+ข้อเสนอ 10 ประการด้านอาชีวศึกษาที่เสนอต่อสภาการศึกษาฯ


ข้อเสนอ 10 ประการด้านอาชีวศึกษาที่เสนอต่อสภาการศึกษาฯ

 

จากการเข้าร่วมสัมมนาในการประชุมฯ ได้รับฟังเรื่องที่น่าสนใจจากคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา นายสนอง  อิ่มเอม อดีตผู้บริหารของ สอศ. ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบร่วมกับ สมศ. ท่านได้ให้ความรู้และเสนอแนะแนวทางที่หลายหลายเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ซึ่งพอสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้

 

จากการที่ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา จากผลงานที่ผ่านมาก็ได้มีบทบาทในการเสนอ 10 หัวข้อเรื่องที่เกี่ยวพันกับอาชีวศึกษาให้กับสภาการศึกษาฯ ดังนี้

*ควรจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ  ตัวอย่างที่อาชีวศึกษาเคยมีการทำในเรื่อง VQ  ในแต่ละระดับ

*รัฐบาลควรมีนโยบายพัฒนาครูอย่างจริงจัง

*การกำหนดนโยบายในการรับนักศึกษาควรคำนึงถึงความถนัดด้านวิชาชีพ และมีการทดสอบ Attitude test

*ควรกำหนดความต้องการให้มีอัตราจ้างของระดับ ปวส. เพิ่มมากขึ้น

*สถานศึกษาใดได้รับผลการประเมินในระดับ ดีมาก สามารถออกนอกระบบราชการได้ และให้สถานศึกษาเป็นผู้ตัดสินใจเอง

*แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมให้มีการประเมินคุณภาพ

*สถานศึกษาที่ “ไม่รับรอง” (ติดรอ รอพินิจ) เสนอให้มีคณะอนุกรรมการกำกับดูแลติดตามเพื่อให้มีการพัฒนา (รอบแก้ตัว)

*รัฐบาลควรสนับสนุนเงินเดือน โดยเฉพาะครูอัตราจ้างให้เหมาะสม

*รัฐบาลไม่ควรเปิดอาชีวศึกษาเพิ่มเติมอีก

*รูปแบบประเมินวิทยฐานะ นำเอาเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกเข้ามาจับ

 

 

Photobucket

คณะครูและนักศึกษาองค์การฯ วท.เพชรบูรณ์

 

ทั้ง 10 หัวข้อที่ผู้เขียนได้รับฟังและนำมาสรุปอาจจะมีการคลาดเคลื่อนเล็กน้อยสำหรับบางหัวข้อ ซึ่งทั้ง 10 เรื่องพบว่า บางหัวข้อได้รับการขับเคลื่อนได้แก่ นโยบายพัฒนาครูอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน สถานศึกษาเล็ก ๆ ต้องส่งรายชื่อผู้สอนซ้ำ ๆ เข้ารับการประชุมอบรมสัมมนาที่มีหัวข้อที่น่าสนใจแทบทั้งสิ้น  หรือสถานศึกษาใหญ่ก็ติดขัดในเรื่องการเดินทางเนื่องจากเป็นช่วงระหว่างเปิดภาคเรียนที่ผู้สอนต้องมีภาระและต้องพบผู้เรียนในช่วงเวลาดังกล่าว  ถัดจากช่วงนี้ การประชุมอบรมสัมมนายังจะมีต่อเนื่องหรือไม่ ก็ต้องคอยติดตามกันต่อไป

 

 

สถานศึกษาที่รอพินิจ  สอศ.ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลติดตาม โดยเฉพาะในส่วนของภาคเหนือก็ได้มีทีมงานของศึกษานิเทศก์และคณะกรรมการในภาคได้รีบดำเนินการให้คำปรึกษา เสนอแนะและติดตามการดำเนินงานในบางตัวบ่งชี้ที่สถานศึกษาที่อยู่ในระดับต้องปรับปรุง

 

 

รัฐบาลไม่ควรเปิดอาชีวศึกษาเพิ่มเติมอีก  ซึ่งก่อนหน้านี้จะพบว่า อาชีวศึกษาได้ประกาศจัดตั้งสถานศึกษาที่มีชื่อ  วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ... เพิ่มขึ้น หากสถานศึกษาเหล่านั้นอยู่ประจำในเขตของอำเภอที่ห่างจากจังหวัดก็เท่ากับสนองความต้องการและเปิดโอกาสทางด้านอาชีวศึกษาให้แก่ชุมชนนั้น ๆ  สำหรับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองใหญ่ ก็เท่ากับเพิ่มจำนวนสถานศึกษาให้มากขึ้น ทั้ง ๆ ที่มีอาชีวศึกษาเอกชนเรียงเปิดกันเป็นดอกเห็ด มีตึกอาคารของสถานศึกษาทิ้งว่างเปล่าอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถหาผู้เข้ามาเรียนได้พร้อมกับปัญหาการแข่งขันกันก็สูงขึ้นตามลำดับ

 

 

สามเรื่องที่เขียนมาอยู่ในฐานะคนที่มองดูห่าง ๆ และติดตามงานของอาชีวศึกษา ถึงแม้ว่าไม่ต่อเนื่องก็พบว่าได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาด้านการอาชีวศึกษาได้เสนอและยังมีอีกหลายข้อที่เราชาวอาชีวศึกษาอยากให้เป็นจริงขึ้นมาไม่ว่า จะเป็นควรกำหนดความต้องการให้มีอัตราจ้างของระดับ ปวส. เพิ่มมากขึ้น  รูปแบบประเมินวิทยฐานะ นำเอาเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกเข้ามาจับ การกำหนดนโยบายในการรับนักศึกษาควรคำนึงถึงความถนัดด้านวิชาชีพ และมีการทดสอบ Attitude test  และอื่น ๆ ตามลำดับ  คุณ..ก็เป็นอีกคนหนึ่งใช่หรือไม่ที่จะมาช่วยกันพัฒนาอาชีวศึกษา

 

 

ผู้เขียน นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์  ศึกษานิเทศก์   เขียนวันที่ 14 มิถุนายน  2553
จากการเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
วันที่ 25-26  พฤษภาคม  2553  โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

หมายเลขบันทึก: 366320เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท