียนถ้อยคำว่า " ใช้ได้เป็นอาวัล " หรือ ใช้ภาษาอังกฤษ " Good as Aval " หรือ ข้าพเจ้ายอมรับประกัน " Good for the sum of ....... " " For Guarantee " ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

          ผลของการเข้ารับอาวัล การเข้ารับอาวัลมีผล 2 ประการคือ
     ก) ผู้รับอาวัลเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินอีกคนหนึ่ง ถ้าหากผู้รับอาวัลเป็นลูกหนี้ตามตั๋ว ลูกหนี้ตามตั๋วคนนั้นก็จะมีความรับผิดอีกฐานะหนึ่ง
     ข) ผู้รับอาวัลมีความรับผิดร่วมกันกับบุคคลที่ตนประกัน

 

น.ส. สองขวัญ สังข์เอม

การเงินการธนาคาร 01

รหัส 52127312018

บริการเปิดL/C

เป็นบริการที่ธนาคารเสนอแก่ผู้นำเข้า ในกรณีที่ผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้า วัตถุดิบ หรือเครื่องจักรจากต่างประเทศโดยเลือกใช้วิธีการชำระเงินแบบ L/C โดยผู้นำเข้าสามารถติดต่อขอใช้บริการเปิด L/C กับธนาคารได้ ซึ่งเมื่อธนาคารเปิด L/C ไปแล้ว ธนาคารจะมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระเงินทันที (L/C at Sight) หรือชำระเงินในอนาคต (L/C Terms) ให้แก่ธนาคารของผู้ส่งออกในต่างประเทศ เมื่อได้รับเอกสารถูกต้องและครบถ้วนตามเงื่อนไขของ L/C

ขั้นตอนการเปิดl/c

1.

ลูกค้าติดต่อธนาคารเพื่อขออนุมัติวงเงินเปิด L/C ซึ่งสามารถแยกเป็นวงเงินชั่วคราวเฉพาะรายหรือวงเงินถาวร

2.

เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินเปิด L/C เรียบร้อยแล้ว ลูกค้าสามารถยื่นขอเปิด L/C กับธนาคารได้โดยนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาเพื่อขอเปิด L/C
- Application for Issuing a Documentary Credit
- หลักฐานอื่นๆ แนบประกอบ เช่น Contract, Pro-forma Invoice, Purchase Order

3.

ธนาคารพิจารณาและเปิด L/C ตามคำขอของผู้นำเข้า

4.

ธนาคารส่งสำเนา L/C ให้แก่ผู้นำเข้า

 

 

หนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee: L/G)

เป็นผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกกลุ่มลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยมี อัตราดอกเบี้ยที่อิงตามยอดเงินฝากคงเหลือในแต่ละวันเป็นอัตราก้าวหน้า (Tier Rate)

ประโยชน์ของลูกค้า 

  • ได้รับการค้ำประกันจากธนาคารต่อ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในการประมูลงาน การทำสัญญา หรือในกรณีอื่นๆ  
  • ผู้รับประโยชน์จากหนังสือค้ำประกันมั่นใจได้ไว้ว่าลูกค้าจะสามารถดำเนินการได้ตามสัญญา หากไม่สามารถปฎิบัติได้ ธนาคารจะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น  
  • ประเภทหนังสือค้ำประกันมีหลากหลาย เพื่อสนองตอบทุกวัตถุประสงค์ในการค้ำประกัน 
  • สะดวกใช้งาน ทำได้รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก เมื่อเปรียบเทียบกับการค้ำประกันด้วยหลักประกันอื่น  

 

อัตราค่าธรรมเนียม

ร้อยละ 2.5 ต่อปี

 

 

บริการสินเชื่อเพื่อการส่งออก ( PACKING CREDIT) 

ลักษณะบริการ    เป็นสินเชื่อระยะสั้นแก่ผู้ส่งออกโดยใช้วงเงินกู้ยืม PACKING CREDIT (P/C) เพื่อนำเงินไปจัดหาวัตถุดิบในการผลิตหรือเตรียมสินค้าเพื่อส่งออก

สิทธิประโยชน์   - สามารถกู้ได้เป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ
                           - เมื่อยื่นเอกสารขอกู้ P/C สามารถเข้าบัญชี ภายในวันเดียวกัน

เงื่อนไขการให้บริการ  - ต้องได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อ P/C จากธนาคารก่อน
                            - ระยะเวลาการทำ P/C ไม่เกิน 180 วัน

ค่าธรรมเนียม  ไม่มี

อัตราดอกเบี้ย    - ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อหรือตามเงื่อนไขข้อตกลงกับธนาคาร

เอกสารประกอบเอกสารประกอบ- ตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาจะใช้เงินเพื่อการส่งออก
- หลักฐานประกอบได้แก่ L/C ต้นฉบับหรือ คำสั่งซื้อสินค้าหรือสัญญา ซื้อขาย   (SALES CONTRACT OR PURCHASE ORDER) เป็นต้น

 

avalled

- ตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาจะใช้เงินเพื่อการส่งออก
- หลักฐานประกอบได้แก่ L/C ต้นฉบับหรือ คำสั่งซื้อสินค้าหรือสัญญา ซื้อขาย   (SALES CONTRACT OR PURCHASE ORDER) เป็นต้น

 

Trust-receipt

หมายถึงต้องการโอนเจ้าหนี้ต่างประเทศ ไปเป็นเจ้าหนี้ Trust-receipt และต้องการคุมเจ้าหนี้ Trust-receipt แทนเจ้าหนี้ต่างประเทศใช่ไหมค่ะ  :D
1. ตั้งวิธีการจ่ายชำระหนี้ โดยผูกบัญชีเจ้าหนี้ต่างประเทศ
2. ตัดจ่ายเจ้าหนี้ต่างประเทศตามปกติ   โดยเลือกวิธีการจ่ายชำระหนี้เป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศ   (F7)
    เพราะต้องการตัดเจ้าหนี้ต่างประเทศรายตัวอย่างเดียว ไม่ให้บันทึกบัญชี (เพราะบันทึกที่สมุดรายวันแล้ว)
        Dr. เจ้าหนี้ต่างประเทศ
              Cr. เจ้าหนี้ต่างประเทศ
        ** ขั้นตอนนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชี **
2. ตั้งรายละเอียดผู้จำหน่ายที่ผูกบัญชี Trust-receipt
3. สร้างรหัสค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ขึ้นมา 1 ตัว ผูกบัญชีเจ้าหนี้ Trust-receipt
4. ทำใบเพิ่มหนี้ ดึงเจ้าหนี้ Trust-receipt มาไม่ต้องอ้างเอกสาร RR รหัสสินค้าให้เลือกรหัสค่าใช้จ่ายอื่น ๆที่ผูกบัญชีเจ้าหนี้
    Trust-receipt
    ผลการทำงานจะไม่มีการบันทึกบัญชี แต่จะได้เจ้าหนี้ Trust-receipt รายตัวค่ะ
    **สาเหตุที่ไม่บันทึกซื้อเงินเชื่อเพราะจะทำให้การดูยอดซื้อหรือประวัติการซื้อจะไม่ถูกต้องการ**
5. เมื่อมีการจ่ายเจ้าหนี้ Trust-receipt ก็ตัดจ่ายที่เมนูจ่ายชำระหนี้
   ในกรณีนี้คือเราไม่ลบเอกสารที่เรา Dr. Cr. เองที่สมุดรายวัน แต่ถ้าลบเอกสารใบนั้นออก

นาสาวไกรศรี  พลโฮม

รหัส  52127312060

การเงิน  02

 

 

 

 1.Trust Receipt (T/R)

สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

2.(Aval)

การอาวัลตั๋วแลกเงิน (Aval) หมายถึง การลงนามค้ำประกันการจ่ายเงินตามตั๋วเงิน การลงนามนี้จะทำไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วก็ได้

หลักเกณฑ์ในการอาวัล

         - ผู้อาวัลจะเป็นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่ง หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในตั๋วก็ได้

         - การอาวัลอาจจะทำเพื่อรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้

         - การรับอาวัลต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุไว้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

การอาวัลตั๋วแลกเงิน

        1. การอาวัลเป็นการค้ำลูกหนี้คนใดคนหนึ่งตามตั๋วแลกเงิน

        2. การอาวัลทำได้โดยเขียนข้อความอาวัลและลงชื่อไว้ด้านหน้าของตัวแลกเงิน

        3. การอาวัลทำให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนรับอาวัล

 

ความหมายของการอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งดำให้จ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท เขียวและชมพูเข้ารับอาวัลแดง ต่อมาเมื่อตั๋วถึงกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ขาวไล่เบี้ยเอาจากชมพูแล้ว ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ย เขียวให้รับผิด 5,000 บาท ได้หรือไม่

        ชมพูไล่เบี้ยเขียวไม่ได้ เพราะกรณีนี้ไม่นำหลักเรื่องผู้ค้ำประกันร่วมตามมาตรา 682 มาใช้ต้องบังคับตามเรื่องอาวัลเนื่องจากเขียวไม่ใช่คนที่ผูกพันรับผิดอยู่ ก่อนแดง ชมพูจึงไล่เบี้ยไม่ได้

วิธีอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ผู้ถือ 10,000 บาท แล้ว มอบตั๋วให้ขาว ขาวสลักหลังลอยโอนตั๋วให้เขียวดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดในฐานะใด

        การสลักหลังตั๋วแลกเงินที่ออกแก่ผู้ถือมีผลเป็นการอาวัลผู้ สั่งจ่าย ขาวจึงต้องรับผิดฐานะผู้รับอาวัลแดง (มาตรา 921)

        มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียง ประกัน(อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย

ผลของการอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท ขาวสลักหลังให้เขียว ชมพูอาวัลเขียว เขียวสลักหลังให้เหลือง เหลืองสลักหลังให้ม่วง และดำได้รับรองตั๋วนี้ ต่อมาม่วงนำตั๋วไปยื่นในวันครบกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ม่วงจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยชมพู ชมพูยอมจ่ายทั้งหมด ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ยใคร ได้บ้าง

        ชมพูไล่เบี้ยเขียวได้เพราะตนรับอาวัลเขียว และไล่เบี้ยดำ แดง และขาว ได้เพราะเป็นบุคคลที่ผูกพันรับผิดแทนเขียว (มาตรา 940)

        มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกันแม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

        เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

“อาวัล”

        มาตรา 938 ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกัน รับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า "อาวัล"

        อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญา แห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

        มาตรา 939 อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วแลก เงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ

        ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือสำนวนอื่นใด ทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

        อนึ่ง เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงินท่าน ก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่าย หรือผู้สั่งจ่าย

        ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือ ว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

        มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกัน แม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

        เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

3.Letters of Guarantees / Bank Guarantee (L/G)
             คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
 สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล

            หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
            เช่น
             - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
        Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

4.Letter of Credit (L/C)

ทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

ในปัจจุบันการค้าต่างประเทศนิยมใช้การขายโดยมีเอกสารประกอบ 2 วิธีดังกล่าว คือ การส่งตั๋วเรียกเก็บเงิน (Bill for Collection) และการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Commercial Letter of Credit) เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวิธีคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศในบางประเทศอาจบังคับให้ต้องใช้วิธีการชำระเงินด้วยการเปิด L/C เพียงอย่างเดียว ส่วนการซื้อสินค้าด้วยวิธีการจ่ายเงินสดหรือจ่ายเงินล่วงหน้านั้นมักใช้กับการสั่งซื้อสินค้าจำนวนเล็กน้อยเพื่อให้เองไม่ใช่เป็นการสั่งซื้อเพื่อการค้า

การส่งสินค้าออกโดยผู้ซื้อเปิด L/C เพื่อการสั่งสินค้านั้นธนาคารพาณิชย์จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการชำระเงินแก่ผู้ขาย หากไม่เปิด L/C ธนาคารทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการติดต่อประสานงานและเรียกเก็บเงินเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าและผู้ขายได้รับเงินนั้นแล้วก็หมดหน้าที่ของธนาคาร

จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

5.Packing Credit (P/C)

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท                                                              

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

 

5.Packing Credit (P/C)

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท                                                              

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

 

นายประมุข   ฝักเจริญผล

52127312019

การเงินการธนาคาร01

นางสาวณัฐยา กรโคกกรวด

 

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

        การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

 

Trust Receipt :T/R (บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า)

เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิ์เพื่อออกสินค้าและจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร 

ลักษณะบริการ

- เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น

- เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า
ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมาชำระเมื่อครบกำหนด

ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

1. T/R Sight แบ่งเป็น

    1.1 T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ
              วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

    1.2 T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตรา
               ต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันครบกำหนด
               หรือในวันที่ชำระเงิน

2. T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย 
     (ตามเงื่อนไขในL/C)โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน
    ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

 

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
        Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

 

แพ็คกิ้งเครดิต  (Packing Credit P/C)

เป็นสินเชื่อระยะสั้นที่ระยะเวลาไม่เกินอายุของ L/C หรือถ้ามีการต่ออายุ L/C เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 180 วัน ให้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจด้านการส่งสินค้าออก และ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อสินค้า โดยลูกค้าจะนำ เล็ตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ Irrevocable Letter of credit หรือ purchase Oder,Contract ในต่างประเทศมาแสดงต่อธนาคาร เพื่อขอเบิกเงินล่วงหน้าไปซื้อสินค้า ทำการส่งออก ลูกค้าจะต้องส่งสินค้าออกภายในกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ ออฟเครดิต ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อนี้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าในเล็ตเตอร์ออฟ เครดิต หรือร้อยละ 70 ของมูลค่า Purchase Order หรือ Contract ค่าธรรมเนียมหักส่วนลดจากยอด Packing ตาม Rate ที่ธนาคารกำหนด (ใกล้เคียงกับดอกเบี้ย Prime Rate ) หรือคิดดอกเบี้ยจากยอด Packing ตาม Rate ที่ Exim Bank of Thailand กำหนด                  
( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

 

การอาวัล / รับรองตั๋วเงิน (Aval / Acceptance)
คือการที่ธนาคารเข้าไปเป็นผู้ค้ำประกันการชำระเงิน ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ที่ลูกค้าของธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว รับรองจ่ายเงินไว้ ตั๋วที่ธนาคารรับรองไว้ เมื่อผู้ทรงตั๋ว ส่งตั๋วมาเรียกเก็บเมื่อถึงวันครบกำหนด ธนาคารต้องจ่ายให้ทันทีจะผัดผ่อนไม่ได้

(ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม)

นางสาว  ณัฐยา  กรโคกกรวด 

รหัสนักศึกษา   52127312058 

การเงินการธนาคาร 02

 

 

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

• เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น

• เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit) เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ

1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิตในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต

2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต

3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ

1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง

1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต

1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต

2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป

3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว

4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ

 

Trust Receipt :T/R

บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (Trust Receipt :T/R) เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าและจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ลักษณะบริการ เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่า ธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมา ชำระเมื่อครบกำหนด

1. ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

- T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

- T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันครบกำหนดหรือในวันที่ชำระเงิน

2. T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

 

Packing Credit P/C

เป็นรายงานแสดงรายละเอียดการรับเงินโอน หลังจากที่มีการเปิด L/C กับธนาคารที่เป็นตัวแทน ระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ขายแล้ว ซึ่งสามารถเลือกดูรายงานเรียงตามวันที่, รหัสธนาคาร หรือเลขที่ P/C ได้

 

รูปภาพ

Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

- การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

- การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

- การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

- การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

 - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

อาวัล (Aval)

         การอาวัลตั๋วแลกเงิน (Aval) หมายถึง การลงนามค้ำประกันการจ่ายเงินตามตั๋วเงิน การลงนามนี้จะทำไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วก็ได้

หลักเกณฑ์ในการอาวัล

         - ผู้อาวัลจะเป็นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่ง หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในตั๋วก็ได้

         - การอาวัลอาจจะทำเพื่อรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้

         - การรับอาวัลต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุไว้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

การอาวัลตั๋วแลกเงิน

        1. การอาวัลเป็นการค้ำลูกหนี้คนใดคนหนึ่งตามตั๋วแลกเงิน

        2. การอาวัลทำได้โดยเขียนข้อความอาวัลและลงชื่อไว้ด้านหน้าของตัวแลกเงิน

        3. การอาวัลทำให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนรับอาวัล

 

ความหมายของการอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งดำให้จ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท เขียวและชมพูเข้ารับอาวัลแดง ต่อมาเมื่อตั๋วถึงกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ขาวไล่เบี้ยเอาจากชมพูแล้ว ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ย เขียวให้รับผิด 5,000 บาท ได้หรือไม่

        ชมพูไล่เบี้ยเขียวไม่ได้ เพราะกรณีนี้ไม่นำหลักเรื่องผู้ค้ำประกันร่วมตามมาตรา 682 มาใช้ต้องบังคับตามเรื่องอาวัลเนื่องจากเขียวไม่ใช่คนที่ผูกพันรับผิดอยู่ ก่อนแดง ชมพูจึงไล่เบี้ยไม่ได้

วิธีอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ผู้ถือ 10,000 บาท แล้ว มอบตั๋วให้ขาว ขาวสลักหลังลอยโอนตั๋วให้เขียวดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดในฐานะใด

        การสลักหลังตั๋วแลกเงินที่ออกแก่ผู้ถือมีผลเป็นการอาวัลผู้ สั่งจ่าย ขาวจึงต้องรับผิดฐานะผู้รับอาวัลแดง (มาตรา 921)

        มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียง ประกัน(อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย

ผลของการอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท ขาวสลักหลังให้เขียว ชมพูอาวัลเขียว เขียวสลักหลังให้เหลือง เหลืองสลักหลังให้ม่วง และดำได้รับรองตั๋วนี้ ต่อมาม่วงนำตั๋วไปยื่นในวันครบกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ม่วงจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยชมพู ชมพูยอมจ่ายทั้งหมด ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ยใคร ได้บ้าง

        ชมพูไล่เบี้ยเขียวได้เพราะตนรับอาวัลเขียว และไล่เบี้ยดำ แดง และขาว ได้เพราะเป็นบุคคลที่ผูกพันรับผิดแทนเขียว (มาตรา 940)

        มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกันแม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

        เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

“อาวัล”

        มาตรา 938 ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกัน รับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า "อาวัล"

        อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญา แห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

        มาตรา 939 อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วแลก เงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ

        ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือสำนวนอื่นใด ทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

        อนึ่ง เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงินท่าน ก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่าย หรือผู้สั่งจ่าย

        ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือ ว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

        มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกัน แม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

        เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

 

 

นายเสกสรร  หอมรินทร์

รหัส 52127312068

การเงินการธนาคาร02

 

บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT
หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการซื้อขายด้วย L/C คือ

เงื่อนไขใน L/C ธนาคารผู้รับ L/C และธนาคารผู้เปิด L/C จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในอันที่จะทำการตรวจสอบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อสินค้า อย่างไรก็ตามเงื่อนไขต่างๆ ใน L/C จะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องทางด้านเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของตัวสินค้าได้

Trust Receipt (T/R) 

  “สัญญาทรัสต์รีซีทเกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

Packing Credit (P/C) 

 Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือดด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้ 1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน 2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้ 3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

 

 

 - ใบสั่งซื้อสินค้า(Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดของสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง โดยลูกค้ราในต่างประเทศ โดยระบุสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบเงื่อนไข เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง

 - Letter of Credit โดยระบุรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆในการสั่งซื้อและวิธีชำระค่าสินค้า

 - ตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน

 

Letters of Guarantees (L/G) 

 หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

อาวัล 

(Aval)

การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

 

 

 

น.ส.ปวีณา กรพิมาย

รหัส 52127312037

การเงินการธนาคาร02 ปี2

บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT
หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการซื้อขายด้วย L/C คือ

เงื่อนไขใน L/C ธนาคารผู้รับ L/C และธนาคารผู้เปิด L/C จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในอันที่จะทำการตรวจสอบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อสินค้า อย่างไรก็ตามเงื่อนไขต่างๆ ใน L/C จะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องทางด้านเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของตัวสินค้าได้

 

 

Trust Receipt (T/R) 

  “สัญญาทรัสต์รีซีทเกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

 

Packing Credit (P/C) 

 Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือดด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้ 1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน 2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้ 3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

   - ใบสั่งซื้อสินค้า(Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดของสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง โดยลูกค้ราในต่างประเทศ โดยระบุสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบเงื่อนไข เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง

 - Letter of Credit โดยระบุรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆในการสั่งซื้อและวิธีชำระค่าสินค้า

 - ตัวแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน

 

 

Letters of Guarantees (L/G) 

 หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

อาวัล 

 

(Aval)

 

การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

 

การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

 

นางสาวรัดเกล้า  ทองคำ รหัส 52127312025 เอกการเงิน 01

นางสาวโสระยา สายทอง 52127312001 การเงินการธนาคาร

แพ็คกิ้งเครดิต  (Packing Credit P/C)

เป็นสินเชื่อระยะสั้นที่ระยะเวลาไม่เกินอายุของ L/C หรือถ้ามีการต่ออายุ L/C เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 180 วัน ให้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจด้านการส่งสินค้าออก และ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อสินค้า โดยลูกค้าจะนำ เล็ตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ Irrevocable Letter of credit หรือ purchase Oder,Contract ในต่างประเทศมาแสดงต่อธนาคาร เพื่อขอเบิกเงินล่วงหน้าไปซื้อสินค้า ทำการส่งออก ลูกค้าจะต้องส่งสินค้าออกภายในกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ ออฟเครดิต ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อนี้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าในเล็ตเตอร์ออฟ เครดิต หรือร้อยละ 70 ของมูลค่า Purchase Order หรือ Contract ค่าธรรมเนียมหักส่วนลดจากยอด Packing ตาม Rate ที่ธนาคารกำหนด (ใกล้เคียงกับดอกเบี้ย Prime Rate ) หรือคิดดอกเบี้ยจากยอด Packing ตาม Rate ที่ Exim Bank of Thailand กำหนด                  
( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

การอาวัล / รับรองตั๋วเงิน (Aval / Acceptance)
คือการที่ธนาคารเข้าไปเป็นผู้ค้ำประกันการชำระเงิน ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ที่ลูกค้าของธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว รับรองจ่ายเงินไว้ ตั๋วที่ธนาคารรับรองไว้ เมื่อผู้ทรงตั๋ว ส่งตั๋วมาเรียกเก็บเมื่อถึงวันครบกำหนด ธนาคารต้องจ่ายให้ทันทีจะผัดผ่อนไม่ได้

 

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

Trust Receipt :T/R

บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (Trust Receipt :T/R) เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าและจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ลักษณะบริการ เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่า ธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมา ชำระเมื่อครบกำหนด

1. ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

- T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

- T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันครบกำหนดหรือในวันที่ชำระเงิน

2. T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

Letter of Credit (L/C)

ทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

ในปัจจุบันการค้าต่างประเทศนิยมใช้การขายโดยมีเอกสารประกอบ 2 วิธีดังกล่าว คือ การส่งตั๋วเรียกเก็บเงิน (Bill for Collection) และการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Commercial Letter of Credit) เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวิธีคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศในบางประเทศอาจบังคับให้ต้องใช้วิธีการชำระเงินด้วยการเปิด L/C เพียงอย่างเดียว ส่วนการซื้อสินค้าด้วยวิธีการจ่ายเงินสดหรือจ่ายเงินล่วงหน้านั้นมักใช้กับการสั่งซื้อสินค้าจำนวนเล็กน้อยเพื่อให้เองไม่ใช่เป็นการสั่งซื้อเพื่อการค้า

การส่งสินค้าออกโดยผู้ซื้อเปิด L/C เพื่อการสั่งสินค้านั้นธนาคารพาณิชย์จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการชำระเงินแก่ผู้ขาย หากไม่เปิด L/C ธนาคารทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการติดต่อประสานงานและเรียกเก็บเงินเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าและผู้ขายได้รับเงินนั้นแล้วก็หมดหน้าที่ของธนาคาร

จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่า

 

นางสาวโสระยา  สายทอง  52127312001

การเงินการธนาคาร

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

แพ็คกิ้งเครดิต  (Packing Credit P/C)

เป็นสินเชื่อระยะสั้นที่ระยะเวลาไม่เกินอายุของ L/C หรือถ้ามีการต่ออายุ L/C เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 180 วัน ให้สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจด้านการส่งสินค้าออก และ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อสินค้า โดยลูกค้าจะนำ เล็ตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ Irrevocable Letter of credit หรือ purchase Oder,Contract ในต่างประเทศมาแสดงต่อธนาคาร เพื่อขอเบิกเงินล่วงหน้าไปซื้อสินค้า ทำการส่งออก ลูกค้าจะต้องส่งสินค้าออกภายในกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ ออฟเครดิต ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อนี้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าในเล็ตเตอร์ออฟ เครดิต หรือร้อยละ 70 ของมูลค่า Purchase Order หรือ Contract ค่าธรรมเนียมหักส่วนลดจากยอด Packing ตาม Rate ที่ธนาคารกำหนด (ใกล้เคียงกับดอกเบี้ย Prime Rate ) หรือคิดดอกเบี้ยจากยอด Packing ตาม Rate ที่ Exim Bank of Thailand กำหนด                  
( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

 

การอาวัล / รับรองตั๋วเงิน (Aval / Acceptance)
คือการที่ธนาคารเข้าไปเป็นผู้ค้ำประกันการชำระเงิน ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ที่ลูกค้าของธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว รับรองจ่ายเงินไว้ ตั๋วที่ธนาคารรับรองไว้ เมื่อผู้ทรงตั๋ว ส่งตั๋วมาเรียกเก็บเมื่อถึงวันครบกำหนด ธนาคารต้องจ่ายให้ทันทีจะผัดผ่อนไม่ได้

 

 

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

 

Trust Receipt :T/R

บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (Trust Receipt :T/R) เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าและจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ลักษณะบริการ เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่า ธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมา ชำระเมื่อครบกำหนด

1. ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

- T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

- T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันครบกำหนดหรือในวันที่ชำระเงิน

2. T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

 

 

Letter of Credit (L/C)

ทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

ในปัจจุบันการค้าต่างประเทศนิยมใช้การขายโดยมีเอกสารประกอบ 2 วิธีดังกล่าว คือ การส่งตั๋วเรียกเก็บเงิน (Bill for Collection) และการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Commercial Letter of Credit) เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวิธีคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศในบางประเทศอาจบังคับให้ต้องใช้วิธีการชำระเงินด้วยการเปิด L/C เพียงอย่างเดียว ส่วนการซื้อสินค้าด้วยวิธีการจ่ายเงินสดหรือจ่ายเงินล่วงหน้านั้นมักใช้กับการสั่งซื้อสินค้าจำนวนเล็กน้อยเพื่อให้เองไม่ใช่เป็นการสั่งซื้อเพื่อการค้า

การส่งสินค้าออกโดยผู้ซื้อเปิด L/C เพื่อการสั่งสินค้านั้นธนาคารพาณิชย์จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการชำระเงินแก่ผู้ขาย หากไม่เปิด L/C ธนาคารทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการติดต่อประสานงานและเรียกเก็บเงินเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าและผู้ขายได้รับเงินนั้นแล้วก็หมดหน้าที่ของธนาคาร

จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่า

 

นางสาวชลินทร  แพรกปาน 52127312002 เอก การเงินการธนาคาร01

นาย นิธิศ ผ่องอำไพ

Letter of Credit (L/C)

การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

Letter of Guarantee: (L/G)

คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า)

AVAL (อาวัล)

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

PACKING CREDIT (P/C)

ลักษณะการบริการ เป็นสินเชื่อระยะสั้นแก่ผู้ส่งออกโดยใช้วงเงินกู้ยืม PACKING CREDIT (P/C) เพื่อนำเงินไปจัดหาวัตถุดิบในการผลิตหรือเตรียมสินค้าเพื่อส่งออก

Trust Receipt : T/R

เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้า
และจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร

นาย นิธิศ ผ่องอำไพ

การเงินการธนาคาร

52127312067

น.ส.วรีรัตน์ แซ่โง้ว

                         เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

        การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

 

การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
  การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
        หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
        ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
        ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้นเริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้วผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงินธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อนแล้วจึงเปิด L/C ให้ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่าธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่าธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันทีโดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่งหรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้าหรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว
        หลังจากนั้นผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็นหรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุและขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วยหลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป
 
 
การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)
        เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคารธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้าตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตหากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิตทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตนอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
 
 
หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีดังนี้คือ
        1ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต
        2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอเพื่อให้มีการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิตโดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต
        3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือกรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิตอาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ
        1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง
        1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต
        1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต
        2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมายหรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป
        3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว
        4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต)เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ     
 
 เลตเตอร์ออฟเครดิต แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.  เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าชนิดที่เพิกถอนไม่ได้ ( Irrevocab or Confirmea letter of Credit ) คือ L/C ที่ธนาคารผู้ออกหรือผู้เปิดรับรองว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ปรากฏในตั๋วแลกเงินภายในระยะเวลาหนึ่งตามสัญญาที่ปรากฏ L/C ชนิดนี้จะขอถอนเงินหรือบอกเลิกไม่ได้เว้นแต่ผู้รับประโยชน์จะยินยอม
2.   เลตเตอร์ออฟเครดิตที่เพิกถอนได้ ( Revocabie or Unconfirmed letter of credit ) คือ L/C ที่ธนาคารเป็นผู้เปิดหรือผู้ออกไม่ได้ให้ทำการรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ตามตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายอย่างแน่นอนเพียงแต่บอกกล่าวว่าจะยอมรับรองและจ่ายเงินตามตั๋วที่สั่งจ่ายถ้าหากว่าผู้เปิดไม่ได้บอกเลิกเสียก่อน L/C ชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างธนาคารกับผู้รับประโยชน์เพราะ L/C ดังกล่าวอาจมีการแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกโอกาสโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบ

 

                                                   Trust Receipt T/R

 “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

 

 

                                                  Packing Credit P/C

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

 

                                                  

                                               อาวัล ( AVAL )

 อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร ? เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

                                   (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

   คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

- การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

- การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

- การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

- การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

- การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

 - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

 

 

 

 

 

 น.ส.วรีรัตน์  แซ่โง้ว
การเงินการธนาคาร 02
รหัสนักศึกษา 52127312051

Trust Receipt (T/R)

เป็นสินเชื่อสินค้าเข้าที่ธนาคารเสนอให้ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าหรือวัตถุ ดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย Letter of Credit, Bill for Collection, Outward Remittance ท่านสามารถจะขอทำ T/R และรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าได้

ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

 

 

 

Packing Credit (P/C)

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหา สินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่ง ออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาด ขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้ เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบใน การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

 

 

 

Letters of Guarantees (L/G)

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือ การที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

- การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
- การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
- การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) 
- การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้(Retention Money Bond)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

- การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

 

LETTER OF CREDIT ( L/C)
การ ชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับ ซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไป พร้อมๆ กันด้วย

 

 


Aval

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋ว เงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

 

 

 

 

นางสาวสโรชา บัวสาย

52127312047

การเงิน ฯ 02

Letters of Guarantees (L/G)

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือ การที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

- การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
- การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
- การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) 
- การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้(Retention Money Bond)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
- การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

- การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

 

Aval

การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋ว เงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

 

ความหมายอย่างละเอียด

การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตน ประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุ ว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียน อาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

 

 

 

LETTER OF CREDIT ( L/C)
การ ชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

บทบาทหน้าที่ของ L/C
L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับ ซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไป พร้อมๆ กันด้วย

 

 

Trust Receipt (T/R)

เป็นสินเชื่อสินค้าเข้าที่ธนาคารเสนอให้ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าหรือวัตถุ ดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย Letter of Credit, Bill for Collection, Outward Remittance ท่านสามารถจะขอทำ T/R และรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าได้

ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

 

 

Packing Credit (P/C)

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหา สินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่ง ออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาด ขณะนั้น

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้ เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบใน การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

 

 

 

นางสาวรติรส  มานะไพร

52127312048

การเงินการธนาคาร 02

นางสาวชลลดา แก่นสวาท

สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt : T/R)

 

 

           “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่งสินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า

          การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที  เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

 

อาวัลตั๋วเงิน (Aval)

 

 

          การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

ความหมายอย่างละเอียด  

            การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

            การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

หลักเกณฑ์ในการอาวัล  

  1.  ผู้อาวัลจะเป็นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่ง หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในตั๋วก็ได้
  2. การอาวัลอาจจะทำเพื่อรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้
  3. การรับอาวัลต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุไว้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย  

การอาวัลตั๋วแลกเงิน  

  1.  การอาวัลเป็นการค้ำลูกหนี้คนใดคนหนึ่งตามตั๋วแลกเงิน
  2.  การอาวัลทำได้โดยเขียนข้อความอาวัลและลงชื่อไว้ด้านหน้าของตัวแลกเงิน
  3. การอาวัลทำให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนรับอาวัล

ความสมบูรณ์ของการอาวัลหรือการรับรองตั๋วเงิน
           ตั๋วสัญญาใช้เงินจะมีการอาวัลที่สมบูรณ์ได้ด้วยการเขียนลงในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ(ถ้ามี) โดยมีถ้อยคำสำนวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” (GOOD AS AVAL) หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน และจะต้องลงลายเมือชื่อผู้รับอาวัล และวัน เดือน ปี ที่อาวัลไว้ด้วย โดยให้เขียนลงด้านหน้าของตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น

           ในกรณีตั๋วแลกเงิน จะมีการรับรองที่สมบูรณ์ได้ ด้วยการเขียนลงไว้ในด้านหน้าของตั๋วแลกเงินเท่านั้น โดยมีถ้อยคำสำนวนว่า “รับรองแล้ว” (ACCEPTED) หรือข้อความอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และจะต้องลงลายมือชื่อผู้รับรอง และวัน เดือน ปี ที่รับรองไว้ด้วย

ตัวอย่าง

           หากเราไปลงลายมือชื่อหน้าเช็คฉบับใด ก็ถือว่าเราประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น แต่ถ้าเราไปลงชื่อด้านหลังโดยไม่เขียนว่าเป็นอาวัล เราก็ไม่ตกเป็นผู้รับอาวัลเช็คนั้นแต่อย่างใด แต่อาจต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลัง แล้วแต่กรณี การที่ผู้รับอาวัลต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามตั๋วเงินนั้น หากผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปแล้ว ผู้รับอาวัลก็จะมีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกเงินจำนวนที่ตนชำระไปจากบุคคลที่ตนประกันไว้ และใช้สิทธิของบุคคลที่ตนประกันไว้ไล่เบี้ยแก่คู่สัญญาอื่นๆที่ต้องรับผิดต่อบุคคลที่ตนประกันไว้อีกด้วย

 

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)

 

 

           คือ การที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน  เช่น
      1.  การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      2.  การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      3. การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      4. การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
      5. การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      6. การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      7. การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      8. การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

 

 

การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)  

          การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

  1. เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
  2. เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า  

           หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

          สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

          ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้อง ก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

ขั้นตอนในการเปิด L/C

          เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

        หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)

          เป็นวิธีการชำระเงิน ที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขาย ว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต

หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ

          1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิต ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใด ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิต ที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธ ไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตาม ธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน หรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วน ตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต

          2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต

          3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธ ไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ

             3.1 เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง

             -  ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสาร ซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงิน ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต

              -  ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้น กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต

             3.2 เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป

             3.3  เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคาร ผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคาร ผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้ โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว

             3.4 เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ

 

สินเชื่อ Packing Credit

           หมายถึง  การให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือดด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1

.การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

 

1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock
คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

 

1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order)
คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit)
คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

2. การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing)  คือ  การให้กู้ตามตั๋วแลกเงิน  ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน  ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ  เช่น  60  วัน  หรือ90  วัน  หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน  เป็นต้น  ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อ  ครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว  ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว  ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ  90  ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring)

         คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting 
        คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ
หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

 

          สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้

1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน

2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้

3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

- ใบสั่งซื้อสินค้า(Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดของสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง

- สัญญาซื้อขาย(Purchase Contract) ที่ออกโดยลูกค้ราในต่างประเทศ โดยระบุสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบเงื่อนไข เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง

- Letter of Credit โดยระบุรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆในการสั่งซื้อและวิธีชำระค่าสินค้า

- ตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน

          นอกจากนี้ ผู้ส่งออกต้องขออนุมัติวงเงิน Packing Credit กับทางธนาคารให้เรียบร้อยก่อนที่จะใช้บริการสินเชื่อ Packing Credit นั้น โดยปกติแล้วธนาคารจะพิจารณาอนุมัติวงเงินโดยใช้หลักการพิจารณาสินเชื่อเช่นเดียวกับสินเชื่อระยะสั้นประเภทอื่นๆ

กรณีการใช้บริการ Packing Credit ก่อนการส่งออกสินค้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

1. กรณีผู้ส่งออกได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าต่างประเทศแล้ว แต่สินค้าที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และผู้ส่งออกมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอสำหรับการเตรียมสินค้าทั้งหมดส่งไปให้ลูกค้า ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อสินค้าที่ขาดให้ครบได้ โดยจำนำสิทธิ์ของสินค้าที่มีอยู่ไว้กับทางธนาคารและออกตั๋วสัญญาการใช้เงิน(Promisory Note) ไว้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ซึ่งธนาคารจะดูแลสินค้าที่นำมาจำนำด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลที่สามดูแลแทนก็ได้ ทั้งนี้ ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าตามราคาตลาด นอกจากนี้ผู้ส่งออกต้องทำประกันอัคคีภัยมอบสิทธิ์ให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์ภายในวงเงินไม่น้อยกว่าที่ธนาคารปล่อยกู้ เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบจำนำสินค้า(Packing Credit Against Stock)

2. DiIuzส่งสินค้าได้รับใบสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศแล้วแต่ยังไม่ได้รับL/C (Letter of Credit) สั่งซื้อจากลูกค้านั้น หากผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินธนาคารได้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้เป็นประกันการกู้เงิน และนำใบสั่งซื้อสินค้า หรือสัญญาซื้อขายมาประกอบการกู้ ทั้งนี้ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าสินค้าตามใบสั่งซื้อสินค้า หรือการซื้อขายนั้น และจะระบุระยะเวลาครบกำหนดชำระคืนเงินภายในไม่เกิน 10 วันหลังจากวันส่งมอบสินค้า เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบที่มีสัญญาซื้อขายกำกับ(Packing Credit Against Purchase Order/ Contract)

3. กรณีผู้ส่งออกได้รับ L/C ประเภทเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable) จากลูกค้าในต่างประเทศแต่สินค้าที่มีอยู่อาจไม่พอเพียงหรือไม่มีสินค้าเลย ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารได้ โดยออกตั๋วสัญญาใงช้เงินและนำL/C ต้นฉบับที่ได้รับจากลูกค้ามวอบให้แก่ธนาคารเป็นผลักประกันการกู้เงิน ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าตาม L/C ที่ได้รับนั้น เราเรียก Packing Credit แบบนี้ว่า Packing Credit แบบที่มี L/C กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit)

          กรณีการใช้บริการ Packing Credit หลังการส่งออกสินค้า เกิดขึ้นเมื่อผู้ส่งออกให้สินเชื่อแก่ลูกค้าในต่างประเทศ โดยผู้ส่งออกจะได้รับชำระเงินก็ต่อเมื่อลูกค้าชำระเงินตามเงื่อนไขชำระเงินซึ่งได้กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินดังกล่าว ผู้ส่งออกต้องนำตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปขายลดให้แก่ธนาคาร โดยธนาคารจะรับซื้อลดไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน ทั้งนี้ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 10 วัน หลังครบกำหนดของตั๋วนั้น เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit ประเภทให้กู้ตามตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน (Packing Credit Under Usance Bill)

ประโยชน์ของ Packing Credit

1. เป็นสินเชื่อระยะสั้น หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้ส่งออก ในการผลิตหรือจัดเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ

2. เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น

3. ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะรับชำระเงินค่าสินค้าก่อนครบกำหนด สามารถนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อจากลูกค้าในต่างประเทศไปขอก็เงินก่อนได้

4. ผู้ส่งออกขอกู้เงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาท และสกุลเงินตราต่างประเทศ

5. กระบวนการสินเชื่อที่รวดเร็ว ผู้ส่งออกสามารถขออนุมัติเงินภายใน 24 ชั่วโมง

 

นางสาวชลลดา แก่นสวาท

งานด้านบน

ของ  นางสาวชลลดา   แก่นสวาท
      
การเงินการธนาคาร  02
       รหัสนักศึกษา  52127312070

ขอโทษค่ะ  ลืมใส่ชื่อ

นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

1.Letter of Credit : L/C 

การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน
การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้
อ้างอิง : วารสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม]

 

2.Trust Receipt :T/R

เป็นสินเชื่อสำหรับสินค้านำเข้าที่ธนาคารให้แก่ลูกค้าที่เป็นผู้นำเข้า ซึ่งสั่งซื้อสินค้าโดยการเปิด L/C ผ่านธนาคาร เพื่อให้ผู้นำเข้ารับสินค้าไปก่อนการชำระเงิน สินเชื่อ
T/R นี้เป็นสินเชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กล่าวคือเมื่อผู้ซื้อได้เปิด L/C สั่งซื้อสินค้าและสินค้าได้ถูกส่งมาถึงเมืองท่าปลายทางแล้ว โดยปกติสิทธิ์ของสินค้าจะตกอยู่กับ
ธนาคาร (คำขอเปิด L/C ระบุชื่อ Consignee เป็นธนาคารผู้เปิด L/C) ธนาคารจะโอนสิทธิ์ของสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าให้แก่ทางธนาคาร ในกรณีที่ผู้ซื้อยังไม่ต้องการชำระค่าสินค้าและมีข้อตกลงหรือมีวงเงินสินเชื่อ T/R อยู่กับธนาคาร ผู้ซื้อสามารถขอรับของไปก่อนการชำระเงินค่าสินค้า โดยการยื่นเอกสารที่เรียกว่า T/R ต่อธนาคารซึ่งมีลักษณะดังนี้

  1. T/R (Trust Receipt) คือตราสารหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้นำเข้า ทำไว้ต่อธนาคารผู้เปิด L/C ซึ่งตามปกติจะเป็นธนาคารที่ผู้ซื้อมีบัญชีอยู่ ในอันที่จะขอรับเอกสารทางการค้าที่ส่งมาจากธนาคารของผู้ขาย เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปรับของก่อนการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ซึ่งธนาคารจะโอนสิทธิ์การครอบครองสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารให้นำสินค้าไปครอบครองหรือเพื่อนำไปจำหน่ายหาผลประโยชน์ โดยที่ผู้ซื้อต้องให้คำรับรองว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้ายังคงเป็นของธนาคาร ซึ่งธนาคารจะเรียกสินค้ากลับคืนเมื่อไรก็ได้ ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควร
  2. เมื่อผู้นำเข้าขายสินค้าได้แล้วหรือเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้วผู้นำเข้าเห็นว่าควรจะจ่ายค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ก็จะไปติดต่อขอชำระค่าสินค้านั้นต่อธนาคารพร้อมทั้งชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารด้วย
    โดยทั่วไปธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียม T/R เท่ากับ 1/8% ของมูลค่าสินค้า
    ธนาคารจะเรียกหลักประกันในรูปของหลักทรัพย์ เงินสด หรือบุคคลก็ได้ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควร

 

 

 

3.PACKING CREDIT:P/C

สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงินโดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM BANK
PACKING CREDIT เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออก เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้าหรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ PACKING CREDIT แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

A. การให้สินเชื่อก่อนการส่งออก (PRE-SHIPMENT FINANCING) แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. . สินเชื่อจำนำสินค้า (PACKING CREDIT AGAINST STOCK)
    คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าอยู่จำนวนหนึ่งหรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ไว้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน
    ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดในขณะนั้น
  2. สินเชื่อที่มีสัญญาการค้ากำกับ (PACKING CREDIT AGAINST CONTRACT OR PURCHASE ORDER)
    คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้ แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการนำสัญญาซื้อขายหรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน
    ร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน
  3. สินเชื่อที่มีเลตเตอร์ออฟเครดิตกำกับ (PACKING CREDIT AGAINST LETTER OF CREDIT)
    คือการที่ผู้ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์จะขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้
    L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

B. การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (POST - SHIPMENT FINANCING)
คือการให้กู้ตามตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน (USANCE BILL) ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ (SUPPLIER CREDIT) เช่น 60 วัน
หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงินเป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนครบกำหนด ก็สามารถนำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ซึ่งธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าในตั๋วแลกเงินนั้น

 

 

 

 

4.Letters of Guarantees / Bank Guarantee

เป็นการขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการค้ำประกันในการทำสัญญาต่างๆ ระหว่างกันครับ โดยการทำ LG ต้องมีเงื่อนไขว่าจะให้ธนาคารค้ำประกันน่านเท่าไหร่ และวงเงินที่ค้ำประกันเท่าไหร่ โดยผู้ขอออก LG ต้องมีบัญชีฝากประจำตามจำนวนเงินที่ต้องการค้ำประกันครับ และต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารด้วย (การขอทำLG เหมือนการขอสินเชื่อครับ ค่าใช้จ่ายในแต่ละธนาคารไม่เหมือนกันครับลองคุยกับธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่จะง่ายกว่าครับ)
หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
     - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
        Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

 

 

5.อาวัล/การรับรอง (Aval/Acceptance)
การอาวัล

คือการที่ธนาคารเข้าไปเป็นผู้ค้ำประกันการชำระเงิน ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
และตั๋วแลกเงิน ที่ลูกค้าของธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว รับรองจ่ายเงินไว้
ตั๋วที่ธนาคารรับรองไว้ เมื่อผู้ทรงตั๋ว ส่งตั๋วมาเรียกเก็บเมื่อถึงวันครบกำหนด
ธนาคารต้องจ่ายให้ทันทีจะผัดผ่อนไม่ได้

การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

 การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

 

 

นาย  เจติพันธ์  จ้อยชู

การเงินการธนาคาร 02

52127312062

 

 

 

 

 

 

นางสาววิลาวัลย์ เขียวนุ้ย

บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (Trust Receipt :T/R)

    เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้า และจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร

 ลักษณะบริการ  เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่า ธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมา ชำระเมื่อครบกำหนด

1. ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

 -T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

-T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันครบกำหนดหรือในวันที่ชำระเงิน

 2. T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

 

 

เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

        เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

        การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)  

        การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

          เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น

          เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

          การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า  หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย  สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

 

        ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

      หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)

        เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต

 

 

อาวัล ( AVAL) 

1.  อาวัล( AVAL)  หมายถึง ทำให้มีค่าขึ้นได้มีการนำมาใช้ในกฏหมายเกี่ยวกับตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้ เงินในประเทศไทย หมายถึง การค้ำประกัน ความรับผิดชอบของลูกหนี้การใช้เงินตามตั๋ว การรับอาวัลนั้นจะรับอาวัลเพียงบางส่วนก็ได้ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้รับอาวัลสามารถจำกัดความรับผิดชอบของตนได้

2. อาวัลมีความสำคัญในทางปฏิบัติ และใช้กับตั๋วเงินทุกประเภท

3. เหตุผลที่ต้องมีการอาวัลตั๋ว เกิดจากผู้ที่จะรับโอนตั๋วไม่เชื่อถือในเครดิตของลูกหนี้ตามตั๋ว เช่น อาจเป็นผู้มีฐานะการเงินไม่ดี เป็นต้น

4. ใครเป็นผู้รับอาวัลได้ ผู้รับอาวัลตั๋วอาจเป็นบุคคลดังต่อไปนี้

          4.1 บุคคลภายนอก ผู้จ่ายเงินตามตั๋วยังเป็นบุคคลภายนอก จึงเป็นผู้รับอาวัลได้

          4.2 คู่สัญญาแห่งตั๋วแลกเงิน กรณีผู้รับอาวัลที่เป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วอยู่แล้ว จะไม่มีผลดีเท่ากับบุคคลภายนอกเข้ารับอาวัล ทั้งนี้เพราะความมุ่งหมายของการรับอาวัล ก็คือ การประกันความรับผิดชอบในการใช้เงินของลูกหนี้ตามตั๋ว หากเอาลูกหนี้ตามตั๋วมารับการอาวัลอีกจะทำให้มี 2 ฐานะ ความมั่นคงของตั๋วก็ไม่เพิ่มกว่าเดิมเท่าที่ควร

           ในทางปฏิบัติผู้รับอาวัลมักเป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น ผู้รับอาวัลอาจมีบุคคลเดียว หรือมีหลายบุคคลก็ได้ และลูกหนี้ตามตั๋วคนเดียวอาจมีผู้รับอาวัลหลายคนก็ได้

5. วิธีการรับอาวัล

       เขียนถ้อยคำว่า " ใช้ได้เป็นอาวัล " หรือ ใช้ภาษาอังกฤษ " Good as Aval " หรือ ข้าพเจ้ายอมรับประกัน " Good for the sum of ....... " " For Guarantee " ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

ผลของการเข้ารับอาวัล การเข้ารับอาวัลมีผล 2 ประการคือ

          ก) ผู้รับอาวัลเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินอีกคนหนึ่ง ถ้าหากผู้รับอาวัลเป็นลูกหนี้ตามตั๋ว ลูกหนี้ตามตั๋วคนนั้นก็จะมีความรับผิดอีกฐานะหนึ่ง

          ข) ผู้รับอาวัลมีความรับผิดร่วมกันกับบุคคลที่ตนประกัน

 

หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee : L/G)
      คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
   เช่น
      - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
      - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
      - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
      - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
        Money Bond)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
      - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
      - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

 

 

Packing Credit  P/C

      สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท                                                              

     1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

     1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

 

นางสาววิลาวัลย์  เขียวนุ้ย

การเงินการธนาคาร  02

รหัสนักศึกษา  52127312065

การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)  

          การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

  1. เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
  2. เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า  

           หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

          สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

          ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้อง ก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

ขั้นตอนในการเปิด L/C

          เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

        หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)  

          เป็นวิธีการชำระเงิน ที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขาย ว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต

หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ

          1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิต ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใด ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิต ที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธ ไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตาม ธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน หรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วน ตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต

          2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต

          3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธ ไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ

             3.1 เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง

             -  ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสาร ซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงิน ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต

              -  ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้น กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต

             3.2 เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป

             3.3  เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคาร ผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคาร ผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้ โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว

             3.4 เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ

T/R (Trust Receipt)

เป็นสินเชื่อสำหรับสินค้านำเข้าที่ธนาคารให้แก่ลูกค้าที่เป็นผู้นำเข้า ซึ่งสั่งซื้อสินค้าโดยการเปิด L/C ผ่านธนาคาร เพื่อให้ผู้นำเข้ารับสินค้าไปก่อนการชำระเงิน สินเชื่อ
T/R นี้เป็นสินเชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กล่าวคือเมื่อผู้ซื้อได้เปิด L/C สั่งซื้อสินค้าและสินค้าได้ถูกส่งมาถึงเมืองท่าปลายทางแล้ว โดยปกติสิทธิ์ของสินค้าจะตกอยู่กับ
ธนาคาร (คำขอเปิด L/C ระบุชื่อ Consignee เป็นธนาคารผู้เปิด L/C) ธนาคารจะโอนสิทธิ์ของสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าให้แก่ทางธนาคาร ในกรณีที่ผู้ซื้อยังไม่ต้องการชำระค่าสินค้าและมีข้อตกลงหรือมีวงเงินสินเชื่อ T/R อยู่กับธนาคาร ผู้ซื้อสามารถขอรับของไปก่อนการชำระเงินค่าสินค้า โดยการยื่นเอกสารที่เรียกว่า T/R ต่อธนาคารซึ่งมีลักษณะดังนี้

  • T/R (Trust Receipt) คือตราสารหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้นำเข้า ทำไว้ต่อธนาคารผู้เปิด L/C ซึ่งตามปกติจะเป็นธนาคารที่ผู้ซื้อมีบัญชีอยู่ ในอันที่จะขอรับเอกสารทางการค้าที่ส่งมาจากธนาคารของผู้ขาย เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปรับของก่อนการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ซึ่งธนาคารจะโอนสิทธิ์การครอบครองสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารให้นำสินค้าไปครอบครองหรือเพื่อนำไปจำหน่ายหาผลประโยชน์ โดยที่ผู้ซื้อต้องให้คำรับรองว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้ายังคงเป็นของธนาคาร ซึ่งธนาคารจะเรียกสินค้ากลับคืนเมื่อไรก็ได้ ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควร
  • เมื่อผู้นำเข้าขายสินค้าได้แล้วหรือเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้วผู้นำเข้าเห็นว่าควรจะจ่ายค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ก็จะไปติดต่อขอชำระค่าสินค้านั้นต่อธนาคารพร้อมทั้งชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารด้วย
    โดยทั่วไปธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียม T/R เท่ากับ 1/8% ของมูลค่าสินค้า
    ธนาคารจะเรียกหลักประกันในรูปของหลักทรัพย์ เงินสด หรือบุคคลก็ได้ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควร
  • Packing Credit

    ในยุคของการค้าเสรีดังเช่นปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าธุรกิจการค้าระหว่างประเทศทวีความสำคัญและมีบทบาทในการผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะภาคการส่งออกทั้งทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม ทั้งนี้การส่งออกไม่เพียงแต่จะนำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศเราแล้วยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าไทยในตลาดโลกทำให้นานาประเทศรู้จักสินค้าไทยมากยิ่งขึ้นและจะนำมาซึ่งประเทศคู่ค้าที่สำคัญสำหรับประเทศเรานอกจากนี้การส่งออกยังเป็นสิ่งที่ภาครัฐบาล สนับสนุนเพื่อหลีกเลี่ยงจากภาวะขาดดุลการค้าของประเทศอีกด้วย
    เราคงเห็นถึงความสำคัญของการส่งออกกันแล้วนะครับ แน่นอนว่าการส่งออกไม่เหมือนกับการค้าขายในประเทศ (ซึ่งไม่ยุ่งยากเท่าไรนัก) แต่การส่งออกนั้นไม่เพียงจะเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้าแล้ว ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในสมรภูมิการค้าโลกอีกด้วย อีกทั้งการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศด้วยเงินจำนวนมากนั้น ก็เป็นการเสี่ยงต่ออันตรายทางด้านการเงินสูง จากเหตุผลดังกล่าวนี้ ภาครัฐบาลจึงได้ออกมาตรการทางการเงินการธนาคารโดยเฉพาะทางด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Export Financing) เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ส่งออก ซึ่งปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าสินเชื่อเพื่อการส่งออกมีมากมายหลายประเภท แต่ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เรียกว่า Packing Credit
    Packing Credit หมายถึง การให้บริการสินเชื่อระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการผลิต หรือ จัดเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการส่งออกสินค้า (Pre-shipment Financing) และ หลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ (Post-shipment Financing) ทั้งนี้ผู้ส่งออกสามารถขอกู้เงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาท และ สกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้ 3 สกุล คือ USD, Euro และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออกครับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้น จะคิดตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ (บวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี) และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน
    สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับทางธนาคารนั้น ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ ดังต่อไปนี้
    1. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือ ลูกค้าของธนาคาร โดยระบุ สถานที่ออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระเงิน และ ชื่อผู้รับเงิน
    2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออก หรือ สัญญารับชำระหนี้
    3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
    3.1 ใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเ้งิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง
    3.2 สัญญาซื้อขาย (Purchase Contract) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง
    3.3 Letter of Credit โดยระบุรายละเิอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการสั่งซื้อ และวิธีการชำระเงินค่าสินค้า
    3.4 ใบรับรองคลังสินค้า หรือ ใบประทวนสินค้า โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า และน้ำหนักของสินค้า
    3.5 ตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน
    นอกจากนี้ ผู้ส่งออกต้องขออนุมัติวงเงิน Packing Credit กับทางธนาคารให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะใช้บริการสินเชื่อ Packing Credit นั้น โดยปกติแล้วธนาคารจะพิจารณาอนุมัติวงเงินโดยใช้หลักการพิจารณาสินเชื่อเช่นเดียวกับสินเชื่อระยะสั้นประเภทอื่น ๆ นั่นเอง เพื่อให้เข้าใจ Packing Credit ได้มากขึ้น ลองมาดูตัวอย่างของการให้สินเชื่อ Packing Credit แต่ละประเภทดังต่อไปนี้
    กรณีการใช้บริการ Packing Credit ก่อนการส่งออกสินค้า แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
    - กรณีผู้ส่งออกได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศแล้ว แต่สินค้าที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และผู้ส่งออกมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอสำหรับการเตรียมสินค้าทั้งหมดส่งไปให้แก่ลูกค้า ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อสินค้าที่ขาดให้ครบได้ โดยจำนำสิทธิ์ของสินค้าที่มีอยู่ไว้กับทางธนาคาร และออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) ไว้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ซึ่งธนาคารจะดูแลสินค้าที่นำมาจำนำด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลที่สามดูแลแทนก็ได้ ทั้งนี้ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่นำมาจำนำ โดยธนาคารจะประเมิืนมูลค่าสินค้าตามราคาตลาด นอกจากนี้ผู้ส่งออกต้องทำประกันอัคคีภัยมอบสิทธิ์ให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์ภายในวงเงินไม่น้อยกว่าที่ธนาคารปล่อยกู้ เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบจำนำสินค้า (Packing Credit against Stock)
    - กรณีผู้ส่งออกได้รับใบสั่งซื้อสินค้า หรือ ทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับ L/C (Letter of Credit) สั่งซื้อจากลูกค้านั้น ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์ที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารได้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้เป็นหลักประกันการกู้เงินและนำใบสั่งซื้อสินค้า หรือ สัญญาซื้อขายมาประกอบการขอกู้ ทั้งนี้ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าสินค้าตามใบสั่งซื้อสินค้า หรือ สัญญาซื้อขายนั้น และจะระบุระยะเวลาครบกำหนดชำระคืนเงินภายในไม่เกิน 10 วันหลังจากวันส่งมอบสินค้า เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบที่มีสัญญาซื้อขายกำกับ (Packing Credit against Purchase Order / Contract)
    - กรณีผู้ส่งออกได้รับ L/C ประัเภทเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable) จากลูกค้าในต่างประเทศ แต่สินค้าที่มีอยู่อาจมีไม่เพียงพอ หรือ ไม่มีสินค้าเลย ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารได้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินและนำ L/C ต้นฉบับที่ได้รับมาจากลูกค้ามอบให้แก่ธนาคารเป็นหลักประกันการกู้เงินทั้งนี้ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าเงินตาม L/C ที่ได้รับนั้น เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบที่มี L/C กำกับ (Packing Credit against Letter of Credit)
    กรณีการใช้บริการ Packing Credit หลังการส่งออกสินค้า เกิดขึ้นเมื่อผู้ส่งออกให้สินเชื่อแก่ลูกค้าในต่างประเทศโดยผู้ส่งออกจะได้รับชำระเงินก็ต่อเมื่อลูกค้าชำระเงินตามเทอมการชำระเงินที่ได้กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินแล้วเท่านั้น ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์ที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารได้โดยนำตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปขายลดให้แก่ธนาคาร โดยธนาคารจะรับซื้อลดไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินตามตั๋วแลกเงิน ทั้งนี้ระยะเวลาการให้กู้ต้องไม่เกิน 10 วันหลังวันครบกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้น เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit ประเภทให้กู้ตามตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน (Packing Credit Under Usance Bill)
    คงพอเห็นภาพภาพรวมของสินเชื่อประเภท Packing Credit กันแล้วนะครับ ประโยชน์ของ Packing Credit สำหรับผู้ส่งออกก็พอสรุปได้ดังนี้
    1. เป็นสินเชื่อระยะสั้น หรือ เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้ส่งออก ในการผลิตหรือจัดเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ
    2. เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น
    3. ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะรับชำระเงินค่าสินค้าก่อนครบกำหนด สามารถนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศไปขอกู้เงินจากธนาคารก่อนได้
    4. ผู้ส่งออกสามารถขอกู้เงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาท และสกุลเงินตราต่างประเทศ
    5. กระบวนการสินเชื่อที่รวดเร็ว ผู้ส่งออกสามารถรับการอนุมัติเงินกู้ภายใน 24 ชั่วโมง
    นี่คือกระบวนการสินเชื่อเพื่อการส่งออก Packing Credit ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ผู้ส่งออกไทยต้องรู้จักนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจการส่งออกของตน ถ้าท่านผู้อ่านต้องการรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Packing Credit สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารได้ครับ

    Letters of Guarantees (L/G) 

     หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
    หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
       เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     

    อาวัลตั๋วเงิน

    (Aval)

    ความหมายอย่างสั้น อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร

    ? การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

    ความสำคัญของเรื่อง  

    ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล ”

    ความหมายอย่างละเอียด

    การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

    ตัวอย่าง

    หากเราไปลงลายมือชื่อหน้าเช็คฉบับใด ก็ถือว่าเราประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น แต่ถ้าเราไปลงชื่อด้านหลังโดยไม่เขียนว่าเป็นอาวัล เราก็ไม่ตกเป็นผู้รับอาวัลเช็คนั้นแต่อย่างใด แต่อาจต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลัง แล้วแต่กรณี การที่ผู้รับอาวัลต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามตั๋วเงินนั้น หากผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปแล้ว ผู้รับอาวัลก็จะมีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกเงินจำนวนที่ตนชำระไปจากบุคคลที่ตนประกันไว้ และใช้สิทธิของบุคคลที่ตนประกันไว้ไล่เบี้ยแก่คู่สัญญาอื่นๆที่ต้องรับผิดต่อบุคคลที่ตนประกันไว้อีกด้วย


    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)  

              การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

    1. เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    2. เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า  

               หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

              สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

              ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้อง ก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

    ขั้นตอนในการเปิด L/C

              เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

            หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

    การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)  

              เป็นวิธีการชำระเงิน ที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขาย ว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต

    หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ

              1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิต ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใด ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิต ที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธ ไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตาม ธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน หรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วน ตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต

              2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต

              3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธ ไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ

                 3.1 เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง

                 -  ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสาร ซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงิน ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต

                  -  ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้น กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต

                 3.2 เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป

                 3.3  เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคาร ผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคาร ผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้ โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว

                 3.4 เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ

     

    อาวัลตั๋วเงิน

    (Aval)

    ความหมายอย่างสั้น อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร

    ? การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

    ความสำคัญของเรื่อง  

    ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล ”  

    ความหมายอย่างละเอียด  

    การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล  

    ตัวอย่าง

    หากเราไปลงลายมือชื่อหน้าเช็คฉบับใด ก็ถือว่าเราประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น แต่ถ้าเราไปลงชื่อด้านหลังโดยไม่เขียนว่าเป็นอาวัล เราก็ไม่ตกเป็นผู้รับอาวัลเช็คนั้นแต่อย่างใด แต่อาจต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลัง แล้วแต่กรณี การที่ผู้รับอาวัลต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามตั๋วเงินนั้น หากผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปแล้ว ผู้รับอาวัลก็จะมีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกเงินจำนวนที่ตนชำระไปจากบุคคลที่ตนประกันไว้ และใช้สิทธิของบุคคลที่ตนประกันไว้ไล่เบี้ยแก่คู่สัญญาอื่นๆที่ต้องรับผิดต่อบุคคลที่ตนประกันไว้อีกด้วย

     

     

    T/R (Trust Receipt)

    เป็นสินเชื่อสำหรับสินค้านำเข้าที่ธนาคารให้แก่ลูกค้าที่เป็นผู้นำเข้า ซึ่งสั่งซื้อสินค้าโดยการเปิด L/C ผ่านธนาคาร เพื่อให้ผู้นำเข้ารับสินค้าไปก่อนการชำระเงิน สินเชื่อ
    T/R นี้เป็นสินเชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กล่าวคือเมื่อผู้ซื้อได้เปิด L/C สั่งซื้อสินค้าและสินค้าได้ถูกส่งมาถึงเมืองท่าปลายทางแล้ว โดยปกติสิทธิ์ของสินค้าจะตกอยู่กับ
    ธนาคาร (คำขอเปิด L/C ระบุชื่อ Consignee เป็นธนาคารผู้เปิด L/C) ธนาคารจะโอนสิทธิ์ของสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าให้แก่ทางธนาคาร ในกรณีที่ผู้ซื้อยังไม่ต้องการชำระค่าสินค้าและมีข้อตกลงหรือมีวงเงินสินเชื่อ T/R อยู่กับธนาคาร ผู้ซื้อสามารถขอรับของไปก่อนการชำระเงินค่าสินค้า โดยการยื่นเอกสารที่เรียกว่า T/R ต่อธนาคารซึ่งมีลักษณะดังนี้

  • T/R (Trust Receipt) คือตราสารหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้นำเข้า ทำไว้ต่อธนาคารผู้เปิด L/C ซึ่งตามปกติจะเป็นธนาคารที่ผู้ซื้อมีบัญชีอยู่ ในอันที่จะขอรับเอกสารทางการค้าที่ส่งมาจากธนาคารของผู้ขาย เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปรับของก่อนการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ซึ่งธนาคารจะโอนสิทธิ์การครอบครองสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารให้นำสินค้าไปครอบครองหรือเพื่อนำไปจำหน่ายหาผลประโยชน์ โดยที่ผู้ซื้อต้องให้คำรับรองว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้ายังคงเป็นของธนาคาร ซึ่งธนาคารจะเรียกสินค้ากลับคืนเมื่อไรก็ได้ ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควร
  • เมื่อผู้นำเข้าขายสินค้าได้แล้วหรือเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้วผู้นำเข้าเห็นว่าควรจะจ่ายค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ก็จะไปติดต่อขอชำระค่าสินค้านั้นต่อธนาคารพร้อมทั้งชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารด้วย
    โดยทั่วไปธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียม T/R เท่ากับ 1/8% ของมูลค่าสินค้า
    ธนาคารจะเรียกหลักประกันในรูปของหลักทรัพย์ เงินสด หรือบุคคลก็ได้ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควร
  •  

    Packing Credit

    ในยุคของการค้าเสรีดังเช่นปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าธุรกิจการค้าระหว่างประเทศทวีความสำคัญและมีบทบาทในการผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะภาคการส่งออกทั้งทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม ทั้งนี้การส่งออกไม่เพียงแต่จะนำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศเราแล้วยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าไทยในตลาดโลกทำให้นานาประเทศรู้จักสินค้าไทยมากยิ่งขึ้นและจะนำมาซึ่งประเทศคู่ค้าที่สำคัญสำหรับประเทศเรานอกจากนี้การส่งออกยังเป็นสิ่งที่ภาครัฐบาล สนับสนุนเพื่อหลีกเลี่ยงจากภาวะขาดดุลการค้าของประเทศอีกด้วย
    เราคงเห็นถึงความสำคัญของการส่งออกกันแล้วนะครับ แน่นอนว่าการส่งออกไม่เหมือนกับการค้าขายในประเทศ (ซึ่งไม่ยุ่งยากเท่าไรนัก) แต่การส่งออกนั้นไม่เพียงจะเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้าแล้ว ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในสมรภูมิการค้าโลกอีกด้วย อีกทั้งการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศด้วยเงินจำนวนมากนั้น ก็เป็นการเสี่ยงต่ออันตรายทางด้านการเงินสูง จากเหตุผลดังกล่าวนี้ ภาครัฐบาลจึงได้ออกมาตรการทางการเงินการธนาคารโดยเฉพาะทางด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Export Financing) เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ส่งออก ซึ่งปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าสินเชื่อเพื่อการส่งออกมีมากมายหลายประเภท แต่ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ เรียกว่า Packing Credit
    Packing Credit หมายถึง การให้บริการสินเชื่อระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการผลิต หรือ จัดเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการส่งออกสินค้า (Pre-shipment Financing) และ หลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ (Post-shipment Financing) ทั้งนี้ผู้ส่งออกสามารถขอกู้เงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาท และ สกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้ 3 สกุล คือ USD, Euro และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออกครับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้น จะคิดตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ (บวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี) และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน
    สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับทางธนาคารนั้น ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ ดังต่อไปนี้
    1. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือ ลูกค้าของธนาคาร โดยระบุ สถานที่ออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระเงิน และ ชื่อผู้รับเงิน
    2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออก หรือ สัญญารับชำระหนี้
    3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
    3.1 ใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเ้งิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง
    3.2 สัญญาซื้อขาย (Purchase Contract) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง
    3.3 Letter of Credit โดยระบุรายละเิอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการสั่งซื้อ และวิธีการชำระเงินค่าสินค้า
    3.4 ใบรับรองคลังสินค้า หรือ ใบประทวนสินค้า โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า และน้ำหนักของสินค้า
    3.5 ตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน
    นอกจากนี้ ผู้ส่งออกต้องขออนุมัติวงเงิน Packing Credit กับทางธนาคารให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะใช้บริการสินเชื่อ Packing Credit นั้น โดยปกติแล้วธนาคารจะพิจารณาอนุมัติวงเงินโดยใช้หลักการพิจารณาสินเชื่อเช่นเดียวกับสินเชื่อระยะสั้นประเภทอื่น ๆ นั่นเอง เพื่อให้เข้าใจ Packing Credit ได้มากขึ้น ลองมาดูตัวอย่างของการให้สินเชื่อ Packing Credit แต่ละประเภทดังต่อไปนี้
    กรณีการใช้บริการ Packing Credit ก่อนการส่งออกสินค้า แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
    - กรณีผู้ส่งออกได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศแล้ว แต่สินค้าที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และผู้ส่งออกมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอสำหรับการเตรียมสินค้าทั้งหมดส่งไปให้แก่ลูกค้า ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อสินค้าที่ขาดให้ครบได้ โดยจำนำสิทธิ์ของสินค้าที่มีอยู่ไว้กับทางธนาคาร และออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) ไว้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ซึ่งธนาคารจะดูแลสินค้าที่นำมาจำนำด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลที่สามดูแลแทนก็ได้ ทั้งนี้ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่นำมาจำนำ โดยธนาคารจะประเมิืนมูลค่าสินค้าตามราคาตลาด นอกจากนี้ผู้ส่งออกต้องทำประกันอัคคีภัยมอบสิทธิ์ให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์ภายในวงเงินไม่น้อยกว่าที่ธนาคารปล่อยกู้ เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบจำนำสินค้า (Packing Credit against Stock)
    - กรณีผู้ส่งออกได้รับใบสั่งซื้อสินค้า หรือ ทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับ L/C (Letter of Credit) สั่งซื้อจากลูกค้านั้น ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์ที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารได้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้เป็นหลักประกันการกู้เงินและนำใบสั่งซื้อสินค้า หรือ สัญญาซื้อขายมาประกอบการขอกู้ ทั้งนี้ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าสินค้าตามใบสั่งซื้อสินค้า หรือ สัญญาซื้อขายนั้น และจะระบุระยะเวลาครบกำหนดชำระคืนเงินภายในไม่เกิน 10 วันหลังจากวันส่งมอบสินค้า เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบที่มีสัญญาซื้อขายกำกับ (Packing Credit against Purchase Order / Contract)
    - กรณีผู้ส่งออกได้รับ L/C ประัเภทเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable) จากลูกค้าในต่างประเทศ แต่สินค้าที่มีอยู่อาจมีไม่เพียงพอ หรือ ไม่มีสินค้าเลย ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารได้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินและนำ L/C ต้นฉบับที่ได้รับมาจากลูกค้ามอบให้แก่ธนาคารเป็นหลักประกันการกู้เงินทั้งนี้ธนาคารจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าเงินตาม L/C ที่ได้รับนั้น เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit แบบที่มี L/C กำกับ (Packing Credit against Letter of Credit)
    กรณีการใช้บริการ Packing Credit หลังการส่งออกสินค้า เกิดขึ้นเมื่อผู้ส่งออกให้สินเชื่อแก่ลูกค้าในต่างประเทศโดยผู้ส่งออกจะได้รับชำระเงินก็ต่อเมื่อลูกค้าชำระเงินตามเทอมการชำระเงินที่ได้กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินแล้วเท่านั้น ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์ที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคารได้โดยนำตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปขายลดให้แก่ธนาคาร โดยธนาคารจะรับซื้อลดไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินตามตั๋วแลกเงิน ทั้งนี้ระยะเวลาการให้กู้ต้องไม่เกิน 10 วันหลังวันครบกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้น เราเรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า Packing Credit ประเภทให้กู้ตามตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน (Packing Credit Under Usance Bill)
    คงพอเห็นภาพภาพรวมของสินเชื่อประเภท Packing Credit กันแล้วนะครับ ประโยชน์ของ Packing Credit สำหรับผู้ส่งออกก็พอสรุปได้ดังนี้
    1. เป็นสินเชื่อระยะสั้น หรือ เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้ส่งออก ในการผลิตหรือจัดเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ
    2. เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น
    3. ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะรับชำระเงินค่าสินค้าก่อนครบกำหนด สามารถนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศไปขอกู้เงินจากธนาคารก่อนได้
    4. ผู้ส่งออกสามารถขอกู้เงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาท และสกุลเงินตราต่างประเทศ
    5. กระบวนการสินเชื่อที่รวดเร็ว ผู้ส่งออกสามารถรับการอนุมัติเงินกู้ภายใน 24 ชั่วโมง
    นี่คือกระบวนการสินเชื่อเพื่อการส่งออก Packing Credit ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ผู้ส่งออกไทยต้องรู้จักนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจการส่งออกของตน ถ้าท่านผู้อ่านต้องการรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Packing Credit สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารได้ครับ

     

     

    Letters of Guarantees (L/G) 

     หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
    หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
       เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     

    นางสาวจิตรยา กันยา 52127312064  เอกการเงินการธนาคาร 02

    นางสาวกาญจนา กิจสอาด

    ตราสารทางการเงินที่ใช้สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกสินค้าในการติดต่อกับคู่ค้าและธนาคาร

    Letter of Credit (L/C)

    การค้าระหว่างประเทศนั้น เกิดจาการตกลงทำธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้ซื้อหรือผู้นำเข้ากับผู้ขายหรือผู้ส่งออก ซึ่งอยู่คนละประเทศแต่ต้องการซื้อขายสิค้า เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าตามคำสั่งซื้อ และผู้ขายได้รับชำระเงินตามราคาสินค้า กระบวนการส่งออก เริ่มต้นขึ้นหลังจากกระบวนการผลิตโดยมีสิ่งที่พิจารณาตามขั้นตอนดังนี้ การคัดเลือกสินค้าที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งควรเป็นสินค้าที่ท่านมีความชำนาญในการผลิตหรือสามารถจัดหาได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานตามที่ผู้ซื้อต้องการ ทราบข้อมูลการตลาดและรายชื่อผู้นำเข้า จากสำนักงานพาณิชย์ประจำสถานทูตไทยที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ หรือที่รู้จักในนามสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ องค์กรทางการค้า ผู้แทนการค้าในท้องถิ่น สถานทูตของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยและกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น ติดต่อกับตัวแทน หรือบริษัทที่ต้องการซื้อสินค้า และที่สำคัญผู้ส่งออกจะต้องศึกษากฎระเบียบข้อจำกัดในการนำเข้าต่าง ๆ อย่างเช่น ภาษีนำเข้า ใบอนุญาตนำเข้า โควต้านำเข้าและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาถึงวิธีการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเป้าหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดและเหมาะสมกับตัวสินค้า โดยคำนึ่งถึงต้นทุนในการขนส่ง ความปลอดภัยของสินค้าและประสิทธิภาพในการขนส่ง ซึ่งมีช่องทางในการขนส่งหลายช่องทาง เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือ การขนส่งสินค้าทางอากาศ การขนส่งสินค้าทางบก ด้วยรถยนต์ รถไฟ และการขนส่งสินค้างทางพัสดุภัณฑ์และไปรษณีย์ การศึกษาและดำเนินการระเบียบพิธีการส่งออก เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ ได้แก่ การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นใบขนส่งสินค้าออก การตรวจสอบเอกสารและการประเมินอากร เป็นต้น และสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังก็คือการทำสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะเป็นหลักฐานร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อนำไปใช้ป้องกันการบิดพลิ้ว หรือเพื่อใช้ในการฟ้องร้องหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น และที่สำคัญยังใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อเพื่อการส่งออกได้ ซึ่งในสัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อที่ทำขึ้นนี้ ท่านจะต้องกำหนดรายละเอียดในเรื่องข้อตกลงทางด้านราคาและเงื่อนไขของราคาเช่น ราคาต่อหน่วย, ราคาเป็น F.O.B, C.I.F., C.F.R. หรืออื่น ๆ สกุลเงินที่ใช้ชำระ และระยะเวลาในการชำระ เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เลือกรูปแบบวิธีการซื้อขายร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการซื้อขายนี้ มีอยู่หลายประเภท ที่ผู้ขายสามารถเลือกใช้ตามความสะดวกและเหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ดังนี้ การขายด้วยการจ่ายเงินสดหรือจ่ายล่วงหน้า คือ การที่ผู้ซื้อโอนเงิน, Draft เช็คธนาคาร หรือการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตไปให้ผู้ขายพร้อมกับการสั่งซื้อสินค้า วิธีนี้ผู้ซื้อเป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากต้องจ่ายเงินก่อนที่จะเห็นสินค้า วิธีการขายแบบนี้ ส่วนใหญ่จะใช้กับการสั่งซื้อของที่มีราคาไม่สูงนัก เช่น หนังสือ เสือผ้า อุปกรณ์กีฬา หรือตัวอย่างสินค้า เป็นต้น
    การขายด้วยวิธีการเปิดบัญชี (Open Account) เป็นการขายสินค้าโดยผุ้ขายให้เครดิตแก่ผู้ซื้อ หรือการขายแบบเงินเชื่อนั่นเอง ส่วนใหญ่ผู้ซื้อมักผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นระยะตามที่ตกลงกัน อาจเป็น 30,60,90, วัน หรือมากกว่านั้น การขายด้วยวิธีนี้นิยมทำเฉพาะคู่ค้าที่เชื่อใจกันมาก หรือจะทำกับสาขาของบริษัทในเครือเท่านั้นเนื่องจากวิธีนี้ไม่มีหลักประกันใด ๆ ว่าผู้ขายจะได้รับเงินค่าสินค้า
    การขายแบบวิธีฝากขาย (Consignment) เป็นการฝากให้บุคคลที่รู้จักหรือตัวแทนทางธุรกิจไปขายสินค้าให้ในต่างประเทศ โดยผู้ขายจะได้รับเงินภายหลังจากที่ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าแล้วเท่านั้น ส่วนผลกำไรต้องแบ่งให้ตัวแทนตามแต่จะตกลงกันโดยผู้ขายต้องมั่นใจว่า ผู้รับสินค้าสามารถนำเอกสารไปออกสินค้าได้เร็วเพราะถ้านำสินค้าออกล่าช้าจะทำให้เสียค่าเก็บของในคลังสินค้าเพิ่มขึ้น หรือขายสินค้าไม่ได้ในช่วงที่ราคาดี
    การขายแบบวิธีการเรียกเก็บเงิน (B/C) หรือ Bill for Collection วิธีนี้เป็นวิธีการชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศที่นิยมกันอย่างแพร่หลายอีกวิธีหนึ่งโดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันว่าเมื่อผู้ขายจัดส่งสินค้าแล้วผู้ขายจะส่งเอกสารเรียกเก็บเงินผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารของผู้ซื้อ เพื่อส่งมอบเอกสารและเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อ วิธีการ คือ ภายหลังจากที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายสินค้ากันแล้ว ผู้ขายจะนำสินค้าพร้อมทั้งใบกำกับสินค้าไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง โดยบริษัทดังกล่าวจะออกใบตราส่งสินค้าซึ่ง แสดงว่าได้รับสินค้าไว้เพื่อจัดส่งแล้ว ให้แก่ผู้ขายเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการออกตั๋วแลกเงิน และเอกสารอื่นๆ ซึ่งรวมเรียกว่า “เอกสารการส่งออก” นำไปส่งให้ธนาคาร ผู้ส่งตั๋วไปเรียกเก็บเพื่อส่งเอกสารทั้งหมาดไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศ ผู้ซื้อเรียกว่าธนาคารผู้เรียกเก็บ ทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อและส่งมอบเอกสารการส่งออก เพื่อนำไปออกสินค้าต่อไป
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

    Trust Receipt :T/R (บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า)

    เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อ ขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิ์เพื่อออกสินค้าและจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ลักษณะบริการ
    • เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น
    • เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมาชำระเมื่อครบกำหนด
    • ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น
    1. T/R Sight แบ่งเป็น
    1.1 T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท
    1.2 T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตรา ต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันครบกำหนดหรือ ในวันที่ชำระเงิน
    2. T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน หนังสือค้ำประกัน

    (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)

    คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า เกิดขึ้นระหว่าง การซื้อขายสินค้ากัน โดยที่ผู้ขาย ยังไม่เชื่อถือในเครดิตของผู้ซื้อสินค้า ในการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะกำหนด เงื่อนไขในการจ่ายเงิน ให้มี L/G วางค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง เพราะถ้าถึงกำหนดเวลาการจ่ายเงิน ผู้ซื้อยังไม่ยอมจ่ายเงิน ก็สามารถไปเรียกเก็ยเงิน จากธนาคารผู้ออก L/G แทน ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond) - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee) - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)
    สรุป Letters of Guarantees / Bank Guarantee เป็นการขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการค้ำประกันในการทำสัญญาต่างๆ ระหว่างกัน โดยการทำ LG ต้องมีเงื่อนไขว่าจะให้ธนาคารค้ำประกันน่านเท่าไหร่ และวงเงินที่ค้ำประกันเท่าไหร่ โดยผู้ขอออก LG ต้องมีบัญชีฝากประจำตามจำนวนเงินที่ต้องการค้ำประกันและต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารด้วย

    การอาวัล / รับรองตั๋วเงิน (Aval / Acceptance)

     คือการบริการในการเข้าผูกพันตนเป็นเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้นเองโดยเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินหรือผู้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกค้า ตั๋วอาวัล เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย สินค้า ที่กำหนดการจ่ายเงินไว้ล่วงหน้า โดยผู้ขายไม่มั่นใจว่า เมื่อถึงเวลาที่ครบกำหนดการจ่าย ผู้ซื้อจะจ่ายเงินให้ได้หรือไม่ ผู้ขายเลยต้องให้ธนาคารทำการอาวัลหรือรับรองการจ่ายในตั๋วเงินนั้น ใครเป็นผู้รับอาวัลได้ ผู้รับอาวัลตั๋วอาจเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ 1 บุคคลภายนอก ผู้จ่ายเงินตามตั๋วยังเป็นบุคคลภายนอก จึงเป็นผู้รับอาวัลได้ 2 คู่สัญญาแห่งตั๋วแลกเงิน กรณีผู้รับอาวัลที่เป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วอยู่แล้ว จะไม่มีผลดีเท่ากับบุคคลภายนอกเข้ารับอาวัล ทั้งนี้เพราะความมุ่งหมายของการรับอาวัล ก็คือ การประกันความรับผิดชอบในการใช้เงินของลูกหนี้ตามตั๋ว หากเอาลูกหนี้ตามตั๋วมารับการอาวัลอีกจะทำให้มี 2 ฐานะ ความมั่นคงของตั๋วก็ไม่เพิ่มกว่าเดิมเท่าที่ควร ในทางปฏิบัตผู้รับอาวัลมักเป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น ผู้รับอาวัลอาจมีบุคคลเดียว หรือมีหลายบุคคลก็ได้ และลูกหนี้ตามตั๋วคนเดียวอาจมีผู้รับอาวัลหลายคนก็ได้ วิธีการรับอาวัล เขียนถ้อยคำว่า " ใช้ได้เป็นอาวัล " หรือ ใช้ภาษาอังกฤษ " Good as Aval " หรือ ข้าพเจ้ายอมรับประกัน " Good for the sum of ....... " " For Guarantee " ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล ผลของการเข้ารับอาวัล การเข้ารับอาวัลมีผล 2 ประการคือ ก) ผู้รับอาวัลเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินอีกคนหนึ่ง ถ้าหากผู้รับอาวัลเป็นลูกหนี้ตามตั๋ว ลูกหนี้ตามตั๋วคนนั้นก็จะมีความรับผิดอีกฐานะหนึ่ง ข) ผู้รับอาวัลมีความรับผิดร่วมกันกับบุคคลที่ตนประกัน

    สินเชื่อแพคกิ้งเครดิต (Packing Credit, P/C)

    คือสินเชื่อระยะสั้นเพื่อการส่งออกไม่เกิน 180 วัน โดยธนาคารสนับสนุนวงเงิน P/C แก่ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตเพื่อส่งออก เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการจัดหาวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการจัดเตรียมสินค้าก่อนการส่งออก โดยธนาคารจะพิจารณาจำนวนเงินที่จะอนุมัติ


    นางสาวกาญจนา  กิจสอาด
    การเงินการธนาคาร  02
    52127312055

    Aval การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

    ความสำคัญของเรื่อง  

    ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล ”

    Letters of Guarantees (L/G) หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
            Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     

    LETTER OF CREDIT ( L/C) การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า


    บทบาทหน้าที่ของ L/C
    L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย

     

    Trust Receipt (T/R) เป็นสินเชื่อสินค้าเข้าที่ธนาคารเสนอให้ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย Letter of Credit, Bill for Collection, Outward Remittance ท่านสามารถจะขอทำ T/R และรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าได้

     ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

     ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

    1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

    2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

     

    Packing Credit (P/C) สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

    1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

    1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

    2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย 

    Packing Credit (P/C) สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

    1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

    1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

    2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

    นส. สาวิตรี จินดารัตน์

    การเงินการธนาคาร 52127312034

    นางสาวกรวิภา มีละกูล

    ตราสารทางการเงินที่ใช้สำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก

    1.Letter of Credit (L/C

     

           การค้าระหว่างประเทศนั้น เกิดจาการตกลงทำธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้ซื้อหรือผู้นำเข้ากับผู้ขายหรือผู้ส่งออก ซึ่งอยู่คนละประเทศแต่ต้องการซื้อขายสิค้า เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าตามคำสั่งซื้อ และผู้ขายได้รับชำระเงินตามราคาสินค้า กระบวนการส่งออก เริ่มต้นขึ้นหลังจากกระบวนการผลิตโดยมีสิ่งที่พิจารณาตามขั้นตอนดังนี้ การคัดเลือกสินค้าที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งควรเป็นสินค้าที่ท่านมีความชำนาญในการผลิตหรือสามารถจัดหาได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานตามที่ผู้ซื้อต้องการ ทราบข้อมูลการตลาดและรายชื่อผู้นำเข้า จากสำนักงานพาณิชย์ประจำสถานทูตไทยที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ หรือที่รู้จักในนามสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ องค์กรทางการค้า ผู้แทนการค้าในท้องถิ่น สถานทูตของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทยและกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น ติดต่อกับตัวแทน หรือบริษัทที่ต้องการซื้อสินค้า และที่สำคัญผู้ส่งออกจะต้องศึกษากฎระเบียบข้อจำกัดในการนำเข้าต่าง ๆ อย่างเช่น ภาษีนำเข้า ใบอนุญาตนำเข้า โควต้านำเข้าและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งศึกษาถึงวิธีการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเป้าหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดและเหมาะสมกับตัวสินค้า โดยคำนึ่งถึงต้นทุนในการขนส่ง ความปลอดภัยของสินค้าและประสิทธิภาพในการขนส่ง ซึ่งมีช่องทางในการขนส่งหลายช่องทาง เช่น การขนส่งสินค้าทางเรือ การขนส่งสินค้าทางอากาศ การขนส่งสินค้าทางบก ด้วยรถยนต์ รถไฟ และการขนส่งสินค้างทางพัสดุภัณฑ์และไปรษณีย์ การศึกษาและดำเนินการระเบียบพิธีการส่งออก เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ ได้แก่ การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นใบขนส่งสินค้าออก การตรวจสอบเอกสารและการประเมินอากร เป็นต้น และสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังก็คือการทำสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะเป็นหลักฐานร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อนำไปใช้ป้องกันการบิดพลิ้ว หรือเพื่อใช้ในการฟ้องร้องหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น และที่สำคัญยังใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอสินเชื่อเพื่อการส่งออกได้ ซึ่งในสัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อที่ทำขึ้นนี้ ท่านจะต้องกำหนดรายละเอียดในเรื่องข้อตกลงทางด้านราคาและเงื่อนไขของราคาเช่น ราคาต่อหน่วย, ราคาเป็น F.O.B, C.I.F., C.F.R. หรืออื่น ๆ สกุลเงินที่ใช้ชำระ และระยะเวลาในการชำระ เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เลือกรูปแบบวิธีการซื้อขายร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการซื้อขายนี้ มีอยู่หลายประเภท ที่ผู้ขายสามารถเลือกใช้ตามความสะดวกและเหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ดังนี้ การขายด้วยการจ่ายเงินสดหรือจ่ายล่วงหน้า คือ การที่ผู้ซื้อโอนเงิน, Draft เช็คธนาคาร หรือการจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตไปให้ผู้ขายพร้อมกับการสั่งซื้อสินค้า วิธีนี้ผู้ซื้อเป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากต้องจ่ายเงินก่อนที่จะเห็นสินค้า วิธีการขายแบบนี้ ส่วนใหญ่จะใช้กับการสั่งซื้อของที่มีราคาไม่สูงนัก เช่น หนังสือ เสือผ้า อุปกรณ์กีฬา หรือตัวอย่างสินค้า เป็นต้น

    การขายด้วยวิธีการเปิดบัญชี (Open Account) เป็นการขายสินค้าโดยผุ้ขายให้เครดิตแก่ผู้ซื้อ หรือการขายแบบเงินเชื่อนั่นเอง ส่วนใหญ่ผู้ซื้อมักผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นระยะตามที่ตกลงกัน อาจเป็น 30,60,90, วัน หรือมากกว่านั้น การขายด้วยวิธีนี้นิยมทำเฉพาะคู่ค้าที่เชื่อใจกันมาก หรือจะทำกับสาขาของบริษัทในเครือเท่านั้นเนื่องจากวิธีนี้ไม่มีหลักประกันใด ๆ ว่าผู้ขายจะได้รับเงินค่าสินค้า
    การขายแบบวิธีฝากขาย (Consignment) เป็นการฝากให้บุคคลที่รู้จักหรือตัวแทนทางธุรกิจไปขายสินค้าให้ในต่างประเทศ โดยผู้ขายจะได้รับเงินภายหลังจากที่ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าแล้วเท่านั้น ส่วนผลกำไรต้องแบ่งให้ตัวแทนตามแต่จะตกลงกันโดยผู้ขายต้องมั่นใจว่า ผู้รับสินค้าสามารถนำเอกสารไปออกสินค้าได้เร็วเพราะถ้านำสินค้าออกล่าช้าจะทำให้เสียค่าเก็บของในคลังสินค้าเพิ่มขึ้น หรือขายสินค้าไม่ได้ในช่วงที่ราคาดี

    การขายแบบวิธีการเรียกเก็บเงิน (B/C) หรือ Bill for Collection วิธีนี้เป็นวิธีการชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศที่นิยมกันอย่างแพร่หลายอีกวิธีหนึ่งโดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันว่าเมื่อผู้ขายจัดส่งสินค้าแล้วผู้ขายจะส่งเอกสารเรียกเก็บเงินผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารของผู้ซื้อ เพื่อส่งมอบเอกสารและเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อ วิธีการ คือ ภายหลังจากที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายสินค้ากันแล้ว ผู้ขายจะนำสินค้าพร้อมทั้งใบกำกับสินค้าไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง โดยบริษัทดังกล่าวจะออกใบตราส่งสินค้าซึ่ง แสดงว่าได้รับสินค้าไว้เพื่อจัดส่งแล้ว ให้แก่ผู้ขายเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการออกตั๋วแลกเงิน และเอกสารอื่นๆ ซึ่งรวมเรียกว่า “เอกสารการส่งออก” นำไปส่งให้ธนาคาร ผู้ส่งตั๋วไปเรียกเก็บเพื่อส่งเอกสารทั้งหมาดไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศ ผู้ซื้อเรียกว่าธนาคารผู้เรียกเก็บ ทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อและส่งมอบเอกสารการส่งออก เพื่อนำไปออกสินค้าต่อไป

    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

     

    2.Packing Credit (P/C)

      

     

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท                                                              

    1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

    1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่

    สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับทางธนาคารนั้น ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ ดังต่อไปนี้
    1. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือ ลูกค้าของธนาคาร โดยระบุ สถานที่ออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระเงิน และ ชื่อผู้รับเงิน
    2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออก หรือ สัญญารับชำระหนี้
    3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
    3.1 ใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเ้งิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง
    3.2 สัญญาซื้อขาย (Purchase Contract) ที่ออกโดยลูกค้าในต่างประเทศ โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า ราคาต่อหน่วย สกุลเงิน จำนวนเงินตามมูลค่าสินค้า วันส่งมอบ เงื่อนไขการชำระเงิน เมืองต้นทาง และเมืองปลายทาง
    3.3 Letter of Credit โดยระบุรายละเิอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ในการสั่งซื้อ และวิธีการชำระเงินค่าสินค้า
    3.4 ใบรับรองคลังสินค้า หรือ ใบประทวนสินค้า โดยระบุชนิดสินค้า จำนวนสินค้า และน้ำหนักของสินค้า
    3.5 ตั๋วแลกเงินที่กำหนดระยะเวลาชำระเงิน

    สรุปสินเชื่อประเภท Packing

    1. เป็นสินเชื่อระยะสั้น หรือ เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้ส่งออก ในการผลิตหรือจัดเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ
    2. เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่น
    3. ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะรับชำระเงินค่าสินค้าก่อนครบกำหนด สามารถนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศไปขอกู้เงินจากธนาคารก่อนได้
    4. ผู้ส่งออกสามารถขอกู้เงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาท และสกุลเงินตราต่างประเทศ
    5. กระบวนการสินเชื่อที่รวดเร็ว ผู้ส่งออกสามารถรับการอนุมัติเงินกู้ภายใน 24 ชั่วโมง
    นี่คือกระบวนการสินเชื่อเพื่อการส่งออก Packing Credit ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ผู้ส่งออกไทยต้องรู้จักนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจการส่งออกของ

    3. T/R (Trust Receipt)ล

     

     สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

    เป็นสินเชื่อสำหรับสินค้านำเข้าที่ธนาคารให้แก่ลูกค้าที่เป็นผู้นำเข้า ซึ่งสั่งซื้อสินค้าโดยการเปิด L/C ผ่านธนาคาร เพื่อให้ผู้นำเข้ารับสินค้าไปก่อนการชำระเงิน สินเชื่อ
    T/R นี้เป็นสินเชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กล่าวคือเมื่อผู้ซื้อได้เปิด L/C สั่งซื้อสินค้าและสินค้าได้ถูกส่งมาถึงเมืองท่าปลายทางแล้ว โดยปกติสิทธิ์ของสินค้าจะตกอยู่กับ
    ธนาคาร (คำขอเปิด L/C ระบุชื่อ Consignee เป็นธนาคารผู้เปิด L/C) ธนาคารจะโอนสิทธิ์ของสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าให้แก่ทางธนาคาร ในกรณีที่ผู้ซื้อยังไม่ต้องการชำระค่าสินค้าและมีข้อตกลงหรือมีวงเงินสินเชื่อ T/R อยู่กับธนาคาร ผู้ซื้อสามารถขอรับของไปก่อนการชำระเงินค่าสินค้า โดยการยื่นเอกสารที่เรียกว่า T/R ต่อธนาคารซึ่งมีลักษณะดังนี้

    T/R (Trust Receipt) คือตราสารหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้นำเข้า ทำไว้ต่อธนาคารผู้เปิด L/C ซึ่งตามปกติจะเป็นธนาคารที่ผู้ซื้อมีบัญชีอยู่ ในอันที่จะขอรับเอกสารทางการค้าที่ส่งมาจากธนาคารของผู้ขาย เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปรับของก่อนการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ซึ่งธนาคารจะโอนสิทธิ์การครอบครองสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารให้นำสินค้าไปครอบครองหรือเพื่อนำไปจำหน่ายหาผลประโยชน์ โดยที่ผู้ซื้อต้องให้คำรับรองว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้ายังคงเป็นของธนาคาร ซึ่งธนาคารจะเรียกสินค้ากลับคืนเมื่อไรก็ได้ ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควร

  • เมื่อผู้นำเข้าขายสินค้าได้แล้วหรือเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแล้วผู้นำเข้าเห็นว่าควรจะจ่ายค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ก็จะไปติดต่อขอชำระค่าสินค้านั้นต่อธนาคารพร้อมทั้งชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารด้วย
    โดยทั่วไปธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียม T/R เท่ากับ 1/8% ของมูลค่าสินค้า
    ธนาคารจะเรียกหลักประกันในรูปของหลักทรัพย์ เงินสด หรือบุคคลก็ได้ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควร
  • 4..L/G  Letters of Guarantees / Bank

    คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า เกิดขึ้นระหว่าง การซื้อขายสินค้ากัน โดยที่ผู้ขาย ยังไม่เชื่อถือในเครดิตของผู้ซื้อสินค้า ในการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะกำหนด เงื่อนไขในการจ่ายเงิน ให้มี L/G วางค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง เพราะถ้าถึงกำหนดเวลาการจ่ายเงิน ผู้ซื้อยังไม่ยอมจ่ายเงิน ก็สามารถไปเรียกเก็ยเงิน จากธนาคารผู้ออก L/G แทน ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond) - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee) - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)
    สรุป Letters of Guarantees / Bank Guarantee

                 เป็นการขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการค้ำประกันในการทำสัญญาต่างๆ ระหว่างกันครับ โดยการทำ LG ต้องมีเงื่อนไขว่าจะให้ธนาคารค้ำประกันน่านเท่าไหร่ และวงเงินที่ค้ำประกันเท่าไหร่ โดยผู้ขอออก LG ต้องมีบัญชีฝากประจำตามจำนวนเงินที่ต้องการค้ำประกันครับ และต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารด้วย (การขอทำLG เหมือนการขอสินเชื่อครับ ค่าใช้จ่ายในแต่ละธนาคารไม่เหมือนกันครับลองคุยกับธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่จะง่ายกว่าครับ)
    หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
    สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
    หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
       เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
         - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
            Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    5. (Aval / Acceptance)การอาวัล / รับรองตั๋วเงิน

            

                                  คือการบริการในการเข้าผูกพันตนเป็นเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้นเองโดยเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินหรือผู้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกค้า ตั๋วอาวัล เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย สินค้า ที่กำหนดการจ่ายเงินไว้ล่วงหน้า โดยผู้ขายไม่มั่นใจว่า เมื่อถึงเวลาที่ครบกำหนดการจ่าย ผู้ซื้อจะจ่ายเงินให้ได้หรือไม่ ผู้ขายเลยต้องให้ธนาคารทำการอาวัลหรือรับรองการจ่ายในตั๋วเงินนั้น ใครเป็นผู้รับอาวัลได้ ผู้รับอาวัลตั๋วอาจเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ 1 บุคคลภายนอก ผู้จ่ายเงินตามตั๋วยังเป็นบุคคลภายนอก จึงเป็นผู้รับอาวัลได้ 2 คู่สัญญาแห่งตั๋วแลกเงิน กรณีผู้รับอาวัลที่เป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วอยู่แล้ว จะไม่มีผลดีเท่ากับบุคคลภายนอกเข้ารับอาวัล ทั้งนี้เพราะความมุ่งหมายของการรับอาวัล ก็คือ การประกันความรับผิดชอบในการใช้เงินของลูกหนี้ตามตั๋ว หากเอาลูกหนี้ตามตั๋วมารับการอาวัลอีกจะทำให้มี 2 ฐานะ ความมั่นคงของตั๋วก็ไม่เพิ่มกว่าเดิมเท่าที่ควร ในทางปฏิบัตผู้รับอาวัลมักเป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น ผู้รับอาวัลอาจมีบุคคลเดียว หรือมีหลายบุคคลก็ได้ และลูกหนี้ตามตั๋วคนเดียวอาจมีผู้รับอาวัลหลายคนก็ได้ วิธีการรับอาวัล เขียนถ้อยคำว่า " ใช้ได้เป็นอาวัล " หรือ ใช้ภาษาอังกฤษ " Good as Aval " หรือ ข้าพเจ้ายอมรับประกัน " Good for the sum of ....... " " For Guarantee " ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล ผลของการเข้ารับอาวัล การเข้ารับอาวัลมีผล 2 ประการคือ ก) ผู้รับอาวัลเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินอีกคนหนึ่ง ถ้าหากผู้รับอาวัลเป็นลูกหนี้ตามตั๋ว ลูกหนี้ตามตั๋วคนนั้นก็จะมีความรับผิดอีกฐานะหนึ่ง ข) ผู้รับอาวัลมีความรับผิดร่วมกันกับบุคคลที่ตนประกัน

    การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

    ความสำคัญ      ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล ”  

    ความหมาย

    การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล  

     

     นางสาวกรวิภา  มีละกูล บริหารธุรกิจ( การเงินการธนาคาร 02 )

    รหัส 52127312044


     

    1. AVAL

    ความหมาย อาวัล 

    การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

     

     

    ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ผู้รับอาวัล” 

    ความหมายอย่างละเอียด  

    การอาวัล มีความหมายเทียบได้กับการค้ำประกันแต่มีความแน่นอนกว่าผู้ค้ำประกันตามปกติ ผู้คาประกันโดยทั่วไปสามารถขอให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้นั้นจากลูกหนี้ หรือบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ แต่หากเป็นผู้รับอาวัลแล้วจะต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน เนื่องจากสัญญาตั๋วเงินนั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่ายด้วยกันการอาวัลจึงต้องระบุว่า อาวัลคู่สัญญาใดในตั๋วเงินนั้น และต้องผูกพันรับผิดอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนอาวัล แต่ถ้าผู้รับ อาวัลไม่ได้ระบุว่าประกันผู้ใดก็ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย การอาวัลตั๋วเงินนั้น ทำได้ง่ายกว่าการทำสัญญาค้ำประกันเพราะการรับประกันแบบอาวัลนี้สามารถเขียนอาวัลในตั๋วเงินนั้นได้เลย เพียงแต่ผู้ที่มิใช่ผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่ายลงลายมือชื่อใน ด้านหน้าของตั๋วเงินก็เป็นการอาวัลแล้ว แต่ถ้าลงชื่อด้านหลังตั๋วเงินโดยไม่มีคำว่า “ใช้ได้เป็น อาวัล” หรือสำนวนอื่นทำนองเดียวกัน จะไม่ถือว่าเป็นผู้รับอาวัล

       ตัวอย่าง

     หากเราไปลงลายมือชื่อหน้าเช็คฉบับใด ก็ถือว่าเราประกันหรืออาวัลผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น แต่ถ้าเราไปลงชื่อด้านหลังโดยไม่เขียนว่าเป็นอาวัล เราก็ไม่ตกเป็นผู้รับอาวัลเช็คนั้นแต่อย่างใด แต่อาจต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลัง แล้วแต่กรณี การที่ผู้รับอาวัลต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามตั๋วเงินนั้น หากผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปแล้ว ผู้รับอาวัลก็จะมีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกเงินจำนวนที่ตนชำระไปจากบุคคลที่ตนประกันไว้ และใช้สิทธิของบุคคลที่ตนประกันไว้ไล่เบี้ยแก่คู่สัญญาอื่นๆที่ต้องรับผิดต่อบุคคลที่ตนประกันไว้อีกด้วย

    2. Letters of Guarantees / Bank Guarantee (L/G)

    หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
    สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
    หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
       เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
            Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)
       • Stand-by Letter of Credit
          คือการบริการของธนาคารในการออกหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกค้า
    ไปยังผู้รับประโยชน์โดยผ่าน สถาบันการเงินที่เป็นตัวแทนของผู้รับประโยชน์ทั้ง ในประเทศ
    หรือต่างประเทศ
       • Counter Guarantee คือ สัญญาค้ำประกัน หรือคำรับรองที่ออกโดยธนาคารเพื่อเป็นหลักประกันทางสินเชื่อต่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินด้วยกัน

    3. Trust Receipt (T/R)

     

    Trust Receipt :T/R (บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า)

    เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อ
    ขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิ์เพื่อออกสินค้าและจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้
    ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร

     

    ลักษณะบริการ

    เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น

    เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า
    ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมาชำระเมื่อครบกำหนด

    ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

     

    1.

    T/R Sight แบ่งเป็น

     

    1.1

    T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ
    วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

    1.2

    T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตรา
    ต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันครบกำหนดหรือ
    ในวันที่ชำระเงิน

    2.

    T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C)
    โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

    4. Letter of Credit (L/C)

    Letter of Credit หรือ L/C

    การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
    หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
    ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
    จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

    5. PACKING CREDIT (P/C)

     

    PACKING CREDIT

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงินโดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM BANK
    PACKING CREDIT เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออก เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้าหรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ PACKING CREDIT แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

    A. การให้สินเชื่อก่อนการส่งออก (PRE-SHIPMENT FINANCING) แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ

    1.        . สินเชื่อจำนำสินค้า (PACKING CREDIT AGAINST STOCK)
    คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าอยู่จำนวนหนึ่งหรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ไว้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดในขณะนั้น

    2.        สินเชื่อที่มีสัญญาการค้ากำกับ (PACKING CREDIT AGAINST CONTRACT OR PURCHASE ORDER)
    คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้ แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการนำสัญญาซื้อขายหรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    3.        สินเชื่อที่มีเลตเตอร์ออฟเครดิตกำกับ (PACKING CREDIT AGAINST LETTER OF CREDIT)
    คือการที่ผู้ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์จะขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

    B. การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (POST - SHIPMENT FINANCING)
    คือการให้กู้ตามตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน (USANCE BILL) ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ (SUPPLIER CREDIT) เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงินเป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนครบกำหนด ก็สามารถนำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ซึ่งธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าในตั๋วแลกเงินนั้น

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL FACTORING)

    คือการที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วย L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่นที่มีเครดิตเทอม เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงินเนื่องจากยังไม่ครบกำหนดชำระแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่งที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้
    ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศจึงเป็นการช่วยให้ผู้ขายสินค้าสามารถส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ โดยสามารถลดความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าด้วยการไปขอรับการค้ำประกันจากบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันทีหลังจากการส่งสินค้าออกไปแล้ว

    • ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ
      มีผู้เกี่ยวข้อง 4 ฝ่ายด้วยกันคือ
      • ผู้ส่งออก ( Exporter )
      • บริษัทแฟคตอริ่งส่งออก ( Export Factor )
      • ผู้นำเข้า ( Importer )
      • บริษัทแฟคตอริ่งนำเข้า ( Import Factor )
    • ขั้นตอนการทำแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ  
      • การขอรับค้ำประกันการชำระหนี้ของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ
      • ผู้ส่งออกติดต่อบริษัทแฟคตอริ่ง เพื่อขอรับการค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้นำเข้า
      • บริษัทแฟคตอริ่งรับประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้นำเข้าโดยกำหนดเป็นวงเงิน
      • เมื่อผู้ส่งออกได้ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศแล้ว ต้องนำเอกสารส่งออกทั้งหมดส่งมอบให้แก่บริษัทแฟคตอริ่งเพื่อดำเนินการรับการค้ำประกันตามรายการสินค้า และให้บริษัทแฟคตอริ่งดำเนินการเรียกเก็บเงินภายใต้การค้ำประกันให้
    • การขอใช้เงินล่วงหน้าระหว่างรอรับการชำระเงินจากผู้ซื้อในต่างประเทศ
      ผู้ส่งออกติดต่อบริษัทแฟคตอริ่งผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้นำเข้า ให้รับซื้อหนี้การค้าที่รอรับการ ชำระเงินจากต่างประเทศของตน
      บริษัทแฟคตอริ่งรับซื้อหนี้การค้าที่ให้การค้ำประกัน และจ่ายเงินสดให้ล่วงหน้า เมื่อเรียกเก็บเงินจากผู้นำเข้าได้แล้วก็จะตัดชำระหนี้กับผู้ส่งออก
      • ประโยชน์ของการทำแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ
        ตัดปัญหาเรียกเก็บเงินไม่ได้ เพราะธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้บริการ Factoring จะเป็นผู้รับความเสี่ยงแทน
    • ช่วยทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนได้เร็วขึ้น และมีธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้บริการ Factoring เป็นผู้ช่วยวิเคราะห์สถานะทางการเงินของผู้ซื้อสินค้าที่อยู่ในต่างประเทศให้ด้วย ทำให้มีโอกาสขยายการค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อสินค้าโดยไม่ต้องเปิด L/C ได้มากขึ้น

    Forfeiting

    Forfeiting คือการจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออก หรือการรับซื้อหนี้การค้าหรือสิทธิ์การเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากผู้ส่งออก โดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้การค้าดังกล่าวข้างต้น จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุน เช่น เครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น Deferred Payment Letter of Credit หรือชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) หรือตั๋วแลกเงิน (B/E) ซึ่งค้ำประกันหรืออาวัล (Aval) โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้า P/N หรือ B/E จะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของหนี้ ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินตาม Deferred L/C, P/N หรือ B/E จะตกแก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิ์ในการไล่เบี้ย (Without Recourse)

     

     

    นางสาวภมรรัตน์  จันทร์ประดิษฐ์

    เอกการเงินการธนาคาร 01

    รหัส52127312008

     

    1.Trust Receipt (T/R)

    เป็นสินเชื่อสินค้าเข้าที่ธนาคารเสนอให้ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าหรือวัตถุ ดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย Letter of Credit, Bill for Collection, Outward Remittance ท่านสามารถจะขอทำ T/R และรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าได้

    ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

    ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

    1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

    2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

    2.Letter of Credit (L/C

    ทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย

    สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้

    ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที

    ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

    หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

    ในปัจจุบันการค้าต่างประเทศนิยมใช้การขายโดยมีเอกสารประกอบ 2 วิธีดังกล่าว คือ การส่งตั๋วเรียกเก็บเงิน (Bill for Collection) และการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Commercial Letter of Credit) เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวิธีคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศในบางประเทศอาจบังคับให้ต้องใช้วิธีการชำระเงินด้วยการเปิด L/C เพียงอย่างเดียว ส่วนการซื้อสินค้าด้วยวิธีการจ่ายเงินสดหรือจ่ายเงินล่วงหน้านั้นมักใช้กับการสั่งซื้อสินค้าจำนวนเล็กน้อยเพื่อให้เองไม่ใช่เป็นการสั่งซื้อเพื่อการค้า

    การส่งสินค้าออกโดยผู้ซื้อเปิด L/C เพื่อการสั่งสินค้านั้นธนาคารพาณิชย์จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการชำระเงินแก่ผู้ขาย หากไม่เปิด L/C ธนาคารทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการติดต่อประสานงานและเรียกเก็บเงินเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกันไว้เท่านั้น เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าและผู้ขายได้รับเงินนั้นแล้วก็หมดหน้าที่ของธนาคาร

    จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

    5.Packing Credit (P/C)

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท                                                              

    1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

    1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    3. AVAL

    ความหมาย อาวัล 

    การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

     

     

    ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ผู้รับอาวัล” 

    4.Letters of Guarantees (L/G) 

     หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
    หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
       เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    นางสาวสุพัตรา  อินนัดดา 52127312007

    การเงินการธนาคาร 01

    Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit) เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต

     

    ตั๋วอาวัล เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน  ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย สินค้า ที่กำหนดการจ่ายเงินไว้ล่วงหน้า  โดยผู้ขายไม่มั่นใจว่า เมื่อถึงเวลาที่ครบกำหนดการจ่าย ผู้ซื้อจะจ่ายเงินให้ได้หรือไม่   ผู้ขายเลยต้องให้ธนาคารทำการอาวัลหรือรับรองการจ่ายในตั๋วเงินนั้น

    แบงค์การันตี หรือ เลตเตอร์ ออฟ การันตี หรือหนังสือค้ำประกันธนาคาร เรียกสั้นๆ ว่า  L/G   เกิดขึ้นระหว่าง การซื้อขายสินค้ากัน  โดยที่ผู้ขาย ยังไม่เชื่อถือในเครดิตของผู้ซื้อสินค้า  ในการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะกำหนด เงื่อนไขในการจ่ายเงิน ให้มี L/G  วางค้ำประกันอีกชั้นหนึ่ง เพราะถ้าถึงกำหนดเวลาการจ่ายเงิน  ผู้ซื้อยังไม่ยอมจ่ายเงิน  ก็สามารถไปเรียกเก็ยเงิน จากธนาคารผู้ออก L/G  แทน
    แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นผู้ขายสินค้า รับเป็นตั๋วอาวัลจะดีที่สุด  เพราะถึงเวลา สามารถส่งเรียกเก็บเงินได้ทันที  แต่ถ้าเป็น L/G ยังต้องพิสูจน์กันอีกว่า  ผิดสัญญาซื้อขายที่ทำกันไว้อีกหรือปล่า

     

    สินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิต เป็นสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบการ โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จะให้กู้แก่ธนาคารพาณิชย์เป็นเงินบาทในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อรวมกับเงินของธนาคารพาณิชย์อีกส่วนหนึ่ง และให้กู้ต่อแก่ผู้ส่งออก ในอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

     

    ทรัสต์รีซีท (Trust Receipts) การที่ลูกค้าจะต้องชำระเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่ธนาคารก่อนที่ธนาคาร จะปล่อยเอกสารให้ลูกค้าไปออกสินค้านั้นบางครั้งลูกค้ามีความขัดข้องทางการเงินไม่สามารถชำระเงินให้ได้แต่มีความจำเป็นที่จะต้องเอาเอกสารไปออกสินค้าเพื่อไม่ไห้สินค้าตกค้างอยู่ที่ท่าเรือนานเกินไป และเพื่อเนินค้าไปขายนำเงินมาชำระหนี้ต่อธนาคาร ลูกค้าอาจขอทำทรัสต์รีซีทเมื่อธนาคารพิจารณาเห็นสมควรก็จะจัดทำให้

               ทรัสต์รีซีท คือตราสารที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยอาศัยความเชื่อถือที่ธนาคารมีต่อลูกค้า และลูกค้าให้การรับรองว่าธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น และมีอำนาจที่จะเรียกกลับคืนมาหรือทำการจำหน่ายแทนได้ทุกโอกาสและในการจำหน่ายสินค้านั้น ลูกค้าจะกระทำไปเพื่อประโยชน์ของธนาคารและจะนำเงินที่ขายสินค้านั้นมาชำระแก่ธนาคาร

              นอกจากนี้ ทรัสต์รีซีท ยังหมายความถึง เอกสารที่ผู้นำเข้าได้ลงนามรับรองว่าได้รับสินค้า (goods)เอกสารแสดงกรรมสิทธิ (documents of title) หรือหลักทรัพย์ (Securities) ซึ่งแสดงว่าผู้ลงนาม (ผู้นำเข้า) ได้ครอบครองสินค้า ,เอกสารหรือ หลักทรัพย์นั้นไว้เพื่อธนาคาร (in trust for the bank)ผู้นำเข้าจึงมีลักษณะเป็น Trusteeและธนาคารจึงมีลักษณะ เป็น Entruster ในทางปฏิบัติผู้ขายสินค้ามักประสงค์จะให้ผู้ซื้อเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตสั่งสินค้าเข้าเสมอทั้งนี้ เพราะจะได้เป็นหลักประกันได้ว่าเมื่อผู้ขายได้สั่งสินค้าแล้วก็จะสามารถนำเอกสารมาขายให้แก่ธนาคารในประเทศของผู้ขายได้นอกจากเพื่อเป็นหลักประกันดังกล่าวแล้วผู้ขายก็ยังได้รับการชำระเงินหลังจากได้ส่งสินค้าออกไปแล้วภายในเวลาเกือบจะทันที ทางด้านผู้นำเข้าก็ยังไม่ต้องชำระเงินในทันที และจะรอได้จนกว่าจะได้รับเอกสารต่างๆแล้วจึงจะชำระเงินให้แก่ธนาคารผู้เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิตก็จะคิดดอกเบี้ยเอาจากผู้นำเข้านับจากจากวันที่ธนาคารผู้จ่ายเงินซื้อตั๋วได้จ่ายเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายไปจนถึงวันที่ผู้นำเข้าชำระเงินให้

     

    นางสาวชนิกานต์  บำรุงราษฎร์

    รหัส 52127312066

    การเงินการธนาคาร 02

    นางสาวหัทยา กัววงศ์

    สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt)

              “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่ง กรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดัง สินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลง ลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็ เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

     

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

         เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

    • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น

    • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

     

     Packing Credit (P/C)

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหา สินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

    1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่ง ออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาด ขณะนั้น

    1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้ เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบใน การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

    2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

     

    หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee : L/G)

          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน

    เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

    - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     

     

    Aval การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋ว เงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

    ตราสารเครดิต (อังกฤษ: letter of credit) คือ ตราสารประเภทหนึ่งที่มีขึ้นเพื่อยืนยันการชำระเงินในการซื้อขายที่ผู้ซื้อขอให้ธนาคารเป็นผู้ชำระให้แทน ทำให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าแน่นอน แอล/ซี เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นตราสารทางการค้าที่ออกให้โดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแสดงเป็นหลักประกันการชำระเงิน ผู้ขายสินค้าได้รับเงินเมื่อส่งมอบสินค้าลงเรื่อ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า แอล/ซี อาจเรียกในชื่ออื่น เช่น Documentary Letter of Credit หรือ Commercial Documentary Letter of Credit

     

     

    การอาวัล / รับรองตั๋วเงิน (Aval / Acceptance)
          คือการบริการในการเข้าผูกพันตนเป็นเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตาม
    ตั๋วเงินนั้นเองโดยเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินหรือผู้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกค้า

     

     

    หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)
          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
    สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
    หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
       เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
            Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     

     

     

              สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt)

    “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ

    ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง

    สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้าการทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันทีเนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

     

     

     

    Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน

    สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้ 1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน 2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้ 3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใด 

    Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน

    สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้ 1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน 2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้ 3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใด

     

     

     

    นางสาวมยุรี  สมผล

    รหัส52127312059

    การเงิน02

     

     

     1.Trust Receipt (T/R)

    สัญญาทรัสต์รีซีท เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

    ตัวอย่าง

    2.(Aval)

    การอาวัลตั๋วแลกเงิน (Aval) หมายถึง การลงนามค้ำประกันการจ่ายเงินตามตั๋วเงิน การลงนามนี้จะทำไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วก็ได้

    หลักเกณฑ์ในการอาวัล

      - ผู้อาวัลจะเป็นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่ง หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในตั๋วก็ได้

      - การอาวัลอาจจะทำเพื่อรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้

      - การรับอาวัลต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุไว้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

    การอาวัลตั๋วแลกเงิน

            1. การอาวัลเป็นการค้ำลูกหนี้คนใดคนหนึ่งตามตั๋วแลกเงิน

            2. การอาวัลทำได้โดยเขียนข้อความอาวัลและลงชื่อไว้ด้านหน้าของตัวแลกเงิน

            3. การอาวัลทำให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนรับอาวัล

     ความหมายของการอาวัล 

    แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งดำให้จ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท เขียวและชมพูเข้ารับอาวัลแดง ต่อมาเมื่อตั๋วถึงกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ขาวไล่เบี้ยเอาจากชมพูแล้ว ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ย เขียวให้รับผิด 5,000 บาท ได้หรือไม่

            ชมพูไล่เบี้ยเขียวไม่ได้ เพราะกรณีนี้ไม่นำหลักเรื่องผู้ค้ำประกันร่วมตามมาตรา 682 มาใช้ต้องบังคับตามเรื่องอาวัลเนื่องจากเขียวไม่ใช่คนที่ผูกพันรับผิดอยู่ ก่อนแดง ชมพูจึงไล่เบี้ยไม่ได้

    วิธีอาวัล

            แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ผู้ถือ 10,000 บาท แล้ว มอบตั๋วให้ขาว ขาวสลักหลังลอยโอนตั๋วให้เขียวดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดในฐานะใด

            การสลักหลังตั๋วแลกเงินที่ออกแก่ผู้ถือมีผลเป็นการอาวัลผู้ สั่งจ่าย ขาวจึงต้องรับผิดฐานะผู้รับอาวัลแดง (มาตรา 921)

            มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียง ประกัน(อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย

    ผลของการอาวัล

        แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท ขาวสลักหลังให้เขียว ชมพูอาวัลเขียว เขียวสลักหลังให้เหลือง เหลืองสลักหลังให้ม่วง และดำได้รับรองตั๋วนี้ ต่อมาม่วงนำตั๋วไปยื่นในวันครบกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ม่วงจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยชมพู ชมพูยอมจ่ายทั้งหมด ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ยใคร ได้บ้าง

        ชมพูไล่เบี้ยเขียวได้เพราะตนรับอาวัลเขียว และไล่เบี้ยดำ แดง และขาว ได้เพราะเป็นบุคคลที่ผูกพันรับผิดแทนเขียว (มาตรา 940)

        มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกันแม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

        เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

    “อาวัล"

         มาตรา 938 ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกัน รับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า "อาวัล"

         อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญา แห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

         มาตรา 939 อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วแลก เงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ

         ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือสำนวนอื่นใด ทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

         อนึ่ง เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงินท่าน ก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่าย หรือผู้สั่งจ่าย

        ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือ ว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

            มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกัน แม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

            เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

    ตัวอย่าง

    3.Letters of Guarantees / Bank Guarantee (L/G)
       คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
     สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกันเช่น 
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    ตัวอย่าง

    4.Letter of Credit (L/C)

    L/C เพื่อการค้ำประกัน (Stand-by L/C) คือ คำมั่นของธนาคารที่ทำเป็นหนังสือออกให้แก่เจ้าหนี้ของลูกค้าธนาคารว่า ถ้าเจ้าหนี้แจ้งเป็นหนังสือให้ธนาคารทราบว่าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ธนาคารจะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงินที่เจ้าหนี้ส่งมาพร้อมกับหนังสือดังกล่าว โดยตัวอย่างของL/Cประเภทเช่น ใช้เพื่อค้ำประกันซองประกวดราคาหรือค้ำประกันสัญญาของผู้ขายสินค้าหรือบริการรวมทั้ง ค้ำประกันทางการเงินต่างๆเป็นต้น ซึ่งเพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้นจึงขอยกตัวอย่างกรณีการนำ Stand-by L/Cมาใช้ในสัญญาซื้อขาย เช่น บริษัท ก ในประเทศไทย ทำสัญญาซื้อเครื่องจักรจากบริษัท A ในประเทศญี่ปุ่นดังนั้นบริษัท Aผู้ขายจะต้องยื่นคำขอเปิดStand-by L/C กับธนาคารJ ให้ออกและส่งไปหรือรับรองต่อ บริษัท ก ผู้ซื้อ โดยหากเครื่องจักรของบริษัท A ที่ส่งไปนั้น ไม่เป็นไปตามสัญญาแล้วธนาคาร J จะรับผิดชอบชำระเงินให้ ซึ่งตรงจุดนี้นี่เองที่ทำให้ Stand-by L/Cต่างจาก Commercial Documentary L/C คือ Commercial Documentary L/C ธนาคารมีความรับผิดที่จะต้องชำระเงินในทุกกรณีแต่ตาม Stand-by L/C ธนาคารมีความรับผิดต้องจ่ายในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ธนาคารต้องจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เพียงแค่ได้รับแจ้งจากเจ้าหนี้เป็นหนังสือว่า ลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญา ซึ่งความจริงแล้วลูกหนี้จะผิดนัดผิดสัญญาไม่เป็นข้อสำคัญ อันเป็นการยืนยันถึงลักษณะร่วมของ L/C นั่นก็คือ ธนาคารให้คำมั่นว่าจะชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามตั๋วแลกเงินและตามเอกสารที่เจ้าหนี้ส่งมาพร้อมกับตั๋วเงิน อันเป็นการจ่ายเงินตามเอกสารที่ปรากฏต่อหน้า โดยไม่คำนึงถึงเรื่องข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้ ลูกหนี้ นั่นเอง 

    ตัวอย่าง

     

    5.Packing Credit (P/C)

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท                                                              

    1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

    2. สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    3 .สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

    ตัวอย่าง

     นางสาวสุกัญญา พวงทอง

      ID: 52127312014

    การเงินการธนาคาร01

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

     

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
      การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
            หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
            ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
            ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้นเริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้วผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงินธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อนแล้วจึงเปิด L/C ให้ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่าธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่าธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันทีโดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่งหรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้าหรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว
            หลังจากนั้นผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็นหรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุและขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วยหลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป
     
     
    การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)
            เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคารธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้าตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตหากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิตทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตนอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
     
     
    หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีดังนี้คือ
            1ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต
            2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอเพื่อให้มีการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิตโดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต
            3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือกรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิตอาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ
            1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง
            1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต
            1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต
            2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมายหรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป
            3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว
            4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต)เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ     
     
     เลตเตอร์ออฟเครดิต แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.  เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าชนิดที่เพิกถอนไม่ได้ ( Irrevocab or Confirmea letter of Credit ) คือ L/C ที่ธนาคารผู้ออกหรือผู้เปิดรับรองว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ปรากฏในตั๋วแลกเงินภายในระยะเวลาหนึ่งตามสัญญาที่ปรากฏ L/C ชนิดนี้จะขอถอนเงินหรือบอกเลิกไม่ได้เว้นแต่ผู้รับประโยชน์จะยินยอม
    2.   เลตเตอร์ออฟเครดิตที่เพิกถอนได้ ( Revocabie or Unconfirmed letter of credit ) คือ L/C ที่ธนาคารเป็นผู้เปิดหรือผู้ออกไม่ได้ให้ทำการรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ตามตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายอย่างแน่นอนเพียงแต่บอกกล่าวว่าจะยอมรับรองและจ่ายเงินตามตั๋วที่สั่งจ่ายถ้าหากว่าผู้เปิดไม่ได้บอกเลิกเสียก่อน L/C ชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างธนาคารกับผู้รับประโยชน์เพราะ L/C ดังกล่าวอาจมีการแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกโอกาสโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบ

     

                                                       Trust Receipt T/R

     “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     

     

     

                                                      Packing Credit P/C

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     

                                                      

                                                   อาวัล ( AVAL )

     อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร ? เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

                                       (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

       คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

     - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

     

     

     

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

     

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
      การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
            หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
            ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจา

    Trust Receipt (T/R)

    สัญญาทรัสต์รีซีท เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป

     

    AVAL

    ความหมาย อาวัล 

    การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

     

     

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

         เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

    • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น

    • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

    หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee : L/G)

          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน

    เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

    - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    Packing Credit (P/C) สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit

     

    นายพร้อมพงษ์ จันทมาลี

    52127312016

    บริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร) ปี2

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

     

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
      การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
            หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
            ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
            ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้นเริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้วผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงินธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อนแล้วจึงเปิด L/C ให้ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่าธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่าธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันทีโดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่งหรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้าหรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว
            หลังจากนั้นผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็นหรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุและขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วยหลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป
     
     
    การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)
            เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคารธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้าตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตหากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิตทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตนอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
     
     
    หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีดังนี้คือ
            1ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต
            2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอเพื่อให้มีการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิตโดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต
            3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือกรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิตอาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ
            1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง
            1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต
            1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต
            2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมายหรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป
            3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว
            4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต)เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ     
     
     เลตเตอร์ออฟเครดิต แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.  เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าชนิดที่เพิกถอนไม่ได้ ( Irrevocab or Confirmea letter of Credit ) คือ L/C ที่ธนาคารผู้ออกหรือผู้เปิดรับรองว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ปรากฏในตั๋วแลกเงินภายในระยะเวลาหนึ่งตามสัญญาที่ปรากฏ L/C ชนิดนี้จะขอถอนเงินหรือบอกเลิกไม่ได้เว้นแต่ผู้รับประโยชน์จะยินยอม
    2.   เลตเตอร์ออฟเครดิตที่เพิกถอนได้ ( Revocabie or Unconfirmed letter of credit ) คือ L/C ที่ธนาคารเป็นผู้เปิดหรือผู้ออกไม่ได้ให้ทำการรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ตามตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายอย่างแน่นอนเพียงแต่บอกกล่าวว่าจะยอมรับรองและจ่ายเงินตามตั๋วที่สั่งจ่ายถ้าหากว่าผู้เปิดไม่ได้บอกเลิกเสียก่อน L/C ชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างธนาคารกับผู้รับประโยชน์เพราะ L/C ดังกล่าวอาจมีการแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกโอกาสโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบ

     

                                                       Trust Receipt T/R

     “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     

     

     

                                                      Packing Credit P/C

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     

                                                      

                                                   อาวัล ( AVAL )

     อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร ? เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

                                       (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

       คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

     - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

     

     

     

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

     

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
      การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
            หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
            ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจา

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

     

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
      การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
            หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
            ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
            ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้นเริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้วผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงินธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อนแล้วจึงเปิด L/C ให้ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่าธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่าธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันทีโดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่งหรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้าหรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว
            หลังจากนั้นผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็นหรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุและขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วยหลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป
     
     
    การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)
            เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคารธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้าตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตหากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิตทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตนอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
     
     
    หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีดังนี้คือ
            1ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต
            2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอเพื่อให้มีการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิตโดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต
            3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือกรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิตอาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ
            1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง
            1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต
            1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต
            2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมายหรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป
            3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว
            4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต)เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ     
     
     เลตเตอร์ออฟเครดิต แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.  เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าชนิดที่เพิกถอนไม่ได้ ( Irrevocab or Confirmea letter of Credit ) คือ L/C ที่ธนาคารผู้ออกหรือผู้เปิดรับรองว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ปรากฏในตั๋วแลกเงินภายในระยะเวลาหนึ่งตามสัญญาที่ปรากฏ L/C ชนิดนี้จะขอถอนเงินหรือบอกเลิกไม่ได้เว้นแต่ผู้รับประโยชน์จะยินยอม
    2.   เลตเตอร์ออฟเครดิตที่เพิกถอนได้ ( Revocabie or Unconfirmed letter of credit ) คือ L/C ที่ธนาคารเป็นผู้เปิดหรือผู้ออกไม่ได้ให้ทำการรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ตามตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายอย่างแน่นอนเพียงแต่บอกกล่าวว่าจะยอมรับรองและจ่ายเงินตามตั๋วที่สั่งจ่ายถ้าหากว่าผู้เปิดไม่ได้บอกเลิกเสียก่อน L/C ชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างธนาคารกับผู้รับประโยชน์เพราะ L/C ดังกล่าวอาจมีการแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกโอกาสโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบ

     

                                                       Trust Receipt T/R

     “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     

     

     

                                                      Packing Credit P/C

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     

                                                      

                                                   อาวัล ( AVAL )

     อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร ? เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

                                       (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

       คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

     - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

     

     

     

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

     

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
      การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
            หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
            ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจา
     
    นา

  • Letter of Credit (L/C)

  • ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว

    Trust Receipt T/R

    “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ

    ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง

    สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่ง

    กรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดัง

    สินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลง

    ลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ

    ธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์

    ในทางการค้า

    การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที

    เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็

    เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ

    ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้

    ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือ

    ต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีก

    จนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้า

    ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกัน

    ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

    PACKING CREDIT P/C

    Packing Credit (บริการสินเชื่อเพื่อการส่งออก)

    เป็นบริการสินเชื่อระยะสั้น เพื่อสนับสนุนธุรกิจส่งออก

    ลักษณะบริการ

    ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้ส่งออก โดยการนำเอกสารมายื่นประกอบการขอกู้กับธนาคาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    1. การให้สินเชื่อก่อนการส่งออก (Pre-Shipment) เอกสารประกอบการขอทำ Packing Credit
    เช่น L/C หรือ สัญญาซื้อขายหรือคำสั่งซื้อสินค้าจาก ต่างประเทศ หรือ ใบรับรองคลังสินค้า
    หรือใบรับจำนำสินค้า
    2. การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment) เอกสาร ประกอบการขอกู้ ได้แก่
    Bill of Exchange
    ผู้ส่งออก จะออกตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาจะใช้เงินให้ไว้กับธนาคาร จำนวนเงินและระยะเวลาในการขอสินเชื่อเป็นไปตามเอกสารประกอบ
    ทั้งนี้ระยะเวลาการให้สินเชื่อขึ้นอยู่กับการอนุมัติของธนาคาร

    จุดเด่น

    สามารถตรวจเอกสารการขอกู้และเข้าบัญชีให้ลูกค้าภายใน 24 ช.ม.

    (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

     

    คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
    สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล
    หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
       เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
            Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)
    การอาวัล (Aval)

    การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

    ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล ”

     

    นางสาวชาลิสา  เกิดทิพย์

    การเงินการธนาคาร 02

    รหัสนักศึกษา 52127312046

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

     

    สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt)

              “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่ง กรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดัง สินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลง ลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็ เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

     Packing Credit (P/C)

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหา สินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit

         อาวัล ( AVAL )

     อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร ? เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

                                       (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

       คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

     - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

                  นายธีรเดช แจ่มกระจ่าง

                     52127312031

                   บริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

     

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
      การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
            หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
            ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
            ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้นเริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้วผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงินธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อนแล้วจึงเปิด L/C ให้ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่าธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่าธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันทีโดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่งหรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้าหรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว
            หลังจากนั้นผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็นหรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุและขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วยหลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป
     
     
    การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit)
            เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคารธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้าตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตหากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิตทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตนอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต
     
     
    หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีดังนี้คือ
            1ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต
            2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอเพื่อให้มีการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิตโดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต
            3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือกรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิตอาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ
            1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง
            1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต
            1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต
            2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมายหรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป
            3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว
            4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต)เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ     
     
     เลตเตอร์ออฟเครดิต แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.  เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าชนิดที่เพิกถอนไม่ได้ ( Irrevocab or Confirmea letter of Credit ) คือ L/C ที่ธนาคารผู้ออกหรือผู้เปิดรับรองว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ปรากฏในตั๋วแลกเงินภายในระยะเวลาหนึ่งตามสัญญาที่ปรากฏ L/C ชนิดนี้จะขอถอนเงินหรือบอกเลิกไม่ได้เว้นแต่ผู้รับประโยชน์จะยินยอม
    2.   เลตเตอร์ออฟเครดิตที่เพิกถอนได้ ( Revocabie or Unconfirmed letter of credit ) คือ L/C ที่ธนาคารเป็นผู้เปิดหรือผู้ออกไม่ได้ให้ทำการรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ตามตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายอย่างแน่นอนเพียงแต่บอกกล่าวว่าจะยอมรับรองและจ่ายเงินตามตั๋วที่สั่งจ่ายถ้าหากว่าผู้เปิดไม่ได้บอกเลิกเสียก่อน L/C ชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างธนาคารกับผู้รับประโยชน์เพราะ L/C ดังกล่าวอาจมีการแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกโอกาสโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบ

     

                                                       Trust Receipt T/R

     “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     

     

     

                                                      Packing Credit P/C

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     

                                                      

                                                   อาวัล ( AVAL )

     อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร ? เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

                                       (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

       คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

     - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

     

     

     

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ

     

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit)
      การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น
    ·       เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม
    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า
            หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
    Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้
            ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจา 
    นายยุทธพงษ์ ขาวสำอางค์

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม

    การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

    การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

    • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น

    • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

    การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้น เริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงิน ธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อน แล้วจึงเปิด L/C ให้ ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่า ธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่า ธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันที โดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่ง หรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้า หรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อ ผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว หลังจากนั้น ผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการ ธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็น หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุ และขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วย หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป

    การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit) เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคาร ธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้า ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต นอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีดังนี้ คือ

    1.สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นที่เป็นเหตุให้มีการทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอื่นดังกล่าว แม้จะมีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าวนั้นในเครดิตก็ตาม ดังนั้นการเข้ารับภาระของธนาคารผู้เปิดเครดิตในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต

    2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอ เพื่อให้มีการชำระเงินรับรอง หรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิต โดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต

    3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือ กรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิต อาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ

    1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง

    1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต

    1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต

    2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า มีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมาย หรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป

    3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆ และได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว

    4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต) เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ

     

    Trust Receipt :T/R

    บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า (Trust Receipt :T/R) เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าและจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร ธนาคารจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ลักษณะบริการ เป็นบริการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น เป็นสัญญาที่ลูกค้าทำไว้ต่อธนาคารโดยเป็นการรับรองว่า ธนาคารมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ลูกค้าครอบครองสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเท่านั้น และนำเงินมา ชำระเมื่อครบกำหนด

    1. ประเภทของสัญญา T/R แบ่งได้เป็น

    - T/R Sight Fixed Rate คือ ทำสัญญา T/R โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันทำสัญญา T/R และชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นซึ่งถือเป็นหนี้เงินบาท

    - T/R Sight Non-Fixed Rate คือทำสัญญา T/Rโดยยังคงเป็น หนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและลูกค้าจะต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันครบกำหนดหรือในวันที่ชำระเงิน

    2. T/R Time คือการทำสัญญา T/R ตามระยะเวลาที่ได้รับจากผู้ขาย (ตามเงื่อนไขใน L/C) โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ. วันที่ครบกำหนด หรือวันที่ชำระเงิน

     

    Packing Credit P/C

    เป็นรายงานแสดงรายละเอียดการรับเงินโอน หลังจากที่มีการเปิด L/C กับธนาคารที่เป็นตัวแทน ระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ขายแล้ว ซึ่งสามารถเลือกดูรายงานเรียงตามวันที่, รหัสธนาคาร หรือเลขที่ P/C ได้

     

    รูปภาพ

    Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G

    คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

     - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

     

    อาวัล (Aval)

             การอาวัลตั๋วแลกเงิน (Aval) หมายถึง การลงนามค้ำประกันการจ่ายเงินตามตั๋วเงิน การลงนามนี้จะทำไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วก็ได้

    หลักเกณฑ์ในการอาวัล

             - ผู้อาวัลจะเป็นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่ง หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในตั๋วก็ได้

             - การอาวัลอาจจะทำเพื่อรับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้

             - การรับอาวัลต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุไว้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

    การอาวัลตั๋วแลกเงิน

            1. การอาวัลเป็นการค้ำลูกหนี้คนใดคนหนึ่งตามตั๋วแลกเงิน

            2. การอาวัลทำได้โดยเขียนข้อความอาวัลและลงชื่อไว้ด้านหน้าของตัวแลกเงิน

            3. การอาวัลทำให้ผู้รับอาวัลต้องรับผิดเช่นเดียวกับบุคคลที่ตนรับอาวัล

     

    ความหมายของการอาวัล

            แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งดำให้จ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท เขียวและชมพูเข้ารับอาวัลแดง ต่อมาเมื่อตั๋วถึงกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ขาวไล่เบี้ยเอาจากชมพูแล้ว ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ย เขียวให้รับผิด 5,000 บาท ได้หรือไม่

            ชมพูไล่เบี้ยเขียวไม่ได้ เพราะกรณีนี้ไม่นำหลักเรื่องผู้ค้ำประกันร่วมตามมาตรา 682 มาใช้ต้องบังคับตามเรื่องอาวัลเนื่องจากเขียวไม่ใช่คนที่ผูกพันรับผิดอยู่ ก่อนแดง ชมพูจึงไล่เบี้ยไม่ได้

    วิธีอาวัล

            แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ผู้ถือ 10,000 บาท แล้ว มอบตั๋วให้ขาว ขาวสลักหลังลอยโอนตั๋วให้เขียวดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดในฐานะใด

            การสลักหลังตั๋วแลกเงินที่ออกแก่ผู้ถือมีผลเป็นการอาวัลผู้ สั่งจ่าย ขาวจึงต้องรับผิดฐานะผู้รับอาวัลแดง (มาตรา 921)

            มาตรา 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียง ประกัน(อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย

    ผลของการอาวัล

            แดงออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ดำจ่ายเงินให้ขาว 10,000 บาท ขาวสลักหลังให้เขียว ชมพูอาวัลเขียว เขียวสลักหลังให้เหลือง เหลืองสลักหลังให้ม่วง และดำได้รับรองตั๋วนี้ ต่อมาม่วงนำตั๋วไปยื่นในวันครบกำหนด ดำไม่ยอมใช้เงิน ม่วงจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยชมพู ชมพูยอมจ่ายทั้งหมด ดังนี้ ชมพูจะไล่เบี้ยใคร ได้บ้าง

            ชมพูไล่เบี้ยเขียวได้เพราะตนรับอาวัลเขียว และไล่เบี้ยดำ แดง และขาว ได้เพราะเป็นบุคคลที่ผูกพันรับผิดแทนเขียว (มาตรา 940)

            มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกันแม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

            เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

    “อาวัล”

            มาตรา 938 ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ำประกัน รับประกันการใช้เงินทั้งจำนวน หรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า "อาวัล"

            อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญา แห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้

            มาตรา 939 อันการรับอาวัลย่อมทำให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วแลก เงินนั้นเอง หรือที่ใบประจำต่อ

            ในการนี้พึงใช้ถ้อยคำสำนวนว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือสำนวนอื่นใด ทำนองเดียวกันนั้น และลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

            อนึ่ง เพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงินท่าน ก็จัดว่าเป็นคำรับอาวัลแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่าย หรือผู้สั่งจ่าย

            ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือ ว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย

            มาตรา 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคล ซึ่งตนประกัน แม้ถึงว่า ความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็น ใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทำผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อ ที่สัญญารับอาวัลนั้นก็ยังคงสมบูรณ์

            เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอัน จะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับ ผิดแทนตัวผู้นั้น

    นางสาวณัฐธิดา พรหมมา

    52127312009

    การเงินการธนาคาร

    นางสาวนุสรา เสริมเผือก

    สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt)

           “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่ง กรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดัง สินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลง ลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ ในทางการค้า   

          การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็ เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

     

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)

         เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ

    • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ได้ทุกเวลา แต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น

    • เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม

     

    Packing Credit (P/C)

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหา สินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

        1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่ง ออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาด ขณะนั้น

        1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้ เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

        1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบใน การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

         2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

     

    หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee : L/G)

          คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

    - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     

    Aval การอาวัล (Aval)

         เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋ว เงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

     

    นางสาวนุสรา  เสริมเผือก

    52127312038

    การเงินการธาคาร 02

     

     

    Trust Receipt T/R

     “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

    Letters of Guarantees / Bank Guarantee (L/G)

     คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ
     สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล

                หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน
                เช่น 
                 - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) 
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond) 
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) 
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention 
            Money Bond) 
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee) 
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee) 
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee) 
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     

    การอาวัล / รับรองตั๋วเงิน (Aval / Acceptance)
    คือการที่ธนาคารเข้าไปเป็นผู้ค้ำประกันการชำระเงิน ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน ที่ลูกค้าของธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว รับรองจ่ายเงินไว้ ตั๋วที่ธนาคารรับรองไว้ เมื่อผู้ทรงตั๋ว ส่งตั๋วมาเรียกเก็บเมื่อถึงวันครบกำหนด ธนาคารต้องจ่ายให้ทันทีจะผัดผ่อนไม่ได้

    (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม)

     Packing Credit (P/C) 

     Packing Credit หมายถึงการให้บริการสินเชื่อสั้นของธนาคารพาณิชย์ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือดด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคาร ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการผลิต หรือการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยให้กู้ยืมเงินได้ทั้งก่อนการออกสินค้า และหลังการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกขอเงินได้ทั้งในรูปสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ (ปัจจุบันกู้ได้กู้ได้ 3 สกุลคือ USD EURO และ JPY) ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ส่งออก สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ส่งออกต้องชำระให้กับธนาคารนั้นอาจเป็นอัตราบวกหรือลบส่วนต่างอัตรา MLR หรือ Market Rate แล้วแต่กรณี และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์ของตลาดการเงิน สำหรับการยื่นขอใช้บริการ Packing Credit กับธนาคาร ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารหลักสำหรับประกอบการกู้ดังต่อไปนี้ 1. ตั๋วสัญญาการใช้เงินที่ออกโดยผู้ส่งออก หรือลูกค้าของธนาคาร โดยระบุสถานที่ส่งออก วันที่ออก จำนวนวันที่กำหนดชำระ และชื่อผู้รับเงิน 2. สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งออกสินค้า หรือสัญญารับชำระหนี้ 3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าในต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

    เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) 

    หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต

            การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

    ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

     

    นางสาวกานดา นิ่มนวล

    การเงิน 02 รหัส 52127312042

     

    นางสาวสุนทร พุ่มขจร

     

             สัญญาทรัสต์รีซีท (Trust Receipt) “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่ง กรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดัง สินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลง ลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ ในทางการค้า

        การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็ เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ

     

     เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C) หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น

     

    Packing Credit (P/C) สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหา สินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธี

     

    (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) L/G คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น

    - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)

    - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)

    - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)

    - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)

    - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)

    - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other) ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

     

    Aval การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋ว เงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

    นางสาวสุนทร พุ่มขจร

    52127312040

    การเงินการธนาคาร02

     

    รูปภาพ

    อาวัล ( AVAL ) การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

            Trust Receipt : T/R (..สินเชื่อเพื่อการนำเข้า..)

              เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดย
    ลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้า
    และจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร

    Letters of Guarantees : L/G (..หนังสือค้ำประกัน..)

      

    รูปภาพ
             

              คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น
              - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
              - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
              - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
              - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
              - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
              - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
              - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
              - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    Letter of Credit (L/C)

    การชำระค่าสินค้าด้วย LETTER OF CREDIT
    การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

    บทบาทหน้าที่ของ L/C
    L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการซื้อขายด้วย L/C คือ

    เงื่อนไขใน L/C ธนาคารผู้รับ L/C และธนาคารผู้เปิด L/C จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในอันที่จะทำการตรวจสอบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อสินค้า อย่างไรก็ตามเงื่อนไขต่างๆ ใน L/C จะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องทางด้านเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของตัวสินค้าได้

    PACKING CREDIT : P/C (..สินเชื่อสำหรับผู้ส่งออก..)

              ลักษณะการบริการ เป็นสินเชื่อระยะสั้นแก่ผู้ส่งออกโดยใช้วงเงินกู้ยืม PACKING CREDIT (P/C) เพื่อนำเงินไปจัดหาวัตถุดิบในการผลิตหรือเตรียมสินค้าเพื่อส่งออก

              สิทธิประโยชน์

    - สามารถกู้ได้เป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ
    - เมื่อยื่นเอกสารขอกู้ P/C สามารถเข้าบัญชี ภายในวันเดียวกัน

     

    รูปภาพ

    อาวัล ( AVAL ) การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น (ธนาคารรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

            Trust Receipt : T/R (..สินเชื่อเพื่อการนำเข้า..)

              เป็นบริการที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ผู้นำเข้าที่มีการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดย
    ลูกค้าสามารถติดต่อขอทำสัญญา T/Rกับธนาคารและรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้า
    และจำหน่าย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่ธนาคาร

    Letters of Guarantees : L/G (..หนังสือค้ำประกัน..)

      

    รูปภาพ
             

              คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น
              - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
              - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
              - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
              - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond)
              - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
              - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
              - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
              - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

    Letter of Credit (L/C)

    การชำระค่าสินค้าด้วย LETTER OF CREDIT
    การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

    บทบาทหน้าที่ของ L/C
    L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อควรรู้เกี่ยวกับการซื้อขายด้วย L/C คือ

    เงื่อนไขใน L/C ธนาคารผู้รับ L/C และธนาคารผู้เปิด L/C จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในอันที่จะทำการตรวจสอบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อสินค้า อย่างไรก็ตามเงื่อนไขต่างๆ ใน L/C จะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องทางด้านเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความถูกต้องของตัวสินค้าได้

    PACKING CREDIT : P/C (..สินเชื่อสำหรับผู้ส่งออก..)

              ลักษณะการบริการ เป็นสินเชื่อระยะสั้นแก่ผู้ส่งออกโดยใช้วงเงินกู้ยืม PACKING CREDIT (P/C) เพื่อนำเงินไปจัดหาวัตถุดิบในการผลิตหรือเตรียมสินค้าเพื่อส่งออก

              สิทธิประโยชน์

    - สามารถกู้ได้เป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ
    - เมื่อยื่นเอกสารขอกู้ P/C สามารถเข้าบัญชี ภายในวันเดียวกัน

    นายเมทนี ทิพย์สุมาลัย

    52127312020

    การเงิน ปี 2

     

    นาย อำนาจ ด้วงโพนแร้ง

    (Letter of Credit หรือ L/C)

     เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)หมายความว่าเป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งณที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึงณที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้เงินที่จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้าได้ตกลงกับธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้าโดยธนาคารตกลงจะจ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่าผู้ขายจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออ การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit) การส่งสินค้า L/C จะช่วยให้เกิดความมั่นใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 ชนิดคือ · เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนได้ผู้เกี่ยวข้องสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ทุกเวลาแต่ต้องก่อนที่จะมีการรับซื้อเอกสารนั้น · เลตเตอร์ออฟเครดิตประเภทเพิกถอนไม่ได้ธนาคารผู้เปิด L/C มีพันธะผูกพันแน่นอน ตาม L/C ที่เปิดจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ได้นอกจากจะได้รับการยินยอม การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อเพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคารตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย Vสาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอมหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกันเพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที ขั้นตอนในการเปิด L/C นั้นเริ่มจากภายหลังการตกลงซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเรียบร้อยแล้วผู้ซื้อต้องมาติดต่อกับธนาคารของตนเพื่อขอเปิด L/C ธนาคารจะดำเนินการให้เฉพาะลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อหรือหาผู้ซื้อไม่มีวงเงินธนาคารอาจขอให้จ่ายค่ามัดจำค่าสินค้าล่วงหน้าก่อนแล้วจึงเปิด L/C ให้ธนาคารในประเทศผู้ซื้อที่เปิด L/C เรียกว่าธนาคารผู้เปิด L/C โดยผ่านธนาคารตัวแทนในประเทศผู้ขาย เรียกว่าธนาคารผู้แจ้งการเปิด L/C เมื่อผู้ขายได้รับ L/C แล้วต้องตรวจสอบว่า L/C เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่หากถูกต้องผู้ขายสามารถดำเนินการส่งสินค้าออกได้ทันทีโดยนำสินค้าของตนไปส่งให้กับบริษัทขนส่งหรือบริษัทผู้รับขนส่งสินค้าหรือขึ้นเครื่องบินเพื่อจัดส่งไปให้ผู้ซื้อผู้ขายจะได้รับในตราส่งสินค้าจากบริษัทขนส่งเพื่อแสดงว่าได้รับสินค้าบรรทุกลงเรือหรือขึ้นเครื่องบินแล้ว หลังจากนั้นผู้ขายจะจัดทำใบกำกับสินค้า ตั๋วแลกเงินและเอกสารอื่น ๆซึ่งเรียกว่าเอกสารการส่งออกนำมาขอขึ้นเงินกับธนาคารตามเงื่อนไขใน L/C โดยผู้ขายจะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขใน L/C ทุกประการธนาคารผู้รับซื้อตั๋วจะชำระเงินทันทีในกรณีเป็นตั๋วจ่ายเงินเมื่อเห็นหรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดตามที่ L/C ระบุและขอรับเงินหรือหักบัญชีของธนาคารผู้เปิด L/C ด้วยหลังจากนั้นจึงส่งเอกสารทั้งหมดมายังธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อเรียกเก็บจากผู้ซื้อพร้อมทั้งส่งมอบเอกสารการส่งออกให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการออกสินค้าต่อไป การชำระเงินโดยวิธีเลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter Of Credit) เป็นวิธีการชำระเงินที่ธนาคารเข้ามามีบทบาทในการให้ความมั่นใจแก่ผู้ขายว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้วและนำเอกสารเกี่ยวกับการส่งสินค้า (Shipping Documints)ที่ถูกต้องตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตเดิมมายื่นให้ธนาคารธนาคารก็จะชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งเป็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายสินค้าตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิต (Issuing Bank) เข้ารับภาระที่จะชำระเงินให้ผู้ขายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตหากผู้ขายปฏิบัติตามถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิตทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Application for the Credit) ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (Applicant) ต่อธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตนอกจากนี้ธนาคารผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตยังเข้ารับภาระต่อผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในการทำการตรวจเอกสารเกี่ยวกับสินค้า(Shipping Document)ว่าถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุในเงื่อนไขของเลตเตอร์ออฟเครดิตหรือไม่หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องก็จะดำเนินการชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต หลักสำคัญของสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตมีดังนี้คือ 1ในอันที่จะชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจะไม่ขึ้นอยู่กับสิทธิเรียกร้องหรือข้อต่อสู้ของผู้ของผู้ขอเปิดเครดิตอันสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของผู้ขอเปิดเครดิตที่มีต่อธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือผู้รับประโยชน์ถึงแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ขอเปิดเครดิตจะปฏิเสธไม่ยอมชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตโดยอ้างเหตุว่าสินค้าหายหรือไม่ตรงตามที่ตกลงในสัญญาซื้อขายก็ตามธนาคารผู้เปิดเครดิตก็ยังมีหน้าที่ชำระเงินรับรองและชำระเงินตามตั๋วแลกเงินหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินหรือปฏิบัติการชำระหนี้อื่นใดตามเลตเตอร์ออฟเครดิตตราบใดที่ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุในเลตเตอร์ออฟเครดิต 2. ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตัวเลตเตอร์ออฟเครดิตเองและบางกรณีคำสั่งให้แก่เลตเตอร์ออฟเครดิตรวมทั้งการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิตจะต้องระบุโดยชัดแจ้งถึงเอกสารที่จะต้องเสนอเพื่อให้มีการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ระบุไว้ในเครดิตโดยใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นถูกต้องตามข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิต 3. ข้อยกเว้นขอหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมีอยู่ประการเดียวคือกรณีฉ้อฉลซึ่งหากเกิดกรณีฉ้อฉลขึ้นธนาคารผู้เปิดเครดิตและธนาคารผู้ยืนยันเครดิตจะต้องปฏิเสธไม่ชำระหนี้ตามเครดิตชนิดของเลตเตอร์ออฟเครดิตอาจแบ่งแยกได้เป็น 4 ชนิด คือ 1. เครดิตชนิดเพิกถอนได้ (Revocable Credit) หมายถึงเครดิตที่ธนาคารผู้ออกเครดิตสามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้รับประโยชน์ทราบทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าธนาคารผู้เปิดเครดิตจะต้อง 1.1ชดใช้ให้แก่ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้ทำการชำระเงินรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินเมื่อได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินทันทีที่ได้เห็นรับรองหรือเจรจาซื้อตั๋วแลกเงินได้ทั้งนี้ธนาคารอื่นนั้นได้ชำระรับรองหรือซื้อตั๋วแลกเงินก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการยกเลิกเครดิต 1.2 ชดใช้ให้ธนาคารอื่นหากธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารซึ่งมีข้อความที่ปรากฏถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่ระบุในข้อตกลงและเงื่อนไขของเครดิตและเครดิตชนิดเพิกถอนได้นั้นกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ชำระเงินในวันหนึ่งวันใดตามที่ระบุไว้ในอนาคตได้ทั้งนี้โดยธนาคารอื่นนั้นได้รับเอกสารไว้ก่อนที่จะได้รับแจ้งจากธนาคารผู้เปิดเครดิตถึงการแก้ไขหรือการยกเลิกเครดิต 2. เครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Credit) เป็นเครดิตที่ธนาคารผู้เปิดเครดิตเข้ารับภาระที่แน่นอนในอันที่จะชำระหนี้ตามเครดิตทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้ได้รับมอบหมายหรือธนาคารผู้เปิดเครดิตและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้วธนาคารผู้เปิดเครดิตจะทำการชำระหนี้ตามเครดิตต่อไป 3. เครดิตชนิดยื่นยัน (Confirmed Credit)คือเครดิตที่ธนาคารอื่นยืนยันเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้เมื่อมีการให้อำนาจโดยหรือตามคำร้องขอของธนาคารผู้เปิดเครดิตซึ่งถือว่าเป็นการเข้ารับภาระที่แน่นอนของธนาคารผู้ยืนยันเครดิตเพิ่มขึ้นจากหนี้หรือหน้าที่รับผิดชอบของธนาคารผู้เปิดเครดิตนั้นที่จะชำระหนี้ทั้งหนี้โดยมีเงื่อนไขว่ามีการเสนอเอกสารที่ระบุไว้ให้แก่ธนาคารผู้เปิดเครดิตหรือธนาคารผู้ได้รับมอบหมายใดๆและได้มีการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเครดิตแล้ว 4. เครดิตชนิดไม่ยืนยัน (Unconfirmed Credit) เครดิตชนิดนี้ธนาคารในประเทศผู้ขาย (ธนาคารผู้แจ้งเครดิต)เพียงแต่แจ้งเครดิตให้ผู้รับประโยชน์เท่านั้นจึงไม่เข้าไปยืนยันเครดิตฉบับนั้นด้วยเครดิตประเภทนี้ธนาคารผู้แจ้งเครดิตจึงไม่มีความรับผิดชอบใดๆ เลตเตอร์ออฟเครดิต แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้าชนิดที่เพิกถอนไม่ได้ ( Irrevocab or Confirmea letter of Credit ) คือ L/C ที่ธนาคารผู้ออกหรือผู้เปิดรับรองว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ปรากฏในตั๋วแลกเงินภายในระยะเวลาหนึ่งตามสัญญาที่ปรากฏ L/C ชนิดนี้จะขอถอนเงินหรือบอกเลิกไม่ได้เว้นแต่ผู้รับประโยชน์จะยินยอม 2. เลตเตอร์ออฟเครดิตที่เพิกถอนได้ ( Revocabie or Unconfirmed letter of credit ) คือ L/C ที่ธนาคารเป็นผู้เปิดหรือผู้ออกไม่ได้ให้ทำการรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ตามตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายอย่างแน่นอนเพียงแต่บอกกล่าวว่าจะยอมรับรองและจ่ายเงินตามตั๋วที่สั่งจ่ายถ้าหากว่าผู้เปิดไม่ได้บอกเลิกเสียก่อน L/C ชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างธนาคารกับผู้รับประโยชน์เพราะ L/C ดังกล่าวอาจมีการแก้ไขหรือยกเลิกได้ทุกโอกาสโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้รับประโยชน์ทราบ

     

     Trust Receipt T/R

     

    “สัญญาทรัสต์รีซีท” เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติหรือตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศ อันเกิดจากการ ที่ผู้สั่งสินค้าเข้าขอให้ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าให้ตามความผูกพันในเลตเตอร์ออฟเครดิตไปก่อน เมื่อผู้สั่ง สินค้าเข้ายังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารได้ แต่ต้องการขอรับเอกสารการส่งของ เช่น ใบตราส่งกรมธรรม์ประกันภัย และเอกสารอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าจากธนาคารไปนำสินค้าออกมาเพื่อขายหรือเก็บไว้ในโกดังสินค้า ซึ่งในที่สุดเพื่อจำหน่ายและนำเงินที่ได้มาชำระให้แก่ธนาคารต่อไป ดังนั้น ธนาคารจึงให้ผู้สั่งสินค้าเข้าลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนดขึ้น โดยยอมรับว่าสินค้านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารนำสัญญาทรัสต์รีซีทมาใช้เป็นวิธีการประกันหนี้ด้วยทรัพย์อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การทำสัญญาทรัสต์รีซีท จะมีผลทำให้เงินที่ลูกค้าได้จากการจำหน่ายสินค้า ตกเป็นของธนาคารทันที เนื่องจากธนาคารเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าว แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ครอบครองเงินค่าขายสินค้าได้ แต่ก็เป็นการครอบครองหรือยึดถือไว้แทนธนาคารเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เงินที่ลูกค้าผู้ทำทรัสต์รีซีทได้มาจากการขายสินค้านั้น ธนาคารมีสิทธิ์นำมาหักชำระหนี้ค่าสินค้าที่ธนาคารชำระแทนลูกค้าไป รวมทั้งหนี้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ หากมีเงินเหลือต้องคืนลูกค้า แต่หากเงินที่ขายสินค้าได้ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าว ลูกค้าต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่ขาดอีกจนครบ นอกจากนี้ ธนาคารไม่มีสิทธิ์นำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปหักหนี้ประเภทอื่นของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท เพราะจะทำให้ผู้ค้ำประกันตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทเสียเปรียบ ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

    Packing Credit P/C

    สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น 1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน 1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น 2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย )

     อาวัล ( AVAL )

     

    อาวัลตั๋วเงิน คืออะไร ? เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

     

    (Letters of Guarantees / Bank Guarantee)

    รูปภาพ

     L/G คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำ สัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคล หรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond) - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond) - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond) - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention Money Bond) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee) - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee) - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other) ( ธนาคารได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียม )

    นายอำนาจ ด้วงโพนแร้ง

    การเงินการธนาคาร

    52127312069

    บริษัทประกันชีวิต

    1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

    คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

                  สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ 

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    2.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     3.บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

    นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     4.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
                        ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
                        กรุงเทพมหานคร 10500

     

    นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

    7.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

    8.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    11.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

    12.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     

    วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

    15.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

    16.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

    17.บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

    18.บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     

    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

    19.บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์
                        เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    นายสุภัค ศิวะรักษ์  ประธานกรรมการ

    20.บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด (เฉพาะบัตรโลโก้ TPA)

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์
                        เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    นายสุภัค ศิวะรักษ์  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  44 ชั้น 23-24 ซ.หลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    นายสุภัค ศิวะรักษ์ ประธานกรรมการ

    21.บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่  313 ซี.พี. ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานกรรมการ

    22.บริษัท นิวแฮมเชอร์ อินชัวรันส์ บริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 21-23 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ

    23.บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    อาคารอาคเนย์ประกันภัย เลขที่ 315 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500            

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ

     

    24.บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  อาคารคิวเฮ้าส์ คอนแวนต์ ชั้น 9 เลขที่ 38 ถนนคอนแวนต์ สีลม กรุงเทพฯ 10500

     

    นายแอนดริว วอง ประธานกรรมการ

    25.บริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 1908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

    นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ

    26.บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  อาคารอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล (อาคาร เอ.ไอ.ทาวเวอร์ / อาคาร เอ.ไอ.บี.) 181 ถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ

     

     

    27.บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

    คุณวรางค์ เสรฐภักดี  ประธานกรรมการ

    28.บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน

    สำนักงานใหญ่26/5-6 อาคารอรกานต์ ถนนชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    คุณสุธีชัย สันติวราคม  ประธานกรรมการ

     

     

    29.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ อาคารกรุงเทพประกันภัย 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

    นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ

     

     

    30.Manulife Insurance (Thailand) Public Company Limited

     

    สำนักงานใหญ่  364/30 Sri Ayudhya Road, Rajthevee, Bangkok 10400

     

    31.บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน

     

    สำนักงานใหญ่  63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 

    สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ

     

    32.บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด

     

                   สำนักงานใหญ่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 10-12 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    เบรทท์ อลัน คลิงเลอร์  ประธานกรรมการ

                    

    33.บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน

    สำนักงานใหญ่ 34/3 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายมงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ

     

    34.บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 126/2 ถ.กรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600

     

    คุณชาติชาย พานิชชีวะ ประธานกรรมการ

    35.บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่ 90/4-6, 100/50-55 อาคารสาธรนคร ถนน สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

     

    36.บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  175 สาธรซิตี้ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120

    ซูซูมุ อูชิดะ ประธานกรรมการ

    37.บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

                      สำนักงานใหญ่  97,99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

    นายอนันต์ เกษเกษมสุข ประธานกรรมการ

    38.บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    กฤตยา ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    39.บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  295 ถ.สี่พระยา แขวงสี่พระย กรุงเทพฯ 10500

    สุระ จันทร์ศรีชวาลา ประธานกรรมการ

    40.บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน

     

    สำนักงานใหญ่  767 ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

    นาย สมบุญ ฟูศรีบุญ ประธานกรรมการ

    41.บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  11th Floor Diethelm Tower B, 93/1 Wireless Road, Lumpini Pathumwan Bangkok 10330

    นายอาร์โนด์ เบียเลคกิ  ประธานกรรมการ 

     

     

                                                                                                        นางสาวนิชนันท์ ชวนถวิล

                                                                                                        52127312017

                                                                                                        เอกการเงินการธนาคาร 01

     

    นางสาว สุภาวรรณ จิตภักดี

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ
    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

    http://www.kamolinsurance.com

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    http://www.bki.co.th

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.kpi.co.th

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวางกรุงเทพฯ 10310

    www.rvp.co.th

    บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์

    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    http://www.qbe.co.th

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

    http://thailand.kurnia.com

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    อาคารจรัญประกันภัย เลขที่ 401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    http://www.charaninsurance.com

    บริษัท เจนเนอราลี่ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

    ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.generalithailand.com

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการ นาย ธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    http://www.cpyins.com

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    http://www.chubb.com

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    http://www.cigna.co.th/

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    http://www.dhipaya.co.th

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

    http://www.deves.co.th

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์

    34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.thaiins.com

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    http://www.thaihealth.co.th

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

    http://www.thaipat.co.th

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    (ชื่อเดิม : บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

    http://www.scsmg.co.th

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.thaire.co.th

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

    http://www.thaisri.com

    สุภาวรรณ จิตภักดี

    52127312063

    มีต่ออีกค่ะ

    นางสาว สุภาวรรณ จิตภักดี

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ  นายบินายัค ดัตตา

    ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด 

    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    ประธานกรรมการ สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ คุณชาญ วรรธนะกุล

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

     170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายสาระ ล่ำซำ

    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์ 

    123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ  คุณสุนทร บุญสาย

    388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ  วิลฟ์ แบล็คเบิร์น 

    อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการนายโดนอลด์ คาร์ดีน

    1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    ประธานกรรมการ นายคีธ บรูคส์

    อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     ประธานกรรมการ นายราเจช เสฐฐี

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ

    87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ  คุณเยิน ฮี คัง   

    2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    ประธานกรรมการ  นายมงคล ลีลาธรรม 

    121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822

     

    บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    ประธานกรรมการ นายสหพล สังข์เมฆ 

    411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายบรูส ฮ็อดเจส

    364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง
    อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด

    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่  นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นางสาวสุภาวรรณ จิตภักดี

    รหัสนักศึกษา 52127312063

    การเงินการธนาคาร

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    http://www.bki.co.th

     

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.kpi.co.th

     

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวางกรุงเทพฯ 10310

    www.rvp.co.th

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

    http://www.kamolinsurance.com

     

    บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์

    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    http://www.qbe.co.th

     

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

    http://thailand.kurnia.com

     

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     อาคารจรัญประกันภัย เลขที่ 401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    http://www.charaninsurance.com

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

    ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.generalithailand.com

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    http://www.cpyins.com

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    http://www.chubb.com

     

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

    บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    http://www.cigna.co.th/

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    http://www.dhipaya.co.th

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

    http://www.deves.co.th

     

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์

    34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.thaiins.com

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    http://www.thaihealth.co.th

     

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

    http://www.thaipat.co.th

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    (ชื่อเดิม : บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ

     2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

    http://www.scsmg.co.th

     

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.thaire.co.th

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

    http://www.thaisri.com

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ  นายบินายัค ดัตตา

    ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด 

    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

     

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    ประธานกรรมการ สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ คุณชาญ วรรธนะกุล

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

     170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายสาระ ล่ำซำ

    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์ 

    123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ  คุณสุนทร บุญสาย

    388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ  วิลฟ์ แบล็คเบิร์น 

    อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายโดนอลด์ คาร์ดีน

    1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    ประธานกรรมการ นายคีธ บรูคส์

    อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     ประธานกรรมการ นายราเจช เสฐฐี

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ

    87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ  คุณเยิน ฮี คัง   

    2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    ประธานกรรมการ  นายมงคล ลีลาธรรม 

    121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822

     

     

    บริษัท สหประกันชีวิต จํากัด

    ประธานกรรมการ นายสหพล สังข์เมฆ 

    411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

     

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด

    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่  นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายบรูส ฮ็อดเจส

    364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นายเชาว์พันธุ์ พันธ์ทอง

     อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

     

    นางสาวธนาพร  นามา

    เอก การเงินการธนาคาร 01

    รหัสนักศึกษา 52127312011

    นายชาญ วรรธนะกุล
    Mr. Chan Vathanakul
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ถนนพระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์. 0-2777-8888, โทรสาร. 0-2777-8899
    Bangkok Life Assurance Public Co., Ltd.
    23/115-121 Royal City Avenue, Rama 9 Rd., Huaykwang Bangkok 10310
    Tel. 0-2777-8888, Fax. 0-2777-8899
    www.bla.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายไชย ไชยวรรณ
    Mr. Chai Chaiyawan
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
    123 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2247-0247-8, โทรสาร 0-2246-9946-7
    Thai Life Insurance Co., Ltd.
    123 Rachadaphisek Rd., Huaykwang, Bangkok 10400
    Tel. 0-2247-0247-8, Fax. 0-2246-9946-7
    www.thailife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายมนตรี แสงอุไรพร
    Mr.Montri Saeng-Uraiporn
    กรรมการผู้จัดการ
    President

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด
    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์ 0-2632-5000, โทรสาร 0-2632-5500
    Finansa Life Assurance Co.,Ltd.
    2032 FINANSA TOWER New Petchburi Road, Bangkapi, Huaykwang, Bangkok 10310
    Tel. 0-2632-5000, Fax. 0-2632-5500
    www.finansalife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายซี โดนอลด์ คาร์ดีน
    Mr. C. Donald Carden
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President & CEO

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    1060 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2655-3000, โทรสาร 0-2256-1666
    Siam Commercial New York Life Insurance Public Co., Ltd.
    1060 New Petchburi Rd., (SCB Building 1) Rajthevee, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2655-4000, Fax. 0-2256-1666
    www.scnyl.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายบินายัค ดัตตา  ( คนขวา นะจ๊ะ )
    Mr. Binayak Dutta
    กรรมการผู้จัดการ
    Chief Executive Officer

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2352-8000, โทรสาร 0-2639-9635, 0-2639-9700
    Prudential Life Assurance (Thailand) Public Co., Ltd.
    82 Saengthong Thani Bldg. 28, 30-31 Flr., North Sathorn Road, Bangkok, 10500.
    Tel. 0-2352-8000, Fax. 0-2639-9635, 0-2639-9700
    www.prudential.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์
    Mrs. Nusara Banyatpiyaphod
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2261-2300, โทรสาร 0-2261-3344-55
    Ocean Life Insurance Co., Ltd.
    170/74-83 Ocean Tower 1, Rachadaphisek Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2261-2300, Fax. 0-2261-3344-55
    www.ocean.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 2, 6 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2305-7000, โทรสาร 0-2263-0313-4
    Ayudhya Allianz C.P. Life Public Company Limited.
    898 Ploenchit Tower 2nd, 6th Floor, Ploenchit Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2305-7000, Fax. 0-2263-0313-4
    www.aacp.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสาระ ล่ำซำ
    Mr. Sara Lamsam
    กรรมการผู้จัดการ
    President

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    โทรศัพท์ 0-2276-1025-7, โทรสาร 0-2276-1997-8
    Muang Thai Life Assurance Co., Ltd.
    250 Rachadaphisek Road, Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2276-1025-7, Fax. 0-2276-1997-8
    www.muangthai.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นางรัชนี เองปัญญาเลิศ
    Mrs.Rashanee Engpanyalert
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด
    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2260-5536-43, โทรสาร 0-2260-5561
    Siam Life Insurance Co., Ltd.
    75/72-73 Ocean Tower 2, 30th Floor, Sukhumvit 19, Wattana, Bangkok 10110.
    Tel. 0-2260-5536-43, Fax. 0-2260-5561
    www.siamlife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายชาติชัย พาราสุข 
    Mr. Chotiphat Bijananda
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด
    315 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2631-1331, โทรสาร 0-2236-7614
    The Southeast Life Insurance Co., Ltd.
    315 Silom Road, Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2631-1331, Fax. 0-2236-7614
    www.southeastlife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายบรูส ฮ็อดเจส ( คนขวานะจ๊ะ)
    Mr. Bruce Murray Hodges
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    364/30 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2246-7650-99, โทรสาร 0-2248-5391
    Manulife Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    364/30 Sri Ayudhaya Road, Phayathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2246-7650-99, Fax. 0-2248-5391
    www.manulife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    Mr. Surachai Sirivallop
    กรรมการผู้อำนวยการ
    President & CEO

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด
    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822, โทรสาร 0-2256-6565
    Thaire Life assurance Co., Ltd.
    223/1 Soi Ruamruedee, Wireless Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2256-6822, Fax. 0-2256-6565
    www.thaire.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสหพล สังข์เมฆ
    Mr.Sahaphon Sangmek
    ผู้จัดการใหญ่
    Managing Director

    บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด
    13 อาคาร น.ม.ส. 2 ชั้น 2 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300.
    โทรศัพท์ 0-2669-3243-50, โทรสาร 0-2669-3252
    Saha Life Insurance Co., Ltd.
    13 Naw Maw Saw Bldg., 2nd Floor, Co-operative League of Thailand,
    Pichai Rd., Dusit, Bangkok 10300.
    Tel. 0-2669-3243-50, Fax. 0-2669-3252
    www.sahalife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสัตยา เทพบรรเทิง
    ผู้จัดการทั่วไป – ตัวแทนประกันชีวิต
    นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์
    ผู้จัดการทั่วไป - การตลาดพิเศษ

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์เเนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด
    181 อาคารเอไอทาวเวอร์ ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-8888, โทรสาร 0-2236-6452
    American International Assurance Co., Ltd.
    181 AI Tower, Surawong Rd., Bangrak, Bangkok 10500
    Tel. 0-2634-8888, Fax. 0-2236-6452
    www.aia.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    ดร.ชาติชัย พาราสุข
    Mr. Chartchai Parasuk
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 231 อาคารธนชาตประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2207-4200 โทรสาร 0-2253-8484
    Thanachart Life Assurance Co., Ltd.
    231 Thanachart Life Assurance Building
    Rachadamri Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2207-4200, Fax. 0-2253-8484
    www.thanachartlife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    X................................X

    นายวิศิษฎ์ ตังคนังนุกูล
    Mr. Visidh Tangkanangnukul
    ผู้จัดการทั่วไป
    General Manager

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 36/11, 36/59-62 อาคารพี เอส ทาวเวอร์ ชั้น G และ ชั้น 18
    ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์. 0-2645-8500, โทรสาร. 0-2645-8585
    Thai Cardif Life Assurance Co., Ltd.
    36/11, 36/59-62 PS Tower, G and 18th Floor,
    Sukhumvit 21 Road, North-Klongtoey, Wattana, Bangkok 10110
    Tel. 0-2645-8500, Fax. 0-2645-8585.
    www.thaicardif.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายเยิน ฮี คัง
    Mr.Yeon Hee Kang
    ประธานบริหาร
    President

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด
    2922/240-241 ชั้น 15 อาคารชาญอิสระ 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320.
    โทรศัพท์ 0-2308-2245-52, โทรสาร 0-2308-2269
    Siam Samsung Life Insurance Co., Ltd.
    2922/240-241 Charnissara Tower 2, 15th Floor, New Petchburi Rd., Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2308-2245-52, Fax. 0-2308-2269
    www.siamsamsung.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายไมเคิล จอร์จ แพล๊กซ์ตัน์
    Mr. Michael George Plaxton
    ประธานกรรมการบริหาร
    Chief Executive Officer

    บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
    2034/136, 138-143 อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ชั้น 27, 32-33
    ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310.
    โทรศัพท์ 0-2723-4000, โทรสาร 0-2723-4032
    Krungthai-AXA Life Assurance Co., Ltd.
    2034/136, 138-143 Italthai Tower, 32-33 Floor
    New Petchburi Rd., Bangkrapi Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2723-4000, Fax. 0-2723-4032
    www.krungthai-axa.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ( คนขวา )
    Mr. Suwit Wachara-Ampaiwan
    รักษาการกรรมการผู้จัดการ
    (on behalf of) Managing Director

    บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด
    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร
    ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2616-2324, โทรสาร 0-2616-2343
    Siam City Life Assurance Co., Ltd.
    169 Siam City Bank Suthisan Branch Bldg., Suthisan Road,
    Samsennai, Payathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2616-2324, Fax. 0-2616-2343
    www.scilife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายฮิโรชิ ทาเทอิชิ
    Mr.Hiroshi Tateishi
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
    โทรศัพท์ 0-2670-1400, โทรสาร 0-2670-1401-11
    Tokio Marine Life Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    195 Empire Tower Building 26th Floor, Sout Satorn Road, Yannawa Sathorn Bangkok 10120.
    Tel. 0-2670-1400, Fax. 0-2670-1401-11
    www.tokiomarinelife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายราเจช เสฐฐี
    Mr. Rajesh Sethi
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Chief Executive Officer

    บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด
    130-132 อาคารสินธรทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2263-3900, โทรสาร 0-2263-3899
    ING Life Limited.
    130-132 Sindtorn Tower 3, 29th Floor, Wireless Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2263-3900, Fax. 0-2263-3899
    www.inglife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายคีธ แอนดรูว์ บรูคส์
    Mr.Keith Brooks
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Country Manager/Chief Executive Officer

    บริษัท เจนเนอราลี ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด
    ชั้น 16 ยูนิต 1602-1605 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส
    87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2685-3828, โทรสาร 0-2685-3829
    Generali Life Assurance (Thailand) Co., Ltd.
    16th Floor, Unit 1603-1605, CRC Tower, All Seasons Places,
    87/2 Wireless Road, Lumpini, Patumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2685-3828, Fax. 0-2685-3829
    www.generali.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์ ( คนซ้ายมือ )
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด
    เลขที่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2615-6800, โทรสาร 0-2675-3818
    Ace Life Assurance Co., Ltd.
    130-132 Sindhorn Building, Tower I, 11th-12th Floor
    Wireless Road, Lumpini Pathumwan Bangkok 10330
    Tel. 0-2675-3800, Fax. 0-2675-3818
    www.acelife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    ดร. ชวิน เอี่ยมโสภณา
    Dr.Chavin Iamsapana
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด
    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-7323-30, โทรสาร 0-2634-7331
    BUI Life Insurance Co., Ltd.
    177/1 Surawong Rd. Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2634-7323-30, Fax. 0-2634-7331
    www.builife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด
    อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2648-3600, โทรสาร 0-2648-3555
    Advance Life Assurance Co., Ltd.
    Ploenchit Center, 2nd Floor, 2 Sukhumvit Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2648-3600, Fax. 0-2648-3555
    www.alife.co.th

    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    นาย อนิรุตติ์  ฤกษ์นาวี   52127312056  การเงินการะนาคาร 02  มรภ.สส

      บริษัทประกันภัย 

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

     

    25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

    http://www.bki.co.th

     

     

     

     

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

     

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.kpi.co.th

     

     

     

     

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

     

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวางกรุงเทพฯ 10310

     

    www.rvp.co.th

     

     

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

     

    http://www.kamolinsurance.com

     

     

     

     

    บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์

     

    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

     

    http://www.qbe.co.th

     

     

     

     

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

     

    http://thailand.kurnia.com

     

     

     

     

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     

     อาคารจรัญประกันภัย เลขที่ 401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

     

    http://www.charaninsurance.com

     

     

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

     

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

     

    ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.generalithailand.com

     

     

     

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

     

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    http://www.cpyins.com

     

     

     

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.chubb.com

     

     

     

     

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

     

    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

     

     

     

    บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

     

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.cigna.co.th/

     

     

     

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

     

    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.dhipaya.co.th

     

     

     

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

     

    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

     

    http://www.deves.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์

     

    34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thaiins.com

     

     

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    http://www.thaihealth.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

     

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน

     

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

     

    http://www.thaipat.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    (ชื่อเดิม : บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ

     

     2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

     

    http://www.scsmg.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thaire.co.th

     

     

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

     

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ

     

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

     

    http://www.thaisri.com

     

    บริษัทประกันชีวิต 

     

     

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

     

     

    ประธานกรรมการ  นายบินายัค ดัตตา

     

    ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

     

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด 

     

     

    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท

     

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

     

     

     

     

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์

     

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

     

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ คุณชาญ วรรธนะกุล

     

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     

     

     

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

     

     170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

     

     

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายสาระ ล่ำซำ

     

    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     

     

     

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์ 

     

    123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

     

     

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ  คุณสุนทร บุญสาย

     

    388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ  วิลฟ์ แบล็คเบิร์น 

     

    อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายโดนอลด์ คาร์ดีน

     

    1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     

     

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายคีธ บรูคส์

     

    อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

     

     ประธานกรรมการ นายราเจช เสฐฐี

     

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

     

    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     

     

     

     

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ

     

    87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ  คุณเยิน ฮี คัง   

     

    2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     

     

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

     

     

    ประธานกรรมการ  นายมงคล ลีลาธรรม 

     

    121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

     

     

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

     

    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

     

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     

     223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822

     

     

     

     

     

    บริษัท สหประกันชีวิต จํากัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายสหพล สังข์เมฆ 

     

    411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

     

     

     

     

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด

     

    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่  นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์

     

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายบรูส ฮ็อดเจส

     

    364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

     

     

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการ นายเชาว์พันธุ์ พันธ์ทอง

     

     อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    นายปลา  คินไธสง

    52127312030

    การเงินการธนาคาร (01)

    นางสาวกานดา นิ่มนวล

    1. บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    นายชาญ วรรธนะกุล

     

    2. บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    87 แคปปิตอล ทาวเวอร์ ชั้น 24, 25 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    มร.บิมาล บาลาซิงกัม

    3.ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต

    อาคารอาร์เอสทาวฯ ชั้น31 121/89 ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10320

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    นาย มงคล ลีลาธรรม

     

    4. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    นายไชย ไชยวรรณ

    5. บริษัทไทยพาณิชย์ นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต  จำกัด (มหาชน)

    1060 ดินแดง ตัดใหม่ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    นายโดนอลด์ คาร์ดีน

    6. บริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    เลขที่ 170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    7. บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด

    เลขที่ 231 อาคารธนชาตประกันชีวิต ถนนราชดำริห์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม 10330

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ

    8. บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต  จำกัด

    175-177 ถ.สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    ประธานกรรมการ

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 

    9.ประะกันชีวิตนครหลวงไทย(เดิมบจ.แมกซ์)

    เลขที 169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     นางจันทรจรัส บุญคุณ

    10.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย)

    ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตา

     

    12.ฟินันซ่าประกันชีวิต

    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    ประธานคณะกรรมการ

    นางสาวสุภา   ปิยะจิตติ

    13.โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย)

    อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 40 ห้อง 4010-4011 195 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    กรรมการผู้จัดการ

    โย อิจิ ทามากาคิ 

    14.เมืองไทยประกันชีวิต

    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    ประธานกรรมการ

    นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ

    15.แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย)

    364/30 ถนนศรีอยุธยา(ใกล้แยกมักกะสัน) เขต ราชเทวี จังหวัด กรุงเทพฯ 10400 จ.กรุงเทพมหานคร 10400

    ประธานกรรมการ

    คุณคริสโตเฟอร์ เตียว

    16.สยามซัมซุง ประกันชีวิต

    อาคารชาญอิสระ 2 ชั้น 15 2922/222-227 ดินแดง ตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    ประธานกรรมการ  คุณเยิน ฮี คัง 

     

    17.สยามประกันชีวิต

    75/72-73 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    กรรมการผู้จัดการ

    นางรัชนี เองปัญญาเลิศ
    18.สหประกันชีวิต
    นายอุดมศักดิ์ โสดารักษ์

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933 เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ชุติพล สิงหะสุริยะ
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690
    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -


    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ : [email protected]
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ : [email protected]

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info [email protected]
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ : [email protected]


    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300, 0-2236-1211
    เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ อีเมล์ : [email protected]

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : [email protected]-

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อีเมล์ :[email protected]
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แนชชั่นแนล ทาวเวอร์ ชั้น G ถนนมหิดล เชียงใหม่ 50200
    โทร : (053) 809-555 ต่อ 1111  แฟกซ์ : (053) 809-538
    เว็บไซต์ : http://www.aia.co.th/  อีเมล์ : -

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President


    313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2638-9000  แฟกซ์ : 0-2638-9050
    เว็บไซต์ : http://www.allianzcp.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ
    315 ชั้น G - ชั้น 3 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2631-1331, 0-2267-7777  แฟกซ์ : 0-2237-7409
    เว็บไซต์ :http://www.seic.co.th  อีเมล์ :[email protected]

    364/29 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2247-9261-75  แฟกซ์ : 0-2247-9260, 0-2246-5030
    เว็บไซต์ : http://www.indara.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    เลขที่ 399 อาคารอินเตอร์เชนจ 21 ชั้น 25-30 ถนนสุขุมวิท
    แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
    โทร :ศัพท์ 0-2611-4040 โทร :สาร 0-2611-4310
    เว็บไซต์ : http://www.acethai.com/  อีเมล์ : [email protected]
    เอเชียประกันภัยลงนาม MOU ร่วมกับสมาคมอู่กลาง
    นายนิค จันทรวิทุร กรรมการผู้จัดการ
    183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 12 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-9977  แฟกซ์ : 0-2250-5277
    เว็บไซต์ : http://www.aii.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ
    908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2318-8318, 0-2319-1199  แฟกซ์ : 0-2318-8550, 0-2319-1166
    เว็บไซต์ : http://www.msig-thai.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายไพโรจน์ จิรชนานนท์
    292 ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2224-0056, 0-2224-4727 - 36  แฟกซ์ : 0-2221-1390
    http://www.erawanins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ
    181/19 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2634-8888  แฟกซ์ : 0-2236-6489
    เว็บไซต์ : http://www.aiggeneral.co.th อีเมล์ : -

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected].

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]

    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690
    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]

     
    บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด

    บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -

    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด

    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด
    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด

    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด

    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด
    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด
    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด

    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]

    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด

    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด
    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -

    บริษัท พุทธธรรรมประกันภัย จำกัด

    บริษัท พุทธธรรรมประกันภัย จำกัด
    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -

    บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด

    บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด
    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

    บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย
    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด

    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด

    บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด
    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info [email protected]

    บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด

    บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซ

    บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด

    บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด
    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : - : http://www.ayud.co.th/  

    อีเมล์ : [email protected]

     

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -

    บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด

    บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด
    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300, 0-2236-1211
    เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด

    บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด
    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด

    บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด
    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

    บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด
    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อีเมล์ :[email protected]

    บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด

    บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั้นแนลแอสชัวรันซ์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั้นแนลแอสชัวรันซ์ จำกัด (ประกันวินาศภัย) สาขาประเทศไทย
    2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แนชชั่นแนล ทาวเวอร์ ชั้น G ถนนมหิดล เชียงใหม่ 50200
    โทร : (053) 809-555 ต่อ 1111  แฟกซ์ : (053) 809-538
    เว็บไซต์ : http://www.aia.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันภัย จำกัด

    บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันภัย จำกัด
    313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2638-9000  แฟกซ์ : 0-2638-9050
    เว็บไซต์ : http://www.allianzcp.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด

    บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด
    315 ชั้น G - ชั้น 3 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2631-1331, 0-2267-7777  แฟกซ์ : 0-2237-7409
    เว็บไซต์ :http://www.seic.co.th  อีเมล์ :[email protected]

    บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    364/29 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2247-9261-75  แฟกซ์ : 0-2247-9260, 0-2246-5030
    เว็บไซต์ : http://www.indara.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เอซ ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันซ์ จำกัด

    บริษัท เอซ ไอเอ็นเอ โอเวอร์ซีส์ อินชัวรันซ์ จำกัด
    เลขที่ 399 อาคารอินเตอร์เชนจ 21 ชั้น 25-30 ถนนสุขุมวิท
    แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
    โทร :ศัพท์ 0-2611-4040 โทร :สาร 0-2611-4310
    เว็บไซต์ : http://www.acethai.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด

    บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด
    183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 12 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-9977  แฟกซ์ : 0-2250-5277
    เว็บไซต์ : http://www.aii.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2318-8318, 0-2319-1199  แฟกซ์ : 0-2318-8550, 0-2319-1166
    เว็บไซต์ : http://www.msig-thai.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด

    บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด
    292 ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2224-0056, 0-2224-4727 - 36  แฟกซ์ : 0-2221-1390
    http://www.erawanins.com/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    181/19 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2634-8888  แฟกซ์ : 0-2236-6489
    เว็บไซต์ : http://www.aiggeneral.co.th อีเมล์ : -

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    1168/67 ชั้น 23 ซี อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2679-7600  แฟกซ์ : 0-2285-6383
    เว็บไซต์ :http://www.axa.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท เอ.พี.เอฟ. อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    บริษัท เอ.พี.เอฟ. อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด
    9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร : 0-2620-6200 แฟกซ์ : 0-2620-6295
    เว็บไซต์ : http://www.apfins.com อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด

    บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด
    2 อาคารจัสมินซิตี้ ชั้นที่ 14-15,17 ซ.สุขุมวิท 23(ประสานมิตร) ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-6000  แฟกซ์ : 0-2665-2728
    เว็บไซต์ :http://www.lmginsurance.co.th/  อีเมล์ :[email protected]

    บริษัท โอสถสภาประกันภัย จำกัด

    บริษัท โอสถสภาประกันภัย จำกัด
    615 อาคารจิตต์อุทัย ชั้น 3 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2732-3671 - 4  แฟกซ์ : 0-2374-4070
    เว็บไซต์ : http://www.osi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    1550 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2207-0266 - 85  แฟกซ์ : 0-2207-0575
    เว็บไซต์ : http://www.nzi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด

    บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด
    25 อาคารกรุงเทพประกันภัย / YWCA ชั้น 22 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2677-3999, 0-2620-8000  
    แฟกซ์ : 0-2677-3978-79
    เว็บไซต์ : http://www.aioibkkins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    นาย อนิรุตติ์  ฤกษ์นาวี 52127312056  การเงินการธนาคาร 02 มรภ .สส

    นางสาวกานดา นิ่มนวล

     

    ต่อจากด้านบนนะคะมันอัพไม่ครบค่ะ

    18.สหประกันชีวิต
    13 อาคาร น.ม.ส. 2 ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
    กรรมการผู้จัดการ
    นายสหพล สังข์เมฆ
    19.อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์
    302 อาคารเจ้าพระยา 7 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    กรรมการผู้จัดการ
    นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์
    20. อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต

    ชั้น 1 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์898 ถนนเพลินจิต กรุงเทพ 10330

    กรรมการผู้จัดการ

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น

    21. อาคเนย์ประกันชีวิต

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    กรรมการผู้จัดการ

    นายชาติชัย พาราสุข

    22.เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์

    69 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ชั้น 3-6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400

    กรรมการผู้จัดการ

    นายเกลน เดวิดสัน

    (คนกลาง)

    23. แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์

    อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

    กรรมการผู้จัดการ

    นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง

    24.ไอเอ็นจี ประกันชีวิต

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 16 และ ชั้น 29 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    กรรมการผู้จัดการ

    นายราเจช เสฐฐี

    25. บมจ. มิลเลียไลฟ์ อินชัวรันส์ (ประเทศไทย)

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    กรรมการผู้จัดการ

    มร. ฮิโรชิ ทาเทอิชิ

    26. บจ. เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

    87/2 ยูนิต 1603-5 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส ชั้น 16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    กรรมการผู้จัดการ

    นายคีธ บรูคส์

    27. บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

     

     223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.

    กรรมการผู้อำนวยการ 

    นายสุรชัย ศิริวัลลภ


    28. บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด


    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

    กรรมการผู้จัดการ

    สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์

    29. บริษัท ไทยศรีประกันภัย

    ต่อค่ะ

    29. บริษัท ไทยศรีประกันภัย

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600จำกัดกรรมการผู้จัดการ

    นายชาติชาย พานิชชีวะ

    30. บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม.10110

    กรรมการผู้จัดการ 

    นายไพศาล คุนผลิน

     

    นางสาวกานดา นิ่มนวล

    การเงิน 02 รหัส 52127312042

    นายอุดมศักดิ์ โสดารักษ์

    ส่งใหม่

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933 เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ชุติพล สิงหะสุริยะ
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690
    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -


    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ : [email protected]
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ : [email protected]

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info [email protected]
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ : [email protected]


    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300, 0-2236-1211
    เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ อีเมล์ : [email protected]

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : [email protected]-

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อีเมล์ :[email protected]
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แนชชั่นแนล ทาวเวอร์ ชั้น G ถนนมหิดล เชียงใหม่ 50200
    โทร : (053) 809-555 ต่อ 1111  แฟกซ์ : (053) 809-538
    เว็บไซต์ : http://www.aia.co.th/  อีเมล์ : -

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President


    313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2638-9000  แฟกซ์ : 0-2638-9050
    เว็บไซต์ : http://www.allianzcp.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ
    315 ชั้น G - ชั้น 3 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2631-1331, 0-2267-7777  แฟกซ์ : 0-2237-7409
    เว็บไซต์ :http://www.seic.co.th  อีเมล์ :[email protected]

    364/29 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2247-9261-75  แฟกซ์ : 0-2247-9260, 0-2246-5030
    เว็บไซต์ : http://www.indara.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    เลขที่ 399 อาคารอินเตอร์เชนจ 21 ชั้น 25-30 ถนนสุขุมวิท
    แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
    โทร :ศัพท์ 0-2611-4040 โทร :สาร 0-2611-4310
    เว็บไซต์ : http://www.acethai.com/  อีเมล์ : [email protected]
    เอเชียประกันภัยลงนาม MOU ร่วมกับสมาคมอู่กลาง
    นายนิค จันทรวิทุร กรรมการผู้จัดการ
    183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 12 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-9977  แฟกซ์ : 0-2250-5277
    เว็บไซต์ : http://www.aii.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ
    908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2318-8318, 0-2319-1199  แฟกซ์ : 0-2318-8550, 0-2319-1166
    เว็บไซต์ : http://www.msig-thai.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายไพโรจน์ จิรชนานนท์
    292 ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2224-0056, 0-2224-4727 - 36  แฟกซ์ : 0-2221-1390
    http://www.erawanins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ
    181/19 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2634-8888  แฟกซ์ : 0-2236-6489
    เว็บไซต์ : http://www.aiggeneral.co.th อีเมล์ : -
    นางสาวสุปราณี วันดี

    บริษัทประกันภัย

    LOGO

    กรรมการผู้จัดการ

    สำนักงานใหญ่

    เว็บไซต์

                  

    บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จำกัด 

     

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    ประธานกรรมการ

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ชั้น G, 1-3 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

    http://www.seic.co.th

                   

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย) สาขาประเทศไทย 

    นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ

     

    เอไอเอ ทาวเวอร์  181

    ถ.สุรวงศ์ บางรัก กทม. 10500

     

     

    http://www.aia.co.th/

                   

    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

    นวลพรรณ ล่ำซำ

    กรรมการผู้จัดการ

    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.mtins.com

                  

    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ

    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.mittare.com

                   

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล กรรมการผู้จัดการ

    71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถนน ดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     

    http://www.thaivivat.co.th

              

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล กรรมการผู้จัดการ

    4-4/1 อาคารชโลบล ซอยพระรามเก้า 43 ถนนเสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

     

     

    http://www.phoenix-ins.co.th

                

    บริษัท บูพาประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    นางคาเรน คาร์เตอร์ กรรมการผู้จัดการ

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ คอนแวนต์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ 10500

     

     

    http://www.bupathailand.com

               

    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด

    โยอิจิ ทามากาคิ

    กรรมการผู้จัดการ

    เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

     

    http://www.srimuang.co.th

                 

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายมนัส บินมะฮมุด กรรมการผู้จัดการ

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

     

    http://www.kamolinsurance.com

                 

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    คุณ กีรติ พานิชชีวะ กรรมการผู้จัดการ

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.kpi.co.th

     

               

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    คุณชาญ วรรธนะกุลกรรมการผู้จัดการ

    25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

    http://www.bki.co.th

     

             

    บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นายโรนอลด์ สปาร์คส์

    กรรมการผู้จัดการ

    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

     

     

    http://www.qbe.co.th

     

              

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ

    เลขที่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก
    แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     

    www.rvp.co.th

     

                    

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นายชุติพล สิงหะสุริยะ กรรมการผู้จัดการ

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

     

    http://thailand.kurnia.com

     

                    

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นาย ธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

    กรรมการผู้จัดการ

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    http://www.cpyins.com

     

                  

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายสุกิจ จรัญวาศน์ กรรมการผู้จัดการ

    อาคารจรัญประกันภัย เลขที่ 401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    http://www.charaninsurance.com

                    

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

    ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.chubb.com

     

                 

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

    นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

    กรรมการผู้จัดการ

     

    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

    -

         

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ

    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.dhipaya.co.th

     

          

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นางสาวพณิตา ตู้จินดา กรรมการผู้จัดการ

    34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

    http://www.thaiins.com

     

                 

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    นายไพศาล คุนผลินกรรมการผู้อำนวยการ

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

     

    http://www.thaipat.co.th

     

                       

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

    นายสุรชัย ศิริวัลลภกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thaire.co.th

     

              

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    คุณวรางค์ เสรฐภักดี

    ประธานกรรมการ

     

    121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    http://www.thaihealth.co.th

               

    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ร้อยเอกวิธูร วิสุทธิผล กรรมการผู้จัดการ

    160 อาคารไทยเศรษฐกิจ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    http://www.tsi.co.th

                

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    นที พานิชชีวะ

    กรรมการผู้จัดการ

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

     

    http://www.thaisri.com

     

                    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท คอมไบด์ อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด

    นางวิไล ตปนียยางกูร กรรมการผู้จัดการ

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ข.ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

    http://www.combined.co.th

                   

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    ประธานกรรมการ

    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

     

     

    http://www.deves.co.th

     

               

    บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์

    ประธานกรรมการ

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.cigna.co.th/

     

            

    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร

    ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1
    อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ
    แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500

     

    http://www.navakij.co.th

     

                     

    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด

    นาย สุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ

    กรรมการผู้จัดการ

    900/11-1336 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

     

    http://www.thanasin.co.th

                     

    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นาย สมบุญ ฟูศรีบุญ ประธานกรรมการ

    เลขที่ 767 ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

     

    http://www.namsengins.co.th

     

                

    บริษัท เอ ไอ จี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ ประเทศไทย

    นายแอนดริว วอง ประธานกรรมการ

    181/19 ถนนสุรวงศ์ ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

     

    http://www.aiggeneral.co.th

     

                

    บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์

    ประธานกรรมการ

    ชั้น 10 อาคารกลาสเฮาส์ เลขที่ 1 สุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     

    http://www.thanachartinsurance.co.th

                  

    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด

    นางสาวสุปราณี วันดี

    บริษัทประกันชึวิต

    LOGO

    กรรมการผู้จัดการ

    สำนักงานใหญ่

    เว็บไซต์

              

    บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด 

     

    บิมาล บาลาซิงกัม กรรมการผู้จัดการ

    87/1 แคปปิตอล ทาวเวอร์ ชั้น 24-25 ออลซีซั่นส์ เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

            

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายชาญ วรรธนะกุล กรรมการผู้จัดการ

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว 21 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     

    http://www.bla.co.th

     

                    

    บริษัท บางกอก สหประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีกรรมการผู้จัดการ

    177/1 อาคารบางกอกสหประกันภัย ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    http://www.builife.com

     

                  

    บริษัท โตเกียวมารีน ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

     

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

    ชั้นที่ 26 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนน สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

     

    http://www.tokiomarinelife.co.th/

     

               

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายมนตรี แสงอุไรพร กรรมการผู้จัดการ

    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.finansalife.com

     

         

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด 

    นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    http://www.thailife.com

     

           

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด  

     

    นายโดนอลด์ คาร์ดีน กรรมการผู้จัดการ

    1060 อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

    http://www.scnyl.com

     

             

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ

    31/11,36/59-62 อาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น G และชั้น 18 ถนนสุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

     

    http://www.thaicardif.com

     

                    

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด 

     

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ

    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ชั้น 24-28 ถนนรัชดาภิเษก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

     

    http://www.oli.co.th

     

                     ThaiRe Life Assurance
    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด 

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์ ประธานกรรมการผู้จัดการ

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.thaire.co.th

              

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด 

     

    วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช กรรมการผู้จัดการ

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thanachartlife.co.th

     

            

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด 

     

    นายคีธ บรูคส์

    ประธานกรรมการ

    87/2 ยูนิต 1603-5 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.generalithailand.com

     

                  

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

     

    มร.บินายัค ดัตตา กรรมการผู้จัดการ

    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.prudential.co.th

     

               

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายสาระ ล่ำซำ

    กรรมการผู้จัดการ

    250 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

     

    http://www.muangthai.co.th

     

             

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

    มร.คริสโตเฟอร์ เตียว ผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

    364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

    http://www.manulife.co.th

      

     บริษัท สยามซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายเยิน ฮี คัง  

    กรรมการผู้จัดการ

    2922/222-227 อาคารชาญอิสระ 2 ชั้น 15 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

     

     http://www.siamsamsung.co.th

     

           

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

    75/72-73 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

    http://www.siamlife.co.th

     

                      Saha Life Insurance

    บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายสหพล สังข์เมฆ กรรมการผู้จัดการ

    เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

     

    http://www.ulife.in.th/

     

           

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 

     

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น

     กรรมการผู้จัดการ

    898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น6 โซนเอ,ชั้น16-18 ถนนเพลินจิต ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.aacp.co.th

             

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (Thailand) 

     

    สุนีย์ วิทยะวาณิชกุล กรรมการผู้จัดการ

    181 ถนนสุรวงศ์ ข.บางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.aia.co.th/

          

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด 

     

    นายสิริ เสนาจักร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ชั้น 3-6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400

     

     

    http://www.acelife.co.th

           

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    315 ถนนสีลม ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.southeastlife.com

     

                 

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด 

     

    นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง

    กรรมการผู้จัดการ

    2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

     

    http://www.alife.co.th

          

    บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายราเจช เสฐฐี

    กรรมการผู้จัดการ

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 16 และ ชั้น 29 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.inglife.co.th

     

           

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด 

     

    คุณจันทรจรัส บุญคุณ กรรมการผู้จัดการ

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

     

    www.scilife.co.th 

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    นางสาวสุปราณี   วันดี 

    รหัส 52127312023

    บริหารธุรกิจ(การเงินการธนาคาร) ปี 2

    นายอุดมศักดิ์ โสดารักษ์
    บริษัทประกันภัย( ต่อ )
    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ
    1168/67 ชั้น 23 ซี อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2679-7600  แฟกซ์ : 0-2285-6383
    เว็บไซต์ :http://www.axa.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร : 0-2620-6200 แฟกซ์ : 0-2620-6295
    เว็บไซต์ : http://www.apfins.com อีเมล์ : [email protected]

    2 อาคารจัสมินซิตี้ ชั้นที่ 14-15,17 ซ.สุขุมวิท 23(ประสานมิตร) ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-6000  แฟกซ์ : 0-2665-2728
    เว็บไซต์ :http://www.lmginsurance.co.th/  อีเมล์ :[email protected]

    615 อาคารจิตต์อุทัย ชั้น 3 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2732-3671 - 4  แฟกซ์ : 0-2374-4070
    เว็บไซต์ : http://www.osi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายคริส ดูลี่ย์ (กลางขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    1550 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2207-0266 - 85  แฟกซ์ : 0-2207-0575
    เว็บไซต์ : http://www.nzi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    25 อาคารกรุงเทพประกันภัย / YWCA ชั้น 22 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2677-3999, 0-2620-8000  
    แฟกซ์ : 0-2677-3978-79
    เว็บไซต์ : http://www.aioibkkins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายอุดมศักดิ์ โสดารักษ์
    การเงินการธนาคาร 02
    52127312061
    นายอุดมศักดิ์ โสดารักษ์
    บริษัทประกันชีวิต

     

     

     

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด

    Bangkok Life Assurance

    ประธานกรรมการ คุณชาญ วรรธนะกุล

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว 21 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    โทร :

     

    0-2203-0055, 0-2641-5599

    แฟกซ์ :

     

    0-2203-0044, 0-2641-5566

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.bla.co.th

     

     

    บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    Krungthai-Axa Life Insurance

    ประธานกรรมการ นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    87/1 แคปปิตอล ทาวเวอร์ ชั้น 24-25 ออลซีซั่นส์ เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    โทร :

     

    0-723-4000

    แฟกซ์ :

     

    0-2723-4032-33

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.krungthai-axa.co.th

     

     

     

     

     

    บริษัท บางกอก สหประกันชีวิต จำกัด

    BUI Life Insurance

    ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    177/1 อาคารบางกอกสหประกันภัย ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    โทร :

     

    0-2634-7323-30

    แฟกซ์ :

     

    0-2634-7331

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.builife.com

     

     

     

     

     

    บริษัท โตเกียวมารีน ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    Millea Life Insurance

    นายฮิโรชิ ทาเทอิชิ

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    ชั้นที่ 26 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนน สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    โทร :

     

    02-670-1400

    แฟกซ์ :

     

    0-2670-1401

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.tokiomarinelife.co.th/

     

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    Thai Life Insurance

    ประธานกรรมการ นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร :

     

    0-2247-0247

    แฟกซ์ :

     

    0-2249-9946

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.thailife.com

     

     

     

     

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    Finansa Life Assurance

    ประธานกรรมการ  คุณสุนทร บุญสาย

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร :

     

    0-2632-5000

    แฟกซ์ :

     

    0-2632-5500

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.finansalife.com

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด .

    Siam Commercial New York Life Insurance

    ประธานกรรมการ นายโดนอลด์ คาร์ดีน

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    1060 อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร :

     

    0-2655-3000

    แฟกซ์ :

     

    0-2256-1666

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.scnyl.com

     

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด

    Thai Cardif Life Assurance

    ประธานกรรมการ  นายมงคล ลีลาธรรม

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    31/11,36/59-62 อาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น G และชั้น 18 ถนนสุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

    โทร :

     

    0-2645-8500

    แฟกซ์ :

     

    0-2645-8585

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.thaicardif.com

     

     

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

    ThaiRe Life Assurance

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร :

     

    0-2256-6822

    แฟกซ์ :

     

    0-2256-6565

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.thaire.co.th

     

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    Ocean Life Insurance

    ประธานกรรมการ    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ชั้น 24-28 ถนนรัชดาภิเษก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร :

     

    0-2261-2300

    แฟกซ์ :

     

    0-2261-3344

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.oli.co.th

     

     

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด

    Thanachart Life Assurance

    จำกัด ดร.ชาติชัย พาราสุข

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    โทร :

     

    0-2256-6822

    แฟกซ์ :

     

    0-2256-6565

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.thanachartlife.co.th

     

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    Ayudhya Allianz C.P. Life

    ประธานกรรมการ  วิลฟ์ แบล็คเบิร์น 

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น6 โซนเอ,ชั้น16-18 ถนนเพลินจิต ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร :

     

    0-2305-7000

    แฟกซ์ :

     

    0-2263-0313

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.aacp.co.th

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    Generali Life Assurance

    ประธานกรรมการ นายคีธ บรูคส์

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    87/2 ยูนิต 1603-5 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร :

     

    0-2685-3828

    แฟกซ์ :

     

    0-2685-3829

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.generalithailand.com

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    Prudential TSLife Assurance

    นายบินายัค ดัตตา

    สำนักงานใหญ่

    ทีอยู่ :

     

    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร :

     

    0-2639-9500

    แฟกซ์ :

     

    0-2639-9699, 0-2639-9700

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.prudential.co.th

     

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    Muang Thai Life Assurance

    ประธานกรรมการ นายสาระ ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    250 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร :

     

    0-2276-1025, 0-2274-9400

    แฟกซ์ :

     

    0-2276-1997-8

    อีเมล์ :

     

    -

         

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.muangthai.co.th

     

     

     

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด  

    Ace Ina Overseas Insurance

    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่  นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ชั้น 3-6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400

    โทร :

     

    0-2615-6860

    แฟกซ์ :

     

    0-2615-6878

    อีเมล์ :

     

    -

     

     

    http://www.acelife.co.th

     

     

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     

    Manulife Insurance

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายบรูส ฮ็อดเจส

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร :

     

    0-2245-2491-7, 0-2246-7650-99

    แฟกซ์ :

     

    0-2248-5391

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.manulife.co.th

     

     

    บริษัท สยามซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด

    Siam Samsung Life Assurance

    ประธานกรรมการ  คุณเยิน ฮี คัง 

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    2922/222-227 อาคารชาญอิสระ 2 ชั้น 15 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    โทร :

     

    0-2308-2245

    แฟกซ์ :

     

    0-2308-2269

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.siamsamsung.co.th

     

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    Siam Life Insurance

    นางรัชนี เองปัญญาเลิศ
    Mrs.Rashanee Engpanyalert
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    75/72-73 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร :

     

    0-2260-5536-43

    แฟกซ์ :

     

    0-2260-5561

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.siamlife.co.th

     

     

    บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด

    Saha Life Insurance

    ประธานกรรมการ นายสหพล สังข์เมฆ 

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    โทร :

     

    02-731-7799

    แฟกซ์ :

     

    02-731-7727,02-731-7728

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.ulife.in.th/

    บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด

    ING Life Limited

    ประธานกรรมการ นายราเจช เสฐฐี

    สำนักงานใหญ่

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 16 และ ชั้น 29 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร. 0-2263-3900, 0-2650-9889
    โทรสาร. 0-2263-3899

     

     

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (Thailand)

    American International Assurance.

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    181 ถนนสุรวงศ์ ข.บางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร :

     

    0-2634-8888

    แฟกซ์ :

     

    0-2236-6452

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.aia.co.th/

     

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

    The SouthEast Life Insurance

    ประธานกรรมการ นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    315 ถนนสีลม ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร :

     

    0-2631-1331

    แฟกซ์ :

     

    0-2236-7614

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.southeastlife.com

     

     

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด

    Advance Life Assurance

    กรรมการผู้จัดการ นายเชาว์พันธุ์ พันธ์ทอง

    สำนักงานใหญ่

    ที่อยู่ :

     

    2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

    โทร :

     

    0-2648-3600

    แฟกซ์ :

     

    0-2648-5555

    อีเมล์ :

     

    -

    เว็บไซต์ :

     

    http://www.alife.co.th

     

     

    นายอุดมศักดิ์  โสดารักษ์

    การเงินการธนาคาร 02

    52127312061

    1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี

    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

     นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสาร

    วินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

      3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา

     เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

     คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย

     กรุงเทพฯ 10110

     คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ

     แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี

    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605

    87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี

    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก

     กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19

    แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ

     ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่

    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง

    เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

     สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์

    แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 ...

     นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

     

    1.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20

     ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     2.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี

     เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

    3.บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง

    เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

    4.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้

    เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ...

     นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย

    ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรักกรุงเทพมหานคร 10500

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

     6.บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

     นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

    7.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

    7.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1

    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

     8.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40

    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ

    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67

    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    11.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

     นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์

    เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12

    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต

    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

     วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

    15.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม

    เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

     กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

     

    16.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์

    ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

     

    17.บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง

    จ.เชียงใหม่ 50200  ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

     

    18.บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน

    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

     

    19.บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์

    เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี  เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     นายสุภัค ศิวะรักษ์  ประธานกรรมการ

     

    20.บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด (เฉพาะบัตรโลโก้ TPA)

     สำนักงานใหญ่  44 ชั้น 23-24 ซ.หลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี

    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายสุภัค ศิวะรักษ์ ประธานกรรมการ

     

     21.บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่  313 ซี.พี. ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก

    กรุงเทพฯ 10500

     นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานกรรมการ

     

    22.บริษัท นิวแฮมเชอร์ อินชัวรันส์ บริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย

    (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 21-23 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม 1

    แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ

     

    23.บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    อาคารอาคเนย์ประกันภัย เลขที่ 315 ถนนสีลม แขวงสีลม

    เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ

     

    24.บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารคิวเฮ้าส์ คอนแวนต์ ชั้น 9 เลขที่ 38 ถนนคอนแวนต์

    สีลม กรุงเทพฯ 10500

     นายแอนดริว วอง ประธานกรรมการ

     

    25.บริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 1908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

     นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ

     

    26.บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล (อาคาร เอ.ไอ.ทาวเวอร์ / อาคาร

     เอ.ไอ.บี.) 181 ถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ

     

    27.บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก

    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     คุณวรางค์ เสรฐภักดี  ประธานกรรมการ

     

    28.บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่26/5-6 อาคารอรกานต์ ถนนชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน

    กรุงเทพฯ 10330

    คุณสุธีชัย สันติวราคม  ประธานกรรมการ

     

    29.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ อาคารกรุงเทพประกันภัย 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ

    เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ

     

    นางสาวรัดเกล้า  ทองคำ รหัส 52127312025 สาขาการเงินการธนาคาร 01

     

     

     

     

     

     

     

     

    1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี

    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

     นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสาร

    วินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

      3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา

     เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

     คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย

     กรุงเทพฯ 10110

     คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ

     แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี

    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605

    87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี

    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก

     กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19

    แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ

     ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่

    แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง

    เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

     สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์

    แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 ...

     นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

     

    1.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20

     ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     2.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี

     เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

    3.บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง

    เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

    4.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้

    เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ...

     นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย

    ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรักกรุงเทพมหานคร 10500

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

     6.บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

     นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

    7.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

    7.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1

    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

     8.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40

    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ

    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67

    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    11.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

     นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์

    เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12

    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต

    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

     วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

    15.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม

    เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

     กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

     

    16.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์

    ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

     

    17.บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง

    จ.เชียงใหม่ 50200  ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

     

    18.บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน

    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

     

    19.บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์

    เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี  เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     นายสุภัค ศิวะรักษ์  ประธานกรรมการ

     

    20.บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด (เฉพาะบัตรโลโก้ TPA)

     สำนักงานใหญ่  44 ชั้น 23-24 ซ.หลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี

    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายสุภัค ศิวะรักษ์ ประธานกรรมการ

     

     21.บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่  313 ซี.พี. ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก

    กรุงเทพฯ 10500

     นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานกรรมการ

     

    22.บริษัท นิวแฮมเชอร์ อินชัวรันส์ บริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย

    (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 21-23 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม 1

    แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ

     

    23.บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    อาคารอาคเนย์ประกันภัย เลขที่ 315 ถนนสีลม แขวงสีลม

    เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ

     

    24.บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารคิวเฮ้าส์ คอนแวนต์ ชั้น 9 เลขที่ 38 ถนนคอนแวนต์

    สีลม กรุงเทพฯ 10500

     นายแอนดริว วอง ประธานกรรมการ

     

    25.บริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 1908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

     นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ

     

    26.บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล (อาคาร เอ.ไอ.ทาวเวอร์ / อาคาร

     เอ.ไอ.บี.) 181 ถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ

     

    27.บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก

    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     คุณวรางค์ เสรฐภักดี  ประธานกรรมการ

     

    28.บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่26/5-6 อาคารอรกานต์ ถนนชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน

    กรุงเทพฯ 10330

    คุณสุธีชัย สันติวราคม  ประธานกรรมการ

     

    29.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ อาคารกรุงเทพประกันภัย 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ

    เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ

    นางสาววราภรณ์  พระศรี

    52127312029

    การเงินการธนาคาร

     

     

     

    ขอส่งใหม่อีกครั้งนะค่ะ

     

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

     

    25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

    http://www.bki.co.th

     

     

     

     

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

     

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.kpi.co.th

     

     

     

     

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

     

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวางกรุงเทพฯ 10310

     

    www.rvp.co.th

     

     

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

     

    http://www.kamolinsurance.com

     

     

     

     

    บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์

     

    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

     

    http://www.qbe.co.th

     

     

     

     

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

     

    http://thailand.kurnia.com

     

     

     

     

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     

     อาคารจรัญประกันภัย เลขที่ 401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

     

    http://www.charaninsurance.com

     

     

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

     

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

     

    ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.generalithailand.com

     

     

     

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

     

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    http://www.cpyins.com

     

     

     

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.chubb.com

     

     

     

     

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

     

    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

     

     

     

    บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

     

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.cigna.co.th/

     

     

     

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

     

    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.dhipaya.co.th

     

     

     

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

     

    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

     

    http://www.deves.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์

     

    34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thaiins.com

     

     

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    http://www.thaihealth.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

     

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน

     

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

     

    http://www.thaipat.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    (ชื่อเดิม : บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ

     

     2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

     

    http://www.scsmg.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thaire.co.th

     

     

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

     

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ

     

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

     

    http://www.thaisri.com

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    นางสาววราภรณ์ พระศรี

    52127312029

    การเงินการธนาคาร ปี 2

     

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

     

     

    ประธานกรรมการ  นายบินายัค ดัตตา

     

    ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

     

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด 

     

     

    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท

     

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

     

     

     

     

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์

     

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

     

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ คุณชาญ วรรธนะกุล

     

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     

     

     

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

     

     170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

     

     

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายสาระ ล่ำซำ

     

    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     

     

     

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์ 

     

    123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

     

     

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ  คุณสุนทร บุญสาย

     

    388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ  วิลฟ์ แบล็คเบิร์น 

     

    อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายโดนอลด์ คาร์ดีน

     

    1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     

     

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายคีธ บรูคส์

     

    อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

     

     ประธานกรรมการ นายราเจช เสฐฐี

     

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

     

    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     

     

     

     

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ

     

    87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ  คุณเยิน ฮี คัง   

     

    2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     

     

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

     

     

    ประธานกรรมการ  นายมงคล ลีลาธรรม 

     

    121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

     

     

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

     

    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

     

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     

     223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822

     

     

     

     

     

    บริษัท สหประกันชีวิต จํากัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายสหพล สังข์เมฆ 

     

    411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

     

     

     

     

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด

     

    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่  นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์

     

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

     

     

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายบรูส ฮ็อดเจส

     

    364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

     

     

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการ นายเชาว์พันธุ์ พันธ์ทอง

     

     อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    บริษัทประกันชีวิต

    1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

    คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

                  สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ 

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    2.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     3.บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

    นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     4.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
                        ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
                        กรุงเทพมหานคร 10500

     

    นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

    6.บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

    7.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

    8.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    11.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

    12.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     

    วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

    15.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

    16.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

    17.บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

    18.บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     

    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

    19.บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์
                        เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    นางสาว สาวิตรี  จินดารัตน์

    การเงินการธนาคาร 01

    ID 52127312034

    นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

     บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933 เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

     

    2.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    3.บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

      

     

    4.บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
      
      
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]
      
      
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
      
    ชุติพล สิงหะสุริยะ
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -
      
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
      
      
      
     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690
    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
      
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]
      
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110
     
     
     
     
     
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -
     
     
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -


    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
     
     

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -
     

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -
     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
     
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -

      

     

     

     

     

    41.บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033
     

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
     
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info [email protected]
     
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -
     

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ : [email protected]


    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300, 0-2236-1211
    เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ อีเมล์ : [email protected]
     

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : [email protected]-
     

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อีเมล์ :[email protected]
     
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
     
     
    5
    นางสาว เบญญาภา ศรีนวล 52127312057

        บริษัทประกันภัย

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด

    จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933

    เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
     
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94

    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     
     
    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง
    เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์:
    [email protected]
    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด
     
     
    ชุติพล สิงหะสุริยะ


    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา


    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด
     
     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์


    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ
    แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด

     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์


    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย

    เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  

    แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
    กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
    กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  
    แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน
    กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด
     
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก
    เขตคลองเตย กทม. 10110
     
     ริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ
     เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/ 
     อีเมล์ : -
     
    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1
    อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก
     กทม. 10500 โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด

    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
     

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575,
     0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
    เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -
     
    บริษัท พุทธธรรรมประกันภัย จำกัด

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด
     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
     กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  
    แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
      

     

     

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่     252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
     
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
     
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด
     

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info
    [email protected]
    บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง

     กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด

    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300,
    0-2236-1211เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ 
    อีเมล์ : [email protected]
    บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ :
    [email protected]-
     
    บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
    กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อี
    เมล์ :[email protected]
     
    บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั้นแนลแอสชัวรันซ์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)
    สาขาประเทศไทย

    2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แน
    นางสาววรีรัตน์ แซ่โง้ว

     

    ประกันชีวิตแต่ละบริษัท

    นายไชย ไชยวรรณ
    Mr. Chai Chaiyawan
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
    123 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2247-0247-8, โทรสาร 0-2246-9946-7
    Thai Life Insurance Co., Ltd.
    123 Rachadaphisek Rd., Huaykwang, Bangkok 10400
    Tel. 0-2247-0247-8, Fax. 0-2246-9946-7
    www.thailife.com

     

    นายมนตรี แสงอุไรพร
    Mr.Montri Saeng-Uraiporn
    กรรมการผู้จัดการ
    President

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด
    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์ 0-2632-5000, โทรสาร 0-2632-5500
    Finansa Life Assurance Co.,Ltd.
    2032 FINANSA TOWER New Petchburi Road, Bangkapi, Huaykwang, Bangkok 10310
    Tel. 0-2632-5000, Fax. 0-2632-5500
    www.finansalife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายซี โดนอลด์ คาร์ดีน
    Mr. C. Donald Carden
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President & CEO

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    1060 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2655-3000, โทรสาร 0-2256-1666
    Siam Commercial New York Life Insurance Public Co., Ltd.
    1060 New Petchburi Rd., (SCB Building 1) Rajthevee, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2655-4000, Fax. 0-2256-1666
    www.scnyl.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายบินายัค ดัตตา  ( คนขวา นะจ๊ะ )
    Mr. Binayak Dutta
    กรรมการผู้จัดการ
    Chief Executive Officer

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2352-8000, โทรสาร 0-2639-9635, 0-2639-9700
    Prudential Life Assurance (Thailand) Public Co., Ltd.
    82 Saengthong Thani Bldg. 28, 30-31 Flr., North Sathorn Road, Bangkok, 10500.
    Tel. 0-2352-8000, Fax. 0-2639-9635, 0-2639-9700
    www.prudential.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์
    Mrs. Nusara Banyatpiyaphod
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2261-2300, โทรสาร 0-2261-3344-55
    Ocean Life Insurance Co., Ltd.
    170/74-83 Ocean Tower 1, Rachadaphisek Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2261-2300, Fax. 0-2261-3344-55
    www.ocean.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 2, 6 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2305-7000, โทรสาร 0-2263-0313-4
    Ayudhya Allianz C.P. Life Public Company Limited.
    898 Ploenchit Tower 2nd, 6th Floor, Ploenchit Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2305-7000, Fax. 0-2263-0313-4
    www.aacp.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสาระ ล่ำซำ
    Mr. Sara Lamsam
    กรรมการผู้จัดการ
    President

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    โทรศัพท์ 0-2276-1025-7, โทรสาร 0-2276-1997-8
    Muang Thai Life Assurance Co., Ltd.
    250 Rachadaphisek Road, Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2276-1025-7, Fax. 0-2276-1997-8
    www.muangthai.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นางรัชนี เองปัญญาเลิศ
    Mrs.Rashanee Engpanyalert
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด
    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2260-5536-43, โทรสาร 0-2260-5561
    Siam Life Insurance Co., Ltd.
    75/72-73 Ocean Tower 2, 30th Floor, Sukhumvit 19, Wattana, Bangkok 10110.
    Tel. 0-2260-5536-43, Fax. 0-2260-5561
    www.siamlife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายชาติชัย พาราสุข 
    Mr. Chotiphat Bijananda
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด
    315 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2631-1331, โทรสาร 0-2236-7614
    The Southeast Life Insurance Co., Ltd.
    315 Silom Road, Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2631-1331, Fax. 0-2236-7614
    www.southeastlife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายบรูส ฮ็อดเจส ( คนขวานะจ๊ะ)
    Mr. Bruce Murray Hodges
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    364/30 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2246-7650-99, โทรสาร 0-2248-5391
    Manulife Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    364/30 Sri Ayudhaya Road, Phayathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2246-7650-99, Fax. 0-2248-5391
    www.manulife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    Mr. Surachai Sirivallop
    กรรมการผู้อำนวยการ
    President & CEO

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด
    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822, โทรสาร 0-2256-6565
    Thaire Life assurance Co., Ltd.
    223/1 Soi Ruamruedee, Wireless Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2256-6822, Fax. 0-2256-6565
    www.thaire.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสหพล สังข์เมฆ
    Mr.Sahaphon Sangmek
    ผู้จัดการใหญ่
    Managing Director

    บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด
    13 อาคาร น.ม.ส. 2 ชั้น 2 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300.
    โทรศัพท์ 0-2669-3243-50, โทรสาร 0-2669-3252
    Saha Life Insurance Co., Ltd.
    13 Naw Maw Saw Bldg., 2nd Floor, Co-operative League of Thailand,
    Pichai Rd., Dusit, Bangkok 10300.
    Tel. 0-2669-3243-50, Fax. 0-2669-3252
    www.sahalife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสัตยา เทพบรรเทิง
    ผู้จัดการทั่วไป – ตัวแทนประกันชีวิต
    นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์
    ผู้จัดการทั่วไป - การตลาดพิเศษ

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์เเนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด
    181 อาคารเอไอทาวเวอร์ ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-8888, โทรสาร 0-2236-6452
    American International Assurance Co., Ltd.
    181 AI Tower, Surawong Rd., Bangrak, Bangkok 10500
    Tel. 0-2634-8888, Fax. 0-2236-6452
    www.aia.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    ดร.ชาติชัย พาราสุข
    Mr. Chartchai Parasuk
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 231 อาคารธนชาตประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2207-4200 โทรสาร 0-2253-8484
    Thanachart Life Assurance Co., Ltd.
    231 Thanachart Life Assurance Building
    Rachadamri Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2207-4200, Fax. 0-2253-8484
    www.thanachartlife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายวิศิษฎ์ ตังคนังนุกูล
    Mr. Visidh Tangkanangnukul
    ผู้จัดการทั่วไป
    General Manager

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 36/11, 36/59-62 อาคารพี เอส ทาวเวอร์ ชั้น G และ ชั้น 18
    ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์. 0-2645-8500, โทรสาร. 0-2645-8585
    Thai Cardif Life Assurance Co., Ltd.
    36/11, 36/59-62 PS Tower, G and 18th Floor,
    Sukhumvit 21 Road, North-Klongtoey, Wattana, Bangkok 10110
    Tel. 0-2645-8500, Fax. 0-2645-8585.
    www.thaicardif.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายเยิน ฮี คัง
    Mr.Yeon Hee Kang
    ประธานบริหาร
    President

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด
    2922/240-241 ชั้น 15 อาคารชาญอิสระ 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320.
    โทรศัพท์ 0-2308-2245-52, โทรสาร 0-2308-2269
    Siam Samsung Life Insurance Co., Ltd.
    2922/240-241 Charnissara Tower 2, 15th Floor, New Petchburi Rd., Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2308-2245-52, Fax. 0-2308-2269
    www.siamsamsung.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายไมเคิล จอร์จ แพล๊กซ์ตัน์
    Mr. Michael George Plaxton
    ประธานกรรมการบริหาร
    Chief Executive Officer

    บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
    2034/136, 138-143 อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ชั้น 27, 32-33
    ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310.
    โทรศัพท์ 0-2723-4000, โทรสาร 0-2723-4032
    Krungthai-AXA Life Assurance Co., Ltd.
    2034/136, 138-143 Italthai Tower, 32-33 Floor
    New Petchburi Rd., Bangkrapi Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2723-4000, Fax. 0-2723-4032
    www.krungthai-axa.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ( คนขวา )
    Mr. Suwit Wachara-Ampaiwan
    รักษาการกรรมการผู้จัดการ
    (on behalf of) Managing Director

    บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด
    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร
    ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2616-2324, โทรสาร 0-2616-2343
    Siam City Life Assurance Co., Ltd.
    169 Siam City Bank Suthisan Branch Bldg., Suthisan Road,
    Samsennai, Payathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2616-2324, Fax. 0-2616-2343
    www.scilife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายฮิโรชิ ทาเทอิชิ
    Mr.Hiroshi Tateishi
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
    โทรศัพท์ 0-2670-1400, โทรสาร 0-2670-1401-11
    Tokio Marine Life Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    195 Empire Tower Building 26th Floor, Sout Satorn Road, Yannawa Sathorn Bangkok 10120.
    Tel. 0-2670-1400, Fax. 0-2670-1401-11
    www.tokiomarinelife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายราเจช เสฐฐี
    Mr. Rajesh Sethi
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Chief Executive Officer

    บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด
    130-132 อาคารสินธรทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2263-3900, โทรสาร 0-2263-3899
    ING Life Limited.
    130-132 Sindtorn Tower 3, 29th Floor, Wireless Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2263-3900, Fax. 0-2263-3899
    www.inglife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายคีธ แอนดรูว์ บรูคส์
    Mr.Keith Brooks
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Country Manager/Chief Executive Officer

    บริษัท เจนเนอราลี ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด
    ชั้น 16 ยูนิต 1602-1605 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส
    87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2685-3828, โทรสาร 0-2685-3829
    Generali Life Assurance (Thailand) Co., Ltd.
    16th Floor, Unit 1603-1605, CRC Tower, All Seasons Places,
    87/2 Wireless Road, Lumpini, Patumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2685-3828, Fax. 0-2685-3829
    www.generali.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์ ( คนซ้ายมือ )
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด
    เลขที่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2615-6800, โทรสาร 0-2675-3818
    Ace Life Assurance Co., Ltd.
    130-132 Sindhorn Building, Tower I, 11th-12th Floor
    Wireless Road, Lumpini Pathumwan Bangkok 10330
    Tel. 0-2675-3800, Fax. 0-2675-3818
    www.acelife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    ดร. ชวิน เอี่ยมโสภณา
    Dr.Chavin Iamsapana
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด
    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-7323-30, โทรสาร 0-2634-7331
    BUI Life Insurance Co., Ltd.
    177/1 Surawong Rd. Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2634-7323-30, Fax. 0-2634-7331
    www.builife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด
    อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2648-3600, โทรสาร 0-2648-3555
    Advance Life Assurance Co., Ltd.
    Ploenchit Center, 2nd Floor, 2 Sukhumvit Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2648-3600, Fax. 0-2648-3555
    www.alife.co.th

     

    นายชาญ วรรธนะกุล
    Mr. Chan Vathanakul
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ถนนพระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์. 0-2777-8888, โทรสาร. 0-2777-8899
    Bangkok Life Assurance Public Co., Ltd.
    23/115-121 Royal City Avenue, Rama 9 Rd., Huaykwang Bangkok 10310
    Tel. 0-2777-8888, Fax. 0-2777-8899
    www.bla.co.th

    นางสาว เบญญาภา ศรีนวล

    ประกันชีวิตในประเทศไทย

    1.

    นายชาญ วรรธนะกุล
    Mr. Chan Vathanakul
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ถนนพระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์. 0-2777-8888, โทรสาร. 0-2777-8899
    Bangkok Life Assurance Public Co., Ltd.
    23/115-121 Royal City Avenue, Rama 9 Rd., Huaykwang Bangkok 10310
    Tel. 0-2777-8888, Fax. 0-2777-8899
    www.bla.co.th

    2.

    นายไชย ไชยวรรณ
    Mr. Chai Chaiyawan
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
    123 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2247-0247-8, โทรสาร 0-2246-9946-7
    Thai Life Insurance Co., Ltd.
    123 Rachadaphisek Rd., Huaykwang, Bangkok 10400
    Tel. 0-2247-0247-8, Fax. 0-2246-9946-7
    www.thailife.com

    3.

    นายมนตรี แสงอุไรพร
    Mr.Montri Saeng-Uraiporn
    กรรมการผู้จัดการ
    President

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด
    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์ 0-2632-5000, โทรสาร 0-2632-5500
    Finansa Life Assurance Co.,Ltd.
    2032 FINANSA TOWER New Petchburi Road, Bangkapi, Huaykwang, Bangkok 10310
    Tel. 0-2632-5000, Fax. 0-2632-5500
    www.finansalife.com

    4.

    นายซี โดนอลด์ คาร์ดีน
    Mr. C. Donald Carden
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President & CEO

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    1060 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2655-3000, โทรสาร 0-2256-1666
    Siam Commercial New York Life Insurance Public Co., Ltd.
    1060 New Petchburi Rd., (SCB Building 1) Rajthevee, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2655-4000, Fax. 0-2256-1666
    www.scnyl.com

    5.

    นายบินายัค ดัตตา  ( คนขวา นะจ๊ะ )
    Mr. Binayak Dutta
    กรรมการผู้จัดการ
    Chief Executive Officer

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2352-8000, โทรสาร 0-2639-9635, 0-2639-9700
    Prudential Life Assurance (Thailand) Public Co., Ltd.
    82 Saengthong Thani Bldg. 28, 30-31 Flr., North Sathorn Road,       
    Bangkok, 10500.
    Tel. 0-2352-8000, Fax. 0-2639-9635, 0-2639-9700
    www.prudential.co.th

    6.

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์
    Mrs. Nusara Banyatpiyaphod
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย            
    กรุงเทพฯ 10110.โทรศัพท์ 0-2261-2300, โทรสาร 0-2261-3344-55
    Ocean Life Insurance Co., Ltd.
    170/74-83 Ocean Tower 1, Rachadaphisek Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2261-2300, Fax. 0-2261-3344-55
    www.ocean.co.th

    7.

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 2, 6 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2305-7000, โทรสาร 0-2263-0313-4
    Ayudhya Allianz C.P. Life Public Company Limited.
    898 Ploenchit Tower 2nd, 6th Floor, Ploenchit Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2305-7000, Fax. 0-2263-0313-4
    www.aacp.co.th

    8.

    นายสาระ ล่ำซำ
    Mr. Sara Lamsam
    กรรมการผู้จัดการ
    President

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    โทรศัพท์ 0-2276-1025-7, โทรสาร 0-2276-1997-8
    Muang Thai Life Assurance Co., Ltd.
    250 Rachadaphisek Road, Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2276-1025-7, Fax. 0-2276-1997-8
    www.muangthai.co.th

    9.

    นางรัชนี เองปัญญาเลิศ
    Mrs.Rashanee Engpanyalert
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด
    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2260-5536-43, โทรสาร 0-2260-5561
    Siam Life Insurance Co., Ltd.
    75/72-73 Ocean Tower 2, 30th Floor, Sukhumvit 19, Wattana, Bangkok 10110.
    Tel. 0-2260-5536-43, Fax. 0-2260-5561
    www.siamlife.co.th

    10.

    นายชาติชัย พาราสุข 
    Mr. Chotiphat Bijananda
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด
    315 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2631-1331, โทรสาร 0-2236-7614
    The Southeast Life Insurance Co., Ltd.
    315 Silom Road, Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2631-1331, Fax. 0-2236-7614
    www.southeastlife.com

    11.

    นายบรูส ฮ็อดเจส ( คนขวานะจ๊ะ)
    Mr. Bruce Murray Hodges
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    364/30 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2246-7650-99, โทรสาร 0-2248-5391
    Manulife Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    364/30 Sri Ayudhaya Road, Phayathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2246-7650-99, Fax. 0-2248-5391
    www.manulife.co.th

    12.

    นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    Mr. Surachai Sirivallop
    กรรมการผู้อำนวยการ
    President & CEO

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด
    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822, โทรสาร 0-2256-6565
    Thaire Life assurance Co., Ltd.
    223/1 Soi Ruamruedee, Wireless Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2256-6822, Fax. 0-2256-6565
    www.thaire.co.th

    13.

    นายสหพล สังข์เมฆ
    Mr.Sahaphon Sangmek
    ผู้จัดการใหญ่
    Managing Director

    บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด
    13 อาคาร น.ม.ส. 2 ชั้น 2 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300.
    โทรศัพท์ 0-2669-3243-50, โทรสาร 0-2669-3252
    Saha Life Insurance Co., Ltd.
    13 Naw Maw Saw Bldg., 2nd Floor, Co-operative League of Thailand,
    Pichai Rd., Dusit, Bangkok 10300.
    Tel. 0-2669-3243-50, Fax. 0-2669-3252
    www.sahalife.co.th

    14.

     

    นายสัตยา เทพบรรเทิง
    ผู้จัดการทั่วไป – ตัวแทนประกันชีวิต
    นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์
    ผู้จัดการทั่วไป - การตลาดพิเศษ

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์เเนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด
    181 อาคารเอไอทาวเวอร์ ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-8888, โทรสาร 0-2236-6452
    American International Assurance Co., Ltd.
    181 AI Tower, Surawong Rd., Bangrak, Bangkok 10500
    Tel. 0-2634-8888, Fax. 0-2236-6452
    www.aia.co.th

    15.

    ดร.ชาติชัย พาราสุข
    Mr. Chartchai Parasuk
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 231 อาคารธนชาตประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2207-4200 โทรสาร 0-2253-8484
    Thanachart Life Assurance Co., Ltd.
    231 Thanachart Life Assurance Building
    Rachadamri Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2207-4200, Fax. 0-2253-8484
    www.thanachartlife.co.th

    16.

    นายวิศิษฎ์ ตังคนังนุกูล
    Mr. Visidh Tangkanangnukul
    ผู้จัดการทั่วไป
    General Manager

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 36/11, 36/59-62 อาคารพี เอส ทาวเวอร์ ชั้น G และ ชั้น 18
    ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์. 0-2645-8500, โทรสาร. 0-2645-8585
    Thai Cardif Life Assurance Co., Ltd.
    36/11, 36/59-62 PS Tower, G and 18th Floor,
    Sukhumvit 21 Road, North-Klongtoey, Wattana, Bangkok 10110
    Tel. 0-2645-8500, Fax. 0-2645-8585.
    www.thaicardif.com

    17.

    นายเยิน ฮี คัง
    Mr.Yeon Hee Kang
    ประธานบริหาร
    President

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด
    2922/240-241 ชั้น 15 อาคารชาญอิสระ 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320.
    โทรศัพท์ 0-2308-2245-52, โทรสาร 0-2308-2269
    Siam Samsung Life Insurance Co., Ltd.
    2922/240-241 Charnissara Tower 2, 15th Floor, New Petchburi Rd., Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2308-2245-52, Fax. 0-2308-2269
    www.siamsamsung.co.th

    18.

    นายไมเคิล จอร์จ แพล๊กซ์ตัน์
    Mr. Michael George Plaxton
    ประธานกรรมการบริหาร
    Chief Executive Officer

    บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
    2034/136, 138-143 อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ชั้น 27, 32-33
    ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310.
    โทรศัพท์ 0-2723-4000, โทรสาร 0-2723-4032
    Krungthai-AXA Life Assurance Co., Ltd.
    2034/136, 138-143 Italthai Tower, 32-33 Floor
    New Petchburi Rd., Bangkrapi Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2723-4000, Fax. 0-2723-4032
    www.krungthai-axa.co.th

    19.

    นายสุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ( คนขวา )

    Mr. Suwit Wachara-Ampaiwan
    รักษาการกรรมการผู้จัดการ
    (on behalf of) Managing Director

    บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด
    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร
    ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2616-2324, โทรสาร 0-2616-2343
    Siam City Life Assurance Co., Ltd.
    169 Siam City Bank Suthisan Branch Bldg., Suthisan Road,
    Samsennai, Payathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2616-2324, Fax. 0-2616-2343
    www.scilife.co.th

    20.

    นายฮิโรชิ ทาเทอิชิ
    Mr.Hiroshi Tateishi
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
    โทรศัพท์ 0-2670-1400, โทรสาร 0-2670-1401-11
    Tokio Marine Life Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    195 Empire Tower Building 26th Floor, Sout Satorn Road, Yannawa Sathorn Bangkok 10120.
    Tel. 0-2670-1400, Fax. 0-2670-1401-11
    www.tokiomarinelife.co.th

    21.

    นายราเจช เสฐฐี
    Mr. Rajesh Sethi
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Chief Executive Officer

    บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด
    130-132 อาคารสินธรทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2263-3900, โทรสาร 0-2263-3899
    ING Life Limited.
    130-132 Sindtorn Tower 3, 29th Floor, Wireless Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2263-3900, Fax. 0-2263-3899
    www.inglife.co.th

    22.

    นายคีธ แอนดรูว์ บรูคส์
    Mr.Keith Brooks
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Country Manager/Chief Executive Officer

    บริษัท เจนเนอราลี ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด
    ชั้น 16 ยูนิต 1602-1605 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส
    87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2685-3828, โทรสาร 0-2685-3829
    Generali Life Assurance (Thailand) Co., Ltd.
    16th Floor, Unit 1603-1605, CRC Tower, All Seasons Places,
    87/2 Wireless Road, Lumpini, Patumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2685-3828, Fax. 0-2685-3829
    www.generali.co.th

    23.

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์ ( คนซ้ายมือ )
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด
    เลขที่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2615-6800, โทรสาร 0-2675-3818
    Ace Life Assurance Co., Ltd.
    130-132 Sindhorn Building, Tower I, 11th-12th Floor
    Wireless Road, Lumpini Pathumwan Bangkok 10330
    Tel. 0-2675-3800, Fax. 0-2675-3818
    www.acelife.co.th

    24.

    ดร. ชวิน เอี่ยมโสภณา
    Dr.Chavin Iamsapana
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด
    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-7323-30, โทรสาร 0-2634-7331
    BUI Life Insurance Co., Ltd.
    177/1 Surawong Rd. Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2634-7323-30, Fax. 0-2634-7331
    www.builife.com

    25.

    นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด
    อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2648-3600, โทรสาร 0-2648-3555
    Advance Life Assurance Co., Ltd.
    Ploenchit Center, 2nd Floor, 2 Sukhumvit Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2648-3600, Fax. 0-2648-3555
    www.alife.co.th

     

    นางสาวเบญญาภา ศรีนวล

    รหัสนักศึกษา 52127312057

    นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

    ส่งใหม่ครับ

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933 เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    2.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    3.บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    4.บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]
     
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
      
    ชุติพล สิงหะสุริยะ
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -
     
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ
    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690
    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน
    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110
     
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -
     
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -


    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
      

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -
     

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -
     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
     
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -
    41.

    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033
     

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info [email protected]
     
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -
     

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -
     

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ : [email protected]


    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300, 0-2236-1211
    เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ อีเมล์ : [email protected]
     

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : [email protected]-
     

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อีเมล์ :[email protected]
     
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แนชชั่นแนล ทาวเวอร์ ชั้น G ถนนมหิดล เชียงใหม่ 50200
    โทร : (053) 809-555 ต่อ 1111  แฟกซ์ : (053) 809-538
    เว็บไซต์ : http://www.aia.co.th/  อีเมล์ : -
     

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President


    313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2638-9000  แฟกซ์ : 0-2638-9050
    เว็บไซต์ : http://www.allianzcp.com/  อีเมล์ : [email protected]
     

           ส่งต่อค่ะ

                                                 บริษัทประกันภัย

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933 เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ชุติพล สิงหะสุริยะ
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690
    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -


    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ : [email protected]
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ : [email protected]

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info [email protected]
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ : [email protected]


    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300, 0-2236-1211
    เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ อีเมล์ : [email protected]

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : [email protected]-

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อีเมล์ :[email protected]
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แนชชั่นแนล ทาวเวอร์ ชั้น G ถนนมหิดล เชียงใหม่ 50200
    โทร : (053) 809-555 ต่อ 1111  แฟกซ์ : (053) 809-538
    เว็บไซต์ : http://www.aia.co.th/  อีเมล์ : -

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President


    313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2638-9000  แฟกซ์ : 0-2638-9050
    เว็บไซต์ : http://www.allianzcp.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ
    315 ชั้น G - ชั้น 3 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2631-1331, 0-2267-7777  แฟกซ์ : 0-2237-7409
    เว็บไซต์ :http://www.seic.co.th  อีเมล์ :[email protected]

    364/29 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2247-9261-75  แฟกซ์ : 0-2247-9260, 0-2246-5030
    เว็บไซต์ : http://www.indara.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    เลขที่ 399 อาคารอินเตอร์เชนจ 21 ชั้น 25-30 ถนนสุขุมวิท
    แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
    โทร :ศัพท์ 0-2611-4040 โทร :สาร 0-2611-4310
    เว็บไซต์ : http://www.acethai.com/  อีเมล์ : [email protected]
    เอเชียประกันภัยลงนาม MOU ร่วมกับสมาคมอู่กลาง
    นายนิค จันทรวิทุร กรรมการผู้จัดการ
    183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 12 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-9977  แฟกซ์ : 0-2250-5277
    เว็บไซต์ : http://www.aii.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ
    908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2318-8318, 0-2319-1199  แฟกซ์ : 0-2318-8550, 0-2319-1166
    เว็บไซต์ : http://www.msig-thai.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายไพโรจน์ จิรชนานนท์
    292 ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2224-0056, 0-2224-4727 - 36  แฟกซ์ : 0-2221-1390
    http://www.erawanins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ
    181/19 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2634-8888  แฟกซ์ : 0-2236-6489
    เว็บไซต์ : http://www.aiggeneral.co

    ด้านบน

    ชื่อ วรีรัตน์ แซ่โง้ว

    รหัส 52127312051

    การเงินการธนาคาร 02

    บริษัทประกันชีวิต

    LOGO

    กรรมการผู้จัดการ

    สำนักงานใหญ่

    เว็บไซต์

              

    บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด 

     

    บิมาล บาลาซิงกัม กรรมการผู้จัดการ

    87/1 แคปปิตอล ทาวเวอร์ ชั้น 24-25 ออลซีซั่นส์ เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

            

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายชาญ วรรธนะกุล กรรมการผู้จัดการ

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว 21 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     

    http://www.bla.co.th

     

                    

    บริษัท บางกอก สหประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีกรรมการผู้จัดการ

    177/1 อาคารบางกอกสหประกันภัย ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    http://www.builife.com

     

                  

    บริษัท โตเกียวมารีน ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

     

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

    ชั้นที่ 26 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนน สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

     

    http://www.tokiomarinelife.co.th/

     

               

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายมนตรี แสงอุไรพร กรรมการผู้จัดการ

    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.finansalife.com

     

         

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด 

    นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    http://www.thailife.com

     

           

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด  

     

    นายโดนอลด์ คาร์ดีน กรรมการผู้จัดการ

    1060 อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

    http://www.scnyl.com

     

             

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ

    31/11,36/59-62 อาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น G และชั้น 18 ถนนสุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

     

    http://www.thaicardif.com

     

                    

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด 

     

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ

    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ชั้น 24-28 ถนนรัชดาภิเษก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

     

    http://www.oli.co.th

     

                     ThaiRe Life Assurance
    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด 

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์ ประธานกรรมการผู้จัดการ

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.thaire.co.th

              

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด 

     

    วิจักษณ์ ประดิษฐวณิช กรรมการผู้จัดการ

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thanachartlife.co.th

     

            

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด 

     

    นายคีธ บรูคส์

    ประธานกรรมการ

    87/2 ยูนิต 1603-5 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.generalithailand.com

     

                  

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

     

    มร.บินายัค ดัตตา กรรมการผู้จัดการ

    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.prudential.co.th

     

               

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายสาระ ล่ำซำ

    กรรมการผู้จัดการ

    250 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

     

    http://www.muangthai.co.th

     

             

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 

    มร.คริสโตเฟอร์ เตียว ผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

    364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

    http://www.manulife.co.th

      

     บริษัท สยามซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายเยิน ฮี คัง  

    กรรมการผู้จัดการ

    2922/222-227 อาคารชาญอิสระ 2 ชั้น 15 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

     

     http://www.siamsamsung.co.th

     

           

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

    75/72-73 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

    http://www.siamlife.co.th

     

                      Saha Life Insurance

    บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายสหพล สังข์เมฆ กรรมการผู้จัดการ

    เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

     

    http://www.ulife.in.th/

     

           

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 

     

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น

     กรรมการผู้จัดการ

    898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น6 โซนเอ,ชั้น16-18 ถนนเพลินจิต ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.aacp.co.th

             

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (Thailand) 

     

    สุนีย์ วิทยะวาณิชกุล กรรมการผู้จัดการ

    181 ถนนสุรวงศ์ ข.บางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.aia.co.th/

          

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด 

     

    นายสิริ เสนาจักร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ชั้น 3-6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400

     

     

    http://www.acelife.co.th

           

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    315 ถนนสีลม ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.southeastlife.com

     

                 

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด 

     

    นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง

    กรรมการผู้จัดการ

    2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

     

    http://www.alife.co.th

          

    บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด 

     

    นายราเจช เสฐฐี

    กรรมการผู้จัดการ

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 16 และ ชั้น 29 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.inglife.co.th

     

           

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด 

     

    คุณจันทรจรัส บุญคุณ กรรมการผู้จัดการ

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

     

    www.scilife.co.th 

    นางสาวสุปราณี วันดี

    อาจารย์ต่ะลืมพิมพ์ชื่อคะ

    นางสาวสุปราณี วันดี

    52127312023

    การเงินการธนาคาร ปี2

    ของสังงานใหม่นะค่ะงานเก่าไม่ดีค่ะ

                                   บริษัทประกันชีวิต

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

    บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

     

    .บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์. ประธานกรรมการ

     

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227     อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ 

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

                                     บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
     

    สำนักงานใหญ่      
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

      สำนักงานใหญ่    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ   เขตพระนคร    กรุงเทพมหานคร 10200

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
      สำนักงานใหญ่      34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
      บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    สำนักงานใหญ่       121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก
    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    สำนักงานใหญ่       34 ซ.สุขุมวิท 4   (นานาใต้)   ถนนสุขุมวิท     แขวงคลองเตย เขตคลองเตย   
    กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก   กรุงเทพมหานคร 10500

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกั

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์   เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    นางสาวชนิกานต์  บำรุงราษฎร์

    รหัสนักศึกษา  52127312066

    การเงินการธนาคาร 02

    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
     
     
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
     
    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
     
     
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา  ประธานกรรมการ
    สำนักงานใหญ่
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    นางสาวสุปราณี วันดี

    นางสาวสุปราณี  วันดี

    52127312023

    การเงินการธนาคาร ปี 2

    บริษัทประกันภัย

    LOGO

    กรรมการผู้จัดการ

    สำนักงานใหญ่

    เว็บไซต์

                  

    บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จำกัด 

     

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    ประธานกรรมการ

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ชั้น G, 1-3 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

    http://www.seic.co.th

                   

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย) สาขาประเทศไทย 

    นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ

     

    เอไอเอ ทาวเวอร์  181

    ถ.สุรวงศ์ บางรัก กทม. 10500

     

     

    http://www.aia.co.th/

                   

    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

    นวลพรรณ ล่ำซำ

    กรรมการผู้จัดการ

    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.mtins.com

                  

    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ

    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.mittare.com

                   

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล กรรมการผู้จัดการ

    71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถนน ดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     

    http://www.thaivivat.co.th

              

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล กรรมการผู้จัดการ

    4-4/1 อาคารชโลบล ซอยพระรามเก้า 43 ถนนเสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

     

     

    http://www.phoenix-ins.co.th

                

    บริษัท บูพาประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    นางคาเรน คาร์เตอร์ กรรมการผู้จัดการ

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ คอนแวนต์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพ 10500

     

     

    http://www.bupathailand.com

               

    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด

    โยอิจิ ทามากาคิ

    กรรมการผู้จัดการ

    เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

     

    http://www.srimuang.co.th

                 

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายมนัส บินมะฮมุด กรรมการผู้จัดการ

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

     

    http://www.kamolinsurance.com

                 

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    คุณ กีรติ พานิชชีวะ กรรมการผู้จัดการ

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.kpi.co.th

     

               

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    คุณชาญ วรรธนะกุลกรรมการผู้จัดการ

    25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

    http://www.bki.co.th

     

             

    บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นายโรนอลด์ สปาร์คส์

    กรรมการผู้จัดการ

    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

     

     

    http://www.qbe.co.th

     

              

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ

    เลขที่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก
    แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     

    www.rvp.co.th

     

                    

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นายชุติพล สิงหะสุริยะ กรรมการผู้จัดการ

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

     

    http://thailand.kurnia.com

     

                    

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นาย ธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

    กรรมการผู้จัดการ

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    http://www.cpyins.com

     

                  

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายสุกิจ จรัญวาศน์ กรรมการผู้จัดการ

    อาคารจรัญประกันภัย เลขที่ 401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    http://www.charaninsurance.com

                    

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

    ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.chubb.com

     

                 

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

    นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

    กรรมการผู้จัดการ

     

    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

    -

         

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ

    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.dhipaya.co.th

     

          

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นางสาวพณิตา ตู้จินดา กรรมการผู้จัดการ

    34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     

    http://www.thaiins.com

     

                 

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    นายไพศาล คุนผลินกรรมการผู้อำนวยการ

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

     

    http://www.thaipat.co.th

     

                       

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

    นายสุรชัย ศิริวัลลภกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thaire.co.th

     

              

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    คุณวรางค์ เสรฐภักดี

    ประธานกรรมการ

     

    121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    http://www.thaihealth.co.th

               

    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ร้อยเอกวิธูร วิสุทธิผล กรรมการผู้จัดการ

    160 อาคารไทยเศรษฐกิจ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    http://www.tsi.co.th

                

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    นที พานิชชีวะ

    กรรมการผู้จัดการ

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

     

    http://www.thaisri.com

     

                    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด

    บริษัท คอมไบด์ อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด

     

    นางวิไล ตปนียยางกูร กรรมการผู้จัดการ

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ข.ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

     

    http://www.combined.co.th

                   

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    ประธานกรรมการ

    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

     

     

    http://www.deves.co.th

     

               

    บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์

    ประธานกรรมการ

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.cigna.co.th/

     

            

    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร

    ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1
    อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ
    แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500

     

    http://www.navakij.co.th

     

                     

    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด

    นาย สุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ

    กรรมการผู้จัดการ

    900/11-1336 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

     

    http://www.thanasin.co.th

                     

    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นาย สมบุญ ฟูศรีบุญ ประธานกรรมการ

    เลขที่ 767 ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800

     

    http://www.namsengins.co.th

     

                

    บริษัท เอ ไอ จี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ ประเทศไทย

    นายแอนดริว วอง ประธานกรรมการ

    181/19 ถนนสุรวงศ์ ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

     

    http://www.aiggeneral.co.th

     

                

    บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์

    ประธานกรรมการ

    ชั้น 10 อาคารกลาสเฮาส์ เลขที่ 1 สุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     

    http://www.thanachartinsurance.co.

    นางสาวสุภาภรณ์ ครุฑธาพันธ์

    บริษัทประกันชีวิต

     1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

       คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

       นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    2.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

       นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     3.บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

       นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    4.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

     นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

     

    5.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

        นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
                        ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
                        กรุงเทพมหานคร 10500

      

    6.บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

       นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

     

    7.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

          คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    8.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

       นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

    9.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

      นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    10.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

          คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    11.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

           ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    12.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

       นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    13.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    14.บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                   วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     

    15.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

        กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    16.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

       นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    17.บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

         

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

     18.บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

          นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

    19.บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

           นายสุภัค ศิวะรักษ์  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์
                        เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    21.บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย จำกัด

            นายปกิต เอี่ยมโอภาส ประธานกรรมการสำนักงานใหญ่  313 ซี.พี. ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    22.บริษัท นิวแฮมเชอร์ อินชัวรันส์ บริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด

          สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  ชั้น 21-23 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    23.บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด

        นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่    อาคารอาคเนย์ประกันภัย เลขที่ 315 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500            

     

    24.บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

          นายแอนดริว วอง ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  อาคารคิวเฮ้าส์ คอนแวนต์ ชั้น 9 เลขที่ 38 ถนนคอนแวนต์ สีลม กรุงเทพฯ 10500

     25.บริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

           นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่ 1908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

    26.บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด

          นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  อาคารอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล (อาคาร เอ.ไอ.ทาวเวอร์ / อาคาร เอ.ไอ.บี.) 181 ถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

      

    27.บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

          คุณวรางค์ เสรฐภักดี  ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    28.บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

         คุณสุธีชัย สันติวราคม  ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่26/5-6 อาคารอรกานต์ ถนนชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     29.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

           นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ อาคารกรุงเทพประกันภัย 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

     30.Manulife Insurance (Thailand) Public Company Limited

     

    สำนักงานใหญ่  364/30 Sri Ayudhya Road, Rajthevee, Bangkok 10400

    31.บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

          สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 

     

     

    32.บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด

           

                   สำนักงานใหญ่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 10-12 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    เบรทท์ อลัน คลิงเลอร์  ประธานกรรมการ

                    

     

    33.บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

            นายมงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 34/3 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     34.บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

           คุณชาติชาย พานิชชีวะ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 126/2 ถ.กรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600

     

    35.บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

             นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 90/4-6, 100/50-55 อาคารสาธรนคร ถนน สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     นางสาวสุภาภรณ์  ครุฑธาพันธ์

    การเงินการธนาคาร 02

    รหัส 52127312052

     

     

     

    บริษัทประกันชีวิต

     1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

       คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

     

                                     บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
     

     

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

      สำนักงานใหญ่    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ   เขตพระนคร    กรุงเทพมหานคร 10200

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
      สำนักงานใหญ่      34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
      บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    สำนักงานใหญ่       121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก
    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    สำนักงานใหญ่       34 ซ.สุขุมวิท 4   (นานาใต้)   ถนนสุขุมวิท     แขวงคลองเตย เขตคลองเตย   
    กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก   กรุงเทพมหานคร 10500

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์   เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    สำนักงานใหญ่      
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
     
     
     
    นางสาวมยุรี  สมผล
    การเงินการธนาคาร 02
    รหัส 52127312059

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

     2.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    3.บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
     
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    4.บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     
    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
     
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
     
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
     
    ชุติพล สิงหะสุริยะ
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
     
     
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
     
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ
    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน
    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
     
     
     
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
     
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
     
     
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
     
     
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
     
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800


    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
     

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
     

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
     

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330


    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
     
     
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
     
     
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

     

     

    นางสาวไกรศรี  พลโอม

    รหัส52127312060

     

    บริษัทประกันชีวิต

    1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

    คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

     

                  สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ 

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

    นางสาวไกรศรี  พลโฮม

    รหัส 52127312060

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    โดย  นายกิดดิกร  จันอินทร์

    52127312071

    การเงินการธนาคาร 02

     

    เรืองวิทย์ อุปชัย

    51127312032

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    นายเกียรติชัย เกียรติสูงส่ง

                                  

    นาย เกียรติชัย เกียรติสูงส่ง
    คณะวิทยาการจัดการ  โปรแกรมเศรษฐศาสตร์
    รหัสนักศึกษา 50473010045

    บริษัทประกันชีวิต

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

    นางสาวณัฐยา กรโคกกรวด

    บริษัทประกันภัย 

     

    ชื่อบริษัท/COMPANIES

    ข้อมูลบริษัท 

    1.บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

                   

     

    สำนักงานใหญ่   361 ถ.บอนด์สตรีท          เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด    อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

                 

    ประธานกรรมการ  นายสุวรรณ โชตชวเลิศ 

     

    2. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)                                              

                           

     

    สำนักงานใหญ่ อาคารกรุงเทพประกันภัย 25 ถนนสาทรใต้
     แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

                      

    ประธานกรรมการ  นายชัย โสภณพนิช

     

    3.บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

     

            

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

                  

    ประธานกรรมการ   คุณวรางค์ เสรฐภักดี 

     

    4.บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด 

     

                     

     

    สำนักงานใหญ่  208 ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี     เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

                        

     

    ประธานกรรมการ            คุณ บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    5. บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)        

                    

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

                    

    ประธานกรรมการนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล

     

    6.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                                 

              

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    ประธานกรรมการนายมิตซึจิ โคโนชิตะ

    7.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                        

     

    สำนักงานใหญ่    598 อาคารคิวเฮาส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    ประธานกรรมการนายมนูญ ลีเชวงวงศ์ 

     

    8.บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

                    

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

    9.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด  

                 

     

    สำนักงานใหญ่  : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    ประธานกรรมการนายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์

     

    10.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                 

     

     

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กทม. 10500

                    

     

    ประธานกรรมการ   นายมนู เลียวไพโรจน์

     

    11.บริษัท ธนชาตประกันภัย   จำกัด  

     

                         

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

                     

    ประธานกรรมการ   นายบุญรอด  มิณฑสันต์

    12.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                  

          

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

                       

    ประธานกรรมการคุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์

     

    13.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

                    

     

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

                 

    ประธานกรรมการ   นายโยอิจิ ทามากาคิ 

     

    14.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

              

                    

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ  เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

    ประธานกรรมการนายยูจิ คาวาอูชิ

     

    15.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

            

                         

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

             

    ประธานกรรมการ    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา

     

    16.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

                         

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

                 

    ประธานกรรมการดร. สม จาตุศรีพิทักษ์

    17.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)    

                   

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

     

    ประธานกรรมการนายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์
     

    18.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

                         

     

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500  

                

    ประธานกรรมการ  นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

     

    19.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                       

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500

    ประธานกรรมการกฤษณะ กฤตมโนรถ

     

    20.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

                  

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    ประธานกรรมการ   นายเท คา คิน

     

    ประกันชีวิตแต่ละบริษัท 

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด 

          

    สำนักงานใหญ่      123 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10400
    กรรมการผู้จัดการใหญ่  
    นายไชย ไชยวรรณ

     

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

                   

    สำนักงานใหญ่        2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวง 
                                บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    กรรมการผู้จัดการ   นายมนตรี แสงอุไรพร

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

                 

    สำนักงานใหญ่              1060 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์) 
                                       เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    กรรมการผู้จัดการใหญ่   นายซี โดนอลด์ คาร์ดีน

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

                 
    สำนักงานใหญ่        82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ
                                แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    กรรมการผู้จัดการ  นายบินายัค ดัตตา  (คนขวา)

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่       170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก
                               เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    กรรมการผู้จัดการ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์


    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่                898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 2, 6 ถนนเพลินจิต 
                                        กรุงเทพฯ 10330

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

      

    สำนักงานใหญ่         250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    กรรมการผู้จัดการ    นายสาระ ล่ำซำ


     
    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

        

    สำนักงานใหญ่         75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขมวิท 19
                                 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    กรรมการผู้จัดการ    นางรัชนี เองปัญญาเลิศ


     


    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด


    สำนักงานใหญ่       315 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    กรรมการผู้จัดการ  นายชาติชัย พาราสุข 

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่             364/30 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400.

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  นายบรูส ฮ็อดเจส

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่              223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.

    กรรมการผู้อำนวยการ   นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     


    บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด

               
    สำนักงานใหญ่      13 อาคาร น.ม.ส. 2 ชั้น 2 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย 
                              ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300.
    ผู้จัดการใหญ่       นายสหพล สังข์เมฆ



     

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์เเนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด

                      
    สำนักงานใหญ่    181 อาคารเอไอทาวเวอร์ ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ 10500
    ผู้จัดการทั่วไป – ตัวแทนประกันชีวิต    นายสัตยา เทพบรรเทิง
    ผู้จัดการทั่วไป – การตลาดพิเศษ นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์

    นางสาวณัฐยา  กรโคกกรวด  รหัส 52127312058

    การเงินการธนาคาร  02

     

    ...บริษัทประกันชีวิต...

    1. บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : คุณชาญ วรรธนะกุล

    ที่อยู่ : 23/5-121 รอยัลซิตี้อเวนิว 21 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    โทร : 0-2203-0055, 0-2641-5599

    แฟกซ์ : 0-2203-0044, 0-2641-5566

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.bla.co.th

    2. บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : มร.ไมค์ แพล็กซ์ตัน

    ที่อยู่ : 87/1 แคปปิตอล ทาวเวอร์ ชั้น 24-25 ออลซีซั่นส์ เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    โทร : 0-723-4000

    แฟกซ์ : 0-2723-4032-33E-mail : -

     

    website :  http://www.krungthai-axa.co.th

    3. บริษัท บางกอก สหประกันชีวิต จำกัด

     กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

    ที่อยู่ : 177/1 อาคารบางกอกสหประกันภัย ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    โทร : 0-2634-7323-30

    แฟกซ์ : 0-2634-7331

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.builife.com

    4. บริษัท โตเกียวมารีน ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่นายฮิโรชิ ทาเทอิชิ

     ที่อยู่ : ชั้นที่ 26 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนน สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    โทร : 02-670-1400

    แฟกซ์ : 0-2670-1401

    E-mail : -

    website :  http://www.tokiomarinelife.co.th/

    5. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์

    ที่อยู่ : 123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    โทร : 0-2247-0247

    แฟกซ์ : 0-2249-9946E-mail : [email protected]

     

    website :  http://www.thailife.com

    6. บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณสุนทร บุญสาย

    ที่อยู่ : 2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร : 0-2632-5000

    แฟกซ์ : 0-2632-5500

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.finansalife.com

    7. บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายโดนอลด์ คาร์ดีน

     

     

    ที่อยู่ : 1060 อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร : 0-2655-3000

    แฟกซ์ : 0-2256-1666

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.scnyl.com

    8. บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมงคล ลีลาธรรม

    ที่อยู่ : 31/11,36/59-62 อาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น G และชั้น 18 ถนนสุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

    โทร : 0-2645-8500

    แฟกซ์ : 0-2645-8585

    E-mail : -

    website :  http://www.thaicardif.com

    9. บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

     กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     

    ที่อยู่ : 223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2256-6822

    แฟกซ์ : 0-2256-6565

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.thaire.co.th

    10. บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

    ที่อยู่ : 170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ชั้น 24-28 ถนนรัชดาภิเษก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร : 0-2261-2300

    แฟกซ์ : 0-2261-3344

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.oli.co.th

    11. บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ดร.ชาติชัย พาราสุข

    ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    โทร : 0-2256-6822

    แฟกซ์ : 0-2256-6565

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.thanachartlife.co.th

    12. บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด

    ที่อยู่ : 898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น6 โซนเอ,ชั้น16-18 ถนนเพลินจิต ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2305-7000

    แฟกซ์ : 0-2263-0313

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.aacp.co.th

    13. บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่นายคีธ แอนดรูว์ บรูคส์ 

     

    ที่อยู่ : 87/2 ยูนิต 1603-5 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2685-3828

    แฟกซ์ : 0-2685-3829

    E-mail : -

    website :  http://www.generalithailand.com

    14. บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายบินายัค ดัตตา

     

    ที่อยู่ : 82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2639-9500

    แฟกซ์ : 0-2639-9699, 0-2639-9700

    E-mail : -

    website :  http://www.prudential.co.th

    15. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่นายสาระ ล่ำซำ

     

    ที่อยู่ : 250 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร : 0-2276-1025, 0-2274-9400

    แฟกซ์ : 0-2276-1997-8

    E-mail : -

    website :  http://www.muangthai.co.th

    16. บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่นายบรูส ฮ็อดเจส

    ที่อยู่ : 364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร : 0-2245-2491-7, 0-2246-7650-99

    แฟกซ์ : 0-2248-5391

    E-mail : -

    website :  http://www.manulife.co.th

    17. บริษัท สยามซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายเยิน ฮี คัง

    ที่อยู่ : 2922/222-227 อาคารชาญอิสระ 2 ชั้น 15 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    โทร : 0-2308-2245

    แฟกซ์ : 0-2308-2269

    E-mail : [email protected]

    website :  http://www.siamsamsung.co.th

    18. บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นางรัชนี เองปัญญาเลิศ

    ที่อยู่ : 75/72-73 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร : 0-2260-5536-43

    แฟกซ์ : 0-2260-5561

    E-mail : -

    website :  http://www.siamlife.co.th

    19. บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสหพล สังข์เมฆ

    บริษัทประกันชีวิต

     1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

                                          

     สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

                               นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

                                            

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

                          คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

                                          

     

     3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

                                          

    สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

                                         คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

                                            

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

                                              

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

                         คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

                                            

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

                                             

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                                 นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

                                      

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

                                         

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

                                 คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

                                              

     

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

                                             

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

                                  นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

                                              

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

                                          

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

                         นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

                                                  

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

                                           

     

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                              วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

                                               

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

                                         

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                               คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

                                               

     

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

                                     

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

                              นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

                                              

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

                                        

     

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                                  นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

                                         

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                                 นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

                                          

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                                        นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

                                           

     

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

                                               

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

                                        นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

                                             

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                            นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

                                              

     

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

                                              

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

                                  คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

                                        

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

                                           

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

                               นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

                                         

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                              นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

                                                

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

                                               

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

                             นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

                                           

                   

    มีต่อนะ คับ

     

    นายประมุข  ฝักเจริญผล

    52127312019

    การเงินการธนาคาร01

    ค.171

    ของสองขวัญ สังข์เอม

    การเงินการธนาคาร 01

    รหัส 52127312018 นะค่ะ

    ของเพื่อนมาทับจนมองไม่เห็นชื่ออ่ะค่ะ

    แล้วก็ทับเนื้อหาไปด้วยบางส่วนด้วย

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                                            

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

                             นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

                                      

    2.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

                                              

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

                           นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

                                        

     3.บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

                                             

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

     

     4.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

                                            

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

                        นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

                                          

     

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัยถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

                          นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

                                        

    6.บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

                                              

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

                       นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

                                         

    7.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

                                           

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

                       คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

                                               

    8.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

                                             

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

                          นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

                                        

     

    9.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                                            

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                                นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                                               

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67  ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

                       คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

                                            

     

    11.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

                                        

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

                        ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

                                         

    12.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                                            

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

                       นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

                                          

    13.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                                             

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

                        นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

                                             

    14.บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                                             

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิตแขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     

                               วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

                                           

    15.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

                           กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

                                             

    16.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

                                            

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                             นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

    17.บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

                                           

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

                                    มร.สตีเฟ่น แอปเปิ้ลยาร์ด

                                             

    18.บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

                                              

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

                       นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

                                               

    19.บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

                                           

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินีเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

                      นาย วีระพันุธุ์ ทีปสุวรรณ  ประธานกรรมการ

                                        

    นายประมุข   ฝักเจริญผล

    52127312019

    การเงินการธนคาร01

    ส่งต่อนะค่ะ

    น.ส. สองขวัญ สังข์เอม

    การเงินการธนาคาร 01

    รหัส 52127312018

     

    ...บริษัทประกันภัย...

    1. บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ดร.สุรชัย วังยายฉิม

    คนขวามือ

    ที่อยู่ 10/7 ถนนราชปรารภ แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    โทรศัพท์ 1557 หรือ 02-239-1557

    โทรสาร 0-2246-1040-1

    เว็บไซต์ http://www.viriyah.co.th

     

    2. บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000)จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : พล.ต.อ. สนอง วัฒนวรางกูล

    ที่อยู่ อาคารอาคเนย์ประกันภัย 315 ชั้น จี 1-3 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    โทรศัพท์ 0-2631-1311

    โทรสาร 0-2237-7409

    เว็บไซต์ http://www.seic2000.com

     

    3. บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    ที่อยู่ 97, 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร กรุงเทพ 10200

    โทรศัพท์ 0-2670-4444

    โทรสาร 0-2629-1080

    เว็บไซต์ http://www.deves.co.th

     

    4. บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ธีระศักดิ์ แสนวรางกุล

    ที่อยู่ 4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

    โทรศัพท์ 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5
    โทรสาร  0-2720-1128-29

    เว็บไซต์ www.phoenix-ins.co.th

     

    5. บริษัท เอเชียประกันภัย1950 จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : จุลพยัพ ศรีกาญจนา

    ที่อยู่ 183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 12 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

    เว็บไซต์ http://www.asiainsurance.co.th

     

    6. บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

    ที่อยู่ 3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย

    โทรศัพท์ 02-648-6666

    โทรสาร 02-661-3774, 02-661-9960

    เว็บไซต์ http://www.cpyins.com

     

    7. บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

    ที่อยู่ 361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

    โทรศัพท์ 0-2502-2999

    โทรสาร 0-2502-2933

    เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com

     

    8. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายชัย โสภณพนิช

    ที่อยู่ 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    โทรศัพท์ 0 2285 8888

    โทรสาร 0 2610 2100

    เว็บไซต์ http://www.bki.co.th/

     

    9. บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ :  ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    ที่อยู่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทรศัพท์ (02) 100-9191

    โทรสาร (02) 6430293-94

    เว็บไซต์ http://www.rvp.co.th

     

    10. บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ชุติพล สิงหะสุริยะ

    ที่อยู่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

    โทรศัพท์ 0-2670-2100

    โทรสาร 0-2670-2135-7

    เว็บไซต์ http://thailand.kurnia.com

     

    11. บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    ที่อยู่ 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทรศัพท์ 0-2651-5995

    โทรสาร 0-2650-9600


    เว็บไซต์ http://www.cigna.com/  

     

    12. บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายโยอิจิ ทามาคากิ

    ที่อยู่ 195 อาค ารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 40 ห้อง 4001-40034007-4009 และ 4012

    โทรศัพท์ 0-2686 8888

    โทรสาร 0-2686 8601-2

    เว็บไซต์ http://www.tokiomarine.co.th/2010/index.htm

     

    13. บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : คุณสุระ จันทร์ศรีชวาลา

    ที่อยู่ อาคารมิตรแท้ประกันภัย เลขที่ 295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพฯ 10500

    โทรศัพท์ 0-2640-7777

    โทรสาร 0-2640-7799

    เว็บไซต์ http://www.mittare.com/

     

    14. บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายนที พานิชชีวะ

    ที่อยู่ 126/2 ถนนกรุงธนบุรี ข.บางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600

    โทรศัพท์ 0-2878-7111, 0-2860-8001

    โทรสาร 0-2439-4840

    เว็บไซต์ http://www.thaisri.com

     

    15. บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายจิรวุฒิ บุญศิริ

    ที่อยู่ 2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

    โทรศัพท์ 02-5559100

    โทรสาร -

    เว็บไซต์ http://www.scsmg.co.th

     

    16. บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายกำพล เตชะหรูวิจิตร

    ที่อยู่ 767 ถ. กรุงเทพ-นนทบุรี แขวง-เขต บางซื่อ กทม. 10800

    โทรศัพท์ (02)9114567,9114488

    โทรสาร (02)9114477

    เว็บไซต์ http://www.namsengins.co.th

     

    17. บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นาวาอากาศโททินกร พันธุ์กระวี

    ที่อยู่ 71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

    โทรศัพท์ (02)695-0800

    โทรสาร (02)695-0808

    เว็บไซต์ http://www.thaivivat.co.th/

     

    18. บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ

    ที่อยู่ 252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทรศัพท์ (02) 665-4000

    โทรสาร (02) 665-4166

    เว็บไซต์ http://www.muangthaiinsurance.com

     

    19. บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ


    ที่อยู่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320


    โทรศัพท์ 0-2202-9500  

    โทรสาร 0-2202-9555


    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/ 

     

    20. บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : มร. คีธ บรูคส์

    ที่อยู่ 87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทรศัพท์  0-2685-3828  
    โทรสาร 0-2685-3830

    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  
    21.  บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    ที่อยู่ 313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    โทรศัพท์ 02-378-7000

    โทรสาร 02-377-3322

    เว็บไซต์ http://www.smk.co.th/

     

    22. บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร

    ที่อยู่ 26/5-6 ชั้น 126/10-11 ชั้น 426/16-17 ชั้น 6 และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์

    เว็บไซต์ http://www.safety.co.th

    นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

                       บริษัทประกันชีวิต

    อาจารย์ครับอันนี้ต่อจากบล็อคที่ 156

    คือว่าผมส่งไปแล้วแต่มันขึ้นไม่หมด

    เลยส่งมาเพิ่มใหม่ครับ

    ขอบคุณครับ

     

     

     

    1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

     

    2.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    3.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    4.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

     

    7.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

    9.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

     

    10.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    11.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

     

    12.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

    13.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์. ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

    15.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227     อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ 

     

    16.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    17.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    18.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

     

    นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

    52127312062

    การเงินการธนาคาร 02

    นางสาวโสระยา สายทอง

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933 เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

     

    2.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    3.บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

      

     

    4.บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
      
      
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]
      
      
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
      
    ชุติพล สิงหะสุริยะ
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -
      
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
      
      
      
     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690
    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
      
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]
      
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110
     
     
     
     
     
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -
     
     
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -


    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
     
     

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -
     

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -
     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
     
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -

      

     

     

     

     

    41.บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033
     

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     
     
     
     
     
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
     
     

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info [email protected]
      นางสาวโสระยา  สายทอง หรัสนักศึกษา 52127312001( การเงินการธนาคาร)
    นางสาวกาญจนา กิจสอาด

    สมาชิกสมาคมประกันชีวิตไทย

    (Members of the Thai Life Assurance Association)

    1. บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ถนนพระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์. 0-2777-8888, โทรสาร. 0-2777-8899
    Bangkok Life Assurance Public Co., Ltd.
    23/115-121 Royal City Avenue, Rama 9 Rd., Huaykwang Bangkok 10310
    Tel. 0-2777-8888, Fax. 0-2777-8899
    www.bla.co.th
    นายชาญ วรรธนะกุล
    Mr. Chan Vathanakul
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President
     
    2. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
    123 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2247-0247-8, โทรสาร 0-2246-9946-7
    Thai Life Insurance Co., Ltd.
    123 Rachadaphisek Rd., Huaykwang, Bangkok 10400
    Tel. 0-2247-0247-8, Fax. 0-2246-9946-7
    www.thailife.com
    นายไชย ไชยวรรณ
    Mr. Chai Chaiyawan
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President
     
    3. บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด
    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์ 0-2632-5000, โทรสาร 0-2632-5500
    Finansa Life Assurance Co.,Ltd.
    2032 FINANSA TOWER New Petchburi Road, Bangkapi, Huaykwang, Bangkok 10310
    Tel. 0-2632-5000, Fax. 0-2632-5500
    www.finansalife.com
    นายมนตรี แสงอุไรพร
    Mr.Montri Saeng-Uraiporn
    กรรมการผู้จัดการ
    President
     
    4. บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    1060 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2655-3000, โทรสาร 0-2256-1666
    Siam Commercial New York Life Insurance Public Co., Ltd.
    1060 New Petchburi Rd., (SCB Building 1) Rajthevee, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2655-4000, Fax. 0-2256-1666
    www.scnyl.com
    นายซี โดนอลด์ คาร์ดีน
    Mr. C. Donald Carden
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President & CEO
     
    5. บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2352-8000, โทรสาร 0-2639-9635, 0-2639-9700
    Prudential Life Assurance (Thailand) Public Co., Ltd.
    82 Saengthong Thani Bldg. 28, 30-31 Flr., North Sathorn Road, Bangkok, 10500.
    Tel. 0-2352-8000, Fax. 0-2639-9635, 0-2639-9700
    www.prudential.co.th
    นายบินายัค ดัตตา
    Mr. Binayak Dutta
    กรรมการผู้จัดการ
    Chief Executive Officer
     
    6. บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2261-2300, โทรสาร 0-2261-3344-55
    Ocean Life Insurance Co., Ltd.
    170/74-83 Ocean Tower 1, Rachadaphisek Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2261-2300, Fax. 0-2261-3344-55
    www.ocean.co.th
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์
    Mrs. Nusara Banyatpiyaphod
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director
     
    7. บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 2, 6 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2305-7000, โทรสาร 0-2263-0313-4
    Ayudhya Allianz C.P. Life Public Company Limited.
    898 Ploenchit Tower 2nd, 6th Floor, Ploenchit Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2305-7000, Fax. 0-2263-0313-4
    www.aacp.co.th
    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President
     
    8. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    โทรศัพท์ 0-2276-1025-7, โทรสาร 0-2276-1997-8
    Muang Thai Life Assurance Co., Ltd.
    250 Rachadaphisek Road, Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2276-1025-7, Fax. 0-2276-1997-8
    www.muangthai.co.th
    นายสาระ ล่ำซำ
    Mr. Sara Lamsam
    กรรมการผู้จัดการ
    President
     
    9. บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด
    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2260-5536-43, โทรสาร 0-2260-5561
    Siam Life Insurance Co., Ltd.
    75/72-73 Ocean Tower 2, 30th Floor, Sukhumvit 19, Wattana, Bangkok 10110.
    Tel. 0-2260-5536-43, Fax. 0-2260-5561
    www.siamlife.co.th
    นางรัชนี เองปัญญาเลิศ
    Mrs.Rashanee Engpanyalert
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director
     
    10. บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด
    315 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2631-1331, โทรสาร 0-2236-7614
    The Southeast Life Insurance Co., Ltd.
    315 Silom Road, Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2631-1331, Fax. 0-2236-7614
    www.southeastlife.com
    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์
    Mr. Chotiphat Bijananda
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director
     
    11. บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    364/30 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2246-7650-99, โทรสาร 0-2248-5391
    Manulife Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    364/30 Sri Ayudhaya Road, Phayathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2246-7650-99, Fax. 0-2248-5391
    www.manulife.co.th
    นายบรูส ฮ็อดเจส
    Mr. Bruce Murray Hodges
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer
     

    12. บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด
    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822, โทรสาร 0-2256-6565
    Thaire Life assurance Co., Ltd.
    223/1 Soi Ruamruedee, Wireless Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2256-6822, Fax. 0-2256-6565
    www.thaire.co.th
    นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    Mr. Surachai Sirivallop
    กรรมการผู้อำนวยการ
    President & CEO
     
    13. บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด
    13 อาคาร น.ม.ส. 2 ชั้น 2 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300.
    โทรศัพท์ 0-2669-3243-50, โทรสาร 0-2669-3252
    Saha Life Insurance Co., Ltd.
    13 Naw Maw Saw Bldg., 2nd Floor, Co-operative League of Thailand,
    Pichai Rd., Dusit, Bangkok 10300.
    Tel. 0-2669-3243-50, Fax. 0-2669-3252
    www.sahalife.co.th
    นายสหพล สังข์เมฆ
    Mr.Sahaphon Sangmek
    ผู้จัดการใหญ่
    Managing Director
     
    14. บริษัท อเมริกันอินเตอร์เเนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด
    181 อาคารเอไอทาวเวอร์ ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-8888, โทรสาร 0-2236-6452
    American International Assurance Co., Ltd.
    181 AI Tower, Surawong Rd., Bangrak, Bangkok 10500
    Tel. 0-2634-8888, Fax. 0-2236-6452
    www.aia.co.th
    นายสัตยา เทพบรรเทิง
    ผู้จัดการทั่วไป – ตัวแทนประกันชีวิต
    นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์
    ผู้จัดการทั่วไป - การตลาดพิเศษ
     
    15. บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 231 อาคารธนชาตประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2207-4200 โทรสาร 0-2253-8484
    Thanachart Life Assurance Co., Ltd.
    231 Thanachart Life Assurance Building
    Rachadamri Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2207-4200, Fax. 0-2253-8484
    www.thanachartlife.co.th
    ดร.ชาติชัย พาราสุข
    Mr. Chartchai Parasuk
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director
     
    16. บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 36/11, 36/59-62 อาคารพี เอส ทาวเวอร์ ชั้น G และ ชั้น 18
    ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์. 0-2645-8500, โทรสาร. 0-2645-8585
    Thai Cardif Life Assurance Co., Ltd.
    36/11, 36/59-62 PS Tower, G and 18th Floor,
    Sukhumvit 21 Road, North-Klongtoey, Wattana, Bangkok 10110
    Tel. 0-2645-8500, Fax. 0-2645-8585.
    www.thaicardif.com
    นายวิศิษฎ์ ตังคนังนุกูล
    Mr. Visidh Tangkanangnukul
    ผู้จัดการทั่วไป
    General Manager
     
    17. บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด
    2922/240-241 ชั้น 15 อาคารชาญอิสระ 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320.
    โทรศัพท์ 0-2308-2245-52, โทรสาร 0-2308-2269
    Siam Samsung Life Insurance Co., Ltd.
    2922/240-241 Charnissara Tower 2, 15th Floor, New Petchburi Rd., Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2308-2245-52, Fax. 0-2308-2269
    www.siamsamsung.co.th
    นายเยิน ฮี คัง
    Mr.Yeon Hee Kang
    ประธานบริหาร
    President
     
    18. บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
    2034/136, 138-143 อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ชั้น 27, 32-33
    ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310.
    โทรศัพท์ 0-2723-4000, โทรสาร 0-2723-4032
    Krungthai-AXA Life Assurance Co., Ltd.
    2034/136, 138-143 Italthai Tower, 32-33 Floor
    New Petchburi Rd., Bangkrapi Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2723-4000, Fax. 0-2723-4032
    www.krungthai-axa.co.th
    นายไมเคิล จอร์จ แพล๊กซ์ตัน์
    Mr. Michael George Plaxton
    ประธานกรรมการบริหาร
    Chief Executive Officer
     
    19. บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด
    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร
    ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2616-2324, โทรสาร 0-2616-2343
    Siam City Life Assurance Co., Ltd.
    169 Siam City Bank Suthisan Branch Bldg., Suthisan Road,
    Samsennai, Payathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2616-2324, Fax. 0-2616-2343
    www.scilife.co.th
    นายสุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์
    Mr. Suwit Wachara-Ampaiwan
    รักษาการกรรมการผู้จัดการ
    (on behalf of) Managing Director
     
    20. บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
    โทรศัพท์ 0-2670-1400, โทรสาร 0-2670-1401-11
    Tokio Marine Life Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    195 Empire Tower Building 26th Floor, Sout Satorn Road, Yannawa Sathorn Bangkok 10120.
    Tel. 0-2670-1400, Fax. 0-2670-1401-11
    www.tokiomarinelife.co.th
    นายฮิโรชิ ทาเทอิชิ
    Mr.Hiroshi Tateishi
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director
     
    21. บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด
    130-132 อาคารสินธรทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2263-3900, โทรสาร 0-2263-3899
    ING Life Limited.
    130-132 Sindtorn Tower 3, 29th Floor, Wireless Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2263-3900, Fax. 0-2263-3899
    www.inglife.co.th
    นายราเจช เสฐฐี
    Mr. Rajesh Sethi
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Chief Executive Officer
     
    22. บริษัท เจนเนอราลี ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด
    ชั้น 16 ยูนิต 1602-1605 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส
    87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2685-3828, โทรสาร 0-2685-3829
    Generali Life Assurance (Thailand) Co., Ltd.
    16th Floor, Unit 1603-1605, CRC Tower, All Seasons Places,
    87/2 Wireless Road, Lumpini, Patumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2685-3828, Fax. 0-2685-3829
    www.generali.co.th
    นายคีธ แอนดรูว์ บรูคส์
    Mr.Keith Brooks
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Country Manager/Chief Executive Officer
     
    23. บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด
    เลขที่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2615-6800, โทรสาร 0-2675-3818
    Ace Life Assurance Co., Ltd.
    130-132 Sindhorn Building, Tower I, 11th-12th Floor
    Wireless Road, Lumpini Pathumwan Bangkok 10330
    Tel. 0-2675-3800, Fax. 0-2675-3818
    www.acelife.co.th
    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer
     
    24. บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด
    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-7323-30, โทรสาร 0-2634-7331
    BUI Life Insurance Co., Ltd.
    177/1 Surawong Rd. Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2634-7323-30, Fax. 0-2634-7331
    www.builife.com
    ดร. ชวิน เอี่ยมโสภณา
    Dr.Chavin Iamsapana
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President
     
    25. บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด
    อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2648-3600, โทรสาร 0-2648-3555
    Advance Life Assurance Co., Ltd.
    Ploenchit Center, 2nd Floor, 2 Sukhumvit Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2648-3600, Fax. 0-2648-3555
    www.alife.co.th
    นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

                     นางสาวกาญจนา  กิจสอาด

                     การเงินการธนาคาร  02

                     52127312055 

    นางสาว จิตรยา กันยา

    บริษัทประกันชีวิต

     1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

                                          

     สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

                               นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

                                            

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

                          คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

                                          

     

     3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

                                          

    สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

                                         คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

                                            

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

                                              

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

                         คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

                                            

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

                                             

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                                 นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

                                      

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

                                         

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

                                 คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

                                              

     

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

                                             

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

                                  นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

                                              

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

                                          

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

                         นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

                                                  

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

                                           

     

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                              วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

                                               

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

                                         

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                               คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

                                               

     

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

                                     

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

                              นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

                                              

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

                                        

     

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                                  นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

                                         

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                                 นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

                                          

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                                        นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

                                           

     

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

                                               

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

                                        นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

                                             

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                            นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

                                              

     

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

                                              

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

                                  คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

                                        

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

                                           

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

                               นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

                                         

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

                                              

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                              นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

                                                

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

                                               

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

                             นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

                                           

     

      บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
     

     

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

      สำนักงานใหญ่    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ   เขตพระนคร    กรุงเทพมหานคร 10200

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
      สำนักงานใหญ่      34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
      บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    สำนักงานใหญ่       121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก
    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    สำนักงานใหญ่       34 ซ.สุขุมวิท 4   (นานาใต้)   ถนนสุขุมวิท     แขวงคลองเตย เขตคลองเตย   
    กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก   กรุงเทพมหานคร 10500

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกั

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์   เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

     
      
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา  ประธานกรรมการ
    สำนักงานใหญ่
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    นางสาว จิตรยา  กันยา

    รหัสนักศึกษา 52127312064

    การเงินการธนาคาร 02

    นางสาวชลินทร แพรกปาน

    บริษัทประกันชีวิต

     1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

       คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

     

     

                                     บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
     

     

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

      สำนักงานใหญ่    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ   เขตพระนคร    กรุงเทพมหานคร 10200

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
      สำนักงานใหญ่      34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
      บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    สำนักงานใหญ่       121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก
    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    สำนักงานใหญ่       34 ซ.สุขุมวิท 4   (นานาใต้)   ถนนสุขุมวิท     แขวงคลองเตย เขตคลองเตย   
    กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก   กรุงเทพมหานคร 10500

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์   เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    สำนักงานใหญ่      
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
     
    นางสาวชลินทร  แพรกปาน
    52127312002
    การเงินการธนาคาร  หมู่เรียน01
     
    นางสาวกาญจนา กิจสอาด
    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
    โทร :. 0-2502-2999  แฟกซ์ : 0-2502-2933
    เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com  อีเมล์: [email protected]

     

              

                      ประธานกรรมการ  นายสุวรรณ โชตชวเลิศ 

     
    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
           

    ประธานกรรมการ  นายชัย โสภณพนิช

     
    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด
    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
            

     ประธานกรรมการ        คุณ บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

     
    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]
     
    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    ประธานกรรมการกฤษณะ กฤตมโนรถ

     
    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด
    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -
    ประธานกรรมการนายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์
     
    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -
     
    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด
    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ประธานกรรมการ   นายเท คา คิน
     
    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด
    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]
         
    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
       

    ประธานกรรมการ  นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

     
    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด
    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690

    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -
     
    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
    ประธานกรรมการนายมนูญ ลีเชวงวงศ์ 
     
    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
         

    ประธานกรรมการ   คุณวรางค์ เสรฐภักดี 

     
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด
     
    บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -

    ประธานกรรมการ   นายบุญรอด  มิณฑสันต์

     
    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด
    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด
    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
               

     ประธานกรรมการ   นายมนู เลียวไพโรจน์

     
    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด
    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด
    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด
    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด
    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     
    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

         

    ประธานกรรมการนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล

     
    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด
    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด
    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนน
    นางสาวณัฐฐา กุลวัฒน์ 52127312027

      บริษัทประกันภัย

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด

    จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933

    เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
     
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94

    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     
     
    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง
    เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์:
    [email protected]
    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด
     
     
    ชุติพล สิงหะสุริยะ

     

     

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด
     
     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

     

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด

     


    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ
    แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์


    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย

    เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  

    แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
    กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
    กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  
    แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน
    กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด
     
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก
    เขตคลองเตย กทม. 10110
     
     บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ
     เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ :
    http://www.thanachartinsurance.com/ 
     อีเมล์ : -
     
    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1
    อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก
     กทม. 10500 โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด

    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
     

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575,
     0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
    เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -
     
    บริษัท พุทธธรรรมประกันภัย จำกัด

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด
     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
     กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  
    แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
      

     

     

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่     252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
     
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
     
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด
     

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info
    [email protected]
    บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง

     กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด

    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300,
    0-2236-1211เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ 
    อีเมล์ : [email protected]
    บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ :
    [email protected]-
     
    บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
    กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อี
    เมล์ :[email protected]
     
    บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั้นแนลแอสชัวรันซ์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)
    สาขาประเทศไทย
     

     


    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919

     

    บริษัทประกันชีวิต

     1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

       คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

     บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
     
    สำนักงานใหญ่      
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

      สำนักงานใหญ่    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ   เขตพระนคร    กรุงเทพมหานคร 10200

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
      สำนักงานใหญ่      34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
      บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    สำนักงานใหญ่       121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก
    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    สำนักงานใหญ่       34 ซ.สุขุมวิท 4   (นานาใต้)   ถนนสุขุมวิท     แขวงคลองเตย เขตคลองเตย   
    กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก   กรุงเทพมหานคร 10500

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

     

     นายอำนาจ   ด้วงโพนแร้ง
    การเงินการธนาคาร 02
    52127312069

    นางสาว สุนทร พุ่มขจร

    บริษัทประกันชีวิต

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

     คุณ สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่ 169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     นาง นุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด(มหาชน)

    นายกิตติพงษ์ จินตวราลักษณ์ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     บริษัทอยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    สำนักงานใหญ่ 315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

    สำนักงานใหญ่ 75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

    คุณเยิน ฮี คัง ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด

    นาย มงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่ 177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 บริษัท

    ประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการ

    บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

     นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

    บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     สำนักงานใหญ่ ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

     นายบุญรอด มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

    สำนักงานใหญ่ 90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     สำนักงานใหญ่ เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ ประธานกรรมการ 

     บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67 ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ 313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 

     นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่ 2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 1021จ

    นางสาว ปวีณา กรพิมาย

    บริษัทประกันชีวิต

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ 23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ 250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     สำนักงานใหญ่ 123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

    นายกิตติพงษ์ จินตวราลักษณ์ ประธานกรรมการ

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด

    ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ 170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่ อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 วิลฟ์ แบล็คเบิร์น ประธานกรรมการ

    .บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่ 1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ 315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ 75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ 2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง ประธานกรรมการ

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ 121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    นาย มงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการ

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ

     บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 นายมนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการ

    บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่ เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย)

    จำกัด สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

     นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้อำนวยการ นายไพศาล คุนผลิน

    สำนักงานใหญ่ 34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ 90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

     สำนักงานใหญ่ เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ ประธานกรรมการ

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67 ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ 313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่ 2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

    วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

    บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

    สำนักงานใหญ่ อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่ 71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

     

     

     

    โดย นางสาว ปวีณา กรพิมาย

    การเงินการธนาคาร02

    รหัส  52127312037

    รูปมันไม่ขึ้น

    ขอส่งใหม่นะค่ะ

    น.ส. สองขวัญ สังข์เอม

    การเงินการธนาคาร 01

    รหัส 52127312018

     

    ...บริษัทประกันชีวิต...

    1. บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

      

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

    สำนักงานใหญ่ : 170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ชั้น 24-28 ถนนรัชดาภิเษก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    2. บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายบินายัค ดัตตา

    สำนักงานใหญ่ : 82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    3. บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

                                          

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ

      

    สำนักงานใหญ่  : ชั้นที่ 26 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนน สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    4. บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายชาญ วรรธนะกุล

    สำนักงานใหญ่ : 23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว 21 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    5. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสาระ ล่ำซำ

     

    สำนักงานใหญ่ : 250 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    6. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์ 

         

    สำนักงานใหญ่ : 123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    7. บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

       

     กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด

      

    สำนักงานใหญ่ : 898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น6 โซนเอ,ชั้น16-18 ถนนเพลินจิต ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    8. บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสุนทร บุญสาย

    สำนักงานใหญ่ : 2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    9. บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายราเจช เสฐฐี

    สำนักงานใหญ่ : 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 16 และ ชั้น 29 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    10. บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายไมเคิล จอร์จ แพล๊กซ์ตัน์

     

    สำนักงานใหญ่ : 87/1 แคปปิตอล ทาวเวอร์ ชั้น 24-25 ออลซีซั่นส์ เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    11. บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

    สำนักงานใหญ่ : 31/11,36/59-62 อาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น G และชั้น 18 ถนนสุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

    12. บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายเยิน ฮี คัง 

    สำนักงานใหญ่ : 2922/222-227 อาคารชาญอิสระ 2 ชั้น 15 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    13. บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายบันเทิง ตันติวิท

    สำนักงานใหญ่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    14. บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายโดนอลด์ คาร์ดีน

    สำนักงานใหญ่ : 1060 อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

    15. บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายคีธ บรูคส์

    สำนักงานใหญ่ : 87/2 ยูนิต 1603-5 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    16. บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นางรัชนี เองปัญญาเลิศ

    สำนักงานใหญ่ : 75/72-73 ซอยสุขุมวิท 19 (วัฒนา) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    17. บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายชาติชัย พาราสุข 

    สำนักงานใหญ่ : 315 ถนนสีลม ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 

    18. บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายบรูส ฮ็อดเจส (คนขวา)

    สำนักงานใหญ่ : 364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

    19. บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสหพล สังข์เมฆ

    สำนักงานใหญ่ : 13 อาคาร น.ม.ส. 2 ชั้น 2 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300.

    20. บริษัท อเมริกันอินเตอร์เเนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสัตยา เทพบรรเทิง

    สำนักงานใหญ่ : 181 ถนนสุรวงศ์ ข.บางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    21. บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด


    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์ (คนซ้าย)

    สำนักงานใหญ่ : 169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ชั้น 3-6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400

    22. บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ดร. ชวิน เอี่ยมโสภณา

    สำนักงานใหญ่ : 177/1 อาคารบางกอกสหประกันภัย ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    ...บริษัทประกันภัย...

    1. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายชัย โสภณพนิช

    สำนักงานใหญ่ : 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    2. บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ์

    สำนักงานใหญ่ : 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    3. บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

    สำนักงานใหญ่ : 361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

    4. บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    สำนักงานใหญ่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    5. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายมารุต สิมะเสถียร

    สำนักงานใหญ่ : 63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    6. บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายกวี อังศวานนท์

    สำนักงานใหญ่ : 34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    7. บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    สำนักงานใหญ่ : 97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

    8. บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายจิรวุฒิ บุญศิริ

    สำนักงานใหญ่ : 2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

    9. บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นางวรางค์ เสรฐภักดี

    สำนักงานใหญ่ : 121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    10. บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายชาติชาย พานิชชีวะ

    สำนักงานใหญ่ : 126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

    11. บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล

      

      

     

     

     

     

    สำนักงานใหญ่ : 4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

    12. บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นางกฤตยา ล่ำซำ

     

     

     

    สำนักงานใหญ่ : 252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    13. บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : นายสุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา

      

      

     

     

     

     

     

    สำนักงานใหญ่ : อาคารมิตรแท้ประกันภัย เลขที่ 295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพฯ 10500

    14. บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : สาระ ล่ำซำ (ซ้าย)

    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
     
     
     
     
     
     
     
     

    สำนักงานใหญ่ : 252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    15. บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ : ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวา)

     

     

     

    สำนักงานใหญ่ : 10/7 ถนนราชปรารภ แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     

     

     ..........................................................................................................

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822

     

     

    บริษัท สหประกันชีวิต จํากัด

    ประธานกรรมการ นายสหพล สังข์เมฆ 

    411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

     

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด

    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่  นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายบรูส ฮ็อดเจส

    364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นายเชาว์พันธุ์ พันธ์ทอง

     อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     ประธานกรรมการ นายราเจช เสฐฐี

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ

    87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ  คุณเยิน ฮี คัง   

    2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    ประธานกรรมการ  นายมงคล ลีลาธรรม 

    121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

     170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายสาระ ล่ำซำ

    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์ 

    123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

     

    25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

    http://www.bki.co.th

     

     

     

     

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

     

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.kpi.co.th

     

     

     

     

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

     

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวางกรุงเทพฯ 10310

     

    www.rvp.co.th

     

     

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

     

    http://www.kamolinsurance.com

     

     

     

     

    บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์

     

    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

     

    http://www.qbe.co.th

     

     

     

     

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

     

    http://thailand.kurnia.com

     

     

     

     

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     

     อาคารจรัญประกันภัย เลขที่ 401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

     

    http://www.charaninsurance.com

     

     

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

     

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

     

    ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.generalithailand.com

     

     

     

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

     

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    http://www.cpyins.com

     

     

     

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

    http://www.chubb.com

     

     

     

     

    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

     

    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

     

     

     

     

    บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

     

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    http://www.cigna.co.th/

     

     

     

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

     

    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    http://www.dhipaya.co.th

     

     

     

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

     

    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

     

    http://www.deves.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์

     

    34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thaiins.com

     

     

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    http://www.thaihealth.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

     

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน

     

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

     

    http://www.thaipat.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    (ชื่อเดิม : บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ

     

     2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

     

    http://www.scsmg.co.th

     

     

     

     

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

     

     

    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

     

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    http://www.thaire.co.th

     

     

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

     

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ

     

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

     

    http://www.thaisri.com

     

     

     

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

     

    ประธานกรรมการ  นายบินายัค ดัตตา

     

    ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

     

     

     

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด 

     

     

    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท

     

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

     

     

     

     

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

     

     

    ประธานกรรมการ สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์

     

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

     

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานกรรมการ คุณชาญ วรรธนะกุล

     

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ  คุณสุนทร บุญสาย

    388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ  วิลฟ์ แบล็คเบิร์น 

    อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ นายโดนอลด์ คาร์ดีน

    1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    ประธานกรรมการ นายคีธ บรูคส์

    อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นางสาวสุกาญดา เเสนศรี

    52127312005

    การเงินการธนาคาร ปี2

    บริษัทประกันชีวิต

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

    คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

     

    บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

     

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

                  สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
                        ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
                        กรุงเทพมหานคร 10500

    นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

    วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

     

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

     

     

             นางสาวภมรรัตน์  จันทร์ประดิษฐ์

                  รหัส52127312008

                การเงินการธนาคาร 01

     

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933 เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง
    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ชุติพล สิงหะสุริยะ
    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์
    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์
    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690
    เว็บไซต์ :
    -   อีเมล์ : -
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -


    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ : [email protected]
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ : [email protected]

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info [email protected]
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ : [email protected]


    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300, 0-2236-1211
    เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ อีเมล์ : [email protected]

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : [email protected]-

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อีเมล์ :[email protected]
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แนชชั่นแนล ทาวเวอร์ ชั้น G ถนนมหิดล เชียงใหม่ 50200
    โทร : (053) 809-555 ต่อ 1111  แฟกซ์ : (053) 809-538
    เว็บไซต์ : http://www.aia.co.th/  อีเมล์ : -

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President


    313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2638-9000  แฟกซ์ : 0-2638-9050
    เว็บไซต์ : http://www.allianzcp.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ
    315 ชั้น G - ชั้น 3 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2631-1331, 0-2267-7777  แฟกซ์ : 0-2237-7409
    เว็บไซต์ :http://www.seic.co.th  อีเมล์ :[email protected]

    364/29 ถนนศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2247-9261-75  แฟกซ์ : 0-2247-9260, 0-2246-5030
    เว็บไซต์ : http://www.indara.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    เลขที่ 399 อาคารอินเตอร์เชนจ 21 ชั้น 25-30 ถนนสุขุมวิท
    แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
    โทร :ศัพท์ 0-2611-4040 โทร :สาร 0-2611-4310
    เว็บไซต์ : http://www.acethai.com/  อีเมล์ : [email protected]
    เอเชียประกันภัยลงนาม MOU ร่วมกับสมาคมอู่กลาง
    นายนิค จันทรวิทุร กรรมการผู้จัดการ
    183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 12 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-9977  แฟกซ์ : 0-2250-5277
    เว็บไซต์ : http://www.aii.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ
    908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2318-8318, 0-2319-1199  แฟกซ์ : 0-2318-8550, 0-2319-1166
    เว็บไซต์ : http://www.msig-thai.com/  อีเมล์ : [email protected]
    นายไพโรจน์ จิรชนานนท์
    292 ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2224-0056, 0-2224-4727 - 36  แฟกซ์ : 0-2221-1390
    http://www.erawanins.com/  อีเมล์ : [email protected]
    สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ
    181/19 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2634-8888  แฟกซ์ : 0-2236-6489
    เว็บไซต์ : http://www.aiggeneral.co

    ^

    ^

    ^

    นายเสกสรร หอมรินทร์

    52127312068

    การเงินการธนาคาร02

    นายชาญ วรรธนะกุล
    Mr. Chan Vathanakul
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ถนนพระราม 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์. 0-2777-8888, โทรสาร. 0-2777-8899
    Bangkok Life Assurance Public Co., Ltd.
    23/115-121 Royal City Avenue, Rama 9 Rd., Huaykwang Bangkok 10310
    Tel. 0-2777-8888, Fax. 0-2777-8899
    www.bla.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายไชย ไชยวรรณ
    Mr. Chai Chaiyawan
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
    123 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2247-0247-8, โทรสาร 0-2246-9946-7
    Thai Life Insurance Co., Ltd.
    123 Rachadaphisek Rd., Huaykwang, Bangkok 10400
    Tel. 0-2247-0247-8, Fax. 0-2246-9946-7
    www.thailife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายมนตรี แสงอุไรพร
    Mr.Montri Saeng-Uraiporn
    กรรมการผู้จัดการ
    President

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด
    2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทรศัพท์ 0-2632-5000, โทรสาร 0-2632-5500
    Finansa Life Assurance Co.,Ltd.
    2032 FINANSA TOWER New Petchburi Road, Bangkapi, Huaykwang, Bangkok 10310
    Tel. 0-2632-5000, Fax. 0-2632-5500
    www.finansalife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายซี โดนอลด์ คาร์ดีน
    Mr. C. Donald Carden
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President & CEO

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    1060 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2655-3000, โทรสาร 0-2256-1666
    Siam Commercial New York Life Insurance Public Co., Ltd.
    1060 New Petchburi Rd., (SCB Building 1) Rajthevee, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2655-4000, Fax. 0-2256-1666
    www.scnyl.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายบินายัค ดัตตา  ( คนขวา นะจ๊ะ )
    Mr. Binayak Dutta
    กรรมการผู้จัดการ
    Chief Executive Officer

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2352-8000, โทรสาร 0-2639-9635, 0-2639-9700
    Prudential Life Assurance (Thailand) Public Co., Ltd.
    82 Saengthong Thani Bldg. 28, 30-31 Flr., North Sathorn Road, Bangkok, 10500.
    Tel. 0-2352-8000, Fax. 0-2639-9635, 0-2639-9700
    www.prudential.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์
    Mrs. Nusara Banyatpiyaphod
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด
    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2261-2300, โทรสาร 0-2261-3344-55
    Ocean Life Insurance Co., Ltd.
    170/74-83 Ocean Tower 1, Rachadaphisek Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2261-2300, Fax. 0-2261-3344-55
    www.ocean.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสตีเฟ่น แอบเปิ้ลยาร์ด
    Mr. Stephen Appleyard
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
    898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 2, 6 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2305-7000, โทรสาร 0-2263-0313-4
    Ayudhya Allianz C.P. Life Public Company Limited.
    898 Ploenchit Tower 2nd, 6th Floor, Ploenchit Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2305-7000, Fax. 0-2263-0313-4
    www.aacp.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสาระ ล่ำซำ
    Mr. Sara Lamsam
    กรรมการผู้จัดการ
    President

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    โทรศัพท์ 0-2276-1025-7, โทรสาร 0-2276-1997-8
    Muang Thai Life Assurance Co., Ltd.
    250 Rachadaphisek Road, Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2276-1025-7, Fax. 0-2276-1997-8
    www.muangthai.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นางรัชนี เองปัญญาเลิศ
    Mrs.Rashanee Engpanyalert
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด
    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2260-5536-43, โทรสาร 0-2260-5561
    Siam Life Insurance Co., Ltd.
    75/72-73 Ocean Tower 2, 30th Floor, Sukhumvit 19, Wattana, Bangkok 10110.
    Tel. 0-2260-5536-43, Fax. 0-2260-5561
    www.siamlife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายชาติชัย พาราสุข 
    Mr. Chotiphat Bijananda
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด
    315 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2631-1331, โทรสาร 0-2236-7614
    The Southeast Life Insurance Co., Ltd.
    315 Silom Road, Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2631-1331, Fax. 0-2236-7614
    www.southeastlife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายบรูส ฮ็อดเจส ( คนขวานะจ๊ะ)
    Mr. Bruce Murray Hodges
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    364/30 ถนนศรีอยุธยา พญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2246-7650-99, โทรสาร 0-2248-5391
    Manulife Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    364/30 Sri Ayudhaya Road, Phayathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2246-7650-99, Fax. 0-2248-5391
    www.manulife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    Mr. Surachai Sirivallop
    กรรมการผู้อำนวยการ
    President & CEO

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด
    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822, โทรสาร 0-2256-6565
    Thaire Life assurance Co., Ltd.
    223/1 Soi Ruamruedee, Wireless Road, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2256-6822, Fax. 0-2256-6565
    www.thaire.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสหพล สังข์เมฆ
    Mr.Sahaphon Sangmek
    ผู้จัดการใหญ่
    Managing Director

    บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด
    13 อาคาร น.ม.ส. 2 ชั้น 2 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300.
    โทรศัพท์ 0-2669-3243-50, โทรสาร 0-2669-3252
    Saha Life Insurance Co., Ltd.
    13 Naw Maw Saw Bldg., 2nd Floor, Co-operative League of Thailand,
    Pichai Rd., Dusit, Bangkok 10300.
    Tel. 0-2669-3243-50, Fax. 0-2669-3252
    www.sahalife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสัตยา เทพบรรเทิง
    ผู้จัดการทั่วไป – ตัวแทนประกันชีวิต
    นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์
    ผู้จัดการทั่วไป - การตลาดพิเศษ

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์เเนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด
    181 อาคารเอไอทาวเวอร์ ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-8888, โทรสาร 0-2236-6452
    American International Assurance Co., Ltd.
    181 AI Tower, Surawong Rd., Bangrak, Bangkok 10500
    Tel. 0-2634-8888, Fax. 0-2236-6452
    www.aia.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    ดร.ชาติชัย พาราสุข
    Mr. Chartchai Parasuk
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 231 อาคารธนชาตประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2207-4200 โทรสาร 0-2253-8484
    Thanachart Life Assurance Co., Ltd.
    231 Thanachart Life Assurance Building
    Rachadamri Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2207-4200, Fax. 0-2253-8484
    www.thanachartlife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    X................................X

    นายวิศิษฎ์ ตังคนังนุกูล
    Mr. Visidh Tangkanangnukul
    ผู้จัดการทั่วไป
    General Manager

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด
    เลขที่ 36/11, 36/59-62 อาคารพี เอส ทาวเวอร์ ชั้น G และ ชั้น 18
    ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์. 0-2645-8500, โทรสาร. 0-2645-8585
    Thai Cardif Life Assurance Co., Ltd.
    36/11, 36/59-62 PS Tower, G and 18th Floor,
    Sukhumvit 21 Road, North-Klongtoey, Wattana, Bangkok 10110
    Tel. 0-2645-8500, Fax. 0-2645-8585.
    www.thaicardif.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายเยิน ฮี คัง
    Mr.Yeon Hee Kang
    ประธานบริหาร
    President

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด
    2922/240-241 ชั้น 15 อาคารชาญอิสระ 2 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320.
    โทรศัพท์ 0-2308-2245-52, โทรสาร 0-2308-2269
    Siam Samsung Life Insurance Co., Ltd.
    2922/240-241 Charnissara Tower 2, 15th Floor, New Petchburi Rd., Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2308-2245-52, Fax. 0-2308-2269
    www.siamsamsung.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายไมเคิล จอร์จ แพล๊กซ์ตัน์
    Mr. Michael George Plaxton
    ประธานกรรมการบริหาร
    Chief Executive Officer

    บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
    2034/136, 138-143 อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ชั้น 27, 32-33
    ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310.
    โทรศัพท์ 0-2723-4000, โทรสาร 0-2723-4032
    Krungthai-AXA Life Assurance Co., Ltd.
    2034/136, 138-143 Italthai Tower, 32-33 Floor
    New Petchburi Rd., Bangkrapi Huaykwang, Bangkok 10320.
    Tel. 0-2723-4000, Fax. 0-2723-4032
    www.krungthai-axa.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายสุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ( คนขวา )
    Mr. Suwit Wachara-Ampaiwan
    รักษาการกรรมการผู้จัดการ
    (on behalf of) Managing Director

    บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด
    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร
    ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400.
    โทรศัพท์ 0-2616-2324, โทรสาร 0-2616-2343
    Siam City Life Assurance Co., Ltd.
    169 Siam City Bank Suthisan Branch Bldg., Suthisan Road,
    Samsennai, Payathai, Bangkok 10400.
    Tel. 0-2616-2324, Fax. 0-2616-2343
    www.scilife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายฮิโรชิ ทาเทอิชิ
    Mr.Hiroshi Tateishi
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
    โทรศัพท์ 0-2670-1400, โทรสาร 0-2670-1401-11
    Tokio Marine Life Insurance (Thailand) Public Company Limited.
    195 Empire Tower Building 26th Floor, Sout Satorn Road, Yannawa Sathorn Bangkok 10120.
    Tel. 0-2670-1400, Fax. 0-2670-1401-11
    www.tokiomarinelife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายราเจช เสฐฐี
    Mr. Rajesh Sethi
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Chief Executive Officer

    บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด
    130-132 อาคารสินธรทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2263-3900, โทรสาร 0-2263-3899
    ING Life Limited.
    130-132 Sindtorn Tower 3, 29th Floor, Wireless Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2263-3900, Fax. 0-2263-3899
    www.inglife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายคีธ แอนดรูว์ บรูคส์
    Mr.Keith Brooks
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    Country Manager/Chief Executive Officer

    บริษัท เจนเนอราลี ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด
    ชั้น 16 ยูนิต 1602-1605 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส
    87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2685-3828, โทรสาร 0-2685-3829
    Generali Life Assurance (Thailand) Co., Ltd.
    16th Floor, Unit 1603-1605, CRC Tower, All Seasons Places,
    87/2 Wireless Road, Lumpini, Patumwan, Bangkok 10330.
    Tel. 0-2685-3828, Fax. 0-2685-3829
    www.generali.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์ ( คนซ้ายมือ )
    Mr. Richard Andrew Spring
    ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่
    Chief Executive Officer

    บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด
    เลขที่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 0-2615-6800, โทรสาร 0-2675-3818
    Ace Life Assurance Co., Ltd.
    130-132 Sindhorn Building, Tower I, 11th-12th Floor
    Wireless Road, Lumpini Pathumwan Bangkok 10330
    Tel. 0-2675-3800, Fax. 0-2675-3818
    www.acelife.co.th

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    ดร. ชวิน เอี่ยมโสภณา
    Dr.Chavin Iamsapana
    กรรมการผู้จัดการใหญ่
    President

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด
    177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.
    โทรศัพท์ 0-2634-7323-30, โทรสาร 0-2634-7331
    BUI Life Insurance Co., Ltd.
    177/1 Surawong Rd. Bangrak, Bangkok 10500.
    Tel. 0-2634-7323-30, Fax. 0-2634-7331
    www.builife.com

    ---------------------------------------------------------------------------------------------

    นายเชาว์พันธู์ พันธ์ทอง
    กรรมการผู้จัดการ
    Managing Director

    บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด
    อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110.
    โทรศัพท์ 0-2648-3600, โทรสาร 0-2648-3555
    Advance Life Assurance Co., Ltd.
    Ploenchit Center, 2nd Floor, 2 Sukhumvit Road, Klongtoey Bangkok 10110.
    Tel. 0-2648-3600, Fax. 0-2648-3555
    www.alife.co.th

     

    นายเสกสรร   หอมรินทร์

    52127312068

    การเงินการธนาคาร02

    นางสาวหัทยา กัววงศ์

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

    คุณ นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    สาระ ล่ำซำ

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ 

    สำนักงานใหญ่ 250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    ประธานคณะบริหารจัดการ

    315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ชั้น. เขต/อำเภอ บางรัก. จังหวัด กรุงเทพฯ 10500. โทรศัพท์, : 631-1331, 267-7777

     

    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

    คุณสุระ จันทร์ศรีชวาลา

    ประธานกรรมการบริษัท

    295 สี่พระยา สี่พระยา. เขต/อำเภอ บางรัก. จังหวัด กรุงเทพฯ 10500. โทรศัพท์, : 236-8635-8, 2374645  

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด

    ภาพนายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110. โทรศัพท์ : (66) 0 2648 6666

     

    บริษัท คอมไบด์ อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด

    กฤษณะ กฤตมโนรถ 

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ข.ดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) จำกัด

    นายเสรี สุวรรณภานนท์

    ประธานกรรมการ

     

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    คุณชาญ วรรธนะกุล

     

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย  จำกัด

    กีรติ พานิชชีวะ

    กรรมการผู้จัดการใหญ่

    อาคาร 208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน Bangkok 10330 ( Map ). Tel : 0-2302-0111 Fax : 0-2651-5511

     

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    ประธานกรรมการ 

    นายมงคล ลีลาธรรม 

    121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    ประธานกรรมการ   

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

     170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    กรรมการผู้จัดการ
     นางวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
    กรรมการผู้อำนวยการ 
    นายไพศาล คุนผลิน

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]
     กรรมการผู้จัดการ
    นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

     

    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    2/2 อาคารเชียงใหม่ อินเตอร์แนชชั่นแนล ทาวเวอร์ ชั้น G ถนนมหิดล เชียงใหม่ 50200
    โทร : (053) 809-555 ต่อ 1111  แฟกซ์ : (053) 809-538
    เว็บไซต์ : http://www.aia.co.th/  อีเมล์ : -

    นางสาว นฤมล โคตรเนตร

    กาเงินการธนาคาร01

    52127312036

    บริษัทประกันชีวิต

     1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

       คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    19.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    20.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทประกันภัย 

     

    ชื่อบริษัท/COMPANIES

    ข้อมูลบริษัท 

    1.บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

                   

     

    สำนักงานใหญ่   361 ถ.บอนด์สตรีท          เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด    อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

                 

    ประธานกรรมการ  นายสุวรรณ โชตชวเลิศ 

     

    2. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)                                              

                           

     

    สำนักงานใหญ่ อาคารกรุงเทพประกันภัย 25 ถนนสาทรใต้
     แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

                      

    ประธานกรรมการ  นายชัย โสภณพนิช

     

    3.บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

     

            

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

                  

    ประธานกรรมการ   คุณวรางค์ เสรฐภักดี 

     

    4.บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด 

     

                     

     

    สำนักงานใหญ่  208 ถนนวิทยุ ข.ลุมพินี     เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

                        

     

    ประธานกรรมการ            คุณ บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    5. บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)        

                    

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

                    

    ประธานกรรมการนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล

     

     

    6.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                                 

              

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    ประธานกรรมการนายมิตซึจิ โคโนชิตะ

    7.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                        

     

    สำนักงานใหญ่    598 อาคารคิวเฮาส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

        

    ประธานกรรมการ   นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

     

    8.บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

                    

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

       สุนีย์ วิทยะวาณิชกุล กรรมการผู้จัดการ

    9.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด  

                 

     

    สำนักงานใหญ่  : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    ประธานกรรมการนายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์

     

    10.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                 

     

     

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กทม. 10500

                    

     

    ประธานกรรมการ   นายมนู เลียวไพโรจน์

     

    11.บริษัท ธนชาตประกันภัย   จำกัด  

     

                         

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

                     

    ประธานกรรมการ   นายบันเทิง ตันติวิท

     

    12.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                  

          

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

                       

    ประธานกรรมการคุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์

     

    13.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

                    

     

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

                 

    ประธานกรรมการ   นายโยอิจิ ทามากาคิ 

     

    14.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

              

                    

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ  เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     

    ประธานกรรมการนายยูจิ คาวาอูชิ

     

    15.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

            

                         

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

             

    ประธานกรรมการ    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา

     

    16.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

                         

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

                 

    ประธานกรรมการดร. สม จาตุศรีพิทักษ์

    17.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)    

                   

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

     

    ประธานกรรมการนายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์
     

    18.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

                         

     

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500  

                

    ประธานกรรมการ  นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

     

    19.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                       

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500

     

     

    ประธานกรรมการกฤษณะ กฤตมโนรถ

     

    20.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

                  

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                                

    ประธานกรรมการ     มร. คีธ บรูคส์

     

     

    นางสาวกรวิภา มีละกูล

     บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

    ประวัติความเป็นมา บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)
               บริษัทประกันภัยไทยที่กำลังเติบโตสู่ธุรกิจประกันภัยอย่างมั่นคง ด้วยการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล และสร้างสรรค์นวัตกรรมการประกันภัยรูปแบบใหม่อย่างไม่หยุดนิ่ง ที่จะเป็นหลักประกันให้กับชีวิต....และทรัพย์สินของคนไทย จากการบริการด้วยใจของเรา
              ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน อุดมการณ์ที่ยึดมั่น และวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นในความพร้อมด้านคุณภาพบริการ ภายใต้การบริหาร จัดการที่ดี วันนี้ กมลประกันภัย จึงเป็นบริษัทประกันวินาศภัยที่คุณเลือกอย่างมั่นใจ ด้วยความคุ้มครองที่คุณเชื่อมั่นภายใต้ จรรยาบรรณที่คุณไว้วางใจ

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  คุณกมล  สุโกศล

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่  361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

     

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     กรรมการผู้จัดการใหญ่  คุณชัย โสภณพนิช

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่   25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120                                            

     

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด 

    ประวัติความเป็นมา บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

          บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด มีรากฐานการให้บริการด้านการประกันวินาศภัย มากว่า 50 ปี ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทมีความมุ่งมั่นที่ จะพัฒนาความมั่นคงของฐานะทางการเงิน การทำงานที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาคุณภาพของพนักงาน ตลอดจนการให้บริการของบริษัท เพื่อตอบสนองต่อ ความต้องการของลูกค้า และรองรับสภาพการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงในสภาวะปัจจุบัน เพื่อก้าวขึ้นเป็นที่หนึ่งในการให้บริการด้านการประกันวินาศภัย ให้สม กับปณิธานของบริษัทว่า "มุ่งมั่นในบริการสร้างผลงานเพื่อสังคม"

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ ร้อยโทสุชาย เชาว์ศิษฐ

    ที่อยู่    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                                                                                                                                         

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด               

    ประวัติความเป็นมา บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

          บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 10 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยกฎหมายฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนี้ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 72 ก.   วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เนื่องจากผู้ประสบภัยไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิในการขอรับค่าสินไหมทดแทน เพราะในบางพื้นที่ไม่มีสาขาของบริษัทประกันภัยหรือแต่ละบริษัทมีแนวทางในการดำเนินการที่แตกต่างกัน
    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ผู้ถือหุ้นประกอบด้วยบริษัทประกันวินาศภัยที่รับประกันภัยรถในขณะนั้น รวมทั้งสิ้น 71 บริษัท ในปัจจุบันบางบริษัทประกันวินาศภัยได้มีการปิดกิจการ หรือมีการควบรวมกิจการกัน จึงทำให้มีผู้ถือหุ้นคงเหลือ 64 บริษัท

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  นายสมพร สืบถวิลกุล

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่    เลขที่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด              

    ประวัติความเป็นมา บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

           บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เป็นสาขา ณ ประเทศไทยของกลุ่มบริษัทคิวบีอี ประกันภัย จำกัด   และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานในส่วนของภาคพื้นเอเชียแปซิกฟิก บริษัทคิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งและดำเนินกิจการในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครฯ ปัจจุบันบริษัทฯ มีสาขารวม 7 สาขา และศูนย์บริการสินไหมทดแทนทั่วประเทศอีก 4 แห่ง ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงที่แข็งแกร่ง ท่านสามารถรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทฯ ได้ผ่านการติดต่อผู้ให้คำแนะนำด้านการประกันภัยฯ ของท่าน

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบารัก กรุงเทพมหานครฯ 10500          

     บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    การดำเนินธุรกิจ

          รับประกันวินาศภัยทุกประเภท พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและรองรับความต้องการของลูกค้าอย่างสูงสุด โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจประกันภัยด้วย ความซื่อสัตย์ สุจริต

     ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประวัติความเป็นมา บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

         บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ “บริษัท ซุ่นเฮงหลีประกันภัย จำกัด” ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2492 ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจรับประกันวินาศภัยทุกประเภท ได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง และการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ในปี 2518 จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด” เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5 ล้านบาท และเป็น 10 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2523 และปี พ.ศ. 2526 ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2534 เพิ่มทุนเป็น 30 ล้านบาท และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2535 ด้วยทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ 6 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาท และได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในปี พ.ศ. 2537 ทะเบียนเลขที่ บมจ. 327

    กรรมการผู้จัดการใหญ่    นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

       บริษัท ทิพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประวัติบริษัท บริษัท ทิพย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    พ.ศ.2494
          บริษัท ทิพย์ประกันภัย จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 โดย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยทุนจดทะเบียน 2,000,000 บาท

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต  สิมะเสถียร

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

     บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    เทเวศประกันภัย บรรษัทภิบาล
          บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี เทเวศประกันภัย เติบโตก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงศักยภาพในการให้บริการ ประกันวินาศภัยที่ครบทุกประเภท หรือการเติบโตทางธุรกิจที่ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนและเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น แต่ด้วยการาดำเนินธุรกิจโดยยึดหลัก บรรษัทภิบาล บริหารงานด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบใด้ เทเวศประกันภัย จึงเป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับความ เชื่อถือและไว้วางใจอย่างสูง ทั้งจากผู้ถือหุ้น คู่ค้า ตลอดจนลูกค้าทุกกลุ่มเสมอมา
         ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน อุดมการณ์ที่ยึดมั่น และวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นในความพร้อมด้านคุณภาพบริกการ ภายใต้การบริหาร จัดการที่ดี วันนี้ เทเวศประกันภัย จึงเป็น " บริษัทประกันวินาศภัยที่คุณเลือก" อย่างมั่นใจ ด้วยความคุ้มครองที่คุณเชื่อมั่นภายใต้ จรรยาบรรที่คุณไว้วางใจ

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

     

     บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  นายกวี อังศวานนท์ 

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่   34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    วิสัยทัศน์
          เป็นผู้ให้บริการด้านการประกันสุขภาพที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญ มีฐานะทางการเงินมั่นคง มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามีกระบวนการการให้บริการที่มีคุณภาพเพื่อความพอใจสูงสุดของลูกค้า โดยบุคลากรมืออาชีพบนพื้นฐานความซื่อสัตย์ โปร่งใส และเป็นธรรม

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่   121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     

    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

     ที่ตั้งสำนักงานใหญ่    ที่อยู่  34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

        บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

     ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

     

       บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)           

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ที่อยู่   160 อาคารไทยเศรษฐกิจ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

       บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย  จำกัด (มหาชน)

     Ocean General Insurance Co., Ltd. **

    บริษัทได้โอนเฉพาะธุรกิจประกันวินาศภัยให้กับ บมจ.นวกิจประกันภัย และเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 2550 เป็นต้นไป **

     

     บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด         

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  ดร.ชาติชัย พาราสุข

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่  ชั้น 10 อาคารกลาสเฮาส์ เลขที่ 1 สุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

     

      บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด               

     ที่ตั้งสำนักงานใหญ่    ที่อยู่    900/11-1336 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

       

    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)                                      

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่  100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500

     บริษัทประกันชีวิต         

        บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่   นายชาญ วรรธนะกุล

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว 21 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด                                       

    ประวัติ บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

            บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด เป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ.2540 ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บมจ.ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำที่มีรัฐบาลไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และกลุ่มแอกซ่า กลุ่มธุรกิจประกันชีวิต สุขภาพ และบริหารสินทรัพย์ขนาดใหญ่ ส่งผลให้ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต เป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีความเชี่ยวชาญในด้านการรับประกันชีวิต

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  นายไมเคิล จอร์จ แพล๊กซ์ตัน

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่  87/1 แคปปิตอล ทาวเวอร์ ชั้น 24-25 ออลซีซั่นส์ เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

     บริษัท บางกอก สหประกันชีวิต จำกัด

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่    ที่อยู่   177/1 อาคารบางกอกสหประกันภัย ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

      บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่   123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

         บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด          

    ประวัติ บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด
             
    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยความร่วมมือของพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความมั่นคงทางด้านการเงินของไทย ผนวกกับผู้บริหารระดับมืออาชีพที่วิสัยทัศน์อันกว้างไกล ผสมผสานจุดเด่นของหุ้นส่วนทางธุรกิจบนศักยภาพที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ด้วยความมุ่งมั่นในอันที่จะนำพาบริษัทฯ สู่ระดับชั้นแนวหน้าของธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยและเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำ

         บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด   เราจะบริหารองค์กรแห่งนี้โดยมุ่งเน้นให้เกิดความแข็งแกร่งในทุกๆ ด้านเพื่อให้บรรลุถึง Vision ที่ปรารถนา และเราจะจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากธุรกิจของเราให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางตรง และทางอ้อมในสัดส่วนที่เหมาะสมและเป็นธรรม

           เราจะปลูกฝังอุดมการณ์แห่งวิชาชีพร่วมกันให้เกิดขึ้นแก่สมาชิกของเราทุกผู้ทุกนาม และให้อุดมการณ์นั้นฝังแน่นและหยั่งรากลึกลงไปในจิตวิญญาณ เพื่อให้การทำงานของพวกเราทุกคนเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเท โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือกรมธรรม์และองค์กรเป็นสำคัญ

           กระบวนการบริหารจัดการของเราจะเป็นไปอย่างโปร่งใสและใชัหลักบรรษัทภิบาลที่ดี อุดมไปด้วยจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจแท้จริงต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของเรา

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมนตรี แสงอุไรพร

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่  2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  นายซี โดนอลด์ คาร์ดีน

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่     1060 อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด                                                 

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่   31/11,36/59-62 อาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น G และชั้น 18 ถนนสุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด จำกัด

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ที่อยู่  223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

         บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  คุณนุสรา บัญญัติปิย

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่   170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ชั้น 24-28 ถนนรัชดาภิเษก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด

    ประวัติ บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด

          กลุ่มธนชาติ ซึ่งเป็น 1 ใน 44 บริษัท ที่ได้ยื่นความจำนงขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต เพื่อสนองตอบนโยบายการเปิด เสรีธุรกิจประกันวินาศภัย ณ วันที่ 11 เมษายน 2538 ดัวยความตั้งใจจริงที่จะประกอบธุรกิจประกันชีวิต รวมถึงความพร้อมในด้านบุคลากร และความมั่นคงของกลุ่มธนชาติ ทำให้ ธนชาติเป็น 1 ในจำนวน 12 บริษัท ที่ได้รับการคัดเลือกให้สามารถประกอบธุรกิจประกันชีวิตในครั้งนั้น ในนามของ "บริษัทธนชาติประกันชีวิต จำกัด” โดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตั้งแต่ วันที่ 22 ตุลาคม 2540 เป็นต้นมา ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นจำนวน 500 ล้านบาท

     ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2548 บริษัทฯได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "บริษัท ธนชาตประกันชีวิต จำกัด"

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่  231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

       บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน))

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  ที่อยู่   898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น6 โซนเอ,ชั้น16-18 ถนนเพลินจิต ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  นายบินายัค ดัตตา

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่  82 อาคารแสงทองธานี ชั้น 28, 30-31 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     

       บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่  250 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

     บริษัท อเมริกันอินเตอร์เเนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่  นายสัตยา เทพบรรเทิง

    ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   ที่อยู่   181 อาคารเอไอทาวเวอร์ ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ 10500.

     

    นางสาวกรวิภา  มีละกูล (การเงินการธนาคาร 02)

    รหัสนักศึกษา 52127312044

    บริษัทประกันชีวิต

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

     

    บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

     

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

                  สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
                        ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
                        กรุงเทพมหานคร 10500

     

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

     

    นางสาวสโรชา บัวสาย

    52127312047

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด

    จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933

    เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
     
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94

    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     
     
    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง
    เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์:
    [email protected]
    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด
     
     
    ชุติพล สิงหะสุริยะ

     

     

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด
     
     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

     

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด

     


    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ
    แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์


    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย

    เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  

    แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
    กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
    กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  
    แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน
    กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด
     
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก
    เขตคลองเตย กทม. 10110
     
     บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ
     เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ :
    http://www.thanachartinsurance.com/ 
     อีเมล์ : -
     
    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1
    อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก
     กทม. 10500 โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด

    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
     

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575,
     0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
    เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -
     
    บริษัท พุทธธรรรมประกันภัย จำกัด

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด
     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
     กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  
    แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
      

     

     

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่     252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
     
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
     
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด
     

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info
    [email protected]
    บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง

     กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด

    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300,
    0-2236-1211เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ 
    อีเมล์ : [email protected]
    บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ :
    [email protected]-
     
    บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
    กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อี
    เมล์ :[email protected]
     
    บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั้นแนลแอสชัวรันซ์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)
    สาขาประเทศไทย
     

     


    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    นายธีรเดช แจ่มกระจ่าง

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
                        ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
                        กรุงเทพมหานคร 10500

     

     

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
                        ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
                        กรุงเทพมหานคร 10500

     

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัทประกันชีวิต

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

     นางสาวนุสรา  เสริมเผือก

    รหัส 52127312038

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด

    จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933

    เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
     
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94

    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     
     
    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง
    เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์:
    [email protected]
    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด
     
     
    ชุติพล สิงหะสุริยะ

     

     

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด
     
     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

     

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด

     


    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ
    แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์


    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย

    เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  

    แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
    กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
    กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  
    แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน
    กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด
     
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก
    เขตคลองเตย กทม. 10110
     
     บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ
     เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ :
    http://www.thanachartinsurance.com/ 
     อีเมล์ : -
     
    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1
    อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก
     กทม. 10500 โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด

    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
     

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575,
     0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
    เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -
     
    บริษัท พุทธธรรรมประกันภัย จำกัด

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด
     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
     กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  
    แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
      

     

     

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่     252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
     
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
     
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด
     

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info
    [email protected]
    บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง

     กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด

    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300,
    0-2236-1211เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ 
    อีเมล์ : [email protected]
    บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ :
    [email protected]-
     
    บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
    กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อี
    เมล์ :[email protected]
     
    บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั้นแนลแอสชัวรันซ์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)
    สาขาประเทศไทย
     

     


    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
     
     

    บริษัทประกันภัย

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด

    จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933

    เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
     
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94

    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     
     
    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
     

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง
    เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์:
    [email protected]
    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด
     
     
    ชุติพล สิงหะสุริยะ

     

     

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด
     
     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

     

     

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด

     


    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ
    แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
     
    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ
    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
     
     
    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์


    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย

    เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9  

    แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     
     
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
    กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
    กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  
    แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน
    กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด
     
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก
    เขตคลองเตย กทม. 10110
     
     บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ
     เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ :
    http://www.thanachartinsurance.com/ 
     อีเมล์ : -
     
    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1
    อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก
     กทม. 10500 โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ
    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567  แฟกซ์ : 0-2911-4477
    http://www.namsengins.co.th/  อีเมล์ : -

    บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด

    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2245-9988  แฟกซ์ : 0-2246-1351
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด
     

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2649-1000  แฟกซ์ : 0-2649-1140
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111  แฟกซ์ : 0-2237-1856
    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2657-1700  แฟกซ์ : 0-2657-1666-7
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ : -
     
    บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2234-7755  แฟกซ์ : 0-2234-5667
    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575,
     0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
    เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2295-3434  แฟกซ์ : 0-2295-3933
    เว็บไซต์ :-  อีเมล์ : -
     
    บริษัท พุทธธรรรมประกันภัย จำกัด

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
    โทร : 0-2585-9009  แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4
    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -
     
    บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด
     

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2246-9635 - 54  แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1
    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
     กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  
    แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
      

     

     

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่     252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
     
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
     
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด
     

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info
    [email protected]
    บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง

     กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

    บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด

    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300,
    0-2236-1211เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ 
    อีเมล์ : [email protected]
    บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ :
    [email protected]-
     
    บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
    กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อี
    เมล์ :[email protected]
     
    บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั้นแนลแอสชัวรันซ์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)
    สาขาประเทศไทย
     
    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
     
     
    นายยุธพงษ์  ขา
     
    บริษัทประกันภัย
     
    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท  กมลประกันภัย  จำกัด (มหาชน)
     
    บริษัท  กมลประกันภัย  จำกัด (มหาชน)
     
    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

     361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด

    จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933

    เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

     

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
     
    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94

    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     
     
    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
    กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  
    แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ
    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2555-9100  แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)
     
    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ
    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222  แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832
    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ
    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน
    กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด
     
    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์  กรรมการผู้จัดการ
    สำนักงานใหญ่170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก
    เขตคลองเตย กทม. 10
     
    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)
    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร
    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล
    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575,
     0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด
    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ
    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา
    เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร :0-2686-8888-9  แฟกซ์ : 0-2686-8601-2
    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/  อีเมล์ :[email protected]
    110
     
     
    บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด
    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท
    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ
     เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ :
    http://www.thanachartinsurance.com/ 
     
     
     
    บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ
    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  
     
      
    บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1
    อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก
     กทม. 10500 โทร : 0-2636-7900  แฟกซ์ : 0-2636-7999
    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง
    เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์:
    [email protected]
    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 
     ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2322-3001 - 49  แฟกซ์ : 0-2321-7332
    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/  อีเมล์ : info
    [email protected]
    บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)
    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79  แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495
    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2263-0335  แฟกซ์ : 0-2263-0589
    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9  แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259
    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/  
     
      
    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก
    กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-2333  แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1
    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/  
     
     
    บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง         
    กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2202-9500  แฟกซ์ : 0-2202-9555
    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]

     
    บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด
     

    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231  แฟกซ์ : 0-2236-1300,
    0-2236-1211เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ 
    อีเมล์ : [email protected]
    บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019  แฟกซ์ : 0-2225-1623
    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2662-7000 - 9  แฟกซ์ : 0-2622-7010
    เว็บไซต์ : -  อีเมล์ :
    [email protected]-
     
     
    บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
    กรุงเทพมหานคร 10800
    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111  แฟกซ์ : 0-2913-2130-4
    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อี
    เมล์ :[email protected]
     
     
    บริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด
    ดร.สมนึก
    492-494 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทร : 0-2541-5555  แฟกซ์ : 0-2541-5170
    เว็บไซต์ :http://www.asset.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    นายประดิษฐ รอดลอยทุกข์

    313 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
    โทร : 0-2378-7000 แฟกซ์ : 0-2731-6590
    เว็บไซต์ :http://www.smk.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ
    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2636-8118  แฟกซ์ : 0-2236-8119
    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]
     
     
    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
     
    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล
    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
     กรุงเทพมหานคร 10250
    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5  
    แฟกซ์ : 0-2720-1128-29
    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/  อีเมล์ : -
     
    บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่     252 ถนนรัชดาภิเษก
    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร. : 0-2290-3333
    โทรสาร : 0-2290-2033

    บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210
    โทร : 0-2679-6165 - 87  แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12
    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด
     
     
    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา
    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด
     
     
    ทรูมันนี่ร่วมมือกับเมืองไทยประกันชีวิต
    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ
    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2290-3333  แฟกซ์ : 0-2665-4166
    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/  อีเมล์ :
    [email protected]
    ิษัทประกันชีวิต

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

     บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

       คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

     

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

    บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์.

     

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

     

     

    บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    บริษัท ไทยสมุทร

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

     25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    http://www.bki.co.th

    บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.kpi.co.th

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

      ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย  เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวางกรุงเทพฯ 103

     www.rvp.co.th 

    บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

    http://www.kamolinsurance.com

     บริษัท คิวบีอีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์

    ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    http://www.qbe.co.th

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

    http://thailand.kurnia.com

    บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

     อาคารจรัญประกันภัย เลขที่ 401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    http://www.charaninsurance.com

    บริษัท เจนเนอราลี่ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

    ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.generalithailand.com

    บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

      กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ 

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     http://www.cpyins.com

     บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    http://www.chubb.com

     บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

     

      กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

     36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 

    บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    http://www.cigna.co.th/

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    http://www.dhipaya.co.th

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

      กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข 

    97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 http://www.deves.co.th

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์

    34/3 อาคารไทยประกันภัย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.thaiins.com

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    http://www.thaihealth.co.th

      บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

     

     

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถ.สุขุมวิท เขตคลองเตย แขวงคลองเตย กทม. 10110

    http://www.thaipat.co.th

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    (ชื่อเดิม : บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

      กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ   

     2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

    http://www.scsmg.co.th

    บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    http://www.thaire.co.th

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

     

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ

    126/2 อาคารไทยศรีประกันภัย, ถนนกรุงธนบุรี, คลองสาน, กรุงเทพฯ 10600

    http://www.thaisri.com

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

      ประธานกรรมการ  นายบินายัค ดัตตา  

     ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด 

     

    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท

    231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

     

      ประธานกรรมการ สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ 

    169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

      ประธานกรรมการ คุณชาญ วรรธนะกุล 

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

      ประธานกรรมการ    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

      170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด 

     

      ประธานกรรมการ นายสาระ ล่ำซำ 

    250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

      บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด 

     

     

      ประธานกรรมการ นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  

     123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

      บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

     

      ประธานกรรมการ  คุณสุนทร บุญสาย 

     388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

      บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

     

      ประธานกรรมการ  วิลฟ์ แบล็คเบิร์น 

    อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด 

     

     

     

      ประธานกรรมการ นายโดนอลด์ คาร์ดีน 

    1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

      บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

      ประธานกรรมการ นายคีธ บรูคส์ 

    อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

      บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

      ประธานกรรมการ นายราเจช เสฐฐี 

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

      บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

      ประธานกรรมการ นายโชติพัฒน์ พีชานนท์  

     315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

      บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

      ประธานกรรมการ นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

    75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

      บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

      ประธานกรรมการ นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ

    87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

       บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

      ประธานกรรมการ  คุณเยิน ฮี คัง   

    922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

      บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด

      ประธานกรรมการ  นายมงคล ลีลาธรรม 

    121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

      บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

      ประธานกรรมการ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี 

     177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

      บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

     

      กรรมการผู้อำนวยการ  นายสุรชัย ศิริวัลลภ 

      223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330.
    โทรศัพท์ 0-2256-6822

      บริษัท สหประกันชีวิต จํากัด

     

      ประธานกรรมการ นายสหพล สังข์เมฆ 

    411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

      บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด

      ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่  นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์์

    130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 11-12
    ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

      บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

      กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายบรูส ฮ็อดเจส 

     364/30 ถนนศรีอยุธยา ข.ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

      บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด

     

      กรรมการผู้จัดการ นายเชาว์พันธุ์ พันธ์ทอง 

     อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

      บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

     

      นายมนตรี แสงอุไรพร 

     2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

      บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

      1060 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์) เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

     

     

     

    บริษัท ประกันชีวิตนครหลวงไทย จำกัด

     

      นายสุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ( คนขวา )

     169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร
    ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400.

     

    บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

      นายฮิโรชิ ทาเทอิชิ

     เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

    บริษัท ไอเอ็นจี ประกันชีวิต จำกัด

     

      นายราเจช เสฐฐี

     130-132 อาคารสินธรทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.

      บริษัท เจนเนอราลี ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

     

     

     

      นายคีธ แอนดรูว์ บรูคส์

     ชั้น 16 ยูนิต 1602-1605 อาคาร ซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์ เพลส
    87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

      ดร. ชวิน เอี่ยมโสภณา

     177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500.

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

                                     บริษัทประกันชีวิต

     บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA 

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

      ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

     บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

       169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     คุณนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     นายบินายัค ดัตตา ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    คุณชาญ วรรธนะกุล  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

    นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

     บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด 

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต 

    นายโดนอลด์ คาร์ดีน  ประธานกรรมการ   

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด 

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ 

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด   

     นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด 

     นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ 

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

     นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์ 

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด 

     นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด 

     คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ           

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

       บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการ 

     สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

                                          บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด 

       นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    2.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ทันตกรรม)

       นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

       นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

      นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

        นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย
                        ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก
                        กรุงเทพมหานคร 10500

      บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ HBC

       นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

     บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ HBC 

          คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

     บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

       นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

      นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

          คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

           ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

       นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

                นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

                   วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

        กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

       นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

          นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

           นายสุภัค ศิวะรักษ์  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์
                        เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 

    บริษัท นิวแฮมเชอร์ อินชัวรันส์ บริษัท เอไอจี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด

          สตีเว่น บาร์เน็ต ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  ชั้น 21-23 อาคารสยามทาวเวอร์ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด 

        นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่    อาคารอาคเนย์ประกันภัย เลขที่ 315 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500            

     บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

          นายแอนดริว วอง ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  อาคารคิวเฮ้าส์ คอนแวนต์ ชั้น 9 เลขที่ 38 ถนนคอนแวนต์ สีลม กรุงเทพฯ 10500

    บริษัท เอ็มเอสไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

           นาย ยาซุฮิโระ อิมามูระ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่ 1908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

    บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด

          นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  อาคารอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล (อาคาร เอ.ไอ.ทาวเวอร์ / อาคาร เอ.ไอ.บี.) 181 ถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

      

    บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

          คุณวรางค์ เสรฐภักดี  ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

         คุณสุธีชัย สันติวราคม  ประธานกรรมการ

     สำนักงานใหญ่26/5-6 อาคารอรกานต์ ถนนชิดลม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

           นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ อาคารกรุงเทพประกันภัย 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

     

     บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

          สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่  63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 

     บริษัท เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด      

                   สำนักงานใหญ่ 130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 1 ชั้น 10-12 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    เบรทท์ อลัน คลิงเลอร์  ประธานกรรมการ

    บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

           คุณชาติชาย พานิชชีวะ ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 126/2 ถ.กรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600

     บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

             นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร  ประธานกรรมการ

    สำนักงานใหญ่ 90/4-6, 100/50-55 อาคารสาธรนคร ถนน สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

     นางสาววีรนุช  หมัดตะเล

    รหัสนักศึกษา  52127312013

    เอกการเงินการธนาคาร 01

                                         

     

    1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

     สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    ผู้จัดการใหญ่:นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

     

     

    2 .บริษัท มารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    ผู้จัดการใหญ่:คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    3.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  :170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    ผู้จัดการใหญ่:คุณนางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

    4.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่   : 169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

    ผู้จัดการใหญ่:คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  :23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    ผู้จัดการใหญ่:คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

    6.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  :250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    ผู้จัดการใหญ่:นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    7.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ : อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    ผู้จัดการใหญ่:วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    8.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  :388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    ผู้จัดการใหญ่:คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

    9.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่ :ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    ผู้จัดการใหญ่:นายบินายัค ดัตตา

    10.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ :อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     

    ผู้จัดการใหญ่:นายคีธ บรูคส์

    11.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ : 123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    ผู้จัดการใหญ่:นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์ 

    12.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  :130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    ผู้จัดการใหญ่:นายราเจช เสฐฐี  

    13.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ : 315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    ผู้จัดการใหญ่:นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

    14.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ : 87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    ผู้จัดการใหญ่:นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ

     

    15.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่ : 1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    ผู้จัดการใหญ่:นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

     

    16.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  :121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    ผู้จัดการใหญ่:นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

    17.บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ : 177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     

    ผู้จัดการใหญ่:นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

    18.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

      สำนักงานใหญ่  :2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    ผู้จัดการใหญ่:คุณเยิน ฮี คัง 

     

    19.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

    ผู้จัดการใหญ่:นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์

    20.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    ผู้จัดการใหญ่:นายมิตซึจิ โคโนชิตะ

    21.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่: 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก   กรุงเทพมหานคร 10500

    ผู้จัดการใหญ่: นายมนู เลียวไพโรจน์

     

    นางสาวสุกัญญา พวงทอง

    ID: 52127312014

    การเงินการธนาคาร01

                     บริษัทประกันชีวิต

    บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ...

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

     

     

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

    คุณ  นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายบินายัค ดัตตาประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

     

    บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

     นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

     

     

    บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์. ประธานกรรมการ

     

    บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227     อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

     นาย มงคล ลีลาธรรม  ประธานกรรมการ 

     

    บริษัท บางกอกสหประกันชีวิต จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  177/1 ถ. สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีประธานกรรมการ 

     

     

    บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ 

     

                                    บริษัทประกันภัย

    บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่ 338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายมิตซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายมนูญ ลีเชวงวงศ์  ประธานกรรมการ

     

     บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ

     

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร
     

     

     

    บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

      สำนักงานใหญ่    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ   เขตพระนคร    กรุงเทพมหานคร 10200

    บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
     
     
     
     
    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์
      สำนักงานใหญ่      34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี
    เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

      บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด
     
     
     
     
    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี
    สำนักงานใหญ่       121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก
    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 
    บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด
     
     
    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน
    สำนักงานใหญ่       34 ซ.สุขุมวิท 4   (นานาใต้)   ถนนสุขุมวิท     แขวงคลองเตย เขตคลองเตย   
    กรุงเทพมหานคร 10110

    บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่ 175-177 อาคารบางกอกสหประกันภัย     ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก   กรุงเทพมหานคร 10500

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด  มิณฑสันต์ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    นายยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

     

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 ...    

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

    บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12
    โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต
    แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
    กรุงเทพฯ 10210

     วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

      

    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 15 อาคารอื้อจือเหลียง เลขที่ 968 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานครฯ 10500

    กฤษณะ กฤตมโนรถ ประธานกรรมการ

     

    บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

     

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 16 ยูนิต 1601 และ 1607 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    นายเท คา คิน ประธานกรรมการ

     

    บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด (ประกันวินาศภัย)

     

    สำนักงานใหญ่    อาคาร ซี ไอ ทาวเวอร์ เลขที่ 2/2 ถ.มหิดล ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    ตู้ ปณ.33 ปณ.พระสิงห์ เชียงใหม่ 50200

     

     

    บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่   71 อาคารประกันภัยไทยวิวัฒน์ ถ.ดินแดง แขวงสามเสนใน
    เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

     นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ประธานกรรมการ

     

     

    บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์   เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
                        เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    สำนักงานใหญ่      
    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

                    

    นางสาวชาลิสา เกิดทิพย์

     บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)  

      นายมนัส บินมะฮมุด

    ที่อยู่ :

     

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

    โทร :

     

    0-2502-2999

    แฟกซ์ :

     

    0-2502-2933

    อีเมล์ :

     

    [email protected]

     

     

    http://www.kamolinsurance.com          

     บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

      นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8
    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

     

    บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94
    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th  อีเมล์ : [email protected]

     บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

      คุณ กีรติ พานิชชีวะ

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111  แฟกซ์ : 0-2651-5511
    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

     

    บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด
    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2274-9797  แฟกซ์ : 0-2274-9794
    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]

    บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด
    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2238-0999  แฟกซ์ : 0-2238-0836
    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

    บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด

    ผู้จัดการใหญ่ นายชุติพล สิงหะสุริยะ

    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
    โทร : 0-2635-1555  แฟกซ์ : 0-2635-1298-9
    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -

     บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ผู้จดการใหญ่  นายสุกิจ จรัญวาศน์

    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2276-1024  แฟกซ์ : 0-2275-4919
    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com   อีเมล์ : -

      บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    ผู้จัดการใหญ่  นายคีธ แอนดรูว์ บรูคส์

    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2685-3828  แฟกซ์ : 0-2685-3830
    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

     บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355  แฟกซ์ : 0-2261-3775
    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/  อีเมล์ : [email protected]

     บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2231-2640 - 50  แฟกซ์ : 0-2231-2654
    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/  อีเมล์ : -

     บริษัท ซิกน่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

      นายแกรี่ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2651-5995  แฟกซ์ : 0-2650-9600
    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/  อีเมล์ : -

     บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

     นายจารึก กังวานพณิชย์

    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
    โทร : 0-2248-0059  แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50
    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]

      บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

      นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร : 0-2670-4444  แฟกซ์ : 0-2280-0399
    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

      บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2652-2880  แฟกซ์ : 0-2652-2870-2
    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/  อีเมล์ : [email protected]

     บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

      คุณวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2642-3100  แฟกซ์ : 0-2642-3130
    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

      บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    ผู้จัดการใหญ่ นายประเสริฐ  อุดมเดชสวัสดิ์

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646  แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606
    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

      บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

      คุณชาติชาย พานิชชีวะ

    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001  แฟกซ์ : 0-2439-4840
    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/  อีเมล์ : [email protected]

     บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ผู้จัดการใหญ่  ร้อยเอกวิธูร วิสุทธิผล

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111  แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624
    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/  อีเมล์ : [email protected]

     บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด

    ผู้จัดการใหญ่ นายพีระพัฒน์ เมฆสิงห์วี

    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร : 0-2661-7999  แฟกซ์ : 0-2665-7304
    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/  อีเมล์ : -

      บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด

     นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ

    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
    โทร : 0-2685-1800  แฟกซ์ : 0-2685-1900
    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/  อีเมล์ : -

      บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

      นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร

    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222
    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

      บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

      นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล

    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975
    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/  อีเมล์ : [email protected]

     บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด

      คุณชาญ วรรธนะกุล

    ที่อยู่ :
      23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว 21 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    โทร :
      0-2203-0055, 0-2641-5599
    แฟกซ์ :
      0-2203-0044, 0-2641-5566
    อีเมล์ :
      [email protected]
      
     
    บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
     

    http://www.bla.co.th

     

     

     นายไชย ไชยวรรณ

    ที่อยู่ :
      123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร :
      0-2247-0247
    แฟกซ์ :
      0-2249-9946
    อีเมล์ :
      [email protected]
    เว็บไซต์ :
      http://www.thailife.com

     บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด

     นายมนตรี แสงอุไรพร

    ที่อยู่ :
      2032 อาคารฟินันซ่าประกันชีวิต ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร :
      0-2632-5000
    แฟกซ์ :
      0-2632-5500
    อีเมล์ :
      [email protected]
    เว็บไซต์ :
     

    http://www.finansalife.com

     บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด

      นายซี โดนอลด์ คาร์ดีน

    ที่อยู่ :
      1060 อาคาร 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
    โทร :
      0-2655-3000
    แฟกซ์ :
      0-2256-1666
    อีเมล์ :
      [email protected]
    เว็บไซต์ :
     

    http://www.scnyl.com

     บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด

      นาย วิญญู ไชยวรรณ

    ที่อยู่ :
      31/11,36/59-62 อาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น G และชั้น 18 ถนนสุขุมวิท 21 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110
    โทร :
      0-2645-8500
    แฟกซ์ :
      0-2645-8585
    อีเมล์ :
      -
    เว็บไซต์ :
     

    http://www.thaicardif.com

    บริษัท ไทยรีประกันชีวิต จำกัด

      นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    ที่อยู่ :
      223/1 ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    โทร :
      0-2256-6822
    แฟกซ์ :
      0-2256-6565
    อีเมล์ :
      [email protected]
    เว็บไซต์ :
     

    http://www.thaire.co.th

     บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

      นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์

    ที่อยู่ :
      170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ชั้น 24-28 ถนนรัชดาภิเษก ข.คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
    โทร :
      0-2261-2300
    แฟกซ์ :
      0-2261-3344
    อีเมล์ :
      [email protected]
    เว็บไซต์ :
     

    http://www.oli.co.th

    นางสาวชาลิสา เกิดทิพย์

    นางสาวชาลิสา เกิดทิพย์

    การเงินการธนาคาร 02 ปี 2

    รหัสนักศึกษา 52127312046

    บริษัทประกันชีวิต

    1.บริษัท ธนชาตประกันชีวิตจำกัด เฉพาะบัตรโลโก้ TPA

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 231 อาคารธนชาติประกันชีวิต ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

    นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ

     2.บริษัท ประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด

    สำนักงานใหญ่  169 อาคารธนาคารนครหลวงไทย สาขาสุทธิสาร ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400 

    คุณ  สุวิทย์ วัชรอำไพวัณย์ ประธานกรรมการ

     

    3 .บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ 26 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 

    คุณ  ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์

     

     

    4.บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด

    สำนักงานใหญ่  170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ ประธานกรรมการ

     

     

    5.บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่   ชั้น 28, 30-31 อาคารแสงทองธานี เลขที่ 82 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

     นายบินายัค ดัตตา ประธานกรรมการ

     

     

    6.บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    คุณชาญ วรรธนะกุลประธานกรรมการ

     

     

    7.บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  250 ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

    นายสาระ ล่ำซำ ประธานกรรมการ

     

     

    8.บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  123 ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400 

    นายกิตติพงษ์  จินตวราลักษณ์  ประธานกรรมการ

     

     

     

    9.บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

     สำนักงานใหญ่  อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1 898 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 

    วิลฟ์ แบล็คเบิร์น  ประธานกรรมการ 

     

    10.บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  388 ถ.สี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 

    คุณสุนทร บุญสาย ประธานกรรมการ

     

     

     

     

    11.บมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต

    สำนักงานใหญ่  1060 ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 

    นายโดนอลด์ คาร์ดีนประธานกรรมการ

     

     

     

     12.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด

    สำนักงานใหญ่  อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซันส์ เพลส ชั้น 16 ยูนิต 1601-1605 87/2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 

    นายคีธ บรูคส์ ประธานกรรมการ

     

     

     

    13.บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  130-132 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3 ชั้น 29 ถนน วิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 

    นายราเจช เสฐฐี ประธานกรรมการ

     

     

     

    14.บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  315 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 

    นายโชติพัฒน์ พีชานนท์

      

     

     

    15.บริษัท สยามประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  75/72-73 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ชั้น 30 สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

    นายริชาร์ด แอนดรู สปริงค์

     

     

    16.บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด 

    สำนักงานใหญ่  87/1 อาคารแคปปิตอลทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น 24-25 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 

    นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ ประธานกรรมการ 

     

     

    17.บริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด

     สำนักงานใหญ่  2922/222-227 อาคารชาญอิสสระ 2 ชั้น ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    คุณเยิน ฮี คัง  ประธานกรรมการ

     

     

     

    18.บริษัท ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต จำกัด  

    สำนักงานใหญ่  121/89 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 

    นายปกรณ์  มาลากุล ณ อยุธยา

     

     

     

    19.บริษัทสหประกันชีวิต จํากัด

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : เลขที่ 411 อาคาร U Tower ชั้น 4-5 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 

    นายสหพล สังข์เมฆ ประธานกรรมการ

     

     

    20.  บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

    23/115-121 รอยัลซิตี้อเวนิว ซอยศูนย์วิจัย ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    โทร: 0-2777-8888, โทรสาร: 0-2777-8899

    คุณเชิดชู โสภณพนิช ประธานกรรมการ

     

    ..................................................................................

     

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    338 อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ อาคาร A ชั้น 6 – 8 ซอยรัชดาภิเษก 20 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก
    เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 โทร 0-2290-0544  

    คุณ ธีระศักดิ์ แสนวรางกุล ประธานกรรมการบริหารคนปัจจุบัน

     

    2.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  ที่อยู่ : 598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จัดการประจำประเทศไทย

     

    3.บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์แนชชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 9 อาคารภคินท์ ชั้น 5 ถนนรัีชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

     นายมิทซึจิ โคโนชิตะ ประธานกรรมการ 

     บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

      

     

    4.บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่ ที่อยู่ : 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ..

    นายพงศ์ทวี ก้าวสัมพันธ์ ประธานกรรมการ

     

    5.บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่ 63/2 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10320

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

     

    6.บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ   เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

     

    7.บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่      34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์

     

    8.บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    สำนักงานใหญ่       121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก

    แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

     

    9.บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่       34 ซ.สุขุมวิท 4   (นานาใต้)   ถนนสุขุมวิท     เขตคลองเตย    แขวงคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    กรรมการผู้อำนวยการ  นายไพศาล คุนผลิน

     

    10.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด

    บมจ. บางกอกสหประกันภัย 175-177 ถ.สุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรักกรุงเทพมหานคร 10500

    โทร.02-233-6920-9, 02-238-4111 โทรสาร 02-237-1856, 02-236-7861

     นายมนู เลียวไพโรจน์,ประธานกรรมการ

     

    11.บริษัท ธนชาตประกันภัยจำกัด

    สำนักงานใหญ่  ชั้น 9 อาคารกลาสเฮ้าส์ ถ.สุขุมวิท 25 เขตวัฒนา กทม.

    นายบุญรอด บิณฑสันต์ ประธานกรรมการ

     

     

     

    12.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่  90/26-27 ชั้น 11, 90/50-51 ชั้น 18 อาคารสาธรธานี 1
    ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

     

    13.บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด

    สำนักงานใหญ่  เลขที่ 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40
    ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    นายโยอิจิ ทามากาคิ  ประธานกรรมการ

     

    14.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่   ชั้น 12 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ
    เลขที่ 990 ถนนพระรามสี่ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    มร. ยูจิ คาวาอูชิ ประธานกรรมการบริหาร

     

    15.บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 23 1168/67
    ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

    คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ประธานกรรมการ

     

    16.บริษัท สยามซิตี้ประกันภัย จำกัด

    สำนักงานใหญ่  44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

     

    17.บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   313 ถนนศรีนครินทร์ หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

    นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการ

     

    18.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    สำนักงานใหญ่    ที่อยู่ :: 52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

     

    19.บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    สำนักงานใหญ่   2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 โครงการนอร์ธปาร์ค ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

    วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการ

    20.บริษัท กรุงเทพ ประกันภัย

    25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
    โทรศัพท์ : 0 2285 8888
    โทรสาร : 0 2610 2100

    นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ

     

     

     

     

     

    นส. วชิยาลักษณ์ มิ่งมงคล

    การเงินการธนาคาร 52127312028

    วิเคาระห์  Swot ของ PTTEP

     

    แหล่งเจาะที่สำ รวจและผลิตในปัจจุบัน

    ปัจจุบัน PTTEP มีปริมาณปิโตรเลีมที่มีการพิสูจน์แล้ว 778 ล้านบาร์เรล แหล่งเจาะที่ทำ

    รายได้หลักมาจากแหล่งบงกช และไพลนิ ซึ่งในอีก 2-3 ปี โครงการจาก ยาดานา และ

    อาทิตย์จะเป็นโครงการที่สร้างรายได้ดี ปตท.สผ. เองก็ยังเพิ่มโอกาสการลงทุนในแหล่ง

    เจาะต่างประเทศ ในเวียดนาม และกำ ลังศึกษาความเป็นไปได้ที่อินโดนีเซีย อิหร่าน และ

    โอมาน

    จุดแข็ง

    PTTEP เป็นบริษัทที่ถือว่าไม่มีคู่แข่ง เพราะถือว่าได้อภิสิทธิ์จากรัฐเข้าไปร่วมสำ รวจและ

    ผลิต ตามโครงการต่างๆ และหลังจากผลิตก็ขายให้กับผู้รับซื้อรายเดียว คือ ปตท. โดยการ

    ซื้อขายถูกระบุในสัญญาซื้อขายระยะยาว โดยราคาก๊าซจะถูกปรับทุก 6 หรือ 12 เดือน

    สัญญา Take 22 day เป็นการผูกขาดการรับซื้อจากปตท. ดังนั้นธุรกิจประเภทนี้จึงเป็น

    ธรุ กจิ ทมี่ โี อกาสลม้ นอ้ ย ปัจจุบันบริษัทมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับหลาย

    บริษัทในปัจจุบัน

    จุดอ่อน

    ธรุ กจิ สา ํ รวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสูง และมีความเสี่ยงสูง กับการไม่

    พบทรัพยากรอย่างที่คาด ความเชี่ยวชาญของเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำ คัญ ซึ่ง PTTEP ปัจจุบัน

    อาศยั เทคโนโลยจี ากบรษิ ทั รว่ มอยมู่ าก ในการเข้าสาํ รวจและเจาะ การตอ้ งพงึ่ ผอู้ นื่ นเี้ องถอื

    ว่าเป็นจุดอ่อน การที่มีสินค้าหลักเพียงชนิดเดียวคือ ก๊าซธรรมชาติก็ทำ ให้บริษัทมีข้อจำ กัด

    ในการขยายตลาด ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงที่ขนถ่ายได้ยากต้องใช้ท่อก๊าซซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง

    และมีชนิดของลูกค้าที่จำ กัด

    โอกาส

    ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสำ รวจและผลิต โอกาสที่ปตท.สผ. จะสามารถขุดเจาะแหล่ง

    ก๊าซหรือนํ้ามันที่อดีตอาจจะไม่คุ้มทุน เป็นไปได้มากขึ้น การพัฒนาประสิทธิภาพของ

    เครื่องจักรยังมีโอกาสที่จะลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านหรือ

    ต่างประเทศที่มีภูมิศาสตร์คล้ายกับประเทศไทย ยังเพิ่มโอกาสให้กับ PTTEP ได้อีกใน

    อนาคต การลงทุนในอินโดฯ หรืออิหร่าน ก็หวังเพื่อจะเพิ่มปริมาณสำ รองในส่วนของนํ้า

    มันดิบ

    ความเสี่ยง

    การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น พม่า เวียดนาม มาเลเซีย บริษัทจำ ต้องเผชิญกับ

    ความเส่ยี งทางการเมอื งของประเทศดงั กลา่ ว โดยเฉพาะการทที่ อ่ กา๊ ซตอ้ งพาดผา่ น

    ประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาจากกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ และความเสี่ยงในเรื่องจากภัยธรรม

    ชาติ เนื่องจากแท่นเจาะจำ นวนมากอยู่กลางทะเลและท่อก๊าซเองก็พาดผ่านในทะเลลึก

    ความเสียหายใดๆ จะส่งผลร้ายต่อรายได้อย่างสูง

     

    นางสาวไกรศรี  พลโฮม

    รหัส 52127312060

    การวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน AIS

     

    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

                    จากสภาพการปัจจุบัน   ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง   ทำให้การบริหารงานด้านต่าง ๆ  ของรัฐบาลหยุดชะงัก   ส่งผลทำให้เศรษฐกิจในประเทศตกอยู่ในภาวะที่ซบเซา  นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศไม่กล้าที่จะลงทุนในประเทศไทย   อีกทั้งยังเกิดวิกฤตน้ำมันแพง   ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนไม่มีอะไรที่ชัดเจนและมั่นคง   การใช้จ่ายทางการเงินทุก ๆ  บาทจะต้องมีความคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าให้มากที่สุด

                    อีกทั้งการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน  ยังเป็นสังคมเป็นแบบเร่งรีบ  เวลาทุกวินาทีมีคุณค่า  ดังนั้นการมีเครื่องอำนวยความสะดวก  เช่นบริการของทางกลุ่มเรา  ที่เน้นความสะดวกและรวดเร็ว   จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง   เพราะปัจจุบันแนวโน้มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  และสภาวะทางเศรษฐกิจจะไม่มีผลต่อธุรกิจประเภทนี้   เพราะผู้คนยังจำเป็นที่จะต้องใช้บริการของการสื่อสารอย่างเช่นโทรศัพท์มือถืออยู่

     

     

     

     

     

     

     

    สภาวะการแข่งขัน

    1.  ความรุนแรงในการแข่งขัน

                    ปัจจุบันนี้มีการใช้บัตรเติมเงินกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาและการนำบัตรเติมเงินมาขายก็มีการขายอย่างแพร่หลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น 7-11, ร้านสะดวกซื้อ หรือแม้แต่การเติมเงินผ่านทางตู้ ATM และการเติมเงินออนไลน์ด้วย ซึ่งทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงตามไปด้วย

     

     

    2.  ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่

                    เนื่องจากบัตรเติมเงินเป็นสินค้าที่ขายได้ง่ายและสะดวก จึงทำให้มีคู่แข่งหน้าใหม่เสมอแต่การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขายของรายเก่ามากนักเพราะมีการขายแบบเดิมๆและไม่มีการจัดการทางการตลาดจึงทำให้ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่มีน้อย

    3.   อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ

                    เนื่องจากสินค้าที่เป็นบัตรเติมเงินซึ่งใช้แทนเงินในการโทรศัพท์โดยตรง ผู้ใช้จึงเต็มใจที่จะจ่ายเงินตามราคาของบัตรที่จะซื้อทำให้การขายมีความเป็นมาตรฐานและแน่นอนเพราะบัตรเงินจะเป็นของเครือข่ายนั้นโดยตรงอำนาจต่อรองของผู้ซื้อจึงน้อย

    4.   อำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต

                    ปัจจุบันเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีการใช้บัตรเติมเงินมี3บริษัทได้แก่

                    1.            Ais : one - 2 – call

                    2.            Dtac: happy Dpromt

                    3.            True move: Just talk

                    ซึ่งราค่าจากผู้ส่งในแต่ละเครือข่ายจะแตกต่างตามราคาของบัตรที่ถูกกำหนดมาแล้วว่าถ้ายิ่งซื้อในปริมาณมากๆก็จะได้ราคาต่อหน่วยลดลง ถ้าเป็นลูกค้าประจำก็จะมีสิทธิ์ต่อรองได้บ้างส่วนดังนั้นอำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิตจึงไม่มากนัก

    5.   ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

                    สินค้าทดแทนในกรณีนี้คือการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรายเดือนซึ่งจากข้อมูลโทรศัพท์รายเดือนนั้นจำเป็นต้องทำการจดทะเบียนใช้สำเนาบัตรประชาชนถึงแม้ว่าการบริการบางรายจะถูกกว่าแต่มีความยุ่งยากมากกว่าบัตรเติมเงินเพราะเมื่อใช้แล้วจะต้องจ่ายรายเดือนเมื่อครบกำหนดอาจต้องไปจ่ายที่ศูนย์บริการหรือที่7-11ซึ่งๆไม่สะดวกการเข้ามาทดแทนจึงไปได้น้อยเพราะตลาดแบบรายเดือนมีคนในวัยทำงานซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับการเติมเงิน

     

    การวิเคราะห์  swot

     

    จุดแข็ง

    -         สะดวก รวดเร็ว

    -         มีกลุ่มเป้าหมายมาก

    -         สามารถมีส่วนแบ่งในการตลาด

     

    จุดอ่อน

    -         ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน

    -         ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วถึง

    -         ต้นทุนในการดำเนินงานสูง

    -         เสียค่าในการบำรุงรักษาตัวเครื่อง

     

    โอกาส

    -         เพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการในการเติมเงิน

    -         โอกาสในทางตลาดมีมาก

     

    ขีดจำกัดหรืออุปสรรค

    -         การวางแผนบำรุงรักษาตัวเครื่อง

    -         การรักษาความปลอดภัยด้านอุปกรณ์

     

    การวิเคราะห์สภาพตลาด

     1.             ร้านสะดวกซื้อ

    ข้อดี

    -         ง่ายต่อการซื้อ

    -         สามารถซื้อสิ่งของต่างๆเพิ่มได้

    ข้อเสีย

    -         ต้องเสียเวลารอคิว

    -         บางทีบัตรอาจหมด

     

     

    2.              ที่เติมเงินออนไลน์

    ข้อดี

    -         เติมกี่บาทก็ได้

    -         เติมเงินให้คนอื่นได้

    ข้อเสีย

    -         มีค่าธรรมเนียมในการบริการ

    -         สถานที่ให้บริการมีน้อย

    -         ความไม่แน่นอนทางการบริการ

    -         มีการบริการจำกัดเวลา

    3.              Mobile  Shop

            ข้อดี

    -         สามารถใช้บริการอื่น ๆ  เกี่ยวกับโทรศัพท์ได้

    -         เปลี่ยนโปรโมชั่นได้

    -         บริการดี

    ข้อเสีย

    -         จุดบริการมีน้อย

    -         ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากมหาวิทยาลัย

    -         มีความยุ่งยากเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ  ในการใช้บริการ

    -         มีบัตรเติมเงินขายเฉพาะเครือข่ายของศูนย์เท่านั้น ๆ

    4.              ATM

    ข้อดี

    -         ไม่ต้องใช้เงินสดในการซื้อ

    -         มีสถานที่ตั้งหลากหลาย

    ข้อเสีย

    -         ขั้นตอนยุ่งยาก

    -         เติมได้เฉพาะบัตรที่เป็นของธนาคารนั้น ๆ

    -         ลูกค้าบางคนอาจต้องการบัตรที่ใช้ในการเติมเงิน

    -         บางทีไม่มีเงินในบัญชี  ไม่สามารถเติมได้

     

    นางสาวมยุรี  สมผล

    รหัส 52127312059

    วิเคราะห์  SWOT

    บริษัทนครชัยแอร์ทัวร์

     

    ผู้จัดการการเดินรถของนครชัยแอร์   นายสถาพร  วงศ์เบญจรัตน์ 

     

    เป็นอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการให้บริการบนรถทัวร์จะเปรียบเทียบกับการให้บริการบนเครื่องบินได้อย่างไรเพราะอย่างไรเครื่องบินก็ต้องดีกว่าการให้บริการบนรถทัวร์อยู่แล้วแต่ในปัจจุบันกับมีบริษัทรถทัวร์ที่มีรูปแบบการให้บริการจุดเดียวกับเครื่องบินจริงๆ นั่นก็คือ “บริษัทนครชัยแอร์” นั่นเอง

     

    จุดแข็ง

                    นครชัยแอร์เป็นบริษัทที่ถือว่ามีการให้บริการที่ดีและยังคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าเป็นหลักและพนักงานขับรถของบริษัทจะมีอายุไม่เกิน 55 ปี และพนักงานขับรถจะต้องผ่านกระบวนการฝึกอบรมก่อน และนอกจากนี้ทางบริษัทก็ยังเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าอีกระดับหนึ่งก็คือการเพิ่มช่องทางการจองตั๋วผ่านตู้ ATM คอลล์เซ็นเตอร์ของนครชัยแอร์ที่บริการ 24 ชั่วโมง และนอกจากนี้ยังสามารถชำระค่าตั๋วผ่าน 7-ELEVEN ทุกสาขาทั่วประเทศและจะได้รับสลิปเพื่อนำไปแสดงที่จุดขึ้นรถก่อนเวลา 30 นาที”เท่านั้นผู้โดยสารก็จะได้ขึ้นรถทัวร์นครชัยแอร์อย่างไม่ติดขัดอันเป็นผลทำให้นครชัยแอร์ สามารถปฏิวัติการให้บริการบนรถทัวร์ จากที่เคยยุ่งยาก ซับซ้อน ก็กลับกลายเป็นการให้บริการที่สะดวกสบาย ทันสมัยมากขึ้นจนทำให้ใครต่อใครต่างถวิลหาที่จะใช้บริการของนครชัยแอร์อันเป็นสิ่งที่เกิดจากกระบวนการคิดของ “สถาพร” อย่างละเอียดในทุกขั้นตอนจนกลายเป็นกลยุทธ์บอกต่อที่กระเพื่อมความแรงจนคู่แข่งยากจะตามทันซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ

     

    จุดอ่อน

                 ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงกับการที่บริษัทอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วถึงและในปัจจุบันก็มีบริษัทรถทัวร์มากมายหลายบริษัทและมีโอกาสสูงที่บริษัทคู่แข่งจะมีการให้บริการในรูปแบบเดียวกันหรืออาจจะดีกว่าก็ได้

     

    โอกาส

          เป็นธุรกิจรถทัวร์ที่มีการบริการใหม่ๆ ในการบริการจึงทำให้เป็นที่ถูกใจกับลูกค้าได้มากและอีกอย่างยังเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้ากลุ่มที่ใช้บริการในการซื้อตั๋วผ่านตู้  ATM จนทำให้ใครต่อใครต่างบอกต่อจนกลายเป็นกลยุทธ์บอกต่อที่กระเพื่อมความแรงจนคู่แข่งยากจะตามทัน

    นางสาวภมรรัตน์  จันทร์ประดิษฐ์

    52127312008

    การเงินการธนาคาร 01

     

     

     

    ธุรกิจ “บ้านใร่กาแฟ”

    ธุรกิจ “บ้านใร่กาแฟ” เริ่มจากการใช้ตัวอาคาร ทรงสูงสง่า เป็นสื่อถึงสินค้าคุณภาพ ด้วยการนำแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมไทยมาพัฒนาให้กลมกลืนกับสินค้าคือกาแฟไทยสดจากไร่ โดยมีลักษณะเป็นตัวอาคารไม้ทั้งหลังทรงสูงรูปจั่วสามเหลี่ยมไม้ ตัดมุมกันคาดทับด้วยขื่อ มองดูคล้ายจั่วของบ้านซึ่งสะท้อนความเป็นไทยและโลกตะวันออก นอกจากนี้ในส่วนของภายในอาคารกรุผนังด้วยไม้เนื้ออ่อนสีขาวอมเหลือง ประดับด้วยรูปภาพครอบครัว พี่น้อง นิทานเรื่องเล่าต่าง ๆ และใช้แสงไฟสีเหลืองออกส้ม ให้ความรู้สึกอบอุ่นของบ้าน ที่พร้อมจะต้อนรับลูกค้า (แขกผู้มา เยือน)ส่วนภายนอกได้ใช้ความคิดเชิงสถาปัตยกรรมออกแบบ ให้มีน้ำไหลเป็นทางผ่านผนังกระจกใสมองเห็นได้จากภายใน ภายนอกมีเฉลียงไม้พร้อมม้านั่งยาว ใต้ร่มประดู่กิ่งอ่อน (ประดู่อังสนา) ให้บรรยากาศร่มรื่น และพลับพลึงที่ปลูก อยู่รอบอาคาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการตอบสนองสุนทรียภาพของคอกาแฟ

    ในส่วนของวัตถุดิบ ทางบริษัทฯ ผลิตกาแฟเครื่องดื่มซึ่งเป็นสินค้าหลักของ “บ้านใร่กาแฟ” ซึ่งเป็นผลผลิตที่มาจากไร่บนดอยสูงของภาคเหนือ ( ดอยตั้งแต่ จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นไป ต้องมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล ๘๐๐ เมตร ) เป็นกาแฟสดคุณภาพแห่งหนึ่งของโลก มาทำการคั่ว ( จาก อ. หนองแซง จ.สระบุรี ) โดยใช้เวลาและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดรสและกลิ่นที่แตกต่างกันไปโดยสูตรของบ้านใร่ ภายใต้ชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย คือ

    ๑.เอเซีย บอรก เบลนด์

    ๒.บ้านใร่ บอรก เบลนด์

    ๓.บางกอก บอรก เบลนด์

    ๔.ไทยปักษ์ใต้ บอรก เบลนด์

    กระบวนการทั้งหมดของธุรกิจ “บ้านใร่กาแฟ” ล้วนเกิดมาจากผลงานของคนไทยทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ในด้านการออกแบบนำเสนอในเรื่องของตัวอาคาร ผลผลิตที่เป็นกาแฟคุณภาพของไทย

    กระบวนและขั้นตอนในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นกาแฟคุณภาพ ชื่อยี่ห้อไทย รวมทั้งแรงจูงใจจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่เป็นจุดกำเนิดของธุรกิจบ้านใร่กาแฟซึ่ง บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด ที่จะดำเนินและพัฒนาธุรกิจกาแฟของไทยให้สู่ระดับมาตรฐานสากล ภายใต้คำว่า "บ้านใร่ไทยแท้ๆ" (BANRIE THAI STYLE)

    จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT)

    จุดแข็ง (Strength)

    ๑.บริษัทฯ มีความชำนาญด้านการคั่วกาแฟ และมีสูตรกาแฟเฉพาะได้เป็นเอกลักษณ์ประจำร้าน

    ๒.บริษัทฯ ได้สิทธิบัตรการปรุงกาแฟและลิขสิทธิ์ รูปแบบอาคารและสวนกาแฟไว้แล้ว ๓.ปัจจุบันสามารถครองตลาดเส้นทาง (๙๐ สาขา ณ ธันวาคม ๒๕๔๖)

    ๔.ในสถานีบริการน้ำมัน JET (บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด) บริษัทฯ ได้เป็นรายเดียวในการดำเนินธุรกิจกาแฟสด

    จุดอ่อน (Weakness)

    ๑.บริษัทเริ่มธุรกิจใหม่ไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน

    ๒.ธุรกิจกาแฟสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย

    ๓.เครื่องชง, เครื่องบด ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ การซ่อมบำรุง

    ๔.อุปกรณ์อะไหล่ล่าช้า

    โอกาส (Opportunity)

    ๑.ไม่มีกาแฟที่มีคุณภาพตามเส้นเดินทาง หรือกาแฟคุณภาพในจุดสะดวกซื้อ

    ๒.กาแฟคุณภาพในตลาดนี้ (ตลาดเส้นเดินทาง ) มีคู่แข่งน้อยและธุรกิจบ้านใร่กาแฟเป็นผู้นำ

    ๓.สามารถสร้างความแตกต่างทางด้านผลิตภัณฑ์ ที่เหนือชั้นกว่าคู่แข่ง คือ เปลี่ยนเมล็ดกาแฟ ทุก ๑๕ วันเสิร์ฟแก้วร้อนดินเผา พร้อมให้ขึ้นรถ แก้วเย็นเพิ่มนิทาน ความรู้ และภาพลวดลายพิมพ์ข้างแก้วเปลี่ยนสลับทุก ๑๕ วัน

    ๔.ได้โอกาสเป็นเจ้าแรกที่เข้าตลาดสถานีน้ำมัน เพื่อครองพื้นที่ในตลาดได้ก่อน

    ๕.วัตถุดิบกาแฟที่มีคุณภาพ มีอยู่ในบ้านเรา (กาแฟอราบิก้า ทางดอยภาคเหนือเป็นกาแฟที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก)

    อุปสรรค (Threat)

    ๑.ชื่อยี่ห้อไทย ในตลาดกาแฟคุณภาพ ไม่ได้รับการยอมรับ หรือยอมรับได้ยาก

    ๒.กาแฟมีวัฒนธรรมในการดื่ม ในการดื่มซ้ำต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และพัฒนาให้เกิดการยอมรับ

    ๓.กาแฟเป็นเครื่องดื่มเฉพาะกลุ่ม บริโภคเฉพาะเวลา และโอกาส

    ๔.คุณสมบัติบางอย่างของกาแฟ สามารถทดแทนด้วยเครื่องดื่มชนิดอื่น

    ๕.กาแฟบรรจุกระป๋อง กาแฟสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป

    นางสาวสุภาวรรณ จิตภักดี

    รหัสนักศึกษา 52127312063

    การเงินการธนาคาร02

    การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของ 3k แบตเตอรี่

     วีรวัฒน์ ขอไพบูลย์” ปั้น 3K แบตเตอรี่ สู่อินเตอร์แบรนด์

     

     

    [เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] 3K แบตเตอรี่ วางแผนการตลาดปี 2547 มุ่งการตลาดแบบครบวงจร IMC (Integrated Marketing Communication) ผ่านแคมเปญโฆษณา Above the line และ Below the line สร้างการจดจำตราสินค้าแก่ลูกค้ามากขึ้น หลังได้เอเยนซี่ เบสท์ (ประเทศไทย) จำกัด ปรับภาพลักษณ์ และวางตำแหน่งสินค้า มุ่งสู่แบตเตอรี่ อินเตอร์แบรนด์

    แผนการตลาดปี 2547

    สภาวะการณ์ของการทำตลาดแบตเตอรี่ ปัจจุบันมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นตามการเติบโต ของตลาดรถยนต์ จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 3.5 พันล้านบาท/ปี และตลาดได้ขยายตัวตาม ยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    สำหรับในไตรมาสสุดท้ายเป็นช่วง High Season อยู่แล้ว จึงไม่ต้องทำโฆษณาอะไร มากกว่าที่เป็นอยู่ ที่จะเน้นหนักเพิ่มเติมคงจะ เป็นเรื่องของการจัดโปรโมชั่นของแถมให้กับ ลูกค้ามากขึ้น สำหรับปี 2547 จะเป็นการ เข้าไปพบปะตัวแทนขายสินค้าของเรามากขึ้น เพื่อรับทราบถึงความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อ 3K แบตเตอรี่ ว่าเป็นไปในทิศทางใด

    • ปัจจุบันสัดส่วนการทำตลาด 3K แบตเตอรี่

    สัดส่วนการขาย ณ ตอนนี้ อยู่ในประเทศ ประมาณ 50% และต่างประเทศ 50% จากก่อนหน้านี้ขายในประเทศ 40% ต่างประเทศ 60% สัดส่วนการส่งออกไปต่างประเทศลดลง เนื่องจากภาวะสงครามและโรคซาร์สระบาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกเลยทำสัดส่วนการส่งออกลดลง

    และขณะนี้เรามีส่วนแบ่งทางการตลาด 26% อยู่อันดับ 2 รองจากยัวซ่าร์ ที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากถึง 34%

    • ตลาด OEM มีการแข่งขันรุนแรง บริษัทฯ เตรียมแผนการตลาดรองรับ

    บริษัท 3K แบตเตอรี่ เป็นบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นได้ไม่นาน และเพิ่งจะมีอายุครบ 16 ปี ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับลูกค้าค่ายรถยนต์ใหญ่ๆ ไม่ดีเท่าที่ควร การแข่งขันในตลาด OEM (Original Equipment Manufacturers) ค่ายรถยนต์ใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นมีการกำหนดยี่ห้อของแบตเตอรี่มา ตั้งแต่ต้น และมีการเจรจาขายสินค้ากันมานานกว่า 30 ปี เราจึงไม่สามารถเข้าไปเจาะตลาดนี้ได้ โดยในปัจจุบันเราเข้าไปขายสินค้าได้เฉพาะรถยุโรปเท่านั้น

    • มองช่องทางรุกตลาดรถญี่ปุ่น

    เนื่องจากว่าแบตเตอรี่ยี่ห้อทั่วไปจะติดมากับ รถ เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่มักจะใช้แบตเตอรี่ยี่ห้อเดิม ในขณะที่ 3K แบตเตอรี่ เป็นแบตเตอรี่ ที่ติดมากับรถยนต์น้อยมาก จึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากในการเจาะเข้าไปในตลาด OEM ณ เวลานี้ยอมรับว่าสู้ยี่ห้อที่ผูกขาดกับตลาด OEM ไม่ได้เราจึงพยายามสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ด้วยบริการพิเศษที่เหนือกว่าคู่แข่ง เปิด

    กลยุทธ์แคมเปญให้บริการหลังการขาย “Road Side” บริการลากรถฟรี หากรถเสีย เมื่อลูกค้าซื้อแบตเตอรี่รุ่น สแตนดาร์ด ขณะที่ในต่างจังหวัดบริษัทจะจ่ายให้เพียง 400 บาท ซึ่งส่งผลในเชิงบวกต่อบริษัท เพราะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นลากรถทำให้ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้น 10% และตอกย้ำลูกค้าในการจดจำแบรนด์

    • วิเคราะห์การตลาด 3K แบตเตอรี่ จุดแข็ง ที่เห็นได้ชัดในตอนนี้มีด้วยกันอยู่ 2 ประการ คือ 1.ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก (โดยเฉพาะภาคการเกษตรจะใช้ 3K แบตเตอรี่ กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่สำคัญ) 2.เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ ทำให้มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าคู่แข่ง

    จุดอ่อน คือ ช่องทางการจำหน่ายไม่หลากหลาย

    โอกาส คือ กระแสอนุรักษ์ความนิยมไทยค่อนข้างแรงและรัฐบาลเองมีนโยบายสนับสนุนใช้ของไทย และการเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ ทำให้การตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนการจำหน่ายและการดำเนินงานเราเร็วกว่าบริษัทอื่น

    อุปสรรค คือ การแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาที่ถูก และ คนบางกลุ่มยังนิยมของนอก เพราะคิดว่าใช้ของนอกดีกว่า จนเกิดความจงรักภักดีในแบรนด์

     

     

    รถมีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตของคนเรามาก รถเป็นยาพาหนะที่เราทุกคนจำเป็นต้องใช้ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ แต่รถก็จำเป็นที่จะต้องมีส่วนประกอบ อย่างเช่น แบตเตอรี่ที่เป็นส่วนหนึ่งของรถ ที่จะทำให้รถขับเคลื่อนไปได้ 

    แต่ปัจจุบันก็มีแบตเตอรี่มากมายหลายยี่ห้อ ทำให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่ต้องแข่งขันกันสูงในตลาด    แต่ 3k แบตเตอรี่ ในประเทศไทยแล้วต้องรู้จักกันทุกคนโดยเฉพาะเกษตรกรที่นิยมใช้ 3k เพราะชื่อที่เรียกง่ายจำได้ ราคาถูก มีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ดี แต่3k

    ผลิตในประเทศ ทำให้ช่องทางจำหน่ายไม่มาก  จำหน่ายได้แต่บริเวณเพื่อนบ้าน ยังไม่สามารถเจาะตลาดนอกที่ใหญ่ๆได้ เพราะ ยังยึดติดกับแบรนด์ดังๆอยู่ แต่ถ้าเราคนไทยควรจะใช้ของไทย เพื่อทำให้ชาวต่างชาติเชื่อว่าของเราดีจริง ขณะคนไทยยังใช้กันเลย 

    อีกอย่างเงินก็จะหมุนเวียนในประเทศ ถ้าเกิดความเชื่อถือมากก็จะเป็นสินค้าที่ส่งออก

    จะทำให้ประเทศมีรายได้มาก เพื่อทำให้คนมีงานทำ ทำให้ไม่เกิดปัญหาการว่างงานในประเทศ เพื่อทำให้ประเทศมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง

     

     

                                                                            นางสาวนิชนันท์ ชวนถวิล

                                                                            52127312017

                                                                            เอกการเงินการธนาคาร 01

     

    ธุรกิจสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ( Thai AirAsia )

     

     

           ด้วยสโลแกนหลักของสายการบินไทยแอร์เอเชีย "ใครๆ ก็บินได้" (Everyone Can Fly) เป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้ผู้โดยสารที่นิยมการเดินทางโดยเครื่องบิน ได้เดินทางด้วยราคาไม่แพง ซึ่งรูปแบบการนำเสนอคือการเดินทางแบบเรียบง่าย ไม่มีอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่เข้ามาบริการในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นสายการบินแรก และในช่วงรอบปีแรกสามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล

            สายการบินไทยแอร์เอเชีย ได้สร้างประวัติศาสตร์การบินในภูมิภาคเอเชียอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นครั้งสำคัญเมื่อได้ตัดสินใจร่วมทุนกับบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น ในประเทศไทย เพื่อจัดตั้งสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่เปิดให้บริการเป็นสายการบินแรกในประเทศไทย โดยบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นจำนวน 50% ในนามของบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ในขณะที่แอร์เอเชีย (มาเลเซีย) ถือหุ้นเป็นจำนวน 49% และอีก 1% เป็นการถือหุ้นบุคคล

    โดยเริ่มดำเนินการด้วยเครื่องบินเพียง 2 ลำเท่านั้น ที่มีฐานอยู่ในกรุงเทพมหานคร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เริ่มให้บริการ การบินภายในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2546 ซึ่งเป็นการบริการการบินภายในประเทศแบบรายวันจากศูนย์กลางทางการบินในกรุงเทพฯ และนับแต่นั้นก็ได้มีการขยายเส้นทางการบินออกไปอีกมากมาย ทั้งภายในประเทศไทยและจากกรุงเทพฯ สู่ต่างประเทศ โดยเส้นทางการบินเส้นแรกที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังต่างประเทศเป็นเส้นทางแรกคือ จากกรุงเทพฯ สู่สิงคโปร เมื่อถึงสิ้นปี 2546 จำนวนเครื่องบินของสายการบินไทยแอร์เอเชียได้ขยายเป็น 8 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่น โบอิ้ง 737-300 ทั้งหมด 8 ลำ

             ความโดดเด่นของสายการบินไทยแอร์เอเชีย มีความโดดเด่นเนื่องจากเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ เนื่องจากลดต้นทุนในทุกวิธีการ และเพิ่มอัตราผลตอบแทนทางกำไรให้ได้มากที่สุด อีกทั้งวัฒนธรรมทางองค์กรที่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ทำให้สายการบินไทยแอร์เอเชีย เติบโตได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่ปี

    นอกจากนี้ สายการบินไทยแอร์เอเชีย ยังได้มีความแปลกใหม่ และเน้นการใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ โดยลดต้นทุนจากการใช้งานบุคลากร ให้ใช้งานผ่านระบบออนไลน์ และมีการจองที่นั่งผ่านทางระบบออนไลน์พร้อมทั้งจ่ายด้วยบัตรเครดิตได้ ระบบการจองที่นั่งของบางเที่ยวบินจะใช้ระบบพิเศษ เช่น ยิ่งจองก่อน ยิ่งจ่ายถูก และยิ่งจองนาน ยิ่งจ่ายถูก ราคาที่นั่งของเที่ยวบินแบบดังกล่าวจะถูกลงกว่าปกติหากจองล่วงหน้าไว้นานหลายเดือน แต่ถ้าหากจองใกล้ถึงวันเดินทางก็จะมีราคาแพงขึ้น เป็นหนึ่งในกลยุทธทางการตลาด บริษัทได้เงินไปทำธุรกิจและต่อยอด ส่วนผู้ใช้บริการก็ได้รับอัตราค่าโดยสารที่มีราคาถูก

             ปัจจุบันสายการบินไทยแอร์เอเชียได้ทำการบินไปยังจุดหมายปลายทางดังต่อไปนี้
    • ประเทศไทย
      • กรุงเทพมหานคร - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
      • กระบี่ - ท่าอากาศยานกระบี่
      • เชียงใหม่ - ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
      • เชียงราย - ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงราย
      • นครศรีธรรมราช - ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
      • นราธิวาส - ท่าอากาศยานนราธิวาส
      • ภูเก็ต - ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
      • สุราษฎร์ธานี - ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
      • หาดใหญ่ - ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่
      • อุดรธานี - ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
      • อุบลราชธานี - ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี

     

    • กัมพูชา
      • พนมเปญ - ท่าอากาศยานนานาชาติโปเชนตง
    • สาธารณรัฐประชาชนจีน
      • กวางโจว - ท่าอากาศยานนานาชาติกวางโจวไป๋หยุน
      • มาเก๊า - ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า
      • ฮ่องกง - ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
      • เซินเจิ้น - ท่าอากาศยานนานาชาติเซินเจินบาวอัน
      • ไทเป - ท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน

     

    • พม่า
      • ย่างกุ้ง - ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง
    • มาเลเซีย
      • กัวลาลัมเปอร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
      • ปีนัง - ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง
      • ยะโฮร์ บาห์รู - ท่าอากาศยานนานาชาติยะโฮร์บาห์รู
    • สิงคโปร์
      • สิงคโปร์ - ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี
    • อินโดนีเซีย
      • จาการ์ตา - ท่าอากาศยานซูการ์โน-ฮัตตา
      • เดนปาซาร์ - ท่าอากาศยานงูราห์ไร
      • เมดาน - ท่าอากาศยานโปโลเนีย
    • เวียดนาม
      • ฮานอย - ท่าอากาศยานนานาชาตินอยไบ
      • โฮจิมินห์ซิตี - ท่าอากาศยานนานาชาติเติ่นเซินเญิ้ต

     

    นายปลา  คินไธสง

    52127312030

    การเงินการธนาคาร(01)

    นางสาว เบญญาภา ศรีนวล 52127312057

     

                   ธุรกิจโรงแรมอิมเพียนา ภูเก็ต คาบาน่า หาดป่าตอง

    อิมเพียนา ภูเก็ต คาบาน่า

      ห้องแรกจะเป็นห้องบูติก ซึ่งตั้งอยู่ติดทิวทัศน์ที่งดงามของบรรยากาศสวนร่มรื่น และอยู่ติดกับหาดป่าตองซึ่งเป็นหาดทรายสีขาว และทะเลอันดามันสีฟ้า นอกจากนั้นยังอยู่ไม่ไกลจากแหล่งช้อปปิ้ง และสถานความบันเทิงของหาดป่าตอง และที่โรงแรมอิมเพียนาภูเก็ตยังมีอาหารไทยขึ้นชื่อและรสชาติอร่อยและเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการมาเที่ยวภูเก็ต

     

    การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS


    S = STRENGTH  หมายถึง จุดแข็ง

    1.ผู้บริหารมีความเชี่ยวชาญในการบริหารเป็นอย่างดี มีความสามารถในการใช้ภาษา และบริหารธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรมมาเป็นเวลายาวนาน

    2.พนักงานโรงแรมมีมนุษย์สัมพันธ์ดี  เก่งในด้านภาษา 

    3.โรงแรมอิมเพียนา  ภูเก็ต  คาบาน่า หาดป่าตองจัด เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาวและมีบริการที่ดีมีมาตรฐานจึงมีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วจังหวัด

    3.โรงแรมตั้งอยู่บนเกาะภูเก็ตซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของประเทศไทย  จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวทั่งในและต่างประเทศมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก 

    4.โรงแรมตั้งอยู่ที่หาดป่าตองซึ่งเป็นหาดที่มีชื่อเสียของเกาะภูเก็ตจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมาก  นอกจากนั้นโรงแรมยังติดชายหาด และสถานที่พักผ่อนเงียบสงบ มีบริการพิเศษต่างๆมากมาย

     

    W= WEAKNESS   หมายถึง จุดอ่อน

    1. . ปัจจุบันค่าแรงเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งในธุรกิจโรงแรมเพราะค่าแรงปรับตัวสูงขึ้นโดยตลอดขณะที่รายได้ของโรงแรมคงที่ แต่ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจบริการต้องมีบริการประจำตลอดเวลา ส่งผลให้ต้นทุนของโรงแรมเพิ่มสูงขึ้น

    2.ธุรกิจโรงแรมยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนที่มีประสบการณ์ด้านโรงแรมอย่างแท้จริงเนื่องจากในปัจจุบันมีการเปลี่ยนงานบ่อยมาก ทำให้ไม่รู้รายละเอียดของงานอย่างลึกซึ้ง ส่วนบุคลากรที่มีประสบการณ์สูงก็ต้องการเงินเดือนสูง โรงแรมโดยทั่วไปก็ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนในระดับสูงได้ จึงต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีการฝึกพนักงานของตนเองขึ้นมาทดแทนการไปประมูลแย่งตัวกัน

    3.มีโรงแรมในเกาะภูเก็ตเป็นจำนวนมากจึงทำให้มีการแข่งขันกันสูง

     
    O=OPPORTUNITY  หมายถึง  โอกาส

    1.รัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยการใช้นโยบายและเพิ่มงบประมาณเพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยขยายวันพักของนักท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มการใช้จ่ายให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งการขยายวันพักและช่วยการใช้จ่ายจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้สถานการณ์ Over Supply ของโรงแรมลดลงได้


    2. จากการที่ประเทศจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO คาดกันว่าจะทำให้รายได้ประชากรของประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางออกมาท่องเที่ยวนอกประเทศเพิ่มขึ้นและคาดว่านักท่องเที่ยวจีนน่าจะเดินทางเข้ามายังไทยเพิ่มขึ้น

    3.เมื่อถึงช่วงฤดูร้อนหรือช่วงปิดเทอม  นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนิยมมาเที่ยวทะเล ดังนั้นเกาะภูเก็ตเป็นสถานที่ขึ้นชื่อทางด้านท่องเที่ยวทะเล จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในช่วง Summer มาก

     

    T= THREAT   หมายถึง อุปสรรค์

     1.โรงแรมอิมเพียนา  ภูเก็ต  คาบาน่า หาดป่าตองจัด เป็นโรงแรมระดับ 5  และห้องที่ให้เช่าจึงมีระดับราคาที่สูงดังนั้นนักท่องเที่ยวบางกลุ่มจึงไม่ได้มาเช่าพัก

    2.หลังจากเกิดเหตุการณ์ สึนามิ  ทำให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มไม่กล้ามาเที่ยว และเมื่อถึงฤดูฝน ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ค่อยมาเที่ยวทะเลจึงทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง

     

    นางสาว เบญญาภา  ศรีนวล

    รหัสนักศึกษา 52127312057

    การเงินการธนาคาร หมู่เรียน02

    ธุรกิจเสื้อยืนแบรนด์ "เป่ายิ้งฉุบ"

     

     

                  

     

                                

        

        คุณชาลี รัตนวชิรินทร์ เจ้าของธุรกิจ "เป่ายิ้งฉุบ" เดินหน้าไปในทิศทางการสร้างแบรนด์   

        พูดถึงธุรกิจเสื้อยืดของประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน ตลาดไหน ห้างฯไหน หาซื้อเสื้อยืดได้ทุกที่ และราคายังถูกอีกด้วย แต่ถ้าพูดถึงคุณภาพของสินค้า ราคาถูกคุณภาพก็ไม่ดีตามไปด้วยเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าจะเน้นเรื่องคุณภาพที่ดีก็ต้องเป็นเสื้อยืด Brand name ซึ่งราคาก็สูงตามไปด้วย จุดนี้ละที่ "เป่ายิ่งฉุบ" เข้ามาในช่องว่างของตลาดสินค้าเสื้อยืด
        "เป่ายิ่งฉุบ" มีคุณภาพเสื้อโปโลใกล้เคียงกับเสื้อลาคอสต์ แต่ราคาไม่ใกล้เคียงกัน จุดนี้จะโดดเด่นตรงใจลูกค้าที่ชอบของดีราคาถูก หรือถ้าของดีจริงแต่ราคาต้องสมเหตุสมผลและกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ก็มีจำนวนมาก

     

    กลยุทธ์สร้างแบรนด์
    1. รู้เขา ต้องรู้ว่าใครคือลูกค้า
        "เป่ายิ้งฉุบ" มีการทำตลาดเฉพาะ Niche Market มีความเหมาะสมกับกำลังและปริมาณการผลิต จึงทำให้ได้สัดส่วนการตลาดได้ชัดเจนว่าลูกค้าเราอยู่กลุ่มไหน
        กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย target ของ "เป่ายิ้งฉุบ" ทุกเพศ ทุกวัน กลุ่มครอบครัว
    2. รู้เรา การวิเคราะห์ตนเอง
       

    S = strengths (จุดแข็ง)
         -เสื้อโปโลมีคุณภาพของเนื้อผ้าใกล้เคียงกับเสื้อลาคอสต์
          -เสื้อยืดสีขาวงาช้า มีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็น "ขาวเป่ายิ้งฉุบ" โดยการนำเทคโนโลยี "Bio Silky" เป็นกระบวนการทางชีวภาพย่อยสลายเส้นใยทำให้เกิดความเงาของเส้นด้าย
          -มีการนำเสนอคอลเลคชั่นใหม่ๆ ตลอดยุคตามสมัยตลอดเวลา
       

    W = weaknesses (จุดอ่อน)
         -ช่องทางการจัดจำหน่ายยังน้อย และมีการผิดพลาดอยู่บ้าง
         -มีการผลิตสินค้าออกมาไม่ทันกับความต้องการของตลาด
         -ปัญหาสต็อกผ้าหลากสี
       

    O = opportunities (โอกาส)
         -มี Quick Response คือการที่ต้องตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างรวดเร็วและเท่าทัน กระบวนการตอบสนอง supply chain ตั้งแต่การผลิตสินค้าจงถึงมือผู้บริโภค
       

    T = threats (อุปสรรค)
        -ปัญหาทางการเมือง
         -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
         -อัตราเงินเฟ้อ
         -สินค้าจากจีนที่เข้ามาบุกตลาดในไทย

    3. 3F ประกอบด้วย
        Feature = รูปลักษณ์ การนำเทคโนโลยี "Bio silky" เป็นเอกลักษณ์ ที่มีสีขาวเป็นสีงาช้าง
        Function = การใช้งาน ใช้ได้นานเพราะมีเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ
        Fashion = มีการนำเสนอคอลเลคชั่นใหม่ๆ ตลอดเวลา
    4. มุมมองของลูกค้า (outside in perspective)
        Product (ผลิตภัณฑ์) มีการตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

    คุณภาพสินค้าดี
        Price (ราคาสินค้า) มีราคาทีไม่แพงเกินไป
        Promotion (การส่งเสริมการตลาด) ยังเห็นไม่มากทำให้ยังมีผู้ที่ไม่รู้จัก brand นี้อีกจำนวนมาก
        Place (การจัดจำหน่าย) ช่องทางการจำหน่ายยังมีน้อย

    คุณภาพ (Quality)ของสินค้า เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างแบรด์
        คุณภาพเป็นสิ่งสำคัญในความสำเร็จของการสร้างแบรนด์ เพราะสินค้าที่ได้รับการสร้างแบรนด์จนโด่งดัง และเป็นที่นิยมของลูกค้าอาจล่มสลายในชั่วพริบตาได้ หากไม่สามารถรักษาคุณภาพของสินค้าได้ซึ่ง "เป่ายิ้งฉุบ" ไม่เคยละเลยเรื่องนี้เลย เพราะเน้นที่คุณภาพสินค้าเป็นเรื่องสำคัญ และสร้างเอกลักษณ์ใหม่ "ขาวเป่ายิ้งฉุบ" โดดเด่นขึ้นมา

     

    นางสาวธนาพร  นามา

    เอก การเงินการธนาคาร 01

    รหัสนักศึกษา 52127312011

    นางสาวณัฐยา กรโคกกรวด



    วิเคราะห์    SWOT

     
    บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)


    จุดแข็ง  (Strengh)


    ความสำเร็จด้านการตลาด ด้วยกลยุทธ์สร้างความตื่นเต้น และปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ในตลาดอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมๆ กับการเปิดช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ทำให้ยอดขายโดยรวม และส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ ส่วนจุดแข็งของบริษัทฯ คือ การสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ในตลาดเครื่องดื่มอย่างต่อเนื่องโดดเด่น ด้วยการนำกิจกรรมทางการตลาดที่เหนือชั้นมามอบให้กับผู้บริโภค เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มยอดขายให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องรวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ใกล้ชิดกับบริษัทฯ และผลิตภัณฑ์ทุกตัวของบริษัทมากขึ้นด้วย
    ด้านสิ่งแวดล้อม : ระบบบำบัดน้ำเสีย บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยน้ำระบบมาใช้ในโรงงานโดยเลือกระบบกำจัดน้ำเสียให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม และภูมิประเทศของโรงงานแต่ละแห่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียได้สูงสุด เป็นโรงงานผลิตน้ำอัดลมแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีระบบการกำจัดน้ำเสียที่สมบูรณ์และทันสมัยที่สุด   การช่วยเหลือสังคม และตอบแทนสังคม : ทางบริษัทมีการจัดตั้งมูลนิธิ ทรง บุลสุข ด้วยเจตนารมย์ทางด้านการศึกษา ซึ่งทางบริษัทฯ ได้จัดสรรทุนจำนวนหนึ่งมอบให้มูลนิธช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ที่เรียนดีแต่ยากจน ให้ได้เข้าศึกษาต่อในชั้นมหาวิทยาลัย จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา นอกเหนือจากการมอบทุนให้กับเยาวชนทั่วไป ทางคณะกรรมการ มูลนิธิ ทรง มูลนิธิ ยังได้ตระหนักถึงพนักงาน ที่มีบุตรที่มีผลการเรียนดีและทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม จึงได้มีการจัดสรรทุนให้กับบุตรของพนักงานบริษัท เสริมสุขมาอย่างต่อเนื่องทุกปี

    จุดอ่อน (Weakness)


    การจดจำในตราสินค้า : ผู้บริโภคจะจดจำตราสินค้าของบริษัทคู่แข่งได้มากกว่า เนื่องจากความคุ้นเคยในตัวสินค้าที่วางขายในท้องตลาดตั้งแต่ดังเดิมทำให้ผู้บริโภคจดจำในตราสินค้าน้ำดำที่มีซื้อ ว่า โค้ก มากกว่าเป๊ปซี่ (ตราสินค้าที่เรียกขานง่ายมากกว่าสินค้าบริษัท)
    ทางบริษัทได้ว่างจำหน่ายสินค้าผลิตเครื่องบำรุงร่างกาย โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ “ เครื่องดื่ม โย ” แต่ไม่ได้รับความนิยมในตลาดผู้บริโภคเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำตลาดอย่าง “ไวตามิลค์” ทำให้บริษัทต้องนำเครื่องดื่มโยออกจากตลาดไป

     

    โอกาส  (Opportunity)


    ความสำเร็จด้านผลิตภัณฑ์ เสริมสุขประสบความสำเร็จในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดเดิมก็เติบโตเช่นกันเพื่อเป็นการสร้างสีสัน และเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
    New Product
    • Pepsi : เป๊ปซี่ลาเต้
    • Lipton : ชาลิปตันฮันนี่
    • Redraow: : คาราบาวเอ็กซ์โอ

      อุปสรรค (Threat)


    ในสภาวะเศรษฐกิจ ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น น้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย และส่งผลกระทบโดยตรงกับบริษัทฯ ในด้านการขนส่งสินค้า และความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
    สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมเกิดขึ้นตลาดทั้งปี ซึ่งในปัจจุบัน อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมไม่สูงนัก เนื่องจากมีเครื่องดื่มประเภทอื่น เข้าสู่ตลาดเครื่องดื่มเป็นจำนวน อาทิเช่น น้ำผลไม้ น้ำแร่ – น้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์ชาต่าง ๆ และอาหารนมเป็นต้น

    นางสาวณัฐยา  กรโคกกรวด
    รหัสนักศึกษา 52127312058
    การเงินการธนาคาร 02

    บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)

               

    บริษัท  เสริมสุข จำกัด(มหาชน) ผู้นำในการเป็นบริษัท ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เครื่องดื่มครบวงจร เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรรายแรก  ที่นำความสดชื่นมาสู่ผู้บริโภคชาวไทยทั่วประเทศ   และในการที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นผู้นำอันแข็งแกร่งในตลาดเครื่องดื่ม  บริษัทฯ จึงได้วางนโยบายและการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ ดังนี้

    - มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด โดยการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด

    - มองหาโอกาสในการเจาะตลาดและสถานที่ในการจัดจำหน่ายใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

    - พัฒนาระบบปฏิบัติการ  องค์กร  และบุคลากรทุกคนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 

    - พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและตัวแทนผู้จัดจำหน่ายอย่างเต็มที่  เนื่องจากความสำเร็จนั้น  เกิดจากระบบการจัดการที่ยอดเยี่ยมของผู้จัดจำหน่ายเป็นหลัก 


    จุดแข็ง  (Strengh)


    ความสำเร็จด้านการตลาด ด้วยกลยุทธ์สร้างความตื่นเต้น และปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ในตลาดอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมๆ กับการเปิดช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ทำให้ยอดขายโดยรวม และส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ ส่วนจุดแข็งของบริษัทฯ คือ การสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ในตลาดเครื่องดื่มอย่างต่อเนื่องโดดเด่น ด้วยการนำกิจกรรมทางการตลาดที่เหนือชั้นมามอบให้กับผู้บริโภค เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มยอดขายให้แก่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องรวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ใกล้ชิดกับบริษัทฯ และผลิตภัณฑ์ทุกตัวของบริษัทมากขึ้นด้วย
    ด้านสิ่งแวดล้อม : ระบบบำบัดน้ำเสีย บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยน้ำระบบมาใช้ในโรงงานโดยเลือกระบบกำจัดน้ำเสียให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม และภูมิประเทศของโรงงานแต่ละแห่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียได้สูงสุด เป็นโรงงานผลิตน้ำอัดลมแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีระบบการกำจัดน้ำเสียที่สมบูรณ์และทันสมัยที่สุด   การช่วยเหลือสังคม และตอบแทนสังคม : ทางบริษัทมีการจัดตั้งมูลนิธิ ทรง บุลสุข ด้วยเจตนารมย์ทางด้านการศึกษา ซึ่งทางบริษัทฯ ได้จัดสรรทุนจำนวนหนึ่งมอบให้มูลนิธช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ที่เรียนดีแต่ยากจน ให้ได้เข้าศึกษาต่อในชั้นมหาวิทยาลัย จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา นอกเหนือจากการมอบทุนให้กับเยาวชนทั่วไป ทางคณะกรรมการ มูลนิธิ ทรง มูลนิธิ ยังได้ตระหนักถึงพนักงาน ที่มีบุตรที่มีผลการเรียนดีและทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม จึงได้มีการจัดสรรทุนให้กับบุตรของพนักงานบริษัท เสริมสุขมาอย่างต่อเนื่องทุกปี

    จุดอ่อน (Weakness)


    การจดจำในตราสินค้า : ผู้บริโภคจะจดจำตราสินค้าของบริษัทคู่แข่งได้มากกว่า เนื่องจากความคุ้นเคยในตัวสินค้าที่วางขายในท้องตลาดตั้งแต่ดังเดิมทำให้ผู้บริโภคจดจำในตราสินค้าน้ำดำที่มีซื้อ ว่า โค้ก มากกว่าเป๊ปซี่ (ตราสินค้าที่เรียกขานง่ายมากกว่าสินค้าบริษัท)
    ทางบริษัทได้ว่างจำหน่ายสินค้าผลิตเครื่องบำรุงร่างกาย โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ “ เครื่องดื่ม โย ” แต่ไม่ได้รับความนิยมในตลาดผู้บริโภคเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำตลาดอย่าง “ไวตามิลค์” ทำให้บริษัทต้องนำเครื่องดื่มโยออกจากตลาดไป

     

    โอกาส  (Opportunity)


    ความสำเร็จด้านผลิตภัณฑ์ เสริมสุขประสบความสำเร็จในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดเดิมก็เติบโตเช่นกันเพื่อเป็นการสร้างสีสัน และเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
    New Product
    • Pepsi : เป๊ปซี่ลาเต้
    • Lipton : ชาลิปตันฮันนี่
    • Redraow: : คาราบาวเอ็กซ์โอ

      อุปสรรค (Threat)


    ในสภาวะเศรษฐกิจ ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น น้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย และส่งผลกระทบโดยตรงกับบริษัทฯ ในด้านการขนส่งสินค้า และความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
    สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมเกิดขึ้นตลาดทั้งปี ซึ่งในปัจจุบัน อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมไม่สูงนัก เนื่องจากมีเครื่องดื่มประเภทอื่น เข้าสู่ตลาดเครื่องดื่มเป็นจำนวน อาทิเช่น น้ำผลไม้ น้ำแร่ – น้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์ชาต่าง ๆ และอาหารนมเป็นต้น

    นางสาวณัฐยา  กรโคกกรวด
    รหัสนักศึกษา 52127312058
    การเงินการธนาคาร 02

     

    นางสาวชลลดา แก่นสวาท

    ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน

    การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)

     

               

     

    จุดแข็ง

    1.ผู้บริหาร มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน การพัฒนาองค์กร  และเปิดรับความรู้ใหม่ๆในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอยู่เสมอ

    2.ผู้บริหารมักเป็นผู้กว้างขวางของจังหวัด  ทำให้การประสานงานภายในจังหวัดเป็นไปโดยสะดวก

    3.ทำเลที่ตั้งของสถานีบริการน้ำมันมักตั้งอยู่บริเวณหัวมุมสี่แยก สะดวกในการเข้าใช้บริการของคนในพื้นที่ และผู้สัญจรไปมา 

    4.ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง คาลเท็กซ์ มีคุณภาพดี และราคามาตรฐาน

    จุดอ่อน

    1.ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังยังไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ขาดประสิทธิภาพใน

    การบริหารเงินทุนหมุนเวียน และมีสินค้าคงคลังรั่วไหล

      2.  ระบบการจัดเก็บเงินจากลูกหนี้ยังไม่เป็นมาตรฐานและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้มีโอกาสจะเกิดหนี้สูญ

    โอกาส

    1.นโยบายของภาครัฐ ให้การสนับสนุนการประกอบการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านต่างๆ เช่นการให้คำปรึกษาในการดำเนินธุรกิจ และการจัดหาแหล่งเงินทุน

    2.น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสินค้าที่มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ใช้กับยานพาหนะ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงหดตัวหรืออยู่ในช่วงเฟื่องฟู ความต้องการใช้น้ำมันยังคงมีอยู่อีก ทั้งเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่นต่อราคา และน้ำมัน        คาลเท็กซ์ได้รับการส่งเสริมและช่วยเหลือในด้านต่างๆ จากบริษัทผู้จัดจำหน่าย

    อุปสรรค

    1.ปั๊มน้ำมันคู่แข่งขัน ในบริเวณใกล้เคียงอาจมีความพร้อมในการให้บริการที่ครบวงจร และมีการส่งเสริมการขายและการตลาดมากกว่า

    2.พฤติกรรมของผู้ใช้บริการปั๊มน้ำมัน เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม คือ แทนที่ผู้ใช้บริการจะเข้ามาเติมน้ำมันอย่างเดียว แต่จะเข้ามาใช้บริการอื่นๆ เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ตลอดจน เพื่อรับประทานอาหาร หรือซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านสะดวกซื้อ ดังนั้นกิจการจึงมีโอกาสที่จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาด ให้แก่ ปั๊มน้ำมันคู่แข่งที่มีความพร้อมในการให้บริการได้มากกว่า

     

    นางสาวชลลดา  แก่นสวาท

    การเงินการธนาคาร  02    

    รหัสนักศึกษา 52127312070

    นางสาวกานดา นิ่มนวล

    ธุรกิจสปา 

    จุดแข็ง (Strengths)

    • สปาเกือบทุกประเภทมักจะมีการนวดแผนไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการบริการ เนื่องจากประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านการนวดแผนไทยที่แพร่หลายไปทั่วโลก และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดเป็นจำนวนมาก
    • ประเทศไทยมีสมุนไพรมากกว่า 100 ชนิด และมีเกษตรกรที่เพาะปลูกสมุนไพรอยู่หลายจังหวัด สมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสปาได้ ช่วยลดการนำเข้าสมุนไพรจากต่างประเทศซึ่งเป็นการส่งเสริธุรกิจสปาให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

     

    • ประเทศไทยมีน้ำพุร้อนจากธรรมชาติประมาณ 100 แห่ง แหล่งน้ำพุร้อนที่มีอยู่สามารถพัฒนาให้เป็นสถานบริการสปา Mineral Spring Spa หรือ Resort Spa ได้ นับว่าเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของธุรกิจสปาในประเทศไทย
    • คนไทยมีนิสัยอ่อนน้อม สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส และรักงานบริการ การทำธุรกิจสปาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริการ ดังนั้นบุคลิกภาพและอุปนิสัยของคนไทยจึงมีส่วนสำคัญที่จะเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจประเภทนี้เป็นอย่างยิ่ง
    • คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีธรรมะช่วยขัดเกลาจิตใจ ธุรกิจสปาเป็นเรื่องของการสรางความสงบสุขให้แก่ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยเหมาะแก่การทำธุรกิจสปามากเป็นพิเศษ
    • ธุรกิจสปามีลักษณะเป็นการหันกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบธรรมชาติ และอาศัยสิ่งที่เป็นธรรมชาติแท้ๆ เพื่อสร้างความสงบสุขและบูรณาการให้แก่ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ สังคมไทยจึงเหมาะต่อการทำธุรกิจสปามากกว่าสังคมตะวันตก
    • การทำธุรกิจสปา ต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ผลไม้ ดอกไม้ ต้นไม้ พืชสมุนไพร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ประเทศไทยมีพร้อมอยู่แล้ว จึงช่วยประหยัดเงินทุนในการทำธุรกิจสปาได้

     

    • มรดกวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นถือเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจสปาในประเทศไทย

     

    • รัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ทั้งยังต้องการให้ธุรกิจสปาเป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย ธุรกิจสปาจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้
    • ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชากรผู้ใช้แรงงานและคนหนุ่มสาวจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสดีที่นำบุคคลเหล่านี้มาพัฒนาและฝึกอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจสปา

     จุดอ่อน (Weaknesses)

    •  บุคลากรในธุรกิจสปา เช่น ผู้จัดการ พนักงานบริการ มีค่อนข้างจำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจสปา

     

    • คนไทยมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาไม่ดีเท่าใดนัก ทำให้มีปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้การบริการไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ

     

    • ถึงแม้ประเทศไทยจะมีสมุนไพรและเกาะแก่งมากมาย แต่ถ้าเปรียบกับประเทศอินโดนีเซียแล้วจัดว่าเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขาม เนื่องจากเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวนิยมไปใช้บริการสปามากที่สุดในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศไทย

     

    • ปัญหาผู้ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจสปา เพราะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่กล้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย


                    ธุรกิจสปาส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่จะสนองความต้องการของกลุ่มคนชั้นกลางและชั้นสูง ดังจะเห็นได้จากค่าบริการของ Hotel และ Resort Spa ที่อยู่ในระดับที่สูง และผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มักเป็นชาวต่างชาติ เมื่อชาวต่างชาติไม่มาเที่ยวประเทศไทย อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจสปาอย่างแน่นอน

    โอกาส 

    กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

    กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจสปา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

     กลุ่มลูกค้าระดับ A
    คือ กลุ่มผู้บริหาร ผู้จัดการ มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 40,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง มีความพร้อมในการสมัครสมาชิก และมีเวลาว่างพอที่จะมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ

    กลุ่มลูกค้าระดับ B
    คือ กลุ่มพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,000-40,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลาง และมีความพร้อมในการสมัครสมาชิก

    กลุ่มลูกค้าระดับ C
    คือ กลุ่มลูกค้าทั่วไป มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,000-20,000 บาท เป็นกลุ่มที่สนใจใช้บริการสปา แต่ลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะใช้บริการเพียงครั้งคราวเท่านั้น

     ธุรกิจหลัก / ธุรกิจเสริม

    ธุรกิจหลัก บริการด้านการดูแลสุขภาพและความงาม เพื่อการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ

    ธุรกิจเสริม ผู้ประกอบการที่ลงทุนทำธุรกิจสปา สามารถให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักเพิ่มเติม เพื่อสร้างรายได้เสริม เช่น
    -การฝึกอบรมบุคลากรผู้ให้บริการในธุรกิจสปา
    -การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางค์สมุนไพร เครื่องดื่มผลไม้ และอาหารเพื่อสุขภาพ หรืออาหารสไตล์สปา (Spa Cuisine)
     -บริการเสริมความงาม
     -บริการศูนย์ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
     -บริการให้คำปรึกษาแนะนำในการทำธุรกิจสปา

     

    นางสาวกานดา นิ่มนวล

    การเงิน 02 รหัส 52127312042

    นางสาววิลาวัลย์ เขียวนุ้ย

    ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

    การวิเคราะห์สถานการณ์ SWOT Analysis

    จุดแข็ง

    1. ผู้บริหารมีความรู้ และสูตรในการผลิตน้ำพริกเป็นอย่างดี และดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำพริกมาเป็นเวลายาวนาน
    2. มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แน่นอน โดยทำสัญญาส่งเป็นรายเดือนกับบริษัทตัวแทนจำหน่าย
    3. ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าจากองค์กรอาหารและยา ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินการ
    4. มีต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้สามารถตั้งราคาขายได้ถูกกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันในตลาด
    5. กิจการตั้งอยู่ใกล้แห่งวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตน้ำพริก ทำให้มีต้นทุนในการขนส่งด้านวัตถุดิบที่ต่ำ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องสำรองวัตถุดิบไว้มาก
    6. เงินลงทุนเริ่มแรก เป็นเงินลงทุนของผู้ก่อตั้งเองทั้งหมด ทำให้กิจการไม่มีปัญหาภาระหนี้สิน

    จุดอ่อน

    1. ตราสินค้าของกิจการยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ตราสินค้าให้ผู้บริโภครับรู้เท่าที่ควร
    2. กิจการมีการดำเนินการในลักษณะ Labor Intensive ทำให้การเพิ่มกำลังแรงงาน และกำลังการผลิตเป็นได้ยาก
    3. พนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับแรงงาน ทำให้การพัฒนาทักษะฝีมือต้องใช้เวลามาก
    4. สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ในเขตที่พักอาศัยของชุมชน ทำให้เกิดข้อจำกัดในด้านการขยายกำลังการผลิต

    โอกาส

    1. น้ำพริกเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน และเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาโดยตลอด ทำให้สินค้าสามารถขายได้อย่างสม่ำเสมอ
    2. รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างจริงจัง ทำให้เป็นโอกาสในการขยายการผลิต

    อุปสรรค

    1. เป็นอุตสาหกรรมที่ลงทุนไม่มาก ทำให้มีคู่แข่งในตลาดจำนวนมาก
    2. สินค้าเลียนแบบได้ง่าย  ทำให้กิจการจำเป็นต้องสร้างความแตกต่าง รวมทั้งสร้างการรับรู้ในตราสินค้าให้กับกับผู้บริโภค
    3. สูตรและฝีมือการทำน้ำพริกของผู้ผลิตแต่ละรายไม่แตกต่างกันมาก  ทำให้ผู้บริโภคแยกความแตกต่างของสินค้าได้ยาก
    4. น้ำพริกเป็นสินค้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบตามธรรมชาติเป็นหลัก ดังนั้นทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องของผลผลิตขาดตลาด หรือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ

     

    นางสาววิลาวัลย์ เขียวนุ้ย

    การเงินการธนาคาร 02

    รหัสนักศึกษา 52127312065

    นางสาวสุภาภรณ์ ครุฑธาพันธ์

    บริษัทที่น่าให้เงินกู้ คือ TOSHIBA

         ประเทศไทยสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจัดว่าร้อนมากและร้อนขึ้นทุกวันทุกหน่วยงาน บริษัท ห้างสรรพสินค้า สถาบันการศึกษา หรือแม้แต่ครัวเรือนจำเป็นต้องมีเครื่องปรับอากาศช่วยและในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศหลายแบบหลายยี่ห้อให้เลือกสรรมากมายและที่เห็นว่าได้รับความนิยมด้วยคุณภาพ และบริการ คิอ TOSHIBA เพราะด้วยนวัฏกรรมใหม่ๆที่ถูกพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งและศูนย์บริการที่มีให้บริการหลายสาขาทั่วประเทศแล้วแต่สะดวก 

     

                ด้วยระบบการทำความสะอาดของโตชิบา ได้ถูกออกแบบเพื่อลดความชื้น ซึ้งเป็นสาเหตุของเชื้อรา ซึ้งเกิดขึ้นในเครื่องปรับอากาศ ด้วยระบบที่ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพได้ลดความชื้นในคอยล์เย็น เมื่อคุณปิดเครื่องปรับอากาศ พัดลมภายในจะได้คำสั่งทำงานและขจัดความชื่นที่ภายในคอยล์เย็นนานถึง 20 นาที จากนั้นจะหยุดการทำงานโดยอัตโนมัติ และพร้อมที่จะมอบอากาศบริสุทธิ์ให้คุณ ในการเปิดเครื่องครั้งต่อไป

     

                ระบบการทำงานปกติ ระหว่างเครื่องปรับอากาศทำงานจะมีความชื่นเกาะติดอยู่ภายในระบบทำความสะอาดด้วยตัวเอง หลังจากเครื่องปรับอากาศหยุดทำงานพัดลมจะเริ่มทำงานนาน 20 นาที เพื่อระบายความชื่นออกไป และป้องกันการเกิดเชื้อราภายใน

    นวัฏกรรมใหม่ของโตชิบา โดยยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น ด้วยการให้ประสิทธิภาพสูงกว่า และประหยัดพลังงานกว่า ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ในการปรับปรุงคุณภาพอากาศภาพในห้อง ปัจจุบันได้มีการพิสูจน์แล้วว่ามี ไวรัส และแบคทีเรีย ล่องลอยในอากาศเพิ่มมากขึ้น เครื่องปรับอากาศ ที่สามารถทำความเย็นได้เพียงอย่างเดียวคงจะไม่พออีกต่อไปแล้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะของเครื่องปรับอากาศ ไดเซได ที่มีระบบฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงระบบ Ionizer คุณจึงรู้สึกสบาย และผ่อนคลายมากกว่าที่เคย  ดังนั้นเครื่องปรับอากาศ TOSHIBA จึงตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยได้อย่างดี  ทั้งนี้ TOSHIBA ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดรวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆภานในบ้าน

     

    ท่ามกลางการแข่งขันที่บีบรัด และมีคู่แข่งที่ตั้งเป้าหมายล้มแชมป์โตชิบาในตลาดไอที  เป็นสิ่งที่โตชิบาต้องปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ เพื่อเสริมกำลังในการทำตลาดสินค้าไอทีให้แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น โดยนำจุดแข็งที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเสริมหน่วยงานเพิ่มขึ้นในส่วนที่ควรจะมี

     

                    บริษัทแม่ของโตชิบาในญี่ปุ่น มีแผนที่จะรุกเพื่อให้สินค้าไอทีของโตชิบากลับมายืนอยู่ในระดับแนวหน้าอีกครั้ง ตั้งแต่เมื่อปีก่อน โดยลงทุนไปเป็นจำนวนมากจากการเข้าไปเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการให้กับการแข่งขันฟุตบอลโลกที่เกาหลี-ญี่ปุ่น เมื่อปี 2002 ซึ่งนับจากวันนั้นต้องยอมรับว่าภาพลักษณ์ของโตชิบาในผลิตภัณฑ์ไอทีเติบโตขึ้นในสายตาผู้บริโภคทั่วโลกได้ไม่น้อย นอกเหนือจากที่โตชิบาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเพียงด้านเดียว

     

                    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราคิดถึงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเราพูดถึง “โตชิบา” ในตลาดไทย ก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนสินค้าไอทีที่ไม่อยู่ในขอบข่ายความรับผิดชอบของโตชิบา ไทยแลนด์ เพราะการทำตลาดที่แยกกันมาตั้งแต่ต้น ทำให้ภาพของการเป็นผู้นำในกลุ่มสินค้าไอทีในบางตลาด เช่น ผู้นำตลาดโน้ตบุ๊ค หรือผู้นำในตลาดโปรเจ็คเตอร์ ฯลฯ ยังไม่เป็นที่ชัดเจน

     

     

    จุดแข็ง

     

    ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546 เป็นต้นไป บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด จะมีหน่วยงานเพิ่มขึ้นคือ IT Business หรือฝ่ายธุรกิจเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นหน่วยงานบริหารธุรกิจไอทีของบริษัทเอง ที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก จากเดิมที่ผ่านมานั้น สินค้าไอทีของโตชิบาจะมอบหมายให้บริษัท ชีวาเลียร์ ไอเทค ไทย จำกัด เป็นผู้ดูแลเพียงรายเดียว

     

     

    1.Maintain ตลาด Enterprise Business ซึ่งสินค้าไอทีของโตชิบาได้ชื่อว่าแข็งแกร่งในกลุ่มที่เป็นคอมเมอร์เชียล

     

    2.จากเดิมที่โตชิบาไม่ค่อยเน้นทำตลาดคอนซูเมอร์มาก่อน จากนี้ก็จะเริ่มผลักดันการทำตลาดในกลุ่มคอนซูเมอร์มากขึ้น เช่น จากการวางจำหน่ายสินค้าไอทีของโตชิบา เดิมมีวางจำหน่ายในร้านไอทีประมาณ 50 ร้าน โดยเป็นดีลเลอร์ด้านไอทีของชีวาเลียร์ ที่ทำตลาดโน้ตบุ๊คโตชิบาในไทยมาร่วม 10ปี โตชิบาจะขยายการวางจำหน่ายสินค้าไปยังร้านไอทีอื่นเพิ่มขึ้นเป็น100 ร้าน ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางจำหน่ายแบบเท่าตัว

     

    3.จากการรับรู้ว่าสินค้าไอทีของโตชิบามีคุณภาพสูงแต่ก็มีราคาสูง ต่อจากนี้โตชิบามีแผนจะทำให้ราคาสินค้าออกมามีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

     

    4.และให้สอดคล้องกับข้อที่สอง โตชิบามีแผนที่จะพัฒนาช่องทางจำหน่ายให้เข้าถึงกลุ่ม Home use โดยจะพัฒนาช่องทางจำหน่ายและเพิ่มดิสทริบิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ ดังนั้นนอกจากชีวาเลียร์ซึ่งเป็นดิสทริบิวเตอร์ที่มีอยู่รายเดียวในอดีต ในวันประกาศเปิดหน่วยไอที โตชิบา ไทยแลนด์ ได้เชิญคู่ค้าต่าง ๆ มาร่วมพบปะพูดคุยอีกกว่า 20 ราย ซึ่งอีกไม่นานเราคงได้เห็นโตชิบา ประกาศแต่งตั้งดิสทริบิวเตอร์รายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าไอที โดยผู้บริหารโตชิบากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ชีวาเลียร์จะยังคงมีสถานะเป็นเมนดิสทริบิวเตอร์เช่นเดิม แต่โตชิบาจะเป็นผู้วางกลยุทธ์การตลาดสำหรับสินค้าไอทีเองทั้งหมด

     

    5.วางจำหน่ายสินค้ารุ่นใหม่มากขึ้นเพื่อตอบสนองได้ทุกกลุ่ม โดยล่าสุดวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ค 4 รุ่นใหม่คือ Pro M10, TECRA S1, TECRA M1 และ PORTEGE กับพ็อกเก็ตพีซี 2 รุ่น ได้แก่ รุ่น e740 และ e330 ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองกลุ่มเน้นความเป็ฯ Portability และ Mobility ตามคอนเซ็ปต์การใช้งานในอนาคตที่เน้นกลุ่มผู้ใช้ตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไป

     

     

    จุดอ่อน

     

    1.ต้องมีการพัฒนาสินค้าให้ทัดเทียมการแข่งขันในปัจจุบัน

    2.การปรับราคาสินค้าออกมามีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น

    3.โตชิบาไม่ค่อยเน้นทำตลาดคอนซูเมอร์

    4.ช่องทางจำหน่ายให้เข้าถึงกลุ่ม Home use

     

    โอกาส

     

    ท่ามกลางการแข่งขันที่บีบรัด และมีคู่แข่งที่ตั้งเป้าหมายล้มแชมป์โตชิบาในตลาดไอที  เป็นสิ่งที่โตชิบาต้องปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ เพื่อเสริมกำลังในการทำตลาดสินค้าไอทีให้แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น โดยนำจุดแข็งที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเสริมหน่วยงานเพิ่มขึ้นในส่วนที่ควรจะมี

     

     

     

                    บริษัทแม่ของโตชิบาในญี่ปุ่น มีแผนที่จะรุกเพื่อให้สินค้าไอทีของโตชิบากลับมายืนอยู่ในระดับแนวหน้าอีกครั้ง ตั้งแต่เมื่อปีก่อน โดยลงทุนไปเป็นจำนวนมากจากการเข้าไปเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการให้กับการแข่งขันฟุตบอลโลกที่เกาหลี-ญี่ปุ่น เมื่อปี 2002 ซึ่งนับจากวันนั้นต้องยอมรับว่าภาพลักษณ์ของโตชิบาในผลิตภัณฑ์ไอทีเติบโตขึ้นในสายตาผู้บริโภคทั่วโลกได้ไม่น้อย นอกเหนือจากที่โตชิบาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเพียงด้านเดียว

     

     

     

                    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราคิดถึงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเราพูดถึง “โตชิบา” ในตลาดไทย ก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนสินค้าไอทีที่ไม่อยู่ในขอบข่ายความรับผิดชอบของโตชิบา ไทยแลนด์ เพราะการทำตลาดที่แยกกันมาตั้งแต่ต้น ทำให้ภาพของการเป็นผู้นำในกลุ่มสินค้าไอทีในบางตลาด เช่น ผู้นำตลาดโน้ตบุ๊ค หรือผู้นำในตลาดโปรเจ็คเตอร์ ฯลฯ ยังไม่เป็นที่ชัดเจน

     

     

    อุปสรรค

     

     ณ ตอนนี้ โซนี่ซึ่งประกาศนโยบายทำตลาดควบเอวี/ไอที ดูจะกลายเป็นคู่แข่งที่ทุกค่ายจับจ้องไม่วางตา และเฉพาะในปีนี้ ถือว่าโซนี่เป็นรายแรกที่เป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ออกมาประกาศนโยบายทำตลาดควบสองผลิตภัณฑ์ และมีโตชิบาตามมาเป็นรายที่สอง ขณะที่บางยี่ห้อทั้งค่ายยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี บางรายซึ่งมีผลิตภัณฑ์เอวี/ไอที ในไลน์การผลิต แต่ก็ไม่ได้มุ่งเน้นโปรดักส์ที่ใกล้เคียงกันเหมือนโซนี่กับโตชิบา ซึ่งมีสินค้าหลักที่ประกาศรุกหนักในปีนี้เหมือน ๆ กัน โดยเฉพาะสินค้าฝั่งไอที ที่โซนี่มีโน้ตบุ๊คไวโอ้ และพีดีเอคลีเอ้ เป็นตัวชูโรง ซึ่งไอทีของโตชิบาก็มีสินค้าสองประเภทนี้เป็นหลักเช่นกัน แม้โตชิบาจะทำตลาดมานานกว่า แต่ปีนี้โซนี่ก็ทุ่มงบการตลาดมากกว่าโตชิบาหลายเท่า โดยโซนี่เตรียมงบโฆษณาและประชาสัมพันธ์ไว้ถึง 750 ล้านบาท

     

     

     

                    แคมเปญโฆษณาอาจจะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ในช่วงแรก แต่ขั้นต่อไปทั้งสองค่ายคงต้องวัดกันที่คุณสมบัติของตัวสินค้าว่าของใครจะโดนใจและทำให้ผู้บริโภคอยากใช้ได้มากกว่ากัน

     

    นางสาวสุภาภรณ์  ครุฑธาพันธ์

    การเงินการธนาคาร 02

    52127312052

     

     

     

     

     

     

    นายอำนาจ  ด้วงโพนแร้ง
    ธุรกิจร้านกาแฟ

    วิวัฒนาการของร้านกาแฟ

    เริ่มจากรถเข็นขายกาแฟที่เราท่านเคยเห็นกัน จะมีถุงลวกกาแฟแล้วเทใส่น้ำตาล ใส่นม คนให้เข้ากัน แล้วก็ต้องทานกับปาท่องโก๋ ซึ่งเป็นของคู่กัน และมีโต๊ะกลมและเก้าอี้นั่ง มักจะพบเห็นได้ตามตลาดสด สถานที่คนพลุกพล่าน ฯลฯ และ Design จะเป็นแบบเรียบ เน้นขายผลิตภัณฑ์มากกว่าขาย Design หรือรูปลักษณ์

    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวของธุรกิจร้านกาแฟเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมีผู้สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากธุรกิจร้านกาแฟยังเปิดกว้างอยู่ แต่อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจใดๆ ต่างมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ธุรกิจร้านกาแฟก็เช่นกัน แม้จะเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอยู่ ตราบใดที่กาแฟยังสร้างสุนทรีย์ให้กับผู้ที่รักการดื่มได้ แต่การทำธุรกิจตามกระแส ผู้ประกอบการอาจไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ ผู้ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้จึงควรศึกษาข้อมูลบางส่วนไว้ ดังนี้

     ลักษณะของผู้ประกอบการ

    -          ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนธุรกิจร้านกาแฟ ควรมีความพร้อมในเรื่องของเงินลงทุนอยู่บ้างพอสมควร

    -          ผู้ประกอบการต้องมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากหัวใจสำคัญของการทำร้านกาแฟอยู่ที่การเลือกทำเลที่ตั้ง หากขาดทำเลที่ตั้งที่ดีแล้ว โอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านนี้นับว่ายากลำบากอยู่พอสมควร

    -          ผู้ประกอบการควรมีความรู้ในศาสตร์ของกาแฟอยู่บ้าง เพราะการผลิตเครื่องดื่มกาแฟถือเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน ความเข้าใจในส่วนนี้จะช่วยในเรื่องการขาย การบริการ และการพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น

     การลงทุน

    ธุรกิจร้านกาแฟมีลักษณะการลงทุนใน 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

    1. ร้าน (Stand - Alone) เป็นอาคารอิสระหรือห้องเช่าที่มีพื้นที่ประมาณ 50 ต.ร.ม. ขึ้นไป ร้าน Stand - Alone อาจตั้งอยู่ตามย่านชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือพลาซ่าใหญ่ๆ
    2. คอร์เนอร์ (Corner/Kiosk) ร้านกาแฟขนาดกลาง ใช้พื้นที่ประมาณ 6 ต.ร.ม.ขึ้นไป ลักษณะเป็นมุมกาแฟภายในอาคาร ศูนย์การค้า หรือพลาซ่า ร้านกาแฟประเภทนี้อาจจัดให้มีที่นั่งจำนวนเล็กน้อย
    3. รถเข็น (Cart) ร้านกาแฟขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ต.ร.ม. สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หาทำเลที่ตั้งได้ง่าย ทำให้เข้าถึงตลาดได้ทุกระดับ

    จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT)

    จุดแข็ง (Strength)
    ๑.
    บริษัทฯ มีความชำนาญด้านการคั่วกาแฟ และมีสูตรกาแฟเฉพาะได้เป็นเอกลักษณ์ประจำร้าน
     
    ๒.
    บริษัทฯ ได้สิทธิบัตรการปรุงกาแฟและลิขสิทธิ์ รูปแบบอาคารและสวนกาแฟไว้แล้ว
     
    ๓.
    ปัจจุบันสามารถครองตลาดเส้นทาง (๙๐ สาขา ณ ธันวาคม ๒๕๔๖)
     
    ๔.
    ในสถานีบริการน้ำมัน JET (บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด) บริษัทฯ ได้เป็นรายเดียวในการดำเนินธุรกิจกาแฟสด

     

    จุดอ่อน (Weakness)
    ๑.
    บริษัทเริ่มธุรกิจใหม่ไม่เคยทำธุรกิจมาก่อน
     
    ๒.
    ธุรกิจกาแฟสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย
     
    ๓.
    เครื่องชง, เครื่องบด ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ การซ่อมบำรุง
     
    ๔.
    อุปกรณ์อะไหล่ล่าช้า

     

    โอกาส (Opportunity)
    ๑.
    ไม่มีกาแฟที่มีคุณภาพตามเส้นเดินทาง หรือกาแฟคุณภาพในจุดสะดวกซื้อ
     
    ๒.
    กาแฟคุณภาพในตลาดนี้ (ตลาดเส้นเดินทาง ) มีคู่แข่งน้อยและธุรกิจบ้านใร่กาแฟเป็นผู้นำ
     
    ๓.
    สามารถสร้างความแตกต่างทางด้านผลิตภัณฑ์ ที่เหนือชั้นกว่าคู่แข่ง คือ เปลี่ยนเมล็ดกาแฟ ทุก ๑๕ วันเสิร์ฟแก้วร้อนดินเผา พร้อมให้ขึ้นรถ แก้วเย็นเพิ่มนิทาน ความรู้ และภาพลวดลายพิมพ์ข้างแก้วเปลี่ยนสลับทุก ๑๕ วัน
     
    ๔.
    ได้โอกาสเป็นเจ้าแรกที่เข้าตลาดสถานีน้ำมัน เพื่อครองพื้นที่ในตลาดได้ก่อน
      ๕.
    วัตถุดิบกาแฟที่มีคุณภาพ มีอยู่ในบ้านเรา (กาแฟอราบิก้า ทางดอยภาคเหนือเป็นกาแฟที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก)

    อุปสรรค (Threat)
    ๑.
    ชื่อยี่ห้อไทย ในตลาดกาแฟคุณภาพ ไม่ได้รับการยอมรับ หรือยอมรับได้ยาก
     
    ๒.
    กาแฟมีวัฒนธรรมในการดื่ม ในการดื่มซ้ำต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และพัฒนาให้เกิดการยอมรับ
     
    ๓.
    กาแฟเป็นเครื่องดื่มเฉพาะกลุ่ม บริโภคเฉพาะเวลา และโอกาส
     
    ๔.
    คุณสมบัติบางอย่างของกาแฟ สามารถทดแทนด้วยเครื่องดื่มชนิดอื่น
      ๕. กาแฟบรรจุกระป๋อง กาแฟสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป

    นายอำนาจ  ด้วงโพนแร้ง
    การเงินการธนาคาร 02
    52127312069

    นางสาวกาญจนา กิจสอาด

    การลงทุนทองคำ

    จุดแข็ง (Strengths)

    • โดยรวมให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้และการฝากเงินธนาคาร
    • ใช้เป็นเครื่องมือในการลดการขาดทุนจากอัตราเงินเฟ้อ
    • ใช้เป็นเครื่องมือในการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากราคาไม่ได้ผันแปรตามกระแสเศรษฐกิจ ดังเช่นการลงทุนในหุ้น
    • การกระจายความเสี่ยงใน port. การลงทุน
    • มีความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาทองคำในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยน
    • มีสภาพคล่องสูง

    จุดอ่อน (Weaknesses)

    • นักลงทุนควรศึกษาข้อมูล วิธีการลงทุนในทองคำอย่างละเอียดและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน
    • วิธีที่เหมาะสมของการลงทุนในทองคำ ควรใช้วิธีเฉลี่ยราคาในการซื้อขาย แบ่งสัดส่วนในการซื้อขายหากราคามีการเคลื่อนไหวผันผวนค่อนข้างมาก
    • ควรติดตามสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่กระทบกับราคาทองคำ เช่น ค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินบาท ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจสหรัฐ นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางราคาทองคำ
    • กำหนดเป้าหมายการลงทุนไว้ให้ชัดเจนตามพอร์ตการลงทุนที่วางแผนไว้

    โอกาส  (Opportunity)

    จากข้อมูลทางสถิติบ่งชี้ว่า ราคาทองคำยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน มิ.ย.(สัปดาห์นี้)โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยรอบ 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 0.27% WoW ด้วยความน่าจะเป็นราว 70%  และ Upside การปรับขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ (ตัวแทนของสินทรัพย์เสี่ยง) เริ่มถูกจำกัด จนกว่าจะปรับตัวขึ้นไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันที่ 10,250 จุด ได้อย่างมั่นคง

     
    อ่านทั้งหมด
    วันที่ - เวลา THB Spot Gold ทอง 96.5% ทอง 99.9%
     
    23/ก.ค./53 - 14:59 32.30 1,199.80 18,250 - 18,350 18,940 - 18,990
    23/ก.ค./53 - 09:56 32.29 1,195.90 18,200 - 18,300 18,880 - 18,930
    22/ก.ค./53 - 09:59 32.35 1,186.20 18,150 - 18,250 18,760 - 18,810
    21/ก.ค./53 - 09:30 32.32 1,191.20 18,200 - 18,300 18,810 - 18,860
    20/ก.ค./53 - 11:35 32.32 1,184.10 18,100 - 18,200 18,720 - 18,770
     

     

    อุปสรรค (Threat)

    แต่ข้อเสียของโกลด์ ฟิวเจอร์ส คือ เป็นการลงทุนระยะสั้น เพราะแต่ละสัญญาจะมีระยะเวลาครบกำหนด และหากต้องการลงทุนต่อไปอีกก็ต้องใช้วิธีการ Roll Over ทำให้มีต้นทุนในการลงทุนเพิ่มขึ้น

    นอกจากนี้ ถ้าคิดจะเข้าไปลงทุนคงจะไม่สามารถเดินดุ่มๆ เข้าไปได้ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเสียก่อน เพราะการลงทุนทองคำในรูปแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่าแค่การซื้อทองคำแท่งมาเก็บแล้วรอเวลาขายทำกำไร ซึ่งในโอกาสหน้าเราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันอีกครั้งหนึ่ง 

     

    โกลเบล็กเชื่อบรรยากาศการลงทุนทองคำภายในสัปดาห์นี้ยังไปได้สวย แนะ"เก็งกำไรทองคำระยะสั้น" ให้กรอบ18,500-19,350 บาทต่อบาททอง

    นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ  บริษัทโกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนทองคำภายในสัปดาห์นี้ว่า   ราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้งในสัปดาห์นี้ โดยแนะนำ "ซื้อเก็งกำไรระยะสั้น" คาดกรอบ  1,205-1,260 เหรียญต่อออนซ์ หรือประมาณ 18,500 -19,350 บาท/บาททอง

    ทั้งนี้ ราคาทองคำได้แรงหนุนจากความกังวลในปัญหาหนี้สินของยุโรปที่ยังไม่จางหายไป และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงปลายสัปดาห์ที่ออกมาไม่ดี ประกอบกับการฟื้นตัวของเงินสกุล ยูโรที่เกิดขึ้นสัปดาห์ที่ผ่านมา น่าจะเป็นเพียงปรากฏการณ์สั้นๆจากการเปิดประมูลพันธบัตรจำนวนมากเท่านั้น

    ในขณะเดียวกันภาพทางเทคนิคที่ดูดีขึ้น หลังราคาสามารถยืนเหนือจุดเปลี่ยนแนวโน้มที่ 1,210 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ได้ และดัชนีบ่งชี้ระยะสั้น (Stochastic Oscillators) ของกราฟระดับสัปดาห์ที่กลับมายืนเหนือ Signal Line ตัวเอง พร้อมปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าสัปดาห์ก่อน

    นอกจากนี้ กองทุนทองคำ SPDR Gold Trust ยังเพิ่มสถานะถือครองทองคำอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาซื้อเพิ่มอีก 19.78 ตัน มาอยู่ที่ 1,306.14 ตัน ซึ่งหากเทียบสถานะถือครองทองคำที่ระดับดังกล่าวด้วยการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ (Correlation Analysis) พบว่า ราคาทองคำควรขึ้นไปซื้อขายในช่วงราคา 1,240-1,270 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จึงจะถือว่าเหมาะสม 

    อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลทางสถิติบ่งชี้ว่า ราคาทองคำยังปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน มิ.ย.(สัปดาห์นี้)โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยรอบ 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 0.27% WoW ด้วยความน่าจะเป็นราว 70%  และ Upside การปรับขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ (ตัวแทนของสินทรัพย์เสี่ยง) เริ่มถูกจำกัด จนกว่าจะปรับตัวขึ้นไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันที่ 10,250 จุด ได้อย่างมั่นคง

                                                                            นางสาวกาญจนา  กิจสอาด

                                                                            การเงินการธนาคาร  02

                                                                            52127312055

      SWOT

    เป็นวิธีการหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์องค์กรเพื่อการวางแผนในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร ที่ส่วนใหญ่ใช้ในองค์กรภาคธุรกิจ เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในกิจการและลักษณะงานต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรในภาครัฐด้วย

    SWOT

    เป็นคำย่อมาจากคำว่า Strengths , Weaknesses , Opportunities , Threats โดย
                 S – Strengths หรือ จุดแข็ง เป็นการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาประเด็นที่เป็นจุดแข็ง หรือจุดเด่นภายในองค์กร มองว่ามีจุดเด่น
    ที่ทำให้องค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
               W – Weaknesses หรือ จุดอ่อน เป็นการวิเคราะห์ค้นหาประเด็นที่เป็นจุดอ่อน หรือที่เป็นปัญหาภายในองค์กร ที่องค์กร
    มองว่าเป็นจุดด้อยไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
               O – Opportunities หรือ โอกาส เป็นการวิเคราะห์เพื่อค้นหาประเด็นที่เป็นประโยชน์ มีโอกาสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
    จากภายนอกองค์กร ที่เอื้ออำนวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์
               T – Threats หรือ อุปสรรค เป็นการวิเคราะห์เพื่อค้นหาประเด็นที่เป็นข้อจำกัด ขัดขวาง ที่มาจากภายนอกองค์กร มองว่า
    เป็นภัยคุกคามต่อการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     

    การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS นั้น จะต้องวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐาน 2 อย่าง คือ

    1. BALK GROUD ของตัวผู้ประกอบการเอง
    ว่ามีประสบการณ์อย่างไร มีจุดแข็งอย่างไรในตัวของคุณเอง
    เช่น มีจุดเด่น ที่พูดคุย เป็นมิตรกับทุกคน
    หรือชอบทำงาน GRAPHIC ได้ดี และเด่นกว่าคนอื่น
    หรือ บุคคลิกดีสวยสะดุดตากว่าคนอื่น เป็นต้น

    2. จุดเด่นจุดด้อยอันเกิดจากลักษณะของธุรกิจเอง โดยผมจะวิเคราะห์ ให้ดูอีกสักหนึ่ง CASE เพิ่ม เป็นกรณีศึกษา

     

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                                                 [   swot  กับห้างสรรพสินค้าทั้งหลายแหล่  ]

    จุดเด่น จุดแข็ง
    1. เป็นธุกิจที่ลงทุนไม่มากคืนทุนได้เร็ว
    2. กำไร 300-1500% นับว่าสูงมาก
    3. เรียนรู้ได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป
    แต่ผู้ประกอบการจะต้องชอบการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ประเภทกราฟฟิก
    4. จุดเด่นหลัก คือ ความเร็ว ลูกค้าสามารถรอรับได้เลย
    5. ห้างสรรพสินค้ามีคนเดินมาก โอกาศได้งานมีสูง
    6. เครื่องหนึ่งอย่างสามารถรับงานได้หลายประเภท
    ทำให้เกิดงาน ประยุกต์ หลากหลายขึ้น โดยลงทุนเท่าเดิม
    7. มีโปรแกรมลิขสิทธิ์ให้ใช้ควบคู่กับเครือของเรา

    จุดอ่อน
    1. ปัจจุบันมีความจริงจังเรื่องโปรแกรม ลิขสิทธ์มากขึ้น การใช้โปแกรมดีๆ
    แต่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธ์ บางครั้งอาจเกิดปัญหาการถูกจับละเมิดได้
    เช่น CORELDORAW, PHOTOSHOP,WINDOW
    และโปรแกรมแท้ยังมีราคาสูงอยู่
    2. เปิดร้านเริ่มต้นยังไม่มีลูกค้าประจำ จะต้องใช้กลยุทธมากขึ้น
    เช่น วิธีการโปรโมทร้านค้า,เว็บบอร์ด,โปรเตอร์ในลิฟท์,ใบปลิว เป็นต้น
    รอ 3-6 เดือน จะเริ่มมีลูกค้าประจำ
    ในช่วงเริ่มต้นต้องคิดหาวิธี ทำการตลาดเชิงรุก เข้าไปด้วย
    3. ค่าเช่าสูง และต้องมีค่ามัดจำด้วย ทำให้ลงทุนมากขึ้น
    แก้ไขด้วยการ พูดคุยต่อรอง กับฝ่ายขายพื้นที่ หรือขอผ่อนผัน

    โอกาส
    1. ไม่มีร้านค้าประเภทเดียวกันในห้างที่คุณจะตั้งอยู่ ร้านค้าคู่แข่งอยู่นอกห้าง
    ซึ่ง พฤติกรรมของคนในจังหวัดที่คุณอยู่นั้น คนชอบเดินเล่นในห้าง
    2. ร้านค้าคู่แข่ง ไม่ได้บริหารงานด้วยตัวเจ้าของร้านเอง ร้านเก่า ทรุดโทรม
    ขาดความน่าเชื่อถือ จุดนี้ เราสามารถ แข่งขันได้ อย่างแน่นอน เป็นต้น
    3. ราคาขายของร้านคู่แข่งสูงมาก และเจ้าของร้านไม่ค่อยรับแขก
    เพราะเปิดมานานแล้ว คิดว่ามีลูกค้าประจำ แต่ลูกค้าอาจหลุดมาร้านเราก็ได้
    4.  เราใช้เทคโนโลยีล่าสุดทำให้ง่ายต่อการแบ่งปัน คุณภาพดีกว่าแน่นอน
    และต้นทุนก็น่าจะต่ำกว่าด้วยเช่นกัน

    อุปสรรค์
    1. เป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่มาก อาจมีคู่แข่งเกิดขึ้นภายหลังได้
    ดังนั้นจึงต้องคิดให้ แตกต่างอยู่เสมอ
    2. พื้นที่เช่าในห้างมีการแข่งขันสูง ทำให้หาพื้นที่สวยๆยากขึ้น
    หรือ อาจได้ในราคาสูงเกินไป

    [  นายอนิรุตติ์  ฤกษ์นาวี   ]  52127312056  การเงินการธนาคาร  02  มรภ .สส.

    การวิเคราะห์ SWOT 

     บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (Starbucks Coffee Company)

                        

             สตาร์บัคส์ (Starbucks) เป็นร้านจำหน่ายกาแฟอันดับ 1 ของสหรัฐฯ มีสาขากว่า 2,700 แห่งทั้งในสหรัฐฯ และอีก 15 ประเทศ โดยจะพบร้าน และซุ้มจำหน่ายของ สตาร์บัคส์ ทั้งในอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า สนามบิน และร้านหนังสือ สินค้าในร้านมีทั้งกาแฟ ถั่วชนิดต่างๆ ขนมอบ อาหาร และเครื่องดื่ม รวมทั้งอุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟหรือเครื่องบดกาแฟ นอกจากนั้น สตาร์บัคส์ ยังซัพพลายถั่วชนิดต่างๆ ให้กับร้านอาหาร บริษัทธุรกิจ สายการบิน และโรงแรม อีกทั้งมีสินค้า ที่สั่งซื้อได้ทางไปรษณีย์ และแค็ตตาล็อกระบบออนไลน์ด้วย และสตาร์บัคส์เองยังเป็นบริษัทที่มี Innovation สูงติดเป็นอันดับต้นๆของโลกอีกด้วย

    (S) Strengths >> จุดเด่นหรือจุดแข็ง
    1.คุณภาพของกาแฟที่นำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์

    2.มาตรฐานในการบริการที่ดีในการบริการแก่ลูกค้า

    3.การให้ความสำคัญกับพนักงาน

    4.การให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 

    5.เป็นร้านกาแฟที่ติดอันดับ 84 ของโลก

    6.เป็นร้านกาแฟที่มีแฟรนไชน์

    7.เป็นร้านกาแฟที่ให้ความสำคัญและใส่ใจกับลูกค้า

    (W) Weaknesses >> จุดด้อยหรือจุดอ่อน
    1.การจัดการทางด้านการบริหารยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะยังมีการหาบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยใน การบริหาร

    2.ภาพลักษณ์ที่มีในการทำธุรกิจของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยบอกว่า ต้องการที่จะสร้างให้ Starbucksเป็นการให้บริการด้วยใจ มากกว่าการเป็นเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีตามท้องตลาด เป็นการที่มีการร่วมลงทุนกับบริษัทเป็ปซี่ในการทำกาแฟกระป๋อง

    (O) Opportunities >> โอกาส
    1.ปัจจุบันประชากรทั่วโลกมีความรุ้และมีการใช้อินเตอร์เนตมากขึ้นกว่าเดิม น่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจDOT.COM

    2. มีสาขามาก                               

    3. มีการจัดร้านเป็นเอกลักษณ์         

    4.สร้างความรู้สึกให้ผู้บริโภคได้ว่าสตาร์บัคเปรียบเหมือนบ้านหลังที่ 2 

    5.สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจให้ผู้บริโภคอีกด้วย

    (T) Threats >> อุปสรรค
    1.ในภาวะที่ราคาน้ำมันสูงแลค่าครองชีพที่สูงขึ้นกว่าอดีตมาก น่าจะส่งผลกระทบต่อยอดขายของ Starbucks เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่างๆที่สูงขึ้น คนส่วนใหญ่ก็จะประหยัดการใช้จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม

    2. มีคู่แข่งในตลาดมากอย่าง

     

    น.ส. สองขวัญ สังข์เอม

    การเงินการธนาคาร 01

    รหัส 52127312018

    การวิเคราะห์สถานการณ์ ( SWOT Analysis )

    [  น้ำยาปรับผ้านุ่ม  ]

    จุดแข็ง (Strength)
    • ผู้บริหารมีความรู้ด้านการผลิตเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น
    • ที่ตั้งของกิจการอยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงสามารถกระจายสินค้าไปยังแหล่งต่างๆ ได้สะดวก
    • ขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้พนักงานที่มีประสบการณ์สูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ
    • สินค้าราคาถูก

    จุดอ่อน (Weakness)
    • ลักษณะการบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรจุภัณฑ์
    ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น เช่น ปุ๋ยเคมี  ทำให้ขาดรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
    • ผลิตภัณฑ์ของกิจการ ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมาก ดังนั้นจึงสามารถจำหน่ายได้เฉพาะในเขตจังหวัด
    ใกล้เคียงและเฉพาะตลาดล่างเท่านั้น
    • กิจการขาดระบบจัดการ และระบบบัญชีการเงินที่เป็นมาตรฐาน  ทำให้ขาดข้อมูลแสดงสถานะการผลิต
    และการเงินที่ช่วยพิจารณาตัดสินใจด้านการจัดการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

    โอกาส (Opportunity)
    • ยังไม่มีผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในเขตพื้นที่ อ.เมือง จึงไม่มีปัญหาการแข่งขัน
    • การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2546 ทำให้อัตราการเติบโตในภาคการผลิตและบริโภค
    เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดน้ำยาปรับผ้านุ่มด้วย

    อุปสรรค (Threat)
    • มีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ หลายราย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ
    ผู้ผลิตเหล่านี้มีกำลังในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์มาก
    ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าของคู่แข่งเป็นที่รู้จักและมีภาพลักษณ์ที่ดี
    • สภาวะการแข่งขันนอกเขต อ. เมือง จ. สระบุรีและพื้นที่
    จังหวัดใกล้เคียงค่อนข้างรุนแรงโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ
    ทำให้ยากต่อการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายของกิจการได้
    ในอนาคต

    นางสาวชาลิสา  เกิดทิพย์  52127312046  การเงินการธนาคาร  02

    Swot ของ PTTEP 

    บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

    •" แหล่งเจาะที่สำรวจและผลิตในปัจจุบัน

         ปัจจุบัน PTTEP มีปริมาณปิโตรเลียมที่มีการพิสูจน์แล้ว 778 ล้านบาร์เรล แหล่งเจาะที่ทำรายได้หลักมาจากแหล่งบงกช และไพลนิ ซึ่งในอีก 2-3 ปี โครงการจาก ยาดานา และอาทิตย์จะเป็นโครงการที่สร้างรายได้ดี ปตท.สผ. เองก็ยังเพิ่มโอกาสการลงทุนในแหล่งเจาะต่างประเทศ ในเวียดนาม และกำ ลังศึกษาความเป็นไปได้ที่อินโดนีเซีย อิหร่าน และโอมาน

    •" จุดแข็ง

         PTTEP เป็นบริษัทที่ถือว่าไม่มีคู่แข่ง เพราะถือว่าได้อภิสิทธิ์จากรัฐเข้าไปร่วมสำรวจและผลิต ตามโครงการต่างๆ และหลังจากผลิตก็ขายให้กับผู้รับซื้อรายเดียว คือ ปตท. โดยการซื้อขายถูกระบุในสัญญาซื้อขายระยะยาว โดยราคาก๊าซจะถูกปรับทุก 6 หรือ 12 เดือนสัญญา Take 22 day เป็นการผูกขาดการรับซื้อจาก ปตท. ดังนั้นธุรกิจประเภทนี้จึงเป็นธุรกิจ ที่มีโอกาสล้มน้อย ปัจจุบันบริษัทมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับหลายบริษัทในปัจจุบัน

    •" จุดอ่อน

         ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสูง และมีความเสี่ยงสูง กับการไม่พบทรัพยากรอย่างที่คาด ความเชี่ยวชาญของเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำ คัญ ซึ่ง PTTEP ปัจจุบันอาศัย เทคโนโลยีจากบริษัทร่วมอยู่มาก ในการเข้าสำรวจและเจาะการต้องพึ่งผู้อื่นนี้เองถือว่าเป็นจุดอ่อน การที่มีสินค้าหลักเพียงชนิดเดียวคือ ก๊าซธรรมชาติก็ทำให้บริษัทมีข้อจำกัด ในการขยายตลาด ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงที่ขนถ่ายได้ยากต้องใช้ท่อก๊าซซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงและมีชนิดของลูกค้าที่จำกัด

    •" โอกาส

         ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสำรวจและผลิต โอกาสที่ ปตท.สผ. จะสามารถขุดเจาะแหล่งก๊าซหรือน้ำมันที่อดีตอาจจะไม่คุ้มทุน เป็นไปได้มากขึ้น การพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักรยังมีโอกาสที่จะลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านหรือต่างประเทศที่มีภูมิศาสตร์คล้ายกับประเทศไทย ยังเพิ่มโอกาสให้กับ PTTEP ได้อีกในอนาคต การลงทุนในอินโดฯ หรืออิหร่าน ก็หวังเพื่อจะเพิ่มปริมาณสำ รองในส่วนของน้ำมันดิบ

    •" ความเสี่ยง

          การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น พม่า เวียดนาม มาเลเซีย บริษัทจำต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเมืองของประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะการที่ท่อก๊าซต้องพาดผ่านประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาจากกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ และความเสี่ยงในเรื่องจากภัยธรรมชาติ เนื่องจากแท่นเจาะจำนวนมากอยู่กลางทะเลและท่อก๊าซเองก็พาดผ่านในทะเลลึกความเสียหายใดๆ จะส่งผลร้ายต่อรายได้อย่างสูง

     

    นางสาววีรนุช  หมัดตะเล

    รหัสนักศึกษา 52127312013

    เอกการเงินการธนาคาร 01

    มาม่า 

     จุดแข็ง

    1. บริษัทมีชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีทั้งยังเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยชื่อแบรนด์ "มาม่า"เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคนึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง "บะหมี่กึ่งสำร็จรูป"
    2. มาม่ามีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึงทั่วประเทศ
    3. สินค้าตัวหลักของมาม่าต้มยำกุ้ง และ หมูสับ เป็นที่ต้องการของตลาดมาก

     

     

     4. เป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆเห็นได้ชัดจากเป็นผู้ผลิตรายแรกที่เปลี่ยน

     

     จุดอ่อน

    1. การพัฒนารสชาติใหม่ๆ มีน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ คือ หลังจาก มาม่าโฮลวีท พริกไทยดำ เป็นเวลา กว่า 2 ปี ที่มาม่าไม่ได้ออกรสชาติใหม่เลย
    2. การปรับขึ้นราคาเพื่อให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนทำได้ลำบาก
    3.  เน้นการทำการตลาดเชิงรับ

     

     

     

     โอกาส

    1. การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคจึงมีแนวโน้มในการบริโภคสินค้าที่สะดวกมากยิ่งขึ้น

    2. จากผลกระทบทางเศรษฐกิจ สินค้าต่างๆมีราคาแพงขึ้น ดังนั้นเมื่อรายได้น้อยจึงหันมาบริโภคแบบประหยัดและอิ่มท้อง

     

    อุปสรรค

    1. ราคาต้นทุน เนื่องจากในปัจจุบันราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย

    2. ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น ซึ่งมาม่าถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ
    3. คู่แข่งอย่างไวไว และยำยำ เริ่มทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้นในขณะที่มาม่าเน้นการตลาดเชิงรับ

    นางสาวสุปราณี  วันดี

    รหัส 52127312023

    การเงินการธนาคาร ปี 2

    นางสาวสุกาญดา แสนศรี

    โรงแรมโอเรียนเต็ล

    วิเคราะห์ SWOT ของโอเรียนเต็ล
    จุดแข็งของโอเรียนเต็ล
    1. โอเรียนเต็ลมีการก่อตั้งมายาวนานเป็นที่รู้จัก
    2. มีสถาปัตยกรรมหรูหราสวยงามคลาสสิกเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจ
    3. ทำเลที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง
    4. มีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์
    5. มีโรงเรียน OHAP ผลิตพนักงานที่มีคุณภาพให้กับโอเรียนเต็ล
    6. มีกิจการอื่นๆที่รองรับการทำงานของพนักงานตลอดทั้งปีเช่น ร้านเบเกอรี่ ร้านอาหาร สปาร์
    7. มีทำเลที่ตั้งสวยงามเพราะอยู่กลางเมืองและติดแม่น้ำเจ้าพระยา
    8. พนักงานมีคุณภาพและถูกปลูกฝังให้มีจิตวิญญาณของการบริการ
    9. มีเงินทุนมหาศาล
    10. มีการฝึกภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้แก่พนักงาน
    11. มีฐานข้อมูลรายละเอียดของลูกค้าเก็บไว้

    จุดอ่อนของโอเรียนเต็ล
    1. มีบริเวณพื้นที่ใช้สอยจำกัดจะขยายพื้นที่เป็นไปได้ยาก
    2. พนักงานที่มีประสบณ์การณ์ถูกดึงตัวไปทำงานที่อื่น
    3. มีการเกษียณอายุของพนักงานที่มีความสามารถ
    4. เนื่องจากโรงแรมมีความเก่าแก่จึงทำให้บางส่วนที่การชำรุดทรุดโทรม
    5. มีจำนวนห้องน้อยเมื่อเทียบกับโรงแรมอื่นบางแหล่ง
    6. การเสนอค่าห้องพักเป็นดอลล่าร์สหรัฐทำให้ได้รับการต่อต้านจากสังคมไทยเนื่องเป็นโรงแรมไทยแต่เก็บเงินเป็นเงินตราฝรั่ง
    โอกาสของโอเรียนเต็ล
    1. คนทั่วโลกรู้โลกรู้จักโอเรียนเต็ลในฐานะโรงแรมอันดับโลก
    2. กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจและมหาเศรษฐี
    3. กลุ่มลูกค้ามีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น
    4. โรงแรมแมนดารินซึ่งเป็นหุ้นส่วนใหญ่มีสาขาทั่วโลก
    5. มีร้านอาหารและโรงแรมมากมายต้องการกุ๊กและพนักงานการโรงแรมที่จบจากโรงเรียนOHAP
    6. ค่าเงินของไทยอ่อนกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ
    7. รัฐบาลมีการเปิดการค้าเสรีกับจีนและประเทศอื่นๆ
    ความเสี่ยงมีต้องบริหาร
    1. มีคู่แข่งที่มีศักยภาพมากขึ้น
    2. เวลาผ่านมาหลายปีกลุ่มลูกค้าเดิมชรามากแล้ว
    3. อายุของกลุ่มลูกค้าที่การเปลี่ยนแปลงไป
    4. การโทรคมนาคมมีความเจริรญก้าวหน้ามากขึ้น เร็วขึ้น
    5. เนื่องจากภัยธรรมชาติและภัยจากการก่อการร้ายจึงทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ

    คำถามเชิงกลยุทธ์ของโอเรียนเต็ล
    1. ลูกค้าของโอเรียนเต็ลในปัจจุบันคือ นักธุรกิจ 3 กลุ่ม 1.ชาวยุโรป 2.ชาวอเมริกา 3.ชาวเอเชีย โดย 18%เป็นชาวญี่ปุ่นที่เหลือก็เป็นชาวฮ่องกง มาเลเชีย ออสเตรเลีย
    2. ลูกค้าของโอเรียนเต็ลในอนาคตคือ นักธุรกิจ 3 กลุ่มเดิมแต่อายุเปลี่ยนเป็นคนรุ่นใหม่บางส่วนและเพิ่มจีนด้วยเนื่องจากมีการเปิดการค้าเสรีกับจีน
    3. โอเรียนเต็ลจะเข้าถึงลูกค้าในปัจจุบันได้โดยเนื่องจากโอเรียนเต็ลเป็นแบรนดังที่ทั่วโลกรู้จักและอยากเป็นลูกค้าอยู่แล้วการเข้าถึงลูกค้าจึงเป็นวิธีปากต่อปาก โฆษณาตามสายการบินทั่วโลกและตามกิจการในเครือ
    4. คู่แข่งในปัจจุบันคือโรงแรมชั้นนำในกรุงเทพฯ อพาร์เมนท์หรูและเทคโนโลยีการโทรคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วอื่นๆ
    5. ความสามารถในการแข่งขันของโอเรียนเต็ลอยู่ที่ โอเรียนเต็ลมีการบริหารจัดการที่ มีการสร้างงานเพื่อรองรับการทำงานของพนักงานทำให้พนักงานมีทำงานและรายได้ตลอดทั้งปีเป็นรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพในอยู่กับโอเรียนเต็ลนานๆ มีโรงเรียนOHAP สอนการโรงแรมในสาขาต่างๆเป็นประโยนช์ในการสร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพและเป็นการจัดระเบียบพนักงานให้กับโอเรียนเต็ล
    6. ความสามารถในการแข่งขันของโอเรียนเต็ลในอนาคตอยู่ที่มีพนักงานที่มีความสามารถเป็นจำนวนมากเพราะมีโรงเรียนผลิตได้เองและยังสามารถสอนให้พนักงานเข้าใจถึงจิตวิญญาณของการบริการสถาปัตยกรรมที่สวยงามคลาสสิกเวลาผ่านไปอย่างไรก็คลาสสิก นั้นคือทรัพยากรที่โอเรียนเต็ลมีมากกว่าที่อื่น
    7. จุดที่โอเรียนเต็ลยืนอยู่ในปัจจุบันคือเป็นโรมแรมอันดับหนึ่งของไทยและเป็นโรงแรมอันดับโลกโดยมีรายได้กว่า 1,700 ล้านบาทต่อปี
    8. ปัจจัยที่ทำให้โอเรียนเต็ลประสพความสำเร็จในปัจจุบันคือ
    1. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์
    2. สถาปัตยกรรมที่สวยงามคลาสสิก ความเก่าแก่ในงานศิลป์ การบริการที่ปารณีตบรรจง
    3. ทำเลที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวง
    4. มีโรงเรียนผลิตพนักงานการโรงแรมเอง
    5. ความสามารถในการรักษาพนักงาน
    6. การเสนอค่าห้องพักเป็นดอลล่าร์สหรัฐ

    สิ่งที่เรียนรู้จากโอเรียนเต็ล
    1. เสน่ห์ที่ดึงดูดใจของโอเรียนเต็ลคือทำเลที่ตั้ง สถาปัตยกรรมที่ความสง่างามคลาสสสิก ความเป็นมาที่ยาวนาน การบริการที่ปราณีตบรรจงสุดที่จะประทับใจจึงทำให้โอเรียนเต็ลกลายเป็น “ Luxury Product” ที่คนทั่วโลกรู้จัก
    2. คุณหมอชัยยุทธ์ กรรณสูตและมร.จีออร์จีโอ แบร์ลิงเจียรี เริ่มมาจับกิจการโอเรียนเต็ลโดยเริ่มจากความชอบส่วนตัวเช่น ชอบดื่มไวท์และทานอาหารรสเลิศ ชอบพักโรงแรมหรูหราสวยงามคลาสสิกและการบริการที่สุดจะประทับใจ(ทำในสิ่งที่ชอบ)
    3. ในยุคที่ มร.เคิร์ท ว๊าซไฟท์ บริหารโอเรียนเต็ลเขาเป็นนักบริหารที่มีวิสัยทัศน์มาก เขามองเห็นถึงอายุของลูกค้าเปลี่ยนไป ตอนนี้ลูกค้าที่เคยมาพักกลายเป็นมหาเศรษฐีแก่ชราเสียส่วนใหญ่ เขาจึงเปลี่ยนแปลงการตกแต่งตึกริเวอร์วิงจากสไตท์คลาสสิกเป็นทันสมัยมีเทคโนโลยีครบครันเพื่อรองรับลูกค้ารุ่นใหม่ๆโดยยังคงโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมคลาสสิกเดิม
    4. มร.เคิร์ท ว๊าซไฟท์กล่าวว่าคุณภาพของโรงแรมชั้นดีอยู่ที่อาหาร เขาจึงปรับปรุงเรื่องของอาหารและห้องอาหารเป็นอันดับต้นๆในช่วงแรกของการทำงาน แล้วเขาก็คิดถูก
    5. เมื่อธุรกิจเดินทางผ่านช่วงเวลาอันยาวนานธุรกิจนั้นต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด จากที่พักลูกเรือสินค้าจนกลายเป็นโรงแรมอับดับโลกมีการเปลี่ยนมือเจ้าของหลายครั้งแต่การเปลี่ยนมือในแต่ละครั้งมีพัฒนาการในตัวเองตามยุคตามสมัย
    6. ในสายตาคนทั่วโลกมองโอเรียนเต็ลเป็นแบรนหรูที่ทุกคนอยากเป็นลูกค้าอย่างเช่นรถโรลสรอยซ์และนาฬิกาโรเล็กซ์ สิ่งเหล่านี้คือความสำเร็จในระยะเวลาอันยาวนาน
    7. โอเรียนเต็ลมีการบริหารจัดการที่ดี มีการสร้างงานเพื่อรองรับการทำงานของพนักงานทำให้พนักงานมีทำงานและรายได้ตลอดทั้งปีเป็นรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพในอยู่กับโอเรียนเต็ลนานๆและโอเรียนเต็ลมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
    8. มีการลงทุนมหาศาลในการเพิ่มและตกแต่งห้องพักในช่วงที่เศรษฐกิจไทยผันผวน
    9. มีการเสนอค่าห้องพักเป็นดอลล่าร์สหรัฐซึ่งได้รับการโจมตีอย่างมากในช่วงนั้น
    10. โอเรียนเต็ลสร้างโรงเรียนOHAP สอนการโรงแรมในสาขาต่างๆเป็นประโยนช์คือ1. สร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพและเป็นการจัดระเบียบพนักงานให้เข้าใจถึงจิตวิญญาณของการบริการให้กับโอเรียนเต็ล
    2. เป็นแหล่งผลิตกุ๊กและพนักงานการโรงแรมไปทั่วโลก 3.จากข้อ 2 บุคคลากรเหล่านั้นจะช่วยเป็น
    กระบอกเสียงให้โอเรียนเต็ลเป็นการโฆษณาในตัว ถึงกับมีคำพูดที่ว่า OHAP สร้าง “คน”สร้างโอเรียนเต็ล

     

    นางสาวสุกาญดา  แสนศรี

    52127312005

    การเงินการธนาคาร 01

    บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

     

    ประวัติความเป็นมา
             พระยาภิรมย์ภักดี ก่อตั้งบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ขึ้นในปีพุทธศักราช 2476 เป็นโรงเบียร์แห่งแรกในประเทศไทยที่พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ อยู่เสมอ จนได้ชื่อว่าเป็นโรงเบียร์ที่มีศักยภาพในการผลิตสูงที่สุดคือ พันล้าน ลิตรต่อปี และเป็นโรงเบียร์ที่ใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดเพื่อผลิต สินค้าคุณภาพภายใต้เครื่องหมายการค้า "สิงห์" "ลีโอ" และ "มิดไวด้า"
    บริษัทฯ กระจายกำลังการผลิตไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยการสร้างโรงเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตโซดา น้ำดื่ม อีก 6 แห่ง ความสามารถในการผลิตเบียร์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผนึกกับเครือข่ายการจัด จำหน่ายที่รองรับตลาดอย่างทั่วถึงทำให้บุญรอด ยืนผงาดอยู่ในแนวหน้าของผู้ผลิตเบียร์ตราบจนทุกวันนี้ ยิ่งบริษัทฯ ได้รับเกียรติบัตร ISO 9002 รับรองมาตรฐานการผลิต ยิ่งทำให้ผู้บริโภค มั่นใจในสินค้าของบุญรอดฯ เมื่อเห็นว่าตลาดโลกมีความต้องการสินค้าคุณภาพของบุญรอด บริษัทฯ จึงเสริมกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศเยอรมันด้วย โรงเบียร์อีก 2 แห่ง และร่วมทุนทำโรงเบียร์ในประเทศจีนอีก 1 แห่ง
    ขณะเดียวกัน บุญรอดมีความสำนึกและภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดมา จึงเน้นที่จะส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมที่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นหลัก นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมที่มีคุณค่าทุกประเภท เพื่อเป็นการตอบแทนสังคมที่อุดหนุนผลิตภัณฑ์ตราสิงห์ด้วยดีตลอดมา
    ส่วนผสม
            ในการทำเบียร์นั้น วัตถุดิบสำคัญที่ใช้คือ ข้าวมอลต์ (Malt) น้ำ ดอกฮ็อพ (Hop) และ ยีสต์ (Yeast)
    ข้าวมอลต์ ได้มาจากข้าวบาร์เลย์ ซึ่งเป็นธัญพืช ที่นิยมปลูกในประเทศ ที่มีภูมิอากาศเย็น จะมีการปลูกกันมาก ในประเทศทางทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ออสเตรีย อังกฤษ เดนมาร์ก และ ออสเตรเลีย ส่วนประเทศไทยมีการนำ สายพันธุ์ ข้าวบาร์เลย์เข้ามาปลูกในแถบ ภาคเหนือ ซึ่งมีภูมิอากาศเย็น มีการ ส่งเสริม การปลูกข้าวบาร์เลย์
    น้ำ เป็นวัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากเบียร์มีส่วนประกอบที่เป็น น้ำมากกว่า 90% คุณภาพของน้ำ ที่ใช้สำหรับการ ผลิตเบียร์ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของเบียร์ที่จะผลิต ความอ่อน ความกระด้างของน้ำจะมีผลต่อ รสชาติของเบียร์ หรือมีผลต่อความ เปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในกระบวน การผลิต

     การผสม
    การผลิตเบียร์เริ่มจากการนำข้าวมอลต์ มาบดให้เมล็ดแตก พร้อมทั้งใส่น้ำผสม ลงไปในถังผสม ถังผสมต่างๆ ที่ใช้ ในการผลิตเบียร์ในสมัยก่อนนั้น นิยม ทำด้วยทองแดง ตัวทองแดงนอกจากจะมี ความสวยงามแล้ว ยังเป็นตัวนำความร้อน ที่ดี ทำให้ความร้อนสามารถผ่านไปที่ของผสมในถังผสมได้เร็วขึ้นเมื่อผสมข้าวและน้ำลงไปในถังผสมแล้ว จึงทำให้ความร้อนที่เหมาะสม เพื่อให้ เอนไซม์ที่มีอยู่ในข้าวมอลต์ เปลี่ยนแป้ง ไปเป็นน้ำตาลมอลโตส (Maltose) หลังจากนั้นจึงแยก เอาของเหลวออกจาก กากข้าว ของเหลวดังกล่าวเรียกว่า เวิร์ท (Wort) ซึ่งจะมีความหวานของน้ำตาล มอลโตสอยู่ จากนั้นจึง ต้มเวิร์ทให้เดือด พร้อมทั้งใส่ดอกฮ็อพ เมื่อต้ม เวิร์ทจน ได้ที่แล้ว จะปล่อยให้ตกตะกอนก่อน หลังจากนั้นจึง ทำให้เย็นลงพร้อมทั้ง ใส่ยีสต์และเติมลมเพื่อการเจริญของยีสต์ แล้วนำไปหมักในถังหมัก

     การหมัก
              อุณหภูมิของการหมักขึ้นอยู่กับ ชนิดของเบียร์ และชนิดของ ยีสต์ที่ใช้ การหมักจะใช้เวลา ประมาณ 5 วัน สำหรับท็อปยีสต์ ส่วนบ็อททอมยีสต์ใช้เวลา 7-10 วัน หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ หมักแล้วจึงแยกยีสต์ออก เบียร์ที่ได้ ในช่วงนี้เรียกว่าว กรีนเบียร์ (Green beer) หรือ ยังเบียร์ (Young beer) ซึ่งจะต้อง นำไปเก็บบ่มต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยการควบคุมความเย็นและ แรงดันภาย ในถังบ่มเพื่อให้เบียร์ใส ขึ้นและมีรสชาติที่กลมกล่อมหลังจากนั้นนำไปกรอง เพื่อแยก เอาตะกอนแขวนลอย และยีสต์ ที่ตกค้างออก จึงจะได้เบียร์ที่ใส พร้อมดื่ม

     การบรรจุภัณฑ์และการจัดจำหน่าย

             แสงสว่างซึ่งมีอัลตราไวโอเลต (UV) สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับเบียร์ได้ มีผลทำให้สีของเบียร์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการบรรจุเบียร์ลงในภาชนะที่เป็นขวด จึงนิยมใช้ขวดที่มีสี เช่น สีน้ำตาล หรือสีเขียว ซึ่งจะช่วยป้องกันแสงอัลตราไวโอเลต ผ่านได้ เบียร์จะได้รับการบรรจุขวด ผนึกฝา และ ติดฉลากด้วยเครื่องจักรโดย อัตโนมัติ โดยมีผู้คอยตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต และมีการทดสอบในห้องทดลองของโรงเบียร์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้แน่ใจว่าเบียร์ทุกขวดได้รับการบรรจุอย่างเรียบร้อย ปราศจาก สิ่งปนเปื้อน และพร้อมที่จะจัดจำหน่ายเบียร์จะถูกจัดส่งผ่านเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายของบุญรอด ไปยังภัตตาคาร บาร์ และร้านค้า ทั่วประเทศเพื่อให้ผู้บริโภคได้ดื่มกันอย่างทั่วถึง

    สายผลิตภัณฑ์
               คุณภาพของสินค้าเป็นหัวใจสู่ความสำเร็จของกลุ่มบริษัทบุญรอด การให้ความสำคัญกับการผลิต สินค้าคุณภาพเยี่ยมทำให้บุญรอดสามารถรักษาปณิธานดั้งเดิมนี้ไว้ได้ โดยมีการเลือกสรรวัตถุดิบที่ดี ที่สุดจากธรรมชาติ ผ่านขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัย และการตรวจสอบคุณภาพที่เข้มงวด ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ทำให้สินค้าของบุญรอดเป็นสัญลักษณ์ของคุณภาพ ในทุกๆ วัน ผู้บริโภคนับล้านทั้งใน และต่างประเทศ ได้แสดงถึงความไว้วางใจในกลุ่มบริษัทของเรา โดยการเลือกซื้อสินค้าของบุญรอด ความเชื่อถือซึ่งมาจากการ ปูพื้นฐานภาพพจน์ด้านคุณภาพเป็นระยะเวลายาวนานถึง 6 ทศวรรษ

    โซดา
    น้ำดื่มตราสิงห์
    เบียร์ลีโอ

    วิเคราะห์ PEST

     การเมือง

    1. กฎหมายและข้อบังคับของรัฐบาลเช่นการควบคุมเวลาในการขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    2. การผลิตเบียร์มีระบบสัมปทาน
    3. ภายในปี2550 ยังไม่มีทิศทางที่แน่นอนในการเลือกตั้ง

     เศรษฐกิจ

     1. บริษัทต่างๆปิดกิจการลงทำให้การว่างงานมากขึ้น
    2. การปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินยากขึ้น
    3. ระดับการจ้างงานและเงินเดือนลดน้อยลงเนื่องจากอัตราเติบโตของเศรษฐกิจยังไม่ดีพอ
    4. ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
    5. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี2550 ครึ่งปีหลังอยู่ที่4.9%

     สังคม วัฒนธรรม

    1. การนับถือศาสนา เช่นศาสนาพุทธในช่วงเข้าพรรษาจะงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    2. กระแสการรักสุขภาพ
    3. ศาสนาอิสลามจะไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    4. วิถีการดำรงชีวิตเปลี่ยนไปเช่นในฤดูหนาวสั้นลงผู้บริโภคก็ดื่มน้อยลง

     เทคโนโลยี

    1. กระบวนการผลิต รูปลักษณ์ รสชาติเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้า
    2. การพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตใน3-5ปีข้างหน้าจะปรับตัวในทางที่ดีขึ้น
    3. การพัฒนาการของอุตสาหกรรมทดแทนที่ดีขึ้นเช่นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้องกว่าเบียร์หรือพวกที่ไม่มีแอลกอฮอล์

     

    วิเคราะห์ 5M โดยใช้ SWOT
    Man (คน)
    จุดแข็ง
    1.ผู้บริหารมีประสบการณ์ความรอบรู้ ความซื่อสัตย์และมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอุตสาหกรรมเบียร์
    2.พนักงานได้รับการส่งเสริม และพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะของพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานได้
    อย่างมีประสิทธิภาพ
    3.ผู้บริหารของบริษัท มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ
    4.มีการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรใหม่ๆให้มีทักษะความชำนาญ เพื่อทดแทนบุคลากรที่เปลี่ยนต้นสังกัดได้

     จุดอ่อน
    1.มีการแข่งขันกันภายในองค์กรสูง เพื่อแสดงผลงานของตนเองอาจทำให้เกิดการขัดแย้งกัน

     โอกาส
    1.บริษัทเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ทำให้สามารถเลือกพนักงานที่มีคุณภาพมาทำงานในองค์กรได้

     อุปสรรค
    1.เกิดปัญหาสมองไหลถ้าเกิดการซื้อตัวพนักงานที่มีความรู้ความสามารถขององค์กร

     Money (เงิน)
    จุดแข็ง
    1.มีงบประมาณในการดำเนินงานสูงทำให้เกิดความคล่องตัวในการจัดทำกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่นด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย รวมถึงการลงทุนเพิ่มในธุรกิจอื่นๆ
    2.บริษัทมีเครดิตในการขอกู้เงินจากแหล่งเงินทุนต่างๆ

    จุดอ่อน
    1.การระดมเงินทุนต้องใช้ระยะเวลา
    โอกาส
    1.ความสามารถในการลงทุนอย่างอื่นที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสม เช่นการไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ

     อุปสรรค
    1.การแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
    2.อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น

     Materials (วัสดุอุปกรณ์)
    จุดแข็ง
    1.บริษัทเลือกใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิ์ภาพสูงและทันสมัย
    2.บริษัทในเครือและซัพพลายเออร์สามารถสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
    3.ความสามารถในการขยายกำลังการผลิต

     จุดอ่อน
    1.เครื่องจักรบางชนิดเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าที่กำหนด
    2.อุปกรณ์บางชนิดบริษัทต้องสั่งจากต่างประเทศ ไม่สามารถหาได้ในเมืองไทย

     โอกาส
    1.เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในการผลิตเบียร์

    อุปสรรค
    1.ความอ่อน ความกระด้างของน้ำจะมีผลต่อ รสชาติของเบียร์ หรือมีผลต่อความ เปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในกระบวน การผลิต

     Management (การจัดการ)
    จุดแข็ง
    1.บริษัทมีระบบการจัดการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง
    2.บริษัทมีระบบการควบคุมคุณภาพที่เชื่อถือได้

    จุดอ่อน
    1.ขนาดที่ใหญ่ขององค์กรมีส่วนทำให้การบริหารการจัดการบางครั้งไม่ทั่วถึง
    2.บริษัทต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากในการจัดระบบการจัดการ
    3.ธุรกิจยังเป็นระบบครอบครัวดูได้จากนามสกุลของผู้บริหาร

     โอกาส
    1.บริษัทให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้เข้าถึงความ ต้องการของลูกค้ากลุ่มต่างๆ
    2.บริษัทสามารถที่จะพัฒนาบุคคลที่มีความสามารถเข้ามาทำงานให้กับองค์กรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

     อุปสรรค
    1.แสงสว่างซึ่งมีอัลตราไวโอเลต (UV) สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับเบียร์ได้ มีผลทำให้สีของเบียร์เปลี่ยนแปลงไป

     Marketing (การตลาด)
    จุดแข็ง
    1.บริษัทมีนโยบายการทำตลาดเพิ่มเติมโดยมีงบในการตลาดจำนวนมาก
    2.บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม
    3.บริษัทมีสินค้าหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและที่สำคัญผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพ
    4.บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับโลกจึงเน้นการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ย่อมรับ
    5.มีช่องทางจัดจำหน่ายได้หลายช่องทางและครอบคลุมทั่วประเทศ

     จุดอ่อน
    1.บริษัทต้องตามให้ทันกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาเพื่อความต้องการนั้น

     โอกาส
    1.มีการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ
    2.มีอัตราการเติบโตของนักดื่มกลุ่มใหม่ๆเกิดขึ้น เช่นกลุ่มลูกค้าเบียร์ลีโอ
    อุปสรรค
    1.มีคู่แข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    2.ผู้บริโภคบางกลุ่มมีความอ่อนไหวในเรื่องราคา

     Miscellaneous (อื่น)

    จุดแข็ง
    1.เน้นที่จะส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมที่มีคุณค่าทุกประเภท เพื่อตอกย้ำตราสินค้าและสร้างความภักดีแก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
    2.ให้ความสำคัญกับซัพพลายเออร์ไม่ใช่เพียงแค่คู่ค้าแต่เปรียบเสมือนพาร์ตเนอร์ที่เดินไปสู่ความสำเร็จเคียงข้างกัน
    3.มีระบบบำบัดน้ำทิ้งที่ดี
    จุดอ่อน
    1.บริษัทต้องทำการลงทุนเองเมื่อจะขยายบริษัทเพื่อรองรับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวในอนาคต

     โอกาส
    1.การที่มีกำแพงภาษีประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึง330%ทำให้บริษัทสามารถแข่งขันภายในประเทศได้ง่ายแต่
    ขณะเดียวกันบริษัทก็เข้าไปขยายตัวในต่างประเทศได้
    2.บริษัทมีช่องทางในการทำตลาดมากขึ้นในต่างประเทศ

     อุปสรรค
    1.ภาครัฐไม่ให้การส่งเสริมและสนับสนุน
    2.มีคู่แข่งขันในประเทศเพิ่มมากขึ้นและต่างประเทศที่ลักลอบนำเข้ามา
    3.ปัจจัยลบจากราคามันสำปะหลังและสภาพอากาศที่แปรปรวน
    4.กระแสการรักสุขภาพ

     การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trends Analysis)

     แนวโน้ม (Trends)
    T1 ภาวะโลกร้อน
    T2 ราคาน้ำมัน
    T3 พฤติกรรมการบริโภค
    T4 ค่าเงินบาทและภาวะทางเศรษฐกิจ
    T5 การทำตลาดของคู่แข็งขันทางธุรกิจ
    T6 สถานการณ์ทางการเมือง
    T7 กำลังการผลิต
    T8 ระบบสัมปทาน
    T9 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต
    T10การนับถือศาสนาต่างๆ

    แนวโน้มที่แน่นอน (Certainly Trends)

     C1 คู่แข่งทางการตลาดมีการแข่งขันสูง
    C2 ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะขึ้นอยู่ตลอดเวลา
    C3 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตที่มีอย่างต่อเนื่อง
    C4 ระบบสัมปทานในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอกอฮอล์

     แนวโน้มที่ไม่แน่นอน (Uncertainly Trends)

     U1 ภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้สภาพอากาศแปรปรวนฤดูกาลอาจจะเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดความแห้งแล้ง เร็วกว่าปกติส่งผลกระทบต่อกลุ่มระดับล่าง เพราะกำลังซื้อจะลดน้อยลง
    U2 กลุ่มผู้บริโภคที่มีกระแสเกี่ยวกับการรักสุขภาพ
    U3 สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่มีและถ้าเลือกแล้วกลุ่มอำนาจเก่ากลับมาจะมี การปฏิวัติใหม่อีกหรือไม่
    U4 กำลังการผลิตและวัตถุดิบต่างๆรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมของบริษัทฯ
    U5 การแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินบาทมีผลทำให้วัสดุต่างๆที่นำเข้ามาจากต่างประเทศถูกลง

     การจัดกลุ่มตามแกน (Cluster into Axes)

     

    แกน Y เป็นกำลังการผลิตและวัตถุดิบต่างๆรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมของบริษัทฯ U4
    แกน X เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกระแสเกี่ยวกับการรักสุขภาพ U2

    บทสรุป
    Scenarioa A สรุปได้ว่า กระแสของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรักสุขภาพมากขึ้นแสดงว่าผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์น้อยลง ในขณะที่กำลังการผลิตและวัตถุดิบรวมถึงบรรจุภัณฑ์มีความพร้อมมากแสดงว่าผลิตได้มาก ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำควรใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์คือเน้นรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ลักษณะทางนวัตกรรม และคุณภาพรวมถึงการส่งเสริมการขายโดยใช้กลุ่มที่มี

    อิทธิพลต่อผู้บริโภคเป็นจุดขาย
    Scenarioa B สรุปได้ว่า กระแสของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรักสุขภาพน้อยแสดงว่าผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์มากขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิตและวัตถุดิบรวมถึงบรรจุภัณฑ์มีความพร้อมมากแสดงว่าผลิตได้มาก ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำควรใช้กลยุทธ์ด้านการขยายตัว โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเจาะการตลาดให้มากขึ้น โดยกระตุ้นลูกค้าในปัจจุบันให้เพิ่มปริมาณการซื้อให้มากขึ้นและขณะเดียวกันก็หาลูกค้าใหม่ๆด้วย
    Scenarioa C สรุปได้ว่า กระแสของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรักสุขภาพมากขึ้นแสดงว่าผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์น้อยลง ในขณะที่กำลังการผลิตและวัตถุดิบรวมถึงบรรจุภัณฑ์ไม่มีความพร้อมแสดงว่าผลิตได้น้อย ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงควรใช้กลยุทธ์โดยลงทุนต่ำสุดคือลดขนาดและต้นทุนที่ไม่สำคัญและพยายามทำกำไรให้สูงสุดเพื่อวางแผนการขายให้มากเพิ่มขึ้นและทำสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้นด้วย
    Scenarioa D สรุปได้ว่า กระแสของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรักสุขภาพน้อยแสดงว่าผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์มากขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิตและวัตถุดิบรวมถึงบรรจุภัณฑ์ไม่มีความพร้อมแสดงว่าผลิตได้น้อย ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงควรใช้กลยุทธ์การขยายตัวผลิตภัณฑ์และหาแหล่งวัสดุใหม่ รวมถึงการพัฒนาอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น

     ข้อแสนอแนะ

    1. สร้างการยอมรับในตัวสินค้าโดยการตอกย้ำBRANDให้มากขึ้น
    2. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้มากขึ้นเช่น การเข้าร่วมการจัดกิจกรรมต่างๆกับทางภาครัฐบาล
    3. ใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโดยใช้กิจกรรมทางด้านกีฬาเช่นการแข่งขันฟุตบอล
    4. ใช้โอกาสจากการที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นโดยหาเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจากต่างประเทศมาปรับปรุงเพื่อลดต้นทุนในการผลิต
    5. การพัฒนาคุณภาพของเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์โดยเน้นหลักการที่ว่าดื่มอย่างไรให้มีประโยชน์ต่อร่างกาย

     

    นางสาว  ภานุกานต์  ใจใส

    52127312031

    การเงินการธนาคาร 01

    นางสาวจิตรยา กันยา

      นางสาว จิตรยา กันยา

      รหัสนักศึกษา 52127312064          

    การเงินการธนาคาร02 ปี 2     

       ธุรกิจร้านเสริมสวย        

      

    มีคนเป็นจำนวนมากที่เข้ามาประกอบ อาชีพ เสริมสวย เพราะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ได้ดี  อีกทั้งยังเป็นธุรกิจเงินสด...ที่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีเงินสดหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา หากมีความเชี่ยวชาญด้านการตลาด หรือรู้จักการบริหารเงินที่ดี จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจเสริมสวยพัฒนาและเติบโตสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้หลายคนสนใจและเข้ามาทำอาชีพ เสริมสวย แต่ส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาและต้องเลิกกิจการไปก่อนเวลาอันควร
             ทั้งๆที่หากอดทนและเข้าใจถึงการตลาดสำหรับเสริมสวย อีกเล็กน้อยก็จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้แล้ว เพราะอาชีพ เสริมสวย

    ร้านเสริมสวย ที่ประสบความสำเร็จทั้งหมดส่วนใหญ่คือ ร้านเสริมสวย ที่สามารถช่วยให้ลูกค้ามีบุคลิกที่ดีขึ้น ทำงานออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ ฝีมือช่างจึงมีส่วนสำคัญมาก ในกรณีนี้เจ้าของร้านจะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าได้ดีที่สุด

    จุดแข็ง  ธุรกิจเสริมสวยเป็นธุรกิจส่วนตัว เจ้าของทำเอง เปิดร้านที่บ้านในทำเลดีที่เหมาะสม รายได้ก็เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์เลยทีเดียว มีค่าใช้จ่ายก็เพียง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำยาดัด สเปรย์ เจล แชมพู ฯลฯ ซึ่งเมื่อคิดออกมาเป็นรายได้แล้วจะเป็นธุรกิจหนึ่งที่ลงทุนน้อยแต่มีรายได้สูง


    จุดอ่อน  การลงทุนที่มากที่สุด คือตัวบุคคล...อันหมายถึงว่า หากผู้ประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของเอง เป็น ช่างเสริมสวย เอง ทำงานเองได้ในร้านโดยไม่ต้องพึ่งช่างอื่นหรือเข้าใจและสามารถลดต้นทุนด้านบุคลากรลงไปได้ ก็จะลดต้นทุนด้านนี้ไปและกลายเป็นส่วนกำไรทันที
            
       โอกาส  การลงทุนในร้านเสริมสวย นั้นมีสิ่งที่ต้องลงทุนมากที่สุดก็คือ การตกแต่งร้าน ซึ่งถือเป็นหน้าตาของร้านเสริมสวยที่จะดึงดูดลูกค้า หากร้านสวยน่าสนใจ ก็จะทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าจะเข้ามาร้านและรู้ถึงฝีมือช่างบริการที่เราจะทำให้ หากฝีมือดี บริการดี ลูกค้าก็จะไม่หนีไปไหน นั่นจะกลายเป็นความมั่นคงทางธุรกิจที่คุณเองใฝ่ฝันหา 

    มีคนเป็นจำนวนมากที่เข้ามาประกอบ อาชีพ เสริมสวย เพราะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ได้ดี  อีกทั้งยังเป็นธุรกิจเงินสด...ที่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีเงินสดหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา หากมีความเชี่ยวชาญด้านการตลาด หรือรู้จักการบริหารเงินที่ดี จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจเสริมสวยพัฒนาและเติบโตสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้หลายคนสนใจและเข้ามาทำอาชีพ เสริมสวย แต่ส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาและต้องเลิกกิจการไปก่อนเวลาอันควร
             ทั้งๆที่หากอดทนและเข้าใจถึงการตลาดสำหรับเสริมสวย อีกเล็กน้อยก็จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้แล้ว เพราะอาชีพ เสริมสวย

    ร้านเสริมสวย ที่ประสบความสำเร็จทั้งหมดส่วนใหญ่คือ ร้านเสริมสวย ที่สามารถช่วยให้ลูกค้ามีบุคลิกที่ดีขึ้น ทำงานออกมาตรงตามที่ลูกค้าต้องการ ฝีมือช่างจึงมีส่วนสำคัญมาก ในกรณีนี้เจ้าของร้านจะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าได้ดีที่สุด

    จุดแข็ง  ธุรกิจเสริมสวยเป็นธุรกิจส่วนตัว เจ้าของทำเอง เปิดร้านที่บ้านในทำเลดีที่เหมาะสม รายได้ก็เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์เลยทีเดียว มีค่าใช้จ่ายก็เพียง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำยาดัด สเปรย์ เจล แชมพู ฯลฯ ซึ่งเมื่อคิดออกมาเป็นรายได้แล้วจะเป็นธุรกิจหนึ่งที่ลงทุนน้อยแต่มีรายได้สูง


    จุดอ่อน  การลงทุนที่มากที่สุด คือตัวบุคคล...อันหมายถึงว่า หากผู้ประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของเอง เป็น ช่างเสริมสวย เอง ทำงานเองได้ในร้านโดยไม่ต้องพึ่งช่างอื่นหรือเข้าใจและสามารถลดต้นทุนด้านบุคลากรลงไปได้ ก็จะลดต้นทุนด้านนี้ไปและกลายเป็นส่วนกำไรทันที
            
       โอกาส  การลงทุนในร้านเสริมสวย นั้นมีสิ่งที่ต้องลงทุนมากที่สุดก็คือ การตกแต่งร้าน ซึ่งถือเป็นหน้าตาของร้านเสริมสวยที่จะดึงดูดลูกค้า หากร้านสวยน่าสนใจ ก็จะทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าจะเข้ามาร้านและรู้ถึงฝีมือช่างบริการที่เราจะทำให้ หากฝีมือดี บริการดี ลูกค้าก็จะไม่หนีไปไหน นั่นจะกลายเป็นความมั่นคงทางธุรกิจที่คุณเองใฝ่ฝันหา

    กลุ่ม โมดิฟลาย 

     บริษัท โออิชิ  กรุ๊ป  จำกัด  (มหาชน)

    ประวัติบริษัท

    9 กันยายน 2542 คุณตัน ภาสกรนที ได้เริ่มเปิดให้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นตลอดทั้งวันแห่งแรกในประเทศไทย ที่สุขุมวิท 55 ภายใต้ชื่อ “ โออิชิ ” ต่อมาในปี 2543 จึงได้จัดตั้ง บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ) เดิมชื่อ บริษัท โออิชิ เรสเตอร์รอง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น

    จุดแข็ง

    1. มีช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดที่ได้ผล

    2. มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับกลุ้มเป้าหมาย

    3. จับมือกับพันธมิตรในการกระจายสินค้า

    4. ให้บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง เป็นผู้จัดหาและป้อนวัตถุดิบให้กับร้านอาหาร

    5. การประเมินผลและติดตามการฝึกอบรม ของพนักงานเป็นรายบุคคล

    6. มีเวปไซด์ในการประชาสัมพันธ์สินค้า

    จุดอ่อน

    1. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงบริษัทผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ในการจำหน่ายและกระจายสินค้า

    โอกาส

    1.  สังคมยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

    2.  แนวโน้มชนชั้นกลางในวัยทำงานเพิ่มมากขึ้น

    3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารด้านอินเตอร์เน็ต

    อุปสรรค

    1 . ความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาวัตถุดิบ

    2. ความเสี่ยงในการจัดหาพื้นที่เช่าสำหรับขยายสาขาใหม่และรักษาพื้นที่เช่าเดิม

    3. คู่แข่งขันใช้กลยุทธ์ลดราคา

     

    นางสาวณัฐฐา  กุลวัฒน์  52127312027

    การเงินการธนาคาร  01

    นางสาวชลินทร แพรกปาน

          ธุรกิจสปาไทย 

    จุดแข็ง-จุดอ่อน ของ "ธุรกิจสปา" ในประเทศไทย !!

    จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses)
    *สปาเกือบทุกประเภทมักจะมีการนวดแผนไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการบริการ เนื่องจากประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านการนวดแผนไทยที่แพร่หลายไปทั่วโลก และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดเป็นจำนวนมาก

     *ประเทศไทยมีสมุนไพรมากกว่า 100 ชนิด และมีเกษตรกรที่เพาะปลูกสมุนไพรอยู่หลายจังหวัด สมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสปาได้ ช่วยลดการนำเข้าสมุนไพรจากต่างประเทศซึ่งเป็นการส่งเสริธุรกิจสปาให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

     *ประเทศไทยมีน้ำพุร้อนจากธรมชาติประมาณ 100 แห่ง แหล่งน้ำพุร้อนที่มีอยู่สามารถพัฒนาให้เป็นสถานบริการสปา Mineral Spring Spa หรือ Resort Spa ได้ นับว่าเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของธุรกิจสปาในประเทศไทย

     *คนไทยมีนิสัยอ่อนน้อม สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส และรักงานบริการ การทำธุรกิจสปาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริการ ดังนั้นบุคลิกภาพและอุปนิสัยของนไทยจึงมีส่วนสำคัญที่จะเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจประเภทนี้เป็นอย่างยิ่ง

     *คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีธรรมะช่วยขัดเกลาจิตใจ ธุรกิจสปาเป็นเรื่องของการสรางความสงบสุขให้แก่ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่าสังมไทยเหมาะแก่การทำธุรกิจสปามากเป็นพิเศษ
     *ธุรกิจสปามีลักษณะเป็นการหันกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบธรรมชาติ และอาศัยสิ่งที่เป็นธรรมชาติแท้ๆ เพื่อสร้างความสงบสุขและบูรณาการให้แก่ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ สังคมไทยจึงเหมาะต่อการทำธุรกิจสปามากกว่าสังคมตะวันตก

     *การทำธุรกิจสปา ต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ผลไม้ ดอกไม้ ต้นไม้ พืชสมุนไพร เป็นต้น สิ่งเหล่านีประเทศไทยมีพร้อมอยู่แล้ว จึงข่วยประหยัดเงินทุนในการทำธุรกิจสปาได้

     *มรดกวัฒนธรมประจำท้องถิ่นถือเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจสปาในประเทศไทย

     *รัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ทั้งยังต้องการให้ธุรกิจสปาเป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย ธุรกิจสปาจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้

     *ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชากรผู้ใช้แรงงานและคนหนุ่มสาวจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสดีที่นำบุคคลเหล่านี้มาพัฒนาและฝึกอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจสปา

    *บุคลากรในธุรกิจสปา เช่น ผู้จัดการ พนักงานบริการ มีค่อนข้างจำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจสปา

     *คนไทยมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาไม่ดีเท่าใดนัก ทำให้มีปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้การบริการไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ

     *ถึงแม้ประเทศไทยจะมีสมุนไพรและเกาะแก่งมากมาย แต่ถ้าเปรียบกับประเทศอินโดนีเซียแล้วจัดว่าเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขาม เนื่องจากเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวนิยมไปใช้บริการสปามากที่สุดในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศไทย

     *ปัญหาผูก่อการร้ายที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจสปา เพราะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่กล้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

     *ธุรกิจสปาส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่จะสนองความต้องการของกลุ่มคนชั้นกลางและชั้นสูง ดังจะเห็นได้จากค่าบริการของ Hotel และ Resort Spa ที่อยู่ในระดับที่สูง และผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มักเป็นชาวต่างชาติ เมื่อชาวต่างชาติไม่มาเที่ยวประเทศไทย อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจสปาอย่างแน่นอน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    **สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ได้มอบหมายให้วิทยาลัยดุสิตธานี ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และญหาต่างๆที่ผูประกอบการด้านสปาเผชิญ" พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้...

     

    2.3 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

    กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจสปา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

    กลุ่มลูกค้าระดับ A

    คือ กลุ่มผู้บริหาร ผู้จัดการ มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 40,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง มีความพร้อมในการสมัครสมาชิก และมีเวลาว่างพอที่จะมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ

    กลุ่มลูกค้าระดับ B

    คือ กลุ่มพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,000-40,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลาง และมีความพร้อมในการสมัครสมาชิก

    กลุ่มลูกค้าระดับ C

    คือ กลุ่มลูกค้าทั่วไป มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,000-20,000 บาท เป็นกลุ่มที่สนใจใช้บริการสปา แต่ลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะใช้บริการเพียงครั้งคราวเท่านั้น

    2.4 ธุรกิจหลัก / ธุรกิจเสริม

    ธุรกิจหลัก บริการด้านการดูแลสุขภาพและความงาม เพื่อการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ

    ธุรกิจเสริม ผู้ประกอบการที่ลงทุนทำธุรกิจสปา สามรฃารถให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักเพิ่มเติม เพื่อสร้างรายได้เสริม เช่น

     -การฝึกอบรมบุคลากรผู้ให้บริการในธุรกิจสปา

     -การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางค์สมุนไพร เครื่องดื่มผลไม้ และอาหารเพื่อสุขภาพ หรืออาหารสไตล์สปา (Spa Cuisine)

     -บริการเสริมความงาม

     -บริการศูนย์ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

     -บริการให้คำปรึกษาแนะนำในการทำธูรกิจสปา

    นางสาวชลินทร แพรกปาน

    ธุรกิจสปาไทย 

    จุดแข็ง-จุดอ่อน ของ "ธุรกิจสปา" ในประเทศไทย !!

    จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses)
    *สปาเกือบทุกประเภทมักจะมีการนวดแผนไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการบริการ เนื่องจากประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านการนวดแผนไทยที่แพร่หลายไปทั่วโลก และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดเป็นจำนวนมาก

     *ประเทศไทยมีสมุนไพรมากกว่า 100 ชนิด และมีเกษตรกรที่เพาะปลูกสมุนไพรอยู่หลายจังหวัด สมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสปาได้ ช่วยลดการนำเข้าสมุนไพรจากต่างประเทศซึ่งเป็นการส่งเสริธุรกิจสปาให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

     *ประเทศไทยมีน้ำพุร้อนจากธรมชาติประมาณ 100 แห่ง แหล่งน้ำพุร้อนที่มีอยู่สามารถพัฒนาให้เป็นสถานบริการสปา Mineral Spring Spa หรือ Resort Spa ได้ นับว่าเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของธุรกิจสปาในประเทศไทย

     *คนไทยมีนิสัยอ่อนน้อม สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส และรักงานบริการ การทำธุรกิจสปาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริการ ดังนั้นบุคลิกภาพและอุปนิสัยของนไทยจึงมีส่วนสำคัญที่จะเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจประเภทนี้เป็นอย่างยิ่ง

     *คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีธรรมะช่วยขัดเกลาจิตใจ ธุรกิจสปาเป็นเรื่องของการสรางความสงบสุขให้แก่ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่าสังมไทยเหมาะแก่การทำธุรกิจสปามากเป็นพิเศษ
     *ธุรกิจสปามีลักษณะเป็นการหันกลับไปสู่วิถีชีวิตแบบธรรมชาติ และอาศัยสิ่งที่เป็นธรรมชาติแท้ๆ เพื่อสร้างความสงบสุขและบูรณาการให้แก่ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ สังคมไทยจึงเหมาะต่อการทำธุรกิจสปามากกว่าสังคมตะวันตก

     *การทำธุรกิจสปา ต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ผลไม้ ดอกไม้ ต้นไม้ พืชสมุนไพร เป็นต้น สิ่งเหล่านีประเทศไทยมีพร้อมอยู่แล้ว จึงข่วยประหยัดเงินทุนในการทำธุรกิจสปาได้

     *มรดกวัฒนธรมประจำท้องถิ่นถือเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจสปาในประเทศไทย

     *รัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ทั้งยังต้องการให้ธุรกิจสปาเป็นจุดขายแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย ธุรกิจสปาจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้

     *ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชากรผู้ใช้แรงงานและคนหนุ่มสาวจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสดีที่นำบุคคลเหล่านี้มาพัฒนาและฝึกอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจสปา

    *บุคลากรในธุรกิจสปา เช่น ผู้จัดการ พนักงานบริการ มีค่อนข้างจำกัด ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจสปา

     *คนไทยมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาไม่ดีเท่าใดนัก ทำให้มีปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งอาจส่งผลให้การบริการไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ

     *ถึงแม้ประเทศไทยจะมีสมุนไพรและเกาะแก่งมากมาย แต่ถ้าเปรียบกับประเทศอินโดนีเซียแล้วจัดว่าเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขาม เนื่องจากเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวนิยมไปใช้บริการสปามากที่สุดในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศไทย

     *ปัญหาผูก่อการร้ายที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจสปา เพราะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่กล้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

     *ธุรกิจสปาส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่จะสนองความต้องการของกลุ่มคนชั้นกลางและชั้นสูง ดังจะเห็นได้จากค่าบริการของ Hotel และ Resort Spa ที่อยู่ในระดับที่สูง และผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มักเป็นชาวต่างชาติ เมื่อชาวต่างชาติไม่มาเที่ยวประเทศไทย อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจสปาอย่างแน่นอน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    **สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ได้มอบหมายให้วิทยาลัยดุสิตธานี ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และญหาต่างๆที่ผูประกอบการด้านสปาเผชิญ" พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้...

     

    2.3 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

    กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจสปา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

    กลุ่มลูกค้าระดับ A

    คือ กลุ่มผู้บริหาร ผู้จัดการ มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 40,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง มีความพร้อมในการสมัครสมาชิก และมีเวลาว่างพอที่จะมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ

    กลุ่มลูกค้าระดับ B

    คือ กลุ่มพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,000-40,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อปานกลาง และมีความพร้อมในการสมัครสมาชิก

    กลุ่มลูกค้าระดับ C

    คือ กลุ่มลูกค้าทั่วไป มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,000-20,000 บาท เป็นกลุ่มที่สนใจใช้บริการสปา แต่ลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะใช้บริการเพียงครั้งคราวเท่านั้น

    2.4 ธุรกิจหลัก / ธุรกิจเสริม

    ธุรกิจหลัก บริการด้านการดูแลสุขภาพและความงาม เพื่อการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ

    ธุรกิจเสริม ผู้ประกอบการที่ลงทุนทำธุรกิจสปา สามรฃารถให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักเพิ่มเติม เพื่อสร้างรายได้เสริม เช่น

     -การฝึกอบรมบุคลากรผู้ให้บริการในธุรกิจสปา

     -การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางค์สมุนไพร เครื่องดื่มผลไม้ และอาหารเพื่อสุขภาพ หรืออาหารสไตล์สปา (Spa Cuisine)

     -บริการเสริมความงาม

     -บริการศูนย์ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

     -บริการให้คำปรึกษาแนะนำในการทำธูรกิจสปา

     

    นางสาวชลินทร  แพรกปาน

    52127312002

    การเงินการธนาคาร  หมู่เรียน01

    นางสาวโสระยา สายทอง
    สีผมโลแลน Pixxel
    นิยาม ธุรกิจเสริมสวย

    การลงทุนทำธุรกิจ "เสริมสวย"

    เพื่อเป็นอาชีพที่มั่นคงในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด


    นิยามธุรกิจ

          ธุรกิจเสริมสวย (ตัดผม) เป็นการให้บริการ ตัดผม ทั้งบุรุษและสตรีครอบคลุมถึง การออกแบบทรงผม ตัดผม สระผม ซอยผม ย้อมผม และการ เสริมสวย อื่นๆ โดยเน้น การตกแต่งร้าน เข้ากับสมัยนิยม

    จำนวนธุรกิจ


          ปัจจุบัน มีจำนวนประมาณ 200,000 แห่ง ในจำนวนนี้มีไม่ถึง 10 % ที่มีการแจ้งขออนุญาตประกอบกิจการและการจดทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนนิติบุคคล   จากข้อมูลของสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่ง ปี 2546 พบว่ามี ร้านเสริมสวย ที่จดทะเบียนเพียง 479 แห่ง

    ขนาดธุรกิจ

         แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ

    ธุรกิจขนาดเล็ก หรือ ธุรกิจรายย่อย ซึ่งมี เก้าอี้ทำผม ไม่เกิน 4 เก้าอี้ มีจำนวนร้อยละ 60

    ธุรกิจขนาดกลาง หรือ SMEs ซึ่งมี เก้าอี้ทำผม ตั้งแต่ 4 – 10 เก้าอี้   มีจำนวนร้อยละ 30

    ธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมี เก้าอี้ทำผม ตั้งแต่ 11 เก้าอี้ขึ้นไป มีจำนวนร้อยละ 10

    มูลค่าตลาดภายในประเทศ

                จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติและการประมาณการพบว่าธุรกิจ เสริมสวย ในปี 2545 และ 2546 มีมูลค่าตลาดภายในประเทศถึง 5,051 และ 5,070 ล้านบาทตามลำดับ

    รายละเอียดการลงทุน

          ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้นจะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการจากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้นของผู้ประกอบธุรกิจ จำแนกเป็น

    - ตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน อัตราส่วนร้อยละ 45

    - เครื่องมือและอุปกรณ์ในร้านตัดผม อัตราส่วนร้อยละ 17 ประกอบด้วย

    เครื่องอบไอน้ำ เครื่องอบผมไดร์เป่าผม กรรไกรตัดผม ปัตตาเลี่ยน เป็นต้น

    - เงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนร้อยละ 38 ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการ

    ซื้อวัสดุสำหรับบริการลูกค้า เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า เป็นต้น

    อัตราผลตอบแทนทางการเงิน

          ขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ ทำเลที่ตั้ง และความสามารถในการบริหารธุรกิจ ข้อมูล

    เฉลี่ยจากการสำรวจ ผู้ประกอบการมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายรับ ร้อยละ 18.24 กำไรสุทธิต่อเงินลงทุน ร้อยละ 48.07 ต่อปี โดยมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1.8 ปี 
     

    กรณีที่มีพนักงานตั้งแต่  2  คนขึ้นไปเจ้าของร้านต้องทำบัตรประกันสังคมให้แก่ลูกจ้าง ณ สำนักงานประกันสังคม 
     
    จัดหาพนักงานให้บริการ 

    ตกแต่งและจัดหาอุปกรณ์ 
     
    หาทำเลที่ตั้งกิจการ

    ขั้นตอนการประกอบธุรกิจเสริมสวย


    ติดต่อเช่า / ซื้อ  สถานที่ 
     
     
    1. ขอใบอนุญาตประกอบกิจการ

    2.   ขอใบอนุญาตประกอบกิจการ    อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพและเป็นที่น่ารังเกียจ (กรณีมีการแต่งเล็บ / แคะหู)

    3.  เสียภาษีป้าย                                ณ สำนักงานเขตเทศบาล     สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (ที่กิจการตั้งอยู่)

    4.    ยื่นขอเป็นผู้มีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  ณ สรรพากรพื้นที่  (ที่กิจการตั้งอยู่)

    5.   จดทะเบียนพาณิชย์ หรือทะเบียนนิติบุคคล  ณ สำนักพัฒนาธุรกิจการค้า (ที่กิจการตั้งอยู่) หรือ สำนักจดทะเบียนธุรกิจ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้านนทบุรี 
     
     วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรค

          ข้อดี

    1.       เป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน สามารถเปิดกิจการได้ทันทีหากมีเงินลงทุน

    2.       ลงทุนต่ำ เครื่องมืออุปกรณ์ไม่แพง และสามารถหาซื้อง่าย

    3.       เป็นธุรกิจที่ต้องใช้วิชาชีพและประสบการณ์การทำงานเฉพาะด้าน

          ข้อด้อย

    1.       ช่างฝีมือดี มีใจรักการให้บริการค่อนข้างหายาก และมีอัตราการเปลี่ยนงานสูง

    2.       ช่างเสริมสวยทำงานด้วยอารมณ์ การควบคุมคุณภาพของงาน และการบริหารบุคลากรจึงเป็นไปอย่างลำบาก

    3.       ทำเลที่ตั้งที่ดี มีอัตราค่าเช่าสูง ทำให้เป็นภาระต่อผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม       

          โอกาส

    1.       เป็นบริการที่ประชาชนทุกเพศทุกวัย มีความจำเป็นต้องใช้บริการ

    2.       ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญกับบุคลิกภาพและการแต่งตัวมากขึ้น ทำให้พิถีพิถันในการเลือกใช้บริการร้านที่สามารถให้บริการที่ดี

    3.      ร้านขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถตั้งอยู่ย่านชุมชนที่ไม่ใหญ่นัก

    4.       ชาวต่างชาติไม่สามารถประกอบอาชีพตัดผมได้โดยเสรี

          อุปสรรค

    1.       ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีผู้ตกงานเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง

    2.       มีการแข่งขันสูง เนื่องจากสามารถประกอบกิจการได้โดยง่าย

    3.       ในย่านที่สำคัญและในศูนย์การค้า หาสถานที่ตั้งยากและอัตราค่าเช่าสูง

    สรุป

          ธุรกิจเสริมสวยเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจทั้งจากนักลงทุนใหม่ที่ไม่มีความรู้และ ประสบการณ์ในด้านการทำผมมาก่อนเลย  และผู้ที่ผ่านการเรียนวิชาชีพเสริมสวยแล้วอยากจะเป็นเจ้าของกิจการ เพราะเป็นธุรกิจที่ไม่มีความซับซ้อนและไม่มีกฎหมายควบคุม จึงสามารถเปิดดำเนินกิจการได้โดยง่าย อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำหากได้ทำเลที่ตั้งกิจการที่ดี

    จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2545 พบว่าธุรกิจเสริมสวยสามารถสร้างรายได้ภายในประเทศกว่า 5 พันล้านบาท และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 3 ต่อปี  นับเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงสามารถสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศได้อีกมหาศาล แต่เนื่องจากขาดการดูแลควบคุมจากภาครัฐมานานทำให้เกิดปัญหาสั่งสมมากมายในธุรกิจนี้

    อาทิ หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาชีพเสริมสวยที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีการจัดสอบบัตรประจำตัววิชาชีพช่าง ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ไม่เป็นธรรมจากช่างเสริมสวยที่ฝีมือไม่ได้มาตรฐาน การขาดความรู้ด้านระบบบริหารจัดการที่ดี และการวางแผนธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเสริมสวยร้อยละ 90 ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย มีอัตราการเปิดและปิดกิจการเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่สามารถดำเนินกิจการอยู่ได้อย่างยั่งยืน และธุรกิจไม่สามารถเติบโตได้อย่างที่ควรจะเป็น

    นางสาวโสระยา  สานทอง รหัสนักศึกษา 52127312001

    การเงินการธนาคาร  หมู่เรียน 01

    การวิเคราะห์  swot  dtac

    จุดแข็ง 

    -         สะดวก รวดเร็ว

    -         มีกลุ่มเป้าหมายมาก

    -         สามารถมีส่วนแบ่งในการตลาด

    จุดอ่อน

    -         ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน

    -         ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วถึง

    -         ต้นทุนในการดำเนินงานสูง

    -         เสียค่าในการบำรุงรักษาตัวเครื่อง

    โอกาส

    -         เพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการในการเติมเงิน

    -         โอกาสในทางตลาดมีมาก

    ขีดจำกัดหรืออุปสรรค

    -         การวางแผนบำรุงรักษาตัวเครื่อง

    -         การรักษาความปลอดภัยด้านอุปกรณ์

     

     

    การวิเคราะห์สภาพตลาด

     

    1. 1.              ร้านสะดวกซื้อ

    ข้อดี

    -         ง่ายต่อการซื้อ

    -         สามารถซื้อสิ่งของต่างๆเพิ่มได้

    ข้อเสีย

    -         ต้องเสียเวลารอคิว

    -         บางทีบัตรอาจหมด

    1. 2.              ที่เติมเงินออนไลน์

    ข้อดี

    -         เติมกี่บาทก็ได้

    -         เติมเงินให้คนอื่นได้

    ข้อเสีย

    -         มีค่าธรรมเนียมในการบริการ

    -         สถานที่ให้บริการมีน้อย

    -         ความไม่แน่นอนทางการบริการ

    -         มีการบริการจำกัดเวลา

    1. 3.              Mobile  Shop

            ข้อดี

    -         สามารถใช้บริการอื่น ๆ  เกี่ยวกับโทรศัพท์ได้

    -         เปลี่ยนโปรโมชั่นได้

    -         บริการดี

    ข้อเสีย

    -         จุดบริการมีน้อย

    -         ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากมหาวิทยาลัย

    -         มีความยุ่งยากเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ  ในการใช้บริการ

    -         มีบัตรเติมเงินขายเฉพาะเครือข่ายของศูนย์เท่านั้น ๆ

    1. 4.              ATM

    ข้อดี

    -         ไม่ต้องใช้เงินสดในการซื้อ

    -         มีสถานที่ตั้งหลากหลาย

    ข้อเสีย

    -         ขั้นตอนยุ่งยาก

    -         เติมได้เฉพาะบัตรที่เป็นของธนาคารนั้น ๆ

    -         ลูกค้าบางคนอาจต้องการบัตรที่ใช้ในการเติมเงิน

    -         บางทีไม่มีเงินในบัญชี  ไม่สามารถเติมได้

     

     

    นางสาวชนิกานต์ บำรุงราษฎ์

    รหัส 52117312066

    การเงินการธนาคาร 02

     

     

     

    บริษัทในเครือ เจริญโภคภัณฑ์

     

    การวิเคราะห์ SWOT ของประเทศไทย

                                1. จุดแข็ง             

                                              ด้าน สังคม 

    -        ประเทศไทยเป็นประเทศ เกษตรกรรม ดินฟ้า อากาศ สภาพแวดล้อมเหมาะแก่การทำการเกษตร

    -        กสิกรรมอยู่ในสาย เลือดของคนไทย นิสัยคนไทยเป็นชาวพุทธรู้จักให้อภัย มีหลักยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่รวมศูนย์จิตใจคนไทย

     

     

                                              ด้านเศรษฐกิจ

    -        ที่ตั้งของประเทศไทย ใกล้ตลาดสำคัญของโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ฯลฯ มีทางออกสู่ตลาดโลกในภูมิภาคต่าง ๆ

                                2. จุดอ่อน

                                              ปัญหาด้านการผลิต

    -        ขาดวิชาการและ เทคโนโลยีในประเด็นของความครบถ้วนทั้งวงจร เช่นเปลี่ยนเกษตรกรรมในเชิงเกษตรผสมผสานไปสู่พืชเชิงเดี่ยว โดยขาดความเข้าใจถึงผลเสียของพืชเชิงเดี่ยวที่มีผลต่อระบบนิเวศน์ และพื้นฐานการดำรงชีวิต และทำให้เกิดหนี้สินตามมามากมาย  เนื่องจากผู้ส่งเสริมที่ทำหน้าที่เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ไม่เข้าใจวิธีคิดในเชิงธุรกิจ ซึ่งต้องมองภาพรวมทั้งกระบวนการ

    -        เพิ่มผลผลิตโดยวิธี ขยายพื้นที่ ไม่ได้เน้นการสร้างรายได้ต่อหน่วยพื้นที่

    -        ความไม่แน่นอนของ ธรรมชาติ ป่าถูกทำลาย ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล

    -        เกษตรกรไทย “ยิ่งทำยิ่งจน” กลายเป็นผู้ด้อยโอกาส ในประชากรทั้งหมดของประเทศขณะนี้เหลือภาคเกษตรเพียง 49% ของประชากรไทย ซึ่งมีเพียง 7% ของภาคเกษตรเท่านั้นที่แข่งขันได้ และอีก 20% ของภาคเกษตรเป็นผู้ด้อยโอกาส

                                              ปัญหาด้านการตลาด (ภายในประเทศ)

    -        อำนาจต่อรองน้อย ขึ้นกับนายทุน

    -        ช่อง ทางจำหน่ายมีน้อย ขึ้นกับพ่อค้าคนกลาง

    -        ข้อมูลข่าวสารน้อย ไม่ทันเหตุการณ์  ในกรณีนี้รัฐควรเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลที่วิเคราะห์ / สังเคราะห์ แล้วให้กับเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ให้ทันเหตุการณ์ และฝึกให้เกษตรกรคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เข้าใจวิธีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องตลาด

                                              ปัญหาด้านยุทธศาสตร์

    -        สินค้าเกษตรถูกกดราคา เพื่อให้ค่าครองชีพของคนเมืองต่ำลง เช่น “ไข่” กลายเป็นสินค้าการเมือง  ถ้ารัฐบาลใดปล่อยให้ไข่ราคาสูง จะกลายเป็นตัวชี้วัดความล้มเหลวของรัฐบาล

    -        ข้อมูลการตลาดไม่ ชัดเจน และล่าช้า

     

     

    -        ขาดการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิต – แปรรูป ไปจนถึงการจำหน่าย

    -        การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

                                3. อุปสรรค

                                                            อุปสรรค ด้านตลาดโลก

    -        ผล กระทบจากการปฏิวัติเขียว ทำให้หลายประเทศในโลกมุ่งเน้นการรักษา Food Security ของตน  และไม่เปิดให้สินค้าเกษตรบางอย่างเข้าประเทศ

    -        สิทธิกีดกันทางการค้า องค์กรต่างๆ  เช่น WTO มีระเบียบข้อบังคับมากมายที่มีผลต่อผลผลิตสินค้าเกษตรของไทย

                                4. โอกาส

                                              สภาพแวดล้อมภายนอก ประเทศที่ส่งผลต่อประเทศไทยในด้านการผลิตและการตลาด สินค้าเกษตรในทางบวก ได้แก่สถานการณ์สากลที่เกื้อหนุน เช่น สภาวะสงคราม ความแห้งแล้ง หรือภูมิประเทศที่จำกัดทำให้เกิดความต้องการสินค้าประเภทอาหาร กระแสสังคมด้านการรักษาสุขภาพ ทำให้เน้นความปลอดภัยของสินค้าอาหารและบริโภค

                                จากผลการวิเคราะห์ สามารถสรุปผล สังเคราะห์ออกมาเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรของไทย ซึ่ง CP ได้สรุปไว้และใช้เป็นแนวทางของบริษัทในการดำเนินงานด้านการตลาด

     

    แนวทางการพัฒนา

                                ประเทศ ไทยมีศักยภาพอย่างยิ่ง และต้องวางยุทธศาสตร์ในการสร้างโอกาสและแก้ปัญหาไปพร้อม ๆ กัน ดังนี้

                                1. รัฐบาลต้องใช้ ยุทธศาสตร์ในการเพิ่มราคาสินค้าเกษตร ให้เกษตรกรอยู่รอด และมีรายได้ โดยอาจต้องยอมให้ค่าครองชีพของคนเมืองสูง (ชั่วคราว) โดยในส่วนของภาคธุรกิจจะต้องยึดหลักแนวคิดในการทำธุรกิจ ให้เกษตรกรผู้ผลิตอยู่รอด มีกำไร ขณะเดียวกันผู้บริโภคได้ของดีราคาถูก

                                2. กระจายรายได้ โดยยกระดับราคาสินค้าเกษตร  เน้นการพัฒนาการขนส่งในระดับไร่นา (ถนนจากไร่นาสู่ตลาด) เน้นการพัฒนาอาชีพหลักและรอง

                                3. จัดลำดับความสำคัญของ อุตสาหกรรมเกษตรที่เป็นจุดแข็ง พัฒนาการผลิตวัตถุดิบ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตครบกระบวนการตั้งแต่การผลิต แปรรูป และจำหน่าย (เพิ่มความหลากหลายของชนิดสินค้า)

                                4. พัฒนาคนอย่างจริงจังต่อเนื่อง  ทั้งเชิงคุณภาพ และปริมาณ โดยต้องพัฒนาให้เกษตรกรคิดเป็น วิเคราะห์ตลาดเป็น ใช้เงินเป็น รู้จักตนเอง รู้ดี-ชั่ว สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

                                แนวทางการพัฒนาด้าน การเกษตรของประเทศไทยนี้ CP ได้ใช้เป็นข้อมูลนำร่องที่จะนำไปสู่การพัฒนาสินค้าเกษตรเป็นรายชนิด ภายใต้ปณิธานของบริษัทที่ยึดประโยชน์ 3 อย่าง ได้แก่

                                              1) เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

                                              2) เป็นประโยชน์ต่อ ประชาชน

                                              3) เป็นประโยชน์ต่อบริษัท

     

     

    นายกิตติกร จันอินทร์

     # 52127312071

    การเงินการธนาคาร 02

    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

    จากสภาพการปัจจุบัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้การบริหารงานด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลหยุดชะงัก ส่งผลทำให้เศรษฐกิจในประเทศตกอยู่ในภาวะที่ซบเซา นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศไม่กล้าที่จะลงทุนในประเทศไทย อีกทั้งยังเกิดวิกฤตน้ำมันแพง ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนไม่มีอะไรที่ชัดเจนและมั่นคง การใช้จ่ายทางการเงินทุก ๆ บาทจะต้องมีความคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าให้มากที่สุด อีกทั้งการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน ยังเป็นสังคมเป็นแบบเร่งรีบ เวลาทุกวินาทีมีคุณค่า ดังนั้นการมีเครื่องอำนวยความสะดวก เช่นบริการของทางกลุ่มเรา ที่เน้นความสะดวกและรวดเร็ว จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะปัจจุบันแนวโน้มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และสภาวะทางเศรษฐกิจจะไม่มีผลต่อธุรกิจประเภทนี้ เพราะผู้คนยังจำเป็นที่จะต้องใช้บริการของการสื่อสารอย่างเช่นโทรศัพท์มือถืออยู่

    สภาวะการแข่งขัน

    1. ความรุนแรงในการแข่งขัน ปัจจุบันนี้มีการใช้บัตรเติมเงินกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาและการนำบัตรเติมเงินมาขายก็มีการขายอย่างแพร่หลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น 7-11, ร้านสะดวกซื้อ หรือแม้แต่การเติมเงินผ่านทางตู้ ATM และการเติมเงินออนไลน์ด้วย ซึ่งทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงตามไปด้วย

     2. ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่ เนื่องจากบัตรเติมเงินเป็นสินค้าที่ขายได้ง่ายและสะดวก จึงทำให้มีคู่แข่งหน้าใหม่เสมอแต่การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขายของรายเก่ามากนักเพราะมีการขายแบบเดิมๆและไม่มีการจัดการทางการตลาดจึงทำให้ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่มีน้อย

    3. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ เนื่องจากสินค้าที่เป็นบัตรเติมเงินซึ่งใช้แทนเงินในการโทรศัพท์โดยตรง ผู้ใช้จึงเต็มใจที่จะจ่ายเงินตามราคาของบัตรที่จะซื้อทำให้การขายมีความเป็นมาตรฐานและแน่นอนเพราะบัตรเงินจะเป็นของเครือข่ายนั้นโดยตรงอำนาจต่อรองของผู้ซื้อจึงน้อย

     4. อำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต ปัจจุบันเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีการใช้บัตรเติมเงินมี3บริษัทได้แก่ 1. Ais : one - 2 – call 2. Dtac: happy Dpromt 3. True move: Just talk ซึ่งราค่าจากผู้ส่งในแต่ละเครือข่ายจะแตกต่างตามราคาของบัตรที่ถูกกำหนดมาแล้วว่าถ้ายิ่งซื้อในปริมาณมากๆก็จะได้ราคาต่อหน่วยลดลง ถ้าเป็นลูกค้าประจำก็จะมีสิทธิ์ต่อรองได้บ้างส่วนดังนั้นอำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิตจึงไม่มากนัก

     5. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน สินค้าทดแทนในกรณีนี้คือการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรายเดือนซึ่งจากข้อมูลโทรศัพท์รายเดือนนั้นจำเป็นต้องทำการจดทะเบียนใช้สำเนาบัตรประชาชนถึงแม้ว่าการบริการบางรายจะถูกกว่าแต่มีความยุ่งยากมากกว่าบัตรเติมเงินเพราะเมื่อใช้แล้วจะต้องจ่ายรายเดือนเมื่อครบกำหนดอาจต้องไปจ่ายที่ศูนย์บริการหรือที่7-11ซึ่งๆไม่สะดวกการเข้ามาทดแทนจึงไปได้น้อยเพราะตลาดแบบรายเดือนมีคนในวัยทำงานซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับการเติมเงิน

    การวิเคราะห์ swot dtac

    จุดแข็งการวิเคราะห์ swot dtac จุดแข็ง

     - สะดวก รวดเร็ว

     - มีกลุ่มเป้าหมายมาก

    - สามารถมีส่วนแบ่งในการตลาด จุดอ่อน

     - ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน

    - ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วถึง

    - ต้นทุนในการดำเนินงานสูง

    - เสียค่าในการบำรุงรักษาตัวเครื่อง โอกาส

    - เพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการในการเติมเงิน

    - โอกาสในทางตลาดมีมาก ขีดจำกัดหรืออุปสรรค

    - การวางแผนบำรุงรักษาตัวเครื่อง

     - การรักษาความปลอดภัยด้านอุปกรณ์

    การวิเคราะห์สภาพตลาด

    1. ร้านสะดวกซื้อ

    ข้อดี

     - ง่ายต่อการซื้อ

    - สามารถซื้อสิ่งของต่างๆเพิ่มได้

    ข้อเสีย

    - ต้องเสียเวลารอคิว

     - บางทีบัตรอาจหมด

     2. ที่เติมเงินออนไลน์

    ข้อดี

    - เติมกี่บาทก็ได้

    - เติมเงินให้คนอื่นได้

    ข้อเสีย

    - มีค่าธรรมเนียมในการบริการ

    - สถานที่ให้บริการมีน้อย

    - ความไม่แน่นอนทางการบริการ

     - มีการบริการจำกัดเวลา

    3. Mobile Shop

    ข้อดี

    - สามารถใช้บริการอื่น ๆ เกี่ยวกับโทรศัพท์ได้

     - เปลี่ยนโปรโมชั่นได้

    - บริการดี

    ข้อเสีย

    - จุดบริการมีน้อย

    - มีความยุ่งยากเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ในการใช้บริการ

     - มีบัตรเติมเงินขายเฉพาะเครือข่ายของศูนย์เท่านั้น ๆ

    4. ATM

    ข้อดี

    - ไม่ต้องใช้เงินสดในการซื้อ

    - มีสถานที่ตั้งหลากหลาย

    ข้อเสีย

    - ขั้นตอนยุ่งยาก

    - เติมได้เฉพาะบัตรที่เป็นของธนาคารนั้น ๆ

    - ลูกค้าบางคนอาจต้องการบัตรที่ใช้ในการเติมเงิน

     - บางทีไม่มีเงินในบัญชี ไม่สามารถเติมได้

     - สะดวก รวดเร็ว

    - มีกลุ่มเป้าหมายมาก

    - สามารถมีส่วนแบ่งในการตลาด

    จุดอ่อน

    - ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน

     - ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วถึง

    - ต้นทุนในการดำเนินงานสูง

    - เสียค่าในการบำรุงรักษาตัวเครื่อง

    โอกาส

    - เพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการในการเติมเงิน

     - โอกาสในทางตลาดมีมาก

    ขีดจำกัดหรืออุปสรรค

     - การวางแผนบำรุงรักษาตัวเครื่อง

     - การรักษาความปลอดภัยด้านอุปกรณ์

     

    นางสาวชนิกานต์  บำรุงราษฎร์

    รหัสนักศึกษา  52127312066

    การเงินการธนาคาร 02

    การวิเคราะห์ SWOT AIS

    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

                    จากสภาพการปัจจุบัน   ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง   ทำให้การบริหารงานด้านต่าง ๆ  ของรัฐบาลหยุดชะงัก   ส่งผลทำให้เศรษฐกิจในประเทศตกอยู่ในภาวะที่ซบเซา  นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศไม่กล้าที่จะลงทุนในประเทศไทย   อีกทั้งยังเกิดวิกฤตน้ำมันแพง   ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนไม่มีอะไรที่ชัดเจนและมั่นคง   การใช้จ่ายทางการเงินทุก ๆ  บาทจะต้องมีความคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าให้มากที่สุด

                    อีกทั้งการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน  ยังเป็นสังคมเป็นแบบเร่งรีบ  เวลาทุกวินาทีมีคุณค่า  ดังนั้นการมีเครื่องอำนวยความสะดวก  เช่นบริการของทางกลุ่มเรา  ที่เน้นความสะดวกและรวดเร็ว   จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง   เพราะปัจจุบันแนวโน้มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  และสภาวะทางเศรษฐกิจจะไม่มีผลต่อธุรกิจประเภทนี้   เพราะผู้คนยังจำเป็นที่จะต้องใช้บริการของการสื่อสารอย่างเช่นโทรศัพท์มือถืออยู่

     

    สภาวะการแข่งขัน

    1.  ความรุนแรงในการแข่งขัน

                    ปัจจุบันนี้มีการใช้บัตรเติมเงินกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาและการนำบัตรเติมเงินมาขายก็มีการขายอย่างแพร่หลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น 7-11, ร้านสะดวกซื้อ หรือแม้แต่การเติมเงินผ่านทางตู้ ATM และการเติมเงินออนไลน์ด้วย ซึ่งทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงตามไปด้วย

     

    2.  ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่

                    เนื่องจากบัตรเติมเงินเป็นสินค้าที่ขายได้ง่ายและสะดวก จึงทำให้มีคู่แข่งหน้าใหม่เสมอแต่การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขายของรายเก่ามากนักเพราะมีการขายแบบเดิมๆและไม่มีการจัดการทางการตลาดจึงทำให้ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่มีน้อย

    3.   อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ

                    เนื่องจากสินค้าที่เป็นบัตรเติมเงินซึ่งใช้แทนเงินในการโทรศัพท์โดยตรง ผู้ใช้จึงเต็มใจที่จะจ่ายเงินตามราคาของบัตรที่จะซื้อทำให้การขายมีความเป็นมาตรฐานและแน่นอนเพราะบัตรเงินจะเป็นของเครือข่ายนั้นโดยตรงอำนาจต่อรองของผู้ซื้อจึงน้อย

    4.   อำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต

                    ปัจจุบันเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีการใช้บัตรเติมเงินมี3บริษัทได้แก่

                    1.            Ais : one - 2 – call

                    2.            Dtac: happy Dpromt

    3.            True move: Just talk

                    ซึ่งราค่าจากผู้ส่งในแต่ละเครือข่ายจะแตกต่างตามราคาของบัตรที่ถูกกำหนดมาแล้วว่าถ้ายิ่งซื้อในปริมาณมากๆก็จะได้ราคาต่อหน่วยลดลง ถ้าเป็นลูกค้าประจำก็จะมีสิทธิ์ต่อรองได้บ้างส่วนดังนั้นอำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิตจึงไม่มากนัก

    5.   ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

                    สินค้าทดแทนในกรณีนี้คือการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรายเดือนซึ่งจากข้อมูลโทรศัพท์รายเดือนนั้นจำเป็นต้องทำการจดทะเบียนใช้สำเนาบัตรประชาชนถึงแม้ว่าการบริการบางรายจะถูกกว่าแต่มีความยุ่งยากมากกว่าบัตรเติมเงินเพราะเมื่อใช้แล้วจะต้องจ่ายรายเดือนเมื่อครบกำหนดอาจต้องไปจ่ายที่ศูนย์บริการหรือที่7-11ซึ่งๆไม่สะดวกการเข้ามาทดแทนจึงไปได้น้อยเพราะตลาดแบบรายเดือนมีคนในวัยทำงานซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับการเติมเงิน

     

    การวิเคราะห์  swot

     

    จุดแข็ง

    -         สะดวก รวดเร็ว

    -         มีกลุ่มเป้าหมายมาก

    -         สามารถมีส่วนแบ่งในการตลาด

     

    จุดอ่อน

    -         ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน

    -         ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วถึง

    -         ต้นทุนในการดำเนินงานสูง

    -         เสียค่าในการบำรุงรักษาตัวเครื่อง

     

    โอกาส

    -         เพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการในการเติมเงิน

    -         โอกาสในทางตลาดมีมาก

     

    ขีดจำกัดหรืออุปสรรค

    -         การวางแผนบำรุงรักษาตัวเครื่อง

    -         การรักษาความปลอดภัยด้านอุปกรณ์

     

    การวิเคราะห์สภาพตลาด

     

    1. 1.              ร้านสะดวกซื้อ

    ข้อดี

    -         ง่ายต่อการซื้อ

    -         สามารถซื้อสิ่งของต่างๆเพิ่มได้

    ข้อเสีย

    -         ต้องเสียเวลารอคิว

    -         บางทีบัตรอาจหมด

     

     

    1. 2.              ที่เติมเงินออนไลน์

    ข้อดี

    -         เติมกี่บาทก็ได้

    -         เติมเงินให้คนอื่นได้

    ข้อเสีย

    -         มีค่าธรรมเนียมในการบริการ

    -         สถานที่ให้บริการมีน้อย

    -         ความไม่แน่นอนทางการบริการ

    -         มีการบริการจำกัดเวลา

    1. 3.              Mobile  Shop

            ข้อดี

    -         สามารถใช้บริการอื่น ๆ  เกี่ยวกับโทรศัพท์ได้

    -         เปลี่ยนโปรโมชั่นได้

    -         บริการดี

    ข้อเสีย

    -         จุดบริการมีน้อย

    -         ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากมหาวิทยาลัย

    -         มีความยุ่งยากเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ  ในการใช้บริการ

    -         มีบัตรเติมเงินขายเฉพาะเครือข่ายของศูนย์เท่านั้น ๆ

    1. 4.              ATM

    ข้อดี

    -         ไม่ต้องใช้เงินสดในการซื้อ

    -         มีสถานที่ตั้งหลากหลาย

    ข้อเสีย

    -         ขั้นตอนยุ่งยาก

    -         เติมได้เฉพาะบัตรที่เป็นของธนาคารนั้น ๆ

    -         ลูกค้าบางคนอาจต้องการบัตรที่ใช้ในการเติมเงิน

    -         บางทีไม่มีเงินในบัญชี  ไม่สามารถเติมได้

     

     

     

    การวิเคราะห์ SWOT AIS

    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 

                    จากสภาพการปัจจุบัน   ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง   ทำให้การบริหารงานด้านต่าง ๆ  ของรัฐบาลหยุดชะงัก   ส่งผลทำให้เศรษฐกิจในประเทศตกอยู่ในภาวะที่ซบเซา  นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศไม่กล้าที่จะลงทุนในประเทศไทย   อีกทั้งยังเกิดวิกฤตน้ำมันแพง   ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนไม่มีอะไรที่ชัดเจนและมั่นคง   การใช้จ่ายทางการเงินทุก ๆ  บาทจะต้องมีความคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้าให้มากที่สุด

                    อีกทั้งการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน  ยังเป็นสังคมเป็นแบบเร่งรีบ  เวลาทุกวินาทีมีคุณค่า  ดังนั้นการมีเครื่องอำนวยความสะดวก  เช่นบริการของทางกลุ่มเรา  ที่เน้นความสะดวกและรวดเร็ว   จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง   เพราะปัจจุบันแนวโน้มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  และสภาวะทางเศรษฐกิจจะไม่มีผลต่อธุรกิจประเภทนี้   เพราะผู้คนยังจำเป็นที่จะต้องใช้บริการของการสื่อสารอย่างเช่นโทรศัพท์มือถืออยู่

     

    สภาวะการแข่งขัน

    1.  ความรุนแรงในการแข่งขัน

                    ปัจจุบันนี้มีการใช้บัตรเติมเงินกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาและการนำบัตรเติมเงินมาขายก็มีการขายอย่างแพร่หลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น 7-11, ร้านสะดวกซื้อ หรือแม้แต่การเติมเงินผ่านทางตู้ ATM และการเติมเงินออนไลน์ด้วย ซึ่งทำให้การแข่งขันมีความรุนแรงตามไปด้วย

     

    2.  ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่

                    เนื่องจากบัตรเติมเงินเป็นสินค้าที่ขายได้ง่ายและสะดวก จึงทำให้มีคู่แข่งหน้าใหม่เสมอแต่การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขายของรายเก่ามากนักเพราะมีการขายแบบเดิมๆและไม่มีการจัดการทางการตลาดจึงทำให้ภัยคุกคามจากคู่แข่งหน้าใหม่มีน้อย

    3.   อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ

                    เนื่องจากสินค้าที่เป็นบัตรเติมเงินซึ่งใช้แทนเงินในการโทรศัพท์โดยตรง ผู้ใช้จึงเต็มใจที่จะจ่ายเงินตามราคาของบัตรที่จะซื้อทำให้การขายมีความเป็นมาตรฐานและแน่นอนเพราะบัตรเงินจะเป็นของเครือข่ายนั้นโดยตรงอำนาจต่อรองของผู้ซื้อจึงน้อย

    4.   อำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต

                    ปัจจุบันเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีการใช้บัตรเติมเงินมี3บริษัทได้แก่

                    1.            Ais : one - 2 – call

                    2.            Dtac: happy Dpromt

    3.            True move: Just talk

                    ซึ่งราค่าจากผู้ส่งในแต่ละเครือข่ายจะแตกต่างตามราคาของบัตรที่ถูกกำหนดมาแล้วว่าถ้ายิ่งซื้อในปริมาณมากๆก็จะได้ราคาต่อหน่วยลดลง ถ้าเป็นลูกค้าประจำก็จะมีสิทธิ์ต่อรองได้บ้างส่วนดังนั้นอำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิตจึงไม่มากนัก

    5.   ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

                    สินค้าทดแทนในกรณีนี้คือการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรายเดือนซึ่งจากข้อมูลโทรศัพท์รายเดือนนั้นจำเป็นต้องทำการจดทะเบียนใช้สำเนาบัตรประชาชนถึงแม้ว่าการบริการบางรายจะถูกกว่าแต่มีความยุ่งยากมากกว่าบัตรเติมเงินเพราะเมื่อใช้แล้วจะต้องจ่ายรายเดือนเมื่อครบกำหนดอาจต้องไปจ่ายที่ศูนย์บริการหรือที่7-11ซึ่งๆไม่สะดวกการเข้ามาทดแทนจึงไปได้น้อยเพราะตลาดแบบรายเดือนมีคนในวัยทำงานซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับการเติมเงิน

     

     

     

     

    การวิเคราะห์  swot

     

    จุดแข็ง

    -         สะดวก รวดเร็ว

    -         มีกลุ่มเป้าหมายมาก

    -         สามารถมีส่วนแบ่งในการตลาด

     

    จุดอ่อน

    -         ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน

    -         ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วถึง

    -         ต้นทุนในการดำเนินงานสูง

    -         เสียค่าในการบำรุงรักษาตัวเครื่อง

     

    โอกาส

    -         เพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการในการเติมเงิน

    -         โอกาสในทางตลาดมีมาก

     

    ขีดจำกัดหรืออุปสรรค

    -         การวางแผนบำรุงรักษาตัวเครื่อง

    -         การรักษาความปลอดภัยด้านอุปกรณ์

     

    การวิเคราะห์สภาพตลาด

     

    1. 1.              ร้านสะดวกซื้อ

    ข้อดี

    -         ง่ายต่อการซื้อ

    -         สามารถซื้อสิ่งของต่างๆเพิ่มได้

    ข้อเสีย

    -         ต้องเสียเวลารอคิว

    -         บางทีบัตรอาจหมด

     

     

    1. 2.              ที่เติมเงินออนไลน์

    ข้อดี

    -         เติมกี่บาทก็ได้

    -         เติมเงินให้คนอื่นได้

    ข้อเสีย

    -         มีค่าธรรมเนียมในการบริการ

    -         สถานที่ให้บริการมีน้อย

    -         ความไม่แน่นอนทางการบริการ

    -         มีการบริการจำกัดเวลา

    1. 3.              Mobile  Shop

            ข้อดี

    -         สามารถใช้บริการอื่น ๆ  เกี่ยวกับโทรศัพท์ได้

    -         เปลี่ยนโปรโมชั่นได้

    -         บริการดี

    ข้อเสีย

    -         จุดบริการมีน้อย

    -         ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากมหาวิทยาลัย

    -         มีความยุ่งยากเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ  ในการใช้บริการ

    -         มีบัตรเติมเงินขายเฉพาะเครือข่ายของศูนย์เท่านั้น ๆ

    1. 4.              ATM

    ข้อดี

    -         ไม่ต้องใช้เงินสดในการซื้อ

    -         มีสถานที่ตั้งหลากหลาย

    ข้อเสีย

    -         ขั้นตอนยุ่งยาก

    -         เติมได้เฉพาะบัตรที่เป็นของธนาคารนั้น ๆ

    -         ลูกค้าบางคนอาจต้องการบัตรที่ใช้ในการเติมเงิน

    -         บางทีไม่มีเงินในบัญชี  ไม่สามารถเติมได้

     

     

    นางสาวมยุรี สมผล

    รหัส 52127312059

    การเงินการธนาคาร 02

     

     

     

    บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

     การวิเคราะห์ swot

    จุดแข็งคือ

    ความสามารถในสถานการณ์ที่เป็ยบวกภานในองค์กรที่เป็ยบวกซึ่งฮง๕กรได้นำมาใช้ในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานตามเป้าหมาย

    จุดอ่อนคือ

    สถานการณืภายในองค์กรที่เป็นลบซึ่งไม่สมารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้ หรื การทำงานภายในองค์กรทำได้ไม่ดี

     

    โอกาส คือ

    ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกเอื้ออำนวจการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือสถานณ์การภายนอกมีประโยชน์ต่อการดำเนินงาน

    อุปสรรค คือ

    ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกขัดขวางการทำงานไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์หรืสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร

    วิสัยทัศน์

    1.เป็นบริษัทแกนนำของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค และเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก 2.เป็นบริษัทรถยนต์ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุด ในประเทศไทย

    หลักการ

    1.ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง

     2.เคารพและยอมรับผู้อื่น

    3.ยึดหลักความพึงพอใจของลูค้า

    4.ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด

    5.รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

    พันธกิจ

    1.สร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างเอเชียแปซิฟิก

    2.บรรลุการเป็นผู้นำ ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด

    3.กำหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด ของกิจกรรมรากฐานของบริษัท

    4.สร้างสังคมที่มีคุณภาพโดยการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม

    นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

    1. บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะปฏิบัติตามกฏหมาย และมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายในบริษัท พร้อมทั้งมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่วางไว้

     2. บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะทุ่มเทปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการทำงานของระบบสิ่งแวดล้อมและการป้องกัน มลพิษซึ่งบรรลุได้โดย - มุ่งเน้นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากวัตถุดิบและกระบวนการผลิต โดยการประเมินผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมจากสิ่งเหล่านั้น ก่อนที่จะนำวัตถุดิบใหม่มาใช้หรือก่อนมีกระบวนการผลิตใหม่ๆ - หาวิธีการลดปริมาณการใช้พลังงาน ลดระดับมลพิษและปริมาณของเสียที่ออกสู่สิ่งแวดล้อม

    3. บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีความพยายามที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อพนักงานทุกคน เพื่อให้การปฏิบัติและการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมบังเกิดผลมากที่สุด

     4.ตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารกับชุมชนในท้องถิ่นและให้ความร่วมมือที่ดีในกิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไปในลักษณะที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้แก่พนักงาน บุคคลที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า และประชาชน บริษัทฯ จะพยายามป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และความเจ็บปวดเนื่องจากงานอาชีพด้วย ความร่วมมืออย่างจริงจัง ของพนักงานทุกคน บริษัทฯ มีความผูกพัน ที่จะพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจหาให้พบและขจัด หรือควบคุม ความไม่ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อดำเนินการตามนโยบายที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ จะ

    1. ดำเนินการและพัฒนา ระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก. 18001, OHSAS 18001 อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฏหมาย และข้อกำหนดอื่นๆที่องค์กรได้ทำข้อตกลงไว้

    2. ดำเนินการปรับปรุงและป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร เครื่องมือ อัคคีภัย สารเคมี และอันตราย ซึ่งมีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป รวมทั้งควบคุมความเสี่ยงทุกระดับในองค์กรโดยกำหนดเป็น วัตถุประสงค์ด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยประจำปี และสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

    3. ให้การสนับสนุนทรัพยากรทั้งในเรื่องบุคลากร เวลา งบประมาณ และการฝึกอบรมที่เหมาะสมและเพียงพอ

    4. กล่าวย้ำให้พนักงาน ผู้รับเหมา และผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานในบริษัท ทราบว่าการรักษาความปลอดภัย เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน

    5. ทำการทบทวน และประเมินผลการดำเนินงานตามความเหมาะสม เพื่อทราบความก้าวหน้าและเพื่อให้แน่ใจว่า ปฏิบัติตามนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยนี้ ด้านสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีการดำเนินการและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าสำโรงและโตโยต้าเกตเวย์ โดยทั้ง 2 โรงงาน ได้รับการรับรองระบบการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001: 1996 ในระดับสากลตั้งแต่ปี 2540 ในโรงงานเกตเวย์และในปี 2541 สำหรับโรงงานสำโรง จากนั้นได้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับใหม่ ISO 14001: 2004 ในปี 2548 ส่วนโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าบ้านโพธิ์นั้นได้รับการรับรองระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ ISO 14001: 2004 ในปี 2551 ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีการดำเนินการและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าสำโรง และโรงงานโตโยต้าเกตเวย์ โดยทั้ง 2 โรงงาน ได้รับการรับรองระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย มอก. 18001: 2542 ตั้งแต่ปี 2544 และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001: 2007 ในระดับสากล ในปี 2552 ส่วนโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าบ้านโพธิ์นั้น ได้รับการรับรองระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยมอก.18001: 2542 และ OHSAS 18001: 2007 ในปี 2551 ภาพรวมเศรษฐกิจของไทย ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนและโดยรวมมีอัตราขยายตัวดี การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น การอุปโภคบริโภคยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวดีต่อเนื่อง ในด้านการผลิต ผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการจับจ่ายสินค้า ด้าน การท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวดีขึ้นมากและกลับมาอยู่ในระดับปกติแล้ว ภายหลังเกิดการระบาดของโรค SARS นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ น่าพอใจ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ภาระหนี้ต่างประเทศลดลง ทั้งนี้ สถาบันจัดอันดับ Fitch IBCA ได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของไทยดีขึ้น เป็น stable เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ดัชนีด้านเศรษฐกิจดีขึ้นทุกตัว จึงคาดว่า จะมีสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทยอยปรับอันดับให้ประเทศไทยมากขึ้น กลยุทธ์ของ Toyota กรณีบริษัท Toyota ที่ประยุกต์ใช้ทั้งกลยุทธ์ความรวดเร็ว และกลยุทธ์ความยืดหยุ่นซึ่งเป็นการ บูรณาการกลยุทธ์ทั้งสองเข้าด้วยกันอย่างลงตัว เป็นการสร้างให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น บริษัทรถยนต์ Toyota เมื่อ 50 ปีก่อนน้อยคนนักที่จะเคยได้ยินชื่อ Toyota หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องพัฒนาตนเองอย่างมาก เพราะเป็นผู้แพ้สงคราม Toyota เป็นบริษัทหนึ่งของญี่ปุ่นที่ส่งออกรถยนต์ไปขายในประเทศอเมริกา ในขณะนั้นประเทศอเมริกามีบริษัทรถยนต์ของตัวเองที่มีชื่อเสียงมากเช่น GM Ford และ Chrysler อีกทั้งยังมีรถยนต์นำเข้าจากยุโรป เช่น BMW Benz Renault รถยนต์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีขนาดความจุของเครื่องยนต์สูงมีจำนวน 6-8 สูบ ในขณะที่ Toyota นำเอารถยนต์ 4 สูบซึ่งมีขนาดเล็กเข้าไปจำหน่ายในตลาดอเมริกา ลูกค้าอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญแม้แต่น้อย ต่างมองกันว่ารถยนต์ของ Toyota เป็นเพียงแค่รถเด็กเล่นในขณะนั้น แต่กระนั้น Toyota ไม่ยอมละความพยายามและความอดทน ยังยึดมั่นอยู่กับการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา โดยทำการศึกษา คู่แข่งขันอย่างละเอียดถึงจุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาส รวมทั้งอุปสรรคต่างๆ โดยมีการเปรียบเทียบตัวเองกับบริษัทคู่แข่ง จากการศึกษาทำให้ Toyota พบจุดอ่อนที่สำคัญของบริษัทรถยนต์ที่เป็นคู่แข่ง โดยพบว่าการออกรถยนต์รุ่นใหม่ไม่มีความสมดุลลงตัวกับความต้องการของลูกค้าชาวอเมริกันในการซื้อรถยนต์ใหม่ เพราะเบื่อที่จะขับรุ่นยนต์รุ่นเก่าเป็นเวลานานเกินไป Toyota จึงใช้กลยุทธ์ความรวดเร็วเป็นแกนหลัก เมื่อพบว่าการเปลี่ยนรุ่นของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ของอเมริกาจะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณเจ็ดถึงแปดปี ในขณะที่ค่ายรถยนต์จากยุโรปมีระยะเวลาในการเปลี่ยนรุ่นของรถที่ระยะเวลาประมาณแปดปี Toyota จึงกำหนดการเปลี่ยนแปลงรุ่นของรถยนต์ทุกๆ ห้าปี และลดเหลือสี่ปี ทำให้ในขณะนั้นในท้องถนนมีแต่รถรุ่นเก่าของ GM, Ford, Benz อื่น ๆ วิ่งอยู่ทั่วไป ในขณะที่ Toyota กลับมีรถรุ่นใหม่ที่ทันสมัย มีสีสันสดสวย รูปร่างโฉบเฉี่ยว และมีพลังของเครื่องยนต์สูงแต่สามารรถประหยัดน้ำมันได้มากกว่า โดยออกแบบให้เครื่องยนต์มีความจุของกระบอบสูบที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชาวอเมริกันซึ่งในขณะนั้นมีเศรษฐกิจที่ดีมาก ด้วยนิสัยเบื่อง่ายทำให้คนอเมริกันเริ่มหันเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ Toyota มากขึ้น จึงพบกับความจริงว่ามิใช่เพียงแต่สินค้าเท่านั้นที่มีการพัฒนา การบริการก็ได้รับการพัฒนาเช่นกัน เพราะ Toyota ได้สร้างมาตรฐานการให้บริการที่ดีเยี่ยม ซึ่งได้สร้างความประทับใจแก่ลูกค้าอย่างมากเป็นผลให้ชาวอเมริกันยอมรับในตัวของ Toyota มากขึ้น ในขณะที่ Toyota มีการเติบโตมากขึ้น แทนที่บริษัท GM Ford Chrysler BMW และ Benz จะตอบสนองต่อการแข่งขันแต่กลับนิ่งเฉย โดยมีสมมติฐานว่าในกรณีที่ Toyota มีแผนในการเปลี่ยนแปลงรุ่นของรถยนต์เร็วมากขึ้นเท่าไร

     สิ่งที่จะเพิ่มมากขึ้นตามมาคือ ต้นทุนที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนสายการผลิต การปรับพื้นที่โรงงานผลิต และการจัดการกับสินค้า และอะไหล่คงคลัง ฯลฯ ซึ่งในที่สุดแล้วราคาขายจะต้องปรับตัวสูงมากขึ้นจนกระทั่งลูกค้ายอมรับไม่ได้ และจะประสบกับการขาดทุนในที่สุด แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เพราะ Toyota ได้นำเอากลยุทธ์ยืดหยุ่นมาบูรณาการใช้ประกอบกับกลยุทธ์ความรวดเร็ว โดยออกแบบโรงงานผลิต และระบบสายพานประกอบรถยนต์ให้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นเรียกว่า "Flexible Manufacturing System" ที่สามารถปรับสายการผลิตได้ใหม่โดยไม่ต้องรื้อถอน ในการประกอบรถยนต์โดยเฉพาะส่วนของตัวถังมีการประยุกต์นำเอาหุ่นยนต์มาใช้ทำงานมากขึ้น โดยสามารถควบคุมด้วยโปรแกรมที่สามารถปรับเปลี่ยนให้สามารถผลิตรถยนต์รุ่นต่างๆได้เพียงแค่เปลี่ยน Softwareเท่านั้น ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนในการเปลี่ยนรุ่นแต่ละครั้งได้ ผลก็คือ การผลิตโดยรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นเมื่อมีความต้องการจากลูกค้าจำนวนมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิด Economies of Scale ที่ทำให้ Toyota มีต้นทุนในการผลิตลดลงจากจำนวนการผลิตที่มากขึ้น ทำให้ราคาขายของ รถยนต์ Toyota สามารถแข่งขันได้สูงมากยิ่งขึ้นในตลาดเมื่อเทียบกับรถยนต์ของคู่แข่งในขนาดและปริมาตรกระบอกสูบเท่ากันจากความชาญฉลาดในการดำเนินธุรกิจของ Toyota ส่งผลทำให้บริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ของอเมริกาต้องเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบริษัทรถยนต์ที่ครั้งหนึ่งเป็นเพียงแค่รถเด็กเล่นในสายตาของตัวเอง ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ต้องปิดโรงงานผลิตจำนวนมาก ซึ่งทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ทั่วโลกเริ่มหันกลับมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจตามแนวคิดใหม่อย่างจริงจังมากขึ้น โดยสรุปพบว่า กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั้นเป็นวิทยาการ การจัดการธุรกิจที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวเข้าสู่การแข่งขันขององค์การธุรกิจ ทั้งนี้การปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ให้ทันต่อเหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำตลอดเวลาเพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันนั้นไว้ จุดแข็งของโตโยต้า คือการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เรามีตั้งแต่รถยนต์ระดับหรู (Luxury) มาจนถึงกลุ่มรถขนาดประหยัด (Economy Car) รถเพื่อการพาณิชย์ในกลุ่มรถปิกอัพ ..

     

     

     

     

    น.ส. ปวีณา กรพิมาย

    การเงินการธนาคาร02

    รหัส 52127312037

    วิเคราะห์  SWOT

    บริษัทนครชัยแอร์ทัวร์

     

    ผู้จัดการการเดินรถของนครชัยแอร์   นายสถาพร  วงศ์เบญจรัตน์ 

     

    เป็นอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการให้บริการบนรถทัวร์จะเปรียบเทียบกับการให้บริการบนเครื่องบินได้อย่างไรเพราะอย่างไรเครื่องบินก็ต้องดีกว่าการให้บริการบนรถทัวร์อยู่แล้วแต่ในปัจจุบันกับมีบริษัทรถทัวร์ที่มีรูปแบบการให้บริการจุดเดียวกับเครื่องบินจริงๆ นั่นก็คือ “บริษัทนครชัยแอร์” นั่นเอง

     

    จุดแข็ง 

                    นครชัยแอร์เป็นบริษัทที่ถือว่ามีการให้บริการที่ดีและยังคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าเป็นหลักและพนักงานขับรถของบริษัทจะมีอายุไม่เกิน 55 ปี และพนักงานขับรถจะต้องผ่านกระบวนการฝึกอบรมก่อน และนอกจากนี้ทางบริษัทก็ยังเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าอีกระดับหนึ่งก็คือการเพิ่มช่องทางการจองตั๋วผ่านตู้ ATM คอลล์เซ็นเตอร์ของนครชัยแอร์ที่บริการ 24 ชั่วโมง และนอกจากนี้ยังสามารถชำระค่าตั๋วผ่าน 7-ELEVEN ทุกสาขาทั่วประเทศและจะได้รับสลิปเพื่อนำไปแสดงที่จุดขึ้นรถก่อนเวลา 30 นาที”เท่านั้นผู้โดยสารก็จะได้ขึ้นรถทัวร์นครชัยแอร์อย่างไม่ติดขัดอันเป็นผลทำให้นครชัยแอร์ สามารถปฏิวัติการให้บริการบนรถทัวร์ จากที่เคยยุ่งยาก ซับซ้อน ก็กลับกลายเป็นการให้บริการที่สะดวกสบาย ทันสมัยมากขึ้นจนทำให้ใครต่อใครต่างถวิลหาที่จะใช้บริการของนครชัยแอร์อันเป็นสิ่งที่เกิดจากกระบวนการคิดของ “สถาพร” อย่างละเอียดในทุกขั้นตอนจนกลายเป็นกลยุทธ์บอกต่อที่กระเพื่อมความแรงจนคู่แข่งยากจะตามทันซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ

     

    จุดอ่อน

                 ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงกับการที่บริษัทอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วถึงและในปัจจุบันก็มีบริษัทรถทัวร์มากมายหลายบริษัทและมีโอกาสสูงที่บริษัทคู่แข่งจะมีการให้บริการในรูปแบบเดียวกันหรืออาจจะดีกว่าก็ได้

     

    โอกาส

          เป็นธุรกิจรถทัวร์ที่มีการบริการใหม่ๆ ในการบริการจึงทำให้เป็นที่ถูกใจกับลูกค้าได้มากและอีกอย่างยังเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้ากลุ่มที่ใช้บริการในการซื้อตั๋วผ่านตู้  ATM จนทำให้ใครต่อใครต่างบอกต่อจนกลายเป็นกลยุทธ์บอกต่อที่กระเพื่อมความแรงจนคู่แข่งยากจะตามทัน

    นาย พร้อมพงษ์ จันทมาลี

    52127312016

    การเงินการธนาคาร01

    นายอุดมศักดิ์ โสดารักษ์

    ธุรกิจโรงน้ำแข็ง

    การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)

    S = STRENGTH หมายถึง จุดแข็ง

    W= WEAKNESS หมายถึง จุดอ่อน

    O= OPPORTUNITY หมายถึง โอกาศ

    T= THREAT หมายถึง อุปสรรค์

    การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS นั้น จะต้องวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐาน 2 อย่าง คือ

    1. BALK GROUD ของตัวผู้ประกอบการเอง ว่ามีประสบการณ์อย่างไร มีจุดแข็งอย่างไรในตัวของคุณเอง เช่น มีจุดเด่น ที่พูดคุย เป็นมิตรกับทุกคน หรือชอบทำงาน GRAPHIC ได้ดี และเด่นกว่าคนอื่น หรือ บุคคลิกดีสวยสะดุดตากว่าคนอื่น เป็นต้น

    2. จุดเด่นจุดด้อยอันเกิดจากลักษณะของธุรกิจเอง โดยผมจะวิเคราะห์ ให้ดูอีกสักหนึ่ง CASE เพิ่ม เป็นกรณีศึกษา

    จุดแข็งของกิจการ :

    1. มีบริการเสริมที่หลากหลายให้กับลูกค้า เช่น ให้บริการถังเก็บน้ำแข็ง

    2. น้ำแข็งมีความใส สะอาด และถูกสุขลักษณะอนามัย มากกว่าผู้ผลิตรายอื่น

    3. มีแหล่งน้ำดิบที่ดี ทำให้ขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน จุดอ่อนของกิจการ : 1. ขาดแคลนแรงงาน 2.ใช้กำลังการผลิตยังไม่เต็มที่

    โอกาส :

    1. อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นทำให้อากาศร้อนเพิ่มขึ้นทุกปี

    2. จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองท่องเที่ยว จึงมีนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยว ซื้อหาสินค้าบริโภค อุปโภคอยู่เสมอ น้ำแข็งก็เป็นสินค้าที่ขายดีในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวเช่นกัน

    อุปสรรค :

    1. การแข่งขันเริ่มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะมีการตัดราคาสินค้า

    2. ไฟฟ้าซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตหลักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    นายอุดมศักดิ์ โสดารักษ์

    การเงินการธนาคาร 02

    52127312061

    โค้ก : SWOT Analysis

    [coca-cola-old.jpg]

    SWOT Analysis


     
     
    Strength


    - Coke เป็นผู้ที่เข้ามาเปิดตลาดเป็นรายแรกทำเป็นที่สนใจและดึงดูดใจของผู้บริโภคซึ่งสร้างความรู้สึกให้กับตัว ผลิตภัณฑ์ว่า เป็น ของแท้


    - เป็น Global Brand ที่สั่งสมความน่าเชื่อถือมายาวนาน

    - มี Positioning ที่ชัดเจนทำให้ผู้บริโภคจดจำ Brand ได้อย่างแม่นยำ ไม่สับสนกับ Brand อื่น

    - เป็น Brand ที่แข็งแกร่งมาก ซึ่งเกิดจากการรับรู้ของผู้บริโภค ทำให้คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบ และทำการแข่งขันได้อยาก

    - เป็นผู้นำทางการตลาดมีสัดส่วนในการครองตลาดน้ำดื่ม CSD สูง ( Market share leadership)

    - Brand Perception มียี่ห้อที่เป็นที่จดจำและอยู่ในใจของผู้บริโภคย่อมแสดงถึงความสามารถในการ เข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์

    - การที่ Coke เข้ามาในระยะเวลาที่ยาวนานและสามารถครองตลาดได้เป็นอย่างดีและต่อเนื่องนั้นทำให้ Coke สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจได้ดี ส่งผลให้มีอำนาจในการต่อรองกับคู่ค้าและธุรกิจที่ เกี่ยวข้องได้มาก

    - Coke เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เนื่องจากการเปิดตลาดออกไปอย่างแพร่หลาย

    - มีการตลาดที่ดี เช่น การทำ promotion ในช่วงเวลาต่างๆอย่างเหมาะสม การวางแผนการตลาดด้านต่างๆรวมถึง Advertisement ด้วย

    - เป็นผู้นำตลาดทางด้าน fountain market เนื่องจาก Coke เริ่มบุกตลาดทางด้านนี้ก่อน brand อื่นๆ เช่น ในปี 2000 Coke มีสัดส่วนตลาดนี้ถึง 65%

    - เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฐานการผลิตกว้างขวาง ครอบคลุมทั่วโลก- เป็น Brand ที่ผู้บริโภคมี Loyalty สูง เนื่องจากไม่เพียงแต่ทำให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ของตนเองเท่านั้นยังสามารถทำให้ผู้บริโภคมีความรักกับ Brand ได้อีกด้วย

    -โค้กใช้ กลยุทธ์ Emotional Marketing และ Lifestyle "มีทัศนคติด้านบวกและมองโลกในแง่ดี" หรือ "ดื่มโค้กแล้วทำให้มีความสุข" จาก แคมเปญ Coke Slide of Life เป็นแคมเปญ ที่เน้นกันที่ Emotional ล้วนๆ เพื่อต้องการสร้างความรู้สึกขึ้นในใจของให้ผู้บริโภค และใช้อารมณ์ความรู้สึกในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่มีความสร้างสรรค์และตรงใจผุ้บริโภคเป็นอย่างมาก


    Weakness

     

     
     
     
    - การที่ Coke จะเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้นย่อมเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก Coke เป็นที่รู้จักของ ผู้บริโภคในด้านน้ำดื่มโคล่า ซึ่งการที่จะขยายไปในด้านอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยากที่ผู้บริโภคจะให้ความสนใจและเชื่อถือ ซึ่งถ้าขยายความกว้างของผลิตภัณฑ์มากไปจะทำให้สินค้าโคล่านี้อ่อนกำลังไปด้วย


    - มีความเป็นนักอนุรักษ์(Conservative ทำให้การปรับตัวของบริษัทไม่ทันกับคู่แข่งรายอื่นๆ

    - มีสายการผลิตที่กว้างมากจนยากที่จะควบคุมการผลิต


    - โค้กมักถูกมองว่าไม่มี Innovation จะเห็นได้จาก Line สินค้าที่มีให้เลือกไม่มากนัก และยังถือว่าน้อยกว้าคู่แข่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคหันไปทดลองสินค้าอื่นที่มีความแปลกใหม่ได้ง่าย

    - เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

    - ความสามารถในการขยายผลิตภัณฑ์มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับ line สินค้าเดิมเป็นเรื่องที่ยาก และอาจทำให้ภาพ ความ Classic อ่อนลง



    Oppornity

     

     
    - ตลาดยังเปิดกว้างสำหรับเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์

    - การสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น

    - ลักษณะของสินค้า เนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องดื่มโคล่านั้นมีจุดต่างจากเครื่องดื่มอื่นซึ่ง ผู้บริโภคเชื่อว่าดื่มแล้วช่วยสร้างความสดชื่นซึ่งเป็นเสมือนจุดขายของสินค้านี้

    - เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยีย่อมพัฒนาขึ้นอย่างมากช่วยในด้านการผลิต การโฆษณาช่วยให้ผู้บริโภครู้จักได้มากขึ้น การกระจายสินค้า เป็นต้น

    - การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคมีมากขึ้นเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภค ซึ่งก็เนื่องมาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้วย


    Treat
     

    - มีสินค้าตัวแทน เนื่องจากตลาดเครื่องดื่มนี้มีการขยายออกอย่างแพร่หลายทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นกว่าในอดีต

    - ราคาของวัตถุดิบผันผวน เช่น ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นย่อมทำให้ส่งผลต่อราคาต่อหน่วยของสินค้าด้วยหากราคาสูงขึ้น ความต้องการย่อมลดลง

    -เป็บซี่ใช้กลยุทธ์ In&Out คือ การสร้างโปรดักต์ ใหม่ๆ บนฐานของน้ำดำ เพื่อสร้างสีสันให้ตลาดมีทั้งเป๊ปซี่แม็กซ์, เป๊ปซี่ทวิสต์, เป๊ปซี่บลู, เป๊ปซี่ไฟร์, เป๊ปซี่ไอซ์ และเป๊ปซี่ลาเต้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดทางเลือกที่มากขึ้นและมีความรู้สึกถึงความแปลกใหม่และอาจให้ความสนใจ และทดลองบริโภค จนอาจเกิดการ Switching Brand ได้

    - ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน เมื่อเศรษฐกิจแย่ลงย่อมมีผลต่อการบริโภคของประชาชนซึ่งจะบริโภคอย่างจำกัดมากขึ้น

    - การแข่งขันที่รุนแรง ทั้งตลาดเดิมและเครื่องดื่มใหม่ๆที่พยายามเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้การจะครองส่วนแบ่งตลาดจำนวนมากนั้นยากขึ้น

    - ค่านิยมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง คือให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมากขึ้นทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคเครื่องดื่มโคล่าลง เนื่องจากไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และให้ความสนใจกับสินค้าที่ให้ผลดีกับสุขภาพมากขึ้น

    - การแพร่ของข่าวความผิดพลาดในการผลิต ทำให้เกิดความเสียหายกับตราสินค้า ผุ้บริโภคอาจม่ายเชื่อถือและเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้

    - จากผลสำรวจ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบรสชาติของเป๊ปซี่มากกว่า

    นางสาว นฤมล โคตรเนตร การเงินการธนาคาร 01  รหัส 52127312036

                                   

                                                             

                                                   การวิเคราะห์ SWOT

    (S) Strengths >> จุดเด่นหรือจุดแข็ง

    การเปิดขายคอนโดมิเนียมของ แอล.พี.เอ็น.ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ถือเป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญของบริษัท และเหมือนเป็นการทิ้งไพ่ใบสุดท้าย เพื่อให้รู้ถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจของ แอล.พี.เอ็น.ต่อไปในอนาคตซึ่งหากไม่สามารถขายได้ก็ถือเป็นการปิดฉากการพัฒนาคอนโดมิเนียมของ แอล.พี.เอ็น.และแอล.พี.เอ็น.ก็ต้องทบทวนตัวเองว่าจะอยู่อย่างไรต่อไป แต่ปรากฏว่าหลังเปิดขายลุมพินี เซ็นเตอร์แฮปปี้แลนด์สามารถขายได้ถึง 300 หน่วย ภายใน 3 วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแท้จริงแล้วประชาชนยังมีกำลังซื้อและคอนโดมิเนียมที่เจาะกลุ่มระดับกลางถึงล่าง ยังคงมีความต้องการอยู่ในตลาดอีกมากส่งผลให้บริษัทเล็งเห็นโอกาสและปรับรูปแบบธุรกิจ โดยมุ่งพัฒนาคอนโดมิเนียมที่มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงล่างหรือคนรุ่นใหม่เริ่มทำงานที่มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานลูกค้าจำนวนมากโดยหลังเปิดขายลุมพินี เซ็นเตอร์ แฮปปี้แลนด์ ก็ได้เปิดขาย ลุมพินี เพลสสาทรมูลค่าโครงการ 750 ล้านบาท ราคาหน่วยละ 900,000 บาท-1 ล้านบาท จำนวน 600 หน่วย

    ซึ่งปรากฏว่าสามารถขายได้ถึง 300 หน่วย ภายในเวลา 1 สัปดาห์ ทั้งๆที่เป็นการขายในลักษณะที่เรียกว่าขายกระดาษอย่างแท้จริง กล่าวคือเปิดขายโดยที่โครงการยังไม่ดำเนินการก่อสร้าง แต่ผู้บริโภคก็ยังให้ความมั่นใจและสนใจจองเป็นจำนวนมาก จึงยิ่งเป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่ผู้บริหารได้วิเคราะห์และกำหนดจุดยืนให้กับ แอล.พี.เอ็น.นั้นเป็นการเดินมาถูกทางแล้ว

    (W) Weaknesses >> จุดด้อยหรือจุดอ่อน

    จากปัจจัยลบ ทั้งภาวะราคาน้ำมันเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีความแน่นอน เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยรวม ที่เชื่อว่าทำให้ความสามารถในการซื้อลดลงอย่างน้อย 20% ขณะที่ผู้ประกอบการเองก็ได้รับผลกระทบต่อยอดรับรู้รายได้ และยอดขาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการบางรายต้องประกาศขายโครงการ เนื่องจากไม่สามารถทำต่อไปได้ หรือบางรายที่มีปัญหาเรื่องการก่อสร้าง ทำให้การส่งมอบห้องชุดให้แก่ลูกค้าเลื่อนออกไป” โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

    O) Opportunities >> โอกาส

    ในส่วนของ LPN ได้มีการปรับกลยุทธ์การทำตลาด การขาย และวิธีการสื่อสารกับลูกค้าใหม่  จากเดิมจะใช้วิธีการเปิดให้ลูกค้าทั้งเก่า และใหม่จองซื้อพร้อมกัน
           
           เป็นการเปิดให้ลูกค้าเก่า และลูกค้าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้สิทธิในการจองก่อน รวมทั้งมีการแบ่งสินค้า (ห้องชุดในคอนโด) ออกขายเป็นล็อตๆ
           
           วิธีการดังกล่าวนี้จะทำให้ทราบถึงความต้องการของตลาด ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนการตลาด และการก่อสร้างได้ รวมถึงสามารถปรับราคาขายขึ้นได้ เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง
           
            ทดลองกับโครงการใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยดำเนินการมา
           
           นั่นคือโครงการ “ลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา" ที่มีมูลค่าการลงทุนมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการมา โดยมีมูลค่ามากกว่า 5 พันล้านบาท โครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนเนื้อที่ 15 ไร่ เป็นที่ดินซื้อมาจากกลุ่ม "วิริยะประไพกิจ" ในราคา 700 ล้านบาท แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 เฟส แต่ละเฟสจะมี 2 อาคาร สูง 25 ชั้น และ 30 ชั้น รวมจำนวนกว่า 2,300 หน่วย
           
           โดยในวันที่ 21 มิ.ย. เพียงวันเดียว จะเปิดขายในราคา 51,000 บาทต่อตารางเมตร หรือห้องละ 1.7 ล้านบาท สำหรับขนาดพื้นที่ 33.5 ตารางเมตร โดยจะเปิดขายในราคาพิเศษนี้เพียง 30% เท่านั้น ของห้องชุดทั้งหมดในเฟสแรก ที่มีจำนวน 1,165 ยูนิต ขนาดพื้นที่ใช้สอย 35.5-70 ตารางเมตร หลังจากนั้นจะปรับราคาขึ้นอีกครั้ง
           
           โครงการดังกล่าวยังได้นำแนวความคิดด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมภายใต้คอนเซ็ปต์ “LPN Green” มาใช้ในการพัฒนา เริ่มตั้งแต่การออกแบบโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน เช่น ออกแบบ และวางอาคารเหมาะกับทิศทางลม การใช้กระจกสองชั้นกันความร้อน และเสียง การบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ในพื้นที่สีเขียวภายในโครงการ ฯลฯ
           
            แล้วผลตอบรับล่ะเป็นอย่างไร?
           
           เมื่อวันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ให้ความสนใจจองซื้อห้องชุดจำนวนมาก บริษัทฯ จึงต้องขยายจำนวนห้องชุดที่เปิดขายเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว และจำเป็นต้องเปิดขายในวันต่อมาด้วยราคาขายที่ปรับเพิ่มขึ้นอีก 5% เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านต้นทุน ซึ่งก็ยังคงได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้า โดยสามารถทำยอดขายรวมได้ถึง 70% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,820 ล้านบาท 
           
           “การที่โครงการลุมพินี เพลส พระราม 9–รัชดา ได้รับการตอบรับที่ดีมาก จนทำให้ยอดขายพุ่งสูงเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากลูกค้าให้ความเชื่อมั่นในชื่อเสียง และแบรนด์ของ LPN ซึ่งมีผลต่อการกำหนดราคาขายที่สามารถทำการแข่งขันได้ และตรงกับความต้องการของลูกค้า ประกอบกับยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองจำนวนมาก ซึ่งลุมพินี เพลส พระราม 9–รัชดา สามารถตอบสนองความต้องการในทุกด้าน” กรรมการผู้จัดการ LPN กล่าว
           
           ในจังหวะไล่เลี่ยกันนี้ บริษัทยังได้เปลี่ยนโลโก้ใหม่ ที่มีความหมายสื่อถึงความมั่นคง ด้วยการเพิ่มกรอบสี่เหลี่ยมเข้าไป พื้นสีน้ำเงิน และมีรูปตึกสูงสีขาวอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ทั้งนี้การปรับโลโก้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทได้ทำการสำรวจ และสอบถามความคิดเห็นลูกค้าที่มีต่อบริษัท
           
           รวมทั้งมีการสื่อสารผ่านทางสื่อต่างๆ มากขึ้นด้วย

     LPN คือแบรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุดแบรนด์หนึ่งในตลาดคอนโดมิเนียม
           
            อาจเรียกได้ว่า Positioning ในช่วงแรกของ LPN คือคอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้าที่คุ้มค่า คุ้มราคา
           
            ปัจจุบันแม้จะมีคอนโดมิเนียมที่สร้างติดรถไฟฟ้ามากกว่าแอลพีเอ็น แต่ก็ไม่คุ้มค่า คุ้มราคาเท่า LPN และปัจจุบัน LPN จะสร้างคอนโดห่างรถไฟฟ้านับกิโลเมตร หรือไม่ได้อยู่ติดรถไฟฟ้าเลยก็ตาม แต่ Positioning นี้ก็ยังติด LPN เฉกเช่นเดิมนั่นเอง
           
            แสดงให้เห็นว่า Brand Awareness ของ LPN สูงมาก
           
            การสร้างเร็ว ปิดโครงการเร็ว ดูแลหลังการขายได้ดี ปัญหาเกิดขึ้นน้อย แม้ผู้อยู่อาศัยนับพันยูนิตในแต่ละโครงการ และสภาพแวดล้อมที่ดี ก็สามารถชดเชยความเชยของตัวตึกไปได้ เมื่อคำนึงถึงราคาที่คนหมู่มากสามารถเป็นเจ้าของได้ (Affordable Price) ทำให้แบรนด์กลายเป็นแบรนด์แรกๆ ของผู้ที่คิดจะซื้อคอนโดหลังแรกเป็นสมบัติหลังแรกในชีวิต
           
            เมื่อซื้อคอนโด LPN แห่งแรกก็จะซื้อห้องต่อไป เพราะอยู่เองก็คุ้ม ขายต่อก็ได้ราคา ทำให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า LPN มี Brand Loyalty สูง เพราะผู้บริโภคเกิดความจงรักภักดีในแบรนด์
           
            LPN ก็เลยทำ CRM กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องโดยการแจ้งให้ทราบทุกครั้งที่มีโครงการใหม่ และให้บัตรลดในการจองแต่ละห้อง
           
            อย่างไรก็ตาม ในสภาวะต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มโดยเฉพาะเหล็กเส้นนั้น กระทั่ง LPN ก็ยังต้องปรับกลยุทธ์
           
            จากเดิม LPN ค่อนข้างราคาต่ำกว่าคู่แข่งในระดับเดียวกัน ผ่อนต่อเดือนต่ำ และสร้างเร็วก่อนกำหนดเสียด้วยซ้ำ ทำให้ LPN สามารถปิดโครงการได้ภายในวันที่เปิดโครงการ ซึ่งเป็น Branding ที่ดีในสายตาลูกค้า และธนาคารพาณิชย์ ว่าเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าให้ความเชื่อมั่นอย่างสูง เปิดทีไรหมดวันแรกทุกที
           
            ทว่าการขายราคาเดียวกันทั้งโครงการภายในพริบตาเดียวนั้น ในวันต้นทุนการก่อสร้างไม่ได้ขึ้นแบบบ้าระห่ำนั้น ไม่ใช่เรื่องยากที่จะคงระดับมาร์จิ้นเอาไว้ได้ แต่ในยามนี้หากใช้กลยุทธ์ราคาเดียว วันเดียว (แต่ละชั้นเพิ่มราคาไปเล็กน้อย ชั้นสูงราคาแพงกว่าชั้นเตี้ย) LPN อาจจะต้องเฉือนเนื้อตัวเอง เพราะเมื่อค่าก่อสร้างสูงขึ้นเพราะราคาวัสดุสูงขึ้น LPN ก็ต้องจ่ายแพงขึ้น ไม่เช่นนั้นผู้รับเหมาก็คงไม่มีใครยอมสร้าง เพราะทำไปก็ขาดทุน
           
            LPN ใช้ผู้รับเหมา 30 กว่ารายมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นพาร์ตเนอร์ ย่อมต้องดูแลตรงนี้
           
            การเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องทำรายได้ และกำไรให้สูงกว่าปีที่ผ่านมา เพื่อให้เห็นถึงการเจริญเติบโต
           
            กลยุทธ์การเปิดขายทีละน้อยชั้น และขายในราคาไม่เท่ากัน จึงถูกนำมาใช้ เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงออกมา และเลือกลูกค้าเก่า และลูกค้าในพื้นที่ก่อนนั้น ทำให้ผู้คนแห่กันมาจองมืดฟ้ามัวดิน (ตามปรกติ) ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจไม่ดี และโครงการก็อยู่ห่างรถไฟฟ้าเกือบกิโล ทางเดินก็เปลี่ยวอีกต่างหาก
           
            แต่เนื่องจากราคาที่ตั้งไว้ 51,000 ต่อตารางเมตร ถือว่าต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับคอนโดในระดับเดียวกัน อีกทั้งการแจ้งให้ทราบว่าราคาจะสูงมากขึ้นไปเรื่อยๆ ในชั้นที่จะเปิดจองในเวลาต่อมา เท่ากับเป็นการใช้ Pull Marketing ดึงลูกค้าให้เข้ามาอย่างล้นหลาม จนต้องเปิดชั้นขายเพิ่ม และเพิ่มราคาอีก 5% ก็ยังขายหมด 70% เพราะอีก 30% ต้องสูงกว่านี้แน่ๆ
           
            การปรับราคาเพิ่มที่สมเหตุสมผล การออกแบบตึกใหม่ที่งามขึ้น รวมไปถึงการออกแบบผังห้องแบบใหม่ และการเลือกใช้วัสดุที่ประหยัดพลังงาน คือสิ่งใหม่ที่ LPN Add Value ให้ลูกค้า
           
            ขณะเดียวกันก็ปรับโลโก้ที่สะท้อนถึงความมั่นคงของบริษัท (เพราะบริษัทที่ไม่มั่นคง ลูกค้าจะขายความน่าเชื่อถือ)
           
            และที่สำคัญ LPN เริ่มทำสื่อสารการตลาดผ่านการใช้สื่ออื่นๆ มากขึ้น (เช่นวิทยุ) แทนที่จะใช้ Below the Line และ PR แต่เพียงอย่างเดียว
           
            เพราะการสื่อสารการตลาดนั้น ไม่จำเป็นต้อง เพื่อขายของอย่างเดียว
           
            อาจทำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ก็ได้
           
            แบรนด์ที่แข็งแกร่ง ผู้บริโภคจะไว้วางใจ
           
            จะขยายไปทำอย่างอื่นต่อก็ได้
           
            ซึ่ง LPN รู้ดีในเรื่องนี้

    (T) Threats >> อุปสรรค

     เราประมาณการรายได้ไตรมาส 4 ที่ 1,339 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% YoY โดยมีกำไร 197 ล้านบาท (EPS 0.13 บาท/หุ้น) ซึ่งอัตรากำไรขั้นต้นที่บริษัททำได้มากกว่าที่เราประมาณ การไว้ ทำให้เราต้องรับประมาณการกำไรทั้งปีขึ้นเป็น 1,050 ล้านบาท (EPS 0.71 บาท/หุ้น) สำหรับปี 53 เราคาดว่า LPN ยังสามารถเติบโต ได้ต่อเนื่องจาก Backlog ในมือที่มีแล้ว 78% ของเป้ารายได้ปีนี้ ประกอบกับความต้องการคอนโดมิเนียมระดับล่างยังมีอยู่ แต่อัตรากำไรขั้นต้นจะไม่ดีเหมือนปีก่อนเนื่องจากกฎระเบียบ ของ EIA ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้อาจทำให้ต้น ทุนของ LPN เพิ่มขึ้นประกอบกับบริษัทเจาะกลุ่มลูกค้า C+ ซึ่งเป็นระดับล่างอาจไม่สามารถ ปรับราคาได้มากนัก รวมทั้งกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้มีอัตรากำไรขั้นน้อยด้วย โดยเราประเมินกำไรปี 53 ที่ 1,080 ล้านบาท (EPS 0.73 บาท/หุ้น) และสำหรับข้อกำหนดสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด เรามองว่ามีผลกระทบโดยตรงกับบริษัท ซึ่งในอนาคตจะทำให้ต้นทุนของบริษัทสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตได้





     

    บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์

    ดาวน์โหลด คอมพิวเตอ...jpg

     การวิเคราะห์ SWOT ของ Apple Computer Inc.

         บริษัท แอปเปิ้ล เป็นบริษัท แอปเปิ้ล เป็นผู้ผลิต นวัตกรรมใหม่ ของวงการคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน Computer iMac Mac book หรือ Mac book pro สำหรับ ผู้เชี่ยวชาญ และยังมีสินค้าที่เพิ่มการเอนเตอร์เทนมากมาย เช่น iPod ที่ไว้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ในยามว่าง และ iPad ที่สามารถทำงานได้ไม่แพ้ Notebook เลยทีเดียว

    ประวัติองค์กร

        บริษัท Apple Computer Inc. ได้เกิดขึ้นจากการร่วมกันก่อตั้งของ สตีฟ จ็อบส์ และ สตีฟ วอซเนียก ทำการปฏิวัติธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 โดยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขาย ในชื่อ Apple I ที่ราคาจำหน่าย 666.66 เหรียญ ในจำนวนและระยะเวลาจำกัด ภายในปีถัดมาก็ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำยอดจำหน่ายสูงสุดให้กับบริษัท ณ ขณะนั้นคือ Apple II ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด (อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางบริษัทจะมุ่งเน้นการขายระบบปฏิบัติการมากกว่าที่จะขายผลิตภัณฑ์ไมโคร คอมพิวเตอร์ เนื่องจากประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากบริษัท Intel และ IBM ทำงานได้ดีกว่า) ต่อมาในยุค 80 Apple Inc. ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลถึงยอดจำหน่ายที่สูงขึ้นตามลำดับ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ Macintosh ซึ่งยังส่งผลให้ Apple ยังคงมีชื่อเสียงในด้านผลิตภัณฑ์มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยมาตรฐานและเอกลักษณ์ทางการตลาดที่สอดคล้องกับปณิธานองค์กรที่ว่า “คิดอย่างแตกต่าง (Think Different)” ผลิตภัณฑ์ที่มักได้รับการกล่าวถึงและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งที่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (MacBook, MacBook Pro, MacBook Air) และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (iMac, Mac Pro 2. ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Mac OSX (แมคโอเอสเท็น) 3. อุปกรณ์ฟังเพลงขนาดพกพา ได้แก่ สายผลิตภัณฑ์ iPod และ iPhone 4. อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น iSight, AirPort ฯลฯ 5. โปรแกรมและบริการเสริมต่างๆ อาทิ iTunes เป็นต้น

     SWOT Analysis : iPhone and Apple as Apple Inc’s view

    S = STRENGTH หมายถึง จุดแข็ง

    W= WEAKNESS หมายถึง จุดอ่อน

    O= OPPORTUNITY หมายถึง โอกาศ

    T= THREAT หมายถึง อุปสรรค์

    STRENGTH

    • แบรนด์เป็นที่จดจำของผู้บริโภค

    • เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง

    • ผสมลูกเล่นใน iPod เข้าไปใน iPhone ทำให้ลูกค้าเก่าของ iPod อยู่แล้วอยากใช้ iPhone

    • กลยุทธในด้านธุรกิจ Apple มี app store + iTune เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนตลาด iPhone และ Apple เพิ่มการดึงดูดลูกค้าโดยมีการ ลดราคา 30%เมื่อลูกค้าซื้อเพลง หรือ application ผ่าน iTune และ ทาง Apple ยังมี Free download ให้เลือกอีกมากมาย (Apple มี 65,000 appication อยู่ใน App Store และมีการโหลด 1.5พันล้านครั้งใน 1 ปี)

    • iPhone เป็นเจ้าแรกที่ใช้ ระบบปฏิบัติการ ของคอมพิวเตอร์อย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ นักพัฒนาโปรแกรมต่างๆ คิดค้นหรือนำระบบปฏิบัติการนี้ไปสร้างสรรคต่อได้ ภายใต้ แบรนด์ Apple ทำให้เกิดธุรกิจสร้าง Application ขึ้นมามากมาย

    • มีการโฆษณาที่ดี

    • ในทุกๆปี Apple จะทุกปี Apple จะออกเทคโนโลยีใหม่ๆและคุณสมบัติใหม่ๆที่สามารถจะชนะคู่แข่งได้อย่างสบาย

    • iPhone มี iTunes ที่สามารถดาวโหลดเพลงโดยตรง

    • Apple มีเครือข่ายโทรศัพท์โดยตรงคือ iPhone AT&T ฉะนั้นใครอยากใช้เครื่องที่มีราคาถูก ก็หันมาใช้ เครือข่ายโทรศัพท์ได้ทันที

    WEAKNESS

     • ราคาแพง

     • ทาง Apple ได้ปลดล๊อค ระบบ SIM ทำให้ลูกค้า สามารถนำโทรศัพท์ไปใช้ในระบบเครือข่ายอื่นได้

    • ขาดการดำเนินงานระหว่างประเทศ ในเรื่องช่องทางและการให้บริการ Apple มีแต่ App Store และ iTune เท่านั้น ในด้านการค้าปลีกก็ไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของลูกค้า

    • ในการซ่อม หรือ เปลี่ยนสินค้า จะต้องทำกับ Apple เท่านั้น ทำให้มีการเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

    • ขาด พันธมิตรที่แข็งแกร่ง AT&T จะหมดสัญญาในปลายปี 2010 และ Google กำลังจะกลายมาเป็นคู่แข่งใหม่โดยการส่ง Android เข้าสู่ตลาด

    • ข้อผูกมัดของ AT&T กับ iPhone ทำให้การขาย iPhone ไม่ดีเท่าที่ควร

     OPPORTUNITY

     • Trend สังคม (คนส่วนใหญ่มักจะเปลี่ยนโทรศัพท์ตามกระแส)

    • ลูกค้าพิเศษโดยเฉพาะลูกค้าที่ซื้อสินค้าของ Apple ไปแล้ว พวกเขาจะประทับใจในสินค้าและบริการของ Apple

    • ธุรกิจมีอัตราเติบโตสูงสุดในแต่ละปี เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 2007 นั่นก็หมายความว่า ผู้บริโภคกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นทุกปี

    • Smartphone ในตลาดโลกมีการเติบโตขึ้นทุกปี

    THREAT

    • มีวิธีการลักลอบ ติดตั้ง โปรแกรมโดยที่ไม่ต้องซื้อจาก App Store และยังสามารถปลดล็อค iPhone โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยข้อมูลหาทางอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้โดยง่าย

    • การกระจายสินค้าในต่างประเทศ เรื่องภาษีรัฐบาลที่ต้องนำเข้าสินค้า

     • การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลต่อการนำเข้า-ส่งออก

     • การใช้สินค้าชดเชยโดยจากคู่แข่งอื่นๆ เช่น Nokia,Blackberry ,Microsoft

    • ในตลาด Smartphone มีคู่แข่งมากเกินไป

    นางสาวณัฐธิดา พรหมมา

    52127312009

    การเงินการธนาคาร 01

    วิเคราะห์ swot บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์

    ลืมเขียนชื่อคะ อันที่ 247 คะ

    วิเคราะห์ SWOT

                                          บริษัท ปตท.จำกัด 

                                  

     

    จุดแข็ง
                  1. ปตท.เป็นยักษ์ท้องถิ่น ทำธุรกิจน้ำมันครบวงจร ทั้งโรงกลั่น ปั้มน้ำมัน ฯลฯ การทำธุรกิจครบวงจรนั้นจะมีความได้เปรียบจากบริษัทที่มีธุรกิจปั้มน้ำมันอย่างเดียว เพราะต้นทุนจะถูกกว่า ทำให้มาร์จิ้นปั้มน้ำมันที่ไม่สูงมากนัก ก็ยังมีกำไร ปัจจุบัน ปตท.ถือว่ามีอำนาจเหนือตลาดอยู่แล้ว เนื่องจากมีส่วนแบ่งตลาดมากสุด และทุกรายจะปรับเปลี่ยนราคาน้ำมันก็จะปรับตาม ปตท.ทั้งหมด
                   2.ปตท. ได้เข้าไปซื้อกิจการค้าปลีกน้ำมันของบริษัท โคโนโคฟิลลิปส์ ในประเทศไทย ซึ่งรู้จักกันภายใต้แบรนด์สถานีบริการน้ำมัน JET และร้าน Jiffy   ซึ่งการซื้อ JET นี้ถือเป็นประโยชน์ให้กับ ปตท. เนื่องจาก ปตท. มีแผนที่จะขยายสถานีบริการคุณภาพสูง จำนวน 100 สถานีอยู่แล้ว ซึ่งการลงทุนในแต่ละสถานีจะใช้เงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ใช้พื้นที่ในแต่ละสถานีกว่า 5 ไร่ และใช้ระยะเวลาการดำเนินการประมาณ 5-7 ปี ในการขยายสถานีบริการให้ได้ตามเป้าหมาย การซื้อในครั้งนี้ ปตท.ได้สถานีบริการมาทั้งหมด147 สถานี จึงเป็นการลดต้นทุนและเวลาในการลงทุน ได้มาก
                  3. ปัจจุบัน ปตท. ได้เซ็นสัญญากับร้านเซเว่น- อีเลเว่น ในการจำหน่ายสินค้าภายในสถา
    บริการของ ปตท. มีสาขาที่เปิดในปั๊มปตท.กว่า 505 สาขา (ประมาณ 13% ของจำนวนสาขาเซเว่นฯ ทั้งหมด 3,784 สาขา)


     

    จุดอ่อน
     - ปตท.ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการบริหารธุรกิจ Non-Oil  ต้องพึ่งพาอาศัยเซเว่นอีเลฟเว่นเพราะถือว่าเป็นตัวดึงดูดให้ลูกค้ามาเติมน้ำมันได้เหมือนกัน ถ้าไม่มีการต่อสัญญากับหลังจากหมดสัญญาแล้วก็อาจจะต้องหาเจ้าอื่นเข้าร่วมซึ่งจะเป็นการเสียเวลา

    โอกาส
       1.กรณีซื้อปั้มเจ็ท ปตท.จะต้องสร้างแบรนด์ใหม่สำหรับทดแทนแบรนด์เจ็ต ซึ่งย่อมไม่เหมือนปั้มปตท.เดิมๆที่มีอยู่ ปตท.อาจจะต่อยอดโมเดลปั้มเจ็ตต่อไป โดยเพิ่มเติมให้สมบูรณ์มากขึ้นเป็นพรีเมี่ยม 
       2.ปตท.มีโนว์ฮาว และมีคนที่สามารถทำธุรกิจนอน-ออยล์ ได้ เมื่อ ปตท.สร้างแบรนด์ขายน้ำมัน การสร้างแบรนด์คอนวีเนียนสโตร์ และธุรกิจนอน-ออยล์ ก็น่าจะทำได้ และเป็นผลดีต่อ ปตท.

    อุปสรรค
        - ถึงแม้ว่า ปตท. จะมีโรงกลั่น ปั้มน้ำมัน  ทำธุรกิจครบวงจร แต่ก็มีกำไรน้อยกว่าเพราะยังต้องซื้อน้ำมันจากต่างประเทศถ้ามีการผูกขาดปั้มน้ำมันโดย ปตท. ในระยะยาว ถ้ามีการขาดแคลนน้ำมัน จะมีปัญหา เพราะหากผู้ค้าระดับนานาชาติ หรือระดับโลกหายไปจากเมืองไทย สัญญาการส่งน้ำมันเข้ามาช่วยเหลืออาจจะหดหายไป ซึ่งอาจจะกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย

     

    นายประมุข      ฝักเจริญผล

    52127312019

    การเงินการธนคาร

     

    ((ขอโทษที่ส่งช้านะคับพอดีเพิ่งกลับมาจากต่างจังหวัด))

    นางสาวกรวิภา มีละกูล

    บริษัทยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จํากัด

    SWOT Analysis

    STRENGTH  จุดเเข็งของบริษัท

         ถ้าไม่นับความชอบอาหารไทยเป็นการส่วนตัวแล้ว ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ในประเทศไทยอย่าง มร.บาวเค่อ ราวเออร์ส คือ ผู้บริหารคนใหม่ของค่ายนี้ ที่เข้ามารับไม้ต่อจากประธานคนก่อน มร.ลออิค ทาร์ดี้ แบบถูกที่ถูกเวลา
                   เพราะจากประสบการณ์การบริหารบริษัทในกลุ่มยูนิลีเวอร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มา 5 ปี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานภายใต้วิกฤตของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับการรุกไปบนจุดแข็งที่ยูนิลีเวอร์ มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของตัวแบรนด์สินค้า หรือระบบการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่ง
                 “แม้การแข่งขันในตลาดเมืองไทยจะมีความรุนแรงเหมือนในหลายประเทศ แต่ก็ดีกว่าตลาดในยุโรปและอเมริกาค่อนข้างมาก เพราะยูนิลีเวอร์ไทยมีจุดแข็งหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ในตลาดเมืองไทยมาถึง 77 ปี มีความเป็นตำนานที่ภาคภูมิใจของยูนิลีเวอร์สูงมาก รวมถึงมี Positioning ที่แข็งแกร่ง ซึ่งน่าจะเป็นจุดที่สามารถช่วยให้สามารถเดินไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้ได้ไม่ยากนัก” มร.บาวเค่อ ราวเออร์ส เปิดฉากสนทนากับสื่อมวลชนเมื่อคราวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่หัวหิน เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
                   มร.ราวเออร์ส ย้ำว่า หน้าที่ของเขาในการเข้ามาบริหารที่ประเทศไทย ไม่ได้มาเพื่อเปลี่ยนแปลง แต่จะมองไปข้างหน้าเพื่อทำสิ่งที่มอยู่ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภครวมถึงคู่ค้าที่เป็นร้านค้า โดยการทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้นตามความหมายของเขา ก็คือ การรักษาความเป็นผู้นำในหลายๆ ตลาดสินค้าที่ยูนิลีเวอร์ ถือครองอยู่ให้ยั่งยืนตลอดไป
                 การเดินสู้เป้าหมายที่วางไว้จำเป็นที่จะต้องมีการรุกแบบ Aggressive มากขึ้น โดยเฉพาะกับการมีแผนรุกในระยะสั้นที่มีการปรับตัวตลอดเวลาเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของตลาด โดยเขามองว่า ตลาดเมืองไทยยังดีกว่าที่อเมริกา เพราะแม้จะมีการว่างงานเกิดขึ้นแต่ตัวเลขก็ไม่มากเท่า ขณะเดียวกัน สินค้าคอนซูเมอร์โปรดักต์เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้ จึงไม่กังวลว่า ตลาดมันจะดร็อปหรือยอดขายลดลง แต่สิ่งที่จำเป็นต้องทำ ก็คือ การกระตุ้นการใช้ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งเขามองว่า ภาวะแบบนี้ การขยายตัวในแง่ของปริมาณการใช้จะเป็นแนวทางเดียวที่น่าจะเป็นไปได้
                  “ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ต้องรุกเร็ว ยืดหยุ่น และสามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ได้ โดยเฉพาะต้องมีการบาลานซ์ให้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องพอร์ตสินค้าทั้งขนาดและราคาที่หลากหลาย สินค้าที่วางตลาดนั้นต้องมีความหลากหลายทั้งในเรื่องของขนาดและราคา รวมถึงการมี
    นวัตรกรรมใหม่ให้กับตลาด ขณะเดียวกัน ก็ต้องมองในเรื่องของการบริหาร Brand Portfolio ให้บาลานซ์ รวมถึงการบริหารเรื่องต้นทุนซึ่งเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้”
                  การรุกแบบเข้มข้นในความหมายของ มร.ราวเออร์ส ก็คือ ตามให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของตลาด ขณะเดียวกัน ก็ต้องร่วมทำงานใกล้ชิดกับคู่ค้าที่เป็นร้านค้าในทุกช่องทาง ซึ่งในเรื่องของการจัดจำหน่ายนี้ ถือเป็นจุดแข็งของยูนิลีเวอร์ ที่มีเหนือกว่าคู่แข่งขันรายอื่นๆ และยูนิลีเวอร์ก็ใช้จุดแข็งนี้สร้างแต้มต่ออย่างเสมอมา โดยเฉพาะกับการร่วมมือกับคู่ค้าในแต่ละช่องทาง ทำการตลาดร่วมกันเพื่อผลักดันการขายให้เดินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
                  นอกจากจุดแข็งของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทย จะถูกนำมาใช้เพื่อรับมือกับวิกฤตครั้งนี้แล้ว มร.ราวเออร์ส ยังมองเห็นจุดแข็งอีกอย่าง ก็คือ การทำงานร่วมกันกับยูนิลีเวอร์ ทั่วโลก ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารท่ามกลางวิกฤต ซึ่งประสบการณ์ดังกล่าวถูกนำมาใช้รับมือและปรับตัวเพื่อสร้างการเติบโตที่ดีในอนาคต
                การเลือกมองในมุมบวก ด้วยการหยิบจุดแข็งของตัวเองมาใช้ในการเดินหน้ารุกตลาดของยูนิลีเวอร์ ในครั้งนี้ ประธานคนใหม่ของยูนิลีเวอร์ไทย ยืนยันว่า ทำให้ยูนิลีเวอร์มั่นใจและพร้อมที่จะเดินหน้าลงทุนแบบต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนพลังทัพให้ยูนิลีเวอร์ ยังคงครองความเป็นเบอร์ 1 ในตลาดเมืองไทยแบบยั่งยืน...

     จุดอ่อนของบริษัท

    1. ธุรกิจมีการเเข่งขันที่มีมากในธุรกิจ

    2. มีการลงธุรที่มีวงเงินมาก

    3. การตลาดมีการปรับระบบการขายในมีรูปเเบบที่เเปลกใหม่อยู่ตลอด

    4. สินค้าบ้างชนิดยังเข้าไม่ถึงตัวลูกค้า

    OPPORTUNITY โอกาสที่ได้รับ

        ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่เก่าแก่ที่สุดของยูนิลีเวอร์ในภาคพื้นเอเชียชื่อเสียงอันโดดเด่นของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2451 เมื่อบริษัทได้รับหนังสือแต่งตั้งให้เป็นช่างทำสบู่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และนับแต่ที่โรงงานแห่งแรกของยูนิลีเวอร์เริ่มดำเนินการผลิตใน พ.ศ. 2475 ผลิตภัณฑ์และตราสินค้าต่าง  ๆ ของบริษัทฯ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ซึ่งในจำนวนเหล่านี้ได้กลายมาเป็นจ้าวตลาดในกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักของยูนิลีเวอร์   อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ซักล้างผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม  ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ผลิตภัณฑ์ชำระล้างร่างกาย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดครัวเรือนและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ด้วยตราสินค้าที่รู้จักกันดี  อันได้แก่ บรีส ลักส์ โอโม ซันไลต์ ใกล้ชิด ซันซิล ออร์แกนิกส์ พอนด์ส เรโซน่า และวอลล์

    อุปสรรค

    มีการเเข่งขันกันมากในทางการตลาด สินค้าที่นำออกมาตีตลาดอยู่เสมอ

     

     

    นางสาวกรวิภา  มีละกูล บริหารธุรกิจ

    (การเงินการธนาคาร 02) ปี 2

    รหัสนักศึกษา 52127312044

    นางสาวหัทยา กัววงศ์

    บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

             

              ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสถานการณ์โลกผันผวนแปรเปลี่ยนไม่แน่นอน ส่งผลให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ และแนวทางดำเนินธุรกิจให้สามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางภาวการณ์เช่นนี้ หลายองค์กรเริ่มเล็งเห็นความสำคัญ หันมาปรับตัว ปรับแผนงาน รวมถึงคำนวณแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสามารถกำหนดทิศทาง นโยบายเชิงสร้างสรรค์ ในการนำพาองค์กรผ่านวิกฤติๆไปสู่ความแข็งแกร่ง และสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อีกนานเท่านาน

              “ ผู้จัดการรายสัปดาห์” ฉบับนี้ขอนำ Best Practice ประสบการณ์จริงของ 2 องค์กรชั้นนำจาก ธุรกิจพลังงาน –โทรคมนาคม “ปตท.-ดีแทค”มานำเสนอ เพื่อเรียนรู้หลักการสำคัญในการสร้างองค์กรให้ยั่งยืนตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงอนาคต และแนวทางในการปรับเปลี่ยนมุมมองวิธีคิด และลงมือปฎิบัติจริง

    นโยบาย

               อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอาจมีความเสี่ยง บริษัทจึงให้ความสำคัญด้าน การบริหารความเสี่ยง และมีแผนรองรับในอนาคต ทั้งด้านการสร้างคนระดับ Leadership และ Talent ทั้งนี้ เพราะบริษัทมองว่า ในอีก 12 ปีข้างหน้า ปตท.จะขาดแคลนผู้บริหารระดับ VP เป็นจำนวนมาก และผลสำรวจผู้บริหาร ถึงสิ่งที่จะทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายอนาคตกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า คนและกระบวนการ ( People and Process )

               ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด มหาชนให้ข้อสรุปว่า องค์กรยั่งยืนได้จะต้องประกอบด้วย 1. High Performance Organization : HPO 2. ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Corporate Socail Responsibility: CSR 3. ธรรมาภิบาลโปร่งใส Clear Governace : CG และการเติบโต โดยแต่ละข้อมีการผสมผสานกัน

                ในการบริหารองค์กรให้เป็นHPO สิ่งที่จะต้องทำ คือ ภาวะผู้นำ (Leadership) นวัตกรรม ( Innovation) และองค์ความรู้ (Knowleage Management) รวมถึง IT และการทำองค์กรให้เป็นเลิศ “ ไม่ว่าบริษัทในเครือทำธุรกิจอะไรเราต้องมีbenchmark ไม่เฉพาะกับบริษัทในประเทศและยังรวมไปถึงบริษัทในเอเชียแปซิฟิก และต้องพยายามอยู่อันดับต้นให้ได้ เพราะเวลาเกิดวิกฤติเราจะสามารถอยู่รอดได้”

    จุดอ่อน

               การทำธุรกิจของปตท.ทุกวันนี้ผูกไว้กับวิกฤติพลังงานโลก ( world energy crisis) ดังนั้นไม่ว่าธุรกิจในเครือดำเนินอะไร คู่แข่งขันมักเป็นบริษัทข้ามชาติในต่างประเทศ “ อาทิ ธุรกิจโรงกลั่น คู่แข่งสำคัญ คือ จีน และอินเดีย แข่งขันกันในธุรกิจปิโตรเคมี รวมไปถึง ตะวันออกกลาง สิงคโปร์ ไต้หวัน เพราะเราเชื่อว่า ธุรกิจอยู่รอดได้ ขึ้นอยู่กับตัวเรา”

    จุดแข็ง

              ทั้งนี้ ซีอีโอ คนเดิม กล่าวเพิ่มเติมว่า “ ปตท. เชื่อว่า การทำธุรกิจแบบLong Term Growth สิ่งที่ทำให้ยั่งยืน และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ จะต้องมีทั้งHPO ,CSR,CG เพราะ ธุรกิจต้องเติบโตไม่โตก็ต้องตาย แต่จะเติบโตอย่างไรให้ยั่งยืนจะต้องมีผลการดำเนินพอสมควร เท่านั้นยังไม่พอต้องมีความใส่ใจสนใจสิ่งแวดล้อม อยู่ตามลำพังแบบดี-เด่นคนเดียวไม่ได้ และถึงแม้อยากอยู่คนเดียว แต่ผู้ถือหุ้น นักการเมือง สื่อมวลชน และเอ็นจีโอ ก็ไม่ยอม ” ซีอีโอบอก ทางเลือกของปตท.ที่เชื่อว่า จะทำให้องค์กรอยู่ได้ยั่งยืนและเป็นองค์กรอายุ 100 ปีได้ไม่ยาก และองค์กร ประเภท The Most Admired Company ได้ไม่ยาก

               ขณะที่ การขยายกิจการ เป็นสิ่งที่ดี ทำให้ธุรกิจมีเครือข่ายที่ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็ง “ ปตท.เข้มแข็ง ประเทศไทย ตลาดทุน เข้มแข็งแน่นอน เพราะทุกท่านคือเจ้าของ กำไรปตท.กลับคืนสู่รัฐบาล ดังนั้นธุรกิจปตท.อยู่ในมือคนไทย มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ”

    โอกาส
               อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า การจะทำให้ปตท.เป็นองค์กรติดอันดับTop 100 ของฟอร์จูน ได้หรือไม่ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งนัก กับแผนอนาคตที่จะเป็นบริษัทข้ามชาติ โดยจะมีการลงทุนทั้งในธุรกิจปิโตรเคมี พลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในธุรกิจ และเป็นสิ่งท้าทายยิ่งนัก กับการเติบโตของบริษัทปตท.ตั้งแต่ปี 2551-2555 ที่จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 15 เปอร์เซ็นต์


               เขาย้ำว่า สิ่งที่ปตท.จะได้รับ หากมี CG และ CSRที่ดี จะได้รับความเชื่อมั่นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักลงทุน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตขององค์กรให้มี “การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

               “ ทั้ง CG และ CSR ช่วย เสริมสร้างความเชื่อมั่น และมูลค่าหุ้นสูงขึ้น สำหรับผู้ถือหุ้น นักลงทุน หน่วยงานภาครัฐก็อำนวยความสะดวกด้านภาษี และกฎระเบียบ สื่อมวลชนให้ความสนใจเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและภาพลักษณ์ที่ดีของปตท. ขณะที่ลูกค้า-ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่ดีและมีคุณภาพ ทำให้ความภักดีต่อองค์กร คู่ค้าก็ได้รับความเป็นธรรม และเป็นพันธมิตรต่อกัน ขณะที่สังคมก็จะได้รับประโยชน์เกื้อกูลกันและกัน”

                 นอกจากการเติบโตแล้ว ประเสริฐบอกว่า การวัดKPIของปตท. ยังดำเนินอย่างเข้มข้น “เงินเดือนของซีอีโอ ผู้บริหารขึ้นอยู่ผลการดำเนินงานบริษัท และยังใช้ Balance Scored Card เข้ามาวัดทุกมิติทั้งoperation ผู้มีส่วนได้เสียและคู่ค้า

    ปรับทัศนคติ-พิชิตวิกฤติ
                 ธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มพาณิชย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ดีแทคสามารถผ่านพ้นวิกฤติธุรกิจครั้งสำคัญเมื่อปี 2545 คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและวิธีคิด โดยหลังจากวิเคราะห์องค์กรเพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ( SWOT )โดยพยายามดูที่จุดแข็งแล้วพัฒนาต่อยอดไป แต่ก็พบว่า จุดอ่อน และอุปสรรค์ก็มากกว่า

                “ ทั้งระบบเครือข่ายและความสามารถด้านการตลาดของคู่แข่งที่เหนือกว่า ทั้งแบรนด์เอไอเอส ออเรนจ์และฮัทช์ ขณะที่จุดแข็งแทบมองไม่เห็น ในที่สุดก็ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงและเลือกทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม คือ เปลี่ยนทัศนคติ และคิดสู้แบบมวยรองแทน ”

                 ธนาบอกว่า การต่อสู้แบบมวยรอง (underdog ) คือ การทำอะไรก็ได้ที่ไม่ตามคู่แข่ง และทำตามศักยภาพ กำลังเงินและคนที่มีอยู่“ ความคิดมวยรอง เน้นแข่งขันสู้แบบไม่มีตำรา รูปแบบ และไม่ทำตามคู่แข่ง ถ้าทำตามก็แพ้ทันที มันฝืนความรู้สึก แต่ลงมือทำไปแล้วก็สนุก ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (creativity)" เขาบอกและย้ำว่า

                 "ความคิดมวยรอง มันเป็นทัศนคติที่ไม่ได้ทำแค่ครั้งเดียว แต่ทำหลายๆครั้งซ้ำแล้วๆ และนอกจากการยอมรับแล้ว ยังได้ปฎิบัติ ตัวแบบมวยรองด้วยหรือเปล่า”

                 รูปแบบมวยรอง ถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาทั้งในด้านสินค้าและกลยุทธ์อย่างได้ผล ธนา ยกตัวอย่างให้ฟังว่า

                “ ตอนนั้นเราอยากไปโฆษณาในต่างจังหวัดทั่วประเทศ เอเยนซี่ให้คำแนะนำต้องใช้เงิน 3-5 ล้านต่อครั้ง และยังต้องจัดคอนเสิร์ตด้วย วิธีมวยรองหาข้อมูลและโทรไปติดต่อสายหนังเองในแต่ละภาคทุกภาค และใช้ทีมงานของเราเองลงพื้นที่ ทำรูปแบบตามพื้นที่เอง ผลที่ได้ดีมาก” 

                 เมื่อปรับเปลี่ยนความคิดแล้ว สิ่งที่ปฎิบัติทั้งระดับผู้บริหารระดับบนสุดจนถึงพนักงาน คือ การเดิน “ มันเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุด ทำให้รู้สึกมีสติอยู่ตลอดว่าเราเป็นมวยรอง และลงมือทำอย่างจริงจังตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงาน ไม่เว้นผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทแม่ ก็ครั้งมาเมืองไทย เราก็พาไปเดินสำรวจห้างสรรพสินค้า”

                 ในกรณีไอเดียตีบตัน การเดินไปหาลูกค้าก็เป็นแนวทางที่ดีที่สุด “ เมื่อไหร่ก็ตามไอเดียเริ่มตันเราก็จะเดิน เช่น สำรวจความต้องการของลูกค้า ทำกิจกรรม ก็พบว่า ผู้ใช้บริการของดีแทคไม่ใช่วัยรุ่น แต่คนทั่วไป เช่นพ่อค้า แม่ขาย แท็กซี่ คนงาน ชาวนา จึงเปลี่ยนpositioning และการขาย รวมถึงช่องทางจัดจำหน่ายให้เป็นแมสมากขึ้น ”

                 ไม่เว้น บริการยอดฮิต “ ยืมเงินโทร” เขาบอกว่า ได้มาจากการเดินนั่นเอง "ไอเดียยืมเงินค่าโทร ซิมขนาดเล็ก มาจากลูกค้าที่เราเดินไปพบและเสนอไอเดียมาให้แล้วก็มาถามกับฝ่ายเทคนิคสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ผ่าน ปัจจุบันได้เป็นบริการอันดับของแทคไปแล้ว เดือนละ 4 ล้านคน บริษัทเก็บค่าฟรี2บาทต่อครั้ง นอกจากนี้ยังติดอันดับบริการสังคมระดับโลกอีกด้วย” 

                  ทั้งยังเล่าติดตลก เปรียบเทียบกับการจีบผู้หญิงของหนุ่มวัยนักคึกษา “ เวลาจีบผู้หญิงในสมัยเรียน เมื่อมีหนุ่มคู่แข่งร่ำรวยกว่า ก็ต้องใช้ความจริงใจเข้าสู้ ก็ไม่ต้องใช้เงิน แต่เป็นการเอาใจใส่สาว เช่น ร้องเพลง เล่นกีต้าร์ ดูหมอ เล่นกล เป็นวิธีต้นทุนต่ำ แต่ใช้ความจริงใจ” 

                  นอกจากนี้ แนวคิดเกี่ยวกับ แบรนด์ ก็สำคัญและยังสะท้อนถึง แนวทางธุรกิจยั่งยืน ธนาบอกว่า แบรนด์ คือ ประสบการณ์ที่ลูกค้าจำฝังใจ และรู้สึกกับแบรนด์ โดยแบรนด์สามารถเป็นได้องค์กร คน หรือ สินค้า ก็ได้ สำหรับดีแทคนั้น การให้ความสำคัญกับลูกค้า โดยเฉพาะบรรดาผู้จำหน่ายทั้งหลายด้วยการไปเยี่ยมร้านค้าเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ก่อให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ได้

                  “ เราไปเยี่ยมร้านค้าทุกอาทิตย์ มาแก้ไขปัญหาต่างๆให้ มันเป็นความรู้สึกจำฝังใจและรักเรามาก ทำให้แบรนด์เป็นเสมือนrelative ที่สำคัญลูกค้าจะรู้สึกดีกับแบรนด์แล้วนำไปเปรียบเทียมกับแบรนด์อื่นๆในที่สุดนานวันก็เลิกขายแบรนด์อื่นไปเลย ” ธนาย้ำในตอนท้าย

                 เรียบเรียงจาก งานสัมนา APM Group &Prachachat Forum ครั้งที่ 1 ประจำปี 2551 ในหัวข้อเรื่อง Rewind Pause Forward : We must become the change we want to see หรือ แนวคิดในการปรับเปลี่ยนมุมมองการคิดและลงมือปฎิบัติ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม 2551 ณ.โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ รางน้ำ   

    ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน

    การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)

     

               

     

    จุดแข็ง

    1.ผู้บริหาร มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน การพัฒนาองค์กร  และเปิดรับความรู้ใหม่ๆในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอยู่เสมอ

    2.ผู้บริหารมักเป็นผู้กว้างขวางของจังหวัด  ทำให้การประสานงานภายในจังหวัดเป็นไปโดยสะดวก

    3.ทำเลที่ตั้งของสถานีบริการน้ำมันมักตั้งอยู่บริเวณหัวมุมสี่แยก สะดวกในการเข้าใช้บริการของคนในพื้นที่ และผู้สัญจรไปมา 

    4.ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง คาลเท็กซ์ มีคุณภาพดี และราคามาตรฐาน

    จุดอ่อน

    1.ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังยังไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ขาดประสิทธิภาพใน

    การบริหารเงินทุนหมุนเวียน และมีสินค้าคงคลังรั่วไหล

      2.  ระบบการจัดเก็บเงินจากลูกหนี้ยังไม่เป็นมาตรฐานและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้มีโอกาสจะเกิดหนี้สูญ

    โอกาส

    1.นโยบายของภาครัฐ ให้การสนับสนุนการประกอบการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านต่างๆ เช่นการให้คำปรึกษาในการดำเนินธุรกิจ และการจัดหาแหล่งเงินทุน

    2.น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสินค้าที่มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ใช้กับยานพาหนะ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงหดตัวหรืออยู่ในช่วงเฟื่องฟู ความต้องการใช้น้ำมันยังคงมีอยู่อีก ทั้งเป็นสินค้าที่ไม่ค่อยมีความยืดหยุ่นต่อราคา และน้ำมัน        คาลเท็กซ์ได้รับการส่งเสริมและช่วยเหลือในด้านต่างๆ จากบริษัทผู้จัดจำหน่าย

    อุปสรรค

    1.ปั๊มน้ำมันคู่แข่งขัน ในบริเวณใกล้เคียงอาจมีความพร้อมในการให้บริการที่ครบวงจร และมีการส่งเสริมการขายและการตลาดมากกว่า

    2.พฤติกรรมของผู้ใช้บริการปั๊มน้ำมัน เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม คือ แทนที่ผู้ใช้บริการจะเข้ามาเติมน้ำมันอย่างเดียว แต่จะเข้ามาใช้บริการอื่นๆ เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ตลอดจน เพื่อรับประทานอาหาร หรือซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านสะดวกซื้อ ดังนั้นกิจการจึงมีโอกาสที่จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาด ให้แก่ ปั๊มน้ำมันคู่แข่งที่มีความพร้อมในการให้บริการได้มากกว่า

     

    นางสาว สาวิตรี  จินดารัตน์

         ID 52127312034

       การเงินการธนาคาร 01

    การวิเคราะห์ SWOT ของภัตตาคาร/ร้านอาหารของไทยก่อนจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

    จุดแข็ง

    อาหารไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมาช้านานด้วยรสชาดที่หลากหลายอันเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทย  และราคาอาหารไม่แพงเกินไป 

    จุดอ่อน

    อาหารไทยใช้เวลาในการประกอบอาหารพอสมควร  เนื่องจากความพิถีพิถันในการคัดสรรส่วนประกอบของอาหาร

    โอกาส

    จากการที่รัฐบาลจีนกำหนดกฎระเบียบใหม่สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศในลักษณะผู้ร่วมค้านั้น  ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสในการขยายตลาดร้านอาหารไทยในจีนมากยิ่งขึ้น  ซึ่งจากเดิมร้านอาหารไทยมีอยู่จำนวนไม่มากนัก  และไม่เพียงแต่การขยายตลาดในประเทศจีนเท่านั้น  ถ้ารัฐบาลยังคงมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจนี้อย่างสม่ำเสมอ  การบุกเบิกตลาดในประเทศอื่นๆ ก็จะยิ่งมีมากขึ้น

    ภาวะคุกคาม

    กิจการร้านอาหารไทยมีการแข่งขันสูงกับร้านอาหารจีนมาเป็นเวลาช้านาน  ส่วนคู่แข่งรองลงมาคือ ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในกรุงเทพฯ  และเช่นเดียวกับจีน  ร้านอาหารแบบ Fast Food ของอเมริกันก็เข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน  โดยเฉพาะ McDonald’s,  KFC, Pizza Hut, Pizza Company, Sizzler และอื่นๆ มากมาย  ซึ่งความนิยมดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะวิถีชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนไปในแบบตะวันตกมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มวัยรุ่น

    นางสาวสุกัญญา พวงทอง

    ID:52127312014

    การเงินการธนาคาร01

    นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

    ธุรกิจน้ำยาปรับผ้านุ่ม
    การวิเคราะห์สถานการณ์ ( SWOT Analysis )

    จุดแข็ง (Strength)
    • ผู้บริหารมีความรู้ด้านการผลิตเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น
    • ที่ตั้งของกิจการอยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงสามารถกระจายสินค้าไปยังแหล่งต่างๆ ได้สะดวก
    • ขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้พนักงานที่มีประสบการณ์สูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ
    • สินค้าราคาถูก

     

    จุดอ่อน (Weakness)
    • ลักษณะการบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรจุภัณฑ์
    ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น เช่น ปุ๋ยเคมี  ทำให้ขาดรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
    • ผลิตภัณฑ์ของกิจการ ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมาก ดังนั้นจึงสามารถจำหน่ายได้เฉพาะในเขตจังหวัด
    ใกล้เคียงและเฉพาะตลาดล่างเท่านั้น
    • กิจการขาดระบบจัดการ และระบบบัญชีการเงินที่เป็นมาตรฐาน  ทำให้ขาดข้อมูลแสดงสถานะการผลิต
    และการเงินที่ช่วยพิจารณาตัดสินใจด้านการจัดการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

    โอกาส (Opportunity)
    • ยังไม่มีผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในเขตพื้นที่ อ.เมือง จึงไม่มีปัญหาการแข่งขัน
    • การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2546 ทำให้อัตราการเติบโตในภาคการผลิตและบริโภค
    เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดน้ำยาปรับผ้านุ่มด้วย

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    อุปสรรค (Threat)
    • มีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ หลายราย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ
    ผู้ผลิตเหล่านี้มีกำลังในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์มาก
    ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าของคู่แข่งเป็นที่รู้จักและมีภาพลักษณ์ที่ดี
    • สภาวะการแข่งขันนอกเขต อ. เมือง จ. สระบุรีและพื้นที่
    จังหวัดใกล้เคียงค่อนข้างรุนแรงโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ
    ทำให้ยากต่อการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายของกิจการได้
    ในอนาคต

     

     

     

    นาย เจติพันธ์ จ้อยชู

    52127312062

    การเงินการธนาคาร02

     

     

    ธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

    การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)

    จุดแข็ง

    1. ผู้บริหารมีความรู้ และสูตรในการผลิตน้ำพริกเป็นอย่างดี และดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำพริกมาเป็นเวลายาวนาน
    2. มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แน่นอน โดยทำสัญญาส่งเป็นรายเดือนกับบริษัทตัวแทนจำหน่าย
    3. ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าจากองค์กรอาหารและยา ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินการ
    4. มีต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้สามารถตั้งราคาขายได้ถูกกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันในตลาด
    5. กิจการตั้งอยู่ใกล้แห่งวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตน้ำพริก ทำให้มีต้นทุนในการขนส่งด้านวัตถุดิบที่ต่ำ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องสำรองวัตถุดิบไว้มาก
    6. เงินลงทุนเริ่มแรก เป็นเงินลงทุนของผู้ก่อตั้งเองทั้งหมด ทำให้กิจการไม่มีปัญหาภาระหนี้สิน

    จุดอ่อน

    1. ตราสินค้าของกิจการยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ตราสินค้าให้ผู้บริโภครับรู้เท่าที่ควร
    2. กิจการมีการดำเนินการในลักษณะ Labor Intensive ทำให้การเพิ่มกำลังแรงงาน และกำลังการผลิตเป็นได้ยาก
    3. พนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับแรงงาน ทำให้การพัฒนาทักษะฝีมือต้องใช้เวลามาก
    4. สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ในเขตที่พักอาศัยของชุมชน ทำให้เกิดข้อจำกัดในด้านการขยายกำลังการผลิต

    โอกาส

    1. น้ำพริกเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน และเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาโดยตลอด ทำให้สินค้าสามารถขายได้อย่างสม่ำเสมอ
    2. รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างจริงจัง ทำให้เป็นโอกาสในการขยายการผลิต

    อุปสรรค

    1. เป็นอุตสาหกรรมที่ลงทุนไม่มาก ทำให้มีคู่แข่งในตลาดจำนวนมาก
    2. สินค้าเลียนแบบได้ง่าย  ทำให้กิจการจำเป็นต้องสร้างความแตกต่าง รวมทั้งสร้างการรับรู้ในตราสินค้าให้กับกับผู้บริโภค
    3. สูตรและฝีมือการทำน้ำพริกของผู้ผลิตแต่ละรายไม่แตกต่างกันมาก  ทำให้ผู้บริโภคแยกความแตกต่างของสินค้าได้ยาก
    4. น้ำพริกเป็นสินค้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบตามธรรมชาติเป็นหลัก ดังนั้นทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องของผลผลิตขาดตลาด หรือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ

     

    น.ส.สุนทร พุ่มขจร

     

    การเงินการธนาคาร02

    รหัส52127312040

     

    ธุรกิจน้ำยาปรับผ้านุ่ม

    การวิเคราะห์สถานการณ์ ( SWOT Analysis )

    จุดแข็ง (Strength)

    • ผู้บริหารมีความรู้ด้านการผลิตเป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น
    • ที่ตั้งของกิจการอยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงสามารถกระจายสินค้าไปยังแหล่งต่างๆ ได้สะดวก
    • ขั้นตอนการผลิตไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้พนักงานที่มีประสบการณ์สูง ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ
    • สินค้าราคาถูก

    จุดอ่อน (Weakness)

    • ลักษณะการบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น เช่น ปุ๋ยเคมี  ทำให้ขาดรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
    • ผลิตภัณฑ์ของกิจการ ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมาก ดังนั้นจึงสามารถจำหน่ายได้เฉพาะในเขตจังหวัดใกล้เคียงและเฉพาะตลาดล่างเท่านั้น
    • กิจการขาดระบบจัดการ และระบบบัญชีการเงินที่เป็นมาตรฐาน  ทำให้ขาดข้อมูลแสดงสถานะการผลิต และการเงินที่ช่วยพิจารณาตัดสินใจด้านการจัดการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

    โอกาส (Opportunity)

    • ยังไม่มีผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในเขตพื้นที่ อ.เมือง จึงไม่มีปัญหาการแข่งขัน
    • การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2546 ทำให้อัตราการเติบโตในภาคการผลิตและบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดน้ำยาปรับผ้านุ่มด้วย

     

    อุปสรรค (Threat)

    • มีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ หลายราย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ ผู้ผลิตเหล่านี้มีกำลังในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์มาก ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าของคู่แข่งเป็นที่รู้จักและมีภาพลักษณ์ที่ดี
    • สภาวะการแข่งขันนอกเขต อ. เมือง จ. สระบุรีและพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงค่อนข้างรุนแรงโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ทำให้ยากต่อการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายของกิจการได้ในอนาคต

    น.ส. สโรชา บัวสาย

    การเงินการธนาคาร02

    รหัส52127312047

    นางสาวรติรส มานะไพร

    การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT ANALYSIS)

     

    ธุรกิจร้านงานด่วนในห้างสรรพสินค้า

     

    จุดแข็ง

     1. เป็นธุกิจที่ลงทุนไม่มากคืนทุนได้เร็ว

    2. กำไร 300-1500% นับว่าสูงมาก

    3. เรียนรู้ได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป

    แต่ผู้ประกอบการจะต้องชอบการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ประเภทกราฟฟิก

    4. จุดเด่นหลัก คือ ความเร็ว ลูกค้าสามารถรอรับได้เลย

    5. ห้างสรรพสินค้ามีคนเดินมาก โอกาศได้งานมีสูง

    6. เครื่องหนึ่งอย่างสามารถรับงานได้หลายประเภท

    ทำให้เกิดงาน ประยุกต์ หลากหลายขึ้น โดยลงทุนเท่าเดิม

    7. มีโปรแกรมลิขสิทธิ์ให้ใช้ควบคู่กับเครือของเรา

     

    จุดอ่อน

     1. ปัจจุบันมีความจริงจังเรื่องโปรแกรม ลิขสิทธ์มากขึ้น การใช้โปแกรมดีๆ

    แต่ไม่ถูกต้องตาม ลิขสิทธ์ บางครั้งอาจเกิดปัญหาการถูกจับละเมิดได้

    เช่น CORELDORAW, PHOTOSHOP,WINDOW

    และโปรแกรมแท้ยังมีราคาสูงอยู่

    2. เปิดร้านเริ่มต้นยังไม่มีลูกค้าประจำ จะต้องใช้กลยุทธมากขึ้น

    เช่น วิธีการโปรโมทร้านค้า,เว็บบอร์ด,โปรเตอร์ในลิฟท์,ใบปลิว เป็นต้น

    รอ 3-6 เดือน จะเริ่มมีลูกค้าประจำ

    ในช่วงเริ่มต้นต้องคิดหาวิธี ทำการตลาดเชิงรุก เข้าไปด้วย

    3. ค่าเช่าสูง และต้องมีค่ามัดจำด้วย ทำให้ลงทุนมากขึ้น

    แก้ไขด้วยการ พูดคุยต่อรอง กับฝ่ายขายพื้นที่ หรือขอผ่อนผัน 

     

    โอกาส 

    1. ไม่มีร้านค้าประเภทเดียวกันในห้างที่คุณจะตั้งอยู่ ร้านค้าคู่แข่งอยู่นอกห้าง

    ซึ่ง พฤติกรรมของคนในจังหวัดที่คุณอยู่นั้น คนชอบเดินเล่นในห้าง

    2. ร้านค้าคู่แข่ง ไม่ได้บริหารงานด้วยตัวเจ้าของร้านเอง ร้านเก่า ทรุดโทรม

    ขาดความน่าเชื่อถือ จุดนี้ เราสามารถ แข่งขันได้ อย่างแน่นอน เป็นต้น

    3. ราคาขายของร้านคู่แข่งสูงมาก และเจ้าของร้านไม่ค่อยรับแขก

    เพราะเปิดมานานแล้ว คิดว่ามีลูกค้าประจำ แต่ลูกค้าอาจหลุดมาร้านเราก็ได้

    4.  เราใช้เทคโนโลยีล่าสุดทำให้ง่ายต่อการแบ่งปัน คุณภาพดีกว่าแน่นอน

    และต้นทุนก็น่าจะต่ำกว่าด้วยเช่นกัน

     

    อุปสรรค 

    1. เป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่มาก อาจมีคู่แข่งเกิดขึ้นภายหลังได้

    ดังนั้นจึงต้องคิดให้ แตกต่างอยู่เสมอ

    2. พื้นที่เช่าในห้างมีการแข่งขันสูง ทำให้หาพื้นที่สวยๆยากขึ้น

    หรือ อาจได้ในราคาสูงเกินไป         

     

     

    นางสาวรติรส มานะไพร

    การเงินการธนาคาร 02

    รหัส 52127312048

    ตั้งแต่ต้นปี 2545 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่งสัญญาณแข่งขันที่ร้อนแรง โดยนับตั้งแต่สิ้นสุดปี 2544 ตัวเลขที่จัดเก็บและสรุปโดย เอซี เนียลเซ่น ระบุว่า ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่ารวม 8,700 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตถึง 12% เมื่อเทียบกับปี 2543 ซึ่งนับว่าสูงกว่าทุกปี นับแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

    จุดแรกมาดูที่โครงสร้างการผลิตและการตลาดของ "มาม่า" ก่อน ปัจจุบัน มาม่า มี 3 ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การผลิต ซึ่งผู้รับผิดชอบคือ ทีเอฟ หรือไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์ ด้านการตลาด และจัดจำหน่ายคือสหพัฒน์ และโฆษณาคือ ฟาร์อีส เป็น 3 ส่วน 3 บริษัท ที่มีเป้าหมายเชิงธุรกิจ ที่ต้องการเติบโตด้วยกันทั้งสิ้น และต่างเป็นบริษัทในเครือสหกรุ๊ป แต่กลับขาดจุดร่วมในการที่จะผลักดันมาม่าให้เติบโตยิ่งขึ้น
    เหตุเพราะว่า สหพัฒน์ รับผิดชอบด้านการตลาดและจัดหน่าย แต่พอเจอระบบโครงสร้างค้าปลีก ที่โมเดิร์นเทรดเป็นใหญ่ มีอำนาจต่อรองสูง ต้องปันงบโฆษณามาใช้เพื่อการผลักดันสินค้าเข้าร้าน ทำให้พอถึงคราวจำเป็นต้องโฆษณา เงินกลับหมด
    จึงทำให้ จับไต๋ได้ว่า ตอนต้นปีที่เคยประกาศว่า จะใช้งบการตลาดรวม 300 ล้านบาท นั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะงบหลักๆ ที่เห็นอยู่ ก็คือ ฉลองมาม่า ครบ 30 ปี แจกทอง 30 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่การโฆษณา รสชาติใหม่ ในช่วงต้นปี คือ บะหมี่หยกแห้งรสเป็ดย่าง ก็แค่ผิวๆ จากนั้นแรงโฆษณา ให้เห็นแบรนด์มาม่า ก็แผ่ว จนมาโด่งดังอีกครั้งก็ในช่วงลอนซ์ มาม่ารสต้มยำกุ้งน้ำข้น ที่มีการยิงโฆษณาถี่ ได้ผลตอบรับมากที่สุด แต่มาเฉลยที่หลังว่า แท้จริงผู้จ่ายเงินค่าโฆษณา ก็คือ ทีเอฟ ที่จ่ายให้เดือนละประมาณ 10 ล้านบาท เหตุเพราะว่า สหพัฒน์เงินหมด กับการที่ต้องจ่ายค่าแรกเข้าให้กับบรรดายักษ์ใหญ่ดิสเคาท์สโตร์ทั้งหลาย
    เมื่อพิจารณากับปัญหาอื่นๆ อาทิ เรื่องการจัดหน่าย ที่ขาดการสานสัมพันธ์กับร้านค้าทั่วประเทศ การพยายามปรับตัวเพื่อคานอำนาจกับบรรดายักษ์ใหญ่ดิสเคาท์สโตร์ การมีโครงการการผลิตและการตลาดที่ไม่มีเอกภาพ จึงทำให้ การขับเคลื่อนของ มาม่า จึงเป็นไปอย่างเชื่องช้า
    ผลด้านยอดขายที่ออกมาปีนี้ "มาม่า" ไม่มีการเติบโต ทั้งๆ เมื่อต้นปีตั้งเป้าว่าจะโต 5% จากยอดขาย ณ สิ้นปี 2544 ที่ปิดที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท จึงเป็นคำตอบที่ดีว่า ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา "มาม่า" พลาดท่าไปอย่างน่าเสียดาย

     มาม่า
     จุดแข็ง

     

     

    1. บริษัทมีชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีทั้งยังเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยชื่อแบรนด์ "มาม่า"เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคนึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง "บะหมี่กึ่งสำร็จรูป"
    2. มาม่ามีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึงทั่วประเทศ
    3. สินค้าตัวหลักของมาม่าต้มยำกุ้ง และ หมูสับ เป็นที่ต้องการของตลาดมาก

    4. เป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆเห็นได้ชัดจากเป็นผู้ผลิตรายแรกที่เปลี่ยน

     

     

     จุดอ่อน

     

    1. การพัฒนารสชาติใหม่ๆ มีน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ คือ หลังจาก มาม่าโฮลวีท พริกไทยดำ เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่มาม่าไม่ได้ออกรสชาติใหม่เลย

    2. การปรับขึ้นราคาเพื่อให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนทำได้ลำบาก

    นางสาวรัดเกล้า ทองคำ รหัส 52127312025 การเงิน 01

     

     

    แก้ไขงานค่ะ

    มาม่า

    จุดแข็ง
     

    1. บริษัทมีชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีทั้งยังเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค โดยชื่อแบรนด์ "มาม่า"เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคนึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อกล่าวถึง "บะหมี่กึ่งสำร็จรูป"

     

    2. มาม่ามีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึงทั่วประเทศ

     

    3. สินค้าตัวหลักของมาม่าต้มยำกุ้ง และ หมูสับ เป็นที่ต้องการของตลาดมาก

    4. เป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมใหม่ๆเห็นได้ชัดจากเป็นผู้ผลิตรายแรกที่เปลี่ยน

    จุดอ่อน

    1. การพัฒนารสชาติใหม่ๆ มีน้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ คือ หลังจาก มาม่าโฮลวีท พริกไทยดำ เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่มาม่าไม่ได้ออกรสชาติใหม่เลย 

    2. การปรับขึ้นราคาเพื่อให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนทำได้ลำบาก

     

    3. เน้นการทำการตลาดเชิงรับ

     

    นางสาวรัดเกล้า ทองคำ รหัส 52127312025 การเงิน 01

    ตัวอย่างธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

    การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis)

    จุดแข็ง

    1. ผู้บริหารมีความรู้ และสูตรในการผลิตน้ำพริกเป็นอย่างดี และดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำพริกมาเป็นเวลายาวนาน

    2. มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แน่นอน โดยทำสัญญาส่งเป็นรายเดือนกับบริษัทตัวแทนจำหน่าย

    3. ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าจากองค์กรอาหารและยา ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินการ

    4. มีต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้สามารถตั้งราคาขายได้ถูกกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันในตลาด

    5. กิจการตั้งอยู่ใกล้แห่งวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตน้ำพริก ทำให้มีต้นทุนในการขนส่งด้านวัตถุดิบที่ต่ำ

    รวมทั้งไม่จำเป็นต้องสำรองวัตถุดิบไว้มาก

    6. เงินลงทุนเริ่มแรก เป็นเงินลงทุนของผู้ก่อตั้งเองทั้งหมด ทำให้กิจการไม่มีปัญหาภาระหนี้สิน

    จุดอ่อน

    1. ตราสินค้าของกิจการยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

    ตราสินค้าให้ผู้บริโภครับรู้เท่าที่ควร

    2. กิจการมีการดำเนินการในลักษณะ Labor Intensive ทำให้การเพิ่มกำลังแรงงาน และกำลังการผลิต

    เป็นได้ยาก

    3. พนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับแรงงาน ทำให้การพัฒนาทักษะฝีมือต้องใช้เวลามาก

    4. สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ในเขตที่พักอาศัยของชุมชน ทำให้เกิดข้อจำกัดในด้านการขยายกำลังการผลิต

    โอกาส

    1. น้ำพริกเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน และเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาโดยตลอด

    ทำให้สินค้าสามารถขายได้อย่างสม่ำเสมอ

    2. รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างจริงจัง ทำให้เป็นโอกาสในการ

    ขยายการผลิต

    อุปสรรค

    1. เป็นอุตสาหกรรมที่ลงทุนไม่มาก ทำให้มีคู่แข่งในตลาดจำนวนมาก

    2. สินค้าเลียนแบบได้ง่าย ทำให้กิจการจำเป็นต้องสร้างความแตกต่าง

    รวมทั้งสร้างการรับรู้ในตราสินค้า ให้กับกับผู้บริโภค

    3. สูตรและฝีมือการทำน้ำพริกของผู้ผลิตแต่ละรายไม่แตกต่างกันมาก

    ทำให้ผู้บริโภคแยกความแตกต่างของสินค้าได้ยาก

    4. น้ำพริกเป็นสินค้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบตามธรรมชาติเป็นหลัก

    ดังนั้นทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องของผลผลิตขาดตลาด

    หรือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ

    นางสาวสุพัตรา อินนัดดา

    การเงินการธนาคาร 01

    รหัส 52127312007

    นางสาวนุสรา เสริมเผือก

    S = STRENGTH
    หมายถึง จุดแข็ง
    W= WEAKNESS
    หมายถึง จุดอ่อน
    O= OPPORTUNITY
    หมายถึง โอกาศ
    T= THREAT
    หมายถึง อุปสรรค์ 

     

    ธุรกิจโรงพิมพ์ 

    จุดแข็ง
    1. ให้บริการงานพิมพ์มานานกว่า 20 ปี
    2. มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วจังหวัด
    3. ราคาย่อมเยาและมีลูกค้าประจำ  


    จุดอ่อน
    1. มีเงินทุนจำกัด
    2. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว
    3. บุคลากรมีความรู้จำกัด

    โอกาส
    1. รัฐบางส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีและเน้น
    กิจกรรมการประชาสัมพันธ์
    2. เศรษฐกิจขยายตัว  

    อุปสรรค
    1. ตลาดในจังหวัดค่อนข้างเล็ก
    2. เทคโนโลยีการพิมพ์ในจังหวัดพัฒนาช้า

     

     

    นางสาวนุสรา เสริมเผือก

    การเงินการธนาคาร 02 

    รหัส 52127312038

     การวิเคราะห์ swot

    บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด

     

    จุดแข็งคือ การวางแผนทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ของบริษัท เอ.พี.ฮอนด้าจำกัด

     การวางแผนกลยุทธ์สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ขององค์กร

    •  สร้างความภาคภูมิ และความเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพขององค์กร
    • การวัดผลงานทำให้เกิดการกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
    • ให้ผลตอบแทนที่จูงใจกับบุคลากรเพื่อให้อยู่กับบริษัทฯนานๆ
    • มีการวางแผนจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ และความชำนาญของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ

    จุดอ่อนคือ การวางแผนทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ของบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด

    • ระดับผู้จัดการของแต่ละแผนกในบริษัทฯมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาบุคลากรไม่มากเท่าที่ควร
    • แผนการจัดฝึกอบรมบุคลากรไม่มีความต่อเนื่องของหลักสูตร และไม่มีการวัดหรือติดตามผลการปฏิบัติงานภายหลังการจัดฝึกอบรมแล้ว

    โอกาส คือ

    บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนการค้าระหว่าง ฮอนด้ามอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท พี ไทยแลนด์ จำกัด ดำเนินธุรกิจบริหารการขาย และการบริการเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ภายใต้ยี่ห้อการค้าชื่อว่า ฮอนด้า รวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ฮอนด้า ที่ผลิตในประเทศไทย  ฮอนด้า เริ่มต้นความมุมานะบากบั่น ในการอุทิศตนเองเพื่อผลิตยวดยานพาหนะสำหรับทุก ๆ กลุ่มชนด้วยปรัชญาของฮอนด้าที่ว่า "เรามั่นอยู่ในสากลทัศนะที่ว่า เรามุ่งหน้า สร้าง แต่บรรดาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังมีราคายุติธรรม เพื่อความพึงพอใจของบรรดาลูกค้าอย่างกว้างขวางทั่วโลก"  ในปี 1964 นับเป็นครั้งแรกที่ฮอนด้า ก้าวเข้าสู่ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย เพื่อสรรสร้างรถจักรยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ให้กับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ชาวไทย รวมถึงสร้างความ พึงพอใจสูงสุด

    อุปสรรค คือ

    ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอก เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจแย่ลงซึ่งเป็นผลให้การทำงานไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการหรือสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร

    วิสัยทัศน์

    นโยบายด้านการบริหารจัดการ

    • การก้าวไปด้วยความทะเยอทะยาน และความกระฉับกระเฉงเสมอ (Proceed
      always with and youthfulness)
    • เคารพหลักทฤษฎีที่มีเหตุผล พัฒนาความคิดใหม่ๆ และใช้เวลาอย่างมีประสิทธิ
      ภาพสูงสุด (Respect sound Theory, develop fresh ideas and mark the most effective use time)
    • สนุกกับงานของตนเองและสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ (Enjoy
      your work, and encourage open communications)
    •  พยายามปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้สอดคล้องกันอยู่เสมอ (Strive constantly for
      a harmonious flow of work)
    • ใส่ใจต่อคุณค่าของการวิจัย และทุ่มเทในการทำงานให้สำเร็จ (Be ever mindful
      of the value of research and endeavor)

    พันธกิจหลัก

    พัฒนาบุคลากรและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ

    กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Strategy)

    1.สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานโดยผ่านการประเมินผลงาน
    ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทฯมีนโยบายในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานโดยการปรับเปลี่ยนระบบการประเมินผลการทำงาน โดยพิจารณาศักยภาพในการทำงานแทนการใช้การประเมินผลแบบเดิม ซึ่งผู้บังคับบัญชาของแต่ละหน่วยงานจะประเมินผลการปฏิบัติงานตามความรู้สึกไม่มีมาตรฐานในการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีขั้นตอนการจัดทำแบบประเมินผลการทำงาน (New Evaluation System) ดังนี้
     ดำเนินการจัดตั้ง Working Team และทำการสำรวจพร้อมวิเคราะห์ปัญหาจากการประเมินผลแบบเดิมให้เสร็จภายในเดือน พฤษภาคม 2548
     รวบรวมและสรุปปัญหาให้เสร็จภายในเดือน มิถุนายน 2548

    • ร่างระบบการปรับปรุงการประเมินผลให้เสร็จภายในเดือน กันยายน 2548
    • นำเสนอแบบการประเมินแบบใหม่ต่อคณะผู้บริหารภายในเดือน ตุลาคม 2548
    • นำแบบประเมินที่ได้ผ่านคณะผู้บริหารนำไปทดลองใช้ภายในเดือน ธันวาคม 2548
    • ทำการแก้ไขปรับปรุงและประกาศใช้เป็นมาตรฐานภายในเดือน มีนาคม 2549

    2. ผลักดันให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
    การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่วนงานบุคคล (Personal Management Section)ได้วางโครงการไว้ 2 โครงการดังนี้
    2.1 โครงการเพิ่มทักษะความรู้ให้กับพนักงาน (HR Improvement) เพื่อพัฒนาพนักงานของบริษัทให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญกับงานและเพื่อรองรับพระราชบัญญัติกฎหมายใหม่ที่ออกมาว่าพนักงานทั้งบริษัทต้องได้รับการอบรม ไม่ต่ำกว่า 50% ของพนักงานทั้งหมด จึงได้จัดอบรมดังต่อไปนี้

     Honda§ Manager Leadership Program (HMLP)
     Total Quality Management Advance (TQM§ Advance)
     Honda Fundamental Course-1 (HFC-1)§
     Honda Fundamental§ Course-2 (HFC-2)
     Total Quality Management Basic (TQM Basic)§
     Genba§ Training
     Safety Driving (Defensive Driving)§
     Safety Riding (Defensive§ Riding)

    2.2 โครงการจัดทำฐานข้อมูลพนักงาน (Employee Profile)

    3. ส่งเสริมการแสดงศักยภาพของพนักงาน
    เมื่อพนักงานผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้เบื้องต้นแล้ว แผนกบุคคลจะมีหน้าที่สนับสนุน/ผลักดันให้พนักงานนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น
    4. ควบคุมการใช้จ่ายภายในบริษัทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
    การควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบริษัทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้แก่

    • การประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในบริษัท โดยการให้พนักงานปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในเวลาพักกลางวันและนอกเวลาทำการ ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป
       ลดการสิ้นเปลืองในการใช้กระดาษ โดยวิธีการใช้กระดาษ Reuse
    • สำหรับเอกสารที่ใช้สำหรับติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร การลดค่าโทรศัพท์ของบริษัท โดยประชาสัมพันธ์ให้พนักงานใช้ระบบ Y-Tel (กด 1234)
    •  ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าล่วงเวลา (Over Time) โดยการเปลี่ยนเป็นวันหยุดแทน ซึ่งจะต้องนำเสนอขออนุมัติต่อหัวหน้างาน

    สรุป กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เกิดจากวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธะกิจ (Vision and Mission) ขององค์กร และจากการวิเคราะห์ กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทจะพบว่ากลยุทธ์จะมุ่งเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน , สร้างแรงจูงใจในการทำงานโดยผ่านการประเมินผลแบบมีมาตรฐาน โดยคำนึงถึงศักยภาพของพนักงานเป็นหลัก และควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบริษัทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

     

    นางสาววราภรณ์  พระศรี

    รหัส 52127312029การเงินการธนาคารปี2

     

     

    ธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ 

    การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจ 

     

     

    จุดแข็ง (Strength)

    - มีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย

    - มีจำนวนสาขามากกว่าและมีทำเลที่ตั้งของร้านค้าที่ได้เปรียบกว่าคู่แข่ง

    - มีอัตราการเติบโตที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับตลาด

    - มีการบริหารกลุ่มสินค้าที่มีกำไรสูง อย่างต่อเนื่อง

    - มีความยืดหยุ่นในการบริหารหมวดสินค้ามากกว่าคู่แข่ง

    - ทีมบริหารมีความรู้ และ ประสบการณ์ ทางด้านการค้าปลีกมานาน

    - บริษัทมีกระบวนการตัดสินใจที่กระชับ มีความคล่องตัว และยืดหยุ่นทางการบริหารสูง สามารถปรับตัวตามการแข่งขันได้เร็ว

    จุดอ่อน (Weakness)

    - การทำงานขาดระบบสนับสนุนทำให้มีประสิทธิภาพด้อยกว่าที่ควร

    - การบริหารมีการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจ ในเกณฑ์ต่ำ

    - ระบบการบริหาร โปรแกรมบัญชีและโปรแกรมฝ่ายขายไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ทำให้เกิดการทำงานซับซ้อน ส่งผลให้การขยายสาขาไปต่างจังหวัดทำได้ลำบาก

    - บุคลากรของบริษัทยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ทางด้านการเงินและการบัญชีตามมาตรฐานที่ถูกต้อง

    - ระบบการจัดซื้อและการขนส่งมีความซับซ้อน ส่งผลกับความต่อเนื่องของสินค้าที่จะนำมาจำหน่ายในร้านสาขา

    โอกาส (Opportunities)

    - พฤติกรรมผู้บริโภคมีการปรับสู่การเข้าจับจ่ายในร้าน Convenience Store มากขึ้น

    - ธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ มีโอกาสในการเติบโตอีกมากในต่างจังหวัด เนื่องจากยังมีการขยายไปยังต่างจังหวัดน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร

    - รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อม อีกทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศโดยการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมากขึ้นโดยดูจากอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนบัตรเครดิต

    อุปสรรค (Threats)

    - มีความเสี่ยงจากการแข่งขันสูงในธุรกิจค้าปลีกเนื่องจากการเข้าสู่ตลาดไม่มีข้อจำกัดมากนัก  ดังนั้น ผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคในเขตพื้นที่ของตน  และ ผู้ประกอบการจากต่างชาติที่มีความรู้ทางด้านสารสนเทศ ที่สามารถนำมาลดต้นทุนในการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถเข้าสู่ตลาดได้ตลอดเวลา

    - ขาดการสนับสนุนจากทางเจ้าของแฟรนไซส์อย่างต่อเนื่องเท่าที่ควร ทำให้มีอำนาจการต่อรองในการซื้อกับผู้ผลิตบางรายต่ำกว่าที่ควร อีกทั้งยังทำให้มีต้นทุนในการทำรายการส่งเสริมการขายสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

    - มีข้อจำกัดเรื่องทำเลที่ตั้ง และ ความเสี่ยงจากการจัดระบบจราจร

    - แนวโน้มของสงครามอาจส่งผลต่อราคาสินค้า และ พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค

     

    วชิยาลักษณ์ มิ่งมงคล

    การเงินการธนาคาร 52127312028

    วิเคราะห์ SWOT

                                          บริษัท ปตท.จำกัด 

                                  

     

    จุดแข็ง
                  1. ปตท.เป็นยักษ์ท้องถิ่น ทำธุรกิจน้ำมันครบวงจร ทั้งโรงกลั่น ปั้มน้ำมัน ฯลฯ การทำธุรกิจครบวงจรนั้นจะมีความได้เปรียบจากบริษัทที่มีธุรกิจปั้มน้ำมันอย่างเดียว เพราะต้นทุนจะถูกกว่า ทำให้มาร์จิ้นปั้มน้ำมันที่ไม่สูงมากนัก ก็ยังมีกำไร ปัจจุบัน ปตท.ถือว่ามีอำนาจเหนือตลาดอยู่แล้ว เนื่องจากมีส่วนแบ่งตลาดมากสุด และทุกรายจะปรับเปลี่ยนราคาน้ำมันก็จะปรับตาม ปตท.ทั้งหมด
                   2.ปตท. ได้เข้าไปซื้อกิจการค้าปลีกน้ำมันของบริษัท โคโนโคฟิลลิปส์ ในประเทศไทย ซึ่งรู้จักกันภายใต้แบรนด์สถานีบริการน้ำมัน JET และร้าน Jiffy   ซึ่งการซื้อ JET นี้ถือเป็นประโยชน์ให้กับ ปตท. เนื่องจาก ปตท. มีแผนที่จะขยายสถานีบริการคุณภาพสูง จำนวน 100 สถานีอยู่แล้ว ซึ่งการลงทุนในแต่ละสถานีจะใช้เงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ใช้พื้นที่ในแต่ละสถานีกว่า 5 ไร่ และใช้ระยะเวลาการดำเนินการประมาณ 5-7 ปี ในการขยายสถานีบริการให้ได้ตามเป้าหมาย การซื้อในครั้งนี้ ปตท.ได้สถานีบริการมาทั้งหมด147 สถานี จึงเป็นการลดต้นทุนและเวลาในการลงทุน ได้มาก
                  3. ปัจจุบัน ปตท. ได้เซ็นสัญญากับร้านเซเว่น- อีเลเว่น ในการจำหน่ายสินค้าภายในสถา
    บริการของ ปตท. มีสาขาที่เปิดในปั๊มปตท.กว่า 505 สาขา (ประมาณ 13% ของจำนวนสาขาเซเว่นฯ ทั้งหมด 3,784 สาขา)


     

    จุดอ่อน
     - ปตท.ยังไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการบริหารธุรกิจ Non-Oil  ต้องพึ่งพาอาศัยเซเว่นอีเลฟเว่นเพราะถือว่าเป็นตัวดึงดูดให้ลูกค้ามาเติมน้ำมันได้เหมือนกัน ถ้าไม่มีการต่อสัญญากับหลังจากหมดสัญญาแล้วก็อาจจะต้องหาเจ้าอื่นเข้าร่วมซึ่งจะเป็นการเสียเวลา

    โอกาส
       1.กรณีซื้อปั้มเจ็ท ปตท.จะต้องสร้างแบรนด์ใหม่สำหรับทดแทนแบรนด์เจ็ต ซึ่งย่อมไม่เหมือนปั้มปตท.เดิมๆที่มีอยู่ ปตท.อาจจะต่อยอดโมเดลปั้มเจ็ตต่อไป โดยเพิ่มเติมให้สมบูรณ์มากขึ้นเป็นพรีเมี่ยม 
       2.ปตท.มีโนว์ฮาว และมีคนที่สามารถทำธุรกิจนอน-ออยล์ ได้ เมื่อ ปตท.สร้างแบรนด์ขายน้ำมัน การสร้างแบรนด์คอนวีเนียนสโตร์ และธุรกิจนอน-ออยล์ ก็น่าจะทำได้ และเป็นผลดีต่อ ปตท.

    อุปสรรค
        - ถึงแม้ว่า ปตท. จะมีโรงกลั่น ปั้มน้ำมัน  ทำธุรกิจครบวงจร แต่ก็มีกำไรน้อยกว่าเพราะยังต้องซื้อน้ำมันจากต่างประเทศถ้ามีการผูกขาดปั้มน้ำมันโดย ปตท. ในระยะยาว ถ้ามีการขาดแคลนน้ำมัน จะมีปัญหา เพราะหากผู้ค้าระดับนานาชาติ หรือระดับโลกหายไปจากเมืองไทย สัญญาการส่งน้ำมันเข้ามาช่วยเหลืออาจจะหดหายไป ซึ่งอาจจะกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย

    วอลมาร์ต

     

    Wal-mart ได้เริ่มเปิดตัวในปี 1962 โดย Sam Walton ดำเนินกิจกรรมภายใต้ชื่อ War-mart และ Sam’s club เป็นร้านค้า discount store ร้านขายของราคาประหยัดมีจำนวนสาขามากถึง 3406 แห่ง และ Super center เมื่อตรวจตราการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและทำกำไรสูงและมีการพัฒนาสินค้าจำนวนมาก ยกระดับให้บริการ โดยให้ระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในองค์การและพัฒนาด้านทีมงานบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รับประกันความพอใจให้กับลูกค้าและถือนโยบายด้านการตลาดคำวิจารณ์มีสะท้อนกลับต่อความคิด และเริ่มนโยบายการตลาดใหม่ เช่นการทักทายกับผู้บริโภค การตกแต่งร้านค้าให้ดูอบอุ่น รวมทั้งการให้บรรจุภัณฑ์ ที่มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ได้แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างอันประณีตงดงามและทันสมัยในการจัดการด้านปฏิบัติงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวส่งผลให้ Wal-mart เป็นกิจการการที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของ Fortune หลายหนและได้รับเลือกเป็น Retailer of the Decade จาก Discount Store News
    จากการดำเนินธุรกิจในกลยุทธ์ระดับบริษัทขนาดใหญ่ (Conglomerate หรือ Corporate) ของ War-mart ซึ่งเป็นธุรกิจแบบร้านค้าปลีก,Discount Store และ Super Center ขายของประหยัดมีหลายสาขาและมีอัตราการเจริญเติบโตมียอดจำหน่าย ผลกำไรสูงสุดและใหญ่ที่สุดในอเมริกา จากการวิเคราะห์ กลยุทธ์ Corporate ของ War-mart ประกอบไปด้วย
    กลยุทธ์หลัก (Grand Strategies)
    · Wal-mart มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีจำนวนสาขามากถึง 3406 ภายใต้ชื่อ Sam’s Club 483 แห่ง และ Super Center 502 แห่ง และมียอดการจำหน่ายสินค้าสูงถึง 125 พันล้านเหรียญในปี 2000 มีการขยายตลาดไปรอบๆครอบคลุมตลาดและพยายามแย่งชิงตลาดจากคู่แข่งขันให้ได้มากที่สุด เป็นการขยายตัวแบบไปข้างหน้าและจะขยายตัวไปเรื่อยๆไม่หยุดลง เมื่อวิเคราะห์จากสภาวะแวดล้อมของ War-mart แล้วจะพบว่าวัฎจักรของธุรกิจอยู่ในระยะรุ่งเรือง (Prosperity)
    · การเจริญเติบโต (Corporate Growth Strategies)
    · การทุ่มตลาดของ War-mart มีฝ่ายบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงและเป็นฝ่ายที่สำคัญสุดของบริษัท และมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสัยเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและควบคุมระบบหมุนเวียนของสินค้า ใช้ Scanning bar code เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการ Check Out ของลูกค้า ทำให้บริษัทเจริญเติบโตรวดเร็วสร้างผลกำไรให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก
    · การขยายตัวของ War-mart เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อดูจากการขยายสาขาในปัจจุบันมีอัตราเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มจะขยายต่อไปอีกในอนาคตข้างหน้า มีการเพิ่มยอดจำหน่ายสินค้าที่ทำกำไรให้อย่างมากเป็นอัตราการเจริญเติบโตในแนวนอน/แนวราบ ดูจากการซื้อกิจการของคู่แข่งขันที่ใหญ่ที่สุด Sam’s wholesale clubs และทำให้คู่แข่งขันทางการค้าได้ปิดตัวลงเมื่อ War-mart เข้าไปเปิดตัวเป็นการลดอุปสรรคในการแข่งขันทางการตลาดลง

    กลยุทธ์การวางตำแหน่งของหน่วยธุรกิจในพอร์ต (Corporate Portfolio)
    จากการวิเคราะห์ทางการแข่งขันใช้สมมุติฐานในเทคนิค BCG MATRIX เมื่อดูด้านส่วนแบ่งทางการตลาดแล้ว War-mart
    Sub 1 การเจริญเติบโต (Growth Concentration) มุ่งเน้น
    · การเจาะตลาดเดิม (Market Penetration)
    · การขยายสู่ตลาดใหม่ (Market Development)
    Sub 2 ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage)
    · ต่อรองกับ Supplier ให้ได้สินค้าราคาต่ำสุดและได้ส่วนลดมากที่สุด
    · เพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี IT ที่ทันสมัย
    · มีกระแสเงินสดหมุนเวียนและสภาพคล่องทางการเงินที่แข็งแกร่งจากโครงสร้างการเงินตั้งแต่ปี 1991-2001 มีจุดแข็งของระดับทรัพย์สิน/หนี้สิน
    Sub 3 การตลาด (Marketing)
    · มีศูนย์กระจายสินค้าทันสมัยรวดเร็วและมีสาขาครอบคลุมพื้นที่
    · ราคาถูกสินค้าคุณภาพดี,สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
    · เป็นผู้นำทางการตลาดจากยอดขายที่สูงกว่าคู่แข่งขันอย่าง Kmart และ Sears (ดูในปี 1993 มียอดขายมากกว่า Kmart 1.97 % และมากกว่า Sears 2.27% และเปรียบเทียบระหว่างปี 1992-1933 ยอดขายของ wal-mart เพิ่มขึ้น 21.37%, Kmart เพิ่มขึ้น 10% ส่วน Sears ลดลง –7.49% )

    ส่วนแบ่งตลาดเปรียบเทียบคู่แข่งขันดังนั้นเมื่อพิจารณาผลการดำเนินการแล้วธุรกิจของ War-mart นั้นอยู่ในขั้น ดาว (STARS) เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันแล้ว Wal-mart จะอยู่ในจุดที่เด่นและได้เปรียบกว่าคู่แข่งขันอื่นๆ
    สรุปกลยุทธ์ Corporate ของ War-mart มีความเหมะสมอยู่แล้วเมื่อดูจากอัตราการเจริญเติบโตสูง และอนาคตดีและมีโอกาลนำรายได้สู่องค์การได้มากในระยะยาว
    การวิเคราะห์ตำแหน่งสภาวะแวดล้อมทางการแข่งขัน ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ Wal-mart ซึ่งเป็นองค์การที่มีหน่วยงานธุรกิจที่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ สามารถประเมินสภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน ที่ประกอบด้วยปัจจัยในกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง และทันทีทันใดการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันที่เรียกว่า “โมเดลแรงผลักดัน 5 ประการจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม” (FIVE FORCES MODEL) ของ Michael E.Porter สามารถสรุปได้ดังนี้อุปสรรคจากคู่แข่งขันเข้ามาใหม่ในตลาด ผู้แข่งขันจะเข้ามาได้ยากเพราะและต้องใช้เงินลงทุนสูง และ Wal-mart ได้สร้างชื่อและเป็นที่รู้จักดีของลูกค้าว่าบริการดีสินค้าถูกและประกันคุณภาพ และขยายสาขาไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
    อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ ลูกค้าจะมีอำนาจการต่อรองสูง เนื่องจากธุรกิจประเภทร้านค้าปลีกและ discount store มีจำนวนมากให้เลือกใช้บริการได้ แต่ War-mart ได้รับความเชื่อถือและความนิยมค่อนข้างสูง แรงผลักอันนี้ถือว่าเป็น Weak Force
    อุปสรรคจากผลิตภัณฑ์ที่ทดแทนกัน รูปแบบร้านค้าที่สามารถเข้ามาทดแทนได้ คือ ร้านค้าประเภท เซเว่น มินิมาร์ท เปิดบริการทุกตรอก ซอกซอย ให้บริการ 24 ชม. แต่ในส่วนนี้ยังไม่น่าห่วงมาก เพราะลูกค้าซื้อของกับ เซเว่นหรือมินิมาร์ท จะเข้าจับจ่ายเฉพาะของที่ไม่มีเวลาไปหาซื้อหรือของที่จำเป็นเล็กน้อย เพราะสินค้าบางประเภทจะหาไม่ได้ในร้านค้าประเภทนี้และราคาก็ค่อนข้างแพงกว่าด้วย
    อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ขายไม่มีอำนาจในการต่อรอง เนื่องจากสินค้าประเภทนี้จะมีสินค้าจำนวนมากมาย และแต่ละรายการของสินค้าจะมีหลาย Brand-name ให้เลือกใช้
    การเพิ่มของการแข่งขันระหว่างธุรกิจที่มีความรุนแรงมากขึ้น จำนวนคู่แข่งขันมีมากและคู่แข่งขันรายใหญ่ที่แข็งแกร่ง แต่มีจุดอ่อนทางด้านราคาสินค้าและการให้บริการ ไม่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ จึงเป็นช่องทางที่ทำให้ Wal-mart ได้รับความจงรักภักดีค่อนข้างสูง

    ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (KEY SUCEESS FACTORS)
    ความสามารถในการดำเนินการ
    · มีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ
    · มีศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ
    · มีสาขาครอบคลุมพื้นที่
    · มีระบบดาวเทียมในการสื่อสารที่รวดเร็ว
    ความสามารถในทางการตลาด
    · ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ
    · ราคาถูกคุณภาพสินค้าดี
    · บริการดี
    ความสามารถทางทรัพยากรมนุษย์
    · พนักงานพึงพอใจในการทำงาน
    · พนักงานมีความสามารถ TEAM WORK
    ความสามารถด้านบริหารงาน
    · ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์เป็นผู้นำมีความสามารถ
    · มีการกระจายอำนาจผู้จัดการสาขา
    · มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อ Supplier เพื่อการวางแผนการดำเนินการร่วมกัน


    จากการวิเคราะห์คู่แข่งขันมีข้อดีและข้อเสียดังนี้ข้อดี
    · สินค้ามีราคาถูกกว่าคู่แข่งขันและสามารถทำกำไรได้มากกว่ามาตลอด และสนองตอบความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าประทับใจและจงรักภักดี ทำให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามาในตลาดยากพอสมควร
    · มีระบบคอมพิวเตอร์และดาวเทียมเข้ามาใช้เพื่อความรวดเร็ว สนองตอบความต้องการลูกค้า
    · การขยายสาขามากขึ้นทำให้ครองตลาดในการแข่งขัน
    ข้อเสีย
    · เสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งขันขนาดเล็กและไม่สามารถเรียกกลับคืนได้
    ข้อเสนอแนะ
    การดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของ Wal-mart ซึ่งมีการแข่งขันทางการตลาดและใช้การขยายตัวแบบแนวนอน จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะสามารถครองใจลูกค้า ซึ่งธุรกิจประเภทนี้กำลังประสบปัญหาภาวะลำบาก ในขณะที่ Wal-mart ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ได้เหนือคู่แข่งขันอื่นๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จต่อไปตามที่มุ่งหวังในอนาคตของ Wal-mart ควรจะขยายตัวต่อไปเรื่อยๆ
    การดำเนินธุรกิจหรืองานใดๆในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เพื่อมิให้การดำเนินงานอยู่ในภาวะความเสี่ยงของผู้บริหารควรรับผิดชอบต่อการวางแผนกลยุทธ์หรือต้องติดตามและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในอย่างสม่ำเสมอ กลยุทธ์ที่นำมาวิเคราะห์ SWOT เพื่อกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดในองค์การ

    STRENGTH (จุดแข็ง)
    · สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
    · สินค้ามีคุณภาพสูงและหลากหลาย
    · มีส่วนแบ่งด้านการตลาดมากกว่าคู่แข่งขัน
    · ชื่อเสียงของบริษัทเป็นที่รู้จักดี
    · บริการที่รวดเร็วด้วยระบบคอมพิวเตอร์และดาวเทียม
    · ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
    · มีฐานะการเงินและสภาพคล่องที่ดี
    WEAKNESS (จุดอ่อน)
    · การประชาสัมพันธ์ค่อนข้างน้อยมาก
    · มีหนี้สินเป็นภาระผูกพันสำหรับเช่าซื้อในระยะยาวเป็นจำนวนมากเกินไป
    OPPORTUNITY (โอกาส)
    · เปิดตลาดเสรีทำให้มีแนวโน้มการขยายตัวเข้าไปสู่ตลาดใหม่ได้ดีและเป็นที่นิยมและยอมรับทั่วไป
    · มีการพัฒนาการบริหารและเทคโนโลยีใหม่
    · สังคมให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
    · ธุรกิจค้าปลีกเลิกกิจการ
    THREAT (อุปสรรค)
    · ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ
    · มีคู่แข่งขันจำนวนมากราย
    · อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมคงตัวและมีแนวโน้มลดลง
    · จุดอิ่มตัวทางการตลาดของผู้บริโภค
    · ถูกมองในแง่ลบเรื่องใช้แรงงานเด็กในการผลิตเพื่อลดต้นทุน

    กลยุทธ์ที่ใช้กับคู่แข่งขัน
    · สินค้ามีราคาถูกทุกวัน มีคุณภาพดีและมีสินค้าแบบ One Stop Shopping ซึ่งแวะที่เดียวได้สินค้าครบทุกอย่าง
    · ครอบคลุมพื้นที่ตามความต้องการของลูกค้า
    · มีโกดังสินค้าภายในรัศมี 6ชม.จากที่ตั้งโกดังเพื่อสะดวกและความรวดเร็วในการขนถ่ายสินค้า
    · มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและควบคุมระบบหมุนเวียนของสินค้า ใช้ Scanning bar code เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการ Check Out ของลูกค้า และมีระบบดาวเทียมเพื่อการสื่อสารที่ทันสมัย
    · รณรงค์ใช้สินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมและสินค้าที่ผลิตในประเทศ
    · มีการวิจัยและพัฒนา ทดสอบสินค้าใหม่ๆเพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและมีคุณภาพดีกว่าเดิม
    กลยุทธ์ (Strategies)กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategies) เน้นกลยุทธ์ในแผนต่างๆ ที่ประกอบด้วย
    · แผนการตลาด
    · แผนการผลิต/การดำเนินงาน
    · แผนการด้านทรัพยากรบุคคล
    ซึ่งแต่ละแผนมีความสอดคล้องให้เกิด
    · Quality
    · Safety
    · Save Time
    · Development
    · Convenience
    กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategies)
    · จูงใจให้ลูกค้าใช้สินค้าที่ลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
    · มีนโยบายการขายสินค้าราคาถูกทุกวัน every day low price และสินค้าที่มีคุณภาพ
    · มีการจัดโปรแกรมฝึกอบรม ,สัมมนาให้พนักงานมีคุณภาพและผลงานที่ดี เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีความรักต่องานของตนเอง
    · ให้ความสำคัญต่อพนักงานและรับความคิดเห็นของพนักงาน นำมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นๆ
    · มุ่งตลาดการแข่งขันโดยเปิดสาขากระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน
    · การจัดส่งสินค้ากระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพโดยมีศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ

    Wal-mart เป็นองค์การขนาดใหญ่มีจำนวนบุคลากรจำนวนมากสิ่งสำคัญที่สุดคือ การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์การเติบโตเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ทีมงานที่มีประสิทธิผลของ Wal-mart ตามทฤษฏีของ Stephen P.Robloins และ Mary Coutter คือ
    1. มีเป้าหมายชัดเจน (Cleave goals)
    § มีความต้องการเป็นผู้นำทางการตลาด
    § ต้องการความจงรักภักดีของลูกค้า
    § ต้องการขยายตลาดทั้งในอาณาเขตในประเทศและแผ่ขยายไปยังต่างประเทศ
    2. มีทักษะที่สัมพันธ์กับงาน (relevant skills)
    § มีทีมงานมีความสามารถและเชียวชาญในการบริหารองค์การ
    § มีการจัดองค์การแบบ Flat Organization เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน
    3. มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (Mutual trust)
    § รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของพนักงาน
    § สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี
    4. มีข้อผูกมัดร่วมกัน (Unified Commitment)
    § สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน
    § สร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของพนักงาน
    5. มีการติดต่อสื่อสารที่ดี (Good Communication)
    § มีระบบดาวเทียมในการติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วและทันเวลาทำให้ทีมงานมีความเข้าใจตรงกัน
    6. มีทักษะในการเจรจาต่อรอง (Negotiation Skill)
    § ทีมงานให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    7. มีภาวะผู้นำกลุ่มที่เหมาะสม (Appropriate Leadership)
    § มีผู้นำกลุ่มที่จูงใจโน้มน้าวพนักงานที่ดีเยี่ยม
    § ผู้นำที่มีทักษะและความสามารถ
    8. ได้รับการสนับสนุนทั้งจากภายในและภายนอก (Internal and External Support)
    § มีการจัดฝึกอบรม
    § การประเมินผลการปฏิบัติงาน
    § การให้รางวัล
    § การให้ผลตอบแทน


    จะเห็นได้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มของ Wal-mart มีความเหมาะสมสำหรับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันมาก สำหรับองค์การขนาดใหญ่ มีพนักงานเป็นจำนวนมาก การให้บริการสินค้าหลายประเภทหลายรูปแบบและมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอคือ การให้บริการไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียมกัน เมื่อมีการทำงานเป็นกลุ่มสามารถลดปัญหาเหล่านี้ได จะสังเกตได้ว่าการทำงานเป็น Team Work เหมาะสมกับงานประเภทสร้างแรงจูงใจในการให้บริการได้ดี เช่นความสามารถในการเลือกสินค้า การค้นหาสินค้า ความเป็นกันเองกับลูกค้า หรือแนะนำบริการต่างๆ เป็นต้น เพราะงานประเภทนี้มีกลไกในการทำงานไม่ซับซ้อน แต่งานประเภทที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือมีกระบวนการที่ซับซ้อนในการทำงานหลายคนจะเกิดความผิดพลาดได้มาก เช่น การควบคุมปริมาณสินค้า หรือการชำระค่าสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Wal-mart ใช้การทำงานเป็น Team Work ควบคู่กันไปกับการสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานด้วย

     

    นายเสกสรร   หอมรินทร์

    52127312068

    การเงินการธนาคาร02

    Aval การอาวัล (Aval) เป็นการประกันการใช้เงินตามตั๋วเงิน เมื่อมีการออกตั๋วเงินลงวันที่ ล่วงหน้าเพื่อให้นำมาแลกเงินสดหรือเพื่อชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจจะไม่แน่ใจในเครดิตหรือความ น่าเชื่อถือของลูกหนี้ผู้ออกตั๋วเงินจึงให้ลูกหนี้หรือผู้สั่งจ่ายตามตั๋วเงินหาบุคคลผู้มีความน่าเชื่อถือมาลงลายมือชื่ออาวัลตั๋วเงิน เพื่อเป็นการค้ำประกันการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น

    ความสำคัญของเรื่อง  

    ตั๋วเงิน เป็นสัญญาการชำระหนี้ระหว่างกันของคู่สัญญา จึงอาจมีผู้เข้ามาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาตั๋วเงินนั้นทำนองเดียวกับการค้ำประกันตามสัญญาทั่วไป เนื่องจากเครดิตความน่าเชื่อถือของลูกหนี้มีความแตกต่างกัน เจ้าหนี้ตามตั๋วเงินจึงต้องการให้มีบุคคลมารับประกันลูกหนี้ตาม ตั๋วเงินนั้น ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีเครดิตดีกว่าลูกหนี้ แต่ตามกฎหมายตั๋วเงินไม่เรียก ผู้รับประกันนี้ว่าผู้ค้ำประกัน แต่เรียกเป็นพิเศษเป็นการเฉพาะของการรับประกันตั๋วเงินว่า “ ผู้รับอาวัล 

     

    Letters of Guarantees (L/G) หนังสือค้ำประกัน (Letters of Guarantees / Bank Guarantee) คือการที่ธนาคารในการเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าเข้าทำสัญญาหรือปฏิบัติตามสัญญา หรือข้อผูกพันตามสัญญา ต่อผู้รับผลประโยชน์ (นิติบุคคลหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญาของลูกค้า) ประเภทของหนังสือค้ำประกัน เช่น
          - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (Bid Bond)
          - การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Performance Bond)
          - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (Advanced Payment Bond)
          - การค้ำประกันผลงานเพื่อขอรับเงินส่วนที่ทางราชการ (หรือเอกชน) ได้กันไว้ (Retention
            Money Bond)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าภาษี (Tax & Duty Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้า (Electricity Guarantee)
          - การค้ำประกันการชำระเงินค่าสินค้า ( Merchandise Purchasing Guarantee)
          - การค้ำประกันอื่นๆ ( Other)

     

    LETTER OF CREDIT ( L/C) การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า


    บทบาทหน้าที่ของ L/C
    L/C หรือ LETTER OF CREDIT หรือ DOCUMENTARY LETTER OF CREDIT หรือ COMMERCIAL DOCUMENTARY LETTER OF CERDIT คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ตามคำสั่งของผู้ซื้อ (Applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขาย (Advising Bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ใน L/C ให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือและได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (Negotiation Bank) ได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย ดังนั้น L/C จึงทำหน้าที่เป็นสัญญาทางการเงินและทำหน้าที่ในการควบคุมเอกสารทางการค้าไปพร้อมๆ กันด้วย

    Trust Receipt (T/R) เป็นสินเชื่อสินค้าเข้าที่ธนาคารเสนอให้ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย Letter of Credit, Bill for Collection, Outward Remittance ท่านสามารถจะขอทำ T/R และรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าได้

     ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

     ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

    1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

    2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

    Trust Receipt (T/R) เป็นสินเชื่อสินค้าเข้าที่ธนาคารเสนอให้ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่ชำระเงินด้วย Letter of Credit, Bill for Collection, Outward Remittance ท่านสามารถจะขอทำ T/R และรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าได้

     ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

     ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

    1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

    2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

     ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

     ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

    1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

    2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

    โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

    2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย 

    Packing Credit (P/C) สินเชื่อ Packing Credit เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ส่งออกผ่านทางธนาคารพาณิชย์ ด้วยวิธีให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งออกเป็นหลักประกัน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ผู้ปล่อยสินเชื่อจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของ EXIM Bank Packing Credit เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ขายหรือผู้ส่งออกเพื่อเป็นเงินทุน

    หมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

    1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

    1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

    2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้

    เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย

     

     ลักษณะของบริการ : เป็นสินเชื่อระยะสั้น

     ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ

    1.ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้

    2.เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้

    โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

    2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินซึ่งค้ำประกัน โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของประเทศผู้นำเข้าจะออกเป็นชุดตามระยะเวลาของ หนี้ในการรับซื้อหนี้จากผู้ส่งออก ภาระความเสี่ยงในการเรียกเก็บเงินจะตกอยู่แก่ Forfaitor กล่าวคือไม่มีสิทธิในการไล่เบี้ย 

    หมุนเวียนในการจัดหาสินค้า หรือจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า เพื่อการส่งออก การให้สินเชื่อ Packing Credit แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

    1 การใช้สินเชื่อก่อนการส่งออก Pre-Shipment Financing แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

    1.1 สินเชื่อจำนำสินค้า Packing Credit Against Stock คือ การที่ผู้ส่งออกมีสินค้าจำนวนหนึ่ง หรือมีสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิตจำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่พอเพียงที่จะส่งออกได้ จึงต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการเพิ่มสินค้าให้ครบถ้วน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการขอจำนำสินค้าที่มีอยู่ให้กับธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 80 ของราคาสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำ ซึ่งธนาคารจะประเมินสินค้าที่ผู้ส่งออกนำมาจำนำตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดขณะนั้น

    1.2 สินเชื่อที่สัญญาการค้ากำกับ (Packing Credit Against Contract or Purchase Order) คือการที่ผู้ส่งออกมีสินค้าที่จะส่งออกได้แต่ไม่มี L/C สั่งซื้อสินค้าของตนเองมาจากผู้ซื้อในต่างประเทศและมีความต้องการที่จะใช้เงินก่อน ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยนำสัญญาซื้อขาย หรือใบสั่งซื้อที่ตนเองทำไว้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ไปขอกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าที่ทำการซื้อขายกัน

    1.3 สินเชื่อที่มี Letter of Credit กำกับ (Packing Credit Against Letter of Credit) คือ การที่ส่งออกมี L/C สั่งซื้อสินค้าชนิดเพิกถอนไม่ได้มาจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และมีความประสงค์ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถกระทำได้โดยการใช้ L/C ไปขอกู้เงินจากธนาคารได้ ธนาคารจะให้กู้เงินได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าตาม L/C นั้น

    2 การให้สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Shipment Financing) คือ การให้กุ้ตามตั๋วแลกเงิน ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ซึ่งผู้ส่งออกให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน หลังวันที่ในตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ซึ่งผู้ส่งออกจะได้รับการชำระเงินก็ต่อเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาดังกล่าว ถ้าผู้ส่งออกมีความประสงค์จะใช้เงินก่อนกำหนดก็นำตั๋วแลกเงินดังกล่าว ไปขอแลกเงินกับธนาคารได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าตั๋วแลกเงิน

    บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (International Factoring) คือ การที่ผู้ขายสินค้าขอให้บริษัทแฟคตอริ่งทำประกันฐานะการจ่ายเงินของผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ ให้แก่ตน ในกรณีที่ไม่ได้ทำการซื้อขายกันด้วยวิธี L/C แต่เป็นการซื้อขายกันด้วยวิธีอื่น เช่น Open Account ในขณะเดียวกันในระหว่างที่ผู้ขายสินค้ายังไม่ได้รับเงิน เนื่องจากว่ายังไม่ได้ครบกำหนดชำระเงินแต่มีความต้องการเงินสดเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการของตน ก็สามารถขายหนี้รอเก็บเงินนั้นให้แก่บริษัทแฟคตอริ่ง ที่เป็นผู้ค้ำประกันฐานะการจ่ายเงินของลูกหนี้ได้ ดังนั้นบริการของแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ จึงเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ขายสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศโดยไม่ต้องมี L/C จากผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยง ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า ด้วยการไปขอรับการค้ำประกัน กับบริษัทแฟคตอริ่ง กับทั้งยังสามารถได้เงินในทันที หลังจากการส่งออกสินค้าแล้ว

    Forfeiting คือ การจัดหาสถาบันการเงินมารับซื้อตั๋วแลกเงินและ/หรือเอกสารจากผู้ส่งออกโดยผู้รับซื้อหนี้เรียกว่า Forfaitor (โดยทั่วไปคือธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน) โดยปกติหนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้การค้าซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าประเภททุนเช่นเครื่องจักร โดยวิธีการชำระเงินจะกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น ชำระโดยตั๋วสัญญาใช้ 

    นางสาวนริศรา  น้อยประชา

    การเงินการธนาคาร 01

    รหัส52127312006

    บริษัทประกันภัย

    1.บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายสุวรรณ โชตชวเลิศ

    361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร :. 0-2502-2999 แฟกซ์ : 0-2502-2933 เว็บไซต์ http://www.kamolinsurance.com อีเมล์: [email protected]

    2.บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายชัย โสภณพนิช

    25 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    โทร : 0-2285-8888, 0-2677-3777 แฟกซ์ : 0-2677-3737-8

    เว็บไซต์ : http://www.bki.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    3.บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

    ประธานกรรมการ ร้อยโทสุชาย เชาว์วิศิษฐ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

    โทร : 0-2643-0280-92 แฟกซ์ : 0-2643-0293-94

    เว็บไซต์ : www.rvp.co.th อีเมล์ : [email protected]

    4.บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง

    208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2651-5500, 0-2302-0111 แฟกซ์ : 0-2651-5511

    เว็บไซต์ : http://www.kpi.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    5.บริษัท คอมไบด์อินชัวรันส์ (ประเทศไทย) จำกัด

    587 ชั้น 18-19 อาคารวิริยะถาวร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร : 0-2274-9797 แฟกซ์ : 0-2274-9794

    เว็บไซต์ http://www.combined.co.th อีเมล์: [email protected]

    6.บริษัท คิวบีอี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    ประธานกรรมการ นายโรนอลด์ สปาร์คส์

    968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้น 15 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2238-0999 แฟกซ์ : 0-2238-0836

    เว็บไซต์ : http://www.qbe.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    7.บริษัท คูเนีย ประกันภัย(ประเทศไทย)จำกัด

    ชุติพล สิงหะสุริยะ

    849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 9-10 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    โทร : 0-2635-1555 แฟกซ์ : 0-2635-1298-9

    เว็บไซต์ :http://www.kurnia.co.th/ อีเมล์ : -

    8.บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา

    401 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร : 0-2276-1024 แฟกซ์ : 0-2275-4919

    เว็บไซต์ : http://www.charaninsurance.com อีเมล์ : -

    9.บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันภัย (ไทยแลนด์) จำกัด

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มร. คีธ บรูคส์

    87/2 ยูนิต 1601-2 อาคารซีอาร์ซี ทาวเวอร์ ออลซีซั่นเพลส ชั้น16 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2685-3828 แฟกซ์ : 0-2685-3830

    เว็บไซต์ : http://www.generali.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    10.บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นายธฤต อุดมเจริญชัยกิจ

    3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร : 0-2261-9955, 0-2661-3355 แฟกซ์ : 0-2261-3775

    เว็บไซต์ :http://www.cpyins.com/ อีเมล์ : [email protected]

    11.บริษัท ชับบ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ

    52 ธนิยะ พลาซ่า ชั้น 16 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2231-2640 - 50 แฟกซ์ : 0-2231-2654

    เว็บไซต์ : http://www.chubb.com/ อีเมล์ : -

    12.บริษัท ไชน่าอินชัวรันส์ (ไทย) จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นายสุจิตร พู่จิตร์กานนท์

    36/68-69 อาคารพี.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนอโศก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร : 0-2259-3718 - 9, 0-2261-3680 - 9 แฟกซ์ : 0-2259-1402, 0-2261-3690

    เว็บไซต์ : - อีเมล์ : -

    13.บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายแกรี่ เวนย์ เด็นสัน

    598 อาคารคิวเฮ้าส์เพลินจิต ชั้น 7,10 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2651-5995 แฟกซ์ : 0-2650-9600

    เว็บไซต์ : http://www.cigna.com/ อีเมล์ : -

    14.บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายมารุต สิมะเสถียร

    63/2 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร : 0-2248-0059 แฟกซ์ : 0-2248-7849 - 50

    เว็บไซต์ :http://www.dhipaya.co.th อีเมล์ : [email protected]

    15.บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการ นายอนันต์ เกษเกษมสุข

    99 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

    โทร : 0-2670-4444 แฟกซ์ : 0-2280-0399

    เว็บไซต์ : http://www.deves.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    16.บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ประธานกรรมการ นายกวี อังศวานนท์

    34/3 อาคารรวมทนุไทย ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2652-2880 แฟกซ์ : 0-2652-2870-2

    เว็บไซต์ : http://www.thaiins.com/ อีเมล์ : [email protected]

    17.บริษัท ไทยประกันสุขภาพ จำกัด

    กรรมการผู้จัดการ นางวรางค์ เสรฐภักดี

    121/89 อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ ชั้น 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร : 0-2642-3100 แฟกซ์ : 0-2642-3130

    เว็บไซต์ : http://www.thaihealth.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    18.บริษัท ไทยพัฒนาประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้อำนวยการ นายไพศาล คุนผลิน

    34 ซ.สุขุมวิท 4 (นานาใต้) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร : 0-2253-4141, 0-2253-4343, 0-2253-4646 แฟกซ์ : 0-2253-0550, 0-2253-0606

    เว็บไซต์ : http://www.thaipat.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    19.บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กรรมการผู้จัดการ นายจิรวุฒิ บุญศิริ

    2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

    โทร : 0-2555-9100 แฟกซ์ : 0-2955-0150 - 1

    เว็บไซต์ : http://www.scsmg.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    20.บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

    กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสุรชัย ศิริวัลลภ

    223/1ซอยร่วมฤดี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2256-6822, 0-2651-4222 แฟกซ์ : 0-2256-6565, 0-2256-6832

    เว็บไซต์ : http://www.thaire.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    21.บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด

    กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายชาติชาย พานิชชีวะ

    126/2 ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600

    โทร : 0-2878-7111, 0-2860-8001 แฟกซ์ : 0-2439-4840

    เว็บไซต์ : http://www.thaisri.com/ อีเมล์ : [email protected]

    22.บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    160 ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2630-9055, 0-2630-9111 แฟกซ์ : 0-2237-4621, 0-2237-4624

    เว็บไซต์ : http://www.thai-setakij.com/ อีเมล์ : [email protected]

    23.บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด

    นางนุสรา บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ

    สำนักงานใหญ่

    170/74-83 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร1 ถนน รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. 10110

    24.บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด

    ประธานกรรมการ นายบันเทิง ตันติวิท

    1 อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้น 10 ถนนสุขุมวิท 25 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร : 0-2661-7999 แฟกซ์ : 0-2665-7304

    เว็บไซต์ : http://www.thanachartinsurance.com/ อีเมล์ : -

    25.บริษัท ธนสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายสุรศักดิ์ เกียรติกำจรยศ

    900/11-13,36 อาคารเอสวีโอเอทาวเวอร์ ชั้น G,15-17 ถ.พระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

    โทร : 0-2685-1800 แฟกซ์ : 0-2685-1900

    เว็บไซต์ : http://www.thanasin.co.th/ อีเมล์ : -

    26.บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายปิติพงศ์ พิศาลบุตร ประธานกรรมการ

    100/48-55 ชั้น 25-27 อาคารสาธรนครทาวเวอร์ เลขที่ 90/3-6 ชั้น 1 อาคารสาธรธานี สาธรธานีคอมเพล็กซ์ ถนนสาธรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500

    โทร : 0-2636-7900 แฟกซ์ : 0-2636-7999

    เว็บไซต์ : http://www.navakij.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    27.บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    นายสมบุญ ฟูศรีบุญ

    767 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

    โทร : 0-2911-4488, 0-2911-4567 แฟกซ์ : 0-2911-4477

    http://www.namsengins.co.th/ อีเมล์ : -

    28.บริษัท นิวอินเดียแอสชัวรันซ์ จำกัด

    65/142-143 อาคารชำนาญเพ็ญชาติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

    โทร : 0-2245-9988 แฟกซ์ : 0-2246-1351

    เว็บไซต์ : - อีเมล์ : -

    29.บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จำกัด

    989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้นที่ 21,22 และ 23 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2649-1000 แฟกซ์ : 0-2649-1140

    เว็บไซต์ : - อีเมล์ : -

    30.บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    175-177 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2233-6920 - 9, 0-2238-4111 แฟกซ์ : 0-2237-1856

    เว็บไซต์ : http://www.bui.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    31.บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด

    44 อาคารไทยธนาคาร ชั้น 23 -24 ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2657-1700 แฟกซ์ : 0-2657-1666-7

    เว็บไซต์ : - อีเมล์ : -

    32.บริษัท บูพา ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด

    38 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 9 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2234-7755 แฟกซ์ : 0-2234-5667

    เว็บไซต์ : http://www.bupathailand.com/ อีเมล์ : [email protected]

    33.บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

    นายยงยุทธ บวรวนิชยกูร

    26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 แฟกซ์ :0-2253-3701,0-2253-4222

    เว็บไซต์ : http://www.safety.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    34.บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

    นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล

    71 ถนนดินแดง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

    โทร : 0-2248-0900, 0-2248-2910, 0-2644-6400 แฟกซ์ : 0-2245-4575, 0-2248-4975

    เว็บไซต์ : http://www.thaivivat.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    35.บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด

    นายโยอิจิ ทามากาคิ ประธานกรรมการ

    195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

    โทร :0-2686-8888-9 แฟกซ์ : 0-2686-8601-2

    เว็บไซต์ : http://www.srimuang.co.th/ อีเมล์ :[email protected]

    36.บริษัท พระนครธนบุรีประกันภัย จำกัด

    127/26 ชั้น 21 อาคารปัจธานีทาวเวอร์ ถนนนนทรี(รัชดาภิเษก)แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

    โทร : 0-2295-3434 แฟกซ์ : 0-2295-3933

    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -

    37.บริษัท พุทธธรรรมประกันภัย จำกัด

    9/81 ซ.รัชประชา 2 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    โทร : 0-2585-9009 แฟกซ์ : 0-2911-0991 -4

    เว็บไซต์ :- อีเมล์ : -

    38.บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด

    123 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร : 0-2246-9635 - 54 แฟกซ์ : 0-2246-9660 - 1

    เว็บไซต์ :http://www.paibooninsurance.com อีเมล์ : -

    39.บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    คุณโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์ ประธานกรรมการ

    90/26-27 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 11 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2636-8118 แฟกซ์ : 0-2236-8119

    เว็บไซต์ : http://www.falconinsurance.co.th/อีเมล์ :[email protected]

    40.บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    นายธีระศักดิ์ แสนวรางกุล

    4-4/1อาคารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

    โทร : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5 แฟกซ์ : 0-2720-1128-29

    เว็บไซต์ : http://www.phoenix-ins.co.th/ อีเมล์ : -

    41.บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    กฤตยา ล่ำซำ

    สำนักงานใหญ่

    252 ถนนรัชดาภิเษก

    ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร. : 0-2290-3333

    โทรสาร : 0-2290-2033

    42.บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด สาขาประเทศไทย

    175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10210

    โทร : 0-2679-6165 - 87 แฟกซ์ : 0-2679-6209 - 12

    เว็บไซต์ : http://www.ms-ins.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    43.บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด

    สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา

    295 ถนนสี่พระยา แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646 แฟกซ์ : 0-2652-2870-2

    เว็บไซต์ : http://www.mittare.com/ อีเมล์ : [email protected]

    44.บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด

    สาระ ล่ำซำ (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ

    252 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร : 0-2290-3333 แฟกซ์ : 0-2665-4166

    เว็บไซต์ : http://www.mtins.com/ อีเมล์ : [email protected]

    45.บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด

    1466 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

    โทร : 0-2322-3001 - 49 แฟกซ์ : 0-2321-7332

    เว็บไซต์ : http://www.libertyinsurance.co.th/ อีเมล์ : info [email protected]

    46.บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด

    ดร.สุรชัย วังยายฉิม (ขวาสุด)

    121/7, 121/14-23, 121/25-28, 121/104 ชั้น 2-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

    โทร :0-2239-1000, 0-2641-3500-79 แฟกซ์ : 0-2641-3500 ต่อหมายเลข 1495

    เว็บไซต์ : http://www.viriyah.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    47.บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

    ชั้น 7 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

    โทร : 0-2263-0335 แฟกซ์ : 0-2263-0589

    เว็บไซต์ : http://www.ayud.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    48.บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด

    42 อาคารส่งเสริมประกันภัย ชั้น 2 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

    โทร : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9 แฟกซ์ : 0-2237-0808, 0-2267-0259

    เว็บไซต์ : http://www.songserm.co.th/ อีเมล์ : -

    49.บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด

    990 อาคารอับดุลราฮิมเพลซ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2636-2333 แฟกซ์ : 0-2636-2340 - 1

    เว็บไซต์ : http://www.sompojapanthai.com/ อีเมล์ : -

    50.บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำกัด

    ดร. สม จาตุศรีพิทักษ์ ประธานกรรมการ

    44/1 อาคารรุ่งโรจน์ ชั้น 12 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง

    เขตห้วยขวงา กรุงเทพมหานคร 10320

    โทร : 0-2202-9500 แฟกซ์ : 0-2202-9555

    เว็บไซต์ : http://www.scil.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    51.บริษัท สหนิรภัยประกันภัย จำกัด

    462/1-5 ถนนสี่พระยา แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

    โทร : 0-2236-0049, 0-2236-1290, 0-2236-1231 แฟกซ์ : 0-2236-1300, 0-2236-1211

    เว็บไซต์ : http://www.union-insurance.com/ อีเมล์ : [email protected]

    52.บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด

    259 ถนนราชวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100

    โทร : 0-2221-4373, 0-2222-9391, 223-2019 แฟกซ์ : 0-2225-1623

    เว็บไซต์ : http://www.upp.co.th/ อีเมล์ : [email protected]

    53.บริษัท สหวัฒนาประกันภัย จำกัด

    23/5 ซอยสุขุมวิท 39 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

    โทร : 0-2662-7000 - 9 แฟกซ์ : 0-2622-7010

    เว็บไซต์ : - อีเมล์ : [email protected]

    54.บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด

    1518/5 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

    โทร : 0-2913-2111, 0-2587-1111 แฟกซ์ : 0-2913-2130-4

    เว็บไซต์ : http://www.sampanhins.com/ อีเมล์ :[email protected]

    นางสาวนริศรา น้อยประชา

    รหัส 52127312006

    การเงินการธนาคาร 01

     

    SWOT การบินไทย
    S= Strength

    1. TG มีจุดบินในประเทศหลายเส้นทาง และมีเที่ยวบินในหลายช่วงเวลา เช่น กรุงเทพ-เชียงใหม่ ทำการบินประมาณวันละ 11 เที่ยวบิน นกแอร์ ทำการบิน วันละ 5 เที่ยวบิน และ แอร์เอเชีย วันละ 3 เที่ยวบิน เป็นต้น
    2.  TG มีการบริการอาหารและเครื่องดื่ม และบริการต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ผ้าเย็น ผ้าห่ม นิตยสาร ซึ่ง Lowcost Airline ไม่ได้มีไว้บริการฟรีแต่มีจำหน่าย(ของว่างและเครื่องดื่ม)
    3.  การเช็คอินTGสามารถระบุหมายเลขที่นั่งได้ ซึ่ง สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย ไม่ระบุหมายเลขที่นั่ง (นกแอร์มีบริการระบุเลขที่นั่งครับ)
    4.  TG น้ำหนักสัมภาระที่โหลดใต้ท้องเครื่องบิน 20 กก. แต่ Lowcost Airlines 15 กก.
    5.  ผู้โดยสารส่วนมากมีความเชื่อเกี่ยวกับขนาดของเครื่องบิน ถ้าเครื่องบินขนาดใหญ่จะมีความมั่นคงและเกิดอันตรายน้อยที่สุด (แต่จริืงๆแล้ว ถ้าจะเกิดอบุัติเหตุก็ต้องเกิด ขึ้นอยู่ำำกับหลายๆสาเหตุ)
    6.  การบินไทยมีบริการรถเข็นสำหรับคนพิการ หรือ คนชรา แต่ Lowcost Airline ต้องเสียค่าบริการ
    7.  การบินไทยสะสมไมล์ได้ในรายการสะสมไมล์รอยัล ออร์คิด พลัส และ สะสมไมล์กับกลุ่มสายการบินพันธมิตร Star Alliance  
    8.  การบินไทยเป็นบริษัทมหาชนที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาลแต่สายการบิน Lowcost ทั้งสองสายการบินดำเนินงานโดยบริษัทเอกชน (นกแอร์ การบินไทยมีหุ้นแค่39% อันนี้ไม่แน่ใจนะครับ ส่วนไทยแอร์เอเชีย เป็นการร่วมทุนระหว่างชินคอร์ปและ Air Asia Malaysia)
    9.  มีโปรแกรมการท่องเที่ยว ทัวร์เอื้องหลวง หลากหลายรุปแบบ เพิ่มโอกาสในการขายอีกหนึ่งช่องทาง
    10.  การบินไทยมีศูนย์ซ่อมและฝ่ายช่างที่ได้รับมาตรฐานระดับโลก ลูกค้าทั่วไปและลูกค้าสายการบินจึงไว้วางใจในการใช้บริการ
    11.  การบินไทยมีฝ่ายโภชนาการในดูแลเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม และมีชื่อเสียงในเรื่องของการบริการอาหารบินเครื่อง ในขณะที่สายการ Low Cost Airline มีเพียงของว่างและเครื่องดื่มจำหน่ายบนเครื่องบิน
    12.  ตั๋วโดยสารของการบินไทย เลื่อนเที่ยวบิน และเวลาเดินทางได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่ Lowcost Airline ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเลื่อนเที่ยวบินและเวลาเดินทาง ครั้งละ 500 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    13.  การบินไทย มีเครื่องบินประจำในฝูงเป็นจำนวนหลายลำ ถ้าเครื่องบินลำที่จะให้บริการเสีย จะมีลำื่อื่นมาทดแทนในเวลาใกล้เคียง แต่สายการบิน Lowcost ในประเทศไทย ยังมีฝูงบินประจำสายการบินไม่มากนัก เมื่อมีเหตุการณ์เครื่องเสียหรือล่าช้า จะส่งผลให้เที่ยวบินถัดมาเกิดการล่าช้าตามมา เพราะต้องใช้เครื่องบินที่อยู่ในฝูงบิน ทำการบินวนไปในหลายเส้นทาง ในวันหนึ่งๆ



    O=Opportunity
    1

    .  เพิ่มช่องทางการขายตั๋วโดยสารโดยผ่านทัวร์เอื้องหลวง หรือ ผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่านตัวแทนจำหน่าย ในขณะที่ Low Cost Airline ไม่นิยมขายผ่านตั๋วแทนจำหน่ายและทำเป็นแพ็คเกจทัวร์เนื่องจากตั๋วมีราคาถูกอยู่แล้ว ทำให้การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือแพ็คเกจทัวร์ ตัวแทนจำหน่ายเหล่านั้นอาจได้กำไรไม่ึคุ้มกับการดำเนินงาน สายการบิน Lowcost จึงเปิดช่องทางการจำหน่ายตั๋วโดยสารเพียง 2่ ช่องทางคือ Call Center และ สำรองที่นั่งผ่านอินเตอร์เนต
    2.  การบินไทยเป็นบริษัทมหาชนที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาล จึงได้รับการสนับสนุนเรืื่องการทำการตลาดจากรัฐบาลเช่น การโฆษณา ตามสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ ป้ายโฆษณา ซึ่งสายการบิน Lowcost จะมีจุดมุ่งหมายการโฆษณาไปที่ราคาของเส้นทางต่างๆของสายการบิน Lowcost มากกว่าที่จะโฆษณาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของบริษัท
    3.  การบินไทยมีเส้นทางต่างประเทศหลายเส้นทาง เครื่องบินเปรียบเสมือนสื่อโฆษณาเคลื่อนที่ ทำให้ชาวต่างชาติเห็นเครื่องบินของสายการบินไทย เพิ่มโอกาสในการสร้างการรับรู้ในตราสินค้า(Brand Awarness)  ในขณะที่สายการบิน Lowcost Airline จะบินแค่ภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน
    4.  การลงลวดลายบนตัวเครื่องบินของสายการบินที่ไม่ใช่ ตราสายการบิน เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมของประเทศหรือภาพลักษณ์ของบริษัท สร้างความประทับใจและการรับรู้ในตราสินค้า(ฺBrand Awarness) ได้อย่างดี เช่น เครื่องบินการบินไทย ลายสุพรรรณหงส์  สายการบินนกแอร์ ลายนกม่วง สายการบินบางกอกแอร์เวยส์ ลายสีสันเกาะช้าง เป็นต้น
    5.  การบินไทยมีงบประมาณทางด้านการตลาดอย่างเพียงพอในการเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับสายการบิน เช่น เป็นผู้สนับสนุนทางด้านการโดยสารเครื่องบิน(Official Carrier)ให้แก่ผู้เข้าประกวดMiss Universe 2005 เป็นต้น แต่ในขณะที่สายการบินแอร์เอเชียเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ สายการบินนกแอร์ ขายสื่อโฆษณาภายในตัวเครื่องบิน ให้แก่ ธนาคารHSBC และโทรศัพท์มือถือ Lexon เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่าการตลาดและการประชาสัมพันธ์ยังคงมีการแข่งขันกันอย่างรุึนแรงในอุตสาหกรรมการบิน แต่วิธิไหนจะใช้งบประมาณได้คุ้มค่าและได้ผลตอบรับที่ดีที่สุด
    6.  การจำหน่ายของที่ระลึกของสายการบินLowcost Airline ก็เป็นวิธีประชาสัมพันธ์หนึ่งที่ได้ผล เช่น เสื้อโปโล-แอร์เอเชีย, หมวก-นกแอร์  สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนสื่อโฆษณาเคลื่อนที่เพราะเมื่อผู้ที่ซื้อสินค้าเหล่านั้นสวมใส่ทำให้บุคคลทั่วไปได้มีโอกาสพบเห็น


    W= Weakness
    1.  ราคาตั๋วโดยสารภายในประเทศมีราคาสูงเมื่อเทียบกับราคาเริ่มต้นของราคาโปรโมชั่นของสายการบิน Lowcost Airline
    2.  การดำเนินงานต้องเป็นไปตามระบบบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ ซึ่งอาจไม่มีความสะดวกและคล่องตัวในการบริหารงานบางจุด เมื่อเทียบเท่ากับขนาดของบริษัทของสายการบิน Lowcost Airline
    3.  การมีเครื่องบินหลากหลายแบบ ทำให้มีต้นทุนในการซ่อมบำรุงที่สูงขึ้น เนื่องจากต้องมีบุคลากรและอุปกรณ์การซ่อมบำรุงเื่พื่อรองรับกับเครื่องบินหลากหลายแบบ ในขณะที่สายการบิน Lowcost Airline จะมีเครื่องบินแค่แบบเดียวเพื่อต้นทุนในการซ่อมบำีรุงที่ถูกลง เช่น นกแอร์ ใช้เครื่องบินแบบ B737-400 และ ไทยแอร์เอเชีย ใช้เครื่องบินแบบ 737-300
    4. ราคาตั๋วโดยสารของสายการบิน Lowcost จะขึ้นอยู่กับ Demand ของเส้นทางและเที่ยวบินนั้นๆ ฉะนั้นการจองในราคาเริ่มต้นระดับแรก จึงเป็นราคาที่ถูกที่สุด และราคาแบบนี้มีจำนวนจำกัด อีกทั้งการทำราคาตามDemandของผุ้โดยสารทำให้สายการบินLowcostAirlineสามารถกำหนดราคาได้ในหลายหลายระดับราคา แต่สายการบินไทยเป็นสายการบินแบบFull Service ระบบแบบราคาเีดียว(One Price) แม้จะเป็นที่นั่งราคาโปรโมชั่น แต่ก็มีจำนวนแค่ไม่ถึง 30%



    T=Treat

    1.  การแบกรับภาวะขาดทุน ในบางเส้นทางที่ยังไม่สามารถหาสายการบินอื่นมาทำการบินทดแทน เช่น เชียงใหม่  - แม่ฮ่องสอน
    2.  ต้นทุนในการให้บริการของการบินไทยมีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับ Lowcost Airline เนื่องจากสิ่งที่การบินไทยมีให้บริการจะไม่มีใน Lowcost Airlines
    3.  ในขณะนี้ทุกสายการบินประสบกับภาวะปัีญหาต้นทุนเชื้อเพลิง ทำให้การบินมีการปรับค่าธรรมเนียมเชื้อเพลงเป็น 300 บาทต่อเที่ยว เมื่อรวมกับค่าโดยสารและภาษีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้ราคาตั๋วอัตราที่สูงมากขึ้นเมื่อเที่ยบกับสายการบิน Lowcost Airline
    4.  การเกิดเหตูการณ์ธรณีพิบัติคลื่นสึนามิ ทำให้การบินไทยสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว เพราะจังหวัดที่ได้รับผละกระทบคือ ภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง  ซึ่งการบินไทยมีจุดบินในเส้นทางดังกล่าว 3 แห่ง ในขณะที่ Lowcost Airline มีจุดบินดังกล่าง เพียง 1 แห่งเท่านั้น
    5.  การเปิดน่านฟ้าเสรี ทำให้มีหลายๆสายการบินเกิดขึ้นในประเทศไทย บางจุดบินการบินไทยอาจจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่น้อยลงจากอดีต เนื่องมีสายการบินอื่นๆเข้ามาเป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมการบินในประเทศ

     

     

     

     

                                                                                                                    นายเรืองวิทย์  อุปชัย

                                                                                                             รหัสนักศึกษา   51127312032

    อยากทราบข้อมูล SWOT ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (53)

    และการวิเคราะห์ Five Force ธุรกิจการประกันฯ

    หากท่านไหนใจดี กรุณาช่วยโทรกลับด้วยนะ

    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

    ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องสินเชื่อครับ

    อยากทราบข้อมูล SWOT ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (53)

    และการวิเคราะห์ Five Force ธุรกิจการประกันฯ เหมือนกันค่ะ

    ใครทราบช่วยเมล์บอกหน่อยนะคะ

    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท