อบรมเขียนโปรแกรมและแข่งขันหุ่นยนต์


ศูนย์ICTเชียงกลมวิทยา อบรมการเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์ และการแข่งขันหุ่นยนต์ของศูนย์หุ่นยนต์ สพฐ.เลย

 12-13 มิถุนายน 2553 แม้จะเป็นวันหยุด แต่คุณครูโรงเรียนเชียงกลมวิทยาและโรงเรียนอื่น ก็มิได้หยุดพักผ่อน ทุกคนได้สละเวลาอันมีค่าพาเด็กๆ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบและเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ     

ซึ่งเช้าวันที่ 12 มิถุนายน มีพิธีเปิดการอบรมที่ห้องประชุมเร่งสู่ฝัน  และพิธีเปิดการแข่งขันหุ่นยนต์ที่หอประชุมใหญ่ โรงเรียนเชียงกลมวิทยา ในครั้งนี้ได้รับความรู้จากวิทยากร คือ อ.ธรรมรัตน์  จิตรประเสริฐ ครูคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนเชียงคาน เดิมทีอาจารย์เคยสอนที่โรงเรียนเชียงกลมวิทยามาก่อน เพิ่งย้ายไปได้ประมาณ 1-2 ปี ก็เลยเป็นบรรยากาศแบบเป็นกันเอง แต่เต็มไปด้วยความรู้ใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีคณะครูทีมงานคอมพิวเตอร์และครูทีมงานหุ่นหุ่นเชียงกลมวิทยาหลายท่าน ร่วมเป็นวิทยากร

    และในวันที่ 13 มิถุนายน มีการประลองสนามและทำการแข่งขันเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนศูนย์หุ่นยนต์ สพฐ. จังหวัดเลย(เชียงกลมวิทยา) ในครั้งนี้นอกจากโรงเรียนเชียงกลมวิทยา ก็ยังมีโรงเรียนเชียงคาน โรเรียนเหมืองแบ่งวิทยาคม โรงเรียนปากชมวิทยาเข้าร่วมในการแข่งขัน ทั้งประเภทหุ่นยนต์อัตโนมัติ และหุ่นยนต์ทำมือ ระดับ ม.ต้น ม.ปลาย หลายทีมด้วยกัน

               ภาพบรรยากาศในการรับความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ เด็กๆ และครูตื่นเต้นน่าดู เมื่อรับความรู้ต้องลงมือปฏิบัติ และนำความรู้มาประยุกต์คำสั่งให้เข้ากับสนาม งานนี้ทั้งสนุกและลุ้นกันใหญ่เลยค่ะ

 

เขียนโดยครู พิกุล  พุทธมาตย์

และที่เขียนโดยครู เกษร ภูมิดี ดังนี้

ศูนย์หุ่นยนต์ สพฐ. จังหวัดเลย (โรงเรียนเชียงกลมวิทยา) ได้จัดกิจกรรม "การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. จังหวัดเลย  ประจำปีการศึกษา 2553" ขึ้น  เพื่อคัดเลือกทีมที่ชนะเลิศ ในแต่ละประเภท เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. โอลิมปิก ประเทศไทย ปี 2553 ในเดือน กรกฎาคมที่จะมาถึงนี้

      การประกวดและการแข่งขันเป็น 2  กลุ่ม คือ 
  • การประกวดหุ่นยนต์ (หุ่นยนต์ความคิดสร้างสรรค์) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
      1) การประกวดโครงงานหุ่นยนต์ทำมือ
      2) การประกวดโครงงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือ โครงงานระบบอัตโนมัติ 
  • การแข่งขันหุ่นยนต์ (การแข่งขันทำภารกิจบนสนามไม้) แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
      1) การแข่งขันหุ่นยนต์บังคับมือ ประกอบด้วย 6 กติกา  คือ
         1.1) หุ่นยนต์พลังช้าง  (ระดับประถม)
         1.2) หุ่นยนต์วิ่งสองขา  (ระดับประถม)
         1.3) หุ่นยนต์วิ่งสองขา ไตรกีฬา มหาสนุก  (ระดับ ม.ต้น)
         1.4) หุ่นยนต์ต่อสู้ 1 ตัว (ระดับ ม.ต้น)
         1.5) หุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์  (ระดับ ม.ปลาย)
         1.6) หุ่นยนต์ต่อสู้ 2 ตัว  (ระดับ ม.ปลาย)
      2) การแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติ
         2.1) การแข่งขันการปฏิบัติการหุ่นยนต์อัตโนมัติ ตามภาระกิจสนาม แบ่งเป็น 3 ระดับ  คือ  ระดับประถมศึกษา ระดับ ม. ต้น และ ระดับ ม.ปลาย
       ผลการแข่งขันจากการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้  คือ
       - หุ่นยนต์วิ่งสองขา ไตรกีฬา มหาสนุก  (ระดับ ม.ต้น) : โรงเรียนเชียงกลมวิทยา
       - หุ่นยนต์ต่อสู่ 1 ตัว (ระดับ ม.ต้น) : โรงเรียนเชียงกลมวิทยา
       - หุ่นยนต์สำรวจดาวนพเคราะห์  (ระดับ ม.ปลาย) : โรงเรียนเชียงกลมวิทยา
       - หุ่นยนต์ต่อสู้ 2 ตัว  (ระดับ ม.ปลาย) : โรงเรียนเชียงกลมวิทยา
       - หุ่นยนต์อัตโนมัติ ตามภาระกิจสนาม (ระดับ ม.ต้น) : โรงเรียนเชียงกลมวิทยา
       - หุ่นยนต์อัตโนมัติ ตามภาระกิจสนาม ระดับ ม.ปลาย) : โรงเรียนเชียงกลมวิทยา
เก็บภาพบรรยากาศมุมต่างๆ มาฝากคะ
บรรยากาศการอบรมการประกอบและเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ วันแรก
บรรยากาศสนามแข่งขัน และการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
การแข่งขันหุ่นยนต์ทำมือ ประเภท หุ่นยนต์ต่อสู้ 1 ตัว
การแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติ ตามภาระกิจของสนาม ม.ต้น
การแข่งขันหุ่นยนต์ไตรกีฬา วิ่ง 2 ขา มหาสนุก
      จากผลการแข่งขันในวันนี้  ตัวแทนนักเรียนจะได้มีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ.โอลิมปิก ประเทศไทย ประจำปี 2553 ต่อไป  ร่วมเป็นกำลังใจให้กับนักเรียนทุกๆ คนคะ
>>>
      สำหรับผู้ที่สนใจ ศึกษา...กติกาหุ่นยนต์ สพฐ. โอลิมปิก ประเทศไทย ปี 2553 สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ จากลิงค์...ได้คะ
>>>
หมายเลขบันทึก: 366420เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท