14. คุณครู กับ ฟ.ฟัน ของนักเรียน


แล้วเราจะช่วยกันอย่างไร ?

         ผู้เขียนยังจำคำพูดที่คุณหมออ๊อดพูดในขณะบอกเล่าสถานการณ์เกี่ยวกับช่องปากในเด็กนักเรียน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน อยู่ตอนหนึ่งได้ในวันนั้น “  อาจารย์ครับ !ผมจำได้ว่างานทันตสาธารณสุขกับงานอนามัยโรงเรียน  เราไม่ได้เพิ่งเริ่มต้น  แต่เราร่วมทำงานมาด้วยกันนานแล้ว  นานจนผมจำไม่ได้ว่า กี่ปีมาแล้ว  แต่ดูจากค่าเฉลี่ยต่างๆของนักเรียนใน 8 จังหวัดภาคเหนือของเรา  ทั้งด้านความชุกและความรุนแรง  ดูเหมือนแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างช้าๆและต่อเนื่อง... ผมว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องหันกลับมาทบทวนร่วมกันแล้วว่า   ปัจจุบันเราได้มาการเฝ้าระวังพอแล้วหรือยัง เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพในช่องปากของนักเรียน   อาจารย์ลองนำข้อมูลภาพรวมที่ผมนำเสนอ  ไปเทียบเคียงกับข้อมูลนักเรียนในโรงเรียนเราเอง  เพื่อเก็บเป็นคำถามว่า  แล้วเราจะช่วยกันอย่างไร ???”

คุณหมออ๊อด ทพ.สมศักดิ์  เลิศจีระจรัส

       จึงเป็นที่มาของการเข้ามา ลปรร.ระหว่างโรงเรียนต่างๆ  โดยมอบหมายโรงเรียนที่ผ่านการประกวดโรงเรียนดีเด่นด้านทันตสุขภาพ ใน 3 หมวดกิจกรรม  ซึ่งในรายละเอียดจะกล่าวในอันดับต่อไป   มาเป็นผู้เล่าเรื่อง ว่าเขาทำอย่างไรจึงประสบผลสำเร็จ  ลองตามอ่านดูนะคะ  เผื่อท่านผู้อ่านที่เป็นคุณครูอาจจะนำไปต่อยอดได้ค่ะ

        วันนั้น พญ.กรรณิการ์  บางสายน้อย   ได้ให้เกียรติเปิดงานในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เพื่อพัฒนางานโรงเรียนด้านทันตสุขภาพ” ระหว่างวันที่ 10 -11 มิถุนายน 2553        

          เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณครู    ทางทีมงานจึงเชิญผู้ที่รอบรู้ด้านหลักสูตร อาจารย์ศรีทูล  ถาธัญ  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่  เขต 4 ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการ

 อจ.ศรีทูล  ถาธัญ

ทีมงานของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

    อาจารย์ศรีทูล ท่านก็เริ่มเสริมแรงด้วยการให้แนวคิด  หลักคิดในการทำงาน  ทุกอย่างสำคัญที่ใจ  งานทุกอย่างถ้าเราคิดว่าทำได้  เราก็จะทำสำเร็จ แต่เมื่อไรคิดว่ายาก  หรือไม่ใช่หน้าที่  ก็ไม่มีวันที่จะสำเร็จ   เพียงคิดต่างกันนิดเดียวแต่ผลที่ออกมาต่างกันมากมาย 

      ถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับแนวคิดใหม่  อาจารย์กล่าวว่า “งานทันตสาธารณสุขไม่ใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น   แต่เป็นเรื่องของทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นครู  ผู้ปกครอง  ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ต้องหันกันมาเอาใจใส่ลูกหลานของเรา    แต่ผมมั่นใจว่า  ทุกท่านที่มาในวันนี้เป็นผู้ที่ปรับแนวคิดเรียบร้อยแล้วท่านจึงทำได้สำเร็จ   ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่จึงเชิญท่านมาแบ่งปัน  บอกเล่า  ชักชวนให้โรงเรียนอื่นๆลองนำความคิดนี้ไปต่อยอดต่อไป” 

 

        ผู้เขียนในฐานะที่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่าย  ช่วยเหลือและพึ่งพากับคุณหมออ๊อดและทีมงานทันตสาธารณสุขของศูนย์อนามัยที่ 10 มาตลอด   วันนี้จึงได้มีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานทันตสาธารณสุข   ขอทำหน้าที่เป็นผู้เอามาเล่าต่อ  เพราะเห็นว่าถ้าทุกโรงเรียนทำได้  คนที่จะได้ประโยชน์  อันดับ 1 คือ ลูกศิษย์ที่น่ารักของคุณครูนั่นเอง  โดยขอเล่าในภาพรวมจากการเติมเต็มของแต่ละหมวดโดยโรงเรียนที่ชนะเลิศระดับเขตและผู้เข้ามา ลปรร. ในวันนั้น    

 อาจารย์ที่มาเล่าเรื่องในวันนั้น

หมวดที่ 1   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ทันตสุขภาพที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา  ซึ่งโรงเรียนที่ชนะเลิศที่ได้มาเล่าเรื่อง ได้แก่

  • โรงเรียนเทศบาล 3 (บุญทวงศ์ อนุกูล) อ.เมือง จ.ลำพูน

  • โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านศรีบุญเรือง) อ.เมือง จ.ลำปาง

  • โรงเรียนอนุพงศ์พัชรินทร์  อ.สูงแม่น  จ.แพร่ 

        ซึ่งโดยภาพรวมสรุปเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จของทั้ง  3 โรงเรียนคล้ายกัน  ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้   คือ 

1. ศึกษาปัญหาจากการที่นักเรียนมีปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากมาก  พบว่าจำนวนชั่วโมงที่จะได้เรียนเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากมีน้อย     เฉพาะในวิชาสุขศึกษาและพละสับดาห์ละ 1 ชั่วโมงเท่านั้น   ซึ่งถือว่าน้อยมาก     

2. ผู้บริหาร  และคุณครูจึงมาทบทวนร่วมกัน   จึงตกลงบรรจุลงไปในทุกรายวิชา โดยต้องมีกิจกรรมแผนการสอนด้วย

3. วิเคราะห์หลักสูตร  โดยยึดหลักสูตรแกนกลางเป็นหลัก

4. วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร

5. จัดทำผังมโนทัศน์ของสาระรายวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา

6. บูรณาการหน่วยการเรียนรู้กับกลุ่มสาระต่างๆ

7. จัดทำโครงสร้างรายวิชา  ประกอบด้วย

7.1    ชื่อหน่วยการเรียนรู้

7.2    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

7.3     มาตรฐานการเรียนรู้    ตัวชี้วัด

7.4     สาระสำคัญการเรียนรู้

7.5     สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนรู้

7.6     คุณลักษณะที่พึงประสงค์

7.7     สาระการเรียนรู้

7.8     ภาระชิ้นงาน / งาน

7.9     เกณฑ์การประเมิน (ที่วัดตามภาระงาน)

7.10   กิจกรรมการเรียนรู้

8. จัดทำแผนการเรียนรู้ของแต่ละระดับชั้น  ยากง่ายตามลำดับเนื้อหา

9. ลงมือปฏิบัติตามแผน

9.1     จัดทำใบความรู้

9.2     แบบฝึกทักษะ

9.3     สื่อการสอน

9.4     การวัด ประเมินผล (การทดสอบก่อนหลังเรียน  เพื่อดูประสิทธิภาพของแผนการสอน)

10. กิจกรรมการเรียนรู้

                   

หมวดที่ 2  การควบคุมการบริโภคอาหาร /ขนมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ซึ่งโรงเรียนที่ชนะเลิศที่ได้มาเล่าเรื่อง ได้แก่

  • โรงเรียนบ้านนาจักร (จักราษฎร์บำรุง) อ.เมือง จ.แพร่

  • โรงเรียน ราชานุบาล  อ.เมือง  จ.น่าน

  • โรงเรียนมารดาอุปถัมภ์  อ.เมือง จ.แพร่

      สรุปเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จของทั้ง 3 โรงเรียนคล้ายกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้   คือ  การใช้กระบวนการกลุ่ม

 1. สำรวจปัญหาของนักเรียน  ดึงปัญหาด้านสุขภาพที่เร่งด่วนออกมาแก้ไข

  • ปัญหาสุขภาพช่องปาก

  • การบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ

  • เด็กมีภาวะโภชนาการเกิน

2. นำปัญหาที่พบ  เสนอผู้บริหาร เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน

3. ร่วมวางแผนดำเนินการ

  • จัดตั้งกรรมการรับผิดชอบ

  • กำหนดตัวชี้วัด  ที่วิเคราะห์ตรงกับตัวชี้วัดของหลักสูตร

4. ดำเนินการตามแผน

5.   ประเมินผล

6.   การขยายเครือข่าย /ต่อยอดกิจกรรม

                    

หมวดที่ 3  การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน  ซึ่งโรงเรียนที่ชนะเลิศที่ได้มาเล่าเรื่อง ได้แก่

  • โรงเรียนวัดจอมทอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่

  • โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ อ.แม่สะเรียง  จ.แม่ฮ่องสอน

  • โรงเรียนบ้านวังหงส์ ( วังหงส์วิทยาคาร) อ.เมือง จ.แพร่

      สรุปเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จของทั้ง 3 โรงเรียนคล้ายกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้   คือ  การใช้กระบวนการกลุ่ม

 1. ค้นหาปัญหา และสาเหตุของนักเรียน 

2. วิเคราะห์ปัญหา

3. ระดมสมอง  และวางแผน

4. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ

5. สร้างการตระหนักให้นักเรียน

6. ดำเนินกิจกรรมตามแผน

7. ตรวจสอบ ประเมินผล

8. พัฒนาต่อเนื่อง

 

       อาจารย์ศรีทูล  ได้เพิ่มเติมอย่างย่อๆเล็กน้อยหลังจากที่ทั้ง 3 หมวด ได้นำเสนอแล้ว  ดังนี้

1. เริ่มจากศึกษา  วิเคราะห์  สภาพ ปัญหา ความต้องการ

2. เมื่อได้ปัญหาแล้ว  นำมาสู่การวางแผน  ซึ่งแล้วแต่เทคนิคของแต่ละโรงเรียน   เน้นเป็นกิจกรรม  และแต่ละกิจกรรมต้องมีกระบวนการ  ขั้นตอน

3. ลงสู่การปฏิบัติ  ซึ่งต้องมี

  • การสนับสนุน

  • การประสานงาน กับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  เช่น หน่วยงานรัฐ  วัด  ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชน

  • ต้องมีการกำกับติดตามของบุคคลภายนอก  เช่น การจัดเวที ลปรร.  เพื่อมองให้เห็นการทำงานของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

  • การเสริมแรง  ซึ่งไม่ได้หมายถึงเงินเสมอไป  อาจเป็นคำแนะนำ  กำลังใจจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

4. มีการประเมิน  สรุปผล ในวงรอบการทำงานแต่ละขั้นตอน  เพื่อเป็นร่องรอยหลักฐานที่สำคัญ  เพื่อเสนอ  รอรับการประเมินติดตามงาน   ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้

  • การสรุป ประเมินที่คุณภาพ

  • การสรุป ประเมินที่กระบวนการ

  • การสรุป ประเมินที่ตัวชี้วัด

  • การสรุป ประเมินที่หลักสูตร

                    

            อาจารย์ฝากบอกตอนท้ายว่าทุกท่านที่มาในวันนั้น  เป็นผู้ที่พัฒนาแล้ว  พร้อมที่จะรับสิ่งดีๆ เติมเต็มในทุกครั้งที่มีโอกาส  และพร้อมที่จะเอาไปบอกต่อ  เพราะท่านเหล่านั้นไม่ได้เป็นพวกที่ทำตัวเหมือนกลอนข้างล่างนี้ค่ะ

        ผู้เขียนเองก็คิดว่า... ท่านผู้อ่านที่เป็นบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถหยิบฉวยบทสรุปเรื่องเล่าเหล่านี้  ไปปรับ เปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนตัวเองและใช้ได้เลย   เห็นด้วยไหมคะ

ภาพกิจกรรมวันนั้น  ที่ยืนยันว่าอาจารย์มีความสุขที่ได้มาค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 366027เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2010 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยวมารับความรู้และนำไปใช้ในงานอนามัยโรงเรียนได้ดีเลยค่ะ ..เด็กโตชอบเคี้ยวหมากฝรั่ง ดื้อๆๆมากๆคงใช้วิธีบูรณาการทุกสาระแบบนี้ดีเลยค่ะ

  • มาชมผลงาน สุดยอดนักจับประเด็นจ้า
  • ขอให้ อนาคตเด็กภาคเหนือฟันดี๊ดีนะคะ
  • มหา แวะมาชื่นชมกิจกรรมที่ดี ๆ
  • อย่างนี้ต้องชม

สวัสดีค่ะ

 

เยี่ยมมากเลยค่ะ การทำงานต้องทำด้วยใจ  และมีการประสานความร่วมมือเป็นภาคีเครือข่าย ให้เกิดความเข้มแข็ง ...

เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก หากนำแนวความคิดนี้ไปปรับใช้ในโรงเรียนแต่ละแห่ง

ขอบคุณมากค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณมนัญญา

ขอก๊อปปี้หลักการและแนวคิด ไปปรับใช้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์จริงๆ

P

นำไปปรับใช้ได้เลย

เพราะได้มาจากการลงมือทำจริงค่ะ

P

เอาไปให้โรงเรียนได้ลองไปใช้ดูนะคะ

ต่อไปงานโรงเรียนระดับเพ็ชรคงผลุดขึ้นมามาก

 P

มาเยี่ยมก่อน

เพราะเดี๋ยวมีธุระกับสหรัฐและอังกฤษค่ะ

P

เพราะเขาเล่าได้ละเอียด

เลยเก็บประเด็น

มาได้มากค่ะ

P

น้องตูฒลองเอาไปใช้ได้เลยค่ะ

อาจปรับเปลี่ยนแฮ๋มน้อยก่อได้เจ้า

เห็นรูปฟรีเซ้นท์  ของบรรดา อาจารย์ สงสัยร้องเพลง ตื่นเช้าอาบน้ำล้างหน้า ต่อมาก็มาแปรงฟัน จำได้แค่นี้ แหละ เพลงสมัยก่อนด้วย  เพลงเกี่ยวกับการแปรงฟันนี่แหละ สมัยเด็กๆๆ จำเนื้อเพลงไม่ได้ ก็ให้นักเรียน ออกมาแสดงด้วย  สมัยนี้ก็ไม่แพ้กัน เพื่อการรู้จักรักษาฟัน สมัยก่อน สมัยพี่สุเป็นนักเรียนเอกชน  มีแต่คุณครู  มาตรวจเล็บมือ เล็บเท้า  ขี้ไคลที่คอ  ถุงเท้า รองเท้า สมัยก่อน รู้สึกจะไม่มี อสม.คุณครูต้องดูแลอนามัยเด็กแทน โดยสอนวิชาสุขศึกษา

-         ทุกวันนี้ อสม. และโรงเรียนก็พัฒนาร่วมกัน  ล้างมือให้สะอาดยังมีเพลงเลย และยังมีท่าทางประกอบเสียงเพลงด้วย  แปรงฟันก็คงจะมีเพลงเช่นกัน

-         -พี่สุก็ขอชมเชย คุณหมออนามัยทั้งหลาย ที่กระจายไปถึงโรงเรียนด้วยคะ ความสุขอยู่ที่เข้าใจ และสุขอยู่ที่ได้ดูแลอนามัย ลูกหลานในชุมชนตนคะ

-และสุขพร้อมที่จะพัฒนา ไม่เป็นชาล้นถ้วย เพื่ออนามัยลูกหลานคะ

สวัสดีครับ  คุณมนัญญา

 

• แวะมาอ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวงานทันตกรรม ครับ

• ห่างเหินและห่างหายกันค่อนข้างนาน...อิอิ

• ขอบคุณที่แวะไปเยือน ครับผม

 

 

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษรานำภาพลีลานักฟุตบอล และ ลีลากรรมการมาฝาก ใครจะแน่กว่าใคร....ท่านผู้ชม

              

 

                             แอบแวะมาหา

         เห็นด้วยในภาพสุดท้ายค่ะ เป็นความพร้อมในการปฏิบัติเพื่อนักเรียนที่ดีมากค่ะ

               

             

 

คิดถึงจังเลย...อ่านเรื่องดีดี..กิจกรรมดีดีแล้วชื่นใจนะคะ

กำลังนั่งปวดฟันอยู่พอดีเลยค่ะพี่เขี้ยว

พี่เขี้ยวกับกิจกรรม ฟ ฟัน น้องต้องดูแลอย่างใกล้ชิด น่ารักจังค่ะกิจกรรมนี้ คิดถึงพี่เขี้ยวนะคะ

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยว ฝนมาก็เห็ดมานะคะ..น้องก็ไปเก็บนะคะ หุหุ เก็บที่บ้านเด็กน่ะ ไม่ทราบว่าพี่ทานได้ป่ะ มีเยอะนะ ข้างในขาวๆๆ หนุ่ม ไม่แก่ อิอิ

สวัสดีค่ะคุณหมอเขี้ยว

 

มาหย่อนความคิดถึงไว้ให้เจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านนี้รักษาสุขภาพมากๆ 

ขอเกาะกระแสบอลโลกหน่อยนะ... ส่งสาวน้อยมานั่งเชียร์บอลเป็นเพื่อนคุณหมอตอนดึกๆ ค่ะ...   

         

 

สวัสดีค่ะ

ส่งผลการตรวจฟันครั้งแรกไปแล้วค่ะ

สวัสดีครับ คุณ มนัญญา

เขาไม่ให้อยู่บุญดึกแล้ว ก็ยังติดนิสสัยไม่นอนกลางคืนอยู่

งานที่รับมอบหมายต้องมาทำกลางคืนด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท