มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
Mrs. Maleephan มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช Pooma

โคงงานบุคคลสำคัญ(2)


บุคคลจะดี จะชั่วอยู่ที่ตัวทำ

                                        โครงงานเรื่อง บุคคลสำคัญ 

                                   รายวิชา สังคมศึกษาและศาสนา ๖

                                          ส ๔๓๑๐๒  ส ๔๓๒๐๒ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖๐๑

รายชื่อสมาชิก 

นายธนวัฒน์        ณ นคร                   เลขที่      ๑๓ 

นายธเนศ              ทับทิมทอง            เลขที่      ๑๓ 

นางสาวนุชสุภา   บุญชุม                    เลขที่      ๑๗

 นายอิทธิพัฒน์     กล่อมเกลี้ยง            เลขที่      ๓๔

ที่ปรึกษาโครงงาน

นางมาลีพันธุ์ เกิดทองมี

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย  นครศรีธรรมราช

  

ชื่อโครงงาน  บุคคลสำคัญ

คณะทำงาน   นายธนวัฒน์               ณ นคร                เลขที่      ๑๓

                   นายธเนศ                  ทับทิมทอง            เลขที่      ๑๔

                   นางสาวนุชสุภา          บุญชุม                  เลขที่      ๑๗

                    นายอิทธิพัฒน์           กล่อมเกลี้ยง        เลขที่      ๓๔

อาจารย์ที่ปรึกษา นางมาลีพันธุ์ เกิดทองมี

                    โครงงานการศึกษาเรื่องประวัติของนายทวี บุณยเกตุ

1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญที่ต้องศึกษา

บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยก็มีอยู่มากมาย หลากหลายผลงาน หลากหลายรูปแบบในการทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ซึ่งข้าพเจ้าก็เล็งเห็นและมีความชื่นชมในตัวของบุคคลสำคัญท่านหนึ่ง ซึ่งก็คือ นายทวี บุณยเกตุ ผู้ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีวาระการทำงานน้อยที่สุดของประเทศไทย จึงมีความต้องการที่จะศึกษาประวัติด้านต่างๆ ของท่าน และอาจสามารถนำสิ่งที่ดีงามของท่านมาประยุกต์ใช้กับตัวเองได้อีกทางหนึ่งด้วย

2. หลักการ ทฤษฎี เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง  

ประวัติส่วนตัว

     นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2447 เวลา 13.20 น. ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม) โดยชื่อ ทวี มาจากการที่บิดาและมารดาสมรสกันในวันทวีธาภิเษก บุคคลที่เข้าร่วมงานเมื่อเลิกจึงมาในงานสมรสโดยไม่ได้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ติดเหรียญตราทวีธาภิเษกเข้าร่วมงานเลย

 การรับราชการ

     นายทวีจบการศึกษาวิชากสิกรรมเมื่อ พ.ศ. 2468 และรับราชการที่กระทรวงเกษตราธิการ หน้าที่การงานก้าวหน้าขึ้นจนเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมประมง เมื่อ พ.ศ. 2478 จากนั้นย้ายมาเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2482 และขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2483

 ผลงานทางการเมือง

    นายทวี บุณยเกตุ มีส่วนร่วมในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยได้รับมอบหมายให้คุมกำลังเข้าควบคุมค่ายทหาร ที่บางซื่อ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในผู้แทนราษฎรชุดแรก จำนวน 70 คน เมื่อสิ้นสุดอายุของสภาชุดนี้ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาประเภทสอง (วุฒิสมาชิก)

    ในรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายทวีได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาร่างเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นผู้หนึ่งที่มีแนวความคิดสอดคล้องกับนายปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้ยังสนิทสนมและได้รับความไว้วางใจจากนายควง อภัยวงศ์ เป็นอย่างมาก

    ในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทวี และนายควง ได้รับเลือกเป็นประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2486 แต่เนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับจอมพล ป. ซึ่งไม่ยอมลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นายทวีและนายควง จึงลาออกจากตำแหน่งทั้งคู่

    ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นายควง อภัยวงศ์ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. นายทวี บุณยเกตุได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงเวลานั้น นายทวียังได้รับมอบอำนาจเป็นผู้สั่งการแทนนายกรัฐมนตรีในหลายโอกาส ทั้งยังเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในการประกาศพระบรมราชโองการว่าสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488

     หลังจากนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และอยู่ระหว่างรอ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้แต่งตั้งนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลาออกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ระยะเวลาในการบริหารประเทศของท่านจึงสั้นเพียง 18 วัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด

การเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย

หลังจากที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 ให้เรียกชื่อประเทศว่า สยาม เช่นเดิม แต่เมื่อจอมพล ป. กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 จึงได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ประเทศไทย อีกครั้ง และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

 ลี้ภัยออกนอกประเทศ

    วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะทหารเข้ายึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายทวี บุณยเกตุ ได้ลี้ภัยออกนอกประเทศพร้อมกับภริยา ไปใช้ชีวิตที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย และเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 โค่นล้มจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทวีได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ใช้เวลาร่างถึง 10 ปี

    นายทวี บุณยเกตุ ได้ก่อตั้งมูลนิธิทางการศึกษาชื่อ มูลนิธิ ทวี บุณยเกตุ ซึ่งเคยช่วยเหลือสมาชิกคุรุสภา ผู้ประสบอัคคีภัยและภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ใช้ชื่อท่านเป็นห้องประชุม (ห้องประชุม ทวี บุณยเกตุ ชั้น 6 อาคารสำนักอธิการบดี)

3. จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
             เพื่อศึกษาความสำคัญและผลงานของบุคคลสำคัญ ผู้ซึ่งได้สร้างคุณงามความดีที่เหมาะแก่การยกย่องให้ทุกๆ คน ได้รู้จักโดยทั่วกัน และสามารถเป็นแบบอย่าง แนวทางในชีวิตประจำวันของตนเองได้                                     

4. วิธีดำเนินการค้นคว้า

1.กำหนดบุคลที่เราต้องการจะศึกษาค้นคว้า

2.สืบค้นหาข้อมูลของบุคคลสำคัญที่เราต้องการศึกษาโดยจัดแบ่งดังต่อไปนี้คือ

                - ประวัติของบุคคล

                - ด้านทฤษฎีการปฏิบัติ

                - ด้านปรัชญาการใช้ชีวิตของบุคคล

3.รวบรวมข้อมูลทั้งหมด

4.นำมาลงตามแบบฟอร์มที่ว่างไว้

5.ตรวจสอบความเรียบร้อย และครบถ้วนของข้อมูลที่ศึกษา

 

5. การสรุปผลการค้นคว้า
          ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่า การเป็นคนดีนั้น ถึงแม้ว่าเราไม่ออกหน้าออกตาทำให้คนทั้งโลกได้รับรู้ หากเรามีความน่ายกย่องแล้ว ความดีนั้นก็จะปรากฏออกมาได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การศึกษาประวัติของนายทวี บุณยเกตุนั้น เป็นบุคคลซึ่งถือได้ว่าสมกับที่เป็นบุคคลสำคัญของประเทศไทย

 

 โครงงานการศึกษาเรื่องประวัติของพระกัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี แซร์)

                                  (Dr. Francis Bowes Sayre)

1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญที่ต้องศึกษา

การรับราชการมีมาตั้งแต่หลายสิบปีมาแล้ว แต่ลองมองดูว่าชาวต่างชาติที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยมีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องต้องเข้ามาในประเทศไทย กลุ่มข้าพเจ้าก็เล็งเห็นและมีความชื่นชมในตัวของบุคคลสำคัญท่านหนึ่ง ซึ่งก็คือ พระกัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี แซร์) ท่านได้มีผลงานหลายๆอย่างที่น่าชื่นชม จึงมีความต้องการที่จะศึกษาประวัติด้านต่างๆ ของท่าน และอาจสามารถนำสิ่งที่ดีงามของท่านมาประยุกต์ใช้กับตัวเองได้

  2. เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 ประวัติและผลงานที่สำคัญ
      พระยากัลยาณไมตรี เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้เป็นศาสตราจารย์วิชากฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก่อนที่จะเข้ามารับราชการในประเทศไทยในตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘

      ดร.แซร์ มีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องข้องผูกพันตามสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำไว้กับ ประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔ และสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันที่ไทยทำไว้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบมากในเรื่องที่คนในบังคับต่างชาติไม่ต้องขึ้นศาลไทย และไทยจะเก็บภาษีจากต่างประเทศเกินร้อยละ ๓ ไม่ได้ ประเทศไทยพยายามหาทางแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ปรากฏว่ามีเพียง ๒ ประเทศที่ยอมแก้ไขให้โดยยังมีข้อแม้บางประการ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ยอมแก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๓๖ และญี่ปุ่นยอมแก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๖๖

     เมื่อ ดร.แซร์ เข้ามาประเทศไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไป เจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศในยุโรป ดร.แซร์ เริ่มออกเดินทางไปปฏิบัติงานใน พ.ศ. ๒๔๖๗ การเจรจาเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจากับอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งต่างก็พยายามรักษาผล ประโยชน์ของตนเต็มที่ แต่เนื่องจาก ดร.แซร์ เป็นผู้มีวิริยอุตสาหะ มีความสามารถทางการทูต และมีความตั้งใจดีต่อประเทศไทย ประกอบกับสถานภาพส่วนตัวของ ดร.แซร์ ที่เป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้การเจรจาประสพความสำเร็จ ประเทศในยุโรปที่ทำสนธิสัญญากับไทย ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี และเบลเยี่ยม ยินยอมแก้สนธิสัญญาให้เป็นแบบเดียวกับที่สหรัฐอเมริกายอมแก้ให้

    ดร.แซร์ ถวายบังคมลาออกจากหน้าที่กลับไปสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. ๒๔๘๖ แต่ก็ยังยินดีที่จะช่วยเหลือประเทศไทย ดังเช่นใน พ.ศ. ๒๔๖๙ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ดร.แซร์ได้ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง และแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามที่ทรงถามไป และยังได้ร่างรัฐธรรมนูญถวายให้ทรงพิจารณาด้วย

    จากคุณงามความดีที่ ดร.แซร์ มีต่อประเทศไทย จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๑ รัฐบาลไทยได้ตั้งชื่อถนนข้างกระทรวงต่างประเทศ (วังสราญรมย์) ว่าถนนกัลยาณไมตรีพระยากัลยาณไมตรีถึงแก่อนิจกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุได้ ๘๗ ปี

 

เรื่องน่ารู้

     ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นชาวตะวันตกคนที่ ๒ ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยากัลยาณไมตรีชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นพระยากัลยาณไมตรี เป็นคนอเมริกันเช่นเดียวกับ ดร.แซร์ มีนามเดิมว่า เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด (Jens Iverson Westengard) เข้ามารับราชการในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๖ โดยใน พ.ศ. ๒๔๔๖ - ๒๔๕๑ เป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หลังจากนั้นเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินจนถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงกราบถวายบังคมลาออกกลับไปสหรัฐอเมริกา เวสเตนการ์ดได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ อายุ ๔๗ ปี

 3. จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

                เพื่อได้ทราบถึงคุณงามความดี และการทำคุณประโยชน์เพื่อคนไทยถึงแม้ท่านจะไม่ใช่คนไทยแด่กำเนิด

4. วิธีดำเนินการค้นคว้า

1.กำหนดบุคลที่เราต้องการจะศึกษาค้นคว้า

2.สืบค้นหาข้อมูลของบุคคลสำคัญที่เราต้องการศึกษาโดยจัดแบ่งดังต่อไปนี้คือ

                - ประวัติของบุคคล

                - ด้านทฤษฎีการปฏิบัติ

                - ด้านปรัชญาการใช้ชีวิตของบุคคล

3.รวบรวมข้อมูลทั้งหมด

4.นำมาลงตามแบบฟอร์มที่ว่างไว้

5.ตรวจสอบความเรียบร้อย และครบถ้วนของข้อมูลที่ศึกษา

 5. การสรุปผลการค้นคว้า

                ท่านช่วยในการปลดเปลื้องข้องผูกพันตามสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำไว้กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพราะสัญญาฉบับนี้ทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์ในหลายๆด้านและคุณงามความดีด้านๆอื่นๆที่ท่านได้ทำไว้ก็ความนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิต

                  โครงงานการศึกษาเรื่องประวัติของพระเจ้าตากสินมหาราช

1.  แนวคิด ที่มา และความสำคัญที่ต้องศึกษา

     พระมหากษัตริย์คือมิ่งขวัญของปวงชน เป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชน ทางกลุ่มของข้าพเจ้าจึงมีความสนใจที่จะศึกษาประวัติความเป็นมา และพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งซึ่งก็คือ พระเจ้าตากสินมหาราช

2. เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

      สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี มีพระนามเดิมว่า "สิน" ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี (รวมกับระยะเวลาที่กอบกู้เอกราชอีก ๑ ปี) เสด็จสวรรคตในวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำเดือน ๕    จ.ศ. ๑๑๔๔ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ รวมสิริพระชนมมายุ ๔๘ พรรษา

      พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่ การกอบกู้เอกราชจากพม่า และการทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น และขับไล่พม่าออกจากราชอาณาจักร นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูความเจริญประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ เช่น จีน อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ โปรดฯ ให้มีการสร้างถนนและขุดคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมทางด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรม

      เนื่องจากพระองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ให้เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"[4]

การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น

            การปกป้องแผ่นดินเป็นพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้กระทำตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งนอกจากการต่อสู้เพื่อรวมแผ่นดินแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทางยุทธวิธีและความเชี่ยวชาญในการรบของทหาร จึงทำให้ทัพไทยรบชนะพม่าทุกครั้ง

           สงครามครั้งที่ ๑ รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๐ [28] นับเป็นการศึกครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องมาจากทางพม่าทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตัวเป็นใหญ่ จึงสั่งให้เจ้าเมืองทวายเข้าสืบข่าวเพื่อที่จะกำจัดเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวจึงโปรดให้จัดกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่า - มอญ ทหารพม่าเป็นฝ่ายแพ้ต้องถอยทัพกลับทางเมืองทวาย โดยทหารไทยสามารถยึดเรือรบอาวุธและเสบียงอาหารของพม่าไว้ได้

สงครามครั้งที่ ๒ พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. ๒๓๑๓

สงครามครั้งที่ ๓ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๑๓ - พ.ศ. ๒๓๑๔

สงครามครั้งที่ ๔ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๑๕

สงครามครั้งที่ ๕ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๖

สงครามครั้งที่ ๖ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๗

สงครามครั้งที่ ๗ รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวว่าพม่ายกพลตามพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพมุ่งตรงไปยังราชบุรี โดยทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เอง ทรงตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจากพระยายมราช ในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้ ชัยชนะในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า นับเป็นสงครามแบบจิตวิทยาโดยแท้

สงครามครั้งที่ ๘ อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘

สงครามครั้งที่ ๙ พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๙ สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นการรบครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มียศอย่างเจ้าต่างกรม คงดำรงตำแหน่งสมุหนายก 

       การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ขยายพระราชอาณาเขต

        แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในพระราชอาณาจักร ได้แก่ ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์

         สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงต่อสู้เพื่อขยายพระราชอาณาจักรเกือบตลอดรัชกาล อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยนั้น มีดังนี้

ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์

ทิศใต้ ได้ดินแดนกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี

ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจรดอาณาเขตญวน

ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี

 การฟื้นฟูบ้านเมือง

                มัสยิดต้นสน เป็นศาสนสถานที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีศาสนกิจฝังศพ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ (หมุด) นายทหารคู่พระทัยและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานที่ดินขยายพื้นที่จากเดิมที่เจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์ (ม๊ะหูด) บุตรเจ้าพระยารามเดโชชัยสร้างไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้นั้นทำให้กิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่ว พระเกียรติยศของพระองค์จึงแพร่ไปว่าเป็นผู้สามารถกู้แผ่นดินไทยให้พ้นจากอำนาจพม่าข้าศึกได้ ทำให้ไพร่บ้านพลเมืองที่ยังหลบลี้อยู่ตามที่ต่างๆ พากันมาอ่อนน้อมเข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นกำลังในการบูรณะบ้านเมืองต่อไป ซึ่งพระราชกรณียกิจมีทั้งหมด ๗ ด้าน ดังนี้

ด้านการปกครอง

หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายสูญหายไปมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสืบเสาะ ค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ ๑ ใน ๑๐ และโปรดฯ ให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดฯ ให้คงไว้ ฉบับใดไม่เหมาะก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติมก็มี ยกเลิกไปก็มี ตราขึ้นใหม่ก็มี และเป็นการแก้ไขเพื่อราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดฯ ให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนันให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิ์ขาด และยังห้ามนายตรานายบ่อนออกเงินทดลองให้ผู้เล่น เกาะกุมผูกมัดจำจองเร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรก็เกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวงก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าแหนตามรายทาง โดยไม่มีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่า

       “ บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะทรงมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น”

        สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปกครองบ้านเมืองคล้ายคลึงกับพระราโชบายของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ แบบพ่อปกครองลูก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่ไม่ถือพระองค์ มักปรากฏพระวรกายให้พสกนิกรเห็น และมักถามสารทุกข์สุขดิบของพนกนิกรทั่วไป ทรงหาวิธีให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ทำมาหากินโดยปกติสุข ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ผู้ใดทำไม่พอพระทัย ก็ดุด่าว่ากล่าวดังพ่อสอนลูก อาจารย์สอนศิษย์ ซึ่งสมกับโคลงยอพระเกียรติของนายสวนมหาดเล็กที่ว่า

พระเดียวบุญลาภเลี้ยง        ประชากร

เป็นบิตุรมาดร                   ทั่วหล้า

เป็นเจ้าและครูสอน             สั่งโลก

เป็นสุขทุกข์ถ้วนหน้า         นิกรทั้งชายหญิง

3. จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

ศึกษาประวัติความเป็นมาและผลงานของกษัตริย์ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ และเข้มแข็ง

4. วิธีดำเนินการค้นคว้า

1.กำหนดบุคลที่เราต้องการจะศึกษาค้นคว้า

2.สืบค้นหาข้อมูลของบุคคลสำคัญที่เราต้องการศึกษาโดยจัดแบ่งดังต่อไปนี้คือ

                - ประวัติของบุคคล

                - ด้านทฤษฎีการปฏิบัติ

                - ด้านปรัชญาการใช้ชีวิตของบุคคล

3.รวบรวมข้อมูลทั้งหมด

4.นำมาลงตามแบบฟอร์มที่ว่างไว้

5.เพื่อความถูกต้องแม่นยำควรตรวจสอบให้ดีอีกครั้ง

5. การสรุปผลการค้นคว้า

                พระองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างมาก ปกป้อง คุ้มครองและพัฒนาประเทศตลอดรัชสมัยของพระองค์ ควรค่าแก่การยกย่องและกล่าวถึงอีกนานแสนนาน

หมายเลขบันทึก: 365489เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อหายไปไหน?


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท