เวลากินยาก่อนหรือหลังอาหารมีความสำคัญเพียงใด


จะกินยาก่อนอาหาร หรือหลังอาหารขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการให้ยา นั้น ๆ ออกฤทธิ์ให้ได้ผลมากที่สุด

เวลากินยาก่อนหรือหลังอาหารมีความสำคัญเพียงใด

ของ  พอ. สังสิทธิ์ วรชาติกุล

จาก  กองเภสัชกรรม รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ลำปาง

      การที่จะทราบว่าการกินยาก่อนอาหาร  หรือหลังอาหารสำคัญอย่างไรนั้นเราต้องทราบ ก่อนว่าขั้นตอนที่ยาจะไปออกฤทธิ์นั้นเป็นอย่างไร เวลาเรากินยาเข้าไป ถ้าเป็นยา เม็ดหรือแคปซูล ยานั้นจะแตกออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน แล้วละลายในน้ำ ซึ่งอยู่ใน กระเพาะและทางเดินอาหาร หลังจากนั้นก็จะถูกดูดซึมเข้าผนังทางเดินอาหาร เข้าสู่ กระแสเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป แต่ถ้าเป็นยาน้ำขบวนการนี้ก็จะเร็ว ขึ้น

      ยาจะออกฤทธิ์เมื่อได้เข้าไปอยู่ในกระแสเลือดแล้ว  และต้องมีปริมาณสูงพอด้วย อาหารบางอย่างมีผลต่อการดูดซึมของยา ยาบางตัวก็มีผลต่อกระเพาะอาหาร  เช่น ทำให้ เกิดการระคายเคือง  ดังนั้น การกินยาก่อนหรือหลังอาหาร  จึงมีความสำคัญขึ้นกับว่า ต้องการผลการของยาในแง่ใด ปกติเมื่อกระเพาะมีอาหารอยู่เต็ม ยาจะถูกดูดซึมเข้า กระแสเลือดได้น้อยกว่า และใช้เวลามากกว่าเมื่อกระเพาะว่าง

      ถ้าเรากินยาก่อนอาหารทันที, หลังอาหารทันที หรือกินยาพร้อม อาหาร จะมีความหมายแทบจะไม่แตกต่างกัน ซึ่งถือว่ากินยาในห้วงเวลาที่กระเพาะ อาหารไม่ว่างเหมือนกัน ดังนั้นเราจะกำหนดเวลาไปด้วยว่ากินก่อนอาหารหรือหลัง อาหารนานเท่าใด จึงจะได้ผลตามที่ต้องการ

วิธีการกินยา  ประกอบเหตุผล

      กินก่อนอาหาร  1 ชั่วโมง เพราะเราต้องการให้ได้รับยาขณะที่ท้องว่าง เพื่อให้ยาดูดซึมได้ดีที่สุด ยาพวก ที่ต้องกินแบบนี้ได้แก่ เพนนิซิลลิน, แอมพิซิลิน, ไรแฟมพิซิล เป็นต้น บางทีเรา ก็ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ก่อนอาหารตกถึงกระเพาะ (จะกินก่อนอาหารนานเท่าใดขึ้นกับ เวลาตั้งแต่เริ่มกินจนถึงเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ซึ่งยาแต่ละตัวจะแตกต่างกันบ้าง) เช่น ยาที่ลดการเกร็ง หรือบีบตัวของกระเพาะและทางเดินอาหารคนที่เป็นโรคกระเพาะ นั้นมักจะปวดท้อง เมื่ออาหารตกไปถึงกระเพาะ เพราะอาหารเป็นตัวกระตุ้นให้กระเพาะ ลำไส้บีบตัวมากขึ้น จึงต้องให้ยาออกฤทธิ์ ลดการบีบตัวของกระเพาะลำไส้ โดยกินยา ก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์พอดีเวลาอาหาร ซึ่งจะบรรเทาอาการ ปวดท้องได้ ยังมียาที่กระตุ้นให้เกิดการอยากอาหาร ก็ต้องกินก่อนอาหารประมาณ 1/2 ชั่วโมง พอยาออกฤทธิ์ จะกินอาหารได้มากขึ้น

กินหลังอาหารทันที = กินก่อนอาหารทันที = กินพร้อมอาหาร

      ยาบางตัวหากกินตอนท้องว่างจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารมาก ทำให้ คลื่นไส้อาเจียน แต่ถ้ากินพร้อมอาหารจะช่วยลดการระคายเคืองได้ ยาพวกนี้ได้แก่ ยาแก้ปวดชนิดต่าง ๆ เช่น แอสไพริน, ยาแก้ปวดข้อ เช่น เพนนิลบิวทาโซน, ไอบูโป รเฟน, อินโดเมดทาซิน เป็นต้น นอกจากกินพร้อมอาหารแล้วยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น แอสไพริน การกินน้ำตามมาก ๆ เพื่อไปเจือจาง หรือลดความเป็นกรดให้น้อยลง ก็ช่วย ลดการระคายเคืองได้

กินยาหลังอาหาร  1 ชั่วโมง

      ยาบางชนิดจะออกฤทธิ์นาน  เมื่อกินหลังอาหาร เช่น ยาลดกรดซึ่งมีผู้ทดลองได้ผลว่า  ถ้าให้ยาในขณะที่ท้องว่าง ยาจะออกฤทธิ์นานประมาณ  30 นาที แต่ถ้าให้ยาหลังอาหาร 1 ชั่วโมง ยาจะออกฤทธิ์นาน 4 ชั่วโมง ดังนั้นจึงกำหนดให้กินหลังอาหาร 1 ชั่วโมง

ยากินก่อนนอน

      ยาบางชนิดกินแล้วทำให้ง่วงมึนงง  เช่น ยาคลายกังวล, ยาแก้แพ้ซึ่ง เป็นส่วนผสมของยาแก้หวัด ลดน้ำมูก จึงควรกินก่อนนอน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ปลอดภัย ในขณะทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือขับรถในเวลากลางวันแล้ว ยังทำให้หลับได้ อย่างสบายในเวลากลางคืนอีกด้วย

      จึงขอสรุปได้ว่า จะกินยาก่อนอาหาร หรือหลังอาหารขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการให้ยา นั้น ๆ ออกฤทธิ์ให้ได้ผลมากที่สุด  มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด  ส่วนจะก่อน - หลัง นานเท่าใดนั้น ขึ้นกับเวลาตั้งแต่เริ่มกินยาจนถึงเวลาที่ยาถูกดูดซึมเข้าผนังทาง เดินอาหารหมด หรืออาจเลยไปถึงเวลาที่ยาออกฤทธิ์แล้วแต่ว่าเราต้องการผลอันไหน

      เวลากินยาก่อนหรือหลังอาหารมีความสำคัญเพียงใด  ดังนั้นเพื่อผล การรักษาที่ดีที่สุด  ผู้ป่วยควรกินยาตามเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ผลดีก็จะ ตกอยู่กับตัวของผู้ป่วยเอง


…………………………………………………………………………………………………………………….

นางสาวสุทธิวรรณ  พัฒนา

เจ้าหน้าที่บัญชี

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 361017เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2010 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท