ปรบมือดังๆให้ครู ม.ปลายโรงเรียนพิมายวิทยา(ต้นแบบโรงเรียนในฝันรุ่นแรก) ที่ผ่านการทดสอบเป็นกลุ่ม Master Teachers วิชาวิทย์-คณิตฯทุกวิชา ผูกขาดเพียงโรงเรียนเดียวในสพท.นครราชสีมา เขต 7


ถ้าเครียดมากก็ไม่ดี(ประสาทจะกิน) เครียดน้อยก็ไม่ดี(หย่อนยาน/ห้องเรียนข้าใครอย่าแตะ) ที่ดีที่สุดที่จะทำให้เกิดการพัฒนาก็คือเครียดปานกลาง ก็พยายามคิดว่าการทดสอบครั้งนี้สร้างความเครียดในระดับปานกลางก็แล้วกันนะ

          ได้ดูผลการทดสอบวัดความรู้ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกลุ่มวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ที่สพฐ.ดำเนินการเชิงนโยบาย และให้คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการประมวลผล ที่สามารถประมวลผลและประกาศผลได้อย่างรวดเร็วทางเว็บไซต์  แม้ข้อสอบจะเป็นแบบอัตนัยก็ตาม (ครูม.ต้นเขาบ่นมาว่าสอบตั้งนานแล้วทำไม สพฐ.ไม่ประกาศผลสักที)โดยประกาศผลเฉพาะผู้ที่ผ่านการทดสอบได้คะแนนอยู่ในกลุ่มที่จะคัดเป็น Master teachers ที่จะให้มหาวิทยาลัยประมาณ 13 ศูนย์ไปติวเข้ม เพื่อเป็นแม่ไก่ไปช่วยพัฒนาครูกลุ่มพื้นฐานต่อไป
        

ดูจากผลที่ประกาศเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศและเป็นรายวิชา ส่วนใหญ่ครูโรงเรียนม.ปลายที่อยู่ในกลุ่ม Master teachers ที่คัดเลือกไว้นี้  มักจะเป็นครูจากโรงเรียนใหญ่ๆ เด่นๆ ดังๆ  หรือโรงเรียนประจำจังหวัด เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้กันมากทีเดียว ส่วนโรงเรียนที่เด่นๆดังๆ มีครูที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  เชี่ยวชาญ  แล้วไม่ติดอันดับก็มีไม่น้อยนะ
        และที่น่าสังเกตก็คือ มีโรงเรียนระดับอำเภอ ตำบล แทรกติดอันดับเป็นจำนวนมากในบางรายวิชาอย่างน่าชื่นชม  เท่าที่พอจำได้ เช่น ปากพนัง  ทุ่งสง  สิชลฯ  แม้แต่โรงเรียนอมก๋อยที่ใครมักพูดจาเชิงปรามาสก็มีติดอันดับกับเขาด้วย(ตอนนี้ยังไม่วิเคราะห์ว่าผลการทดสอบวัดความรู้ของครูกลุ่มสาระฯตณิต-วิทย์ ครั้งนี้สะท้อนอะไรได้บ้าง)
      

      ที่ผมจะขอปรบมือดังๆเป็นพิเศษก็คือ โรงเรียนพิมายวิทยา (โรงเรียนประจำอำเภอที่ไม่ใหญ่นัก) ซึ่งพัฒนาจากการเป็นโรงเรียนในฝันรุ่นแรก เป็นทั้งโรงเรียนเร่งสู่ฝัน  ต้นแบบโรงเรียนในฝัน(จริงๆ) ที่มีคนทั่วประเทศไปดูงานกันมิได้ขาด ผมก็ได้ไปดูมาเหมือนกัน  ซึ่งดูผลการทดสอบครั้งนี้แล้วตะลึงที่มีครูผ่านการทดสอบเป็นกลุ่ม Master Teachers วิชาวิทย์-คณิตฯทุกวิชา  ผูกขาดโรงเรียนเดียวในสพท.นครราชสีมา เขต 7  รวม 11 คน แจงให้ละเอียดเป็นรายวิชาก็ได้ คือ คณิตศาสตร์  4 คน  คอมพิวเตอร์ 2 คน  เคมี 3 คน  ชีววิทยา  1 คน  และฟิสิกส์ 1 คน  รวม 11 คน  ซึ่งดูประกาศผลใน สพท.นครราชสีมา เขต 7  ทั้งเขต ไม่มีชื่อโรงเรียนอื่นปรากฏเลย  
       
       ผลการทดสอบวัดความรู้ของโรงเรียนนี้(มีครูบ่นว่าข้อสอบยากมาก)น่าจะสะท้อนเบื้องต้นว่า  การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนนี้มีคุณภาพ  พัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง  จนเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ  ผมเชื่อว่าพื้นฐานของครูที่มาบรรจุหรือย้ายมาสอนที่โรงเรียนนี้ก็คงไม่ต่างไปจากโรงเรียนอื่น ที่มาโดยระบบราชการ  แต่ที่ชื่นชมก็คือกระบวนการบริหารและการจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพของโรงเรียนนี้ต่างหาก
       ก็ต้องขออภัยที่ยกตัวอย่างโรงเรียนนี้โรงเรียนเดียว ซึ่งที่จริงยังมีโรงเรียนอื่นอีกหลายแห่งที่น่าสนใจ  และการดูจากผลการทดสอบอย่างเดียวก็เป็นเพียงมิติหนึ่งที่จะนำไปสู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพครูเท่านั้น ที่จริงยังมีปัจจัยอื่นที่สามารถวิเคราะห์ได้อีกหลายมิติ 
       ที่น่าเห็นใจมากก็คือ  การทดสอบครั้งนี้ทำให้ครูเครียดกันพอสมควร โดยเฉพาะครูที่อาวุโส  ก็ทำให้นึกถึงทฤษฎีการบริหารเรื่องความเครียดที่ว่า ถ้าเครียดมากก็ไม่ดี(ประสาทจะกิน)  เครียดน้อยก็ไม่ดี(หย่อนยาน/ห้องเรียนข้าใครอย่าแตะ)  ที่ดีที่สุดที่จะทำให้เกิดการพัฒนาก็คือเครียดปานกลาง  ก็พยายามคิดว่าการทดสอบครั้งนี้สร้างความเครียดในระดับปานกลางก็แล้วกันนะ  

หมายเลขบันทึก: 355477เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท