บันทึกครั้งที่ 3 รายงานการวิจัยในชั้นเรียน


รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

       การวิจัยในชั้นเรียน 

     เรื่อง

              การพัฒนาผลสัมฤทธิ์คะแนน  O –  net     

       วิชาวิทยาศาสตร์   โดยใช้แบบฝึกวิทยาศาสตร์ 

                         ชั้นประถมศึกษาปีที่  6

                   โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง

                             ปีการศึกษา   2550 

 

 

 

                          นายเพชร    โฉมไทยสง

 

 

 

                   โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง

             ตำบลวังไม้แดง                    อำเภอประทาย

                 เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา   เขต   7

 

การวิจัยในชั้นเรียน 

 

 

ชื่องานวิจัย   การพัฒนาผลสัมฤทธิ์คะแนน  O –  net     

                  วิชาวิทยาศาสตร์   โดยใช้แบบฝึกวิทยาศาสตร์ 

                  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6    ปีการศึกษา   2550 

                  โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง  ตำบลวังไม้แดง

                   อำเภอประทาย     จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อผู้วิจัย       นายเพชร     โฉมไทยสง       

                   ครูชำนาญการพิเศษ

                   โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง

 

บทคัดย่อ 

           การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาว่าแบบฝึกวิทยาศาสตร์      เพื่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน   สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์คะแนน  O – net  วิชาวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่   6     โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง   

             โดยการหาประสิทธิภาพ ของแบบฝึกวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน      กลุ่มตัวอย่างในการดำเนินการวิจัย     เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่    6    จำนวน  17   คน    โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง         

             เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแผนการสอน     แบบฝึกวิทยาศาสตร์   จำนวน   1   เล่ม    การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและคะแนนการทดสอบ  O – net 

         ผลการวิจัยสรุปได้ว่า   แบบฝึกวิชาวิทยาศาสตร์   ที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์   80 / 80  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น       และคะแนนเฉลี่ยการทดสอบ  O – net  ปี  2550  สูงกว่า  ปี  2549    แสดงว่า 

แบบฝึกวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบฝึกวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ  สามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย 

บทที่    1

                                                      บทนำ 

 

  1. 1.      1  ความเป็นมาและความสำคัญ

               ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

 

                            วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต  เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน  ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ  เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนผลผลิตต่างๆ  ที่คนได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงาน  ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ  ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก  ในทางกลับกันเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งวิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด  ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล  คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  วิจารณ์  มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้  มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้  วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge based society) ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ (Scientific literacy for all) เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น  และนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล  สร้างสรรค์  มีคุณธรรม  ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี  แต่ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์  การดูแลรักษา  ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน  และที่สำคัญอย่างยิ่งคือความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ  สามารถแข่งขันกันนานาประเทศและดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์

 

            ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้มาด้วยความพยายามของมนุษย์  ที่ใช้กระบานการสืบเสาะหาความรู้ (Scientific Inquiry) การสังเกต  สำรวจตรวจสอบ  ศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ และการสืบค้นข้อมูล  ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เพิ่มพูนตลอดเวลา  ความรู้และกระบวนการดังกล่าวมีการถ่ายทอดต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนานความรู้วิทยาศาสตร์ต้องสามารถอธิบายและตรวจสอบได้  เพื่อนำมาใช้อ้างอิงทั้งในการสนับสนุนหรือโต้แย้งเมื่อมีการค้นพบข้อมูล  หรือหลักฐานใหม่  หรือแม้แต่ข้อมูลเดิมเดียวกันก็อาจเกิดความขัดแย้งขึ้นได้  ถ้านักวิทยาศาสตร์แปลความหมายด้วยวิธีการหรือแนวคิดที่แตกต่างกัน  ความรู้วิทยาศาสตร์จึงอาจเปลี่ยนแปลงได้

 

 

2

            วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของโลกวิทยาศาสตร์  จึงเป็นผลจากการสร้างเสริมความรู้ของบุคคล  การสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิดในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์  มีผลให้ความรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งและส่งผลต่อคนในสังคม  การศึกษาค้นคว้าและการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงต้องอยู่ภายในขอบเขต  คุณธรรม  จริยธรรม  เป็นที่ยอมรับของสังคม

            ความรู้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี  เทคโนโลยีเป็นกระบวนการในงานต่างๆ  หรือกระบวนการพัฒนา  ปรับปรุงผลิตภัณฑ์  โดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ  ทักษะ  ประสบการณ์  จินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของมนุษย์  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาของมวลมนุษย์  เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับทรัพยากร  กระบวนการ  และระบบการจัดการ  จึงต้องใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

 

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

วิสัยทัศน์เป็นมุมมองภาพในอนาคตที่มุ่งหวังว่า  จะมีการพัฒนาอะไร  อย่างไร  ซึ่งจะสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนของสังคม  วิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กำหนดไว้เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน  ครูผู้สอน  บุคลากรทางการศึกษา  นักเรียน  และชุมชนร่วมกันพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และปฏิบัติร่วมกันสู่ความสำเร็จวิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กำหนดขึ้นภายใต้กรอบความคิดในเรื่องของการพัฒนาการศึกษา  เพื่อเตรียมคนในสังคมแห่งความรู้และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  กล่าวคือ

  1. หลักสูตรและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จะเชื่อมโยงเนื้อหา  แนวคิดหลัก  และกระบวนการที่เป็นสากล  แต่มีความสอดคล้องกับชีวิตจริงทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ  และมีความยืดหยุ่น  หลากหลาย
  2. หลักสูตรและการเรียนการสอนต้องตอบสนองผู้เรียนที่มีความถนัดและความสนใจแตกต่างกันในการใช้วิทยาศาสตร์สำหรับการศึกษาต่อ  และการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
  3. ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการส่งเสริมให้พัฒนากระบวนการคิด  ความสามารถในการเรียนรู้  กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  กระบวนการแก้ปัญหา  และการคิดค้นสร้างสรรค์องค์ความรู้
  4. ใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  โดยถือว่ามีความสำคัญควบคู่กับการเรียนในโรงเรียน
  5. ใช้ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการ  ความสนใจและวิธีเรียนที่แตกต่างกันของผู้เรียน

 

3.

  1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญที่ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต  จึงจะประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
  2. การเรียนการสอนต้องส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีเจตคติ  คุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยมที่เหมาะสมต่อวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  สังคมและสิ่งแวดล้อม

              วิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้    ดังนี้

ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์  ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาและสร้างความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เป็นทั้งความรู้และกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  ผู้เรียนทุกคนควรได้รับการกระตุ้นส่งเสริมให้สนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มีความสงสัย  เกิดคำถามในสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับโลกธรรมชาติรอบตัว  มีความมุ่งมั่นและมีความสุขที่จะศึกษาค้นคว้า  สืบเสาะหาความรู้เพื่อรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ผล  นำไปสู่คำตอบของคำถาม  สามารถตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุผล  สามารถสื่อสารคำถาม  ข้อมูลและสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกธรรมชาติซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทุกคนจึงต้องเรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตและการประกอบอาชีพ  เมื่อผู้เรียนได้เรียนโดยได้รับการกระตุ้นให้ เกิดความตื่นเต้น  ท้าทายกับการเผชิญสถานการณ์หรือปัญหา  มีการร่วมกันคิด  ลงมือปฏิบัติจริง  ก็จะเข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์กับวิชาอื่นและชีวิต   ทำให้สามารถอธิบาย  ทำนาย  คาดการณ์สิ่งต่างๆ  ได้อย่างมีเหตุผล  การประสบความสำเร็จในการเรียนวิทยาศาสตร์จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ  มุ่งมั่นที่จะสังเกต  สำรวจตรวจสอบ  สืบค้นความรู้ที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริงในชีวิต  โดยใช้แหล่งเรียนรู้หลากหลายในท้องถิ่น  และคำนึงถึงผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้  ความสนใจ  และความถนัดแตกต่างกัน

การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน  เป็นการเรียนรู้เพื่อเข้าใจ  ทราบซึ่งและเห็นความสำคัญของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของโลก  สิ่งแวดล้อม  ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้และสื่อสาร  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ  สามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้งหมดแบบองค์รวม  สร้างความรู้เป็นของตนเอง  เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ผู้เรียนมีความสามารถในการติดอย่างมีเหตุผล  สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ  โดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์  จินตนาการและศาสตร์อื่นๆ  ร่วมด้วย  สามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผล  สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และร่วมกันดูแลรักษาโลกธรรมชาติอย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

4.

 

1.2          สาเหตุของปัญหา 

1.   ด้านเนื้อหาการทดสอบ  O – net   วิชาวิทยาศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่   6      มีเนื้อหาที่

หลากหลาย   นักเรียนต้องนำเนื้อหาที่เรียนในช่วงชั้นที่  2  มาใช้ในการทดสอบ  นักเรียนต้องใช้เวลา

ในการทำความเข้าใจ 

2.   ด้านนักเรียน   นักเรียนมีความรู้พื้นฐานค่อนข้างน้อย   ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาก่อน   มีกิจกรรมอื่น  ๆ มากไม่มีเวลามาศึกษาเพิ่มเติม    ผู้ปกครอง

ไม่ค่อยมีเวลา  ส่วนมากปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเด็ก 

3.   ด้านการสอนของครู  ครูยังใช้วิธีการสอนแบบบรรยายมากกว่า  นอกจากนี้ยังขาดสื่อช่วยใน

การสอนโดยเฉพาะสื่อที่จะใช้ในการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์       ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียน

 

 การศึกษาผลการเรียน

  จากการศึกษาผลการเรียนของนักเรียน   ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง

ที่เรียน   ปรากฏว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นอยู่ในระดับพอใจ  แต่ในปีการศึกษา 2550

มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาผลสัมฤทธิ์ คะแนน  O – net   วิชาวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้น  ป.6  ให้เท่ากับหรือสูงกว่าปีการศึกษา  2549

 

 

      1.3    วัตถุประสงค์

               1.    เพื่อจัดทำแบบฝึกวิทยาศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่    6   

               2.    เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกวิทยาศาสตร์ที่ผลิตขึ้น  โดยกำหนด

                      เกณฑ์ประสิทธิภาพไว้  นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมร้อยละ   80

               3.    เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึก

                       วิทยาศาสตร์ 

               4.    เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่    6

 

 

 

 

 

 

 

5

 

      1.4     ขอบข่ายการดำเนินงาน

     ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้กำหนดขอบข่ายของการพัฒนา   ดังนี้

  1. กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้แบบฝึกเสริมวิทยาศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่   6  โรงเรียนบ้านโนนภิบาลโคกกลาง   จำนวน   1  ห้องนักเรียน   17   คน  ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีความรู้แตกต่างกันมาก   คือ   กลุ่มเก่ง   ปานกลาง และค่อนข้างอ่อน

                      2.   ระยะเวลาของการทดลอง    ปีการศึกษา  2550

                3.   ในการวิเคราะห์ผลการทดลอง  ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล   ในด้าน

                      สภาพแวดล้อม ได้แก่    เพศ   อารมณ์   อายุ   เศรษฐกิจของครอบครัว 

 

1.5        นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง 

สื่อการสอน    หมายถึงวัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมต่าง     ทีใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนส่งหรือ

ถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 สื่อประสม    หมายถึงการนำสื่อหลาย  ๆ      อย่างมาสัมพันธ์กันและมีคุณค่าที่ส่งเสริม

ซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ  ช่วยเสริมประสบการณ์แก่ผู้เรียน

  ชุดการสอน   หมายถึงระบบการผลิตและการนำสื่อประสมที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา

มาช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  ใบความรู้       เป็นเอกสารประกอบการสอนชนิดหนึ่งที่มุ่งเนื้อหาสาระประกอบการสอน

  เกณฑ์ประสิทธิภาพ    หมายถึงระดับประสิทธิภาพของชุดการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิด

พฤติกรรมการเรียนรู้  เป็นระดับมาตรฐานที่ผู้ผลิตชุดการสอนกำหนดขึ้น  โดยการเปรียบเทียบ

กันระหว่างประสิทธิภาพของกระบวนการ  และประสิทธิภาพของผลลัพธ์

 

  ประสิทธิภาพของชุดการฝึกเสริมทักษะ    ผู้รายงานตั้งเกณฑ์ไว้ที่   80  หมายถึง 

ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของข้อสอบที่นักเรียนทำได้หลังจากการเรียนบทเรียน

  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   หมายถึงความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการเรียนรู้พิจารณาจากคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน   และคะแนนเฉลี่ย  O  - net

 

1.6        ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

  1. ทำให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
  2. เป็นการนำเอานวัตรกรรมทางการศึกษามาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน 

วิชาวิทยาศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ให้ดียิ่งขึ้น

  1. ผลการเรียนการสอนไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน  วิชาวิทยาศาสตร์

      ชั้นประถมศึกษาปีที่   6   ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

 

                                                        6

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

        การผลิตชุดการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตจะต้องศึกษาและเข้าใจทฤษฎี   หลักการ   เกี่ยวข้องในการสร้างสื่อการเรียนการสอนซึ่งจำแนกได้ดังต่อไปนี้

2.1      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.  2544

2.2      การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

2.3      ชุดการสอนกับปรัชญาการศึกษา

2.4      สื่อการสอน

2.5      รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1     การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 

2.1.1        ความหมายของวิชาวิทยาศาสตร์ 

                          ภพ  เลาไพบูลย์ ( 2542 ) กล่าวว่า  วิทยาศาสตร์ หมายถึง วิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ  โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์   เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

                           เสน่ห์  ทิมสุขใส ( 2542 ) กล่าวว่า  วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้จากธรรมชาติซึ่งจัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบมีการแสวงหาความรู้  โดยการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์  และวิธีการทางวิทยาศาสตร์

                             ธวัชชัย  บุญสวัสดิ์กุลชัย ( 2543 ) กล่าวว่า  วิทยาศาสตร์ หมายถึง เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆตามธรรมชาติ และกระบวนการในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่  เรียกว่า         กระบวนการวิทยาศาสตร์

                              อุษา  กลิ่นหอม ( 2545 ) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของเหตุและผล  ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นต้องอธิบายได้มีหลักหรือทฤษฎีรองรับในการอธิบาย

                    จากที่กล่าวมาข้างต้น  สรุปความหมายของวิทยาศาสตร์ ได้ว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง

การศึกษาหาความรู้ต่างๆในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

2.1.2         จุดประสงค์การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์

1.   เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการ  และทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์

2.   เพื่อให้มีความเข้าใจในลักษณะขอบเขตและข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์

3.   เพื่อให้มีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และ

      เทคโนโลยี

4.   เพื่อให้คนมีเหตุผล ใจกว้าง   รับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น   เชื่อและใช้วิธีการทาง

      วิทยาศาสตร์ ในการแก้ปัญหา รัก สนใจ และใฝ่รู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์และ

      เทคโนโลยี

                                                   7

5.  เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมวลมนุษย์และ

     สภาพแวดล้อม ในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน

  1. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปใช้ประโยชน์

     ต่อสังคมและการดำรงชีวิต

2.1.3        กระบวนการและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน 

                                       1.  กระบวนการ  คือแนวทางการดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีขั้นตอนซึ่งวางไว้

                                           อย่างเป็น ลำดับตั้งแต่จนแล้วเสร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

 2.  ความจำเป็นที่ต้องใช้กระบวนการ

2.1      เพื่อเตรียมตัวผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถรับความก้าวหน้า  และเพิ่มพูน ของวิทยาการต่าง ๆ ที่มีมากขึ้นทุกวันได้ เพื่อให้เด็กนำวิธีการไปหาความรู้ต่อไป

2.2      เพื่อสนองหลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช  2521  (ฉบับปรับปรุง  2533  )

ที่เน้นให้นักเรียน  คิดเป็นทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.1.4        ความหมายของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

ภพ   เลาหไพบูลย์   (2542)   กล่าวว่า   กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง

การที่นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ  นั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์ 

ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  กระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการแสวงหาความรู้นั้นอาจแตกต่างกัน  แต่ก็มีลักษณะร่วมกันที่ทำให้สามารถจัดเป็นขั้นตอนได้

                                ธวัชชัย   บุญสวัสดิ์กุลชัย    (2543)  กล่าวว่า  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  หมายถึงวิธี  การหรือแนวทางที่นักวิทยาศาสตร์  นำมาเพื่อแสวงหาความรู้หรือแก้ปัญหา  เป็นกระบวนการทางความคิด ทางสติปัญญา  ได้แก่  กระบวนการในการแสวงหาความรู้  กระบวนการในการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล   และกระบวนการในการตรวจสอบข้อมูลหรือความรู้

2.1.5        ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

วรรณทิภา   รอดแรงค้า  (2540)   กล่าวว่า   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

      หมายถึง  ความสามารถในการใช้กระบวนการต่าง  ๆ  ได้แก่  การสังเกต  การวัด  การจำแนกประเภท  การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา   การใช้ตัวเลข  การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล   การลงความเห็น  การพยากรณ์  การตั้งสมมติฐาน   การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ  การกำหนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง  การตีความหมายข้อมูล  และการลงข้อสรุปอย่างคล่องแคล่วถูกต้องแม่นยำ

 

 

                                                                             8

               ภพ    เลาหไพบูลย์   (2542)  กล่าวว่า  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  

หมายถึง  พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติและฝึกฝนความคิดอย่างมีระบบ   ซึ่งเป็นกระบวนการ

ทางปัญญา

                                  ธวัชชัย   บุญสวัสดิ์กุลชัย (2543)  กล่าวว่า  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

หมายถึงพฤติกรรมความสามารถของบุคคลในการเลือกใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการแสวงหา

ข้อมูลจัดกระทำข้อมูลและสื่อความหมายข้อมูล   และตรวจสอบข้อมูลหรือความรู้นั้น   ได้อย่างถูกต้อง

คล่องแคล่วชำนาญ

                                   สรุปได้ว่า   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง  ความสามารถและความชำนาญในการคิดการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ  ซึ่งรวมทั้งการค้นหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือของครูวิทยาศาสตร์ ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน  และเป็นเครื่องมือของนักเรียนที่ใช้ค้นหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์     

           ดังนั้นครูวิทยาศาสตร์  จึงจำเป็นต้องมีทักษะ   13   ทักษะ   ซึ่งทักษะขั้นพื้นฐาน    (Basic     science     process)        8    ทักษะ       ทักษะและทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ    (Integrated science     process  skills  )   5    ทักษะ   ดังนี้

                           ทักษะขั้นพื้นฐาน

                                           1.    ทักษะการสังเกต  

                                     2.    ทักษะการจำแนก        

                                     3.    ทักษะการวัด    

                                     4.    ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส  สเปสกับเวลา   

                                     5.    ทักษะการคำนวณ  

                                     6.    ทักษะการจัดกระทำสื่อความหมายข้อมูล 

                                     7.    ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 

                                     8.    ทักษะการพยากรณ์ 

                           ทักษะและทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ

                                     9.    ทักษะการตั้งสมมุติฐาน 

                                   10.    ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

                                   11.    ทักษะการควบคุมตัวแปร

                                   12.    ทักษะการทดลอง  

                                   13.    ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงสรุปข้อมูล    

 

                    1.   ทักษะการสังเกต    (  Observing  )    ทักษะการสังเกต   หมายถึง   การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง    5    ได้แก่    หู    ตา   ลิ้น    จมูก     ผิวกาย    เข้าไปสัมผัสโดยตรงเพื่อค้นหาข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ  ของวัตถุ  โดยไม่ใช้ความเห็นของผู้สังเกตใส่ลงไป    

                                                    &n

คำสำคัญ (Tags): #เมืองพล4
หมายเลขบันทึก: 359016เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2010 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท