เปิดสมองของแต่ละวัย


ในทุกวัย และทุกสมองของคนไทย คนฝรั่ง คนจีน จะมีทิศทางพัฒนาจากสมองส่วนเดียวกับสัตว์ ไปถึงสมองมนุษย์ กล่าวคือ จากช่วยเหลือตนเอง ตัวกู ของกู ไปสู่ยับยั้ง ใตร่ตรอง รู้ผิด รู้ชอบ และปัญญา

หายไปนานทีเดียว แต่ติดตามอ่านงานเพื่อน ๆ ตลอดนะคะ ช่วงนี้พยายามพัฒนางานเรื่อง Mind Brain and Education อยู่ค่ะ ในห้วงการทำงานเรื่องนี้ได้รับความกรุณาจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้รู้มากมาย ในการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ศ.นพ.ประเสริฐ บุญเกิด ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ คุณสรรพสิทธ์ คุมประพันธ์ พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ดร.ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิตรพงษ์ คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ทุกท่านปรารถนาให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวสมองและการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดทุกช่วงวัย และเป็นความรู้ปฏิบัติ

จากการสังเคราะห์พบว่าทุกช่วงวัยมีห้วงของความเปราะบางทั้งด้านชีววิทยา จิตวิทยา และสังคมวิทยา จึงส่งผลแห่งพฤติกรรมการเรียนรู้แบบขาด ๆ เกิน ๆ จึงเกิดคำถามว่าความเปราะบางนี้แก้ไขได้ไหม แก้อย่างไร และแก้โดยใคร จึงดีที่สุด

ปฐมวัย ต้องสร้างสมรรถนะร่างกาย และสร้างฐานการเรียนรู้ โดยพ่อ แม่ ครู ผู้อยู่รอบ ๆ ตัวเด็ก แบบอารมณ์สนุก สุขนำ

วัยเรียน และวัยรุ่น สร้างความคิดเท่าทันอารมณ์ สมรรถนะร่างกาย เสริมทักษะแสวงหาความรู้ โดยพ่อ แม่ ครู ผู้อยู่รอบ ๆ ตัวเด็ก และกลุ่มเพื่อน แบบสนุก สุขนำ แต่ต้องมีการฝึกการแก้ปัญหาแบบกลุ่ม เด็ก กับเด็ก ผู้ใหญ่กับเด็ก เป็นการรักษาระยะสัมพันธภาพ และฝึกปฏิสัมพันธ์ระว่างบุคคล สังคม

วัยรุ่นตอนปลาย และวัยผู้ใหญ่ สร้างความมั่นใจ ความมั่นคงในอารมณ์ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสาธารณะ รักษ์สุขภาวะ และพึงสัมมาอาชีพ โดยพ่อ แม่ ผู้อยู่รอบ ๆ ตัวเด็ก ครู กลุ่มเพื่อน แบบมีการใช้การแก้ปัญหา อย่างสนุก สำเร็จ และแบ่งปันความสำเร็จเพื่อฝึกปฏิสัมพันธ์ระว่างบุคคล สังคม

วัยผู้ใหญ่ สร้างพัฒนาตนเองทั้งด้านสัมมาอาชีพ ครอบครัว รับผิดชอบต่อตนเองและสาธารณะ รักษ์สุขภาวะ โดยตนเอง ผู้อยู่รอบ ๆ ในสังคม ในแบบสติมาปัญญาเกิด อิ่มเอิบ เบิกบาน แบ่งปัน

วัยสูงอายุ พัฒนาการเป็นแบบอย่าง ดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสาธารณะ รักษ์สุขภาวะ และพอเพียง โดยตนเอง และผู้อยู่รอบ ๆ ในสังคม ในแบบผู้ใหญ่ใจดี ครูเอื้อ ครูอำนวย และสุดยอดโคช

ในทุกวัย และทุกสมองของคนไทย คนฝรั่ง คนจีน จะมีทิศทางพัฒนาจากสมองส่วนเดียวกับสัตว์ ไปถึงสมองมนุษย์ กล่าวคือ จากช่วยเหลือตนเอง ตัวกู ของกู ไปสู่ยับยั้ง ใตร่ตรอง รู้ผิด รู้ชอบ และปัญญา

ดังนั้นถ้าในแต่ละวัยไม่สามารถข้ามผ่าน ตัวกู ของกู กูไม่ได้ คนอื่นก็ไม่ได้ พังเป็นพังกันให้หมด อย่างนี้จะเกิดแต่สมองสัตว์เต็มไปหมดในสังคม ถ้าสัดส่วนสมองสัตว์มากกว่าสมองมนุษย์ แล้วเราจะเรียกว่าเราอยู่ในสังคมมนุษย์ได้อย่างไร !!!

หมายเลขบันทึก: 356999เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาตามอ่าน งาน อาจารย์เหม่งค่ะ ได้ความรู้ มากเชียววว

ดวง

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดีใจจังค่ะที่วันนี้เข้าไปอ่านงานของท่านอาจารย์ใหย๋วิจารณ์ เลยได้เจอ อาจารย์และตามมานี่ล่ะค่ะ ครูแมวอักษราจากลำปางเองค่ะ อาจารย์สบายดีนะคะ คิดถึงอาจารย์อยู่เสมอค่ะ กำลังจะอบรมครูสร้างสุขเพื่อเด็กและครอบครัวในลำปาง อาจารย์จะว่างมาให้ความรู้ครูลำปางได้ใหมคะนี่ ตอนนี้พวกเราคณะครูก่อการดีเปิดwww.klskl.org เชิญอาจารย์แวะไปได้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท