เสี่ยงไหมถ้าใช้ยาลดไขมันในเลือด(โคเลสเตอรอล)


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Unintended' statin side-effect risks uncovered = "พบความเสี่ยงอาการข้างเคียงจากสเตติน (ยาลดไขมันในเลือด) โดยไม่ได้ตั้งใจ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ BBC ]

----//----

ศ. Julia Hippisley-Cox และคณะวิจัยจาก มหาวิทยาลัยนอททิงแฮม UK รวบรวมข้อมุลจากกลุ่มตัวอย่างอายุ 30-84 ปี มากกว่า 2 ล้านรายในอังกฤษและเวลส์ ติดตามไป 6 ปี (ตีพิมพ์ใน BMJ)

ศ.ฮิพพิสเลย์-คอกซ์ กล่าวว่า ยาทุกชนิดมีทั้งประโยชน์ (benefits) และความเสี่ยง (risks) ทั้งนั้น, ปกติหมอจะเลือกสั่งจ่ายยาเมื่อพิจารณาข้อดีและข้อเสีย (pros and cons)  แล้วว่า มี (โอกาส) ดีมากกว่าเสีย

...

อาการข้าง เคียงต่อไต (ไตวาย) และการทำงานของตับผิดปกติพบว่า แปรตามขนาดยา คือ ขนาดสูงเสี่ยงมากกว่าขนาดต่ำ

อาการข้างเคียงพบมากในปีแรกที่ใช้ยา และข่าวดีสำหรับผู้หญิงตอนนี้ คือ การศึกษานี้พบอาการข้างเคียงในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

...

[ BBC ]

...

ภาพตารางแสดง โอกาสได้รับข้อดี-ข้อเสียที่พบในผู้หญิงที่ใช้ 10,000 คน หรือความเสี่ยงต่อหมื่นได้แก่

(1). ลดโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือด > 271 ในหมื่น = 2.7%

(2). ลดมะเร็งหลอดอาหาร > 8 ใน หมื่น

(3). เพิ่มไตวายเฉียบพลัน > 23 ใน หมื่น

(4). เพิ่มการทำงานตับผิดปกติ > 73 ใน หมื่น (ส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรง และเป็นชั่วคราว)

(5). เพิ่มต้อกระจก > 307 ใน หมื่น = 3.1%

(6). เพิ่มกล้ามเนื้ออ่อนแรง > 39 ในหมื่น (ส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรง และเป็นชั่วคราว)

...

ความเสี่ยงใน ผู้ชายก็คล้ายๆ กัน ยกเว้นกล้ามเนื้ออ่อนแรงเพิ่ม > 110 ในหมื่น = 1.1%

คนที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากยานี้สูงหน่อย คือ คนที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูง และควรพิจารณาใช้มาตรการที่ไม่ใช้ยา เช่น ควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลัง นอนให้พอ ฯลฯ เป็นทางเลือก หรือทางร่วม (ใช้ร่วมกับยา) เสมอ

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > [ อาหารลดโคเลสเตอรอล ]; [ 12 วิธีลดโคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) ]; [ โคเลสเตอรอลสูง กินอยู่อย่างไรดี ]; [ โคเลสเตอรอลคืออะไร + วิธีเพิ่ม HDL ]; [ 15 วิธีลดโคเลสเตอรอล (ไขมันในเืลือด) ]

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • Thank [ BBC ];
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 24 พฤษภาคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 361152เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2010 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนคุณหมอวัลลภ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่นำเสนอนะคะ ดีใจนิดเดียวค่ะที่เสี่ยงน้อยกว่าผู้ชาย แต่ยังไงก็เสี่ยงอยู่ดี ขอให้ทุกคนสุขภาพแข็งแรงก็แล้วกันนะคะ

ขอขอบคุณมากๆ ครับ... // ถ้าชั่งน้ำหนักกันแล้ว อาการข้างเีคียงเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง พอจะแก้ไขได้ เช่น หน้าที่ตับมักจะเปลี่ยนไปไม่นาน ต้อกระจกพอจะผ่าตัดได้ ฯลฯ... // ดีใจด้วยครับที่มีความเสี่ยงน้อย ส่วนผมนี่ความเสี่ยงเกินระดับน้อยไปหน่อย คือ คุณพ่อสูบบุหรี่-เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อน 55 ปี, ผอมก็จริง แต่โคเลสเตอรอลสูงนิดหน่อย (หลังปรับเปลี่ยนอาหาร-ออกกำลัง-ใช้ยาขนาดต่ำเป็นบางวัน... ตอนนี้โคเลสเตอรอลต่ำลงแ้ล้วครับ)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท