K.M. กศน.


การจัดการความรู้ของฅนนอกโรงเรียน
 เดี่ยวนี้ใครๆก็เห็นความสำคัญของการนำ KM มาใช้ แม้กระทั่ง กระทรวงศึกษาธิการยังสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดนำมาใช้อย่างจริงจัง โดยมุ่งหวังให้สอดรับกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 หมวด 3 มาตรา11 ระบุว่า "ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งต้องรับรู้ข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ร่วมกัน"   สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนก็ขานรับนโยบายของท่านปลัดกระทรวงฯ คุณหญิง ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา โดยจัดตั้งทีม KM. ทั้งในระดับสำนัก และใน ระดับหน่วยงานย่อยๆลงไป 

           กลุ่มแผนงาน กศน. ได้ติดตามและให้ความสนใจในเรื่องนี้มาตลอด จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการจัดการความรู้ และวางแผนดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นโดยกำหนดความหมาย และ KPIs ไว้ดังนี้

การจัดการความรู้ของบุคลากรกลุ่มแผนงาน

ความหมาย : เป็นกระบวนการที่บุคคลและองค์กรดำเนินการเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition) การสร้างความรู้ (Knowledge Creation) การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ (Knowledge Storage and Retrieval) และการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (Knowledge Transfer and Utilization) ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทั้งระดับส่วนบุคคล (Individual Perspective) และระดับองค์การ (Organizational Perspective)
KPIs การจัดการความรู้ของบุคลากร
       1.  การแสวงหาความรู้ของบุคลากร :
                 Ø  การแลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติ
งานเพื่อก่อให้เกิดความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) ซึ่งนำไปสู่การเป็นผู้สร้างความรู้ (Knowledge Creator)
                 Ø  การศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit/Codified Knowledge) เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
        2.  การสร้างความรู้ของบุคลากร
                 Ø  การทำงานในหลากหลายหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดความรู้โดยนัย  (Tacit Knowledge) และเป็นผู้สร้างความรู้ (Knowledge Creator) ในที่สุด
                 Ø  การรวบรวมและสังเคราะห์ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานหรือสร้างนวัตกรรมในการทำงาน
                 Ø  การแก้ปัญหาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
        3.  การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ของบุคลากร :
                 Ø  การบันทึกข้อมูล/สารสนเทศ/ความรู้เป็นฐานข้อมูล (Database) หรือการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนเพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
                 Ø  การเข้าถึงองค์ความรู้ที่จัดเก็บในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
        4.  การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ของบุคลากร
                 Ø  การสื่อสารหรือแพร่กระจายข้อมูล/ข่าวสาร/ความรู้ให้กับเพื่อนร่วมงานเพื่อการใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน (การบันทึก การรายงาน จดหมาย ข่าวประกาศ เป็นต้น)
/การสอนงาน.
                 Ø  การสอนงาน (Coaching) ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ทั้งที่เป็นทางการและ
ไม่เป็นทางการให้กับเพื่อนร่วมงาน
                 Ø  การนิเทศ ติดตามผล ประชุมสัมมนาการปฏิบัติงานในระดับบุคคล/กลุ่มบุคคล/องค์กร
                 Ø  การนำข้อมูล ข่าวสารและความรู้ที่จัดเก็บในรูปแบบต่าง ๆ ขององค์กรมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน (Knowledge Application)

หมายเลขบันทึก: 35643เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อ่านแล้วได้ข้อคิดมาก ๆ เลยครับ จะติดตามอ่านเรื่อย ๆ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท