supanee
ผศ.ดร. สุภาณี ต้อย เส็งศรี

มิติที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning


สุภาณี เส็งศรี* การศึกษา : ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)

      e-Learning หรือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นมิติใหม่ของการเรียนรู้แห่งยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่นำเสนอสารสนเทศในลักษณะสื่อประสม (Multimedia) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท แต่ด้วยคุณลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถนำเสนอสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบ รวมถึงความสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ตลอดเวลาที่ต้องการ จากทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง e-Learning เทคโนโลยีการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 จึงหมายถึงการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ถ่ายทอดการเรียนรู้      <p>      e-Learning ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต หรือการพัฒนาเว็ปเพื่อใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้น การพัฒนาระบบ e-Learning จำเป็นต้องพิจารณามิติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำแนกได้ 8 มิติหลัก (Khan, 2002) ในแต่ละมิติหลักจะมีมิติย่อยที่จำเป็นต้องพิจารณาเพื่อการวางแผน การออกแบบ การพัฒนา การถ่ายทอด การประเมินผลและปรับปรุงสภาพแวดล้อมของ e-Learning ให้พร้อมต่อการรับรู้สารสนเทศและการมีปฏิสัมพันธ์ทางไกลแบบ 2 ทาง </p><p align="center"> </p><p align="center">http://www.intervir.org/n1/khan/k1_e.htm </p><p align="center">Ref. Assoc.Prof.Dr.Badrul Khan</p><h5>มิติแรก : มิติของสถาบันการศึกษา </h5>มิติของสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย
การบริหารงาน (เช่น โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลง การประกันคุณภาพ งบประมาณและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาการสอนและการบริการสื่อ การรับเข้า และการจบการศึกษา สมาคมศิษย์เก่า เป็นต้น) งานวิชาการ (เช่น ผู้สอน บุคลากรสายสนับสนุนภาระงาน ขนาดชั้นเรียน ค่าตอบแทนและลิขสิทธิ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น) และการบริการผู้เรียน (เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาขาและรายวิชา การสร้างความพร้อมก่อนเรียน การบริการก่อนลงทะเบียน การให้คำปรึกษา การแนะแนว การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน การลงทะเบียนและการชำระเงิน สำนักหอสมุด ศูนย์หนังสือ สภาพแวดล้อมทางสังคม การฝึกงานและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning) <h5>มิติที่ 2 : มิติด้านการเรียนการสอน</h5>มิติด้านการเรียนการสอน เนื่องจากการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีรูปแบบการเรียนทางไกลจึงแตกต่างจากรูปแบบเดิมที่เรียนในชั้นเรียนซึ่งคุ้นเคยมานาน ดังนั้นการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ เนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ การจัดการองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง วิธีการและกลยุทธ์การถ่ายทอดรวมถึงสื่อเพื่อการนำเสนอจำเป็นต้องมีคุณลักษณะเฉพาะที่ส่งเสริมการเรียนรู้และเอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางไกล <h5>มิติที่ 3 : มิติด้านเทคโนโลยี</h5>มิติด้านเทคโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยี อุปกรณ์ และวัสดุที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้การวางแผน การพัฒนาและการถ่ายทอดบทเรียน เพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมให้รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ <h5>มิติที่ 4 : มิติด้านการออกแบบหน้าจอ</h5>มิติด้านการออกแบบหน้าจอมีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนอยู่ห่างไกลกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ผ่านจอภาพ การออกแบบหน้าจอจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบให้ส่งเสริมการเรียนรู้และ การมีปฏิสัมพันธ์ การออกแบบโปรแกรมหรือบทเรียน ต้องคำนึงการมองเห็นและความรู้สึกของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นไปที่การออกแบบหน้าจอ โครงสร้างของเว็บ การวิเคราะห์และออกแบบเนื้อหาบนจอภาพ การชี้แนะ ความสะดวกต่อการใช้งานบนหน้าจอ สถาบันการศึกษาควรมีทีมงานด้านการผลิตและให้คำปรึกษา เพื่อให้บทเรียนมีความเหมาะสมกับการใช้งานจากหน้าจอ <h5>มิติที่ 5 : มิติด้านการประเมินผล</h5>มิติด้านการประเมินผลของ e-Learning จะต้องประเมินผลทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของผู้เรียน ประเมินผลผู้สอนทั้งด้านเทคนิคการสอนทางไกลและการมีปฏิสัมพันธ์ทางไกล ประเมินสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภายในและภายนอกสถาบันการศึกษาด้วย นอกจากการประเมินดังกล่าวแล้ว สถาบันการศึกษาที่ใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์จะต้องคำนึงถึงมาตรฐาน e-Learning โดยอิงกรอบมาตรฐาน IMS (Instructional Management System) ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายจากสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาแบบ e-Learning <h5>มิติที่ 6 : มิติด้านการจัดการ</h5>มิติด้านการจัดการของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้พร้อมต่อการใช้งานอยู่เสมอ เอื้อต่อการเข้าถึงและการถ่ายทอดสารสนเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การจัดการข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์แบบ 2 ทาง <h5>มิติที่ 7 : มิติด้านการสนับสนุนแหล่งทรัพยากร</h5>มิติด้านการสนับสนุนแหล่งทรัพยากรจะต้องเน้นแบบ Online โดยเฉพาะในการสอน การให้คำปรึกษาทั้งด้านเทคนิค วิธีการ หรืออื่น ๆ ที่จำเป็น ส่วนแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่จะให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมควรเป็นทั้งในระบบเครือข่าย (Online) และศึกษาค้นคว้าจากสื่ออื่นที่ไม่ใช่ระบบเครือข่าย (Offline) ทั้งนี้ต้องส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีคุณค่าและทำให้มีความหมายต่อการเรียนรู้ตามความต้องการ <h5>มิติที่ 8 : มิติด้านความหลากหลาย</h5>มิติด้านความหลากหลายเป็นมิติที่ต้องคำนึงถึงอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้เรียนหรือผู้รับสารสนเทศสามารถเข้าถึงจากทุกสภาพภูมิศาสตร์ เป็นเหตุให้เกิดความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม มีความเหลื่อมล้ำตามความแตกต่างของผู้เรียนและตามความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ นอกจากนั้นกฎกติกา มารยาท และกฎหมายแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน เช่น นโยบายแนวทางปฏิบัติ ลิขสิทธิ์ การขโมย การคัดลอก และความเป็นส่วนบุคคล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นอกจากมิติที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 มิติแล้ว สิ่งที่สถาบันการศึกษาควรตระหนักในการใช้ e-Learning คือ ต้องกำหนดนโยบายให้ชัดเจนว่าจะพัฒนาบทเรียนนี้เพื่อใช้เป็นสื่อหลัก หรือ สื่อเสริม นอกจากนั้นจะต้องสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เพราะอาจเป็นเหตุให้สัมพันธภาพเชิงสังคมระหว่างผู้เรียนและผู้สอนลดลง อย่างไรก็ตามการเรียนรู้รูปแบบนี้อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนทุกคน หรือผู้สอนอาจเกิดอคติต่อการสอนแบบ e-Learning เพราะไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี ดังนั้นจึงควรชี้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นประโยชน์ของ e-Learning นั่นคือ มีความยืดหยุ่นสูง ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลาย เลือกเรียนตามความสนใจ และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อสื่อสารถึงผู้รู้จากทุกมุมโลกได้อย่างอิสระเสรีอีกด้วย <h5>อ้างอิง</h5><h5> http://www.intervir.org/n1/khan/k1_e.htm </h5><h5> http://www.e-learningsite.com/howtole/lmodel.htm </h5>

หมายเลขบันทึก: 35547เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2006 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ค่ะ มิติที่เกี่ยวข้องกับ e-learning ทั้ง 8 ด้านของ Khan นั้น มันเหมือนหรือคล้ายกัน กับ มิติทั้ง 3 ด้าน ของ e-learning ของผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง หรือเปล่าค่ะ แล้วเราสามารถสรุปรวมเข้าด้วยกันได้หรือไม่ค่ะ (ยุบรวมในส่วนที่รายละเอียดที่เหมือนกัน และเพิ่มเติมไปในส่วนที่ไม่มี)

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์นี้ค่ะ

http://www.itie.org/itcenews/e-Learning.php

มิติทั้ง 3 ของ e-Learning
ที่จำเป็นต้องรู้

ในการนำเอา e-Learning เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนผู้ใช้ควรที่จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับบริบทที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 มิติ (ดังในภาพที่ 1)
โดยมิติทั้ง 3 นั้นคือ 1. การนำเสนอเนื้อหา (Media Presentation) 2. การนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการอบรม (Functionality) 3. เกี่ยวกับผู้เรียน (Learners)

1. มิติการนำเสนอเนื้อหาในการนำเสนอเนื้อหานี้สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
     1.1 ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text-Online) หมายถึง การเรียนการสอนที่เน้นข้อความ (Text)เป็นหลัก สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้รวดเร็ว ผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาสามารถบริหารการจัดการรายวิชาได้ด้วยตนเอง
     1.2 ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (Low cost Interactive Online Course) ในระดับนี้จะมีทั้งข้อความ ภาพ เสียง และวิดีทัศน์อย่างง่าย ซึ่งจะต้องมีระบบการบริหารการจัดการ (LMS) ที่ดีเพื่อช่วยผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา ในการสร้างและการปรับปรุงเนื้อหา
     1.3 ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (High Quality Online Course) ในระดับนี้เป็นระดับมืออาชีพ การออกแบบเนื้อหาการออกแบบการสอนรวมไปถึงการออกแบบภาพกราฟิกจำเป็นต้องใช้ผู้มีความชำนาญ มีการทำงานเป็นทีมเพื่อ เป็นต้น

2. มิติการนำไปใช้ในการเรียนการสอน/การอบรม ในมิตินี้สามรถแยกย่อยออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
     2.1 สื่อเสริม (Supplementary) คือการนำเอา e-Learning เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนโดยที่มีสื่ออื่นๆ เป็นทางเลือกอีกด้วย ผู้สอนต้องจัดหาหาทางเลือกอื่นไว้ลองรับเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เพิ่มเติม
     2.2 สื่อเติม (Complementary) นำไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่นนอกเหนือจากการบรรยายในห้องเรียน ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมจาก e-Learning
     2.3 สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) คือการใช้ e-Learning เข้ามาแทนการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบเต็มรูปแบบ ผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาแบบออนไลน์ทั้งหมดโดยในต่างประเทศได้ทำการพัฒนา e-Learning เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะมาใช้แทนการเรียนการสอนแบบเดิมที่มีครูเป็นสื่อหลัก

3. มิติเกี่ยวกับผู้เรียน กลุ่มผู้เรียนแบบ e-Learning จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
     3.1 ผู้เรียนแบบปกติ (Resident Student) หมายถึงกลุ่มผู้เรียนที่เดินทางมาเรียนในสถานที่เดียวกันในเวลาเดียวกันและมีที่พักอาศัยอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ซึ่งตกลงกันไว้ว่าจะมาเรียนร่วมกัน การออกแบบเนื้อหาการสอนควรที่จะดึงดูดใจ เพราะถ้าการออกแบบเนื้อหาไม่ดีผู้เรียนแบบปกติสามารถที่จะเลือกศึกษาบทเรียนโดยใช้สื่ออื่นๆ
     3.2 ผู้เรียนทางไกล (Distant Learners) หมายถึงผู้เรียนที่สามารถเรียนจากสถานที่ที่ต่างกันในเวลาที่ต่างกัน (Anywhere, Anytime) จึงทำให้ผู้เรียนทางไกลนั้นมีความยืดหยุ่นในด้านสถานที่และเวลาในการเข้าสู่เนื้อหามากกว่าผู้เรียนแบบปกติ การออกแบบบทเรียนควรที่จะมีความสมบูรณ์ เนื่องจากผู้เรียนแบบทางไกลนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของการติดต่อกับผู้สอน ถึงแม้จะมี Web-board, E-mail ก็ตาม ตัวสื่อจึงควรที่จะมีความสมบูรณ์
***(สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือDesign e-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง 2545)***

ภาพมิติ 3 ด้าน ของ ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง

http://gotoknow.org/file/piyarat_kaew/learning.bmp

อยู่ที่การพัฒนาในแต่ละแนว เพราะของ อ.ถนอมพร จะเป็นการบอกเล่าถึงเรื่องการสอนเท่านั้นครับ

มีการ comment งานของนักศึกษามน.ที่
อาจารย์คะ ช่วยเข้าไปที
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท