การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นแกนหลัก


การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นแกนหลัก

ยืนยง  ราชวงษ์

                ปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่า กระบวนการวิจัยทำให้เกิดการพัฒนาของศาสตร์ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมืองหรือด้านอื่น ๆ  ต้องใช้กระบวนการวิจัยเข้าไปบูรณาการกับการปฏิบัติงาน สำหรับด้านการศึกษาสิ่งสำคัญที่ประเทศชาติต้องการคือคุณภาพของเด็กหรือเยาวชนของชาติที่จะเติบโตเป็นพลเมืองของประเทศและส่วนหนึ่งของโลกต้องมีคุณภาพเพื่อพัฒนาประเทศหรือการแข่งขันกับนานาชาติ แต่การใช้กระบวนการวิจัยเข้าไปพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่เป็นรูปธรรมเช่นเดียวกับภาคธุรกิจที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรมมากที่สุด ทางด้านการศึกษายังไม่เป็นรูปธรรม ถ้าพูดว่าการศึกษาของประเทศไทยเมื่อ 40 ปีที่แล้วกับปัจจุบันต่างกันตรงไหน ไม่มีใครฟันธงได้ว่าต่างกัน แต่ถ้าถามว่า การติดต่อสื่อสารเมื่อ 40 ปีที่แล้วกับปัจจุบันเป็นอย่างไร ทุกคนสามารถอธิบายได้ถึงความแตกต่างที่ชัดเจน เพราะในด้านธุรกิจมีการใช้กระบวนการวิจัยเข้าไปปฏิบัติการหรือทำงานทุกนาที แต่การศึกษาถึงแม้จะมีบทบัญญัติไว้ในกฎหมายการศึกษา ว่าต้องใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน ก็ยังไม่ปรากฏเป็นรูปเป็นร่าง ประกอบกับในเชิงนโยบายทางด้านการศึกษาก็ไม่มีใครให้ความสำคัญด้านการวิจัย จะทำวิจัยก็ทำเมื่อเรียนระดับบัณฑิตศึกษา หรือทำเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีคนส่วนหนึ่งตั้งหน้าตั้งตาทำการวิจัยแยกมาจากการศึกษา ผลการวิจัยก็มีประโยชน์น้อย

                การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องอาศัยกระบวนการที่สำคัญ  3 ประการในการขับเคลื่อน คือ

                1. กระบวนการเรียนการสอน ผู้ที่ทำบทบาทหน้าที่ตรงนี้คือ ผู้สอน โดยมีเป้าหมายหลักการที่จะนำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ (มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร) ให้ได้ตามศักยภาพของแต่ละคนของผู้เรียน โดยผู้สอนจะขับเคลื่อนได้ต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนคือกระบวนการบริหารและกระบวนการนิเทศ

                2. กระบวนการบริหาร ผู้ที่ทำบทบาทหน้าที่ตรงนี้ ก็คือ หัวน้าสถานศึกษาหรือมีชื่อเรียกว่า ตำแหน่งผู้อำนวยการ จะต้องเกื้อหนุน ช่วยเหลือสนับสนุนผู้สอนในทุกด้าน ไม่ว่าจะด้านหลักสูตรการเรียนการสอน เอกสารประกอบหลักสูตร สื่อ อุปกรณ์ แหล่งการเรียนรู้ ไม่ไปเพิ่มภาระหรือสร้างภาระที่ไม่จำเป็นให้กับผู้สอน แต่ต้องคอยให้กำลังใจ สร้างขวัญกำลังใจ เป็นที่พึ่งของผู้สอนเมื่อเกิดปัญหาได้

                3. กระบวนการนิเทศ ผู้มีบทบาทสำคัญคือผู้นิเทศ ซึ่งมีทั้งนิเทศภายในและนิเทศภายนอกจากหน่วยงานต้นสังกัด ถ้านิเทศภายในก็เป็นองค์คณะบุคคลที่หัวหน้าสถานศึกษามอบหมายแต่ต้องเป็นที่พึ่งและศรัทธาของเพื่อนร่วมงาน ให้ความช่วยเหลือเสนอแนะแก่ผู้สอนได้ กล่าวง่าย ๆ ก็คือเพื่อร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน สำหรับนิเทศภายนอก ก็คง เป็นศึกษานิเทศก์ ที่เป็นบุคคลที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญาและอีกหลาย ๆ ภูมิ ที่เป็นที่รักเป็นที่ศรัทธาของผู้สอน เป็นเพื่อนที่แสนดีของผู้สอน เป็นผู้ช่วยครู ตั้งร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติและร่วมประเมิน รวมทั้งร่วมชื่นชมผลสำเร็จของผู้สอน ต้องให้กำลังใจไม่ต่างจากหัวหน้าสถานศึกษา

                ถ้าทั้ง 3 กระบวนการร่วมมือกันโดยมีเป้าหมายอยู่ที่เดียวกันคือผู้เรียนและทั้ง 3 กระบวนการใช้กระบวนการวิจัยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน คุณภาพการศึกษาต้องเกิดและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งอย่างแน่นอน

                สิ่งที่ต้องการนำเสนอในที่นี้คือต้องการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นแกนหลัก โดยที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานในภาวะปกติ ดังแผนภาพข้างล่าง

ตาราง  แสดงแผนภาพความสัมพันธ์ของกระบวนการวิจัยกับกระบวนการต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

กระบวนการเรียนการสอน

กระบวนการบริหาร

กระบวนการวิจัย

กระบวนการนิเทศ

1.วิเคราะห์ปัญหา/กำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ได้แก่ด้านสติปัญญา(ตามมาตรฐานการเรียนรู้) ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะกระบวนการ

1.วิเคราะห์ปัญหา/การบริหารงานในด้านต่าง ๆเช่น ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ปัญหาใดเป็นปัญหาเร่งด่วนจัดอันดับให้ได้ พร้อมกับเลือกปัญหา

1.วิเคราะห์ปัญหา/กำหนดปัญหาที่ชัดเจน

1.วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา เกี่ยวกับคุณภาพนักเรียน ว่าเกิดจากส่วนใด เกิดจากปัจจัยคือ หลักสูตร สื่อ ผู้สอนหรือเกิดจากกระบวนการเรียนการสอนหรือกระบวนการบริหารจัดการ จัดอันดับความสำคัญของปัญหา พร้อมกับเลือกปัญหา

2.ออกแบบการสอนหรือการเรียนรู้ โดยการสร้างสื่อ อุปกรณ์ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและผู้เรียน

2.สร้างสื่อ รูปแบบ เทคนิค วิธีการการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของหน่วยงาน(ขนาด/สื่อ/การคมนาคม/ฐานะทางเศรษฐกิจชุมชน)โดยคำนึงความเป็นไปได้

2.สร้าง/กำหนดทางเลือกในแก้ปัญหา/พัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพบริบท

2.สร้างสื่อ รูปแบบ เทคนิค วิธีการ การนิเทศ ที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษา(ขนาด/ความรู้ความสามารถ)โดยคำนึงความเป็นไปได้

 

 

 

 

3.นำสื่อ อุปกรณ์ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ/หรือทดลองใช้ ไปแก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียน พร้อมกับจดบันทึกผลเป็นระยะ

3.นำรูปแบบ เทคนิค วิธีการ การบริหารจัดการ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ/หรือทดลองใช้ ไปแก้ปัญหา/พัฒนา พร้อมกับบันทึกผลการใช้รูปแบบ เทคนิค วิธีการ การบริหารจัดการ

3.นำทางเลือกที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ/หรือทดลองใช้ ไปแก้ปัญหา/พัฒนา พร้อมกับบันทึกผลการใช้

3.นำสื่อรูปแบบ เทคนิค วิธีการ การนิเทศ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ/หรือทดลองใช้ ไปแก้ปัญหา/พัฒนา พร้อมกับบันทึกผลการใช้สื่อรูปแบบ เทคนิค วิธีการ การนิเทศ

4.นำผลจากการจดบันทึกมาวิเคราะห์ทางสถิติ เช่น ค่าร้อยละความก้าวหน้า คะแนนเฉลี่ย ที่เปลี่ยนแปลงไป

4.นำผลการบันทึกมาวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสม เช่น ค่าร้อยละความก้าวหน้า คะแนนเฉลี่ย ที่เปลี่ยนแปลงไป

4.นำผลการบันทึกมาวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสม

4.นำผลการบันทึกมาวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสม เช่น ค่าร้อยละความก้าวหน้า คะแนนเฉลี่ย ที่เปลี่ยนแปลงไป

5.แปลผลว่ามีความก้าวหน้า เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นหรือลดลง จากเดิมหรือไม่ พร้อมกับสรุปผลให้ข้อเสนอแนะผลที่ได้

5.แปลผลว่ามีความก้าวหน้า เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นหรือลดลง จากเดิมหรือไม่ พร้อมกับสรุปผลให้ข้อเสนอแนะผลที่ได้

5.แปลผล/สรุปผล/สะท้อนผล

5.แปลผลว่ามีความก้าวหน้า เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นหรือลดลง จากเดิมหรือไม่ พร้อมกับสรุปผลให้ข้อเสนอแนะผลที่ได้

6.เผยแพร่ ปรับปรุงจากข้อเสนอแนะพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น

6.เผยแพร่ ปรับปรุงจากข้อเสนอแนะพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น

6.เผยแพร่/ขยายผลต่อ

6.เผยแพร่ ปรับปรุงจากข้อเสนอแนะพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น

 

                จะเห็นได้ว่า จากตาราง แสดงความสัมพันธ์ข้างบนเป็นกระบวนการทำงานที่เป็นปกติธรรมดาไม่เป็นการเพิ่มภาระ แต่สามารถตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ของกระบวนการจัดการศึกษาว่า ความบกพร่องของคูรภาพการศึกษา อยู่ ณ ตรงส่วนใดของกระบวนการจัดการศึกษา

 

 

หมายเลขบันทึก: 361541เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2010 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาอ่านครับ
  • เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาไปอยุธยามาครับ
  • พบพี่ Todsapol ด้วยครับ

กราบขอบพระคุณครับ

ด้วยควายินดีครับ ผ่านไปทางอยุธยาอีกจะแวะไปคารวะครับ....

คนทำงานครั้งแรก จะแยกการวิจัยออกจากการทำงาน หมายความว่าทำ ๒ อย่างเวลาเดียวกันไม่ได้ ขาดทักษะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท