โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ : สคส. เจอคู่แข่งแล้ว ตอนที่ 3.2


สคส. เจอคู่แข่งแล้วค่ะ

(ต่อจากตอนที่แล้ว) 

             ผู้เขียนจะขอสรุปประเด็นแห่งความสำเร็จของกิจกรรมครั้งนี้ ตามมุมมองของตนเอง ดังนี้ค่ะ
             1.  ทีมงานที่รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการ  มีการทำงานเป็นทีม  แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน  มีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่,  เครื่องมืออุปกรณ์,  สื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ  เป็นต้น
            2.  ทีมวิทยากรทั้ง  6  คน  ศึกษาเรียนรู้ และเตรียมตัวมาดี  มีการซักซ้อมทำความเข้าใจก่อนขึ้นเวทีจริง   และด้วยความเป็นวิทยากรที่มีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ  จึงทำให้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วม   บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น   รวมทั้งสามารถบริหารเวลาได้อย่างลงตัวเหมาะสม  
            3.  วิธีการถ่ายทอดของทีมวิทยากร  ค่อนข้างลงในรายละเอียด  และใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย  (เหมือนสอนนักเรียน)  มีการจำแนกแยกแยะวิธีการของแต่ละกระบวนการอย่างชัดเจน  มีการใช้สื่อประกอบการอธิบายกระบวนการ   ทำให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจได้ง่าย 
             ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า  ใน 2 – 3  วันนี้  จะไม่ค่อยมีคำถามหรือข้อสงสัยจากผู้เข้าร่วมมากนัก   ซึ่งผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ผู้เข้าร่วมเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนดีมากหรือไม่กล้ายกมือถามวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิกันแน่  อีกประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึกได้ คือ  บรรยากาศของกระบวนการ Workshop  ใน  2  วัน เป็นแบบผู้เข้าร่วมมารับฟังความรู้และกระบวนการจัดการความรู้จากทีมวิทยากรมากกว่า บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  บรรยากาศจะผิดแผกแตกต่างจาก  2  ครั้งแรกที่  สคส.  เป็นวิทยากรให้จริงๆ ค่ะ  (อ.สุกัญญา  หนึ่งในทีมวิทยากร  บอกว่า  นักเรียนห้องนี้เป็นนักเรียนห้อง  King  ค่ะ)
            หรือว่า นี่คือ  วิธีการที่ถูกจริตและตรงกับความต้องการในการทำความเข้าใจกระบวนการจัดการความรู้ของกลุ่มครูอาจารย์   อย่างไรก็ตาม  ผู้เขียนก็จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เหล่านี้ จากทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมือใหม่  เพื่อนำไปปรับใช้กับการทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการของตนเองต่อไปบ้างค่ะ

หมายเลขบันทึก: 36241เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
จุดเริ่มต้นจากที่คุณหญิงคิดทำบันไดแบบ manual ทำให้เกิดความคิดแตกหน่อได้อีกหลายเรื่อง และใช้ประกอบได้หลายขั้นตอน จากพิษณุโลก เป็นโคราช อุดร แล้วก็สงขลา ไม่มีป้ญหาเรื่องความเข้าใจที่มาที่ไปของตาราง บันไดและแม่น้ำ มีคำถามบ้าง แต่ก็เป็นคำถามที่เกิดจากความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ของผู้เข้าประชุม และเป็นคำถามที่แสดงพื้นฐานของความเข้าใจ การเรียนรู้จากกันและกันของเราเป็นตัวอย่างที่ดีนะคะ ทำให้เห็นว่าช่วยกันมองคนละมุมคนละด้าน ภาพที่ได้ก็ชัดเจนสวยงาม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท