นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้กิจกรรมบำบัด


บันทึกประสบการณ์ตอนที่ 1 เรื่อง นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้กิจกรรมบำบัด เมื่อผมเป็นตัวแทนคนไทยเข้าร่วมประชุมสมาพันธ์โลกของนักกิจกรรมบำบัดครั้งที่ 15 ณ เมืองซันติอาโก ประเทศชิลี วันที่ 4-7 พ.ค. 53 ด้วยทุน WFOT Congress Delegate Grants Award ทุนบัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล และทุนพัฒนาอาจารย์ประจำคณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

ขอบคุณสำหรับการบรรยายอันยอดเยี่ยมของ Prof. Mary Law ในหัวข้อ The Creation of Knowledge in Occupational Therapy เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานวิชาชีพนักกิจกรรมบำบัดสากลให้กลายเป็นการเรียนรู้โดยการกระทำกิจกรรมบำบัด (Learning by Doing Occupational Therapy)

การกระทำข้างต้นเริ่มด้วย ทำความเข้าใจว่า "ชีวิตคือการก้าวออกมาจากประตูทุกวันเพื่อมีส่วนร่วมในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน และการทำกิจกรรมยามว่าง" ในชีวิตจริงนั้น บางวันประตูเปิด บางวันประตูปิด แต่นักกิจกรรมบำบัดต้องเปิดประตูออกสู่การคงไว้เพื่อมีส่วนร่วมทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupation) มิให้อยู่ว่าง ส่งผลให้สุขภาพสมบูรณ์ และมีชีวิตที่ดีในทุกๆวัน โดยปรับสิ่งต่างๆ ที่คนเราต้องการกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำอย่างจริงจัง (Adapting actively what they want to do or need to do) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

คำถาม: เราจะสร้างสรรค์ความรู้ทางกิจกรรมบำบัดได้อย่างไร

คำตอบ: เราต้องสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันในแต่ละวัน รวมทั้งสร้างการพักผ่อนและการผ่อนคลายในการดำเนินชีวิต

คำถาม: เมื่อเราใช้ชีวิตกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่บกพร่อง สิ่งใดที่จำเป็นต่อการสร้างชีวิตที่มีสุข

คำตอบ: สิ่งต่างๆ ที่เราต้องเรียนรู้ที่จะกระทำ เรียนรู้โดยการกระทำ ดังที่ Aristotle กล่าวไว้ถึงการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตให้มีความสุข แม้ว่ากำลังเผชิญอยู่ในสถานการณ์ชีวิตที่หลากหลาย เช่น ไม่มีงานทำ มีปัญหาขัดแย้ง มีความพิการและโรคเรื้อรัง เป็นผู้ด้อยโอกาส หรือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

จากคำถามคำตอบข้างต้น ทำให้พื้นฐานของสิทธิมนุษยชน คือ การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีความหมายและที่มีเป้าหมายตามความจำเป็นของมนุษย์ในแต่ละบริบททางสังคมและสิ่งแวดล้อม นั่นคือกรอบความคิดหรือรูปแบบของการสร้างความสามารถของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตควรมีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม

ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดควรสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ทำให้มนุษย์ทั่วโลกมีความสามารถทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

เรามีหลายเรื่องราวที่ควรเรียนรู้ เราต้องมองไปข้างหน้าถึงการประยุกต์หรือการแปรเปลี่ยนความรู้สู่บริบทที่หลากหลาย  

นวัตกรรมทางการเรียนรู้เปรียบเสมือนการถักทอผ้า ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ทั้งหมด แต่คือการเรียนรู้ผลกระทบต่อความหลายหลายระหว่างบุคคล สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการดำเนินชีวิตในแต่ละบริบททางสังคม ได้แก่ เรียนรู้สิ่งนั่นเพื่อเป็นข้อมูลและทักษะ เรียนรู้อย่างไรเพื่อเป็นมิติแห่งความรู้ที่ไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่เป็นกระบวนการพัฒนาความรู้ 3 มิติภายในองค์กร ได้แก่

1. ความรู้ในตัวตน (tacit knowledge) ช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด (therapeutic environment) ในการแสดงความเป็นตัวตน (autonomy) การแสดงตัวเลือกของการกระทำ (choice of action) และการแสดงควบคุมการกระทำของตนเอง (self-control) จนถึงการสร้างสรรค์การกระทำกิจกรรมที่หลากหลาย

2. ความรู้ที่แสดงออกมาจริง (explicit knowledge) ช่วยดึงความรู้ในตัวตนออกมาในลักษณะกิจกรรมการดำเนินชีวิต (occupation) ความยุติธรรมทางสังคม (social justice) และความรู้ที่เกิดขึ้น (action knowledge)

3. ความรู้ทางวัฒนธรรม (cultural knowledge) แลกเปลี่ยนสมมติฐานและความเชื่อในแต่ละบุคคล ที่สะท้อนการเรียนรู้ผ่านความรู้ในตัวตนและความรู้ที่แสดงออกมาจริง

จะเห็นว่าความรู้ทั้ง 3 มิติ ก่อให้เกิดกระบวนการแบบพลวัตและตั้งใจ (dynamic & active process) โดยการสร้างและสะท้อนความคิดเพื่อพัฒนาความรู้ใหม่ที่สัมพันธ์กัน (interaction of education/outreach and feedback) กลายเป็นมิติของการแปลความรู้ (knowledge translation) - ศึกษาเพิ่มเติมจาก http://choo.fis.utoronto.ca/KMIottawa/KMfmwk1.html หรือค้นคว้า knowledge conversion ของ Nonaka & Takeuchi, 1995

นักกิจกรรมบำบัดควรเรียนรู้และสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ จากสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ผู้รับบริการและครอบครัว งานทางคลินิก และงานวิจัย ในบริบทของชุมชน วัฒนธรรม การตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง และการประเมินความต้องการของแต่ละบุคคล มีการแปลความรู้เพื่อการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างตั้งใจและมีความหมายพร้อมๆ กับการกระทำเพื่อสร้างกระบวนการของเรียนรู้ของตนเอง นำมาซึ่งการเรียนรู้ถึงแก่นของแนวคิดสู่แนวคิดหลักทางกิจกรรมบำบัด

แม้ว่าการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมจะไม่ง่ายนัก และมีแนวโน้มที่มีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่ซับซ้อนขึ้นตลอดเวลา แต่นักกิจกรรมบำบัดพึงเปิดใจให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์และความพยายามในการแปลความหมายจากการมีส่วนร่วมสร้างความรู้ใหม่ๆ ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั่น

นักกิจกรรมบำบัดพึงเรียนรู้จากการกระทำของตนเองในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะทางสังคมผ่าน Active Learning + Interaction Learning + Knowledge Sharing + Knowledge Creation เช่น การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ระหว่างวิชาชีพทางการแพทย์เพื่อคุณภาพชีวิตทางสังคมโดยเน้นการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายต่อการเรียนรู้ของผู้ที่พยายามเข้าถึงงานกิจกรรมบำบัดว่า อะไรและทำไมกิจกรรมบำบัดจะสร้างความสุขในชีวิตและการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้

นักกิจกรรมบำบัดพึง Opening doors to create knowledge of occupational therapy in front line - เปิดประตูใจ ประตูความคิด และประตูการเรียนรู้ของตนเองสู่การสร้างสรรค์ความรู้ทางกิจกรรมบำบัดให้สังคมรู้จักในแถวหน้าของสังคมโลก

นักกิจกรรมบำบัดพึง "วิจัยชีวิต" คือ การเรียนรู้สุขภาวะทางจิตสังคมของผู้รับบริการเพื่อทำให้พวกเขาค้นพบความหมายของกิจกรรม ตัดสินใจเข้าร่วมทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน แม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้รับบริการตามสิ่งแวดล้อมเพียงน้อยนิด ก็ถือว่า "นักกิจกรรมบำบัดสร้างความแตกต่างในชีวิตของพวกเขาแล้ว อย่ายึดติดแต่เทคนิคการรักษา หากมองผู้รับบริการด้วยหัวใจของมนุษย์ที่กำลังสร้างชีวิตที่มีความสุขบนโลกนี้

นักกิจกรรมบำบัดพึงค้นคว้าวิธีการที่หลากหลายในการทำความเข้าใจสภาวะของมนุษย์ที่อาจต้องการเทคนิคการรักษาไม่มากนัก แต่ต้องการพัฒนาความสามารถของมนุษย์ในการเป็นส่วนหนึ่งทางสังคมในรูปแบบง่ายๆ โดยการเรียนรู้จากการกระทำกิจกรรมในชีวิตจริงๆ ซึ่งอาจไม่ต้องสมบูรณ์แบบเสมอไป เพราะการเปิดประตูชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นเต็มไปด้วยความไม่กลัว ความสนุกสนาน และความสุขในการทำกิจกรรมตลอดชีวิต  

นักกิจกรรมบำบัดพึงเข้าใจพัฒนาการทางจิตใจและอารมณ์ขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เต็มไปด้วยความพึงพอใจในชีวิตและรู้จักคุณค่าของความเป็นอยู่ของมนุษย์ ที่มีความต้องการ ความฝัน คุณค่าทางวัฒนธรรม ทักษะการให้เหตุผลทางคลินิก และการวิจัยเรียนรู้ในหลายมิติตลอดเวลาเพื่อสร้างสุขภาวะและสุขภาพของมนุษย์

นักกิจกรรมบำบัดแต่ละบุคคลเรียนรู้ความหมายของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อนำมาเป็นประสบการณ์ทางคลินิก ซึ่งน่าจะดีกว่าการจัดการเรียนรู้ผ่านตำราความรู้ทางคลินิกอย่างเดียว

นักกิจกรรมบำบัดควรหา Comfort Zone ของตนเองเพื่อเรียนรู้ชีวิตแล้วนำมาสร้างสรรค์ความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสนุกสนาน พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและคนที่ไม่ใช่นักกิจกรรมบำบัด ซึ่งถือเป็นการสื่อสารทางสังคมที่มีคุณค่าในการคิดทบทวนเหนือกว่าปัจจุบันและค่อยๆ ปรับความคิดนั้นสู่การกระทำที่ชัดเจนในอนาคต

นักกิจกรรมบำบัดพึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อเท็จจริงด้วยคุณธรรมและสหวิชาชีพแก่คนทุกคน ค่อยๆเรียนรู้จากสิ่งหนึ่งที่มีผลต่ออนาคตรูปแบบหนึ่ง อย่าประยุกต์ใช้ความรู้เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องแปลความรู้ในการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างมีความสุข ปราศจากข้อสงสัย และปรับเปลี่ยนได้ตามกระแสวัฒนธรรม-ภาษา-สังคมที่หลากหลาย

หมายเลขบันทึก: 359024เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เชิญชวนให้อ่านสาระความรู้เพื่อการพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ซึ่งมาจากการเข้าร่วมประชุม WFOT ที่ชิลี เชิญคลิกอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/359024

และลองเปรียบเทียบมุมมองจาก 4 ปีที่แล้วจากงานประชุม WFOT ที่ออสเตรเลีย ที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/41758

อยากให้พี่น้องนักกิจกรรมบำบัดร่วมสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในระดับสังคมมากขึ้นอย่างมีความสุข ด้วยคำจำกัดความใหม่ของกิจกรรมบำบัดสากล คือ การเรียนรู้ชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน-สิ่งแวดล้อม-กิจกรรมการดำเนินชีวิต

อยากให้พี่น้องนักกิจกรรมบำบัดไทยลองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Blog เพื่อผมจะได้เขียนรวบรวมลง WFOT Bullentin ต่อไปครับ ในประเด็นที่ว่า นักกิจกรรมบำบัดไทยจะเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพขีวิตของคนไทยได้แค่ไหนอย่างไร

ขอบคุณมากครับ

ยายแวะมาขอความรู้ค่ะ สนับสนุนคนตั้งใจทำงานนะคะ ขอให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณยายสำหรับแรงสนับสนุนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงาน

ครูต้อยแวะมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ได้พาน้องๆกิจกรรมบำบัดของไพดี้ ไปเยี่ยมเด็กพิการตามบ้าน และได้ประเมิน วางแผนให้ความช่วยเหลือ ปรับการดำเนินชีวิตทั้งผู้ดูแลและเด็กพิการ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือดีกว่าเดิม และได้เพิ่มเติมตวามคิดเดิมว่าต้องฟื้นฟู ให้เป็นว่าช่วยให้เขาเรียนรู้ที่จัดการกับปัญหา และวางแผนให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ในการช่วยเหลือ และครั้งแรกที่เราลงชุมชนนี้ ก็ได้เสนอแนะให้ดูให้รอบตัวเด็ก ทุกส่วนที่เกี่ยวของ ให้เป็นเรื่องทักษะชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ คงต้องอาศัยอาจารย์ป็อปมาช่วยบ้างนะครับ

ขอบคุณคุณยงยศ ชื่นชมกับความพยายามเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ทักษะชีวิตแก่น้องๆนักกิจกรรมบำบัด เป็นแนวคิดที่สำคัญและต้องการการฝึกฝนความเชี่ยวชาญอย่างมากในการมองเด็กหนึ่งคนตามการพัฒนาความสามารถของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

บางครั้งอาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ที่ไม่เท่ากันในแต่ละนักกิจกรรมบำบัดที่มีพื้นฐานการให้เหตุผลทางคลินิกและการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน

ยินดีให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ธรรมะสวัสดี ดร.ป็อบ

กิจกรรมบำบัด..น่าจะมีอะไรที่น่าสนใจและนำมาประยุกต์

กับกิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

โดยเฉพาะการเข้าใจตนเอง

หวังว่าคงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์

ด้วยกรุณาแห่งจิต

ขอบพระคุณมากครับกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกิจกรรมบำบัดกับพุทธศาสนาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท