วิถีชีวิตชุมชน


เมื่อพูดถึงวิถีชีวิตของชุมชน เป็นรากที่ฝังลึก และคนนอกที่เข้าไปทำงานต้องให้ความเคารพ

เมื่อวันที่ ๒๔ มิย.๔๙ ฉันไปเยี่ยมโครงการลดผลกระทบจากช้างกินพืชไร่ ที่พุใหญ่หุบมะซาง ประจวบคีรีขันธ์

ชาวบ้านที่นี่จับจองพื้นที่ปลูกสับปะรด เป็นอาชีพ ทำกันมานานกว่า ๓๐ ปี แต่ปีนี้สัปปะรดราคาตกต่ำมาก กิโลกรัมละ ๑ บาท ถึง ๑.๕๐ บาท ซึ่งชาวบ้านลงทุนไปประมาณ กิโลละ ๓.๕๐ บาท ขาดทุนกิโลละ ๒ บาท เห็นๆ ยังไม่รวมค่าแรงงานของตัวที่ทำมาตลอด ๑๔ เดือน เพราะนับจากลงหน่อ กว่าจะ ได้เก็บ ๑๔ - ๑๘ เดือน น่าสงสารมาก

ทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้พาชาวบ้านไปศึกษาดูงาน และส่งเสริมให้ปลูกไผ่เลี้ยงหวาน ที่ปลูกเพียง ๘ เดือนก็จะมีรายได้เป็นรายวัน แต่ชาวบ้านก็ยังไม่เปลี่ยนจากสัปปะรดเป็นพืชอื่น เพราะ

๑. สัปปะรดเป็นวิถีชีวิตที่ชาวบ้านคุ้นเคย

๒. ชาวบ้านบางคนบอกว่าสัปปะรดได้เงินก้อนใหญ่ แต่ทำไผ่ได้เงินรายวันเป็นเบี้ยหัวแตกหมด ชาวบ้านไม่คุ้นเคยกับการเก็บเงินรายวัน

๓.ชาวบ้านไม่ชอบที่จะเป็นนักการตลาดเอง ถ้าเป็นสัปปะรดเอาไปขายให้โรงงาน หรือขายแผงย่อยสะดวกกว่าแต่ถ้าต้องเอาไผ่ไปขายเองทุกวันชาวบ้านรู้สึกไม่คุ้น ไม่ชอบ

๔.การเปลี่ยน "อาชีพ" จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ใช่การเอาเงินไปเหวี่ยงแล้วชาวบ้านจะเปลี่ยนเป็นสิ่งที่"รัฐ" ทุ่มลงไป

สัปปะรดเก็บใหม่ๆ หอม หวาน อร่อยมากๆ เลยจริงๆ

คำสำคัญ (Tags): #สัปปะรด
หมายเลขบันทึก: 35705เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีใจแทนวิทยาลัยเกษตรฯด้วยครับ ที่ได้บุคลากรที่มีความเข้าใจชุมชนอย่างคุณปิยะนุชครับ ขอเป็นกำลังใจให้สำหรับการที่มีชุมชนเป็นหลักของการทำงานครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท