ภาวะผู้นำ : การเรียนรู้จาก "ความรู้ฝังลึก"


เราจะเน้นการ ลปรร. ในกลุ่มผู้เข้าสัมมนานะครับ ไม่ใช่เน้นการมาฟังผมพูด และเน้นการ ลปรร. แบบ Appreciative Inquiry (AI)

ภาวะผู้นำ : การเรียนรู้จาก "ความรู้ฝังลึก"

          ดังได้เล่าแล้วเมื่อวาน ว่า มวล. จัดสัมมนาหลักสูตร "ภาวะผู้นำ" ให้แก่ "ผู้บริหารสถาบันการศึกษา  หรือผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา  และบุคลากรของ มวล."    จำนวนประมาณ ๖๐ คน  ในว้นนี้    โดยเชิญผมไปเป็นวิทยากร

         ผมได้ทบทวนดูแล้ว    ผมอาจเอาใจผู้จัด และเอาใจคนที่อยากฟังผมพูด เสียหน่อยก็ได้     โดยกล่าวนำสักครึ่งชั่วโมง ในประเด็นต่อไปนี้
               - เราจะเน้นการเรียนรู้เรื่องภาวะผู้นำเน้นที่ภาคปฏิบัติ   ไม่ใช่เน้นภาคทฤษฎี
               - เราจะเน้นเรียนจากความรู้ฝังลึก   ไม่ใช่จากความรู้แจ้งชัด หรือความรู้เชิงทฤษฎี
               - เราจะเน้นเรียนจากพฤติกรรม หรือการปฏิบัติ  ไม่ใช่จากตำราหรือผู้รู้
               - เราจะเรียนจากคนเล็กคนน้อย คนไม่มีตำแหน่ง มากกว่าจากคนที่เป็นผู้บริหาร     แต่ก็ไม่ปฏิเสธการเรียนรู้จากการปฏิบัติของผู้บริหารที่เป็น "ผู้นำที่แท้"
               - เราจะตั้งคำถามเพื่อแยกแยะ  "ผู้นำปลอม"  กับ  "ผู้นำที่แท้"
               - เน้นชนะสงคราม (war)  หรือเน้นชนะศึก (battle)
              - ผู้นำเน้นการชนะอะไร    ยอมที่จะแพ้อะไร 
              - ผู้นำจะไม่ทำอะไร    ต้องทำอะไร
              - คนเราทุกคนจะทำตัวเป็น "ผู้นำ" ได้อย่างไร
              - อะไรคือ "เครื่องหมาย" ของการเป็นผู้นำ

       เราจะเน้นการ ลปรร. ในกลุ่มผู้เข้าสัมมนานะครับ   ไม่ใช่เน้นการมาฟังผมพูด    และเน้นการ ลปรร. แบบ Appreciative Inquiry (AI)    ใครไม่รู้ว่า AI คืออะไร  ลองค้นดูใน Gotoknow     เวลานี้ Gotoknow ได้กลายเป็นคลังความรู้ไปเรียบร้อยแล้ว

วิจารณ์ พานิช
๒๗ มิย. ๔๙
สนามบินดอนเมือง
         

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ#leadership
หมายเลขบันทึก: 35709เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 05:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

`เรียนถามด้วยความเคารพ และ ชื่นชม

อาจารย์ มีการ สรุป  หรือ เก็บตก ประเด็น  จาก คนเข้า ลปรร  ไหมครับ

โน๊ต ๆ ไว้  ให้ พวกคนที่ไม่ได้ไป  ได้อ่านบ้าง

ขอบพระคุณครับ

ขออ่านด้วยคนค่ะ

ทีม OD มวล. ครับ คนไร้กรอบ และ คุณพัชรา รออ่านรายงานผลอยู่นะครับ
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม
สวัสดีคะ OD มวล. รายงานตัวคะ ขออภัยคะที่ทำให้ ท่านอาจารย์ พี่คนไร้กรอบ พี่พัชราและพี่ๆ ท่านอื่นๆ ต้องรอนาน กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ภาวะผู้นำ ที่หน่วยพัฒนาองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดขึ้นในวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2549 เวลา 08.30-16.00 น. ณ เรือนพักรับรองริมน้ำ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำเร็จได้ด้วยความเรียบร้อยด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีของผู้บริหารและพนักงานที่ให้ความร่วมมือในร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี และที่สำคัญยังได้รับความกรุณาและได้รับโอกาสที่ดีจากท่านอาจารย์ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ให้เกียรติเป็นวิทยากรกระบวนการ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญตัวจริง เสียงจริง ร่วมแลกเปลี่ยนรู้ในกิจกรรมครั้งนี้ ผลการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เราได้...1.       ฟังเรื่องเล่า ผลงาน การกระทำที่ภูมิใจ ที่ได้ปฏิบัติและสะท้อนว่าได้แสดงภาวะผู้นำเพื่อสู่วิสัยทัศน์ของ มวล. จากเพื่อพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม และได้ฟังเรื่องเล่าที่ทรงพลังที่เราภูมิใจและรู้สึกชื่นชมถึง 4 เรื่อง ที่แสดงถึงพฤติกรรม วิธีคิด ของน้องพี่ชาววลัยลักษณ์ที่มีภาวะผู้นำอยู่ในตัว ที่ริเริ่มสิ่งที่ไม่เคยทำหรือวิธีที่ไม่เคยใช้ การกระทำที่มีความรอบคอบ กล้าเสี่ยง มีความสามารถในการปรับการปฏิบัติสู่ความสำเร็จ เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมเพื่อ...วลัยลักษณ์ของเรา ทำให้ตนเองซึ่งเป็นผู้ฟังรู้สึกชื่นชมและประทับใจ ตื่นเต้นกับความสำเร็จที่เกิดขึ้น ขอยกตัวอย่างเรื่องเล่าที่ตนเองรู้สึกประทับใจ จดจำและชื่นชม คือเรื่องเล่าของ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ ผศ.ดร.ชัยวัฒน์  อุตตมากร เล่าเรื่องเราคือครอบครัวเดียวกัน เมื่อเราทำงานร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกัน หากเราทำงานหนัก ผมรู้สึกว่าทุกคนยินดีทำงานหนักร่วมกับผม ซึ่งตนเองคิดว่านั้นหมายถึงความศรัทธาอันเป็นผลเนื่องจากความสามารถที่จะซื้อใจผู้ตาม บรรยากาศการทำงานเป็นครอบครัวเดียวกันของศูนย์คอมพิวเตอร์ เกิดจากการมีภาวะผู้นำอาจารย์ชัยวัฒน์ ที่สร้างจุดผูกพันในหน่วยงาน สร้างกิจกรรมให้ทุกคนมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดให้มีกิจกรรม Tea Time ทุกเช้าก่อนเริ่มงาน เวลา 08.30-09.00 น. ที่ทำให้พนักงานได้พบปะ พูดคุย ปรึกษาหารือร่วมกันก่อนเริ่มทำงานแทนที่การมานั่งทำงานของตนเอง เปิด Internet และยังทำให้เกิดการกำกับสั่งการแบบไม่เป็นทางการ ทำให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปด้วยความใกล้ชิด อบอุ่นและร่วมกันแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ตนเองรู้สึกชื่นชมและภูมิใจ และได้แง่คิดในการปรับ การปฏิบัติของตนเอง ทำให้เราซึบซับ ซาบซึ่งกับที่อาจารย์หมอบอกว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการเล่าเรื่องสู่กันฟังจากความสำเร็จ ทำให้เราเกิด การรู้ปฏิบัติ ทำให้เราเกิดความงอกงามทางความคิดและสามารถนำแนวทางไปปรับใช้ได้2.      ทราบคุณลักษณะของผู้ที่มีภาวะผู้นำ จากการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมอบรมดังนี้ คือเป็นต้นแบบที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถรวมใจผู้ปฏิบัติงานได้ มีวิสัยทัศน์ คิดกว้าง มองไกล มองรอบด้าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นและรับผิดชอบ จริงใจต่อตัวเอง  เพื่อนร่วมงาน หน่วยงาน ยอมรับฟังความคิดเห็น สร้างความเป็นประชาธิปไตย3.      เข้าใจว่าผู้นำอาจจะไม่ใช้หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร แต่ผู้นำคือทุกคนที่คิดริเริ่มดูแลคนทำงานให้ Happy ยกย่อง ชื่นชม ให้เกียรติผู้อื่น เพื่อนร่วมงาน4.       ได้แนวทางในการสร้างให้คนวลัยลักษณ์มีภาวะผู้นำ จากการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้2.1  จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ภาวะผู้นำ ในทุกหน่วยงานอย่างต่อเนื่องเพื่อทุกคนมีภาวะผู้นำ โดยมีหน่วยพัฒนาองค์กรเป็นทีงานสนับสนุน2.2  สนับสนุนการก่อตัวของ “CoPs” กลุ่มผู้สนใจในเรื่องคล้ายๆ กันให้มากขึ้น2.3  สร้างโอกาส เวทีให้ทุกคนได้แสดงความเป็นผู้นำ 2.4  จัดค่ายโรงเรียนผู้นำ เพื่อให้คนมี ภาวะผู้นำ ในตัวเองคิดและทำอย่างเป็นผู้นำ โดยจัดรูปแบบการอบรม สัมมนา  Workshop โดยจัดต่อเนื่อง2.5  หาคนเป็นต้นแบบ (Role Model) ในหน่วยงาน ในมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างระบบการยอมรับนับถือ Cheer up ให้พนักงานแสดงการมีภาวะผู้นำ5.       การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้ว่าทุกคนมีภาวะผู้นำอยู่ในตัวเอง ทราบแนวทางการสร้างให้พนักงานมีภาวะผู้นำเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากเรื่องเล่าของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการทำงาน ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี เกิดมิตรภาพ ความสัมพันธ์ รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น

6.       สิ่งที่จะกลับไปทำต่อคือ ขยายผลโดยการเล่าให้ผู้ปฏิบัติงานอื่นทราบว่า ภาวะผู้นำสามารถสร้างได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหาร นำความรู้ที่ได้นำไปเป็น Role Model ในการปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อหน่วยงานภายในและภายนอก จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ภาวะผู้นำ ในหน่วยงานอย่างต่อเนื่องให้มากขึ้น

                                                                     ขอบคุณคะ
                                                        ปิติกานต์ จันทร์แย้ม

จินตนา ศิริวัฒนโชค(พี่ติ๋ม มวล.)
          น้องเม(ปิติกานต์)จากหน่วย OD ได้บอกเล่าผลการ ลปรร.ไปแล้ว  พี่ติ๋ม ในฐานะทีม "คุณอำนวย"FA ในครั้งนี้ขอเล่าการทำงานให้ช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วยคน
          การจัดครั้งนี้เราเริ่มจากการกำหนดหัวข้อ รูปแบบ วัน เวลา สถานที่  ส่งให้คุณหมอวิจารณ์ แนะนำ แก้ไข และหาทีมงานเพื่อทำหน้าที่ FA เราได้จากการสร้างและขยายหน่อ"คุณอำนวย" โดยคัดจาก คุณกิจที่ผ่านกระบวนการ KM 1-3 ของมวล.ซึ่งฉายแววเป็นประกายให้เห็น ที่สำคัญมีความปารถนาเต็มเปี่ยมที่จะร่วมด้วยช่วยกัน และ จนท.ในOD ฝึกฝนให้เริ่มจากการเป็นคุณลิขิตคู่กับพี่ๆ"คุณอำนวย"(หัวหน้าส่วน)ไปก่อน ต่อมาก็ให้ทำหน้าที่"คุณอำนวย"ได้ ก็อยู่ในทีม FA ของ มวล.
         งานนี้เราเกิดอาการ "เกร็ง"ค่ะเคยแต่จัดลปรร.ของเราเอง คุณกิจก็เป็น "พี่ๆ-น้องๆ-เพื่อนๆ"  แต่ครานี้ผู้เข้า ลปรร.(คุณกิจ)คือผู้บริหาร ประมาณว่า รองอธิการบดีฝ่ายต่างๆ,คณบดี,ผอ.ศูนย์/สำนัก หัวหน้าส่วน/หน่วย/งาน/ฝ่าย  ยิ่งกว่านั้นผู้นำกระบวนการครั้งนี้คือ คุณหมอวิจารณ์ฯ(ปรมาจารย์)เข้าไปอีก เหมือนว่าครั้งนี้เป็นการสอบเข้ามหาวิทยาลัย(เอ็นสะท้าน!) คิว่าคงพอเดาความรู้สึกเราได้นะคะ  แต่เราเลือดมวล.สู้ไม่ถอยอยู่แล้ว ให้กำลังใจกันและกันทำทุกอย่างให้เต็มกำลังเหมือนที่เคยทำกันมาไม่ต้องกลัวสิ่งใด
        ว่าแล้วเราก็แบ่งผู้บริหาร อุ้ย! ไม่ใช่ แบ่งกลุ่มคุณกิจ ออกเป็นกลุ่ม  ได้ 4 กลุ่ม(จัดการซะเลย ห้ามเกี่ยงงอน)โชคดีไม่มีใครขัดขืนปฏิบัติตาม ไม่ใช่ซิ ให้ความร่วมมือโดยดี แล้วก็จัดทีม "คุณอำนวย"มี พี่ติ๋ม-จินตนา(หน.ส่วนพัสดุ,ดิฉันเองค่ะ),พี่ต้อย-กรมาศ(หน.ส่วนส่งเสริมวิชาการ,ผศ.อรรจน์(ผอ.สหกิจศึกษา),น้องสุมาลี(ศิษย์KM-ส่วนกนศ.), ทีม "คุณลิขิต"มีน้องอู๊ด-บรรจงวิทย์(OD),น้องเม-ปิติกานต์(OD),น้องเอ๋-โสภิดา(ศิษย์KM-ส่วนอาคารฯ)และน้องแป้น-อำพร(ศิษย์KM-ส่วนกนศ.)
        เพื่อสร้างความมั่นใจทุกครั้งก่อนการทำงานเราจะทำความเข้าใจให้ตรงกันอย่างชัดเจน งานนี้เราขอเวลาและคำแนะนำจากคุณหมอวิจารณ์ก่อนในช่วงเวลาน้ำชา (ประมาณ 8-9 โมงเช้า) ท่านได้แนะนำให้รู้หัวปลาที่ชัดเจน ให้คำนิยาม "ภาวะผู้นำ"ที่จะ ลปรร.กันในวันนี้ (27 กค.49) น้องเม บอกแล้ว
        เมื่อถึงเวลาก็เริ่มตามธรรมเนียมทั่วไปมีการกล่าวเปิดโดย อธิการบดี และต่อด้วยการแนะนำกระบวนการจากคุณหมอฯ ซึ่งสรุปสาระสำคัญเหมือนที่แนะนำเราทีม FA  แต่ครั้งนี้ทุกคนได้รับรู้พร้อมๆกัน มีเป้าหมายเดียวกัน  แล้วก็ได้เวลา ลปรร.ตามรายชื่อกลุ่มที่ติดไว้หน้าห้อง แยกย้ายกันหาทำเลเหมาะๆ บรรยากาศดีแค่ไหนดูได้จากที่คุณหมอวิจารณ์ ลงไว้ในหัวข้อ "ผลการสัมมนาเรื่องภาวะผู้นำที่ มวล."เมื่อ 28-กค.-49 เปิดดูซิคะแล้วจะอิจฉาเราไม่ต้องเสียเงินไปซื้อบรรยากาศเลยมีอยู่แล้วใครจะมาชมของจริงยินดีต้อนรับ(การทำหน้าที่คุณอำนวย กลุ่ม 1พี่ติ๋มจะเล่าที่หลัง ได้เรื่องเล่าเร้าพลังของคุณ นันทา) 
          เมื่อการนำเสนอผลงานกลุ่ม ในสไตล์ของ มวล.แต่ละกลุ่มจะมีการเลือกผู้ที่นำเสนอเรื่องราวของสมาชิกในกลุ่มทุกคนโดยสรุปทั้งเนื้อเรื่องและวิธีการคนหนึ่ง และให้เจ้าของเรื่องเล่าเร้าพลังที่ได้รับเลือกออกมาเล่าเรื่องของตัวเองให้คนฟ้ง(เทคนิคนี้หารือคุณหมอฯแล้ว) ลีลาแต่ละคนก็ต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันเรามีความสุข ได้หัวเราะ ได้สนิทสนมและรู้จักตัวตนกันเพิ่มขึ้น สำหรับผลที่ได้ ทั้งคุณลักษณะและวิธีการใช้ของผู้ที่มีภาวะผู้นำ น้องเม บอกไว้แล้วข้างต้น และจะมีการลงเพิ่มเติม(ละเอียดขึ้น)ใน Web KM ของมวล.
       เราจบด้วยบทสรุปดีๆของคุณหมอวิจารณ์ และคำถามที่ว่า เราควรปรับปรุงการทำหน้าที่ FA อย่างไรบ้าง ขอบคุณจริงๆและทีมงาน มวล.ของเรายินดีน้อมรับคำแนะนำจากทุกๆคนค่ะ  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท