ทำไมเหงา...ก่อนมีประจำเดือน


เหงา..ทำไหม?

จิตตก

 

สังเกตว่าช่วงก่อนมีประจำเดือน จะหาเรื่องทะเลาะกะแฟน และ หาเรื่องน้อยใจได้ทุกวัน-ทั้งๆ ที่ปกติเราไม่เป็นเลย
 เคยเป็นไหมคะ?

อาการเหล่านี้บางทีก็ไม่มีเหตุผล 

บางครั้งก็หงุดหงิดใครพูดอะไรไม่ถูกหูหน่อย อยาก....ว่าเจ็บๆไหมคะ?

อารมณ์ขึ้นๆลงๆค่ะ

เรื่องอาหารไม่ว่ากันอยากทานอะไรเปรี้ยวๆ

แต่อารมณ์นี่สิคะ...มันกระทบคนอื่น ถ้าคนอื่นไม่เข้าใจ หรือตัวราควบคุมตนเองไม่ได้ มีหวังทะเลาะ เละเทะ

เคยไหมคะ?

 



หมอชี้กว่า 90% พบสาวอารมณ์เหวี่ยง ขี้หงุดหงิด ก่อนมีประจำเดือน เพราะฮอร์โมนลด แนะกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตไฟเบอร์สูงช่วยรักษาน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เตือนอารมณ์แปรปรวนมาก ขี้วีนรุนแรง คลุ้มคลั่งเสี่ยงซึมเศร้า เข้าสังคมไม่ได้ กระทบชีวิตครอบครัว การทำงานต้องพบจิตแพทย์

    วันนี้ (1 เม.ย.) ที่โรงแรมเจดับบิว แมริออท ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล คณะบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวใน “งานสตรีไทยห่างไกลวิกฤติทางอารมณ์ ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันกับ 24/4” ว่า กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome : PMS) คือ อาการทางกายและใจที่เกิดขึ้นกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ในช่วงเวลา 5-10 วัน ก่อนมีประจำเดือน อาการจะดีขึ้นและหายไปหลังประจำเดือนมาแล้ว ซึ่งสาเหตุของอาการยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ทางการแพทย์สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศในระหว่างรอบประจำเดือน คือ ฮอร์โมนจะลดต่ำลงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งความรุนแรงของอาการแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุเช่น ลักษณะการใช้ชีวิต ความเครียด และกรรมพันธุ์

    “อาการก่อนมีประจำเดือนที่พบได้บ่อยๆ คือ คัดตึงเต้านม แขนหรือขาบวม ปวดศีรษะไมเกรน ท้องอืด น้ำหนักขึ้น อยากอาหารมากกว่าปกติ นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ เครียด วิตกกังวล แต่หากเป็นกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง (Premenstrual Dysphoric Disorder : PMDD) จะมีอาการของโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง กังวลมาก เครียดอย่างรุนแรง อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตจนเข้าสังคมไม่ได้ บางรายอาการรุนแรงมากจนรู้สึกว่าจะคลุ้มคลั่ง ถือว่าเป็นโรคต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ ด้วยการใช้ยาปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย หากอาการไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องพบจิตแพทย์และใช้ยากล่อมประสาท รักษาอาการซึมเศร้า”ศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว

     ศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า วิธีปฏิบัติสำหรับผู้มีอาการก่อนมีประจำเดือนสามารถทำได้ คือ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิให้จิตใจสงบ พักผ่อนให้เพียงพอ บริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เน้นคาร์โบไฮเดรตที่มีไฟเบอร์สูงมากขึ้น เช่น ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท เพราะอาการหารเหล่านี้ใช้เวลาย่อยนานกว่า ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ลดอาหารเค็มจัดหรือมีเกลือสูง ลดเครื่องดื่มกาเฟอีน แอลกอฮอล์ พักผ่อนอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด แต่หากยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ต่อไป

     ด้านพญ.นันทา อ่วมกุล ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษา กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพล เรื่อง “ภาวะทางอารมณ์และประสบการณ์เกี่ยวกับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในสตรี” ระหว่างวันที่ 5-23 มีนาคม โดยทำการสำรวจกลุ่มนิสิต นักศึกษา สตรีวัยทำงานอายุระหว่าง 18-35 ปี จำนวน 1,057 คน แบ่งเป็นในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 503 คน ต่างจังหวัด จำนวน 554 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 91.20 มีอาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือน ในจำนวนนี้กว่าครึ่ง หรือร้อยละ 51.87 มีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นประมาณ 2-3 อาการ อีก ร้อยละ 21.05 มีอาการไม่พึงประสงค์ถึง 4-5 อาการ โดยอาการที่เกิดมากที่สุดร้อยละ 19.24 คือ หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนโดยไม่ทราบสาเหตุ รองลงมาร้อยละ 17.88 คือ อาการคัดตึงเต้านม ร้อยละ 8.22 อยากรับประทานอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งร้อยละ 51.94 จะมีอาการทุกเดือนก่อนมีประจำเดือน

    “ปัจจุบันสตรีไทยจำนวนมากต้องเผชิญกับภาวะเครียด หงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวนมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ภาระหน้าที่ทั้งการงานครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม ที่สำคัญคือ ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายก่อนมีประจำเดือน ซึ่งก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือน แต่ส่วนมากไม่รู้จักและไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการ”พญ.นันทา กล่าว

     พญ.นันทา กล่าวต่อว่า กรมอนามัย ร่วมกับ ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา จัดทำแบบทดสอบ “ร่างกายและอารมณ์” เพื่อหาคำตอบว่าอารมณ์หงุดหงิดหรือที่เรียกว่า “เหวี่ยง” มาจากอาการหรือนิสัย โดยใช้โค้ดลับ 24/4 คือ การสังเกตอาการผิดปกติ 24 อาการ เป็นเวลา 4 เดือน โดยการจดบันทึกและหากพบว่ามีอาการควรปรึกษาแพทย์ เช่น อาการคัดตึงเต้านม ปวดศีรษะไมเกรน เครียด อารมณ์แปรปรวน เหนื่อยง่าย ซึมเศร้าและวิตกกังวลอย่างชัดเจน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ จะเกิดก่อนมีประจำเดือนจึงถือว่าเป็นความผิดปกติทางฮอร์โมน โดยสามารถดาวน์โหลดคู่มืออารมณ์ดี 24/4 ได้ที่ www.24-4secret.com

ที่มา..ผู้จัดการออนไลน์

http://smf.ruk-com.in.th/topic/20223

เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายสองเท่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงต่างๆ เช่น การมีประจำเดือน

เรามาเช็คกันดูก่อนซิ ว่าก่อนมีประจำเดือนเรามีอาการเหล่านี้อยู่บ้างหรือป่าว?
1. เครียด ซึม เศร้า เหงา หงุดหงิด เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ออกไปนะเจ้าผีร้ายที่ทำให้ฉันอารมณ์แปรปรวน
2. ว๊ายยย น้ำหนักขึ้น ท้องอืด พุงยื่น ไม่ไหวนะ
3. หน้าอกหน้าใจทำไมมันใหญ่ขึ้นน๊า
4. มือบวม เท้าบวม เกิดอะไรขึ้นนี่?
5. เดี๋ยวปวดหัว เดี๋ยวเป็นตะคริว เป็นอะไรกันแน่นี่เรา
6. วอกแวก ขาดสมาธิ
7. ราตรีนี้ช่างยาวนาน นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
8. กิน กิน กิน แล้วก็กิน
หากอาการเหล่านี้ทำให้นางเอกผู้แสนดี กลายร่างเป็นนางร้ายในชั่วเวลาหนึ่ง นั่นแหละคืออาการของ PMS

ระดับความรุนแรงของ PMS นั้นสามารถทวีระดับความรุนแรงจนพัฒนากลายเป็น PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder )
หรือเรียกว่า กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง บางรายจะมีอาการทางประสาทร่วม หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม
ก้าวร้าวรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน...

สำหรับสาวๆ ที่อยากลองทดสอบว่าอาการก่อนมีประจำเดือนของเราอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็น PMS หรือ PMDD บ้างหรือป่าว
สามารถไปทำแบบทดสอบได้ที่ http://www.24secret.com/menu05_questionaire.php

แต่อาการเหล่านี้สามารถป้องกันและบรรเทาให้ลดลงได้ด้วยการดูแลตนเองให้ครบทุกด้าน ทั้งการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และออกกำลังกายสม่ำเสมอนะจ้ะ

http://webboard.pooyingnaka.com/show.php?Category=story&No=23303

เมื่อรู้ต้องรับมือค่ะ  .....ทำใจให้สบาย คนสวยคิดบวกเสมอค่ะ ยิ้มสู้ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆๆ ช้าๆ อย่าอยู่คนเดียวนานเกินไป อย่าปล่อยให้อะไรก็ตามมาทำให้คนอย่างคุณเหงานานเกินไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 357120เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2010 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ช่วงก่อนมีประจำเดือนหงุดหงิดแฟนมาก โกรธง่าย ขี้น้อยใจ

เหงาไม่มีวันหยุด เหงาทุกวัน เกรงว่า จะเป็น โรคซึมเศร้า คะ

Depress / Lonely / Worry many time forget the word ' Happiness '

เขียนเมื่อเหงารึเปล่าจ๊ะ

ให้กำลังใจคนเก่งอย่างหมูนะ

พี่ต้อมเชื่อว่าน้องทำได้

แล้วมันก็จะผ่านไปจ้า

สวัสดีค่ะพี่ครูอุ่นเรือน ขอเรียกชื่ออย่างนี้ แบบดูอบอุ่นมากๆ ในยามฝนกระหน่ำคืนนี้นะคะ อิ อิ ... เป็นความรู้ใหม่นะคะเนี่ย ฝันดีค่ะพี่ครู หายไปนานมากๆ สุขสันต์วันดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท