สิทธิเจตน์
พันเอก สิทธิเจตน์ เสธ เป้า วงษ์ไหลทอง

การจัดการศึกษา


บริหาร

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้บรรจุมาตราต่างๆ เพื่อกำหนดเงื่อนไขให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 5 แนวทางดังกล่าว จะขอสรุปรายละเอียดของแต่ละหมวดที่เป็นแก่นสาระของพระราชบัญญัติดังนี้

          หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
          เป็นหมวดที่สำคัญ เพราะเป็นการสรุปย่อหลักการสำคัญของแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และกล่าวถึงความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาเพื่อเป็นการกำหนดกรอบของการดำเนินงานทั้งหมด

          หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
          กล่าวถึงสิทธิของประชาชนที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้โดยไม่เว้นค่าใช้จ่าย กล่าวถึงสิทธิของบุคคลซึ่งมีความบกพร่องของร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ตลอดจนบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ หมวดสิทธินี้เป็นการเปิดขอบฟ้าใหม่ ที่จะส่งเสริมให้บุคคล ชุมชน สถาบันสังคม สถาบันศาสนา องค์กรเอกชน และสถานประกอบการ มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้รับการสนับสนุนจากรัฐในหลายๆ วิธี

          หมวด 3 ระบบการศึกษา
          กล่าวถึง ระบบการศึกษาใหม่ที่จัดไว้เพียง 2 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และระดับหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เรียกว่าอุดมศึกษา  และในแต่ละระดับสามารถจัดในรูปแบบการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย และให้มีระบบการเทียบโอนผลการเรียนได้ระหว่างรูปแบบต่างๆในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ตามที่กระทรวงฯ จะกำหนด

        หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา
          กล่าวถึงแนวการจัดการเรียนการสอน ที่จะต้อง "ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด" สาระของการเรียนจะต้องเน้นเรื่องอะไรบ้างในแต่ละระดับ และกระบวนการเรียนรู้ควรดำเนินการอย่างไร วิธีการประเมินผลควรทำอย่างไร หลักสูตรแกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐานกับหลักสูตรท้องถิ่น ประสานสอดคล้องกันอย่างไร ได้กล่าวไว้ในหมวดนี้
          
        หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
          กล่าวถึงการจัดบทบาทหน้าที่ใหม่ของกระบวนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นฐานการศึกษาและสถานศึกษา มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่างส่วนกลางกับเขตพื้นที่การศึกษา ไว้ชัดเจน กระทรวงใหม่นี้รวมงานกระทรวงศึกษาธิการเดิมงานของทบวงมหาวิทยาลัย และงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และมุ่งเน้นให้มหาวิทยาลัยเป็นอิสระหมวดนี้กล่าวถึงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาด้วย ตลอดจน
ระบบการบริหาร และการจัดการศึกษาของเอกชน

        หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
          กล่าวถึงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีทั้งระบบประกันคุณภาพภายใน และระบบประกันคุณภาพภายนอก ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ และขั้นตอนของการดำเนินงาน

          หมวด 7 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
          กล่าวถึงระบบและกระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีกองทุนสำหรับการพัฒนา ให้มีองค์กรวิชาชีพครูเพื่อดูแลการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีองค์กรกลางบริหารบุคคล การกระจายอำนาจการบริหาร และระบบเงินเดือนครูตลอดจนกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์

          หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
          หมวดนี้กล่าวถึงการจัดสรรงบประมาณแบบใหม่ให้สถานศึกษา และแนวการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ

          หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
          กล่าวถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ระบบการพัฒนาและจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

          บทเฉพาะกาล
          กล่าวถึงการจัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษาและคณะกรรมการบริหารสำนักงาน เพื่อทำงานเฉพาะกิจ ๓ ปี เพื่อเสนอรูปแบบและพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พระราชบัญญัติการบริหารบุคคล (ของครู) และเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติฉบับนี้

ปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนอินเตอร์พัฒนศาสตร์

1.ด้านการเรียนการสอน

สาเหตุ     - หลักสูตรปวส.ไม่มีความชัดเจนในการให้โอกาสในการศึกษาต่อในระดับ

                อุดมศึกษา

              - นโยบายของกระทรวงศึกษาไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงบ่อย

แนวทางแก้ไข      - นโยบายและทิศทางทางการศึกษาจะต้องเป็นไปตามกรอบ

                        ยุทธศาสตร์ของชาติไม่เปลี่ยนแปลงตามผู้บริหารของรัฐมนตรีเจ้า

                        กระทรวง

2.ด้านผู้เรียน

สาเหตุ                - ไม่มีแรงจูงใจของเรียนในพื้นที่ให้มีการแข่งขันทางการศึกษา

แนวทางแก้ไข       - การรับนักเรียนในระดับอาชีวศึกษาของภาครัฐเปิดรับอย่างไม่มี

                         จำนวนจำกัด ทำให้นักเรียนเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกชนน้อย ควร

                         เปิดรับนักเรียนในจำนวนที่เหมาะสม

                         - ส่งเสริม สนับสนุนให้มีเวทีการแข่งขันทางด้านการศึกษาในเขต

                         ภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ

3. ด้านบุคลากร                     

สาเหตุ                 - บุคลากรครูในสาขาวิชาที่ต้องการในพื้นที่หาได้ยาก

                          - ศักยภาพของครูแต่ละบุคคลมีข้อจำกัด

แนวทางแก้ไข        - เพิ่มพูนความรู้ให้กับครูผู้สอนให้ครอบคลุมเนื้อหาวิชาที่ต้องการ

                          และจูงใจด้านเงินเดือน สวัสดิการ

                          - ปลูกฝังแนวความคิดให้กับผู้ที่จะมีอาชีพเป็นครูให้มีจิตสำนึกใน

                          การรับผิดชอบต่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ด้านงบประมาณ               

สาเหตุ                  - มีการลงทุนค่อนข้างสูง

                           - เก็บค่าเล่าเรียนได้ในจำนวนที่กำหนดไว้ต่ำ

แนวทางแก้ไข         - ควรมีการอุดหนุนให้เพียงพอต่อปัจจัยขั้นต่ำให้มากขึ้น

                                                                                               

คำสำคัญ (Tags): #พ.ร.บ.
หมายเลขบันทึก: 359661เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาเยี่ยมครับ

ในรูปเป็นนักศึกษาที่โรงเรียนหรือป่าวครับ

ผู้พันคะ กล้า ๆ ยิ้มหน่อย โลกจะสดใส

ได้ความรู้ดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท