aomsuwannee


 Mendel  คัดเลือกถั่วลันเตา 7  ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน  คือ  ความสูงของลำต้น  รูปร่างของฝัก  รูปร่างของเมล็ด  สีของเมล็ดและสีของฝัก  ทำการผสมในดอกเดียวกันหลายๆ รุ่น  จนแน่ใจว่าทุกลักษณะเป็นพันธุ์  แล้วคัดเลือกต้นพ่อและต้นแม่ที่มีลักษณะแตกต่างกัน นำมาผสมกัน  จากการผสมกันจะได้ต้นใหม่จำนวนมากเป็นรุ่นลูก  หรือ  รุ่น F1  ซึ่งออกฝักสีเขียวทั้งหมด  ต่อมาได้นำเมล็ดที่เกิดจากการผสมพันธุ์ภายในดอกเดียวกันของรุ่น F1  ไปปลูก  ได้รุ่นหลานหรือรุ่น Fจึงบันทึกลักษณะต่างๆ ของรุ่น Fแล้วหาอัตราส่วนของลักษณะในแต่ละคู่  พบว่ารุ่น Fมีอัตราส่วน  3:1  สาเหตที่เลือกถั่วลันเตา  ลักษณะที่ศึกษาถูกควบคุมด้วยยีนเพียงคู่เดียวเท่านั้นและสามารถแยกลักษณะต่างๆ  ได้อยางชัดเจน  เช่น  ต้นสูง  ต้นเตี้ย  เมล็ดเรียบ  เมล็ดขรุขระ  เป็นต้น  และต้นถั่วลันเตาเป็นถั่วที่หาง่าย  ปลูกง่าย  อายุสั้น  และให้เมล็ดได้จำนวนมาก  นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมการผสมพันธุ์ได้  Mendel  ใช้รุ่นพ่อแม่  (parent  breeding)  ที่เป็นพันธุ์แท้มาผสมกัน  ทำให้ได้ลักษณะต่างๆ  ที่ออกมาเป็นแบบแผนเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 362584เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท