ความเสี่ยง


การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
ความหมายของ  “ความเสี่ยง  (Risk)”
                ความเสี่ยง  คือ  โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด  ความเสียหาย  การรั่วไหล  ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จและเป้าหมายที่กำหนด
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)  สำหรับคำจำกัดความของคำว่า “การบริหาร  ความเสี่ยง” ได้มีนักวิชาการหลายๆ ท่านได้ให้ความหมายไว้ ซึ่งก็จะเป็นไปตามมุมมองของแต่ละคน แต่คำจำกัดความที่ค่อนข้างจะได้รับการยอมรับพอสมควรก็คือคำจำกัดของ The Committee of Sponsoring Organizations of  the Treadway Commission : COSO  (2004) ที่ได้ให้ความหมายในมิติของ “การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ หรือ Enterprise Risk Management : ERM” (รศ.ดร.ผสุ เดชะรินทร์)
กล่าวคือ “ การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การ คือ กระบวนการที่บุคคลทั่วทั้งองค์กรได้มีส่วนร่วมในการคิด  วิเคราะห์ และคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ หรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งการระบุแนวทางในการจัดการความเสี่ยงดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือยอมรับได้เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ” 
“การบริหารความเสี่ยง หรือ Risk Management”  นั้นถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในทางการบริหาร  ซึ่งประเทศในทางตะวันตกเองก็เริ่มให้ความสำคัญกันอย่างมาก เมื่อปี พ.ศ. 2535 และได้ให้ความสำคัญกันอย่างจริงจังก็เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายถล่มตึก World Trade Center  เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2541 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้ทำให้เกิดตำแหน่งทางการบริหารขึ้นมาใหม่อีกตำแหน่งคือ “CRO : Chief  Risk Officer หรือ ผู้นำการบริหารความเสี่ยง”  ซึ่งปัจจุบันตำแหน่งดังกล่าวถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการอย่างมากในองค์กรชั้นนำ 
 
ทำไมต้องบริหารความเสี่ยง
-          สอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
-          เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์  คำรับรองการปฏิบัติราชการ  และมาตรฐานการควบคุมภายใน 2544
-          เพิ่มโอกาสและช่วยให้ส่วนราชการบรรลุเป้าหมายและพันธกิจที่ตั้งไว้มากยิ่งขึ้น(ลด Surprises)
-          พัฒนาผลงานขององค์กร  เช่น  การพัฒนาการส่งมอบบริการให้ประชาชน  การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นต้น
การวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยง
                การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis)  คือ  การรวบรวมและประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง  ที่องค์กรต้องเผชิญ (exposure to risks) ซึ่งจะทำให้องค์กรตัดสินใจกำหนดแนวทางในการบริหารความเสียงได้อย่างเหมาะสม
การบริหารความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของใคร
-     ทุกคนเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในฐานะที่เป็นผู้ระบุว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้างในหน่วยงาน/ โครงการหรืองานของตน
-          ฝ่ายบริหารของหน่วยงาน
-          เจ้าของหรือเจ้าภาพความเสี่ยง(Risk Owners)
-          ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน
-          เจ้าของโครงการ/เจ้าของงาน
-          ผู้ที่ได้รับมอบหมายเฉพาะ
-          คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง(Risk Manage and Review Committee)
เจ้าของหรือเจ้าภาพความเสี่ยง(Risk Owners)
-          มีการตกลงและมอบหมายการเป็นเจ้าภาพความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ
-     อาจไม่ใช่คนที่รับผิดชอบการประเมินความเสี่ยงได้  แต่ต้องเป็นคนที่สามารถติดตาม  ต้องมีความชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร
-    ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายว่าส่วนราชการจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
-     ใครรับผิดชอบแต่ละกระบวนการ/ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง
-    ใครดูแลการนำมาตรการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติ
-    ใครดูแล  กรณีที่เป็นความเสี่ยงร่วม  (Interdependent risks)
การกำหนดกรอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง
-          ข้อกำหนดทางกฎหมาย
-          ระบุความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
-          กำหนดวิสัยทัศน์ของการบริหารความเสี่ยง (Risk Vision Statement)
-          มีแนวทางในการระบุ  ประเมิน  และรายงานด้านความเสี่ยง
-          กำหนดเป้าหมาย  และระบุอุปสรรคของการบริหารความเสี่ยง
-          กำหนดแนวทางการประเมินผลความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานคุณภาพ
-          ระบุเจ้าภาพความเสี่ยง
-          สื่อสารกรอบนโยบายที่ชัดเจนให้ทั่วถึงทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
                -   ระบบงานขององค์กร
                -   บุคลากร
                -   การเงินการคลัง
                -    การเมืองเศรษฐกิจ
                -   การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
                -   ลูกค้า หรือผู้รับบริการ
                -   สภาพการแข่งขัน
แหล่งที่มาของความเสี่ยง
      ความเสี่ยง ภายในองค์กร เช่น
                -   สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย
                -   ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ
                -   วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
                -   การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ
                -   ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
      ความเสี่ยงภายนอกองค์กร เช่น
                -   การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
                -   การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
                -   กระแสโลกาภิวัฒน์
                -   เสถียรภาพทางการเมือง
                -   การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค
                -   กระแสสังคม สิ่งแวดล้อม
                -   การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง
                การนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในองค์กร จะช่วยเป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร จะมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงเป็นการทำนายอนาคตอย่างมีเหตุมีผล มีหลักการและหาทางลดหรือป้องกันความเสียหายในการทำงานแต่ละขั้นตอนไว้ล่วงหน้า หรือในกรณีที่พบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โอกาสที่จะประสบกับปัญหาน้อยกว่าองค์กรอื่นหรือหากเกิดความเสียหายขึ้น ก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าองค์กรที่ไม่มีการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เพราะได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ในขณะที่องค์กรอื่นที่ไม่เคยมีการเตรียมการหรือไม่มีการนำแนวคิดของกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้น องค์กรเหล่านั้นจะประสบกับปัญหาและความเสียหายที่ตามมาโดยยากที่จะแก้ไข ดังนั้นการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาช่วยเสริมร่วมกับการทำงาน จะช่วยให้ภาระงานที่ปฏิบัติการอยู่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และป้องกันโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน
การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์กร เป็นเรื่องส่วนรวมที่ทุกคนในองค์กร ตั้งแต่คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานทุกคนควรได้มีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์ในเชิงลึก เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน แผนปฏิบัติการ กิจกรรมขององค์กร ซึ่งการบริหารความเสี่ยงที่ดีจะเป็นการวัดความสามารถและการดำเนินงานของบุคลากรภายในองค์กร
                องค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี จะต้องดำเนินงานบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) การควบคุมภายใน (Internal Control) และการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
                  ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง จึงควรตอบคำถาม 7 คำถามให้ได้ คือ
               Q1 ท่านมีความฝัน ความหวังอะไรที่ต้องบรรลุให้ได้อยู่บ้างหรือไม่
               Q2 ท่านมีความกังวลใจอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรคที่จะทำให้ท่านไม่บรรลุความสำเร็จที่ตั้งไว้
              Q3 ท่านได้เตรียมการณ์ใดเพื่อป้องกัน สาเหตุของเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างแล้วหรือไม่
              Q4 ท่านคิดว่าการเตรียมการเหล่านั้นถ้ามีสิ่งที่เล็ดลอดได้จะน่ากังวลใจเพียงใด
              Q5 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรค จำนวนมากนั้น ควรจะนำสิ่งใดมาพิจารณา
              Q6 ท่านคิดว่าจำเป็นต้องมีแนวทาง วิธีการ เพิ่มเติมในการรับมือ เหตุการณ์หรือผลที่       เล็ดลอดมา อีกหรือไม่ อย่างไร
              Q7 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิด หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดมากน้อยหรือไม่เพียงไร
หากผู้บริหารองค์กรมองเห็นปัญหาอุปสรรค ซึ่งปัญหาอุปสรรคก็อาจเป็นความเสี่ยงได้ การจัดการความเสี่ยงให้หมดไปหรือให้มีเหลือน้อยที่สุด จึงควรนำปัญหาอุปสรรคมาจัดลำดับจากมากไปหาน้อยและวิเคราะห์สาเหตุ แนวทางแก้ไข
การร่วมกันระหว่างผู้บริหาร (คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง) กับบุคลากรในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและแนวทางแก้ไข จะทำให้มีความเข้าใจตรงกัน เพราะการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้บริหารและบุคลากรอาจมองต่างมุมกัน บนพื้นฐานความคิดที่ต่างกัน
ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง
                1. เป็นการสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กร การบริหารความเสี่ยงจะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยง เป็นการดำเนินการซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานในการตอบสนองต่อเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร
                2. ช่วยสะท้อนให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญได้ทั้งหมด การบริหารความเสี่ยงจะทำให้พนักงานภายในองค์กรมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร และตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อองค์กรได้อย่างครบถ้วน ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงที่มีเหตุทั้งจากปัจจัยภายในองค์กร และจากปัจจัยภายนอกองค์กร
                3. เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารในการบริหารงาน และการตัดสินใจในด้านต่างๆ เช่น การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การติดตามควบคุมและวัดผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
                4. ช่วยให้การพัฒนาองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารความเสี่ยงทำให้รูปแบบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การตัดสินใจโดยที่ผู้บริหารมีความเข้าใจในกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ขององค์กร และระดับความเสี่ยงอย่างชัดเจน
                5. ช่วยให้การพัฒนาการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงในแต่ละกิจกรรมและการเลือกใช้มาตรการในการบริหารความเสี่ยง
 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บริหารการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 357013เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท