โรงเรียนแห่งการเรียนรู้


การวัดความเป็น "โรงเรียนแห่งการเรียนรู้" อีกอย่างหนึ่งคือวัดที่ครู ดูว่าครูมีกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานประจำหรือไม่ ถ้า บอกว่ามี ถามว่าทำอย่างไร มีการบันทึกไว้หรือไม่

โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

          โครงการโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มช. จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง "การวิจัยเชิงปฏิบัติการ : วิถีปฏิรูปสู่โรงเรียนแห่งการ เรียนรู้" ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ มิย. ๔๙ ที่เชียงใหม่ ผมได้รับเชิญไปปาฐกถาพิเศษที่พิเศษจริงๆ คือแสดงโดย ๒ คน อีกท่านหนึ่งคือ ดร. เลขา ปิยะอัจฉริยะ

          ชื่อของปาฐกถาพิเศษคือ "การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้ และชุมชนแห่งการเรียนรู้" ดร. เลขาท่านคงจะพูดได้เยอะ เพราะ ท่านกำลังทำอยู่ทั้งสามประเด็น

          ผมสนใจว่าโรงเรียนจะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร คำว่า "โรงเรียนแห่งการเรียนรู้" เป็นคำที่เข้าใจผิดได้ง่าย คนที่เข้าใจผิดก็จะบอกว่าโรงเรียนที่เขาสอนอยู่เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้อยู่ แล้ว เพราะมีเด็กมาเรียนทุกวัน เป็นการมองคำว่า "เรียนรู้" ว่าเป็นกิจกรรมของนักเรียน แต่จริงๆ แล้วความหมายที่ถูกต้องของ "โรงเรียน แห่งการเรียนรู้" หมายถึงโรงเรียนที่มีความสามารถในการปรับตัว หรือพัฒนาตนเอง ให้ทำภารกิจได้ดีเป็นที่น่าชื่นชม และตัวบุคคลที่ทำ กิจกรรม "เรียนรู้" คือครู ผู้บริหาร กรรมการโรงเรียน และผู้นำชุมชน

           วัดความเป็น "โรงเรียนแห่งการเรียนรู้" ได้ง่ายที่ตัวนักเรียน และศิษย์ที่จบการศึกษาออกไป คือดูที่คุณภาพของผลผลิต   การวัดความเป็น "โรงเรียนแห่งการเรียนรู้" อีกอย่างหนึ่งคือวัดที่ครู ดูว่าครูมีกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานประจำหรือไม่ ถ้า บอกว่ามี ถามว่าทำอย่างไร มีการบันทึกไว้หรือไม่

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มิย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 36000เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2006 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

              เมื่อเช้าวันนี้ ( ๒๘ มิ.ย.๒๕๔๙ ) แวะไปหาผู้ที่เคารพ เนื่องในวันคล้ายวันเกิด  สถานที่แห่งใหม่ จากผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน ท่านมาเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนันทบุรีวิทยา ตามพระราชประสงค์ฯ 

               ภาพที่เห็นนักเรียนที่มาสายนั่งรออยู่ที่ประตูทางเข้า ระหว่างรออาจารย์ใหญ่ เพื่อไม่ให้เสียเวลาเพราะสนใจไต่ถามครูที่ดูน้อง ๆ นักเรียน นับได้ร่วม 20 คน นักเรียนเหล่านี้มาโรงเรียนสาย  ทางโรงเรียนจึงให้นักเรียนนั่งอยู่เป็นการทำโทษ 

                สอบถามครูแล้ว นักเรียนเหล่านี้เป็นนักเรียนมัธยมมักจะมาสาย  แม้ว่าโรงเรียนจะทำโทษ  ก็จะมาสาย  เราเลยบอกว่า  แบบนี้ไม่ธรรมดา  ได้ถามครูว่าเมื่อไหร่เด็กนักเรียนจะสำนึก  ได้รับคำตอบว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว  เราบอกคุณครูว่าช้าไป   โรงเรียนควรเรียนรู้เรื่องนี้ด้วย   เพราะการตัดคะแนนก็เท่านั้น  ควรขึ้นบัญชี  ทำกร๊าฟ ทำสถิติ และพาเด็กเหล่านี้เข้าห้องเย็น  ห้องปรับปรุงพฤติกรรม จะได้ไม่ช้า ไม่สายจนเกินแก้ 

                 การลงโทษโดยไม่เข้าไปนั่งอยู่ในใจนักเรียนจะเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร                

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท