การดัดแปลงทำนองเพลงบังใบเป็นเพลงไทยสากล


เพลงบังใบเป็นเพลงอัตราสองชั้น เป็นเพลงเก่าไม่ทราบนามผู้แต่ง ประเภทหน้าทับสองไม้ มีสองท่อน ใช้ขับร้องในการแสดงโขนละคร

ว่าด้วยเรื่องของเพลงบังใบ

 

๑. เพลงบังใบเป็นเพลงอัตราสองชั้น เป็นเพลงเก่าไม่ทราบนามผู้แต่ง ประเภทหน้าทับสองไม้ มีสองท่อน ใช้ขับร้องในการแสดงโขนละคร ภายหลังมีผู้นำมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตราสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียวครบเป็นเพลงเถา มีอยู่หลายทางด้วยกัน ทางที่นิยมมากคือ ทางปี่พาทย์ของจางวางทั่ว พาทยโกศล ทางของครูช้อย สุนทรวาทิน และทางของพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เพลงบังใบเป็นเพลงในตับวิวาห์พระสมุทรเช่นเดียวกับเพลงคลื่นกระทบฝั่ง และแขกสาหร่าย

๒. บทร้องเพลงบังใบเถา มาจากบทละครเรื่องอิเหนาซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ แต่บ้างก็ว่าเป็นพระนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงช่วยแต่งบทละครเรื่องดังกล่าว พร้อม ๆ กับกวีอีกหลายคนรวมทั้งสุนทรภู่ด้วย และก็มีเรื่องเล่ากันว่าสุนทรภู่ต้องตกทุกข์ได้ยากเพราะคำกลอนบทนี้ตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓


๓  ชั้น                          

      น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา                     ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว

นิลุบลพ้นน้ำอยู่รำไร                                 ตูมตั้งบังใบอรชร

๒  ชั้น              

       ดอกขาวเหล่าแดงสลับสี                     กรายคลี่ขยายแย้มเกสร
บัวเผื่อนเกลื่อนกลาดในสาคร                      บังอรเก็บเล่นกับนารี

ชั้นเดียว            

       นางทรงหักห้อยเป็นสร้อยบัว                 สวมตัวกำนัลสาวศรี
ปลิดกลีบประมาณมากมี                              นารีลอยเล่นเป็นนาวา

๓. คำร้องเพลงบังใบในตับวิวาห์พระสมุทร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยอันโดรเมดาร้องตอบอันเดรคู่รักของนาง


       ได้ยินคำสำเนียงเสียงเสนาะ                  แสนไพเราะรสรักเป็นหนักหนา

เหมือนยินเสียงหงส์ทองที่ฟ่องฟ้า                  กล่อมสุนทรวอนว่าน่ายินดี
ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา                                 ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่
ถึงดิฉันร้อนรุมกลุ้มฤดี                                 เสียงเหมือนทิพย์วารีมาประพรม
แต่โอ้ว่าอนิจจาได้กินหวาน                          มิช้านานต้องกลืนทั้งขื่นขม
พอพี่ไปใจน้องต้องระทม                             ยิ่งมาชมก็ยิ่งช้ำระกำใจ

 

๔. โน้ตเพลงบังใบ ๒ ชั้น

ท่อน ๑

---ดํ

           ---ท 

---ดํ 

---รํ

-ซ-ล

-ซ-รํ

---ม

-ฟ-ซ

-ฟ-ล

-ซ-ฟ

-ซ-ฟ

-ม-ร

----

---ร

-รรร

-ร-ร

ท่อน ๒

---มํ

---รํ

-ท-รํ

-มํ-ซํ

---ท

รํมํรํซ

-ท-ล

ซล-ท

-รํ-มํ

-รํ-ท

---ล

---ซ

-ร-ม

-ซ-ล

-ท-ล

-ซ-ม

----

-ร-ม

-ร-ซ

-ซซซ

---ท

รํมํรํซ

-ท-ล

ซล-ท

-รํ-มํ

-รํ-ท

---ล

---ซ

----

---ซ

-ซซซ

-ซ-ซ


             ๕. มีผู้นำทำนองเพลงบังใบ ๒ ชั้นไปดัดแปลงเป็นเพลงลูกกรุงลูกทุ่งหลายเพลงด้วยกัน ที่ยังหาฟังกันได้ได้แก่

                (๑) เพลงรักบังใบ

  คำร้อง ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน      

 

กามเทพหลอกลวง เสียบศรปักทรวงให้ห่วงหา
ให้รักแล้วใยมา  ริดรักราแรมไกล
รักของข้าดั่งบัวบังใบ  บังมิให้ใครเห็น
เฝ้าครวญหวนทุกเช้าเย็น ตรอมตรม
สุดหักสุดหายหัวใจมิวายระทม
สุดตรอมสุดตรมใจ ยิ่งคิดให้โหยหา
ต้องบังรักไว้ไม่กล้า บอกใคร

เย็นย่ำสุริยา ตะวันจากตาพามืดมิด
โอ้ช่างเหมือนดวงจิต มิดมืดยามรักไกล
น้ำตาตกตามตะวัน นึกแล้วหวั่นพรั่นใจ
อกเอ๋ยทำฉันใด เล่าเอย                                    

คู่ชื่นเคยเชย รักร้างเลยแรมรา
ยิ่งพาให้หนาวไฉน ปองรักอย่างบัวบังใบ

ต้องช้ำหัวใจเรื่อยมา

          

(๒) เพลงพล่าใจ ป.วรานนท์ แต่ง

 

ไยเจ้าหลอกลวง หักทรวงพี่ช้ำย่ำขยี้ ตัดรักไมตรี ร้างลืมพี่แรมไกล

หลงน้ำคำพี่พร่ำรำพัน เจ้าว่ารักพี่มั่นไม่เปลี่ยนใจ โง่งมหวังชมจึงได้ อายอดสูกานดา เจ้าเปลี่ยนแปรผัน เหมือนดังกังหันเหลิงลม พี่ตรมด้วยลมวาจา เจ้าคงเห็นพี่เช่น เดนรักปรารถนา แกล้งโลมร้อยลิ้นมารยา พาพี่หลงงมงาย

จันทร์เจ้าจูบฟ้า พี่จูบแก้วตาเจ้าเอียงอาย วาบหวิวใจกาย ซึ้งทรวงในสัมพันธ์

เหลือริ้วรอยให้พี่ครวญหา เจ้าหลบเร้นซ่อนหน้า ลืมคู่เคยฝัน เจ้าลืมแม้คำจำนรรจ์ ลืมสวรรค์หัวใจ พี่อายดวงจันทร์ เพราะความรักพลันแรมเลือน รวดเร็วกว่าเดือนแรมไกล เจ้าคงคิดเพียงยั่ว เหมือนบัวที่บังใบ ซ่อนเร้นรักเรื่อยไป พล่าใจให้รักพี่ตรม

 

(๓) เพลงฉันทนาใจดำ

 

คอยเก้อจนสาย ไม่มีจดหมายส่งเข้ามา โอ้ฉันทนาสาวโรงงานใจดำ

โถทำได้ลงเชียวหรือ ทอดทิ้งคนซื่อนอนช้ำ คอยเช้าคอยค่ำ คอยจดหมายไม่มา ฉันทนาหายหน้าไปไหน

วันเคลื่อนเดือนคล้อย ข่าวคราวเลื่อนลอย ไม่ส่งมาโอ้ฉันทนาสาวโรงงานลืมไป

หรือใครเขาคอยห้ามหวง ไม่รักไม่ห่วงคนคอย คอยเหงาเศร้าสร้อย คอยจดหมายร่ำไป หัว ใจแทบขาดรอน ๆ

คอยเก้อเดียวดาย เฝ้าคอยจดหมายตอบเข้ามา โอ้ฉันทนาสาวโรงงานงามงอน

ขอวอนช่วยตอบเถิดหนา ไม่รักไม่ว่าสักคำ คุณรักคุณย่ำ ก็ตอบผมไว ๆ เห็นใจเถิดฉันทนา

 

 

วิพล นาคพันธ์

หมายเลขบันทึก: 365614เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ ตุณวิพล

ได้ความรู้มากๆ ถึงความเป็นมาของเพลงไทยต่างๆ ดีมากๆค่ะ...ขอส่งกำลังใจ ทำต่อไปนะคะ...

วันหน้าจะแวะเข้ามาอ่านอีกค่ะ

ขอบพระคุณมากครับ...จักเป็นความรู้ที่ควรค่าแก่การศึกษา อย่างยิ่ง

ครูป๊อก..กระบี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท