โครงการผลิตนวัตกรรมการศึกษา (แก้ไขใหม่)


โครงการผลิตนวัตกรรมการศึกษา (แก้ไขใหม่)

 

1. ชื่อโครงการ  ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ

2. ชื่อผู้จัดทำโครงการ  นางกาญจนา  อินตา  รหัส 52741119 section 01

 

3. หลักการและเหตุผล

                นักเรียนในโรงเรียนเทพบดินทร์วิทยา ไม่รู้จักระบบนิเวศนอกเมืองเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นโรงเรียนในเมือง ไม่สามารถที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้โดยตรง พื้นที่ของโรงเรียนจำกัดและนักเรียนมีจำนวนมาก การเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับระบบนิเวศด้วยวีดิทัศน์สามารถช่วยให้เด็กนักเรียนได้เห็นภาพของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตต่างๆได้ แต่ข้อจำกัดก็คือปริมาณนักเรียนที่มาก ห้องศูนย์บริการจึงให้บริการได้ไม่ทั่วถึง และเวลาเรียนไม่เพียงพอ (คาบเรียนละ 60 นาที) จึงเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ส่งผลให้ครูต้องอธิบายแก่นักเรียนตามหนังสือเป็นส่วนใหญ่และให้นักเรียนจินตนาการเอาเอง ดังนั้นจึงเล็งเห็นว่าการผลิตสื่อที่มีการจำลองระบบนิเวศต่างๆเข้าด้วยกันและผสมผสานเกมส์เข้าไปด้วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เพื่ออย่างน้อยให้นักเรียนได้เกิดความรู้ และจดจำองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

 

4. วัตถุประสงค์

                1. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักระบบนิเวศที่หลากหลายยิ่งขึ้น

                2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกได้ถึงตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศนั้น

                3. เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงองค์ประกอบของระบบนิเวศและสามารถบอกองค์ประกอบเหล่านั้นได้

 

5. ขอบเขตของสื่อนวัตกรรมที่นำไปใช้

                1. ใช้ประกอบการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับชั้นประถมถึงมัธยมปลาย

                2. ภายในชุดการสอนแต่ละชุดประกอบด้วยบัตรต่างๆ ซึ่งนักเรียนต้องทำจนครบทุกบัตร  ดังนี้

                    2.1 ข้อทดสอบก่อนเรียน

                   2.2 บัตรคำสั่ง

                   2.3 บัตรความรู้

                   2.4 บัตรกิจกรรม

                   2.5 บัตรเฉลยกิจกรรม

                   2.6 บัตรคำถาม

                   2.7 บัตรเฉลยคำถาม

                   2.8 ข้อทดสอบหลังเรียน

 

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                1. นักเรียนทราบและบอกถึงองค์ประกอบของระบบนิเวศ และสามารถอธิบายยกตัวอย่างระบบนิเวศต่างๆได้ พร้อมทั้งมีความสนุกสนานในการเรียนรู้

 

7. ขั้นตอนการดำเนินงาน

                1. นำแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสใช้ทำฐาน

                2. จัดทำระบบนิเวศต่างๆ พร้อมติดป้ายชื่อระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตที่พบ แหล่งที่อยู่อาศัย จัดแยกเป็นส่วนๆ ได้แก่ ระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศป่าสน ระบบนิเวศทะเลทราย นำมาจัดวางบนฐานไม้นั้น พร้อมกับยึดวัสดุให้ติดแน่นกับฐาน

                3.  ใช้วัสดุที่จัดเตรียมไว้ ทำองค์ประกอบของระบบนิเวศ เช่น สิ่งมีชีวิต (พืช สัตว์ ฯลฯ) สิ่งไม่มีชีวิต (ขอนไม้แห้ง บ่อน้ำ บ้านเรือนฯลฯ) แล้ววางบนแผ่นไม้นั้น ใช้โฟมทำภูเขา กระดาษแข็งและลังลูกฟูกเพื่อทำเป็นบ้านเรือน ทำเส้นทางลัดเลาะระบบนิเวศต่างๆ ด้วยกระดาษแข็งที่ตีเส้นเป็นช่อง และบอกลำดับหมายเลขในแต่ละช่อง

                4. ให้ผู้เรียนเลือกประธานกลุ่ม เพื่อดูแลและควบคุมการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม และเลือกเลขานุการเพื่อบันทึกผลการทำกิจกรรมของกลุ่ม อ่านและทำความเข้าใจตามคำสั่ง จากนั้นให้ทุกคนทำข้อทดสอบก่อนเรียน

 

                5. ผู้เรียนจะทำการทอดลูกเต๋าและเดินไปตามช่องที่เท่ากับแต้มที่ปรากฏบนลูกเต๋า บางตำแหน่งที่เดินไปถึงจะเจอจุดที่หยุดตอบคำถาม โดยจะมีกล่องคำถามอยู่ข้างๆ พร้อมคำเฉลย หากผู้เล่นตอบผิดจะต้องถอยหลัง 2 ก้าว แต่หากตอบถูกจะได้เดินไปข้างหน้า 2 ก้าว ผู้เล่นก็จะต้องเล่นให้ถึงจุดหมายปลายทางจนกว่าจะได้ผู้ชนะเลิศ โดยมีข้อแม้ว่าผู้เล่นจะต้องเดินทางผ่านทุกระบบนิเวศ

                6. นักเรียนทุกคนร่วมปฏิบัติกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากนั้นให้ทุกคนทำข้อทดสอบหลังเรียน

 

8. ระยะเวลาในการทำ   20 วัน

 

9. งบประมาณที่ใช้

-          ฟองน้ำ 20 บาท

-          กระดาษแข็ง 20 บาท

-          สติ๊กเกอร์ใส 20 บาท

-          สีไม้ 75 บาท

-          กาว 25 บาท

-          กระดาษลูกฟูก 2 บาท

-          กระดาษA 4 สี 20 บาท

-          ลูกเต๋า 10 บาท

-          เส้นลวด 10 บาท

หมายเลขบันทึก: 356295เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2010 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีคะ คุณ ลีลาวดี

แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจคะ

เป็นโครงการที่ละเอียดมาก ๆ เลยนะคะ

เป็นกำลังใจให้ในการทำงานคะ สู้ ๆ

ขอบคุณคะ ^_^

ขอบคุณมากนะคะคุณดินสอสี

จากเนื้อหาที่ได้เลือกเอาไว้นั้น สื่อนวัตกรรมฯ ชิ้นนี้ อาจจะเป็น "ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน" อาจจะดูเหมาะสมที่สุด

สิ่งที่ต้องเพิ่ม คือ เพิ่มศูนย์การเรียน แต่ละศูนย์การเรียน มีกิจกรรม กระบวนเรียน สื่อ ที่หลากหลายมากกว่าที่เขียนไว้ครับ

หมายถึง เราจะไม่ใช้สื่อเพียงประเภทเดียวในชุดการสอนอย่างแน่นอนครับ

ปรับและเพิ่มเติมนะครับ ;)

สวัสดี ค่ะ ครูลีลาวดี

แวะมาให้กำลังใจ ค่ะ เอาใจช่วยน่ะค่ะ สู้ๆค่ะ

ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์องคุลีมาลมากนะคะ หนูจะปรับแก้ไขใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ tummasu

ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท