ผู้รู้ในอิสลาม


ความเข้าใจความหมายของผู้รู้ในอิสลาม

ความหมายของผู้รู้ในอิสลาม....มันเป็นความเห็นส่วนตัวของดิฉันนะคะ...ผู้รู้ในอิสลามหมายถึงผู้ที่อัลเลาะห์ให้ฮิดายะห์ ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความรู้ที่ได้เรียนมา นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับระบบการดำเนินชีวิต เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ในฐานะผู้ทรงคุณธรรม มีความบริสุทธื์ ปราศจากชีริกใดๆ (โดยเฉพาะชีริกคอฟี) เพื่อรอรับการตอบแทนความดีจากอัลเลาะห์ในโลกอาคิเราะห์

จริงๆ มันเปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกับเราเรียนรู้มา..แล้วมาทำงานนั่นแหละ สังเกตไหมคะ ว่าคนเราเรียนจบมาเหมือนกัน ปริญญาใบเดียวกัน ...แต่ ประสบความสำเร็จในชีวิตแตกต่างกัน แน่นอน สิ่งนี้ เราวัดได้ในโลกดนยา ซึ่งมันจะเห็นความแตกต่างได้ชัด คนที่ทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จ เพราะส่วนหนึ่ง เขาเข้าใจ และการรู้จักนำความรู้ที่เรียนมา มาประยุกต์ใช้ มาแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตการทำงาน หรือในชีวิตของเขาเป็น ที่สำคัญ เขามีความฉลาด (ที่เราเรียกว่าอัลเลาะห์ให้ฮิดายะนั่นแหละ) ที่จะปรับใช้ความรู้ของเขา ให้เข้ากับสถานการณ์ โอกาส และเวลาที่เหมาะสม แน่นอน สถานการณ์ต่างๆ มันเปลี่ยนไป ตามกาลเวลา ตามสถานการณ์ ของมัน แต่แก่นความรู้ที่เป็นความจริง มันจะไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง....ความเป็นอิสลาม....ที่ถูกถ่ายทอดมาจากท่านนะบี....รากของมันจะเหมือนกัน แก่นของมันจะเหมือนกัน...ไม่ว่าจะยุกต์สมัย เปลี่ยนไปแค่ไหนก็ตาม....

หมายเลขบันทึก: 361153เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2010 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ คุณผุสดี แวะมาเรียนรู้เรื่องดีๆค่ะ

สวัสดีคะ คุณยาย ขอบคุณมาก ยินดีคะ

อัสสาลามุอะลัยกุม

นานแล้วไม่ได้ติดตามอ่านบันทึกของคุณผุสดี พอคลิ๊กอ่านวันนี้ เห็นหัวข้อตรงกับที่ได้อ่านเมื่อวานในถามตอบของเว็บไซด์อาหรับ

ผู้รู้ในอิสลาม..ผมก็เคยใช้แทนคำว่า อาลิม ผมก็เข้าใจอย่างที่คุณผุสดีได้เขียนไว้ข้างบน และก็ผมรู้สึกว่าเป็นความหมายหนึ่งของคำว่าผู้รู้ในอิสลาม

แต่คำว่า "อาลิม" ที่ผมแปลว่าผู้รู้ในอิสลามนี้ จริงๆแล้วเป็นเช่นไร

อัชเชากานี้ บอกว่าคนที่จะได้ชื่อว่าเป็น "อาลิม" นั้น จะต้องมีคุณสมบัติ 5 อย่าง

  1. เป็นผู้รู้ในคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษนบี ไม่ถึงขั้นกับต้องท่องจำหะดีษทั้งหมดเพียงแค่บอกได้ว่าอยู่ในหะดีษใคร ความเชื่อถืออยู่ในระดับใด เท่านี้ก็ใช้ได้แล้ว
  2. เป็นผู้รู้ในเรื่องเกี่ยวกับความเห็นต้องกันของบรรดาผู้รู้ทั้งหลายในเรื่องบทบัญญัติในศาสนา(หรือที่เรียกว่าอิจมาอฺ)
  3. ต้องเก่งในภาษาอาหรับ
  4. ต้องรู้ในเรื่องหลักศาสนาบัญญัติเป็นอย่างดี
  5. และรู้ไว้บทอันไหนได้ถูกยกเลิกแล้วและยกเลิกด้วยอะไร

และมีอีกหลายคนที่ให้ความหมายของผู้รู้(อาลิม)ในอิสลาม จะมีแตกต่างกันบ้างแต่โดยภาพรวมแล้วจะไปในลักษณะเดียวกัน

วันนี้คอมเมนต์ยาวหน่อย แต่คิดว่าประดับความรู้ เวลาเรารวมถึงผมด้วยจะพูดถึงผู้รู้ในอิสลาม เรามีให้ได้ในหลายความหมาย

สลามคะ บาบอ ขอบคุณบาบอมากๆ เลยคะ ...สำหรับความรู้เพิ่มเติมของญาคะ....จริงๆ อย่างที่บาบอว่านะคะ...การเป็น อาลิม มันต้องมีคุณสมบัติมากมายคะ...ขอบคุณอีกครั้งคะ

ขอเห็นต่างนิดนะครับ

"เพื่อรอรับการตอบแทนความดีจากอัลเลาะห์ในโลกอาคิเราะห์" อันนี้น่าจะชีริกคอฟีนะครับ..

"ประสบความสำเร็จในชีวิตแตกต่างกัน" ความสำเร็จของถ้าวัดกันจากผลตอบแทนที่ตามมาไม่น่าใช่ครับ เช่น ครูที่สอนอัลกรุอ่านในปัจจุบัณนี้ได้รับผลตอบแทนน้อยมาก แต่ในอาคิรไม่ต้องพูดถึงมากกว่ามากมาย

"ความฉลาด (ที่เราเรียกว่าอัลเลาะห์ให้ฮิดายะนั่นแหละ)"  ถ้าพระองค์ประสงค์ให้ฮิดายะฉลาดหรือไม่ฉลาด ไม่น่าเกี่ยวกันนะครับ

 

สลามคะ คุณ ฮารูน

ขอบคุณมากคะสำหรับความเห็น ดิฉันคงเขียนสั้นและสรุปมากเกินไปเพราะ สิ่งที่ดิฉันต้องการจะถ่ายทอด มันไม่ใช่สิ่งที่คุณเข้าใจคะ..ดิฉันต้องการจะสื่อบอกว่า คนที่มีความรู้ศาสนา ที่เรียนศาสนามามากๆ เขาจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ และต้องนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช่้ในระบบการดำเนินชีวิตทุกวัน ทุกขณะจิต (เพราะอิสลามแยกไม่ได้ระหว่างระบบการดำเนินชีวิต และศาสนา) แล้วเขาจะประสบความสำเร็จ ซึ่งความเร็จในที่นี้ ดิฉันหมายถึง ความสำเร็จในอาคิเราะห์เท่านั้นคะ...(ซึ่งเป็นความสำเร็จของมุสลิมทุกคนคะ) แต่ดิฉันเปรียบให้เห็นง่ายๆ กับโลกดนยาคะ เพราะแน่นอน คนที่เรียนศาสนามามาก ก็ใช่ว่าจะเข้าใจทุกคนใช่ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท