nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

เครื่องมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการ


เครื่องมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการ เหมาะกับกรุงเทพมหานครมาก ๆ

            ก.พ. ได้มีมติที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะทำให้การปฏิบัติงานของหน่วยราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติทุกคน ได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดความโปร่งใส  ซึ่งจะส่งผลต่อการลดความเสี่ยงต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของหน่วยงานอย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นให้ข้าราชการได้ความเข้าใจและตระหนักว่าเครื่องมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ข้าราชการมีแนวทางในการทำงานอย่างโปร่งใส และยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันของข้าราชการในการลดความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบ และปัญหาการฟ้องร้องต่าง ๆ อันจะมีผลต่ออนาคตของชีวิตราชการด้วย

           ก.พ. จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 ในการประชุม ครั้งที่ 5/2553  ให้ความเห็นชอบเครื่องมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการ  ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

เครื่องมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการ

ประกอบด้วยมาตรฐานความโปร่งใส 4 มิติ 13 ตัวชี้วัดย่อย ดังนี้

                   มิติที่ 1 ด้านนโยบาย/ผู้บริหาร และความพยายาม/ริเริ่ม ของหน่วยงานในการสร้างความโปร่งใส ตัวชี้วัดประกอบด้วย

1.      นโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับความโปร่งใส

2.      บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมเรื่องความโปร่งใสในองค์กร

3.      ความพยายาม/ริเริ่มของหน่วยงานในการสร้างความโปร่งใส

                   มิติที่ 2 ด้านความเปิดเผย การมีระบบตรวจสอบภายในองค์กร และการมีส่วนร่วม

ตัวชี้วัดประกอบด้วย

1.      การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

2.      การมีมาตรฐานการให้บริการประชาชนและประกาศให้ทราบ

3.      การมีระบบตรวจสอบภายในที่ดำเนินการตรวจสอบมากกว่าเรื่องเงิน/บัญชี

4.      การเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานและผลการประเมินตนเองต่อสาธารณะ

5.      การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติราชการ

                   มิติที่ 3 ด้านการใช้ดุลยพินิจ ตัวชี้วัดประกอบด้วย

1.      การลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

2.      การใช้ดุลยพินิจในการบริหารงานบุคคล

3.      การมีระบบบริหารความเสี่ยงด้านความโปร่งใส

                   มิติที่ 4 การมีระบบ/กลไกจัดการรับเรื่องร้องเรียน ตัวชี้วัดประกอบด้วย

1.      การมีหน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียน

2.      การมีระเบียบปฏิบัติในการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียน

         โดย ก.พ.มีนโยบายผลักดันและส่งเสริมให้ส่วนราชการนำเครื่องมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการไปใช้อย่างจริงจัง และเพื่อให้การขับเคลื่อนด้านความโปร่งใสในการปฏิบัติงานเกิดผลในทางปฏิบัติและเป็นประโยชน์ในวงกว้าง และได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลภาครัฐอื่นนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสม

         แต่ละมิตินั้น หากนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมแล้ว จะทำให้องค์กรที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนมองว่ามันอึมครึมนั้น กลายเป็นองค์กรที่โปร่งใส และไร้สิ่งครางแครงใด ๆ ติดอยู่ในใจ และอย่างน้อย ทำให้ข้ารชการในส่วนราชการนั้น ๆ เกิดความสบายใจในการปฏิบัติงาน และมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป คนดีก็จะไม่ท้อถอย คนถ่อย ก็จะไม่ได้ใจ และคน ... จะได้หมดไปจากราชการไทยซะที  ...

ที่มา : ข่าว ก.พ. 

หมายเลขบันทึก: 365552เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท