farm@kasetpibul
งานฟาร์ม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ม ราชภัฏพิบูลสงคราม

การทำปุ๋ยอัดเม็ด


การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด

อุปกรณ์

  1. เครื่องสับบดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
  2. เครื่องตีดินหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
  3. เครื่องคัดขนาดคัดวัสดุ
  4. เครื่องผสมปุ๋ย
  5. เครื่องปั้นเม็ดปุ๋ย

วัสดุทำปุ๋ยหมัก

            1.   เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เล็กหรือละเอียดพอประมาณ   3 ส่วน

            2.   แกลบเผาแกลบดำ   1  ส่วน

            3.   ปุ๋ยคอกมูลสัตว์  1  ส่วน

            4.   น้ำหมักชีวภาพ  1 ลิตร ผสมน้ำรดกองปุ๋ย / 1 ตัน

            5.   หินบด หรือ หินฟอสเฟต (โดโลไมท์)  1 กิโลกรัม / วัสดุ 1 ตัน                 

วิธีการทำ

  1. นำแกลบเผาแกลบดำมูลสัตว์ และ รวมถึงวัสดุอื่นๆวางเป็นชั้นตามอัตราส่วน
  2. ผสมคลุกเคล้าวัสดุแต่ละชนิดให้เข้ากันรดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ
  3. กองวัสดุให้เป็นสี่เหลี่ยมอาจมีท่อพีวีซีเก่าหรือลำไม้ไผ่ที่ทะลวงข้อออกแทงลงในกองวัสดุเป็นช่วงๆเพื่อให้อากาศกับจุลินทรีย์ในการย่อยสะลายวัสดุได้เร็วขึ้น
  4. กองทิ้งไว้ประมาณ 15-30 วันสามารถนำมาใช้ได้ (ขึ้นอยู่กับขนาดความชื้นวัสดุที่ทำ)

วิธีการอัดเม็ดปุ๋ย

            1.   นำปุ๋ยหมักใส่เครื่องบดให้ละเอียดเพื่อคัดขนาดตามที่สะดวกในการปั้นเม็ด 1 ส่วน

            2.   นำดินเหนียวเข้าเครื่องบดละเอียดขัดขนาดเพื่อช่วยจับเม็ดตามที่ต้องการ 0.5 ส่วน

            3.   นำปุ๋ยคอกมูลสัตว์เข้าเครื่องบดให้ละเอียดขัดขนาด 1 ส่วน

            4.   นำวัสดุกองรวมกันเป็นชั้นตามอัตราส่วนโรยหินบดหรือหินฟอสเฟต 1 กก.ต่อ 1 ตัน

            5.   นำวัสดุเข้าเครื่องผสมปุ๋ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน

            6.   ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมน้ำอัตราส่วน 20-50 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นขณะเครื่องทำงาน

            7.   นำปุ๋ยที่เป็นเม็ดแล้วไปตากในที่ร่มจนแห้งดี จึงบรรจุกระสอบเก็บไว้หรือนำไปใช้ได้เลย

                                                                                 ณัฐพงษ์ พรดอนก่อ

                                                                                       มิถุนายน 2553

ปริมาณธาตุอาหาร (เปอร์เซ็นต์) ในพืชและวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยหมัก

(กองปฐพีวิทยา, 2542)

ชนิดของธาตุอาหารจากพืช

ธาตุบำรุงต้น (N)

ธาตุตาดอก,ผล (P)

ธาตุประสิทธิภาพผล (K)

ละอองข้าว

2.71

0.68

0.59

ขี้เถ้าแกลบ(85-90%SiO2)

0

0.15

0.81

ใบกระถินณรงค์

1.58

0.10

0.40

ใบกระถินเทพา

1.09

0.03

0.06

ผักตบชวา

1.55

0.46

4.90

ใบฉำฉา

2.10

0.09

0.40

โสนไทย (S.javanica)

2.06

0.42

1.90

ปอเทือง

1.98

0.30

2.41

ถั่วมะแฮะ

1.42

0.26

0.90

ถั่วพร้า

3.03

0.37

3.12

ถั่วพุ่ม

2.05

0.22

3.20

ถั่วเหลือง

2.71

0.56

2.47

ถั่วเขียว

1.85

0.23

3.00

กระถินยักษ์

3.70

0.24

1.88

ต้นข้าวโพด

0.71

0.11

1.38

ต้นมันสำปะหลัง

1.23

0.24

1.23

แหนแดง

3.30

0.57

1.23

กากตะกอนอ้อยจากโรงงาน

น้ำตาล (Filter cake)

1.01

2.41

0.44

มูลวัว

1.10

0.40

1.60

มูลควาย

0.97

0.60

1.66

มูลสุกร

1.30

2.40

1.00

มูลไก่

2.42

6.29

2.11

มูลเป็ด

1.02

1.84

0.52

มูลค้างคาว

1.54

14.28

0.60

ปุ๋ยหมักฟางข้าว

1.34

0.53

0.97

ปุ๋ยหมักจากหญ้าแห้ง

1.23

1.26

0.76

เปลือกถั่วเหลือง

1.04

0.06

0.77

หมายเลขบันทึก: 366425เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยากได้ความรู้เลืองปุ้ยอินทรีย์อัดเม็ด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท