โครงสร้างเทศบาลตำบล


โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหาร

             เทศบาลตำบล ประกอบด้วยองค์กร 2 องค์กร คือ สภาเทศบาล และคณะผู้บริหาร

                    - สภาเทศบาล ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลที่ราษฎรเลือกตั้ง จำนวน 12 คน มีหน้าที่ ตราเทศบัญญัติ อนุมัติงบประมาณและพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนด และตรวจสอบควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร

                    - ฝ่ายบริหาร คือนายกเทศมนตรี ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้แต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน ที่ปรึกษาและเลขานุการ

  อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล

            1. ตราเทศบัญญัติของเทศบาล

            2. ควบคุมการบริหารงานของคณะเทศมนตรี

            3. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะเทศมนตรี

            4. พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ

            5. พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

  อำนาจหน้าที่ของคณะผู้บริหารท้องถิ่น

            1. ควบคุมและรับผิดชอบการบริหารกิจการของเทศตามกฎหมาย

            2. อำนาจหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะผู้บริหาร

            3. อำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น 

โครงสร้างส่วนการบริหารงานเทศบาลตำบล   แบ่งออกเป็น
1. ฝ่ายบริหาร : มีนายกเทศมนตรี เป็นผู้บริหารและกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามอำนาจ หน้าที่ของเทศบาล และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเทศบาลและลูกจ้าง


2. ฝ่ายประจำ : มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างรองจาก นายกเทศมนตรี โดยปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีกำหนดและมอบหมาย และปฏิบัติงานประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของราชการ
โดยแบ่งส่วนบริหารต่างๆ ออกเป็น 1 สำนัก 5 กอง ดังนี้
1. สำนักปลัดเทศบาล มีหน้าที่ ควบคุมดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านงานธุรการ งานการ เจ้าหน้าที่ งานทะเบียนราษฎร งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานรัฐพิธี-ราชพิธีและวันสำคัญต่างๆ รับผิดชอบ งานราชการทั่วไปในเทศบาล ดูแลรักษาเตรียมการให้บริการเรื่องสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆภายในสำนักงาน งานกิจการสภา และงานอื่นๆที่มิได้กำหนดไว้เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
2. กองคลัง มีหน้าที่ ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านการบริหาร งานคลัง งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ (การจัดซื้อจัดจ้าง) งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินและ งานผลประโยชน์ ฯลฯ
3. กองช่าง มีหน้าที่ ควบคุมดูแลและรับผิดชอบปฏิบัติงานด้านธุรการ งานวิศวกรรม งานสาธารณูปโภค งานสวนสาธารณะ งานสูบน้ำ งานจัดสถานที่และไฟฟ้าสาธารณะ ฯลฯ
4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านธุรการ งานสุขาภิบาลอนามัยและสิ่งแวดล้อม งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ งานสัตวแพทย์ และงานส่งเสริมสุขภาพ ฯลฯ
5. กองการศึกษา มีหน้าที่ ควบคุมดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านธุรการ งานบริหารงานศึกษา (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) งานกิจกรรมเด็ก เยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียน งานส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และงานพัฒนาชุมชน ฯลฯ
6. กองวิชาการและแผนงาน มีหน้าที่ ควบคุมดูแล และรับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านธุรการ งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานจัดทำงบประมาณ งานนิติการ และงานประชา

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ6
หมายเลขบันทึก: 363539เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท